วิลเลียม โมลตัน มาร์สตัน
วิลเลียม โมลตัน มาร์สตัน | |
---|---|
เกิด | 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1893 ซอกัส รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา |
เสียชีวิต | 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 ไรย์ รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา | (53 ปี)
สาเหตุเสียชีวิต | มะเร็งผิวหนัง |
สุสาน | Ferncliff Cemetery |
สัญชาติ | อเมริกัน |
ชื่ออื่น | ชาลส์ โมลตัน |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปริญญาตรีในปี 1915 นิติศาสตรบัณฑิตในปี 1918 และปริญญาเอกจิตวิทยาในปี 1921 |
อาชีพ | นักจิตวิทยา นักประดิษฐ์ นักเขียน |
นายจ้าง | มหาวิทยาลัยอเมริกัน มหาวิทยาลัยทัฟส์ |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้สร้าง เครื่องทดสอบความดันโลหิตซิสโตลิก นักเขียน ผู้สนับสนุนศักยภาพของสตรี ผู้สร้าง วันเดอร์วูแมน [1] ผู้สร้างทฤษฎี DISC |
ผู้สืบตำแหน่ง | Robert Kanigher |
คู่สมรส | เอลิซาเบธ ฮาโลเวย์ มาร์สตัน |
คู่รัก | โอลิฟ เบิร์น |
บุตร | 4 |
วิลเลียม โมลตัน มาร์สตัน (อังกฤษ: William Moulton Marston; 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1893 – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1947) หรือที่รู้จักกันในนาม ชาลส์ โมลตัน (/ˈmoʊltən/) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้ประดิษฐ์ต้นแบบเครื่องจับเท็จยุคแรก นักเขียนและ นักเขียนการ์ตูนที่สร้างตัวละครวันเดอร์วูแมน โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภรรยา เอลิซาเบธ ฮาโลเวย์ มาร์สตัน และคนรัก โอลิฟ เบิร์น[2][3]
เขาได้รับการแต่งตั้งให้เข้าหอเกียรติยศในหนังสือการ์ตูนใน ค.ศ. 2006
ประวัติ
[แก้]วัยเด็กและการงาน
[แก้]มาร์สตัน เกิดในคลิฟตันเดล ในเมืองซอกัส รัฐแมสซาชูเซตส์ เป็นลูกชายของแอนนี่ ดอลตัน และเฟรดเดอริก วิลเลียม มาร์สตัน[4][5] มาร์สตันจบการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้รับปริญญาตรีใน ค.ศ. 1915 นิติศาสตรบัณฑิตใน ค.ศ. 1918 และปริญญาเอกจิตวิทยาในปี 1921 หลังจากการสอนอยู่ที่ มหาวิทยาลัยอเมริกัน ใน วอชิงตันดี.ซี.และ มหาวิทยาลัยทัฟส์ ในเมดฟอร์ด ใน ค.ศ. 1929 มาร์สตันได้เดินทางไปในแคลิฟอร์เนีย เพื่อเป็นผู้อำนวยการของสาธารณะบริการของ ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์
มาร์สตัน มีบุตร 2 คนกับภรรยา เอลิซาเบธ ฮาโลเวย์ มาร์สตัน และอีก 2 คนกับคนรัก โอลิฟ เบิร์น เอลิซาเบธทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ในขณะที่ เบิร์นอยู่บ้านเพื่อดูแลเด็กทั้งสี่คน[6] ทั้งโอลีฟและเอลิซาเบธ "เป็นตัวอย่างของคตินิยมสิทธิสตรีในสมัยนั้น"[7]
นักจิตวิทยาและผู้คิดค้น
[แก้]มาร์สตันเป็นผู้สร้าง เครื่องทดสอบความดันโลหิตซิสโตลิก ซึ่งกลายเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเครื่องจับเท็จ (polygraph) ที่ทันสมัยซึ่งคิดค้นโดย John Augustus Larson ในเบิร์คลี่ย์ แคลิฟอร์เนีย ภรรยาของมาร์สตัน เอลิซาเบธ ฮอลโลเวย์ มาร์สตัน เป็นผู้เสนอความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกและความดันโลหิตกับวิลเลียม โดยให้คำสังเกตว่า "เวลาเธอโมโหหรือตื่นเต้น ความดันโลหิตของเธอดูเหมือนจะสูงขึ้น".[8] แม้ว่าเอลิซาเบธ จะไม่ได้ถูกระบุว่าเป็นผู้ร่วมคิดของมาร์สตัน ในงานแรก ๆ ของเขา Lamb Matte (ค.ศ. 1996) และคนอื่น ๆ ก็อ้างถึงการทำงานเอลิซาเบธ ในงานวิจัยของสามีโดยตรงและโดยทางอ้อม เธอยังปรากฏอยู่ในภาพที่ถ่ายในห้องทดลองของเขาในช่วงปี ค.ศ. 1920 อีกด้วย[9][10] มาร์สตันวางแผนจะขายเครื่องจับเท็จ เมื่อเขาเริ่มทำงานในวงการบันเทิง เขียนหนังสือการ์ตูน และเป็นพนักงานขายในโฆษณาของมีดโกน Gillette โดยใช้ต้นแบบเครื่องจับเท็จ
จากผลงานด้านจิตวิทยาของเขา มาร์สตันเชื่อว่าผู้หญิงมีความซื่อสัตย์มากกว่าผู้ชายในบางสถานการณ์และสามารถทำงานได้เร็วและถูกต้องกว่า
มาร์สตันยังเป็นนักเขียนบทความเกี่ยวกับจิตวิทยาที่ได้รับความนิยม ใน ค.ศ. 1928 เขาได้ตีพิมพ์ Emotions of Normal People (ลักษณะอารมณ์ของคนปกติ) ซึ่งได้อธิบายทฤษฎี DISC ไว้อย่างละเอียด มาร์สตันมองว่าคนที่มีพฤติกรรมตามสองแกนด้วยความสนใจของพวกเขาเป็นแบบพาสซีฟหรือแอ็กทิฟ ช ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของแต่ละบุคคลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของตนในฐานะที่เป็นที่นิยมหรือเป็นปฏิปักษ์ โดยวางแกนไว้ที่มุมฉาก สี่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสพร้อมกับอธิบายลักษณะพฤติกรรมแต่ละแบบ:
- การควบคุม (Dominance) ก่อให้เกิดกิจกรรมในสภาพแวดล้อมที่เป็นปฏิปักษ์
- การโน้มน้าว (Inducement) ก่อให้เกิดกิจกรรมในสภาพแวดล้อมที่นิยม
- การโอนอ่อน (Submission) จะทำให้เกิดความยินยอมในสภาพแวดล้อมที่นิยม
- การยินยอม (Compliance) จะทำให้เกิดความอดทนในสภาพแวดล้อมที่ที่เป็นปฏิปักษ์
มาร์สตันได้ตั้งข้อสังเกตว่า แนวคิดเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของผู้ชายที่มีความผิดศีลธรรมและความรุนแรงและเป็นปฏิปักษ์กับความคิดของผู้หญิงที่ขึ้นอยู่กับ "ความยั่วยวนในรัก (Love Allure)" ซึ่งนำไปสู่สถานะที่เหมาะสำหรับการยอมจำนนยังผู้มีอำนาจที่รัก ในปี 1929 เขาเขียนเรื่องสิทธิของผู้ชายในฐานะนักข่าวหนังสือพิมพ์[11]
วันเดอร์วูแมน
[แก้]การสร้าง
[แก้]เมื่อ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1940 การสัมภาษณ์อดีตนักศึกษาโอลีฟ เบิร์น (ภายใต้นามแฝง "โอลีฟ ริชาร์ด") ได้รับการตีพิมพ์ใน The Family Circle (หัวข้อ "อย่าหัวเราะเยาะในหนังสือการ์ตูน") มาร์สตันบอกว่าเขาเห็น "ศักยภาพทางการศึกษาที่ดี" ในหนังสือการ์ตูน (บทความถูกตีพิมพ์เมื่อสองปีให้หลัง ค.ศ. 1942)[12] การสัมภาษณ์ได้รับความสนใจจากผู้จัดพิมพ์การ์ตูน Max Gaines ผู้ซึ่งได้ว่าจ้างมาร์สตัน เป็นที่ปรึกษาด้านการศึกษาสำหรับ National Periodicals และ All-American Publications ซึ่งเป็น บริษัทสองแห่งที่ต่อมารวมเป็น ดีซีคอมิกส์
ในช่วงต้นทศวรรษ ค.ศ. 1940 การ์ตูนส่วนใหญ่ของ ดีซีคอมิกส์ เป็นผู้ชายที่มีพลังพิเศษเช่น กรีนแลนเทิร์น และ ซุปเปอร์แมน ตลอดจน แบทแมน กับอุปกรณ์ไฮเทคของเขา ในบทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสารฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 2001 ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยบอสตัน กล่าวว่าเอลิซาเบธ ภรรยาของมาร์สตัน เป็นผู้คิดจะสร้างซูเปอร์ฮีโร่หญิง เมื่อมาร์สตันพูดถึงไอเดียการสร้างซูเปอร์ฮีโร่แบบใหม่ที่จะเอาชนะไม่ใช่ด้วยกำปั้นหรืออาวุธแต่ด้วยความรัก เอลิซาเบธ กล่าวว่า "ก็ได้ แต่เธอต้องเป็นผู้หญิงนะ"[13][14]
มาร์สตันได้แนะนำแนวคิดเรื่องนี้กับ Max Gaines ผู้ร่วมก่อตั้ง All-American Publications กับ Jack Liebowitz หลังจากได้รับอนุญาต เขาก็ได้เริ่มสร้างตัวละครวันเดอร์วูแมนโดยได้รับแรงบรรดาลใจจาก ผู้หญิงสมัยใหม่ที่ไม่เป็นไปตามแบบแผนของสังคม มีอำนาจและเสรีนิยมในยุคนั้น[15] นามแฝงของมาร์สตัน ชาลส์ โมลตันเป็นการรวมชื่อกลางของ Gaines และตัวเขาเอง
ในบทความของ American Scholar ใน ค.ศ. 1943 มาร์สตันได้เขียนว่า "ถึงแม้เด็กผู้หญิงจะไม่อยากเป็นเด็กผู้หญิงเป็นเวลานาน แต่แม่แบบผู้หญิงของเราขาดพลัง ความแข็งแรงและพลังอำนาจ การไม่อยากเป็นเด็กผู้หญิงนั้น เพราะพวกเขาไม่ต้องการถูกมองว่าเป็นคนอ่อนโยน หัวอ่อน รักสงบ คุณภาพที่แข็งแกร่งของผู้หญิงได้กลายเป็นที่ดูหมิ่นเพราะความอ่อนแอของพวกเขา วิธีการแก้ที่ดีที่สุดคงเป็นการสร้างตัวละครผู้หญิงที่มีพลังของซูเปอร์แมน แต่ยังเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ของผู้หญิงที่ดีและสวยงาม"
ใน ค.ศ. 2017 เอกสารส่วนบุคคลของมาร์สตันส่วนใหญ่ได้ส่งมาถึงหอสมุดชเลซิงเจอร์ ที่สถาบัน Radcliffe Institute for Advanced Study ที่กล่าวถึงเบื้องหลังวันเดอร์วูแมน และของชีวิตส่วนตัวนอกรีตของเขากับสองผู้หญิงอุดมคติที่แข็งแกร่ง ทั้งภรรยา เอลิซาเบธ ฮาโลเวย์ มาร์สตัน และคนรัก โอลิฟ เบิร์น และความเกี่ยวโยงกับ Margaret Sanger นักสตรีนิยมคนหนึ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดในศตวรรษที่ยี่สิบ[16]
การพัฒนา
[แก้]ตัวละครมาร์สตันเป็นชนพื้นเมืองของยูโทเปียหญิงล้วนเรียกว่า ชาวแอมะซอนที่กลายเป็นตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯในการต่อสู้กับอาชญากรรมโดยใช้ความแข็งแกร่งและความว่องไวและความสามารถของเธอในการบังคับให้คนร้ายบอกความจริง ด้วยการผูกมัดพวกเขาด้วยเวทมนตร์เชือกของเธอ[17] ลักษณะภายนอกของเธอเชื่อกันว่า ได้รับแรงบันดาลใจจากโอลิฟ เบิร์น และกำไลทองสัมฤทธิ์ (ซึ่งวันเดอร์วูแมนใช้เพื่อกันกระสุน) ก็ได้รับแรงบันดาลใจจากกำไลเครื่องประดับที่สวมใส่โดยเบิร์น[18]
หลังจากที่ชื่อ "ซูพรีมา" ถูกแทนที่ด้วย "วันเดอร์วูแมน" ซึ่งเป็นคำที่ได้รับความนิยมในนั้น และสื่อถึงผู้หญิงที่มีพรสวรรค์เป็นพิเศษ วันเดอร์วูแมนได้เปิดตัวในหนังสือการ์ตูน All Star Comics #8 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 โดย วันเดอร์วูแมน ปรากฏตัวครั้งต่อไป ในหนังสือการ์ตูนSensation Comics #1 (มกราคม 2485) และหกเดือนต่อมาใน Wonder Woman #1
วิลเลียม โมลตัน มาร์สตัน เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 ใน Rye, นิวยอร์ก, เจ็ดวันที่ก่อนวันเกิดปีที่ 54 ของเขา หลังจากการตายของเขา เอลิซาเบธ และโอลิฟ ยังคงอยู่ด้วยกันจนโอลิฟเสียชีวิตตอนอายุ 86 ปี ในปี 1990 และเอลิซาเบธเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1993 มีอายุ 100 ปี[18] ใน ค.ศ. 1985 หลังจากการตาย มาร์สตันได้ถูกยกย่องโดย ดีซีคอมิกส์ ในนิตยสารครบรอบ 50 ปีว่าเป็น หนึ่งในห้าสิบคนที่ทำให้ดีซีคอมิกส์ดี[19]
ในภาพยนตร์
[แก้]ชีวิตของมาร์สตันได้ถูกถ่ายทอดในภาพยนตร์ Professor Marston and the Wonder Women เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติที่เล่าถึง เอลิซาเบธ ฮาโลเวย์ มาร์สตัน โอลิฟ เบิร์นและการสร้างวันเดอร์วูแมน[20][21] นำแสดงโดยลูค อีแวนส์ รีเบคกา ฮอลล์ และเบลลา ฮีธโคต[22]
บรรณานุกรม
[แก้]- "Systolic blood pressure symptoms of deception and constituent mental states." (Harvard University, 1921) (doctoral dissertation)
- (1999; originally published 1928) Emotions of Normal People. Taylor & Francis Ltd. ISBN 0-415-21076-30-415-21076-3
- (1930) Walter B. Pitkin & William M. Marston, The Art of Sound Pictures. New York: Appleton.
- (1931) ''Integrative Psychology: A Study of Unit Response (with C. Daly King, and Elizabeth Holloway Marston).
- (c. 1932) Venus with us; a tale of the Caesar. New York: Sears.
- (1936) You can be popular. New York: Home Institute.
- (1937) Try living. New York: Crowell.
- (1938) The lie detector test. New York: Smith.
- (1941) March on! Facing life with courage. New York: Doubleday, Doran.
- (1943) F.F. Proctor, vaudeville pioneer (with J.H. Feller). New York: Smith.
- บทความวิจัย
- (1917) "Systolic blood pressure symptoms of deception." Journal of Experimental Psychology, Vol 2(2), 117–163.
- (1920) "Reaction time symptoms of deception." Journal of Experimental Psychology, 3, 72–87.
- (1921) "Psychological Possibilities in the Deception Tests." Journal of Criminal Law & Criminology, 11, 551–570.
- (1923) "Sex Characteristics of Systolic Blood Pressure Behavior." Journal of Experimental Psychology, 6, 387–419.
- (1924) "Studies in Testimony." Journal of Criminal Law & Criminology, 15, 5–31.
- (1924) "A Theory of Emotions and Affection Based Upon Systolic Blood Pressure Studies." American Journal of Psychology, 35, 469–506.
- (1925) "Negative type reaction-time symptoms of deception." Psychological Review, 32, 241–247.
- (1926) "The psychonic theory of consciousness." Journal of Abnormal and Social Psychology, 21, 161–169.
- (1927) "Primary emotions."Psychological Review, 34, 336–363.
- (1927) "Consciousness, motation, and emotion." Psyche, 29, 40–52.
- (1927) "Primary colors and primary emotions." Psyche, 30, 4–33.
- (1927) "Motor consciousness as a basis for emotion." Journal of Abnormal and Social Psychology, 22, 140–150.
- (1928) "Materialism, vitalism and psychology." Psyche, 8, 15–34.
- (1929) "Bodily symptoms of elementary emotions." Psyche, 10, 70–86.
- (1929) "The psychonic theory of consciousness—an experimental study," (with C.D. King). Psyche, 9, 39–5.
- (1938) "'You might as well enjoy it.'" Rotarian, 53, No. 3, 22–25.
- (1938) "What people are for." Rotarian, 53, No. 2, 8–10.
- (1944) "Why 100,000,000 Americans read comics." The American Scholar, 13 (1), 35–44.
- (1944) "Women can out-think men!" Ladies Home Journal, 61 (May), 4–5.
- (1947) "Lie detection's bodily basis and test procedures," in: P.L. Harriman (Ed.), Encyclopedia of Psychology, New York, 354–363.
- Articles "Consciousness," "Defense mechanisms," and "Synapse" in the 1929 edition of the Encyclopædia Britannica.
บันทึก
[แก้]- Biographical entry in Jaques Cattell, (ed.), American Men of Science: A Biographical Directory, Seventh Edition, (Lancaster, 1944), pp. 1173–1174.
- Brown, Matthew J. "Love Slaves and Wonder Women: Radical Feminism and Social Reform in the Psychology of William Moulton Marston", Feminist Philosophy Quarterly 2(1), (2016): Article 1.
- Bunn, Geoffrey C. "The Lie Detector,Wonder Woman and Liberty: The Life and Works of William Moulton Marston,", History of the Human Sciences, 10 (1997): 91–119.
- Daniels, Les, and Chip Kidd. Wonder Woman: A Complete History. (Chronicle Books, 2000); ISBN 0-8118-2913-80-8118-2913-8
- Gillespie, Nick. "William Marston's Secret Identity: The strange private life of Wonder Woman's creator." Reason, May 2001.
- Glen, Joshua. "Wonder-working power." Boston Globe, April 4, 2004.
- Jett, Brett. "Who Is Wonder Woman?", " (Manuscript) (2009): 1–71.
- Lamb, Marguerite. "Who Was Wonder Woman? Long-ago LAW alumna Elizabeth Marston was the muse who gave us a superheroine." Boston University, Fall 2001.
- Lepore, Jill. The Secret History of Wonder Woman, New York: Alfred A. Knopf, 2014, ISBN 97803853540429780385354042
- Malcolm, Andrew H."She's Behind the Match For That Man of Steel". New York Times. February 18, 1992.
- Moore, Mark Harrison. The Polygraph and Lie Detection. Committee to Review the Scientific Evidence on the Polygraph (National Research Council, U.S.), 2003.
- Richard, Olive. "Our Women Are Our Future", (Article), Family Circle, 14 August 1942.
- Rosenberg, Robin S. "Wonder Woman As Émigré – Why would Wonder Woman leave her idyllic existence on Paradise Island?", (Article) (2010).
- Valcour, Francinne. "Training "love leaders": William Moulton Marston, Wonder Woman and the "new woman" of the 1940s", (Dissertation) (1999): 1–150.
- Valcour, Francinne. "Manipulating The Messenger: Wonder Woman As An American Female Icon", (Dissertation) (2006): 1–372.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Garner, Dwight (October 23, 2014). "Books – Her Past Unchained 'The Secret History of Wonder Woman,' by Jill Lepore". New York Times. สืบค้นเมื่อ October 23, 2014.
- ↑ "BU Alumni Web :: Bostonia :: Fall 2001". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2007.
- ↑ "OUR TOWNS; She's Behind the Match For That Man of Steel". February 18, 1992.
- ↑ Flavin, R. D. (n.d.) The Doctor and the Wonder Women: Love, Lies, and Revisionism. Retrieved October 3, 2014.
- ↑ Harvard Class of 1915 25th Anniversary Report, pp. 480–482.
- ↑ Marston, Christie (October 20, 2017). "What 'Professor Marston' Misses About Wonder Woman's Origins (Guest Column)". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ October 21, 2017.
- ↑ Tim Hanley, Wonder Woman Unbound: The Curious History of the World's Most Famous Heroine, Chicago Review Press, 2014, p. 12.
- ↑ (Lamb, 2001)
- ↑ "The Polygraph and Lie Detection".
- ↑ Moore, Mark H. (2003). The Polygraph and Lie Detection. National Academies Press. p. 29. ISBN 0-309-08436-9.
- ↑ "Why Men Are Organizing To Fight Female Dominance" October 19, 1929, Hamilton Evening Journal
- ↑ Richard, Olive. Our Women Are Our Future เก็บถาวร 2006-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Lamb, Marguerite. "Who Was Wonder Woman? Long-Ago LAW Alumna Elizabeth Marston Was the Muse Who Gave Us a Superheroine." Boston University Alumni Magazine, Fall 2001.
- ↑ Malcolm, Andrew H. "OUR TOWNS; She's Behind the Match For That Man of Steel". The New York Times, Feb. 18, 1992.
- ↑ Daniels, Les. Wonder Woman: The Complete History, (DC Comics, 2000), pp. 28–30.
- ↑ Walsh, Colleen (September 7, 2017). "The life behind Wonder Woman". harvard.edu. Harvard University. สืบค้นเมื่อ December 16, 2017.
- ↑ Lepore, Jill. The Secret History of Wonder Woman, New York: Alfred A. Knopf, 2014, ISBN 9780385354042, pages 183–209.
- ↑ 18.0 18.1 Lepore, Jill (October 2014). "The Surprising Origin Story of Wonder Woman". Smithsonian.com. Smithsonian Magazine. สืบค้นเมื่อ October 16, 2017.
- ↑ Marx, Barry, Cavalieri, Joey and Hill, Thomas (w), Petruccio, Steven (a), Marx, Barry (ed). "William Moulton Marston Wonder Woman's Legend Born" Fifty Who Made DC Great: 17 (1985), DC Comics
- ↑ Wonder Woman creator biopic gets mysterious first teaser
- ↑ What that mysterious teaser before 'Wonder Woman' was about
- ↑ D'Alessandro, Anthony (September 15, 2017). "Annapurna To Release MGM's 'Death Wish' Over Thanksgiving; Sets October Date For 'Professor Marston & The Wonder Women'". Deadline.com. สืบค้นเมื่อ September 15, 2017.