ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2022
สตาดเดอฟร็องส์ ใน แซ็ง-เดอนี จะเป็นเจ้าภาพนัดชิงชนะเลิศ | |||||||
รายการ | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2021–22 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||
วันที่ | 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 | ||||||
สนาม | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | ||||||
ผู้เล่นยอดเยี่ยม ประจำนัด | ตีโบ กูร์ตัว (เรอัลมาดริด)[1] | ||||||
ผู้ตัดสิน | แกลม็องต์ ตูร์ปิง (ฝรั่งเศส)[2] | ||||||
ผู้ชม | 75,000 คน[3] | ||||||
สภาพอากาศ | กลางคืนมีเมฆเป็นบางส่วน 18 °C (64 °F) 45% ความชื้นสัมพัทธ์[4] | ||||||
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2022 เป็นการแข่งขันฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2021–22 ฤดูกาลที่ 67 ของการแข่งขันฟุตบอลสโมสรลำดับแรกของยุโรป จัดขึ้นโดยยูฟ่า และเป็นฤดูกาลที่ 30 นับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อจากยูโรเปียนแชมเปียนคลับส์คัพมาเป็นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดนี้จะลงเล่นในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2022.
นัดชิงชนะเลิศตามโปรแกรมเดิมจะต้องลงเล่นที่ อัลลีอันทซ์อาเรนา ใน มิวนิก, ประเทศเยอรมนี. อย่างไรก็ตาม, เนื่องจากการเลื่อนและการย้ายที่ตั้งของ นัดชิงชนะเลิศปี ค.ศ. 2020, เจ้าภาพนัดชิงชนะเลิศถูกเลื่อนกลับไปอีกหนึ่งปี, ซึ่งส่งผลให้รอบชิงชนะเลิศปี 2022 ถูกมอบให้กับ สนามกีฬาเครสตอฟสกี ใน เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก.[5]
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022, ยูฟ่า คอนเฟิร์มพิจารณาถอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ออกจากการเป็นเจ้าภาพนัดชิงชนะเลิศเนื่องจากความต่อเนื่อง วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน.[6][7] ตามด้วย รัสเซียบุกยูเครน ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์, ยูฟ่าเรียกประชุมวิสามัญกรรมการบริหาร, ที่คาดว่าจะดึงรัสเซียออกจากการแข่งขันอย่างเป็นทางการ.[8][9] วันต่อมา, ยูฟ่าได้ยืนยันว่าเลื่อนนัดชิงชนะเลิศไปที่ สตาดเดอฟร็องส์ ใน แซ็ง-เดอนี, ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของ ปารีส.[10][11] มันจะเป็นครั้งที่สามที่ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกนัดชิงชนะเลิศจะจัดขึ้นที่สนามกีฬา, โดยครั้งก่อนหน้านี้เป็นเจ้าภาพ 2000 และ 2006 รอบชิงชนะเลิศ.
เรอัลมาดริดชนะนัดนี้ 1–0 ในนาทีที่ 59 ประตูจาก วีนีซียุส ฌูนีโยร์ สำหรับแชมป์ยูโรเปียนคัพสมัยที่ 14 ของพวกเขา.[12] ในฐานะทีมชนะเลิศ, พวกเขาได้สิทธิ์ที่จะลงเล่นพบกับผู้ชนะของ ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2021–22, ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท, ใน ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2022.
ทีม
[แก้]ทีม | การเข้าร่วมครั้งที่ผ่านมา (ตัวหนาหมายถึงทีมชนะเลิศ) |
---|---|
ลิเวอร์พูล | 9 (1977, 1978, 1981, 1984, 1985, 2005, 2007, 2018, 2019) |
เรอัลมาดริด | 16 (1956, 1957, 1958, 1959, 1960, 1962, 1964, 1966, 1981, 1998, 2000, 2002, 2014, 2016, 2017, 2018) |
เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ
[แก้]หมายเหตุ: ในผลการแข่งขันทั้งหมดด้านล่างนี้, ผลของทีมที่ได้เข้าชิงชนะเลิศจะเป็นชื่อแรก (H: เหย้า; A: เยือน; N: กลาง).
ลิเวอร์พูล | รอบ | เรอัลมาดริด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คู่แข่งขัน | ผลการแข่งขัน | รอบแบ่งกลุ่ม | คู่แข่งขัน | ผลการแข่งขัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มิลาน | 3–2 (H) | นัดที่ 1 | อินเตอร์ มิลาน | 1–0 (A) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โปร์ตู | 5–1 (A) | นัดที่ 2 | เชริฟฟ์ตีรัสปอล | 1–2 (H) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อัตเลติโกเดมาดริด | 3–2 (A) | นัดที่ 3 | ชัคตาร์ดอแนตสก์ | 5–0 (A) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อัตเลติโกเดมาดริด | 2–0 (H) | นัดที่ 4 | ชัคตาร์ดอแนตสก์ | 2–1 (H) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โปร์ตู | 2–0 (H) | นัดที่ 5 | เชริฟฟ์ ตีรัสปอล | 3–0 (A) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มิลาน | 2–1 (A) | นัดที่ 6 | อินเตอร์ มิลาน | 2–0 (H) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชนะเลิศ กลุ่ม บี
แหล่งข้อมูล: ยูฟ่า
|
ตารางคะแนน | ชนะเลิศ กลุ่ม ดี
แหล่งข้อมูล: ยูฟ่า | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คู่แข่งขัน | ผล | นัดแรก | นัดที่สอง | รอบแพ้คัดออก | คู่แข่งขัน | ผล | นัดแรก | นัดที่สอง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อินเตอร์ มิลาน | 2–1 | 2–0 (A) | 0–1 (H) | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง | 3–2 | 0–1 (A) | 3–1 (H) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ไบฟีกา | 6–4 | 3–1 (A) | 3–3 (H) | รอบก่อนรองชนะเลิศ | เชลซี | 5–4 | 3–1 (A) | 2–3 (ต่อเวลา) (H) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บิยาร์เรอัล | 5–2 | 2–0 (H) | 3–2 (A) | รอบรองชนะเลิศ | แมนเชสเตอร์ซิตี | 6–5 | 3–4 (A) | 3–1 (ต่อเวลา) (H) |
ก่อนการแข่งขัน
[แก้]สัญลักษณ์
[แก้]โลโก้ดั้งเดิมของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2022 ได้ถูกเปิดเผยออกมาในพิธีการจับสลากรอบแบ่งกลุ่มเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ใน อิสตันบูล.[13]
ทูต
[แก้]ทูตสำหรับนัดชิงชนะเลิศเป็นอดีตนักเตะ ทีมชาติรัสเซีย และ กองหน้า เซนิตเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก อันเดรย์ อาร์ชาวิน.[14] อย่างไรก็ตาม, ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเขาจะยังดำรงตำแหน่งทูตสำหรับเกมรอบชิงชนะเลิศต่อหรือไม่หลังจากย้ายมาอยู่ที่ แซ็ง-เดอนี.
ผู้ตัดสิน
[แก้]เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2022, ยูฟ่าประกาศชื่อชาวฝรั่งเศส แกลม็องต์ ตูร์ปิง ในฐานะผู้ตัดสินสำหรับนัดชิงชนะเลิศ. ตูร์ปิงมีชื่อเป็น ผู้ตัดสินฟีฟ่า เมื่อปี ค.ศ. 2010, และก่อนหน้านี้เขาเคยเป็นผู้ตัดสินที่สี่ใน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2018, ระหว่างเรอัลมาดริด และ ลิเวอร์พูล มาแล้ว. ในฤดูกาลที่ผ่านมาเขาเคยทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินสำหรับเกม ยูฟ่ายูโรปาลีก นัดชิงชนะเลิศ 2021 ระหว่าง บิยาร์เรอัล และ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด. เขาทำหน้าที่แปดนัดก่อนหน้านี้ในแชมเปียนส์ลีกฤดูกาล 2021–22, กับสองนัดในรอบคัดเลือก, สี่นัดในรอบแบ่งกลุ่มและสองโปรแกรมการแข่งขันในรอบน็อคเอาท์. เขาเคยทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสิน ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ใน 2016 และ 2020, เช่นเดียวกับที่ ฟุตบอลโลก 2018 ในประเทศรัสเซีย. ตูร์ปิงยังเคยเป็นผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอใน ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017 ที่ประเทศรัสเซีย (รวมไปถึงใน นัดชิงชนะเลิศ), ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2017 ที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ ฟุตบอลโลกหญิง 2019 ที่ประเทศฝรั่งเศส. เขาจะมีส่วนร่วมโดยเพื่อนร่วมชาติของเขาห้าคน, ประกอบไปด้วยผู้ช่วยผู้ตัดสิน นิกอลาส์ ดาโนส์ และ ไซริล กรินกอเร. เบอนัวต์ บัสเตียง จะรับหน้าที่ในฐานะผู้ตัดสินที่สี่, ในขณะที่ เฌโรม บริซาร์ จะทำหน้าที่ในฐานะผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ. วิลลี เดลาโฌด์ จะได้รับหน้าที่ในฐานะทีมงานผู้ตัดสินผู้สนับสนุนวีเออาร์, พร้อมด้วยกรรมการชาวอิตาลี มัสซิมิเลียโน เอียร์ราติ และ ฟิลิปโป เมลี.[2]
พิธีเปิดการแข่งขัน
[แก้]นักร้องสาวชาวคิวบา-อเมริกัน กามิลา กาเบโย เป็นผู้ทำการแสดงสำหรับพิธีเปิดการแข่งขันก่อนแมตช์การแข่งขัน.[15]
นัด
[แก้]รายละเอียด
[แก้]ทีม "เจ้าบ้าน" จะได้รับการกำหนดขึ้น โดยการจับสลากเพิ่มเติมหลังจากเสร็จสิ้นการจับสลากรอบก่อนรองชนะเลิศ และรอบรองชนะเลิศ เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการ
ลิเวอร์พูล | 0–1 | เรอัลมาดริด |
---|---|---|
รายงาน |
|
ลิเวอร์พูล[4]
|
เรอัลมาดริด[4]
|
ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด:
ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:[2]
|
ข้อมูลในการแข่งขัน
|
สถิติ
[แก้]
|
|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]- ยูฟ่ายูโรปาลีก นัดชิงชนะเลิศ 2022
- ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2022
- ยูฟ่าวิเมนส์แชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2022
- ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2022
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ รอบชิงชนะเลิศ, ตามกำหนดการเดิมจะเป็นเวลา 21:00 CEST, แต่ถูกเลื่อนแข่งขันเป็นเวลา 21:36 CEST เนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัยกับแฟนบอลที่เข้ามาในสนาม.
- ↑ แต่ละทีมจะได้รับสิทธิ์สามครั้งที่จะได้เปลี่ยนตัวผู้เล่น, กับโอกาสครั้งที่สี่ในช่วงต่อเวลาพิเศษ, ไม่นับรวมการเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่เกิดชึ้นในช่วงพักครึ่งแรก, ก่อนที่จะเริ่มต้นของช่วงต่อเวลาพิเศษและช่วงพักครึ่งเวลาแรกในการต่อเวลาพิเศษ.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Every UEFA Champions League Player of the Match". UEFA.com. Union of European Football Associations. 28 May 2022. สืบค้นเมื่อ 28 May 2022.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Referee teams appointed for 2022 UEFA club competition finals". UEFA.com. Union of European Football Associations. 11 May 2022. สืบค้นเมื่อ 11 May 2022.
- ↑ 3.0 3.1 "Spielinfo | FC Liverpool – Real Madrid 0:1 | Finale in Paris | Champions League 2021/22" [Match info | Liverpool 0–1 Real Madrid | Final in Paris | 2021–22 Champions League]. kicker (ภาษาเยอรมัน). 28 May 2022. สืบค้นเมื่อ 29 May 2022.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "Tactical Line-ups – Final – Saturday 28 May 2022" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 28 May 2022. สืบค้นเมื่อ 28 May 2022.
- ↑ "UEFA competitions to resume in August". UEFA.com. Union of European Football Associations. 17 June 2020. สืบค้นเมื่อ 17 June 2020.
- ↑ "Uefa could strip Russia of Champions League final over Ukraine crisis". The Guardian. 22 February 2022. สืบค้นเมื่อ 22 February 2022.
- ↑ "Champions League final: UEFA under pressure to move game from Saint Petersburg due to Russia-Ukraine tension". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 22 February 2022.
- ↑ "UEFA calls extraordinary meeting of the Executive Committee". UEFA. 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Ukraine crisis: Uefa to move Champions League final after Russian invasion". BBC Sport. 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Champions League Final Will Be Played in Paris, Not Russia". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Decisions from today's extraordinary UEFA Executive Committee meeting". UEFA. 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Champions League final: Vinícius Júnior scores only goal as Real Madrid beat Liverpool to claim 14th title". UEFA.com. Union of European Football Associations. 28 May 2022. สืบค้นเมื่อ 28 May 2022.
- ↑ "2022 UEFA Champions League final branding unveiled". UEFA.com. Union of European Football Associations. 22 September 2021. สืบค้นเมื่อ 6 March 2022.
- ↑ Thorogood, James (13 December 2021). "Champions League: UEFA forced into Round of 16 redraw, Bayern draw Salzburg". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 15 March 2022.
- ↑ "Get ready for an unforgettable UEFA @ChampionsLeague Final Opening Ceremony with @Camila_Cabello". Pepsi. 9 May 2022. สืบค้นเมื่อ 9 May 2022.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "Team statistics" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 29 May 2021. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.