รางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
รางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม | |
---|---|
รางวัลสำหรับ | ภาพยนตร์เรื่องยาวที่ผลิตนอกสหรัฐอเมริกาโดยมีบทสนทนาที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษเป็นหลัก |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
จัดโดย | สถาบันศิลปะและวิทยาการภาพยนตร์ (AMPAS) |
เดิมเรียกว่า | รางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม (จนถึงปี 2020) |
รางวัลแรก | 1947 (มอบแก่ภาพยนตร์เรื่อง Shoeshine) |
ผู้ชนะปีล่าสุด | วิมานนาซี (2023) |
เว็บไซต์ | oscars |
รางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม (รู้จักกันในชื่อ ภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ก่อนปี 2020) เป็นหนึ่งในรางวัลออสการ์ ที่มอบให้ทุกปีโดย สถาบันศิลปะและวิทยาการภาพยนตร์ (AMPAS) ในสหรัฐอเมริกา มอบให้กับภาพยนตร์เรื่องยาวมากกว่า 40 นาที ที่ผลิตนอกสหรัฐอเมริกาโดยมีบทสนทนาที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษเป็นหลัก (มากกว่า 50%) และต้องจัดแสดงต่อสาธารณชนครั้งแรกเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วันติดต่อกันในโรงภาพยนตร์เชิงพาณิชย์[1]
ในการจัดพิธีมอบรางวัลออสการ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 เพื่อเป็นเกียรติแก่ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2471 ไม่มีการแยกหมวดหมู่สำหรับภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศเนื่องจากภาพยนตร์ส่วนใหญ่ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2470 และ พ.ศ. 2471 เป็นภาพยนตร์เงียบ และระหว่าง ปี พ.ศ. 2490 ถึงปี พ.ศ. 2498 อคาเดมี ได้มอบรางวัลเกียรติยศ ให้กับภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศที่ดีที่สุดที่ออกฉายในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม รางวัลเหล่านี้ไม่ได้มอบให้เป็นประจำ (ไม่มีการมอบรางวัลใน ปี พ.ศ. 2496) เนื่องจากเป็นการประกาศผลรางวัลแบบไม่มีชื่อผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิง มอบให้แก่ภาพยนตร์เพียงเรื่องเดียวที่ได้รางวัลไป แต่ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 29 ในปี พ.ศ. 2499 อคาเดมีได้เพิ่มหมวดรางวัลซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ รางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม สำหรับภาพยนตร์ที่ไม่พูดภาษาอังกฤษ และมอบรางวัลนี้เป็นประจำทุกปีนับตั้งแต่นั้นมา
รางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม ไม่เหมือนกับรางวัลออสการ์อื่น ๆ เนื่องจากรางวัลนี้ไม่ได้มอบให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง (แม้ว่าผู้กำกับจะได้รับเกียรติขึ้นกล่าวบนเวทีก็ตาม) แต่ถือเป็นรางวัลสำหรับประเทศที่ส่งประกวด ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รางวัลนี้ได้มอบให้กับภาพยนตร์สัญชาติยุโรปเป็นส่วนใหญ่ จากสถิติ 77 ครั้งที่ผ่านมาของรางวัลนี้ที่มอบให้ตั้งแต่ปี 1947: ภาพยนตร์จากทวีปยุโรป คว้าไปได้ทั้งสิ้น 60 ครั้ง,[2] ภาพยนตร์จากทวีปเอเชีย คว้าไปได้ 9 ครั้ง,[3] ภาพยนตร์จากภูมิภาคลาตินอเมริกา คว้าไปได้ 5 ครั้ง และภาพยนตร์จากทวีปแอฟริกา คว้าไปได้ 3 ครั้ง นอกจากนี้ เฟเดรีโก เฟลลีนี ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอิตาลี ยังครองสถิติเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่คว้ารางวัลนี้ไปได้ถึง 4 ครั้งตลอดช่วงชีวิตของเขา ซึ่งเป็นสถิติที่ยังไม่มีใครเทียบได้ (ถ้าหากมีการพิจารณารางวัลเกียรติยศด้วย สถิติของเฟลลินีจะเท่ากับ วิตตอรีโอ เด ซีกา ผู้กำกับภาพยนตร์ร่วมสัญชาติเดียวกัน)
ประเทศที่ชนะรางวัลในสาขานี้มากที่สุดคือ อิตาลี รวมทั้งสิ้น 14 ครั้ง (หากนับรวมรางวัลเกียรติยศอีก 3 ครั้ง) จากการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลทั้งสิ้น 33 ครั้ง ในขณะที่ฝรั่งเศส เป็นประเทศที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนี้มากที่สุดถึง 41 ครั้ง และชนะรางวัลไปทั้งสิ้น 12 ครั้ง (หากนับรวมรางวัลเกียรติยศอีก 3 ครั้ง) เช่นเดียวกับอิสราเอล ที่กลายเป็นประเทศที่เป็นเจ้าของสถิติได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงมากที่สุดถึง 10 ครั้ง แต่กลับไม่เคยชนะรางวัลนี้เลย และโปรตุเกส เป็นเจ้าของสถิติประเทศที่เสนอชื่อภาพยนตร์เข้าคัดเลือกเพื่อพิจารณารางวัลในสาขานี้มากที่สุดถึง 40 ครั้ง แต่กลับไม่ได้รับการถูกเสนอชื่อเข้าชิงเลย อีกทั้งภาพยนตร์จากสหภาพโซเวียต เรื่อง War and Peace เป็นภาพยนตร์ที่มีความยาวมากที่สุดที่ชนะรางวัลสาขานี้ ด้วยความยาวมากกว่า 7 ชั่วโมง และในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 92 ภาพยนตร์จากเกาหลีใต้ เรื่อง ชนชั้นปรสิต กลายเป็นผู้ชนะรางวัลภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยมเรื่องแรก และเป็นภาพยนตร์ที่ไม่มีบทสนทนาภาษาอังกฤษตลอดทั้งเรื่อง เรื่องแรกที่สามารถคว้ารางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้สำเร็จ[4]
ผู้ชนะรางวัล และผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล
[แก้]ในตารางต่อไปนี้จะแสดงรายชื่อภาพยนตร์ที่ชนะรางวัล และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในแต่ละปี และโดยทั่วไปจะตรงกับปีที่ฉายภาพยนตร์ดังกล่าว โดยการประกาศผลรางวัลจะจัดขึ้นในปีถัดไปเสมอ ภาพยนตร์ที่เป็นตัวหนา และมีพื้นหลังเป็นสีน้ำเงินเข้มคือภาพยนตร์ที่ชนะรางวัลออสการ์ ส่วนภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลเกียรติยศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 จนถึง ค.ศ. 1955 จะบ่งบอกสัญลักษณ์ตามที่ระบุไว้ในคีย์ ในขณะที่ภาพยนตร์ที่ไม่มีการเน้นตัวหนา คือภาพยนตร์ที่ไม่ชนะรางวัลออสการ์ เพียงแต่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล เมื่อเรียงลำดับตามตาราง จะเรียงลำดับภาพยนตร์ที่ชนะรางวัลก่อน ตามด้วยภาพยนตร์ที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอีก 4 เรื่อง ซึ่งเรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ
ในตารางดังกล่าวจะระบุถึงประเทศที่เสนอชื่อภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ เข้าชิงรางวัลกับสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ อย่างเป็นทางการ ไม่ได้บ่งบอกถึงประเทศที่ผลิตภาพยนตร์แต่อย่างใด นอกจากนี้ยังระบุถึงชื่อดั้งเดิมของภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ รวมไปถึงชื่อผู้กำกับภาพยนตร์และภาษาที่ใช้ในบทสนทนา แม้ว่าจะไม่มีองค์ประกอบดังกล่าวรวมอยู่ในการเสนอชื่ออย่างเป็นทางการก็ตาม
เมื่อมีการใช้ภาษาหลายภาษาในภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน ภาษาที่โดดเด่นจะแสดงเป็นลำดับแรกเสมอ ชื่อของภาษาอื่น ๆ จะถูกเขียนด้วยขนาดที่เล็กกว่า เมื่อชื่อดั้งเดิมของภาพยนตร์เป็นภาษาที่ไม่ใช่อักษรละติน จะมีการทับศัพท์เป็นอักษรละตินก่อนจากนั้นจึงเขียนด้วยอักษรดั้งเดิม
ภาพยนตร์จากรัฐในอดีต ยูโกสลาเวีย จะเขียนทั้งในรูปแบบอักษรละติน และอักษรซีริลลิก เนื่องจากภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย ใช้อักษรจากทั้งสองรูปแบบนี้เป็นหลัก ในขณะที่ชื่อของภาพยนตร์จีน จะเขียนตามระบบเขียนภาษาแบบพินอินก่อน ตามด้วยอักษรดั้งเดิมของประเทศที่เสนอชื่อภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ มา เช่น อักษรจีนตัวเต็ม สำหรับภาพยนตร์จากฮ่องกง และไต้หวัน และอักษรจีนตัวย่อ สำหรับภาพยนตร์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน
‡ | ผู้ชนะรางวัลเกียรติยศ (ค.ศ. 1947 – 1955) |
---|
ค.ศ. 1947 – 1949
[แก้]ปี | ชื่อภาพยนตร์ | ชื่อภาพยนตร์ดั้งเดิม | ผู้กำกับ | ประเทศที่เสนอชื่อภาพยนตร์ | ภาษา |
---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1947 (ครั้งที่ 20) |
Shoe-Shine ‡ | Sciuscià | วิตตอรีโอ เด ซีกา | อิตาลี | ภาษาอิตาลี ภาษาอังกฤษ |
ค.ศ. 1948 (ครั้งที่ 21) |
Monsieur Vincent ‡ | Monsieur Vincent | Maurice Cloche | ฝรั่งเศส | ภาษาฝรั่งเศส |
ค.ศ. 1949 (ครั้งที่ 22) |
Bicycle Thieves ‡ | Ladri di biciclette | วิตตอรีโอ เด ซีกา | อิตาลี | ภาษาอิตาลี |
ค.ศ. 1950 – 1959
[แก้]ค.ศ. 1960 – 1969
[แก้]ค.ศ. 1970 – 1979
[แก้]ค.ศ. 1980 – 1989
[แก้]ค.ศ. 1990 – 1999
[แก้]ค.ศ. 2000 – 2009
[แก้]ค.ศ. 2010 – 2019
[แก้]ค.ศ. 2020 – 2029
[แก้]รายชื่อภาพยนตร์ที่ผ่านการคัดเลือกก่อนการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล
[แก้]นับตั้งแต่ งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 79 เมื่อปี ค.ศ. 2006[5] มีภาพยนตร์ทั้งหมด 9 เรื่องที่ผ่านการคัดเลือกก่อนการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลจำนวน 5 เรื่องในรอบสุดท้าย ภาพยนตร์ที่ผ่านการคัดเลือกก่อนการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล เพิ่มจำนวนจาก 9 เรื่องเป็น 10 เรื่องในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 92 เมื่อปี ค.ศ. 2019 และเพิ่มจาก 10 เรื่องเป็น 15 เรื่องในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 93 เมื่อปี ค.ศ. 2020
อ้างอิง
[แก้]- แหล่งอ้างอิงทั่วไป
- Variety Staff (2007-03-01). "Best Foreign Film". Variety. สืบค้นเมื่อ 2008-07-23.
- แหล่งอ้างอิงเฉพาะ
- ↑ 80th Academy Awards – Special Rules for the Best Foreign Language Film Award เก็บถาวร ตุลาคม 13, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Academy of Motion Picture Arts and Sciences. Retrieved November 2, 2007.
- ↑ ภาพยนตร์จากสหภาพโซเวียต และรัฐสืบทอดของสหภาพโซเวียต ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนี้ 14 ครั้ง และชนะไป 4 ครั้ง นอกจากนี้ยังชนะรางวัลเกียรติยศได้ 5 ครั้ง: อิตาลี ชนะ 2 ครั้ง, ฝรั่งเศส ชนะ 2 ครั้ง และอีก 1 ครั้งเป็นผู้ชนะร่วมกันจากภาพยนตร์เรื่อง The Walls of Malapaga ในปี ค.ศ. 1949
- ↑ สถิตินี้นับรวมรางวัลเกียรติยศที่ญี่ปุ่น ชนะไป 3 ครั้งด้วย
- ↑ Shoard, Catherine (2020-02-10). "Parasite makes Oscars history as first foreign language film to win best picture". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2020-02-10.
- ↑ 5.0 5.1 "79th Oscar Rules Approved by Academy". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. 30 June 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-20. สืบค้นเมื่อ 21 June 2008.
- ↑ "Nine Foreign Language Films Advance in 2007 Oscar Race". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. 2008-01-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-30. สืบค้นเมื่อ 2008-06-23.
- ↑ "9 Foreign Language Films Advance in 2008 Oscar Race". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. January 13, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-01-14.
- ↑ "9 Foreign Language Films Advance in Oscar Race". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. January 20, 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-01-20.
- ↑ "9 Foreign Language Films Continue to Oscar Race". oscars.org. สืบค้นเมื่อ 19 January 2011.
- ↑ "9 Foreign Language Films Vie for Oscar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2012. สืบค้นเมื่อ 19 January 2012.
- ↑ "9 Foreign Language Films Vie For Oscar". Oscars. สืบค้นเมื่อ 21 December 2012.
- ↑ "9 Foreign Language Films Advance in Oscar Race". Oscars. สืบค้นเมื่อ 20 December 2013.
- ↑ "9 Foreign Language Films Advance in Oscar Race". Academy of Motion Picture Arts and Sciences AMPAS). สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
- ↑ Kilday, Gregg (17 December 2015). "Oscars: Nine Titles Advance in Foreign Language Category". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 18 December 2015.
- ↑ "Oscars: Nine Films Advance in Foreign-Language Race". Variety. 15 December 2016. สืบค้นเมื่อ 15 December 2016.
- ↑ Pond, Steve (14 December 2017). "Oscars Foreign Language Shortlist Includes 'The Square,' 'A Fantastic Woman'". The Wrap. สืบค้นเมื่อ 14 December 2017.
- ↑ "Academy Unveils 2019 Oscar Shortlists". The Hollywood Reporter. 17 December 2018. สืบค้นเมื่อ 18 December 2018.
- ↑ "The Academy Announces New Rules for 92nd Oscars — "International Feature Film" to Replace "Foreign Language" Category". Awards Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-15. สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
- ↑ Davis, Clayton (9 February 2021). "Oscars Shortlists Announced in Nine Categories". Variety. สืบค้นเมื่อ 9 February 2021.
- ↑ Davis, Clayton (21 December 2021). "Oscars Shortlists Include Beyoncé, 'Spider-Man' and Two Jonny Greenwood Scores as France's 'Titane' Is Snubbed". Variety. สืบค้นเมื่อ 21 December 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "The Official Academy Awards Database". สถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-08. สืบค้นเมื่อ 2016-02-09.
- "The Motion Picture Credits Database". สถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-15. สืบค้นเมื่อ 2009-01-22.
- "IMDb Academy Awards Page". Internet Movie Database. สืบค้นเมื่อ 2007-11-14.[ลิงก์เสีย]