รวงผึ้ง
รวงผึ้ง | |
---|---|
ต้นรวงผึ้ง ทรงปลูกโดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Tracheophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Malvales |
วงศ์: | Malvaceae |
สกุล: | Schoutenia |
สปีชีส์: | S. glomerata |
ชื่อทวินาม | |
Schoutenia glomerata |
รวงผึ้ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Schoutenia glomerata) รวงผึ้งเป็นไม้ต้นที่นิยมปลูกในเดือนสำคัญของประเทศ จัดเป็นพืชในวงศ์ Malvaceae โดย สกุล Schoutenia เดิมอยู่ภายใต้วงศ์ Tiliaceae ปัจจุบันอยู่วงศ์ย่อย Dombeyoideae ของวงศ์ Malvaceae มี 8 ชนิด พบในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยมี 5 ชนิด
อนึ่ง รวงผึ้ง S. glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm. เป็นไม้ต้นที่มีการกระจายพันธุ์บริเวณดอยสุเทพ ที่ราบลุ่มทางภาคกลาง และกัมพูชา ใบขนาดเล็กกว่า subsp. glomerata ที่พบในคาบสมุทรมลายู และบอร์เนียว[1]
ต้นรวงผึ้งเป็นต้นไม้ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[2] ปลูกเป็นไม้ประดับบนดินร่วน ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคม–สิงหาคม[3][4]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 8 เมตร ใบรูปมนรีหรือขอบขนานปลายแหลม ขอบใบเรียบ ขนาด 4–12 × 3.5–5 เซนติเมตร ฐานใบป้านและมักไม่สมมาตร ก้านใบยาว 0.2–0.9 เซนติเมตร ใบอ่อนจะมีขน ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบ สีเหลืองสด ขนาด 1.3–1.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม 5 กลีบ เชื่อมกันใกล้ฐานเป็นรูปถ้วย ไม่มีกลีบดอก เกสรตัวผู้จำนวนมาก เกสรตัวเมียปลายแยก 5 พู รังไข่กลม ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ตลอดวัน (7 - 10 วัน) ผลกลมมีขน ขนาด 0.5–1 เซนติเมตร[5]
เป็นพรรณไม้ที่ พบครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ–ปุย บริเวณป่าดิบเขา ที่ระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตร เคยเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย (ไม่พบในต่างประเทศ) ต่อมามีรายงานการพบในพื้นที่ลุ่มต่ำ ที่จังหวัดนครสวรรค์ สกลนคร และนครพนม และยังพบในกัมพูชาอีกด้วยพบขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งและเพาะเมล็ด ปัจจุบันต้นรวงผึ้งมีสถานภาพเป็นพืชที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered; CR) จึงเป็นพรรณไม้ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบต่อไป
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ต้นรวงผึ้ง พรรณไม้หอมไทยแท้ ต้นไม้ประจำพระองค์ รัชกาลที่ 10". Kapok.com. December 8, 2016. สืบค้นเมื่อ July 24, 2019.
- ↑ ""รวงผึ้ง" ดอกสวย หอมแรงมีต้นพันธุ์ขาย". ไทยรัฐ. June 29, 2018. สืบค้นเมื่อ April 30, 2019.
- ↑ ""รวงผึ้ง" ไม้หอมไทยแท้". อุทยานหลวงราชพฤกษ์. June 20, 2016. สืบค้นเมื่อ April 30, 2019.
- ↑ "รวงผึ้ง". บ้านและสวน. May 24, 2016. สืบค้นเมื่อ April 30, 2019.
- ↑ "รวงผึ้ง พรรณไม้ประจำรัชกาลที่ 10". คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. March 5, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ April 30, 2019.