วิธีใช้:ยูอาร์แอล
หากคุณพบปัญหาในการเข้าถึงด้วยยูอาร์แอลภาษาไทย กรุณาอ่านวิธีแก้ไขที่ วิกิพีเดีย:ปัญหายูอาร์แอลภาษาไทย
หน้าคำอธิบายนี้เป็นคู่มือบอกวิธี ซึ่งบอกรายละเอียดกระบวนการหรือกระบวนวิธีของบางส่วนของบรรทัดฐานและวัตรของวิกิพีเดีย ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของนโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย
|
หน้าต่าง ๆ ของโครงการโดยวิกิมีเดีย มียูอาร์แอลเป็นตัวระบุตำแหน่ง เช่นเดียวกับหน้าต่าง ๆ บนเวิลด์ไวด์เว็บ ยูอาร์แอลเหล่านี้เป็นที่อยู่ซึ่งปรากฏบนเว็บเบราว์เซอร์ของคุณ ผู้เขียนบทความในวิกิพีเดียมีความสามารถในการสร้างไฮเปอร์ลิงก์ไปยังยูอาร์แอลที่เลือก ซึ่งชี้ไปยังหน้าต่าง ๆ ทั้งในวิกิพีเดียและโครงการอื่นของวิกิมีเดีย หรือที่ใดก็ตามบนเว็บ
การสร้างลิงก์ด้วยยูอาร์แอล
[แก้]เมื่อแก้ไขหน้าใดหน้าหนึ่ง การสร้างไฮเปอร์ลิงก์เพื่อเชื่อมโยงหน้าอื่นภายในวิกิพีเดีย (หรือโครงการอื่นของวิกิมีเดีย) สามารถทำได้โดยใช้ วิกิลิงก์ ซึ่งใช้รูปแบบ [[...]] ในการเขียนตามปกติ (ดูเพิ่มที่ วิธีใช้:ลิงก์) อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการสร้างการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ภายนอก หรือการระบุหน้าที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะของวิกิมีเดีย (เช่นรุ่นย้อนหลังของบทความ หรือหน้าพิเศษที่ต้องใช้พารามิเตอร์) คุณจำเป็นต้องใช้ยูอาร์แอลเต็ม สามารถทำเป็น ลิงก์ภายนอก ได้
การสร้างลิงก์ภายนอกมีสามรูปแบบหลักได้แก่
- ใส่ยูอาร์แอลโดยตรงในข้อความวิกิ โดยไม่มีวงเล็บเหลี่ยม จะแสดงผลเป็นไฮเปอร์ลิงก์บนข้อความยูอาร์แอล
- http://meta.wikimedia.org/ จะให้ผลเป็น http://meta.wikimedia.org/
- ใส่ยูอาร์แอลภายในวงเล็บเหลี่ยมหนึ่งคู่ จะแสดงผลเป็นไฮเปอร์ลิงก์บนหมายเลขลำดับ
- [http://meta.wikimedia.org/] จะให้ผลเป็น [1]
- ใส่ยูอาร์แอล เว้นวรรค ตามด้วยข้อความ ทั้งหมดภายในวงเล็บเหลี่ยมหนึ่งคู่ จะแสดงผลเป็นไฮเปอร์ลิงก์บนข้อความที่ป้อน
- [http://meta.wikimedia.org/ Wikimedia] จะให้ผลเป็น Wikimedia
หากต้องการซ่อนลูกศรสีฟ้าจากลิงก์ ให้ใส่ลิงก์ภายนอกไว้ระหว่างแท็ก <span class="plainlinks">...</span>
ยูอาร์แอลที่ใส่ได้ต้องขึ้นต้นด้วย "https://", "https://", "ftp://" หรือ "irc://" ต้องไม่มีช่องว่างในยูอาร์แอลเพราะจะทำให้ลิงก์ขาดตอน และต้องประกอบด้วยอักษรต่อไปนี้ A-Z a-z 0-9 ._\/~%-+&#?!= () @: ส่วนอักษรอื่น ๆ จะถูกแปลงโดยระบบให้เป็นรูปแบบที่ยอมรับได้
โดยปกติยูอาร์แอลที่ต้องการสามารถคัดลอกและวางได้จากแถบที่อยู่บนเว็บเบราว์เซอร์ของคุณได้โดยตรง หากคุณต้องการสร้างยูอาร์แอลขึ้นเองไม่ว่าด้วยเหตุผลใด กรุณาระลึกว่าอักษรบางตัวจำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบการเข้ารหัสเปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น ^ ต้องเขียนเป็น %5E ซึ่งเป็นค่าแอสกีในเลขฐานสิบหกและขึ้นต้นด้วยเครื่องหมายเปอร์เซ็นต์ ช่องว่างในชื่อเรื่องของวิกิพีเดียสามารถเปลี่ยนเป็นอันเดอร์สกอร์ _ ได้
อักขระยูนิโคดก็สามารถมีอยู่ในยูอาร์แอลได้ ซึ่งระบบจะเปลี่ยนให้ตามความจำเป็น ตัวอย่างเช่น http://th.wikipedia.org/wiki/ข้าว จะถูกเปลี่ยนเป็น http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7 ตามรหัสไบนารีของยูนิโคด รายละเอียดเพิ่มเติมของการเข้ารหัสเปอร์เซ็นต์ ศึกษาได้ที่ Linking to URLs บนเมตาวิกิ
ยูอาร์แอลของวิกิพีเดีย
[แก้]ยูอาร์แอลของวิกิพีเดียภาษาไทยขึ้นต้นด้วย http://th.wikipedia.org/ ซึ่งที่อยู่ดังกล่าวจะเปลี่ยนทางไปยังหน้าหลัก
ยูอาร์แอลของหน้าอื่น ๆ ในวิกิพีเดียมีสองรูปแบบได้แก่
- http://th.wikipedia.org/wiki/ชื่อหน้า (รูปแบบปริยายที่ระบบใช้)
- http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ชื่อหน้า (รูปแบบทางเลือกที่ให้ผลเหมือนกัน)
ชื่อหน้าบางหน้าอาจมีเนมสเปซประกอบอยู่ด้วย (ตัวอย่างในหน้านี้คือ "วิธีใช้:") หน้าพิเศษบางหน้าอาจรวมพารามิเตอร์หนึ่งค่าเพิ่มเข้ามาเช่น http://th.wikipedia.org/wiki/พิเศษ:เรื่องที่เขียน/Jutiphan แต่สำหรับพารามิเตอร์ของหน้าพิเศษส่วนใหญ่ ดูเนื้อหาถัดไป
ยูอาร์แอลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน้าใดหน้าหนึ่งถูกสร้างขึ้นโดยการเพิ่มสายอักขระสอบถาม (query string) คือส่วนที่ตามหลังเครื่องหมายปรัศนี ? ในยูอาร์แอล สายอักขระนี้สามารถเพิ่มลงไปในยูอาร์แอลรูปแบบใดข้างต้นก็ได้ แต่ในกรณีที่รูปแบบปริยายของระบบเป็นแบบที่สอง จะต้องต่อขยายสายอักขระสอบถามที่มีอยู่แล้วต่อไปอีก
ยูอาร์แอลส่วนต่อขยายจะถูกใช้เมื่อ
- ไปยังหน้าเปลี่ยนทางโดยไม่ต้องให้ระบบเปลี่ยนหน้า (ดูเนื้อหาในหน้าเปลี่ยนทาง) http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ข้าวเจ้า&redirect=no
- ไปยังหน้าแก้ไขบทความ (หรือดูรหัสจากหน้าที่ถูกล็อก) http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ข้าว&action=edit พารามิเตอร์อื่น ๆ สามารถเพิ่มอีกได้เช่น section=5 หรือ section=new เพื่อแก้ไขหรือเพิ่มหัวข้อใหม่ในหน้านั้น
- เข้าถึงประวัติการแก้ไขของหน้า http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ข้าว&action=history หรือสามารถเพิ่มพารามิเตอร์มากขึ้นอีกเช่น http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ข้าว&limit=5&offset=90&action=history จะแสดงประวัติของรุ่นที่ 91–95
- ไปยังรุ่นใดรุ่นหนึ่งย้อนหลังของหน้า http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ข้าว&oldid=1688544 ซึ่งจะทำให้เกิดลิงก์ถาวรสำหรับหน้าเฉพาะรุ่นนั้น ๆ หากต้องการลิงก์ถาวรสำหรับรุ่นล่าสุดสามารถคลิกที่ "ลิงก์ถาวร" จากแถบ "เครื่องมือ" ทางซ้าย โปรดทราบว่าหมายเลขระบุรุ่น oldid จะไม่ซ้ำกันเลยสำหรับทุกรุ่นและทุกหน้า ดังนั้นพารามิเตอร์ title จึงไม่มีผลในกรณีนี้และสามารถละทิ้งได้ http://th.wikipedia.org/w/index.php?oldid=1688544
- เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างรุ่นสองรุ่นในหนึ่งหน้า http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ข้าว&diff=1688547&oldid=1688544 ซึ่ง diff คือหมายเลขระบุรุ่นที่ต้องการเปรียบเทียบทางขวามือ ถ้ากำหนดให้ diff=0 คือการเปรียบเทียบกับรุ่นปัจจุบัน ถ้ากำหนดให้ diff=0 พร้อมกับ oldid=0 คือการเปรียบเทียบรุ่นปัจจุบันกับหนึ่งรุ่นก่อนหน้า พารามิเตอร์ title ไม่มีผลในกรณีนี้เช่นกัน (คุณสามารถเปรียบเทียบรุ่นระหว่างหน้าที่ต่างกันสองหน้าได้)
- เฝ้าดูและยกเลิกการเฝ้าดูหน้า http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ข้าว&action=watch (หรือ action=unwatch เมื่อต้องการยกเลิก)
- ล้างหน่วยความจำชั่วคราวบนเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บการแสดงผลของหน้า (เพื่อให้หน้านั้นแสดงผลแม่แบบที่เพิ่งอัปเดตใหม่เป็นต้น) http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ข้าว&action=purge สิ่งนี้ไม่ใช่การล้างหน่วยความจำชั่วคราวบนเว็บเบราว์เซอร์ของท่าน
- กระทำงานอื่น ๆ เฉพาะอย่าง แทนที่ purge จากตัวอย่างข้างต้นด้วยคำสั่งอาทิ view, delete, revert, rollback, unprotect, info, markpatrolled, validate, render, deletetrackback การกระทำเหล่านี้ส่วนใหญ่ทำได้โดยผู้ดูแลระบบเท่านั้น
- เรียกข้อความวิกิของหน้าโดยไม่ต้องดาวน์โหลดเอชทีเอ็มแอลเต็มรูปแบบ http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ข้าว&action=raw
- ดูรายชื่อหน้าในหมวดหมู่โดยเริ่มตั้งแต่จุดที่ต้องการ http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=หมวดหมู่:ประเทศไทย&from=ส
- ระบุพารามิเตอร์สำหรับหน้าพิเศษ เช่น http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=พิเศษ:ปรับปรุงล่าสุด&from=201002010000 กรณีนี้พารามิเตอร์ from เป็นตราเวลา (timestamp) ในรูปแบบ yyyymmddhhmmss เวลาสากลเชิงพิกัด แต่สำหรับหน้าพิเศษอื่น พารามิเตอร์ที่ต้องการก็จะเปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับหน้านั้น
ถ้าหากจะสร้างยูอาร์แอลสำหรับหน้าของวิกิพีเดีย อย่าลืมเปลี่ยนช่องว่างให้เป็นอันเดอร์สกอร์ และแทนที่อักษรพิเศษด้วยรหัสเปอร์เซ็นต์ ดังที่เคยกล่าวไว้แล้วในหัวข้อก่อนหน้า
ข้อความแจ้งความผิดพลาดหลายชนิดอาจปรากฏขึ้นหากยูอาร์แอลที่ส่งมาไม่ถูกต้อง หรือคุณไม่มีสิทธิ์เข้าถึงด้วยยูอาร์แอลเช่นนั้น กรณีอื่นยูอาร์แอลอาจเปลี่ยนทางไปยังหน้าที่ถูกต้องได้เอง เช่นเรื่องอักษรตัวเล็กตัวใหญ่ หรือใส่ช่องว่างมากเกินไป
ยูอาร์แอลของโครงการอื่นของวิกิมีเดีย
[แก้]โครงการอื่นใช้รูปแบบยูอาร์แอลคล้ายกับวิกิพีเดียภาษาไทย แต่ต่างกันที่ชื่อโดเมนเช่น http://meta.wikimedia.org/ สำหรับเมตาวิกิ http://en.wikipedia.org/ สำหรับวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ http://de.wiktionary.org/ สำหรับวิกิพจนานุกรมภาษาเยอรมัน เป็นต้น
โปรดทราบว่า http://www.wikipedia.org จะนำไปสู่หน้ารวมเพื่อเลือกภาษาของวิกิพีเดีย แต่ยูอาร์แอลอื่นที่ขึ้นต้นด้วยชื่อโดเมนนี้จะเปลี่ยนทางไปยังวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ
โครงการอื่นอาจใช้สายอักขระในยูอาร์แอลที่ต่างออกไปแทนที่ "/w/" กับ "/wiki/" ดูเพิ่มที่ URL บนเมตาวิกิ
แม่แบบและการเขียนโปรแกรม
[แก้]ยูอาร์แอลที่ถูกต้องเพื่อใช้ในแม่แบบ สามารถสร้างได้โดยใช้คำวิเศษและฟังก์ชันแจงส่วนเช่น fullurl, urlencode และอื่น ๆ รายละเอียดของคุณลักษณะเหล่านี้ คุณสามารถศึกษาได้ที่ Magic words บนมีเดียวิกิ
การโต้ตอบเชิงโปรแกรมกับวิกิพีเดียสามารถกระทำผ่านเอพีไอได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยูอาร์แอลจะขึ้นต้นด้วย http://th.wikipedia.org/w/api.php รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ศึกษาได้ที่ API บนมีเดียวิกิ