วียอรีกา เดินชีเลอ
วียอรีกา เดินชีเลอ | |
---|---|
เดินชีเลอเมื่อปี 2019 | |
นายกรัฐมนตรีโรมาเนีย | |
ดำรงตำแหน่ง 29 มกราคม 2018 – 4 พฤศจิกายน 2019 | |
ประธานาธิบดี | เกลาส์ โยฮานิส |
ก่อนหน้า | มีไฮ ตูดอเซ |
ถัดไป | ลูดอวิช ออร์บัน |
ประธานพรรคประชาธิปไตยสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 27 พฤษภาคม 2019 – 26 พฤศจิกายน 2019 | |
ก่อนหน้า | ลีวียู ดรักเนอา |
ถัดไป | มาร์เชล ชอลากู |
ประธานประชาชนชาติร่วมกัน | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 12 เมษายน 2022 | |
สมาชิกรัฐสภายุโรป จากโรมาเนีย | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มกราคม 2009 – 28 มกราคม 2018 | |
ถัดไป | กาบรีเยลา ซออาเนอ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | วาซีลีกา วียอรีกา เดินชีเลอ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1963 รอชียอรีย์เดเวเด โรมาเนีย |
พรรคการเมือง | ประชาชนชาติร่วมกัน (2022–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | พรรคประชาธิปไตยสังคม (1996–2022) |
คู่สมรส | กริสตีเนล เดินชีเลอ |
บุตร | 1 คน |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยปิโตรเลียม-ก๊าซ มหาวิทยาลัยรัฐศึกษาและรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ |
วาซีลีกา วียอรีกา เดินชีเลอ (โรมาเนีย: Vasilica Viorica Dăncilă, ออกเสียง: [vasiˈlika vi.oˈrika dənˈtʃilə]; เกิด 16 ธันวาคม 1963)[1] เป็นนักการเมืองชาวโรมาเนีย อดีตผู้นำพรรคประชาธิปไตยสังคม (เปเอสเด) และนายกรัฐมนตรีโรมาเนียระหว่างวันที่ 29 มกราคม 2018 ถึง 4 พฤศจิกายน 2019[2] ถือเป็นประธานพรรคเปเอสเดและนายกรัฐมนตรีโรมาเนียคนแรกที่เป็นผู้หญิง
เดินชีเลอเป็นสมาชิกของพรรคเปเอสเดตั้งแต่ปี 1996 แรกเริ่มในฐานะส่วนหนึ่งขององค์การพรรคในเทศมณฑลเตเลออร์มัน[3] ในปีต่อ ๆ มา เธอดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งทั้งในพรรคและในการปกครองส่วนท้องถิ่น เธอเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นจนถึงปี 2009 เมื่อเธอได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก ในปี 2022 เธอลาออกจากพรรคเพื่อเข้าร่วมพรรคประชาชนชาติร่วมกันซึ่งเพิ่งตั้งใหม่ในตอนนั้น และกลายมาเป็นประธานของพรรค[4]
ก่อนเข้าสู่วงการการเมือง เดินชีเลอเคยเป็นวิศวกรประจำบริษัทเปตรอม และก่อนหน้านั้นเคยสอนหนังสือที่โรงเรียนมัธยมอุตสาหการวีเดเล
เรื่องอื้อฉาว
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 เดินชีเลอถูกกล่าวหาว่าเลือกปฏิบัติ หลังเธอตราหน้าสมาชิกรัฐสภายุโรปกลุ่มหนึ่งที่ "ให้ข้อมูลผิด ๆ แก่สหภาพยุโรป" ในประเด็นเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายยุติธรรม ว่าเป็นพวก "ออทิสติก"[5] ไม่นานหลังจากนั้น สมาคมผู้ปกครองเด็กออทิสติก (Association of Parents of Children with Autism) อ้างว่าการนำศัพท์ "ออทิสติก" มาใช้ในแง่ลบท่ามกลางการถกเถียงทางการเมืองเช่นนี้ถือเป็นการละเมิดผู้ที่มีภาวะออทิสติก[6] นอกจากนี้ คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อต่อต้านการเลือกปฏิบัติยังเริ่มกระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับความเห็นของเธอที่สื่อถึงการเลือกปฏิบัติ[7] ต่อมาเธอได้ออกมาขอโทษและระบุว่าไม่ได้ตั้งใจจะว่าร้ายผู้ที่มีกลุ่มอาการออทิสซึม[8]
นอกจากนี้เดินชีเลอยังถูกวิจารณ์ว่าขาดความรู้เรื่องไวยากรณ์ภาษาโรมาเนีย[9][10] ขาดความลื่นไหลในการใช้ถ้อยคำ[11] ขาดความรู้เรื่องการเลือกใช้ศัพท์[12] และขาดความรู้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาระหน้าที่ของเธอ[13] มีร์ชา ดูมีตรู อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูคาเรสต์และอดีตรัฐมนตรีศึกษาธิการ ระบุลักษณะสำนวนภาษาของเธอว่า "เข้าใจยาก" และ "เต็มไปด้วยข้อผิดพลาดในการประกอบประโยค และความไม่คงเส้นคงวาทางตรรกะ"[14]
ในเดือนกรกฎาคม 2018 ขณะเดินชีเลอพบนายกรัฐมนตรีดุชกอ มาร์กอวิช แห่งมอนเตเนโกร เธอสับสนชื่อกรุงพอดกอรีตซา เมืองหลวงของมอนเตเนโกร กับกรุงพริสตีนา เมืองหลวงของคอซอวอ (ซึ่งโรมาเนียไม่รับรองว่าเป็นรัฐเอกราช)[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Negrea, Lucian (16 January 2018). "BIOGRAFIE - Cine este Viorica Dăncilă, miau miau premierul propus de PSD". stiripesurse.ro (ภาษาโรมาเนีย).
- ↑ "Romanian Protests Put Ruling Party Under Renewed Pressure". Bloomberg.com. 22 January 2018. สืบค้นเมื่อ 29 January 2018 – โดยทาง www.bloomberg.com.
- ↑ "Portret: Cine este Viorica Dăncilă, premierul desemnat al României". Digi24 (ภาษาโรมาเนีย). 17 January 2018.
- ↑ "Viorica Dăncilă a anunțat că nu primește pesediști în partidul ei: "În acest moment nu"". www.digi24.ro (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 2022-04-12.
- ↑ "VIDEO / Viorica Dăncilă și-a cerut scuze public, în urma afirmației jignitoare pentru persoanele cu autism". Libertatea (ภาษาโรมาเนีย). 16 February 2018.
- ↑ "Scrisoare de protest a asociației "Autism România", după o declarație a premierului Dăncilă. CNCD, sesizat". Digi24 (ภาษาโรมาเนีย). 16 February 2018.
- ↑ Sorin Ghica (18 February 2018). "Viorica Dăncilă se află în centrul unui scandal de discriminare: de ce afirmația privind "autiștii" aduce grave prejudicii în societate". Adevărul (ภาษาโรมาเนีย).
- ↑ "Viorica Dăncilă își cere scuze pentru declarația privind "autiștii"". Digi24 (ภาษาโรมาเนีย). 16 February 2018.
- ↑ "Un colaj VIDEO cu gafele premierului Viorica Dăncilă a ajuns viral pe Facebook". Știrile Pro TV (ภาษาโรมาเนีย). 5 April 2018.
- ↑ "Viorica Dăncilă a găsit un nou mod de a pronunța "EURO 2020"". Știrile Pro TV (ภาษาโรมาเนีย). 12 April 2018.
- ↑ Radu Eremia (3 April 2018). "Dăncilă, serie de gafe în plen: Programul de guvernare, vă spun sincer, nu a făcut bine României". Adevărul (ภาษาโรมาเนีย).
- ↑ "Premierul Dăncilă, probleme cu un cuvânt: A spus de șase ori "imunoglobină" în loc de "imunoglobulină"". Digi24 (ภาษาโรมาเนีย). 7 March 2018.
- ↑ "Cum a crescut Dăncilă pensiile de 10 ori, din greșeală". Digi24 (ภาษาโรมาเนีย). 26 February 2018.
- ↑ "Limbaj precar, greu de înțeles, plin de greșeli și inconsecvențe logice. Rectorul Universității București dă notă mică premierului Dăncilă". Gândul (ภาษาโรมาเนีย). 20 May 2018.
- ↑ Insider, Romania (26 July 2018). "Romanian PM confuses Montenegro's capital with that of Kosovo - Romania Insider". Romania Insider (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 July 2018.