รายพระนามจักรพรรดิไบแซนไทน์
จักรพรรดิ แห่งชาวโรมัน | |
---|---|
ราชาธิปไตยในอดีต | |
Byzantine Palaiologos Eagle.svg | |
เครื่องยศจักรพรรดิที่ถูกใช้ในสมัยราชวงศ์พาลาโอโลกอส | |
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 จักรพรรดิไบแซนไทน์องค์สุดท้าย | |
| |
ปฐมกษัตริย์ | จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช |
องค์สุดท้าย | จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 พาลาโอโลกอส |
สถานพำนัก | พระราชวังคอนสแตนติโนเปิล |
ผู้แต่งตั้ง | ไม่ระบุ, โดยพฤตินัย, สืบราชสันตติวงศ์ทางสายโลหิต[1] |
เริ่มระบอบ | 11 พฤษภาคม ค.ศ. 330 |
สิ้นสุดระบอบ | 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 (1,123 ปี 18 วัน) |
นี่คือ รายพระนามจักรพรรดิไบแซนไทน์ ตั้งแต่การสถาปนากรุงคอนสแตนติโนเปิลในปีค.ศ. 330 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นโดยทั่วไปของจักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือ จักรวรรดิไบแซนไทน์ ไปจนถึงการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลแก่จักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1453 มีเพียงจักรพรรดิเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีพระราชอำนาจในการใช้อำนาจอธิปไตย รวมทั้งการแยกตำแหน่งจักรพรรดิร่วม (symbasileis:ซิมบาซิเลอิส) ผู้ซึ่งไม่เคยเป็นสถานะของผู้ปกครอง และไม่นับรวมผู้ช่วงชิงราชบัลลังก์หรือกบฏที่ทำการอ้างสิทธิในตำแหน่งจักรพรรดิ
ตามประเพณีโบราณ สายสันตติวงศ์ของจักรพรรดิไบแซนไทน์จะเริ่มร่วมกับจักรพรรดิโรมัน จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช จักรพรรดิคริสตศาสนิกชนพระองค์แรก ผู้ทรงสร้างเมืองบิแซนเทียมขึ้นมาใหม่ในฐานะราชธานี นามว่า คอนสแตนติโนเปิล และเป็นผู้ซึ่งได้รับการยกย่องจากจักรพรรดิไบแซนไทน์ในสมัยหลังในฐานะรูปแบบของผู้ปกครอง ลักษณะเด่นสำคัญของรัฐไบแซนไทน์ได้เกิดขึ้นในรัชสมัยจักรพรรดิคอนสแตนติน คือ ระบบการปกครองได้มีศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิลและถูกครอบงำทางวัฒนธรรมโดยกรีกตะวันออกกับศาสนาคริสต์ที่เป็นศาสนาประจำชาติ
จักรพรรดิไบแซนไทน์ทุกพระองค์ขนามนามพระองค์เองว่า "จักรพรรดิโรมัน"[2] คำว่า "ไบแซนไทน์" นั้นได้ถูกประกาศใช้โดยประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ตำแหน่ง "จักรพรรดิโรมัน" ไม่ได้ถูกท้าทายมาก่อนจนกระทั่งสมเด็จพระสันตะปาปาทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสวมมงกุฎให้แก่กษัตริย์ชาวแฟรงก์ คือ พระเจ้าชาร์เลอมาญ ในฐานะ "จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์" (25 ธันวาคม ค.ศ. 800) เป็นการกระทำเพื่อตอบโต้พระราชพิธีราชาภิเษกไบแซนไทน์ จักรพรรดินีไอรีน ซึ่งเป็นสตรี โดยไม่ได้รับการยอมรับจากสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3
ตำแหน่งของจักรพรรดิทั้งหมดก่อนหน้าจักรพรรดิเฮราคลิอัสมีตำแหน่งอย่างเป็นทางการว่า "ออกัสตัส" (Augustus) ถึงแม้ว่าจะมีตำแหน่งอื่นที่ใช้อย่าง โดมินัส (Dominus) ชื่อตำแหน่งทั้งหลายก่อนหน้ามาจาก อิมเพอเรเตอร์ (Imperator) ซีซาร์ (Caesar) และตามมาด้วย ออกัสตัส ต่อมาในรัชสมัยจักรพรรดิเฮราคลิอัส ชื่อตำแหน่งได้กลายเป็นภาษากรีกคือ บาซิลิอัส (Basileus; ภาษากรีก:Βασιλεύς) ซึ่งมีความหมายแต่เดิมว่า ประมุข แต่ถูกใช้เพื่อแทนที่คำว่า ออกัสตัส ตามมาด้วยการสร้างศัตรูกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในยุโรปตะวันตก ตำแหน่ง "ออโตคราเตอ" (Autokrator; ภาษากรีก:Αὐτοκράτωρ) ได้ถูกนำมาใช้มากขึ้น ในหลายศตวรรษต่อมา จักรพรรดิถูกกล่าวถึงโดยชาวคริสต์ตะวันตกว่าเป็น "จักรพรรดิแห่งกรีก" ในช่วงสุดท้ายของจักรวรรดิ จักรพรรดิจะเรียกตนเองว่า "[พระนามจักรพรรดิ]ในพระคริสต์ จักรพรรดิและอัตตาธิปัตย์แห่งชาวโรมัน"
ในช่วงยุคกลาง ระบบราชวงศ์ถือเป็นเรื่องปกติแต่หลักการสืบราชสันตติวงศ์ไม่ได้ถูกทำให้เป็นทางการในจักรวรรดิ[3] และการสืบราชสันตติวงศ์มีความเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีมากกว่าหลักการที่กำหนดเป็นกฎหมาย[4]
รวมทั้งราชวงศ์พาลาโอโลกอส ได้อ้างสิทธิในจักรพรรดิไบแซนไทน์ขณะลี้ภัย มีจักรพรรดิทั้งหมด 99 พระองค์ในระยะเวลา 1,000 ปีของจักรวรรดิไบแซนไทน์
ราชวงศ์คอนสแตนติเนียน (ค.ศ. 306 - 363)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 "มหาราช" Constantine I "the Great" (ภาษากรีก: Κωνσταντῖνος Α' ὁ Μέγας, ภาษาละติน: Gaius Flavius Valerius Aurelius Constantinus) |
19 กันยายน ค.ศ. 324 – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 337 (12 ปี 245 วัน) |
ประสูติที่นาอิซซัสราวปีค.ศ. 273/4 เป็นพระโอรสในออกัสตัส จักรพรรดิคอนสแตนติอัส คลอรัสกับจักรพรรดินีเฮเลนา ทรงได้รับการประกาศเป็นออกัสตัสแห่งจักรวรรดิตะวันตกหลังจากการสวรรคตของพระราชบิดาในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 306 พระองค์กลายเป็นพระประมุขแห่งจักรวรรดิตะวันตกแต่เพียงพระองค์เดียวหลังจากสมรภูมิสะพานมิลเวียนในปีค.ศ. 312 ในปีค.ศ. 324 พระองค์ทรงกำจัดออกัสตัสตะวันออก จักรพรรดิลิซิเนียสและทรงรวมจักรวรรดิเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวจนกระทั่งสวรรคต จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงเสร็จสิ้นการปฏิรูปทางการบริหารและกองทัพที่เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิไดโอคลีเชียน ผู้ทรงเริ่มต้นนำไปสู่สมัยแห่งการปกครอง จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงสนพระทัยอย่างแข็งขันในศาสนาคริสต์ พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการสร้างความเป็นคริสต์ในโลกโรมัน โดยผ่านการเรียกประชุมสังคายนาศาสนาครั้งแรกที่เมืองไนเซีย หรือ นิคาเอีย พระองค์ทรงเข้ารับบัพติศมาขณะทรงใกล้จะสวรรคตบนแท่นบรรทม พระองค์ยังทรงปฏิรูปการสร้างเหรียญโซลิดัสทองคำ และทรงริเริ่มการก่อสร้างขนาดใหญ่ ด้วยการสถาปนาเมืองบิแซนเทียมขึ้นมาอีกครั้งในฐานะ "โรมใหม่" ซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักในนามว่า คอนสแตนติโนเปิล พระองค์ได้รับการยกย่องจากจักรพรรดิไบแซนไทน์ในสมัยหลังในฐานะรูปแบบของผู้ปกครอง[5] | |
จักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2 Constantius II (ภาษากรีก: Κωνστάντιος [Β'], ภาษาละติน: Flavius Iulius Constantius) |
22 พฤษภาคม ค.ศ. 337 – 5 ตุลาคม ค.ศ. 361 (24 ปี 136 วัน) |
ประสูติในวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 317 เป็นพระโอรสองค์ที่สองในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 พระองค์ทรงได้รับมรดกเป็นดินแดนจักรวรรดิโรมันหลังพระราชบิดาสวรรคต และเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวในปีค.ศ. 353 หลังจากทรงโค่นล้มอำนาจมักเนนเทียส ผู้ช่วงชิงราชบัลลังก์ทางตะวันตก รัชสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนเชียสมีกิจการทหารบริเวณชายแดนและความไม่ลงรอยระหว่างลัทธิเอเรียสที่จักรพรรดิทรงสนับสนุน กับผู้สนับสนุน "ออร์ทอดอกซ์"แห่งหลักข้อเชื่อไนซีน ในรัชสมัยของพระองค์ คอนสแตนติโนเปิลได้ถูกมอบสถานะที่เท่าเทียมกับโรม และมีการเริ่มสร้างฮายาโซฟีอาขึ้น จักรพรรดิคอนสแตนเชียสทรงแต่งตั้งคอนสแตนเชียส กัลลัสและจูเลียนขึ้นเป็นซีซาร์ และทรงสวรรคตระหว่างเดินทางไปเผชิญหน้ากับจูเลียน ผู้ซึ่งลุกขึ้นต่อต้านพระองค์[6] | |
จักรพรรดิคอนสแตนที่ 1 Constans I (ภาษากรีก: Κώνστας Α', ภาษาละติน: Flavius Iulius Constans ) |
22 พฤษภาคม ค.ศ. 337 – มกราคม ค.ศ. 350 (12 ปี 223 วัน) |
ประสูติราวค.ศ. 323 เป็นพระโอรสองค์ที่สามในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ทรงเป็นซีซาร์นับตั้งแต่ค.ศ. 333 พระองค์ได้รับมรดกเป็นดินแดนตอนกลางของจักรวรรดิโรมันหลังพระราชบิดาสวรรคต และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวทางฝั่งตะวันตกหลังการสวรรคตของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 2 ในปีค.ศ. 348 ด้วยการสนับสนุนอะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรีย พระองค์ทรงต่อต้านลัทธิเอเรียส จักรพรรดิคอนสแตนทรงถูกลอบปลงพระชนม์ระหว่างการพยายามก่อรัฐประหารของมักเนนเทียส[7] | |
จักรพรรดิจูเลียน "เดอะอโพสเตท" Julian "the Apostate" (ภาษากรีก: Ἰουλιανὸς "ὁ Παραβάτης", ภาษาละติน: Flavius Claudius Iulianus ) |
5 ตุลาคม ค.ศ. 361 – 28 มิถุนายน ค.ศ. 363 (1 ปี 266 วัน) |
ประสูติในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 332 เป็นพระนัดดาในจักรพรรดิคอนสแตนติอัส คลอรัส และเป็นพระญาติกับจักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2 ทรงประกาศโดยกองทัพของพระองค์ในกอลในฐานะจักรพรรดิที่ถูกต้องตามกฎหมายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิคอนสแตนเชียส พระองค์สวรรคตในศึกสงครามกับจักรวรรดิแซสซานิด |
ไม่ใช่ราชวงศ์ (ค.ศ. 363 - 364)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิโจเวียน Jovian (ภาษากรีก: Ἰοβιανός, ภาษาละติน: Flavius Iovianus) |
28 มิถุนายน ค.ศ. 363 – 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 364 (0 ปี 234 วัน) |
ประสูติราวค.ศ. 332 ทรงเป็นหัวหน้าราชองครักษ์ภายใต้จักรพรรดิจูเลียน ทรงได้รับการเลือกโดยกองทัพหลังจากจักรพรรดิจูเลียนสวรรคต พระองค์สวรรคตระหว่างเสด็จกลับกรุงคอนสแตนติโนเปิล |
ราชวงศ์วาเล็นติเนียน (ค.ศ. 364 - 379)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิวาเล็นติเนียนที่ 1 Valentinian I (ภาษากรีก: Οὐαλεντιανός, ภาษาละติน: Flavius Valentinianus) |
26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 364 – 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 375 (11 ปี 264 วัน) |
ประสูติในค.ศ. 321 ทรงเป็นนายทหารภายใต้จักรพรรดิจูเลียนและจักรพรรดิโจเวียน ทรงได้รับการเลือกโดยกองทัพหลังจากจักรพรรดิโจเวียนสวรรคต ต่อมาพระองค์ทรงแต่งตั้งพระอนุชาคือ วาเล็นส เป็นจักรพรรดิทางตะวันออก พระองค์สวรรคตด้วยภาวะเลือดออกในสมองใหญ่ | |
จักรพรรดิวาเล็นส Valens (ภาษากรีก: Οὐάλης, ภาษาละติน: Flavius Iulius Valens) |
28 มีนาคม ค.ศ. 364 – 9 สิงหาคม ค.ศ. 378 (14 ปี 134 วัน) |
ประสูติในค.ศ. 328 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิตะวันออกโดยจักรพรรดิวาเล็นติเนียนที่ 1 พระเชษฐา พระองค์สวรรคตในยุทธการที่เอเดรียโนเปิล | |
จักรพรรดิกราเชียน Gratian (ภาษากรีก: Γρατιανός, ภาษาละติน: Flavius Gratianus) |
9 สิงหาคม ค.ศ. 378 – 19 มกราคม ค.ศ. 379 (0 ปี 163 วัน) |
ประสูติวันที่ 18 เมษายน/23 พฤษภาคม ค.ศ. 359 เป็นพระโอรสในจักรพรรดิวาเล็นติเนียนที่ 1 ทรงเป็นจักรพรรดิตะวันตก พระองค์ขึ้นครองบัลลังก์ตะวันออกหลังการสวรรคตของจักรพรรดิวาเล็นส และพระองค์ทรงแต่งตั้งธีโอโดเซียสที่ 1 ขึ้นเป็นจักรพรรดิตะวันออก พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 383 ระหว่างการก่อกบฏของแม็กนัส แม็กซิมัส |
ราชวงศ์ธีโอโดเซียน (ค.ศ. 379 - 457)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 1 "มหาราช" Theodosius I "the Great" (ภาษากรีก: Θεοδόσιος Α' ὁ Μέγας, ภาษาละติน: Flavius Theodosius) |
19 มกราคม ค.ศ. 379 – 17 มกราคม ค.ศ. 395 (15 ปี 363 วัน) |
ประสูติในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 347 เป็นขุนนางและผู้นำทหาร เป็นพระเชษฐภาดาในจักรพรรดิกราเชียน ผู้ทรงแต่งตั้งให้พระองค์เป็นจักรพรรดิตะวันออก ตั้งแต่ค.ศ. 392 จนกระทั่งสวรรคต พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียว | |
จักรพรรดิอาร์เคดิอัส Arcadius (ภาษากรีก: Ἀρκάδιος, ภาษาละติน: Flavius Arcadius) |
17 มกราคม ค.ศ. 395 – 1 พฤษภาคม ค.ศ. 408 (13 ปี 105 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 377/378 ทรงเป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 1 ทรงครองราชบัลลังก์หลังการสวรรคตของพระราชบิดา ในปีค.ศ. 395 จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งอย่างถาวรระหว่างจักรวรรดิโรมันตะวันตกและจักรวรรดิโรมันตะวันออก | |
จักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 2 Theodosius II (ภาษากรีก:Θεοδόσιος Β', ภาษาละติน: Flavius Theodosius) |
1 พฤษภาคม ค.ศ. 408 – 28 กรกฎาคม ค.ศ. 450 (42 ปี 88 วัน) |
ประสูติในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 401 ทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิอาร์เคดิอัส ทรงครองราชบัลลังก์หลังการสวรรคตของพระราชบิดา ขณะทรงพระเยาว์องค์รักษ์เพรทอเรียน แอนธีมิอุส ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ระหว่างค.ศ. 408 - 414 พระองค์สวรรคตจากอุบัติเหตุขณะทรงม้า | |
จักรพรรดินีปูลเชเรีย Pulcheria (ภาษากรีก:Πουλχερία, ภาษาละติน: Aelia Pulcheria) |
28 กรกฎาคม ค.ศ. 450 – กรกฎาคม ค.ศ. 453 (3 ปี 337 วัน) |
ประสูติในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 398 หรือ 399 ทรงเป็นในพระธิดาของจักรพรรดิอาร์เคดิอัสและเป็น ขนิษฐาของจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 2 พระนางทรงครองราชย์พร้อมพระสวามีคือ จักรพรรดิมาร์เชียน | |
จักรพรรดิมาร์เชียน Marcian (ภาษากรีก:Μαρκιανός, ภาษาละติน: Flavius Marcianus Augustus) |
ค.ศ. 450 – มกราคม ค.ศ. 457 (4 ปี 31 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 396 เป็นทหารและนักการเมือง ทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิหลังจากอภิเษกสมรสกับจักรพรรดินีปูลเชเรีย พระเชษฐภคินีในจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 2 พระองค์สวรรคตด้วยโรคเนื้อตายเน่า |
ราชวงศ์เลโอนิด (ค.ศ. 457 - 518)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิเลโอที่ 1 "เดอะทราเชียน" Leo I "the Thracian" (ภาษากรีก:Λέων Α' ὁ Θρᾷξ, ὁ Μακέλλης, ὁ Μέγας, ภาษาละติน: Flavius Valerius Leo) |
7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 457 – 18 มกราคม ค.ศ. 474 (16 ปี 345 วัน) |
ประสูติที่ดาเซียราวค.ศ. 400 และทรงมีต้นกำเนิดเป็นชาวเบสเซียน เลโอทรงมาจากทหารระดับล่างและทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาทหารชาวกอท แอสปาร์ ผู้ซึ่งเลือกพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิมาร์เชียน พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกที่ได้รับการสวมมงกุฎจากอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล รัชสมัยของพระองค์เป็นที่จดจำถึงความสงบที่ชายแดนดานูบและสันติภาพกับเปอร์เซีย ซึ่งทำให้พระองค์สามารถเข้าแทรกแซงกิจการในจักรวรรดิโรมันตะวันตก ด้วยการสนับสนุนผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์ และทรงดำเนินการขยายดินแดนในสมรภูมิแคปบอนเพื่อฟื้นฟูคาร์เธจจากชาวแวนดัลในปีค.ศ. 468 ในช่วงแรกทรงเป็นประมุขหุ่นเชิดของแอสปาร์ จักรพรรดิเลโอทรงเริ่มต้นส่งเสริมชาวอิซอเรียเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับชาวกอทของแอสปาร์ ด้วยการจัดการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงเอเรียดเน พระธิดากับผู้นำชาวอิซอเรียนคือ ทาราซิโกดิสซา (จักรพรรดิเซโน) ด้วยการสนับสนุนจากชาวอิซอเรียน ในปีค.ศ. 471 แอสปาร์ถูกลอบสังหารและอำนาจของชาวกอทเหนือกองทัพก็สูญสิ้นไปด้วย[8] | |
จักรพรรดิเลโอที่ 2 "เดอะลิตเติ้ล" Leo II "the Little" (ภาษากรีก:Λέων Β' ὁ Μικρός, ภาษาละติน: Flavius Leo) |
18 มกราคม ค.ศ. 474 – 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 474 (0 ปี 303 วัน) |
ประสูติราวค.ศ. 467 เป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิเลโอที่ 1 ผ่านทางพระราชธิดาคือเจ้าหญิงเอเรียดเนกับผู้นำชาวอิซอเรียนคือ เซโน ทรงถูกเลี้ยงดูในฐานะ ซีซาร์ และดำรงเป็นจักรพรรดิร่วมในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 473 หลังจากทรงครองราชย์เป็นจักรพรรดิเลโอที่ 2 พระองค์ได้สถาปนาพระราชบิดา เซโน ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมและดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จักรพรรดิทรงสวรรคตหลังจากนั้นเพียงสั้นๆ มีความเป็นไปได้ว่าทรงถูกลอบวางยาพิษ[9] | |
จักรพรรดิเซโน Zeno (ภาษากรีก:Ζήνων, ภาษาละติน: Flavius Zeno) |
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 474 – 9 เมษายน ค.ศ. 491 (16 ปี 143 วัน) |
ประสูติราวค.ศ. 425 ที่อิซอเรีย ทรงมีพระนามเดิมว่า ทาราซิโกดิสซา ในฐานะที่ทรงเป็นผู้นำกองทัพอิซอเรียนของจักรพรรดิเลโอที่ 1 ทรงก้าวขึ้นมาเป็นโดเมสติคัส อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเอเรียดเน พระราชธิดาในจักรพรรดิและทรงรับพระนาม เซโน มาใช้ และมีบทบาทสำคัญในการกำจัดแอสปาร์และกองทัพชาวกอทของเขา พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระโอรสในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 474 และทรงเป็นประมุขแต่เพียงผู้เดียวหลังจากพระโอรสสวรรคต แต่ทรงต้องหลบหนีไปยังดินแดนของพระองค์ในปีค.ศ. 475 เพราะการกบฏ ก่อนที่บาซิลิสคัสจะสามารถยึดครองเมืองหลวงได้ในปีค.ศ. 476 จักรพรรดิเซโนทรงสร้างสันติภาพกับชาวแวนดัล ทรงเผชิญกับการต่อต้านของนายพลอิลลัสและสมเด็จพระพันปีหลวงเวรีนา และทรงสร้างความสงบสุขในบอลข่านโดยทรงชักจูงให้ชาวออสโตรกอทภายใต้พระเจ้าธีโอดอริคมหาราชให้อพยพไปยังอิตาลี รัชสมัยของจักรพรรดิเซโนทรงพบกับจุดจบของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันตก ด้วยท่าทางที่ทรงเชื่อมั่นว่าพระเจ้ามีลักษณะเดียวทำให้พระองค์ไม่ทรงเป็นที่นิยมชมชอบ และคำประกาศแห่งเฮโนติคอนของพระองค์ส่งผลให้เกิดความแตกแยกอะคาเชียนกับพระสันตะปาปา ในรัชสมัยนี้จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย[10] | |
จักรพรรดิบาซิลิสคัส Basiliscus (ภาษากรีก:Βασιλίσκος, ภาษาละติน: Flavius Basiliscus) |
9 มกราคม ค.ศ. 475 – สิงหาคม ค.ศ. 476 (1 ปี 204 วัน) |
เป็นนายพลและเป็นพระเทวันในจักรพรรดิเลโอที่ 1 พระองค์ได้ยึดอำนาจจากจักรพรรดิเซโนแต่พระองค์ก็ถูกโค่นล้มบัลลังก์โดยจักรพรรดิเซโนเช่นกัน พระองค์สวรรคตในปีค.ศ. 476/477 | |
จักรพรรดิอนาสตาซิออสที่ 1 ไดคอรัส Anastasius I Dicorus (ภาษากรีก:Ἀναστάσιος Α' ὁ Δίκορος, ภาษาละติน: Flavius Anastasius) |
11 เมษายน ค.ศ. 491 – 9 กรกฎาคม ค.ศ. 518 (27 ปี 89 วัน) |
ประสูติราวปีค.ศ. 430 ที่ไดร์ราเคียม พระองค์เป็นเจ้ากรมการวัง (ไซเลนทิอาริอัส) เมื่อพระองค์ได้ถูกเลือกโดยสมเด็จพระพันปีหลวงเอเรียดเนให้เป็นสวามีและต่อจากนั้นเป็นจักรพรรดิ พระองค์มักถูกเรียกว่า "ไดคอรอส" (Dikoros, ภาษาละติน: Dicorus) เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นโรคตาสองสี จักรพรรดิอนาสตาซิออสทรงปฏิรูปภาษีและระบบเงินเหรียญไบแซนไทน์และมีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นพระประมุขที่มัธยัสถ์ ดังนั้นในช่วงปลายรัชกาลพระองค์ได้สร้างความมั่งคั่งอย่างมาก การที่ทรงมีความเห็นพระทัยเชื่อมั่นว่าพระเจ้ามีลักษณะเดียวได้นำไปสู่การต่อต้านในวงกว้าง ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการกบฏของวิทาเลียนและความแตกแยกอะคาเชียน รัชสมัยของพระองค์เป็นจุดเริ่มต้นของชนบัลการ์ซึ่งเข้าไปรุกรานบอลข่านครั้งแรก และเกิดสงครามกับเปอร์เซียในการก่อตั้งเมืองดารา พระองค์สวรรคตโดยไม่มีทายาท[11] |
ราชวงศ์จัสติเนียน (ค.ศ. 518 - 602)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิจัสตินที่ 1 Justin I (ภาษากรีก:Ἰουστῖνος Α', ภาษาละติน: Flavius Iustinus) |
กรกฎาคม ค.ศ. 518 – 1 สิงหาคม ค.ศ. 527 (9 ปี 31 วัน) |
ประสูติราวปีค.ศ. 450 ที่ เบเดเรียนา (จัสติเนียพรีมา) เขตดาร์ดานี พระองค์เป็นนายทหารและเป็นผู้บัญชาการกองทหารราชองครักษ์เอ็กซ์คิวบิเตอร์ในจักรพรรดิอนาสตาซิออสที่ 1 พระองค์ได้รับเลือกจากกองทัพให้ขึ้นเป็นจักรพรรดิหลังการสวรรคตของอนาสตาซิออสที่ 1 | |
จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 "มหาราช" Justinian I "the Great" (ภาษากรีก:Ἰουστινιανὸς Α' ὁ Μέγας, ภาษาละติน: Flavius Petrus Sabbatius Iustinianus) |
1 สิงหาคม ค.ศ. 527 – 13/14 พฤศจิกายน ค.ศ. 565 (38 ปี 105 วัน) |
ประสูติราวปีค.ศ. 482/483 ที่ ทอเรซิอุม แคว้นมาซิโดเนีย พระองค์เป็นพระนัดดาในจักรพรรดิจัสตินที่ 1 ซึ่งเป็นไปได้ว่าทรงได้รับการยกสถานะขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 527 ทรงขึ้นสืบราชบัลลังก์หลังจากจักรพรรดิจัสตินที่ 1 เสด็จสวรรคต ทรงพยายามรวบรวมดินแดนทางฝั่งตะวันตกของจักรวรรดิอีกครั้ง โดยทรงพิชิตอิตาลี แอฟริกาเหนือและส่วนหนึ่งของสเปนอีกครั้ง และยังทรงเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการประชุมกฎหมายแพ่ง (Corpus Iuris Civilis) ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานระบบกฎหมายของชาติยุโรปสมัยใหม่ในเวลาต่อมา[12] | |
จักรพรรดิจัสตินที่ 2 Justin II (ภาษากรีก:Ἰουστῖνος Β', ภาษาละติน: Flavius Iustinus Iunior) |
14 พฤศจิกายน ค.ศ. 565 – 5 ตุลาคม ค.ศ. 578 (12 ปี 325 วัน) |
ประสูติราวปีค.ศ. 520 เป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 พระองค์ได้เข้ายึดราชบัลลังก์หลังการสวรรคตของจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ด้วยการสนับสนุนจากกองทัพและสภาซีเนท พระองค์เริ่มมีพระจริตฟั่นเฟือน ดังนั้นในปีค.ศ. 573 - 574 ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการแผ่นดินของจักรพรรดินีโซเฟีย พระมเหสี และในปีค.ศ. 574 - 578 ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการแผ่นดินของไทบีเรียส คอนสแตนติน ผู้บัญชาการกองทหารราชองครักษ์เอ็กซ์คิวบิเตอร์ | |
จักรพรรดิไทบีเรียสที่ 2 คอนสแตนติน Tiberius II Constantine (ภาษากรีก:Τιβέριος Β', ภาษาละติน: Flavius Tiberius Constantinus) |
5 ตุลาคม ค.ศ. 578 – 14 สิงหาคม ค.ศ. 582 (3 ปี 313 วัน) |
ประสูติราวปีค.ศ. 535 เป็นนายทหารและเป็นผู้บัญชาการกองทหารราชองครักษ์เอ็กซ์คิวบิเตอร์ เป็นพระสหายและพระโอรสบุญธรรมในจักรพรรดิจัสตินที่ 2 ได้รับอิสริยยศ ซีซาร์ และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในปีค.ศ. 574 ช่วงที่จักรพรรดิจัสตินที่ 2 ทรงมีพระสติฟั่นเฟือน ทรงได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์หลังจากจักรพรรดิจัสตินที่ 2 สวรรคต | |
จักรพรรดิมอริซ Maurice (ภาษากรีก:Μαυρίκιος, ภาษาละติน: Flavius Mauricius Tiberius) |
14 สิงหาคม ค.ศ. 582 – 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 602 (20 ปี 100 วัน) |
ประสูติราวปีค.ศ. 539 ที่อราบิสซัส แคปพาโดเชีย เป็นข้าราชการและเป็นนายพลในเวลาต่อมา ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงคอนสแตนตินา พระราชธิดาในจักรพรรดิไทบีเรียสที่ 2 และทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากจักรพรรดิไทบีเรียสที่ 2 สวรรคต ทรงแต่งตั้ง เจ้าชายธีโอโดเซียส พระโอรสขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 590 ทรงถูกโฟคาสปลดจากราชบัลลังก์และปลงพระชนม์ในวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 602 ที่คาลเซดอน |
ไม่ใช่ราชวงศ์ (ค.ศ. 602 - 610)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิโฟคาส Phocas (ภาษากรีก: Φωκᾶς, ภาษาละติน: Flavius Phocas) |
23 พฤศจิกายน ค.ศ. 602 – 4 ตุลาคม ค.ศ. 610 (7 ปี 315 วัน) |
เป็นแม่ทัพในกองทัพบอลข่าน พระองค์ก่อการกบฏและล้มราชบัลลังก์ของจักรพรรดิมอริซ พระองค์ไม่ทรงไปที่นิยมและทรงปกครองอย่างกดขี่มากขึ้น สุดท้ายทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์และปลงพระชนม์โดยเฮราคลิอัส |
ราชวงศ์เฮราคลิเอียน (ค.ศ. 610 - 695)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิเฮราคลิอัส Heraclius (ภาษากรีก:Ἡράκλειος, ภาษาละติน: Flavius Heraclius) |
5 ตุลาคม ค.ศ. 610 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 641 (30 ปี 129 วัน) |
ประสูติราวค.ศ. 579 เป็นโอรสองค์โตในอุปราชแห่งอาณาจักรอุปราชแห่งแอฟริกา เฮราคลิอัสผู้อาวุโส เริ่มก่อการกบฏต่อจักรพรรดิโฟคาสในปีค.ศ. 609 และปลดพระองค์ออกจากบัลลังก์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 610 พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิที่นำไปสู่สงครามไบแซนไทน์-แซสซานิด ซึ่งทรงได้รับชัยชนะแต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการพิชิตซีเรียของมุสลิม ทรงประกาศให้ภาษากรีกเป็นภาษาราชการแทนที่ภาษาลาติน | |
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 Constantine III พระนามทางการคือ เฮราคลิอัส โนวัส คอนสแตนตินัส(ภาษากรีก:Ἡράκλειος νέος Κωνσταντῖνος, ภาษาละติน: Heraclius Novus Constantinus) |
11 กุมภาพันธ์ – 24/26 พฤษภาคม ค.ศ. 641 (0 ปี 104 วัน) |
ประสูติวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 612 เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิเฮราคลิอัสซึ่งประสูติแต่จักรพรรดินีฟาเบีย ยูโดเกีย พระมเหสีองค์แรก ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 613 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์พร้อมจักรพรรดิเฮราโคลนาส พระอนุชา หลังการสวรรคตของจักรพรรดิเฮราคลิอัส พระราชบิดา จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 สวรรคตด้วยวัณโรค ซึ่งมีการเชื่อกันว่าทรงถูกลอบวางยาพิษโดยสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์ตินา | |
จักรพรรดิเฮราโคลนาส Heraklonas พระนามทางการคือ คอนสแตนตินัส เฮราคลิอัส(ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Ἡράκλειος, ภาษาละติน: Constantinus Heraclius) |
11 กุมภาพันธ์ – กันยายน ค.ศ. 641 (0 ปี 201 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 626 เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิเฮราคลิอัสซึ่งประสูติแต่จักรพรรดินีมาร์ตินา พระมเหสีองค์ที่สอง ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 638 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์พร้อมจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 พระเชษฐา หลังการสวรรคตของจักรพรรดิเฮราคลิอัส ทรงกลายเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวหลังการสวรรคตของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์ตินา พระราชมารดา แต่ทรงถูกบีบบังคับให้แต่งตั้งจักรพรรดิคอนสแตนสที่ 2 เป็นจักรพรรดิร่วมโดยกองทัพ และจักรพรรดิเฮราโคลนาสทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยสภาซีเนทไบแซนไทน์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 641 | |
จักรพรรดิคอนสแตนสที่ 2 Constans II พระนามทางการคือ คอนสแตนติน "เครา" (Constantine "the Bearded")(ภาษากรีก:Κῶνστας Β', ภาษาละติน: Constantus II) |
กันยายน ค.ศ. 641 – 15 กันยายน ค.ศ. 668 (27 ปี 15 วัน) |
ประสูติวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 630 เป็นพระโอรสในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในฤดูร้อน ค.ศ. 641 หลังจากพระราชบิดาสวรรคต ด้วยแรงผลักดันจากกองทัพ พระองค์ทรงกลายเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวหลังจากจักรพรรดิเฮราโคลนาส พระปิตุลาถูกบีบบังคับให้สละราชบัลลังก์ ทรงประกอบพิธีบัพติศมาเฮราคลิอัส และทรงครองราชย์ด้วยพระนามว่า คอนสแตนติน "คอนสแตนส" เป็นพระนามลำลอง ทรงย้ายไปประทับที่ซีรากูซา ที่ซึ่งทรงถูกลอบปลงพระชนม์ คาดว่าน่าจะเป็นคำสั่งของเมเซซิอัส | |
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 4 "เครา" Constantine IV "the Bearded" (ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Δ' ὁ Πωγωνάτος, ภาษาละติน: Flavius Constantinus IV) |
15 กันยายน ค.ศ. 668 – กันยายน ค.ศ. 685 (17 ปี 350 วัน) |
ประสูติราวค.ศ. 652 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากที่จักรพรรดิคอนสแตนสที่ 2 พระราชบิดาถูกลอบปลงพระชนม์ นักประวัติศาสตร์เสนอว่าไม่ควรเรียกพระองค์ว่า "คอนสแตนติน เครา" เพื่อจะได้ไม่สับสนกับพระราชบิดาของพระองค์ พระองค์สามารถต้านทางการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)ได้ และสวรรคตด้วยโรคบิด | |
จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 "จมูกโหว่" Justinian II "the Slit-nosed" (ภาษากรีก:Ἰουστινιανὸς Β' ὁ Ῥινότμητος, ภาษาละติน: Flavius Iustinianus II) ครั้งที่ 1 |
กันยายน ค.ศ. 685 – ค.ศ. 695 (10 ปี 91 วัน) |
ประสูติราวค.ศ. 669 พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 681 และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวหลังจากจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 4 พระราชบิดาสวรรคต พระองค์ทรงถูกปลดออกจากราชบัลลังก์จากการกบฏของกองทัพในปีค.ศ. 695 ทรงถูกตัดพระนาสิก (ดังสมญานามของพระองค์) และเนรเทศไปที่เชอร์ซอน และทรงกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 705 |
สมัยอนาธิปไตย 20 ปี (ค.ศ. 695 - 717)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิลีออนติออส Leontios (ภาษากรีก:Λεόντιος, ภาษาละติน: LEONTIVS) |
ค.ศ. 695 – ค.ศ. 698 (3 ปี 0 วัน) |
เป็นนายพลจากอิซอเรีย ทรงทำการปลดจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 ออกจากราชบัลลังก์ แต่หลังจากทรงครองราชย์ได้ไม่กี่ปีทรงถูกโค่นราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 698 และทรงถูกปลงพระชนม์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 706 | |
จักรพรรดิไทบีเรียสที่ 3 อัพซิมาร์ Tiberius III Apsimar (ภาษากรีก:Τιβέριος Γ' Ἀψίμαρος, ภาษาละติน: Tiberios III) |
ค.ศ. 698 – ค.ศ. 705 (7 ปี 0 วัน) |
เป็นนายพลกองทัพเรือที่มีเชื้อสายเยอรมัน พระนามเดิมคือ อัพซิมาร์ ทรงก่อกบฏต่อจักรพรรดิลีออนติออสหลังจากล้มเหลวในการขยายอาณาเขต ทรงครองราชย์ด้วยพระนามว่า ไทบีเรียส จนกระทั่งถูกโค่นราชบัลลังก์โดยจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 ในปีค.ศ. 705 ทรงถูกปลงพระชนม์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 706 | |
จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 "จมูกโหว่" Justinian II "the Slit-nosed" (ภาษากรีก:Ἰουστινιανὸς Β' ὁ Ῥινότμητος, ภาษาละติน: Flavius Iustinianus II) ครั้งที่ 2 |
สิงหาคม ค.ศ. 705 – ธันวาคม ค.ศ. 711 (6 ปี 122 วัน) |
เสด็จกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ด้วยการสนับสนุนจากจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ทรงแต่งตั้ง เจ้าชายไทบีเรียส พระโอรสขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 706 พระองค์ทรงถูกโค่นล้มราชบัลลังก์อีกครั้งและถูกปลงพระชนม์โดยการกบฏของกองทัพ | |
จักรพรรดิฟิลิปปิคอส บาร์ดาเนส Philippikos Bardanes (ภาษากรีก:Φιλιππικὸς Βαρδάνης, ภาษาละติน: Philippicus Bardanes) |
ธันวาคม ค.ศ. 711 – 3 มิถุนายน ค.ศ. 713 (1 ปี 185 วัน) |
เป็นนายพลเชื้อสายชาวอาร์มีเนีย ทรงปลดจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 ออกจากราชบัลลังก์ และต่อมาทรงถูกโค่นล้มราชบัลลังก์จากการกบฏของทหารชาวออบซิเกียน | |
จักรพรรดิอนาสตาซิออสที่ 2 Anastasios II (ภาษากรีก:Ἀναστάσιος Β', ภาษาละติน: Anastasios II) |
มิถุนายน ค.ศ. 713 – พฤศจิกายน ค.ศ. 715 (2 ปี 153 วัน) |
นามเดิมคือ อาร์เตมิออส ทรงเป็นขุนนางและราชเลขานุการในจักรพรรดิฟิลิปปิคอส ต่อมาทรงถูกผลักดันขึ้นสู่ราชบัลลังก์โดยเหล่าทหารที่ทำการล้มล้างจักรพรรดิฟิลิปปิคอส จักรพรรดิอนาสตาซิออสทรงถูกโค่นล้มราชบัลลังก์จากการกบฏของทหารอีกกลุ่มหนึ่ง พระองค์พยายามกลับคืนสู่ราชบัลลังก์อีกครั้งในปีค.ศ. 718 แต่ไม่ประสบความสำเร็จและทรงถูกปลงพระชนม์ | |
จักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 3 Theodosios III (ภาษากรีก:Θεοδόσιος Γ', ภาษาละติน: Theodosius III) |
พฤษภาคม ค.ศ. 715 – 25 มีนาคม ค.ศ. 717 (1 ปี 329 วัน) |
เป็นขุนนางในกรมคลัง พระองค์ได้รับการประกาศเป็นจักรพรรดิจากการกบฏของทหารชาวออบซิเกียน ได้เสด็จเข้าสู่กรุงคอนสแตนติโนเปิลในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 715 ทรงสละราชบัลลังก์จากการกบฏของเลโอเดอะอิซอเรียน จากนั้นทรงผนวชเข้าสู่ศาสนา |
ราชวงศ์อิซอเรียน (ค.ศ. 717 - 802)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิเลโอที่ 3 "เดอะอิซอเรียน" Leo III the Isaurian (ภาษากรีก:Λέων Γ΄ ὁ Ἴσαυρος, ภาษาละติน: Leo III the Isaurian) |
25 มีนาคม ค.ศ. 717 – 18 มิถุนายน ค.ศ. 741 (24 ปี 85 วัน) |
ประสูติราวค.ศ. 685 ในเจอร์มานิคาเอีย อาณาจักรคอมมาเจเน ทรงขึ้นครองราชบัลลังก์หลังจากทรงก่อกบฏได้ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 717 ทรงได้ชัยชนะต่อชาวอาหรับในการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 717-718)และทรงริเริ่มการทำลายรูปเคารพ | |
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 5 "พระนามมูลสัตว์" Constantine V "the Dung-named" (ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Ε΄ ὁ Κοπρώνυμος, ภาษาละติน: Flavius Constantinus V) |
18 มิถุนายน ค.ศ. 741 – 14 กันยายน ค.ศ. 775 (34 ปี 88 วัน) |
ประสูติในปี ค.ศ. 718 เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิเลโอที่ 3 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมตั้งแต่ค.ศ. 720 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต หลังจากทรงได้รับชัยชนะในการช่วงชิงบัลลังก์ของอาร์ตาบาสดอส และพระองค์ยังป้องกันเมืองคอนสแตนติโนเปิลจากชาวบัลการ์ได้ พระองค์ยังคงดำเนินพระราโชบายตามพระราชบิดาคือ การทำลายรูปเคารพ และทรงได้รับชัยชนะในสงครามกับชาวอาหรับและชาวบัลการ์หลายครั้ง พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า "พระนามมูลสัตว์" จากนักบันทึกประวัติศาสตร์ผู้เป็นปรปักษ์กับพระองค์ | |
จักรพรรดิอาร์ตาบาสดอส Artabasdos (ภาษากรีก:Ἀρτάβασδος, ภาษาละติน: Artabasdus) |
18 มิถุนายน ค.ศ. 741/742 – 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 743 (2 ปี 155 วัน) |
นายพลและพระชามาดา (ลูกเขย) ในจักรพรรดิเลโอที่ 3 เป็นเคานท์แห่งชาวออบซิเกียน ทรงเป็นผู้นำกบฏเข้ายึดกรุงคอนสแตนติโนเปิล แต่พ่ายแพ้และถูกปลดโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 5 ซึ่งพระองค์ถูกทำให้พระเนตรบอดและโกนพระเกศา | |
จักรพรรดิเลโอที่ 4 "เดอะคาซาร์" Leo IV "the Khazar" (ภาษากรีก:Λέων Δ΄ ὁ Χάζαρος, ภาษาละติน: Leo IV) |
14 กันยายน ค.ศ. 775 – 8 กันยายน ค.ศ. 780 (4 ปี 360 วัน) |
ประสูติวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 750 เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 5 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมตั้งแต่ค.ศ. 751 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดาที่สวรรคต | |
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 6 Constantine VI (ภาษากรีก:Κωνσταντίνος ΣΤ΄, ภาษาละติน: Flavius Constantinus VI) |
8 กันยายน ค.ศ. 780 – สิงหาคม ค.ศ. 797 (16 ปี 326 วัน) |
ประสูติค.ศ. 771 ทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิเลโอที่ 4 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 776 และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิเลโอที่ 4 ในปีค.ศ. 780 ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงไอรีน พระราชมารดาจนถึงปีค.ศ. 790 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 6 ทรงขัดแย้งกับพระราชมารดา พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์โดยพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระพันปีหลวง ในปีค.ศ. 797 ทรงถูกทำให้พระเนตรบอดและถูกคุมขัง พระอาการประชวรนี้ทำให้พระองค์สวรรคตในเวลาต่อมาอีกไม่นาน | |
จักรพรรดินีไอรีนแห่งเอเธนส์ Irene of Athens (ภาษากรีก:Εἰρήνη ἡ Αθηναία, ภาษาละติน: Irene Atheniensis) |
สิงหาคม ค.ศ. 797 – 31 ตุลาคม ค.ศ. 802 (Error in Template:Nts: Fractions are not supported ปี 123 วัน) |
ประสูติราวค.ศ. 752 ในเอเธนส์ พระนางอภิเษกสมรสกับจักรพรรดิเลโอที่ 4 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 6 พระราชโอรสในปีค.ศ. 780 - 790 พระนางทรงโค่นล้มราชบัลลังก์ของพระโอรสในปีค.ศ. 797 และทรงครองราชบัลลังก์ในฐานะ "จักรพรรดินีนาถ" พระประมุขสตรีพระองค์แรกแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์และคอนสแตนติโนเปิล พระนางทรงเรียกพระนางเองในฐานะ "จักรพรรดิแห่งชาวโรมัน" การขึ้นครองราชบัลลังก์ของพระนางไม่ได้รับการยอมรับจากพระสันตะปาปาแห่งกรุงโรม สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงสวมมงกุฏให้กับชาร์เลอมาญในฐานะจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปีค.ศ. 800 ถือเป็นการหยามเกียรติของจักรวรรดิโรมันตะวันออก จักรพรรดินีไอรีนทรงเลื่อมใสในรูปเคารพและทรงประกาศฟื้นฟูอีกครั้งหลังจากที่ในรัชสมัยก่อนหน้ามีการทำลายรูปเคารพอย่างต่อเนื่อง จักรพรรดินีไอรีนทรงพยายามประคับประคองราชบัลลังก์แต่ท้ายที่สุดทรงถูกโค่นราชบัลลังก์โดยการรัฐประหารวังหลวงในปีค.ศ. 802 พระนางถูกเนรเทศและถูกบังคับให้ปั่นขนแกะเพื่อเป็นรายได้ยังชีพ พระนางไอรีนสวรรคตในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 803 |
ราชวงศ์นิเคโฟเรียน (ค.ศ. 802 - 813)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 1 Nikephoros I (ภาษากรีก:Νικηφόρος Α΄ ὁ Λογοθέτης, ภาษาละติน: Nicephorus I) |
31 ตุลาคม ค.ศ. 802 – 26 กรกฎาคม ค.ศ. 811 (Error in Template:Nts: Fractions are not supported ปี 237 วัน) |
เดิมเป็นโลโกเททิส ตูร์ เกอนิโค (เสนาบดีคลัง) ในรัชสมัยจักรพรรดินีไอรีน ทรงได้รับการสนับสนุนจากแพทริเซียนและขันทีในการรัฐประหารโค่นล้มจักรพรรดินีไอรีน จักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 1 ทรงประสบความสำเร็จในการทำสงครามต่อต้านพวกบุลการ์ แต่พระองค์สวรรคตในสนามรบยุทธการที่พลิสกา ในรัชสมัยนี้ทรงทำการฟื้นฟูการบูชารูปเคารพสืบต่อเนื่องมาจากสมัยจักรพรรดินีไอรีน | |
จักรพรรดิสตอราคิออส Staurakios (ภาษากรีก:Σταυράκιος, ภาษาละติน: Stauracius) |
26 กรกฎาคม ค.ศ. 811 – 2 ตุลาคม ค.ศ. 811 (0 ปี 68 วัน) |
ทรงเป้นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 1 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมในเดือนธันวาคม ค.ศ. 803 ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต แต่พระองค์ทรงได้รับบาดเจ็บอย่างหนักในยุทธการที่พลิสกา ส่งผลให้พระวรกายซีกซ้ายของพระองค์เป็นอัมพาต พระองค์ทรงถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์ และพระองค์เสด็จไปประทับในอาราม ที่ซึ่งสวรรคตในเวลาต่อมา | |
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 1 รังกาเบ Michael I Rangabe (ภาษากรีก:Μιχαὴλ Α΄ Ραγγαβὲ, ภาษาละติน: Michael I Rhangabus) |
2 ตุลาคม ค.ศ. 811 – 22 มิถุนายน ค.ศ. 813 (1 ปี 263 วัน) |
ทรงเป็นพระชามาดาในจักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 1 พระองค์ครองราชบัลลังก์ต่อจากจักรพรรดิสตอราคิออส หลังจากพระองค์สละราชบัลลังก์ จักรพรรดิมิคาเอลที่ 1 สละราชบัลลังก์หลังจากเหตุการณ์การก่อกบฏของเลโอ เดอะอาร์มีเนียน และเสด็จไปประทับในอาราม ที่ซึ่งสวรรคตในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 844 ขณะครองราชย์ทรงครองราชย์ร่วมกับพระโอรส คือ ธีโอพีแล็ค ในฐานะจักรพรรดิร่วม |
ไม่ใช่ราชวงศ์ (ค.ศ. 813 - 820)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิเลโอที่ 5 "เดอะอาร์มีเนียน" Leo V "the Armenian" (ภาษากรีก:Λέων Ε' ὁ Ἀρμένιος, ภาษาละติน: Leo V Armenius) |
11 กรกฎาคม ค.ศ. 813 – 25 ธันวาคม ค.ศ. 820 (7 ปี 167 วัน) |
ทรงเป็นนายพลชาวอาร์มีเนียโดยกำเนิด ประสูติราวค.ศ. 775 ทรงก่อกบฏต่อจักรพรรดิมิคาเอลที่ 1 และได้เป็นจักรพรรดิ ทรงแต่งตั้ง ซิมบาติออส พระโอรสขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในชื่อใหม่ว่า คอนสแตนตินในวันคริสต์มาส ค.ศ. 813 ทรงให้มีการทำลายรูปเคารพสมัยไบแซนไทน์ขึ้นอีกครั้ง จักรพรรดิเลโอที่ 5 ทรงถูกปลงพระชนม์ ซึ่งน่าจะเป็นฝีมือของมิคาเอล เดอะอะมอเรียน |
ราชวงศ์อะมอเรียน (ค.ศ. 820 - 867)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 2 "เดอะอะมอเรียน" Michael II "the Amorian" (ภาษากรีก:Μιχαὴλ Β΄ ὁ ἐξ Ἀμορίου, ภาษาละติน: Michael II) |
25 ธันวาคม ค.ศ. 820 – 2 ตุลาคม ค.ศ. 829 (8 ปี 281 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 770 ที่อะมอริอุม ได้เป็นทหารในกองทัพ ด้วยทรงเป็นพระสหายในจักรพรรดิเลโอที่ 5 ทำให้ได้รับการเลื่อนขั้นขึ้นเป็นนายทหารระดับสูง แต่ก็ถูกกล่าวหาว่าทรงสมคบคิดปลงพระชนม์จักรพรรดิเลโอที่ 5 ซึ่งทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อ จักรพรรดิมิคาเอลทรงรอดพระชนม์ชีพมาได้จากการก่อกบฏของโทมัส เดอะสลาฟ รัชสมัยนี้ทรงสูญเสียครีตให้แก่อาหรับ และต้องทรงเผชิญกับการพิชิตซิชิลีโดยมุสลิม พระองค์ทรงสนับสนุนการทำลายรูปเคารพ | |
จักรพรรดิธีโอฟิโลส Theophilos (ภาษากรีก:Θεόφιλος, ภาษาละติน: Theophilus) |
2 ตุลาคม ค.ศ. 829 – 20 มกราคม ค.ศ. 842 (12 ปี 110 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 813 เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิมิคาเอลที่ 2 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมตั้งแต่ค.ศ. 821 พระองค์ขึ้นสืบบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต จักรพรรดิธีโอฟิโลสทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายที่ทรงทำลายรูปเคารพ พระองค์ทรงใช้เวลาในพระชนม์ชีพของพระองค์ในการทำสงครามกับมุสลิมอาหรับโดยตลอดนับตั้งแต่ค.ศ. 831 | |
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 "ขี้เมา" Michael III "the Drunkard" (ภาษากรีก:ΘεόφιλοςΜιχαὴλ Γ΄ ὁ Μέθυσος, ภาษาละติน: Michael III) |
20 มกราคม ค.ศ. 842 – 23 กันยายน ค.ศ. 867 (25 ปี 246 วัน) |
ประสูติในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 840 ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิธีโอฟิโลส ทรงขึ้นสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงธีโอโดรา พระราชมารดาจนถึงค.ศ. 856 ในช่วงปีค.ศ. 862 - 866 ทรงถูกควบคุมภายใต้อำนาจและอิทธิพลของบาร์ดาส พระมาตุลา (พระเชษฐาในสมเด็จพระพันปีหลวงธีโอโดรา) รัชสมัยนี้ถือเป็นจุดสิ้นสุดของการทำลายรูปเคารพสมัยไบแซนไทน์ พระองค์ทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยบาซิล เดอะมาซิโดเนียน ทรงได้รับฉายานามว่า “มิคาเอลขี้เมา” (the Drunkard) โดยนักประวัติศาสตร์ของราชวงศ์มาซิโดเนียนผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์และสนับสนุนจักรพรรดิบาซิล แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีความเห็นใหม่ว่าทรงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำรงอำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ไม่ว่าจะเป็นการทำสงครามกับอาหรับ หรือ การทำให้บัลแกเรียนับถือศาสนาคริสต์ |
ราชวงศ์มาซิโดเนียน (ค.ศ. 867 - 1056)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิบาซิลที่ 1 "เดอะมาซิโดเนียน" Basil I "the Macedonian" (ภาษากรีก:Βασίλειος Α΄ ὁ Μακεδὸν, ภาษาละติน: Basilius I Macedonius) |
ค.ศ. 867 – 2 สิงหาคม ค.ศ. 886 (19 ปี 245 วัน) |
ประสูติราวค.ศ. 811 ที่เขตธีมแห่งมาซิโดเนีย ได้มีชื่อเสียงจากการเป็นข้าราชการในราชสำนัก และได้กลายเป็นคนโปรดของจักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 พระองค์ได้ลอบปลงพระชนม์จักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 และช่วงชิงราชบัลลังก์มาเป็นของพระองค์ ทรงสถาปนาราชวงศ์มาซิโดเนียน พระองค์ประสบความสำเร็จในการรบสมรภูมิตะวันออกกับชาวอาหรับและพวกพอลลิเชียน และทรงสามารถปกครองภาคใต้ของอิตาลีได้อีกครั้ง | |
จักรพรรดิเลโอที่ 6 "ผู้ชาญฉลาด" Leo VI "the Wise" (ภาษากรีก:Λέων ΣΤ΄ ὁ Σοφὸς, ภาษาละติน: Leo VI Sapiens) |
ค.ศ. 886 – 11 พฤษภาคม ค.ศ. 912 (26 ปี 163 วัน) |
ประสูติวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 866 มีความสับสนว่าพระองค์ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิบาซิลที่ 1 หรือจักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 จักรพรรดิเลโอทรงเป็นที่รู้จักในฐานะที่ทรงเป็นผู้คงแก่เรียน แต่กระนั้นพระองค์ทรงพ่ายแพ้ในสงครามหลายครั้ง รัชสมัยของพระองค์ อยู่ในช่วงจุดรุ่งเรืองมุสลิมซาราเซ็นซึ่งได้ยกกองทัพเรือเข้าปล้น ซึ่งที่สำคัญที่สุดคือการปล้นเทสซาโลนีกา และทรงประสบความล้มเหลวในการทำสงครามกับบัลแกเรียในรัชสมัยของจักรพรรดิซีโมนที่ 1 แห่งบัลแกเรีย | |
จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ Alexander (ภาษากรีก:Ἀλέξανδρος, ภาษาละติน: Alexander) |
11 พฤษภาคม ค.ศ. 912 – 6 มิถุนายน ค.ศ. 913 (1 ปี 26 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 870 ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิบาซิลที่ 1 และทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระราชบิดาในปีค.ศ. 879 ทรงดำรงเป็นจักรพรรดิร่วมมาเป็นระยะเวลานาน โดยทรงถูกกีดกันจากอำนาจโดยจักรพรรดิเลโอที่ 6 พระเชษฐา เมื่อพระเชษฐาสวรรคต พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิไบแซนไทน์พระองค์แรกที่ใช้คำว่า “autocrator” (αὑτοκράτωρ πιστὸς εὑσεβὴς βασιλεὺς) บนเหรียญเพื่อเป็นการฉลองการเป็นอิสระจากการเป็นพระจักรพรรดิร่วมมาถึง 33 ปี[13] พระองค์ก็ทรงปลดที่ปรึกษาและผู้ที่ได้รับแต่งตั้งของจักรพรรดิเลโอจนแทบหมดสิ้นรวมทั้งผู้บังคับบัญชากองทัพเรือและพระสังฆราช ทรงบังคับสมเด็จพระพันปีหลวงโซอี คาร์โบนอปซินา พระมเหสีในจักรพรรดิเลโอที่ 6 พระเชษฐาของพระองค์ ให้ไปประทับในสำนักชี[14] พระองค์ทรงเริ่มต้นสงครามกับบัลแกเรียในสงครามไบแซนไทน์-บัลแกเรีย ค.ศ. 913 - 927 จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์เสด็จสวรรคตหลังจากการเล่นโปโลจากความเหน็ดเหนื่อยหลังจากทรงอยู่ในราชบัลลังก์เพียง 1 ปี | |
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 "ผู้ประสูติในรัชกาล" Constantine VII "the Purple-born" (ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Ζ΄ ὁ Πορφυρογέννητος, ภาษาละติน: Constantinus VII Porphyrogenitus) |
6 มิถุนายน ค.ศ. 913 – 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 959 (46 ปี 156 วัน) |
ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิเลโอที่ 6 ประสูติวันที่ 17/18 พฤษภาคม ค.ศ. 905 และทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 908 ช่วงต้นรัชกาลทรงถูกครอบงำโดยผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ครั้งแรกทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงโซอี คาร์โบนอปซินา พระราชมารดา และอัครบิดรนิโคลัส มิสติคอส และในปีค.ศ. 919 ทรงอยู่ภายใต้จอมพลเรือ โรมานอส เลกาเปนอส ผู้ซึ่งให้จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 อภิเษกสมรสกับบุตรสาว คือ เฮเลนา เลกาเปเน และโรมานอสได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิอาวุโสในปีค.ศ. 920 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงถูกกีดกันจากการเมืองในช่วงการปกครองของเลกาเปนอส แต่ด้วยความช่วยเหลือของพระมเหสี จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงสามารถยึดพระราชอำนาจคืนมาได้โดยทรงปลดพระโอรสของจักรพรรดิโรมานอสออกจากราชบัลลังก์ในต้นปีค.ศ. 945 รัชสมัยนี้ทรงขัดแย้งและทำสงครามกับซัฟ อัล-ตอละห์ เอมีร์แห่งอเลปโปทางตะวันออกและทรงล้มเหลวในการพิชิตเกาะครีต และนโยบายสนับสนุนชนชั้นสูงของพระองค์ได้เป็นไปในทางตรงกันข้ามกับการปกครองของเลกาเปนอสซึ่งต่อต้านไดนาโตย (ระบบที่ผูกขาดอำนาจโดยชนชั้นสูง) พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในการสนับสนุนมาซิโดเนียนเรอแนซ็องส์ โดยทรงส่งเสริมงานสารานุกรมและประวัติศาสตร์ ทรงมีชื่อเสียงในการทรงพระราชนิพนธ์หนังสือสองเล่ม “De Administrando Imperio” และ “De Ceremoniis” ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปการปกครองประเทศและพิธีการ ตามลำดับ ซึ่งพระองค์ทรงรวบรวมเป็นประมวลงานนิพนธ์เพื่อมอบให้แก่พระโอรส คือ จักรพรรดิโรมานอสที่ 2[15] พระองค์สวรรคตในปีค.ศ. 959 ซึ่งมีข่าวลือว่า จักรพรรดิโรมานอสที่ 2 พระโอรส หรือ จักรพรรดินีธีโอฟาโน พระสุณิสา ทำการวางยาพิษลอบปลงพระชนม์ | |
จักรพรรดิโรมานอสที่ 1 เลกาเปนอส Romanos I Lekapenos (ภาษากรีก:Ρωμανὸς Α΄ Λεκαπηνὸς, ภาษาละติน: Romanus I Lacapenus) |
17 ธันวาคม ค.ศ. 920 – 16 ธันวาคม ค.ศ. 944 (23 ปี 365 วัน) |
เป็นจอมพลเรือที่มีชาติกำเนิดต่ำต้อย โรมานอสทรงก้าวขึ้นสู่อำนาจในฐานะผู้ปกครองของยุวจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 ในการต่อต้านแผนการยึดราชบัลลังก์ของนายพลเลโอ โฟลคาส ผู้อาวุโส หลังจากที่ทรงเป็นพระสัสสุระในจักรพรรดิ พระองค์ก็มียศถาบรรดาศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งทรงประกอบพิธีราชาภิเษกพระองค์เองขึ้นเป็นจักรพรรดิอาวุโส โดยครองราชบัลลังก์ร่วมกับจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 รัชสมัยของพระองค์นับว่าเป็นจุดจบในการทำสงครามกับบัลแกเรียและได้รับชัยชนะครั้งใหญ่ในการพิชิตตะวันออกภายใต้กองทัพของจอห์น คอร์คูอัส จักรพรรดิโรมานอสทรงแต่งตั้งพระโอรส คือ คริสโตเฟอร์, สตีเฟน และคอนสแตนติน ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมเหนือจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 แต่จักรพรรดิโรมานอสก็ทรงถูกล้มราชบัลลังก์โดยพระโอรสสองพระองค์หลังและถูกส่งไปคุมขังที่เกาะในฐานะบาทหลวงในอาราม พระองค์สวรรคตที่นั่นในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 948 | |
จักรพรรดิโรมานอสที่ 2 "ผู้ประสูติในรัชกาล" Romanos II "the Purple-born" (ภาษากรีก:Ρωμανὸς Β΄ ὁ Πορφυρογέννητος, ภาษาละติน: Romanus II) |
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 959 – 15 มีนาคม ค.ศ. 963 (3 ปี 126 วัน) |
ทรงเป็นพระโอรสเพียงองค์เดียวที่ยังทรงพระชนม์ของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 พระองค์ประสูติในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 938 และทรงสิบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต ซึ่งมีข่าวลือว่าพระองค์ หรือ จักรพรรดินีธีโอฟาโน พระมเหสีทรงลอบปลงพระชนม์จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 ด้วยยาพิษ จักรพรรดิโรมานอสทรงครองราชย์จนกระทั่งสวรรคต แม้ว่ารัฐบาลของพระองค์ส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้อำนาจของขันที โจเซฟ บรินกาส รัชสมัยของพระองค์ประสบความสำเร็จในการทำสงครามกับศัตรูทางตะวันออกคือ ซัฟ อัล-ตอละห์ และประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูเกาะครีตภายใต้กองทัพของนิเคโฟรอส โฟลคาส จักรพรรดิโรมานอสสวรรคตอย่างกะทันหันในปีค.ศ. 963 ขณะทรงมีพระชนมายุ 25 พรรษา มีข่าวลือว่าทรงถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษโดยจักรพรรดิดนีธีโอฟาโน พระมเหสี | |
จักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 2 โฟลคาส Nikephoros II Phokas (ภาษากรีก:Νικηφόρος Β΄ Φωκᾶς, ภาษาละติน: Nicephorus II Phocas) |
16 สิงหาคม ค.ศ. 963 – 11 ธันวาคม ค.ศ. 969 (6 ปี 117 วัน) |
เป็นนายพลที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในรุ่นของพระองค์ ประสูติราวปีค.ศ. 912 ในตระกูลโฟลคาส ที่ทรงอำนาจ หลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิโรมานอสที่ 2 พระองค์ทรงขึ้นครองบัลลังก์ภายใต้การสนับสนุนจากกองทัพและประชาชนในฐานะผู้สำเร็จราชการของจักรพรรดิบาซิลที่ 2 และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 ซึ่งทรงพระเยาว์ พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระพันปีหลวงธีโอฟาโน พระมเหสีในจักรพรรดิรัชกาลก่อน ตลอดรัชกาลของพระองค์ ทรงทำสงครามกับตะวันออก โดยทรงสามารถยึดครองซีเรียส่วนใหญ่ พระองค์ทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยพระนัดดา คือ จอห์น ทซิมิสเคส โดยทรงวางแผนกับจักรพรรดินีธีโอฟาโน ซึ่งทรงได้กลายเป็นคู่รักกับจอห์น ทซิมิสเคส ผู้หนุ่มกว่าและมีเสน่ห์ | |
จักรพรรดิจอห์นที่ 1 ทซิมิสเคส John I Tzimiskes (ภาษากรีก:Ἰωάννης Α΄ Κουρκούας ὁ Τσιμισκὴς, ภาษาละติน: Ioannes I Tzimisces) |
11 ธันวาคม ค.ศ. 969 – 10 มกราคม ค.ศ. 976 (6 ปี 30 วัน) |
เป็นพระนัดดาในจักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 2 ทซิมิสเคสประสูติราวค.ศ. 925 เป็นแม่ทัพผู้มีความสามารถ ทรงพยายามห่างจากจักรพรรดิผู้เป็นพระมาตุลา และนำไปสู่การวางแผนสมรู้ร่สวมคิดปลงพระชนม์จักรพรรดิร่วมกับเหล่านายพลที่ไม่พอใจจักรพรรดิ และทรงได้รับความช่วยเหลือในแผนการจากจักรพรรดินีธีโอฟาโน จอห์น ทซิมิสเคสจึงได้เป็นจักรพรรดิและเป็นผู้สำเร็จราชการในพระโอรสผู้ทรงพระเยาว์ของจักรพรรดิโรมานอสที่ 2 จักรพรรดิจอห์นที่ 1 ทรงพยายามอภิเษกสมรสกับจักรพรรดินีธีโอฟาโน ผู้ทรงเป็นจักรพรรดินีมาสองรัชกาล แต่อัครบิดรทรงประกาศว่าจะไม่ประกอบพิธีราชาภิเษกให้พระองค์ถ้าไม่ทรงลงโทษผู้ก่อการลอบปลงพระชนม์ และถอดถอน "จักรพรรดินีผู้ชั่วร้าย" ออกจากราชสำนัก จักรพรรดิจอห์นทรงพยายามประนีประนอมกับฝ่ายศาสนาจึงเนรเทศจักรพรรดินีธีโอฟาโนออกไป ในฐานะประมุข จักรพรรดิจอห์นทรงทำสงครามกับชาวรัสในบัลแกเรียในสงครามการรุกรานบัลแกเรียของสเวียโตสลาฟและเป็นจุดล่มสลายของจักรวรรดิบัลแกเรีย โดยไบแซนไทน์ได้รับชัยชนะ จากนั้นทรงยกทัพไปทำสงครามด้านตะวันออก ซึ่งพระองค์สวรรคตอย่างกะทันหัน | |
จักรพรรดิบาซิลที่ 2 "ผู้ปราบบุลการ์" Basil II "the Bulgar-Slayer" (ภาษากรีก:Βασίλειος Β΄ ὁ Βουλγαροκτόνος, ภาษาละติน: Basilius II Bulgaroctonus) |
10 มกราคม ค.ศ. 976 – 15 ธันวาคม ค.ศ. 1025 (49 ปี 339 วัน) |
เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิโรมานอสที่ 2 ประสูติในปีค.ศ. 958 ทศวรรษแรกของรัชกาล ทรงเป็นขัดแย้งกับบาซิล เลกาเปนอส มหาเสนาบดีผู้ทรงอำนาจ ทรงประสบความล้มเหลวในการทำสงครามกับบัลแกเรีย และเกิดกบฏในเอเชียไมเนอร์ซึ่งนำโดยกลุ่มนายพล จักรพรรดิบาซิลทรวพยายามสร้างความมั่นคงของราชบัลลังก์โดยทรงเป็นพันธมิตรกับวลาดิมีร์แห่งเคียฟ ทรงให้เจ้าหญิงแอนนา พอร์ฟีโรเกนิตา พระขนิษฐาเสกสมรสกับเจ้าชายวลาดิมีร์ และจากนั้นทรงปราบปรามกบฏ พระองค์ทรงเริ่มพิชิตบัลแกเรีย บัลแกเรียถูกปราบอย่างราบคาบในปีค.ศ. 1018 หลังจากภาวะสงครามถึง 20 ปี โดยมีเพียงเหตุการณ์ที่ทำให้การบุกบัลแกเรียต้องหยุดชะงักเพียงชั่วขณะ คือ การทำสงครามประปรายในซีเรียต่อต้านราชวงศ์ฟาติมียะห์ จักรพรรดิบาซิลยังทรงขยายอาณาเขตไปถึงอาร์เมเนียส่วนใหญ่ รัชกาลของพระองค์ถูกพิจารณาว่าเป็นจุดรุ่งเรืองถึงขีดสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในยุคกลาง | |
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 "ผู้ประสูติในรัชกาล" Constantine VIII "the Purple-born" (ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Η΄ ὁ Πορφυρογέννητος, ภาษาละติน: Constantinus VIII) |
15 ธันวาคม ค.ศ. 1025 – 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1028 (2 ปี 332 วัน) |
เป็นพระโอรสองค์ที่สองในจักรพรรดิโรมานอสที่ 2 ประสูติในปีค.ศ. 960 และทรงได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิร่วมในเดือนมีนาคม ค.ศ. 962 ในระหว่างรัชกาลของจักรพรรดิบาซิลที่ 2 พระองค์ทรงใช้เวลาเพื่อความเกษมสำราญ ในช่วงรัชกาลอันสั้นของพระองค์ ทรงเป็นประมุขผู้ไม่สนพระทัยกิจการบ้านเมือง ทำให้ทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของข้าราชสำนักโดยง่าย และทรงสงสัยว่าจะมีแผนการปลดพระองค์ออกจากราชบัลลังก์ โดยเฉพาะกลุ่มขุนนางฝ่ายทหาร ทำให้กลุ่มขุนนางจำนวนมากถูกจับทำให้ตาบอดและถูกเนรเทศ ในขณะที่ทรงใกล้สวรรคต พระองค์ทรงเลือกโรมานอส อาร์กีรอสให้เป็นพระสวามีในเจ้าหญิงโซอี พระราชธิดา[16]ซึ่งจะทรงขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อไป | |
จักรพรรดินีโซอี "ผู้ประสูติในรัชกาล" Zoe "the Purple-born" (ภาษากรีก:Ζωὴ Πορφυρογέννητη, ภาษาละติน: Zoë) |
12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1028 – มิถุนายน ค.ศ. 1050 (21 ปี 200 วัน) |
เป็นพระราชธิดาในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 พระนางทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระบิดาสวรรคต พระนางทรงเป็นเชื้อพระวงศ์มาซิโดเนียนที่ยังทรงพระชนม์อยู่กับเจ้าหญิงธีโอโดรา พระขนิษฐา ทรงมีพระสวามีทั้งหมดสามพระองค์ ได้แก่ จักรพรรดิโรมานอสที่ 3 (1028 - 1034), จักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 (1034 - 1041) และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 (1042 - 1050) ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้เป็นจักรพรรดิเคียงข้างราชบัลลังก์ของพระนาง จักรพรรดินีโซอีทรงพยายามรักษาพระราชอำนาจของพระนาง ด้วยการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ซึ่งพระนางทรงพยายามจำกัดบทบาทของพระนางธีโอโดรา พระขนิษฐา อยู่เสมอจนกระทั่งทรงสวรรคต | |
จักรพรรดิโรมานอสที่ 3 อาร์กีรอส Romanos III Argyros (ภาษากรีก:Ρωμανὸς Γ΄ Ἀργυρὸς, ภาษาละติน: Romanus III Argyrus) |
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1028 – 11 เมษายน ค.ศ. 1034 (5 ปี 147 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 968 เป็นข้าราชการอาวุโสซึ่งได้ถูกเลือกโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 ซึ่งทรงใกล้สวรรคต ให้เสกสมรสกับเจ้าหญิงโซอี พระธิดาของพระองค์ จักรพรรดิโรมานอสได้ครองราชย์ร่วมกับจักรพรรดินีโซอีหลังจากจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 สวรรคต เพียงไม่กี่วัน จักรพรรดิโรมานอสสวรรคตในปีค.ศ. 1034 มีข่าวลือว่าทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยแผนการของจักรพรรดินีโซอีและมิคาเอล พาฟลาโกเนียน คู่รักของพระนาง ด้วยการวางยาพิษ รัดพระศอ และจับพระองค์กดน้ำในห้องสรง | |
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 "เดอะพาฟลาโกเนียน" Michael IV "the Paphlagonian" (ภาษากรีก:Μιχαὴλ Δ΄ ὁ Παφλαγὼν, ภาษาละติน: Michael IV Paphlagon) |
11 เมษายน ค.ศ. 1034 – 10 ธันวาคม ค.ศ. 1041 (7 ปี 243 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 1010 เดิมทรงมีพื้นเพมาจากชาวนาในพาฟลาโกเนีย ทรงกลายมาเป็นคู่รักของจักรพรรดินีโซอีในขณะที่จักรพรรดิโรมานอสที่ 3 ยังทรงพระชนม์อยู่ และได้ขึ้นครองราชย์หลังจากจักรพรรดิโรมานอสสวรรคตและเป็นพระสวามีในจักรพรรดินีโซอี จักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 ทรงมีพระสิริโฉม เฉลียวฉลาดและพระทัยกว้าง ในทางกลับกันทรงไม่ได้รับการศึกษาและทรงทรมานจากโรคลมชัก[17] เนื่องจากทรงได้รับการสนับสนุนจากพระเชษฐา คือ จอห์น เดอะออร์ฟาโนโทรฟอส ซึ่งเป็นหัวหน้าขันที ทำให้รัชกาลของพระองค์ประสบความสำเร็จพอสมควรในการปราบปรามกบฏภายใน แต่ความพยายามในการยึดซิซิลีประสบความล้มเหลว พระองค์สวรรคตหลังจากทรงประชวรมาเป็นเวลานาน | |
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 5 คาลาฟาเตส Michael V Kalaphates (ภาษากรีก:Μιχαὴλ Ε΄ ὁ Καλαφάτης, ภาษาละติน: Michael V Calaphates) |
10 ธันวาคม ค.ศ. 1041 – 20 เมษายน ค.ศ. 1042 (0 ปี 131 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 1015 ทรงเป็นพระนัดดาและเป็นพระโอรสเลี้ยงในจักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 ในรัชกาลของพระองค์ทรงพยายามกีดกันอำนาจของจักรพรรดินีโซอี พระมารดาเลี้ยง ทรงมีพระราชโองการเนรเทศจักรพรรดินีโซอีออกจากราชบัลลังก์เพื่อจะได้ทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียว พระราชโองการของพระองค์ทำให้เกิดการจลาจล กลุ่มผู้ก่อการจลาจลได้ล้มพระราชวังเพื่อเรียกร้องให้ฟื้นฟูจักรพรรดินีโซอีกลับคืนสู่บัลลังก์ พระองค์ต้องทรงยอมให้จักรพรรดินีโซอีคืนสู่บัลลังก์ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1042 โดยทรงครองราชย์ร่วมกับเจ้าหญิงธีโอโดรา พระขนิษฐา จักรพรรดิมิคาเอลที่ 5 ทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์ในวันถัดมาโดยพระราชโองการของจักรพรรดินีธีโอโดรา พระองค์ทรงถูกตอนพระคุยหฐาน (อวัยวะเพศ) ทำให้พระเนตรบอดและถูกโกนพระเกศา พระองค์สวรรคตในฐานะพระในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1042 | |
จักรพรรดินีธีโอโดรา Theodora (ภาษากรีก:Θεοδώρα, ภาษาละติน: Theodora) |
19 เมษายน ค.ศ. 1042 – หลัง 31 สิงหาคม ค.ศ. 1056 (14 ปี 134 วัน) |
ทรงเป็นพระขนิษฐาในจักรพรรดินีโซอี ประสูติในปีค.ศ. 984 ทรงเป็นจักรพรรดินีร่วมในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1056 หลังจากจักรพรรดินีโซอีทรงอภิเษกสมรสกับพระสวามีองค์ที่สาม คือ จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1042 จักรพรรดินีธีโอโดราทรงถูกพระเชษฐภคินีกีดกันจากพระราชอำนาจอีกครั้ง หลังจากจักรพรรดินีโซอีสวรรคตในปีค.ศ. 1050 และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 สวรรคตในปีค.ศ. 1055 จักรพรรดินีธีโอโดราจึงทรงได้รับพระราชอำนาจในการปกครองจักรวรรดิอย่างเต็มที่ และทรงครองราชย์จนกระทั่งสวรรคต พระนางทรงแต่งตั้งให้มิคาเอล บรินกาสเป็นผู้สืบราชบัลลังก์องค์ต่อไป หลังสวรรคตของจักรพรรดินีธีโอโดรา จักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มเข้าถึงจุดเสื่อมและเริ่มฟื้นฟูอีกครั้งในรัชสมัยจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส | |
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 โมโนมาคอส Constantine IX Monomachos (ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Θ΄ Μονομάχος, ภาษาละติน: Constantinus IX Monomachus) |
11 มิถุนายน ค.ศ. 1042 – 7/8 หรือ 11 มกราคม ค.ศ. 1055 (12 ปี 214 วัน) |
ประสูติราวค.ศ. 1000 ในตระกูลขุนนาง พระชนม์ชีพของพระองค์ไม่เด่นชัด แต่ทรงถูกเนรเทศไปยังเลสบอสโดยจักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 ทรงกลับมาเมื่อจักรพรรดินีโซอีทรงเลือกพระองค์เป็นพระสวามี จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 ทรงสนับสนุนชนชั้นพ่อค้าและทรงสนับสนุนกลุ่มปัญญาชน ในขณะที่ทรงตีห่างจากขุนนางฝ่ายทหาร พระองค์ทรงเป็นประมุขที่โปรดเรื่องกามารมณ์ ทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างฟุ่มเฟือยกับพระสนมของพระองค์ และทรงถวายทานแก่อารามจำนวนมาก หลักๆคือ เนียโมนีแห่งคิออสและอารามมันกานา ในรัชกาลของพระองค์ทรงถูกรุกรานโดยเปเชนเนกในบอลข่าน และการรุกรานจากราชวงศ์เซลจุคทางตะวันออก เกิดการกบฏของจอร์จ มาเนียเคสและเลโอ ทอร์นิคิออส และเกิดการแตกแยกทางศาสนาครั้งใหญ่ระหว่างคริสตจักรโรมกับคริสตจักรคอนสแตนติโนเปิล[18] |
ไม่ใช่ราชวงศ์ (ค.ศ. 1056 - 1057)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 6 บรินกาส Michael VI Bringas (ภาษากรีก:Μιχαὴλ ΣΤ΄ Βρίγγας, ภาษาละติน: Michael VI Stratioticus) |
กันยายน ค.ศ. 1056 – 31 สิงหาคม ค.ศ. 1057 (0 ปี 365 วัน) |
เป็นข้าราชการราชสำนักและเป็น Logothetes tou stratiotikou ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทก่อนที่จักรพรรดินีธีโอโดราจะสวรรคต จักรพรรดิมิคาเอลที่ 6 ทรงถูกถอดถอนออกจากราชบัลลงก์โดยการกบฏของกองทัพภายใต้การนำของไอแซ็ค โคมเนนอส พระองค์ทรงเสด็จไปประทับในอาราม ซึ่งทรงสวรรคตในปีค.ศ. 1059 |
ราชวงศ์โคมเนนอส ครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1057 - 1059)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิไอแซ็คที่ 1 โคมเนนอส Isaac I Komnenos (ภาษากรีก:Ἰσαάκιος Α΄ Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Isaacius I Comnenus) |
5 มิถุนายน ค.ศ. 1057 – 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1059 (2 ปี 170 วัน) |
ประสูติราวค.ศ. 1005 ทรงเป็นนายพลที่ประสบความสำเร็จ พระองค์ขึ้นสู่อำนาจด้วยการนำกองทัพจากตะวันออกและประกาศตนเป็นจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ทรงครองราชย์อย่างเป็นทางการหลังจากจักรพรรดิมิคาเอลที่ 6 สละราชบัลลังก์ในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1057 พระองค์ทรงพยายามฟื้นฟูท้องพระคลังของจักรวรรดิที่หมดลงและทรงพยายามสร้างรัฐบาลกลางที่มีอำนาจเข้มแข็งและเป็นทางการ จักรพรรดิไอแซ็คที่ 1 ทรงสละราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 1059 และเสด็จสวรรคตราวค.ศ. 1061 |
ราชวงศ์ดูคาส (ค.ศ. 1059 - 1081)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 10 ดูคาส Constantine X Doukas (ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Ι΄ Δούκας, ภาษาละติน: Constantinus X Ducas) |
24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1059 – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1067 (7 ปี 179 วัน) |
ประสูติราวค.ศ. 1006 ทรงเป็นนายพลและเป็นพันธมิตรที่แนบแน่นกับไอแซ็ค โคมเนนอส และสืบราชบัลลังก์หลังจากจักรพรรดิไอแซ็คที่ 1 สละราชบัลลังก์ ทรงแต่งตั้งพระโอรสสามคนคือ มิคาเอล, อันโดรนิคอสและคอนสแตนติออส ดูคาส เป็นจักรพรรดิร่วม ทรงปฏิเสธที่จะสานต่อแนวทางการปฏิรูปของจักรพรรดิไอแซ็ค พระองค์ทรงกลายเป็นจักรพรรดิที่ไม่เป็นที่นิยมในวงกว้างเนื่องจากทรงประกาศขึ้นภาษีเพื่อจะนำไปใช้จ่ายเกี่ยวกับกองทัพ | |
มิคาอิลที่ 7 ดูคาส Michael VII Doukas (ภาษากรีก:Μιχαὴλ Ζ΄ Δούκας, ภาษาละติน: Michael VII Ducas) |
22 พฤษภาคม ค.ศ. 1067 – 24 มีนาคม ค.ศ. 1078 (10 ปี 306 วัน) |
ประสูติ ค.ศ. 1050 เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 10 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมตั้งแต่ค.ศ. 1059 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต ในช่วงวัยเยาว์ ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงยูโดเกีย มาเครมโบลิทิสซา พระมารดา ในปีค.ศ. 1067 - 1068 และทรงผลักไสจักรพรรดิผู้ทรงพระเยาว์ให้ไปอยู่ในการควบคุมของพระสวามีองค์ที่สองของพระนาง คือ โรมานอสที่ 4 ไดโอเจนีส ในปีค.ศ. 1068 - 1071 เมื่อทรงเจริญพระชันษาในปีค.ศ. 1071 - 1078 พระองค์ทรงสถาปนา เจ้าชายคอนสแตนติน พระโอรสเป็นจักรพรรดิร่วม พร้อมกับพระอนุชาของพระองค์เอง พระองค์ทรงสละราชบัลลังก์จากการกบฏของ นิเคโฟรอส โบตาเนอาตีส และสวรรคตราวปีค.ศ. 1090 | |
จักรพรรดิโรมานอสที่ 4 ไดโอเจนีส Romanos IV Diogenes (ภาษากรีก:Ρωμανὸς Δ΄ Διογένης, ภาษาละติน: Romanus IV Diogenes) |
1 มกราคม ค.ศ. 1068 – 24 ตุลาคม ค.ศ. 1071 (3 ปี 296 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 1032 เป็นนายพลผู้ประสบความสำเร็จและเสกสมรสกับสมเด็จพระพันปีหลวงยูโดเกีย มาเครมโบลิทิสซา และทรงกลายเป็นจักรพรรดิอาวุโส เป็นผู้ปกครองแก่พระโอรสของพระนางที่ประสูติกับจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 10 ทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยสมาชิกราชนิกูลดูคาสหลังจากสมรภูมิแมนซิเคิร์ท ทรงถูกทำให้พระเนตรบอดในปีเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1072 ถูกเนรเทศ และสวรรคตในเวลาต่อมา | |
จักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 3 โบตาเนอาตีส Nikephoros III Botaneiates (ภาษากรีก:Νικηφόρος Γ΄ Βοτανειάτης, ภาษาละติน: Nicephorus III Botaniates) |
31 มีนาคม ค.ศ. 1078 – 4 เมษายน ค.ศ. 1081 (3 ปี 4 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 1001 เป็นสเตรตกอสแห่งธีมอนาโตลิก พระองค์ทรงก่อกบฏต่อต้านจักรพรรดิมิคาเอลที่ 7 และได้รับการต้อนรับในเมืองหลวง พระองค์ต้องเผชิญกับการกบฏหลายครั้ง แต่ทรงถูกล้มราชบัลลังก์โดยตระกูลโคมเนนอส พระองค์ทรงเสด็จไปประทับที่อาราม ที่ซึ่งทรงสวรรคตในวันที่ 10 ธันวาคม ปีเดียวกัน (ค.ศ. 1081) |
ราชวงศ์โคมเนนอส ครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1081 - 1185)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส Alexios I Komnenos (ภาษากรีก:Ἀλέξιος Α' Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Alexius I Comnenus) |
4 เมษายน ค.ศ. 1081 – 15 สิงหาคม ค.ศ. 1118 (37 ปี 133 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 1056 เป็นพระนัดดาในจักรพรรดิไอแซ็คที่ 1 โคมเนนอส เป็นนายพลที่โดดเด่น พระองค์ทรงล้มราชบัลลังก์ของจักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 3 รัชสมัยของพระองค์ต้องรบพุ่งกับนอร์มันและราชวงศ์เซลจุค และการมาถึงของสงครามครูเสดครั้งที่ 1และการจัดตั้งรัฐนักรบครูเสดอิสระ พระองค์ยังคงให้คอนสแตนติน ดูคาสดำรงเป็นจักรพรรดิร่วมต่อไปจนถึงค.ศ. 1087 และทรงแต่งตั้งจอห์น พระโอรสองค์โตเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1092 พระองค์ทรงสามารถหยุดยั้งความเสื่อมของจักรวรรดิและทรงเริ่มการเปลี่ยนแปลงทางการทหาร, ทางการเศรษฐกิจ และทางการได้ดินแดนคืนที่เรียกว่าสมัย “การปฏิรูปโคมีเนียน” (Komnenian restoration) | |
จักรพรรดิจอห์นที่ 2 โคมเนนอส John II Komnenos (ภาษากรีก:Ἰωάννης Β' Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Ioannes II Comnenus) |
15 สิงหาคม ค.ศ. 1118 – 8 เมษายน ค.ศ. 1143 (24 ปี 236 วัน) |
ประสูติวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1087 เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1092 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต รัชสมัยของพระองค์ต้องประสบกับสงครามกับเติร์ก ทรงเป็นพระประมุขที่เป็นที่นิยมและทรงตระหนี่ พระองค์ยังทรงเป็นที่รู้จักในพระนามว่า "จอห์น คนดี" ทรงแต่งตั้งพระโอรสองค์โตคือ เจ้าชายอเล็กซิออสเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1122 และพระโอรสได้สิ้นพระชนม์ก่อนหน้าพระองค์ | |
จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอส Manuel I Komnenos (ภาษากรีก:Μανουὴλ Α' Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Manuel I Comnenus) |
ค.ศ. 1143 – 24 กันยายน ค.ศ. 1180 (37 ปี 299 วัน) |
ประสูติวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1118 เป็นพระโอรสองค์ที่สี่และองค์สุดท้องในจักรพรรดิจอห์นที่ 2 พระองค์ทรงได้รับเลือกให้เป็นจักรพรรดิแทนที่พระเชษฐาคือ เจ้าชายไอแซ็ค โคมเนนอส โดยพระราชบิดาก่อนที่จะสวรรคต ทรงเป็นพระประมุขที่เข้มแข็ง พระองค์ทรงก่อสงครามกับเติร์ก และอ่อนน้อมต่อราชอาณาจักรฮังการี ทรงมีอำนาจสูงสุดเหนือรัฐครูเสด และทรงพยายามรื้อฟื้นดินแดนคืนในอิตาลีแต่ไม่สำเร็จ ความฟุ่มเฟือยและการทำสงครามมาอย่างต่อเนื่องได้ทำให้ทรัพยากรของจักรวรรดิลดน้อยลง | |
จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 2 โคมเนนอส Alexios II Komnenos (ภาษากรีก:Ἀλέξιος B' Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Alexius II Comnenus) |
24 กันยายน ค.ศ. 1180 – ตุลาคม ค.ศ. 1183 (3 ปี 6 วัน) |
ประสูติวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1162 เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 ในช่วงปีค.ศ. 1180 - 1182 ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของพระมารดาคือ สมเด็จพระพันปีหลวงมาเรียแห่งแอนติออก พระนางมาเรียทรงถูกรัฐประหารโดยอันโดรนิคอส โคมเนนอส พระญาติในราชวงศ์ ซึ่งได้บีบบังคับให้จักรพรรดิอเล็กซิออสมีพระราชโองการประหารพระมารดา จากนั้นอันโดรนิคอสได้กลายเป็นจักรพรรดิร่วม ท้ายที่สุดได้โค่นล้มจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 2 เพื่อขึ้นครองบัลลังก์แทน จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 2 ทรงถูกปลงพระชนม์ | |
จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 1 โคมเนนอส Andronikos I Komnenos (ภาษากรีก:Ἀνδρόνικος Α' Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Andronicus I Comnenus) |
ค.ศ. 1183 – 11 กันยายน ค.ศ. 1185 (2 ปี 285 วัน) |
ประสูติราวค.ศ. 1118 เป็นพระนัดดาในจักรพรรดิจอห์นที่ 2 โดยเป็นโอรสในพระอนุชาของจักรพรรดิจอห์นที่ 2 คือ เจ้าชายไอแซ็ค ทรงเป็นนายพล ทรงถูกจับกุมหลังจากที่ทรงวางแผนสมคบคิดต่อต้านจักรพรรดิจอห์นที่ 2 พระปิตุลา แต่หลบหนีไปได้และใช้เวลา 15 ปีในการลี้ภัยไปยังราชสำนักต่างๆของยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลาง พระองค์ทรงยึดตำแหน่งผู้สำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงมาเรียแห่งแอนติออกในปีค.ศ. 1182 และต่อมาทรงยึดราชบัลลังก์จากจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 2 พระนัดดา พระองค์ทรงเป็นพระประมุขที่ไม่ได้รับความนิยม พระองค์ทรงถูกโค่นล้มราชบัลลังก์และทรงถูกรุมประชาทัณฑ์โดยการลุกฮือของประชาชนจนสวรรคต |
ราชวงศ์อันเจลอส (ค.ศ. 1185 - 1204)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 อันเจลอส Isaac II Angelos (ภาษากรีก:Ἰσαάκιος Β' Ἄγγελος, ภาษาละติน: Isaacius II Angelus) |
ค.ศ. 1185 – ค.ศ. 1195 ครั้งที่ 1 (10 ปี 0 วัน) |
ประสูติในเดือนกันยายน ค.ศ. 1156 ไอแซ็คก้าวขึ้นสู่บัลลังก์ได้จากการที่เป็นผู้นำการลุกฮือต่อต้านจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 1 รัชสมัยของพระองค์เต็มไปด้วยการกบฏและสงครามในบอลข่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อต้านการฟื้นฟูบัลแกเรีย จักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 ทรงถูกโค่นล้ม ทรงถูกทำให้พระเนตรบอดและถูกจับกุมโดย จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 พระเชษฐาของพระองค์ | |
จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 อันเจลอส Alexios III Angelos (ภาษากรีก:Ἀλέξιος Γ' Ἄγγελος, ภาษาละติน: Alexius III Angelus) |
ค.ศ. 1195 – 17/18 กรกฎาคม ค.ศ. 1203 (8 ปี 230 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 1153 จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 ทรงเป็นพระเชษฐาในจักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 รัชสมัยของพระองค์ประสบกับการปกครองที่ไม่มั่นคงและอำนาจการปกครองของแคว้นต่างๆได้เพิ่มมากขึ้น พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์โดยกองทัพครูเสดในสงครามครูเสดครั้งที่ 4 และทรงหลบหนีจากคอนสแตนติโนเปิล ทรงลี้ภัยและเดินทางไปยังกรีซและเอเชียไมเนอร์ เพื่อแสวงหาการสนับสนุนให้พระองค์กลับคืนสู่บัลลังก์ พระองค์สวรรคตหลังจากทรงถูกจับกุมในจักรวรรดิไนเซียในปีค.ศ. 1211 | |
จักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 อันเจลอส Isaac II Angelos (ภาษากรีก:Ἰσαάκιος Β' Ἄγγελος, ภาษาละติน: Isaacius II Angelus) |
18 กรกฎาคม ค.ศ. 1203 – 27/28 มกราคม ค.ศ. 1204 ครั้งที่ 2 (0 ปี 194 วัน) |
ทรงได้รับการฟื้นฟูราชบัลลังก์อีกครั้งโดยนักรบครูเสดแม้ว่าจะทรงพระเนตรบอด อำนาจของพระองค์ทรงตกอยู่กับจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 4 พระโอรส เนื่องจากทรงล้มเหลวในการต่อรองผลประโยชน์จากข้อเรียกร้องของนักรบครูเสด ทำให้พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์อีกครั้งโดยอเล็กซิออส ดูคาสในเดือนมกราคม ค.ศ. 1204 และสวรรคตในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1204 คาดว่าอาจจะทรงถูกปลงพระชนม์ด้วยยาพิษ | |
จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 4 อันเจลอส Alexios IV Angelos (ภาษากรีก:Ἀλέξιος Δ' Ἄγγελος, ภาษาละติน: Alexius IV Angelus) |
1 สิงหาคม ค.ศ. 1203 – 27/28 มกราคม ค.ศ. 1204 (0 ปี 180 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 1182 ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 พระองค์ทรงเข้าร่วมในกองทัพครูเสดครั้งที่สี่เพื่อนำพระราชบิดากลับคืนสู่ราชบัลลังก์ และทรงได้ครองราชย์ร่วมกับพระราชบิดาหลังจากทรงได้รับชัยชนะต่อจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 พระปิตุลาแล้ว เนื่องจากทรงล้มเหลวในการต่อรองผลประโยชน์จากข้อเรียกร้องของนักรบครูเสด ทำให้พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์อีกครั้งโดยอเล็กซิออส ดูคาสในเดือนมกราคม ค.ศ. 1204 พระองค์ทรงถูกปลงพระชนม์ด้วยการรัดพระศอในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ | |
จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 5 ดูคาส "มอร์ทซูฟลอส" Alexios V Doukas "Mourtzouphlos" (ภาษากรีก:Ἀλέξιος Ε' Δούκας ὁ Μούρτζουφλος, ภาษาละติน: Alexius V Ducas) |
5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1204 – 13 เมษายน ค.ศ. 1204 (0 ปี 68 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 1140 เป็นพระชามาดา (บุตรเขย) ในจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 และเป็นขุนนางที่โดดเด่น พระองค์ทรงโค่นล้มจักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 และจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 4 ในการรัฐประหาร พระองค์พยายามขับไล่กองทัพครูเสด แต่กองทัพครูเสดได้เข้ายึดครองคอนสแตนติโนเปิล ทำให้มอร์ทซูฟลอสต้องทรงหลบหนี พระองค์เสด็จไปพบกับอดีตจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 ที่ทรงลี้ภัยอยู่ แต่อดีตจักรพรรดิทรงให้กองทัพซุ่มโจมตีและมีพระบัญชาทำให้พระเนตรของจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 5 บอด เพื่อให้พระองค์ไม่สามารถอ้างสิทธิในบัลลังก์ได้ พระองค์ทรงถูกทั้งทหารของพระองค์และศัตรูทอดทิ้ง และทรงถูกจับกุมโดยกองทัพครูเสด พะรองค์ทรงถูกตัดสินประหารชีวิตในโทษฐานกบฏต่อจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 4 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1205 |
ราชวงศ์ลาสคาริส (จักรวรรดิไนเซีย ค.ศ. 1204 - 1261)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิธีโอดอร์ที่ 1 ลาสคาริส Theodore I Laskaris (ภาษากรีก:Θεόδωρος Α΄ Λάσκαρις, ภาษาละติน: Theodorus I Lascares) |
ค.ศ. 1205 – ธันวาคม ค.ศ. 1221/1222 (17 ปี 365 วัน) |
ประสูติในราวค.ศ. 1174 พระองค์ทรงมีชื่อเสียงขึ้นมาจากการที่ทรงเป็นพระชามาดาในจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 คอนสแตนติน ลาสคาริส พระเชษฐาของพระองค์ได้รับเลือกให้เป็นจักรพรรดิโดยประชาชนของคอนสแตนติโนเปิลในวันที่เมืองพ่ายแพ้ต่อกองทัพครูเสด พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยไปยังไนเซีย ที่ซึ่งธีโอดอร์ทรงจัดตั้งกลุ่มชาวกรีกเพื่อต่อต้านชาวลาติน พระองค์ทรงประกาศพระองค์เองเป็นจักรพรรดิหลังการสิ้นพระชนม์ของคอนสแตนตินในปีค.ศ. 1205 จักรพรรดิธีโอดอร์ทรงสวมมงกุฎในปีค.ศ. 1208 พระองค์ทรงพยายามขัดขวางการเดินทัพของลาตินในเอเชียและทรงขับไล่การโจมตีของเซลยุค ทรงสถาปนาจักรวรรดิไนเซียซึ่งเป็นรัฐสืบทอดของชาวกรีกที่เข้มแข็ง | |
จักรพรรดิจอห์นที่ 3 ดูคาส วาตัทซีส John III Doukas Vatatzes (ภาษากรีก:Ἰωάννης Γ' Δούκας Βατάτζης, ภาษาละติน: Ioannes III Ducas Batatzes) |
15 ธันวาคม ค.ศ. 1221/1222 – 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1254 (31 ปี 323 วัน) |
ประสูติในราวค.ศ. 1192 ทรงกลายเป็นพระชามาดาและรัชทายาทในจักรพรรดิธีโอดอร์ที่ 1 ในปีค.ศ. 1212 ทรงเป็นประมุขและนักการทหารที่มีความสามารถ พระองค์ทรงขยายจักรวรรดิไปยังบิธีเนีย เทรซและมาซิโดเนีย เพื่อเป็นการชดใช้ของจักรวรรดิละติน บัลแกเรียและรัฐกรีกที่เป็นศัตรูอย่าง รัฐเดสปอทอิไพรัส | |
จักรพรรดิธีโอดอร์ที่ 2 ลาสคาริส Theodore II Laskaris (ภาษากรีก:Θεόδωρος Β' Λάσκαρις, ภาษาละติน: Theodorus II Lascares) |
3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1254 – 18 สิงหาคม ค.ศ. 1258 (3 ปี 288 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 1221/1222 ทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิจอห์นที่ 3 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยที่เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มตระกูลขุนนางใหญ่ๆ และพระองค์ทรงได้รับชัยชนะในสงครามกับบัลแกเรียและทรงขยายอาณาเขตเข้าไปในแอลเบเนีย | |
จักรพรรดิจอห์นที่ 4 ลาสคาริส John IV Laskaris (ภาษากรีก:Ἰωάννης Δ' Λάσκαρις, ภาษาละติน: Ioannes IV Ducas Lascares) |
18 สิงหาคม ค.ศ. 1258 – 25 ธันวาคม ค.ศ. 1261 (3 ปี 109 วัน) |
ประสูติในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1250 ทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิธีโอดอร์ที่ 2 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ ทำให้พระองค์ทรงตกอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของจอร์จ มูซาลอนจนกระทั่งเขาถูกลอบสังหาร ต่อมาทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของมิคาเอล พาลาโอโลกอส ผู้ซึ่งในเวลาไม่กี่เดือนได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิอาวุโส หลังจากกองทัพไนเซียสามารถฟื้นฟูกรุงคอนสแตนติโนเปิลคืนมาได้ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1261 พาลาโอโลกอสสามารถกีดกันจักรพรรดิจอห์นที่ 4 ออกจากอำนาจอย่างสมบูรณ์ พระองค์ทรงถูกทำให้พระเนตรบอดและถูกจับกุม จักรพรรดิจอห์นที่ 4 สวรรคตในปีค.ศ. 1305 |
ราชวงศ์พาลาโอโลกอส (ฟื้นฟูคอนสแตนติโนเปิล ค.ศ. 1261 - 1453)
[แก้]พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ |
พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 8 พาลาโอโลกอส Michael VIII Palaiologos (ภาษากรีก:Μιχαὴλ Η' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Michael VIII Palaeologus) |
1 มกราคม ค.ศ. 1259 – 11 ธันวาคม ค.ศ. 1282 (23 ปี 344 วัน) |
ประสูติในปีค.ศ. 1223 เป็นพระปนัดดาในจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 และเป็นพระนัดดาในจักรพรรดิจอห์นที่ 3 โดยการสมรส ทรงเป็นจักรพรรดิอาวุโสในรัชสมัยของจักรพรรดิจอห์นที่ 4 ในปีค.ศ. 1259 พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1261 พระองค์ทรงฟื้นฟูกรุงคอนสแตนติโนเปิลจากคืนจากจักรวรรดิละติน และเปลี่ยนจากจักรวรรดิไนเซียเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ยุคฟื้นฟู | |
จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 2 พาลาโอโลกอส Andronikos II Palaiologos (ภาษากรีก:Ἀνδρόνικος Β' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Andronicus II Palaeologus) |
11 ธันวาคม ค.ศ. 1282 – 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1328 (45 ปี 165 วัน) |
ประสูติในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1259 ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิมิคาเอลที่ 7 พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิร่วมในเดือนกันยายน ค.ศ. 1261 พระองค์ทรงสวามมงกุฎในปีค.ศ. 1272 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวหลังจากพระราชบิดาสวรรคต พระองค์ทรงโปรดบาทหลวงและปัญญาชน ทรงละเลยด้านการทหาร และรัชกาลของพระองค์ต้องประสบกับการล่มสลายของอิทธิพลจักรวรรดิไบแซนไทน์ในเอเชียไมเนอร์ พระองค์ทรงแต่งตั้งจักรพรรดิมิคาเอลที่ 9 พระโอรสขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วม ในช่วงสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อ พระองค์ทรงถูกบังคับให้รับรองพระนัดดาคือ จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วม และจากนั้นจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 2 ก็ทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์ในทันที อดีตจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 2 สวรรคตในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1332 | |
จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 พาลาโอโลกอส Andronikos III Palaiologos (ภาษากรีก:Ἀνδρόνικος Γ' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Andronicus III Palaeologus) |
24 พฤษภาคม ค.ศ. 1328 – 15 มิถุนายน ค.ศ. 1341 (13 ปี 22 วัน) |
ประสูติในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1297 ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิร่วมมิคาเอลที่ 9 และทรงได้รับการแต่งต้งเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1316 ด้วยทรงเป็นจักรพรรดิที่ตีเสมอกันตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1321 พระองค์ทรงโค่นล้มจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 2 พระอัยกาออกจากราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 1328 และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวจนกระทั่งสวรรคต พระองค์ทรงได้รับการสนับสนุนจากจอห์น คันตาคูเซนอส รัชสมัยของพระองค์ทรงปราชัยต่อรัฐเอมิเรตออตโตมัน แต่ทรงประสบความสำเร็จในยุโรป พระองค์ทรงสามารถฟื้นฟูอิไพรัสและเทสซาลีได้ | |
จักรพรรดิจอห์นที่ 5 พาลาโอโลกอส John V Palaiologos (ภาษากรีก:Ἰωάννης Ε' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Ioannes V Palaeologus) |
15 มิถุนายน ค.ศ. 1341 – 12 สิงหาคม ค.ศ. 1376 ครั้งที่ 1 (35 ปี 58 วัน) |
ทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 พระองค์ไม่ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมหรือได้รับการประกาศว่าเป็นองค์รัชทายาทในครั้งที่พระราชบิดาสวรรคต ซึ่งทำให้เกิดสงครามกลางเมืองที่สร้างความเสียหายระหว่างพระองค์กับผู้สำเร็จราชการของพระองค์เองและเป็นเสนาธิการคนสนิทของพระราชบิดาคือ จอห์น คันตาคูเซนอส ซึ่งได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิร่วม ความขัดแย้งได้สิ้นสุดในปีค.ศ. 1347 โดยคันตาคูเซนอสได้รับการรับรองให้เป็นจักรพรรดิอาวุโส แต่พระองค์ก็ถูกโค่นจากราชบัลลังก์โดยจักรพรรดิจอห์นที่ 5 ในปีค.ศ. 1354 ในช่วงสงครามกลางเมืองอีกครั้งหนึ่ง แมทธิว คันตาคูเซนอสได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดิจอห์นที่ 5 ให้เป็นจักรพรรดิร่วม และก็ถูกโค่นล้มจากราชบัลลังก์เช่นกันในปีค.ศ. 1357 จักรพรรดิจอห์นที่ 5 ทรงมีคำวิงวอนไปยังตะวันตกเพื่อให้ช่วยเหลือในการรบกับออตโตมัน แต่ในปีค.ศ. 1371 พระองค์ทรงถูกบังคับให้ยอมรับอำนาจของออตโตมัน พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 1376 โดยพระโอรสของพระองค์เอง คือ จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 4 | |
จักรพรรดิจอห์นที่ 6 คันตาคูเซนอส John VI Kantakouzenos (ภาษากรีก:Ἰωάννης ΣΤ' Καντακουζηνὸς, ภาษาละติน: Ioannes VI Cantacuzenus) |
8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1347 – 4 ธันวาคม ค.ศ. 1354 (7 ปี 299 วัน) |
ทรงเป็นพระญาติฝ่ายมารดาของตระกูลพาลาโอโลกอส พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1341 และทรงได้รับการรับรองให้เป็นจักรพรรดิอาวุโสเป็นเวลาสิบปีหลังจากสิ้นสุดสงครามกลางเมืองในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1347 พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์โดยจักรพรรดิจอห์นที่ 5 ในปีค.ศ. 1354 พระองค์ทรงเข้าเป็นบาทหลวง สวรรคตในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1354 | |
จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 4 พาลาโอโลกอส Andronikos IV Palaiologos (ภาษากรีก:Ἀνδρόνικος Δ΄ Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Andronicus IV Palaeologus) |
12 สิงหาคม ค.ศ. 1376 – 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1379 (2 ปี 323 วัน) |
ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิจอห์นที่ 5 และเป็นพระนัดดาในจักรพรรดิจอห์นที่ 6 พระองค์ประสูติวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1348 และทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1352 พระองค์ทรงปลดพระราชบิดาออกจากราชบัลลังก์ในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1376 และทรงครองราชย์จนกระทั่งทรงถูกโค่นราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 1379 พระองค์ทรงได้รับการรับรองอีกครั้งในฐานะจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1381 และทรงได้รับแคว้นเซลิมเบรียเป็นทรัพย์สินที่ครอบครองตามกฎหมาย พระองค์สวรรคตที่นั่นในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1385 | |
จักรพรรดิจอห์นที่ 5 พาลาโอโลกอส John V Palaiologos (ภาษากรีก:Ἰωάννης Ε' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Ioannes V Palaeologus) |
1 กรกฎาคม ค.ศ. 1379 – 14 เมษายน ค.ศ. 1390 ครั้งที่ 2 (10 ปี 287 วัน) |
ทรงกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ในฐานะจักรพรรดิอาวุโส พระองค์ทรงประนีประนอมกับจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 4 พระโอรส ในปีค.ศ. 1381 ทรงแต่งตั้งพระโอรสเป็นจักรพรรดิร่วมอีกครั้ง จักรพรรดิจอห์นที่ 5 ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์อีกครั้งในปีค.ศ. 1390 โดยพระราชนัดดา คือ จักรพรรดิจอห์นที่ 7 | |
จักรพรรดิจอห์นที่ 7 พาลาโอโลกอส John VII Palaiologos (ภาษากรีก:Ἰωάννης Ζ' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Ioannes VII Palaeologus) |
14 เมษายน ค.ศ. 1390 – 17 กันยายน ค.ศ. 1390 (0 ปี 156 วัน) |
ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 4 พระองค์ประสูติในปีค.ศ. 1370 และทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในรัชสมัยของพระราชบิดาในปีค.ศ. 1377 - 1379 พระองค์ทรงช่วงชิงราชบัลลังก์มาจากพระอัยกา จักรพรรดิจอห์นที่ 5 ทรงครองราชย์เป็นเวลาห้าเดือนในปีค.ศ. 1390 แต่เนื่องด้วยออตโตมันเข้ามาเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย พระองค์จึงต้องประนีประนอมกับจักรพรรดิจอห์นที่ 5 พระอัยกาและจักรพรรดิมานูเอลที่ 2 พระปิตุลา พระองค์ทรงป้องกันกรุงคอนสแตนติโนเปิลจากการรุกรานของออตโตมันในปีค.ศ. 1399 - 1402 และทรงได้รับเทสซาโลนีกาเป็นทรัพย์สินที่ครอบครองตามกฎหมาย ซึ่งพระองค์ทรงปกครองจนกระทั่งสวรรคตในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1408 | |
จักรพรรดิจอห์นที่ 5 พาลาโอโลกอส John V Palaiologos (ภาษากรีก:Ἰωάννης Ε' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Ioannes V Palaeologus) |
17 กันยายน ค.ศ. 1390 – 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1391 ครั้งที่ 3 (0 ปี 152 วัน) |
ทรงกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ในฐานะจักรพรรดิอาวุโส พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิจนกระทั่งสวรรคตในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1391 | |
จักรพรรดิมานูเอลที่ 2 พาลาโอโลกอส Manuel II Palaiologos (ภาษากรีก:Μανουὴλ Β' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Manuel II Palaeologus) |
16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1391 – 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1425 (34 ปี 155 วัน) |
ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่สองในจักรพรรดิจอห์นที่ 5 พระองค์ประสูติในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1350 ทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1373 พระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิอาวุโสหลังจากจักรพรรดิจอห์นที่ 5 สวรรคต พระองค์ทรงเดินทางไปเยือนราชสำนักในยุโรปตะวันตกเพื่อแสวงหาความช่วยเหลือในการต่อต้านพวกเติร์ก และทรงใช้เหตุการณ์ที่ออตโตมันพ่ายแพ้ในสมรภูมิอังการาต่อกองทัพของราชวงศ์ตีมูร์ เพื่อยึดดินแดนคืนและสลัดความเป็นเบื้องล่างของออตโตมัน | |
จักรพรรดิจอห์นที่ 8 พาลาโอโลกอส John VIII Palaiologos (ภาษากรีก:Ἰωάννης Η' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Ioannes VIII Palaeologus) |
21 กรกฎาคม ค.ศ. 1425 – 31 ตุลาคม ค.ศ. 1448 (23 ปี 102 วัน) |
ทรงเป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิมานูเอลที่ 2 พระองค์ประสูติวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1392 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมราวปีค.ศ. 1416 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต พระองค์ทรงพยายามแสวงหาการช่วยเหลือในการต่อต้านออตโตมันที่ฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง พระองค์จึงทรงยอมรับในการรวมกันของศาสนจักรในปีค.ศ. 1439 | |
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 พาลาโอโลกอส Constantine XI Palaiologos (ภาษากรีก:Κωνσταντίνος ΙΑ' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Constantinus XI Palaeologus) |
6 มกราคม ค.ศ. 1449 – 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 (4 ปี 143 วัน) |
ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่สี่ในจักรพรรดิมานูเอลที่ 2 พระองค์ประสูติวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1405 ทรงเป็นเดสปอทแห่งมอเรียตั้งแต่ค.ศ. 1428 พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการทำสงครามซึ่งสามารถผนวกราชรัฐอาเคียและทรงทำให้ดัชชีเอเธนส์กลับมาอยู่ภายใต้อำนาจของไบแซนไทน์ แต่ไม่ทรงสามารถขับไล่กองทัพเติร์กที่เข้ามาโจมตีภายใต้การนำของตูราฮัน เบย์ พระเชษฐาของพระองค์ได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิจอห์นที่ 8 ต่อมาทรงสวรรคต ทำให้สุลต่านองค์ใหม่แห่งออตโตมัน สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงต้องการขยายอำนาจมาที่คอนสแตนติโนเปิล จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงยอมรับในการรวมศาสนจักรและทรงย้ำถึงการขอความช่วยเหลือจากตะวันตก แต่ก็ไร้ผล พระองค์ปฏิเสธที่จะยอมแพ้ต่อออตโตมัน ท้ายที่สุดพระองค์สวรรคตในสงครามจากการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453[19] |
ราชวงศ์พาลาโอโลกอส (ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์)
[แก้]พระรูป | พระนาม | สถานะ | ประสูติ | เริ่มอ้างสิทธิ | สิ้นสุดการอ้างสิทธิ | สิ้นพระชนม์ |
---|---|---|---|---|---|---|
เจ้าชายเดมีทริออส พาลาโอโลกอส เดสปอทแห่งมอเรีย Demetrios Palaiologos (Δημήτριος Παλαιολόγος) |
พระโอรสในจักรพรรดิมานูเอลที่ 2, พระอนุชาในจักรพรรดิจอห์นที่ 8 และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 | ราว ค.ศ. 1407 | ค.ศ. 1453 | ค.ศ. 1460 | ค.ศ. 1470 | |
เจ้าชายโทมัส พาลาโอโลกอส เดสปอทแห่งมอเรีย Thomas Palaiologos (Θωμᾶς Παλαιολόγος) |
พระโอรสในจักรพรรดิมานูเอลที่ 2, พระอนุชาในจักรพรรดิจอห์นที่ 8 และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 | ราว ค.ศ. 1409 | ค.ศ. 1453 | 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1465 | 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1470 | |
แอนเดรียส พาลาโอโลกอส เดสปอทแห่งมอเรีย Andreas Palaiologos ((Ἀνδρέας Παλαιολόγος) |
พระโอรสในเจ้าชายโทมัส | ราว ค.ศ. 1453 | 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1465 | ค.ศ. 1502 ทรงขายสิทธิในราชบัลลังก์ไบแซนไทน์แก่กษัตริย์ฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 และกษัตริย์คาทอลิก สมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 กับพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 5 |
ค.ศ. 1502 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nicol, Donald MacGillivray, Last Centuries of Byzantium, 1261-1453, Cambridge University Press, Second Edition, 1993, p. 72: "Hereditary succession to the throne was a custom or a convenience in Byzantium, not an inviolable principle. Emperors, particularly in the later period, would take pains to nominate their sons as co-emperors, for the rule of a dynasty made for stability and continuity. But in theory, the road to the throne was a carriere ouverte aux talents [career open to talents]..."
- ↑ Hooker, Richard (4 June 2007). "The Byzantine Empire. Middle Ages. World Cultures". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-26. สืบค้นเมื่อ 2014-10-12.
- ↑ p. 183, Karayannopoulous, Yanis, "State Organization, Social Structure, Economy, and Commerce," History of Hunamity - Scientific and Cultural Development from the Seventh to the Sixteenth Centuries, Vol. IV, M. A. Al-Bakhit, L. Bazin, S. M. Cissoko and M. S. Asimov, Editors, UNESCO, Paris (2000)
- ↑ Nicol, Donald MacGillivray, Last Centuries of Byzantium, 1261-1453, Cambridge University Press, Second Edition, 1993, p. 72: "Hereditary succession to the throne was a custom or a convenience in Byzantium, not an inviolable principle. Emperors, particularly in the later period, would take pains to nominate their sons as co-emperors, for the rule of a dynasty made for stability and continuity. But in theory, the road to the throne was a carriere ouverte aux talents [career open to talents]..."
- ↑ Gregory, Timothy E.; Cutler, Anthony (1991). "Constantine I the Great". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 498–500. ISBN 978-0-19-504652-6.
- ↑ Gregory, Timothy E. (1991). "Constantius II". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. p. 524. ISBN 978-0-19-504652-6.
- ↑ Gregory, Timothy E. (1991). "Constans". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. p. 496. ISBN 978-0-19-504652-6.
- ↑ Gregory, Timothy E.; Cutler, Anthony (1991). "Leo I". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 1206–1207. ISBN 978-0-19-504652-6.
- ↑ Kazhdan, Alexander P. (1991). "Leo II". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 1207–1208. ISBN 978-0-19-504652-6.
- ↑ Gregory, Timothy E. (1991). "Zeno". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. p. 2223. ISBN 978-0-19-504652-6.
- ↑ Gregory, Timothy E. (1991). "Anastasios I". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 86–87. ISBN 978-0-19-504652-6.
- ↑ McKay/HillA History of World Societies. Bedford/St. Martin's, 9th edition. 2012
- ↑ Ostrogorsky, George., History of the Byzantine State, Rutgers University Press (1969) p261. ISBN 0-8135-0599-2
- ↑ Ostrogorsky, p261
- ↑ Kazhdan, Alexander; Cutler, Anthony (1991). "Constantine VII Porphyrogennetos". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 502–503. ISBN 978-0-19-504652-6.
- ↑ Brand, Charles M.; Cutler, Anthony (1991). "Constantine VIII". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 503–504. ISBN 978-0-19-504652-6.
- ↑ Canduci, Alexander (2010), Triumph & Tragedy: The Rise and Fall of Rome's Immortal Emperors, Pier 9, ISBN 978-1-74196-598-8 p.266
- ↑ Brand, Charles M.; Cutler, Anthony (1991). "Constantine IX Monomachos". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. p. 504. ISBN 978-0-19-504652-6.
- ↑ Talbot, Alice-Mary (1991). "Constantine XI Palaiologos". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. p. 505. ISBN 978-0-19-504652-6.