ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง | |||||||
รังปืนกลของกองทัพปฏิวัติชาติในเมืองเซี่ยงไฮ้ | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เจียงไคเช็ก |
เฮซุเกะ ยะนะงะวะ | ||||||
กำลัง | |||||||
700,000 นาย 75 กองพลและ 9 กองพัน เครื่องบิน 250 ลำ[1] รถถัง 16 คัน |
300,000 นาย 8 กองพลและ 6 กองพัน เครื่องบิน 3000 ลำ[1] รถถัง 300 คัน เรือรบ 130 ลำ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เสียชีวิต 200,000 บาดเจ็บและสูญหาย 83,500 |
เสียชีวิต 70,000 บาดเจ็บและสูญหาย 22,640 |
ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ เป็นหนึ่งในยี่สิบสองครั้งของการต่อสู้รบครั้งใหญ่ระหว่างกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ(์NRA) ของสาธารณรัฐจีน(ROC) และกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น(IJA) ของจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงเริ่มต้นของสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1937 ถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1937 และเป็นหนึ่งในการต่อสู้รบครั้งใหญ่ที่สุดและนองเลือดมากที่สุดของสงครามทั้งหมด ซึ่งต่อมาได้รับการขนานนามว่า "สตาลินกราดบนแม่น้ำแยงซี"[2] มันจบลงด้วยชัยชนะของญี่ปุ่น
นับตั้งแต่ญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรียในปี ค.ศ. 1931 ตามมาด้วยญี่ปุ่นโจมตีเมืองเซี่ยงไฮ้ในปี ค.ศ. 1932 มีความขัดแย้งทางอาวุธอย่างต่อเนื่องระหว่างจีนและญี่ปุ่นโดยไม่มีการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ ในท้ายที่สุด ความขัดแย้งเหล่านี้ก็ทวีความรุนแรงมากขึ้นในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1937 เมื่อเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโลได้กระตุ้นให้เกิดการรุกอย่างเต็มตัวจากญี่ปุ่น[3] การต่อต้านของจีนอย่างดุเดือดที่เมืองเซี่ยงไฮ้นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อขัดขวางการรุกของญี่ปุ่นโดยให้เวลาที่จำเป็นอย่างมากสำหรับรัฐบาลจีนในการเคลื่อนย้ายโรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญไปยังภายในประเทศ ในขณะเดียวกันก็ได้พยายามที่จะนำความเห็นอกเห็นใจของมหาอำนาจตะวันตกมาสู่ฝั่งของจีน ในช่วงระหว่างการสู้รบอันดุเดือดเป็นเวลาสามเดือน กองกำลังทหารจีนและญี่ปุ่นได้ต่อสู้รบกันภายในตัวเมืองเซี่ยงไฮ้ ในนอกรอบเมืองและริมฝั่งแม่น้ำแยงซีและอ่าวหางโจว ซึ่งญี่ปุ่นได้ทำการยกพลขึ้นบกด้วยเรือสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก
ทหารจีนต้องพึ่งพาอาวุธขนาดเล็กเป็นหลักในการปกป้องเมืองเซี่ยงไฮ้ ต่อกรกับการโจมตีอย่างล้นหลามของญี่ปุ่นด้วยพลังอำนาจอันน่าตกตะลึงจากทางอากาศ ทางเรือ และยานเกราะ[4] ในท้ายที่สุด เซี่ยงไฮ้ถูกยึดครอง และจีนก็สูญเสียกองกำลังที่ดีที่สุดส่วนหนึ่งไป ในขณะเดียวกันก็ไม่มีการแทรกแซงจากนานาชาติ อย่างไรก็ตาม การต่อต้านของกองกำลังทหารจีน ทำให้ญี่ปุ่นต้องตกตะลึง ซึ่งได้รับการปลูกฝังด้วยแนวคิดเรื่องความเหนือกว่าทางวัฒนธรรมและการต่อสู้รบ และทำให้กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นเกิดขวัญเสียอย่างมาก ในขณะที่การต่อสู้รบได้กินเวลาไปถึง 3 เดือน 1 สัปดาห์ และ 6 วัน ซึ่งเป็นการหักล้างความโอ้อวดของญี่ปุ่นว่าจะสามารถพิชิตเมืองเซี่ยงไฮ้ได้ภายในสามวันและประเทศจีนภายในสามเดือน
การต่อสู้รบสามารถแบ่งออกเป็นสามช่วงระยะ และในท้ายที่สุดก็มีกองกำลังทหารเกือบล้านนาย ช่วงระยะแรกกินเวลาไปตั้งแต่ 13 สิงหาคม ถึง 22 สิงหาคม ค.ศ. 1937 ในช่วงที่กองทัพปฏิวัติแห่งชาติได้พยายามที่จะกำจัดกองกำลังทหารญี่ปุ่นภายในตัวเมืองเซี่ยงไฮ้ ช่วงระยะที่สองซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม ถึง 26 ตุลาคม ค.ศ. 1937 ซึ่งเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นได้เปิดฉากการยกพลขึ้นบกด้วยเรือสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกบนริมฝั่งแม่น้ำของเจียงซู และทั้งสองกองทัพต่างได้ต่อสู้รบกันด้วยการรบแบบบ้านต่อบ้านเหมือนแบบการรบที่สตาลินกราด ด้วยการที่ญี่ปุ่นได้พยายามที่จะเข้าควบคุมเมืองและพื้นที่บริเวณโดยรอบ ช่วงสุดท้าย ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม ถึงปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1937 เป็นช่วงที่การล่าถอยของกองทัพจีน เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการโจมตีขนาบข้างของญี่ปุ่นและการต่อสู้รบที่ตามมาบนถนนที่นำไปสู่เมืองนานกิง เมืองหลวงของจีน
เบื้องหลัง
[แก้]ยุทธการเซี่ยงไฮ้หรือที่ชาวจีนเรียกว่ายุทธการซ่งฮู้เป็นยุทธภูมิที่สำคัญในสงครามจีนญี่ปุ่นครั้งที่สอง ก่อนที่เป่ยผิงจะถูกญี่ปุ่นยึดครองในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 จอมพลเจียงไคเช็คตั้งฐานที่มั่นที่เมืองท่าเซี่ยงไฮ้เพื่อล่อญี่ปุ่นให้เข้าใกล้ชายฝั่ง เหตุผลของเจียงไคเข็คที่ให้ทำเช่นนั้นเพื่อแน่ใจว่ากองทัพญี่ปุ่นบุกแนวป้องกันของจีนให้บุกมาทางทิศตะวันตกเพื่อให้ทหารจีนถอยกลับไปนานกิงและที่อื่นๆ หากกองทัพจีนวางกำลังที่นานกิงแทนที่จะเป็นเซี่ยงไฮ้ก็อาจทำให้ทหารญี่ปุ่นมีโอกาสเคลื่อนทัพระหว่างเมืองทั้งสองและยึดเซี่ยงไฮ้ เหตุผลอีกประการของเจียงไคเช็คที่ตั้งฐานที่มั่นในเซี่ยงไฮ้เพราะเมืองเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่มีความสำคัญเป็นเหมือนฐานสนับสนุนที่แข็งแกร่งที่สุดของเจียงไคเช็คและเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของจีน
ตั้งแต่ยุทธการเซี่ยงไฮ้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1932 พลเอกจางซีซงฝึกคนของเขาโดยปลอมเข้าไปในการฝึกของตำรวจ เส้นทางระหว่างนานกิงและเซี่ยงไฮ้มีแนวป้องกันหลายแห่งถูกสร้างภายใต้คำแนะนำของที่ปรึกษาชาวเยอรมัน โดยเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1937 การก่อสร้างเพิ่งเสร็จสมบูรณ์แต่ทหารจีนกลับไม่มีความรู้เรื่องการใช้ป้อมปราการ
กรณีโอยามะ
[แก้]ในวันที่ 9 สิงหาคม เรือโทโอยามะ อิซาโอะสังกัดกองกำลังยกพลขึ้นบกพิเศษของราชนาวีญี่ปุ่นพยายามเข้าไปในพื้นที่ของสนามบินหงเฉียวในเซี่ยงไฮ้ เขาไม่ได้รับอนุญาตซ้อมรบตามเงื่อนไขสัญญาสงบศึกหลังจากการต่อสู้ปี 1932 เรือโทโอยามะถูกตำรวจกองกำลังพิทักษ์สันติราษฎร์ยิงเสียชีวิต วันต่อมากงสุลใหญ่ญี่ปุ่นในเซี่ยงไฮ้ขอโทษต่อสาธารณชนต่อการกระทำของโอยามะแต่เรียกร้องให้กองกำลังพิทักษ์สันติราษฎร์วางอาวุธ ด้วยกองกำลังที่มีอยู่ในเซี่ยงไฮ้ทำให้การกระจายข่าวการตายของเจ้าหน้าที่ระดับล่างบ่งบอกชัดเจนว่าญี่ปุ่นพยายามสร้างข้ออ้างสำหรับการรุกราน โอยามะละเมิดเงื่อนไขการรบในปี 1932 ทำให้เจียงไคเช็คหยุดเจรจาต่อรองโดยเคลื่อนทัพเข้าสู่เซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม
ในวันที่ 12 สิงหาคม มหาอำนาจตะวันตกประชุมเพื่อเป็นตัวแทนสันติภาพโดยแรงจูงใจหลักไม่ใช่การยับยั้งสงครามจีน-ญี่ปุ่นไม่ให้บานปลายแต่เป็นการรักษาผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมและการค้าที่พวกเขาถือกรรมสิทธิ์ในเมือง ในนานกิงผู้แทนญี่ปุ่นและจีนเข้าพบปะกันโดยญี่ปุ่นยื่นข้อเสนอยุบกองกำลังรักษาสันติราษฎร์ออกจากเซี่ยงไฮ้แต่จีนยืนยันดังเดิม
ระยะแรก (13-22 สิงหาคม)
[แก้]เริ่มการรุกราน
[แก้]เวลา 9.00 นาฬิกาของวันที่ 13 สิงหาคม มีทหารญี่ปุ่นกว่า 100,000 นายเข้ามาในชานเมืองเซี่ยงไฮ้และระบุจุดยึดที่เขตซาเป่ย, อู่ซ่ง, และเจียงวาน ในเวลาเที่ยงวันกองพลที่ 88 ของจีนโจมตีการบุกของญี่ปุ่นด้วยปืนครก ในเวลา 16.00 น. ของวันนั้นเรือจากกองเรือที่ 3 ของจักรวรรดินาวีญี่ปุ่นในแม่น้ำหวังปู้และแยงซีเกียงโจมตีเมืองเซี่ยงไฮ้ด้วยปืนประจำเรือ ในวันที่ 14 สิงหาคมอากาศยานจีนโจมตีทิ้งระเบิดตำแหน่งของญี่ปุ่นตามมาด้วยถ้อยแถลงป้องกันตัวเองและสงครามป้องกันของรัฐบาลเจียงไคเช็ค ทหารจีนโจมตีภาคพื้นดินกลับในเวลา 15.00 น. แต่ญี่ปุ่นเสริมกำลังป้องกันในเขตสัมปทานต่างชาติทำให้การตีโต้ของจีนล้มเหลว
ปฏิบัติการทางอากาศ
[แก้]ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคมนั้น กองทัพอากาศสาธารณรัฐจีนได้ทำการทิ้งระเบิดเรือธงของญี่ปุ่นอิซุโมะ[8][9][10] เป็นที่รู้จักในชื่อ "วันเสาร์ทมิฬ" เครื่องบินทิ้งระเบิดจากเครื่องบินสาธารณรัฐจีนทิ้งระเบิดพลาดในเขตสัมปทานนานาชาติเซี่ยงไฮ้[6][11] ทำให้พลเรือนเสียชีวิต 700 คน [6][11] เหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้เสียชีวิตพลเรือน 3,000 คนและได้รับบาดเจ็บอันเป็นผลมาจากการทิ้งระเบิดอย่างไม่ตั้งใจโดยส่วนใหญ่เกิดที่ศูนย์รวมความบันเทิงที่ผู้ลี้ภัยพลเรือนได้รวบรวมปักหลักลี้ภัยหลังจากหนีจากการสู้รบ[12] ขณะเดียวกันเครื่องบินญี่ปุ่นจากไต้หวันเริ่มทิ้งระเบิดเซี่ยงไฮ้ ประชาชนหนีออกจากเมืองจนเกิดเป็นความวุ่นวาย แต่การทิ้งระเบิดของญี่ปุ่นถูกกองบินที่ 4 ของเรืออากาศเอกเกาซีหางขัดขวางยิงเครื่องบินญี่ปุ่นตกไปหกลำโดยไม่ได้รับความสูญเสียใดๆทำให้มีการประกาศให้ถือว่าวันที่ 14 สิงหาคมเป็นวันกองทัพอากาศสร้างขวัญและกำลังใจ แต่เครื่องบินของจีนมีจำนวนน้อยและขาดอะไหล่ซ่อมแซม ในช่วงท้ายของการปฏิบัติการเครื่องบินจีนยิงเครื่องบินญี่ปุ่นรวม 81 ลำและจมเรือ 51 ลำแต่จีนสูญเสียเครื่องบิน 91 ลำซึ่งเท่ากับกำลังครึ่งหนึ่งของเครื่องบินจีนที่มีทั้งหมด
แม้ว่านักบินจีนจะดำเนินการต่อสู้อย่างห้าวหาญแต่เซี่ยงไฮ้ยังคงได้รับความเสียหายจากการโจมตีทางอากาศของญี่ปุ่น พลเรือนนับหมื่นคนเสียชีวิตจากการทิ้งระเบิด กำลังเสริมจีนสังกัดกองพลที่ 36 มาถึงและโจมตีท่าเรือที่ฮุ่ยซาน การโจมตีของกองพลที่ 36 ประสานงานกับการตีโต้ของกองพลที่ 87 ที่หยางชูปูสร้างแรงกดดันให้กับกองทัพญี่ปุ่น กองพลที่ 36 มีรถถังสนับสนุนฝ่าแนวป้องกันของญี่ปุ่นแต่ทหารราบและรถถังประสานงานไม่มีประสิทธิภาพทำให้สูญเสียท่าเรืออีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดการโจมตีก็ล้มเหลวโดยจีนสูญเสียนายทหาร 90 นายและทหาร 1,000 คน
เรือลาดตระเวนออกัสตาที่จอดอยู่ ณ ท่าเรือเซี่ยงไฮ้สังเกตการณ์การรุกรานของญี่ปุ่นเพื่อรักษาผลประโยชน์ในเขตสัมปทานต่างชาติ แม้ว่าจะเป็นกลางแต่ก็ได้รับการโจมตีจากอากาศยานจีน เคราะห์ดีที่แค่เฉียดๆ ธงอเมริกาขนาดใหญ่ถูกวาดบนป้อมปืนสามป้อมหลักเพื่อแสดงถึงความเป็นกลางแต่เรือได้รับความเสียหายเมื่อกระสุนปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานจีนตกลงมาในวันที่ 20 สิงหาคม เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจแต่ทำให้ความสัมพันธ์ของจีน-อเมริกันตรึงเครียด เรือออกัสตาอยู่ในเซี่ยงไฮ้จนถึงวันที่ 6 มกราคม 1938
การรุกรานระยะแรก
[แก้]เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมจางซีซงเปลี่ยนแผนการใหม่แทนที่เขาจะตีโต้กลับแต่เขาสอนยุทธวิธีใหม่กับคนของเขาด้วยการลอบเข้าอาคารที่มั่นของญี่ปุ่นและระเบิดหรือเผาอาคาร เมื่อทหารญี่ปุ่นหนีออกมาพลปืนกลจะคอยยิงทหารที่หนีออกจากอาคาร ในวันที่ 17 สิงหาคมรถถังเบาของญี่ปุ่นแปรขบวนขับตรงไปยังกองทัพจีนโดยไม่มีการตอบโต้ จางซีซงถูกเจียงไคเช็ควิจารณ์อย่างหนักว่าไร้ความสามารถในเรื่องปล่อยให้กองทัพญี่ปุ่นเจาะแนวป้องกันเข้ามาโดยเฉพาะความสูญเสียเป็นจำนวนมากที่เขาได้รับทำให้เจียงไคเช็คเข้ามาดูแลการป้องกันเซี่ยงไฮ้ด้วยตนเอง
ในวันที่ 22 สิงหาคม กองพลที่ 3 ,8 และ 11 ของพลเอกมัตสุอิยกพลขึ้นบกที่ชวนชาโข่ว (川沙口), ซือจึหลิน (狮子林), และเป่าซาน (宝山) 50 กิโลเมตรทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของเซี่ยงไฮ้ภายใต้การคุ้มกันจากปืนเรือรบทำให้ทหารจีนบางส่วนต้องถอนกำลังออกจากเมือง กองกำลังจีนตั้งแนวป้องกันที่ทางรถไฟสายสำคัญโหลเทียน-จวงเซาเท็นในวันที่ 11 กันยายน จอมพลเจียงไคเช็คกระตุ้นให้ทหารจีนที่ขาดแคลนอาวุธเตรียมสู้กับทหารญี่ปุ่นที่ฝึกดีกว่า พลเอกอาวุโสหลี่ซงเหรินให้คำแนะนำจอมพลเจียงว่าให้จำกัดภารกิจและรักษาความแข็งแกร่งของกองทัพสำหรับการเผชิญหน้าในอนาคตเพื่อจะได้เปรียบกว่าข้าศึก จอมพลเจียงปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าจะมีการหารือหลังจากสรุปเหตุการณ์จบ พลเอกจางซีจงและพลเอกจางฟากุ้ยควบคุมกองทหารจีนในเซี่ยงไฮ้
ระยะที่สอง (23 สิงหาคม - 26 ตุลาคม)
[แก้]ช่วงเวลาแห่งการสู้รบที่รุนแรงที่สุดและรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคมเมื่อกองเรือญี่ปุ่นเริ่มลงจอดในคลื่นจนถึง 26 ตุลาคม เมื่อเมืองเซี่ยงไฮ้กำลังวุ่นวายกับการสู้รบ ในช่วงเวลานี้การสู้รบได้เข้มข้นไปตามแนวเส้น 40 กิโลเมตรจากนครเซี่ยงไฮ้ไปยังเมือง หลิวเหอ (浏河) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองบนชายฝั่งที่ญี่ปุ่นได้ลงจอด
การป้องกันการยกพลขึ้นบก (23 สิงหาคม - 10 กันยายน)
[แก้]เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม กองทัพญี่ปุ่นนำโดย อิวะเนะ มะสึอิ เข้าสู่เมือง หลิวเหอ, อู่ซง (吴淞) และ ชวนชาโข่ว ซึ่งเจียงไคเช็กคาดว่าเมืองชายฝั่งเหล่านี้จะอ่อนแอต่อการยกพขึ้นบกของญี่ปุ่นและสั่งให้เฉิน เฉิงเสริมสร้างพื้นที่ด้วยกองทัพที่ 18 อย่างไรก็ตามชาวจีนไม่สามารถต้านทานกับอาวุธปืนของญี่ปุ่นได้ กองทัพญี่ปุ่นเริ่มโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกด้วยการโจมตีทางทะเลและทางอากาศที่รุนแรงของแนวป้องกันชายฝั่งของจีนและสนามเพลาะที่จีนสร้างขึ้น ทำให้กองทัพจีนเสียหายเกือบทั้งหมดจากการระดมทิ้งระเบิดจากญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามจีนก็ได้เสริมทัพเกือบจะทันทีเพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นที่เพิ่งลงจอดหลังจากการทิ้งระเบิด
เมื่อพลเอกมัตสุอิตั้งกองยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ที่หลิวเหอ, อู่ซ่ง, และชวนชาโข่ว กองพลที่ 18 ของจีนภายใต้การบัญชาการของพลเอกเฉินเฉิงพยายามสู้กับทหารญี่ปุ่นที่หลั่งไหลเข้ามาแต่ก็ล้มเหลวเพราะอำนาจการยิงของปืนใหญ่เรือรบที่คอยสนับสนุนข้าศึก เขาหันไปใช้ยุทธวิธีรบยามวิกาลซึ่งได้ผลดีมากแต่ก็แพ้อีกครั้งเมื่อยามเช้า ในช่วงใกล้สิ้นเดือนสิงหาคม กองพลที่ 98 ของจีนถูกกวาดล้างในเปาซาน มีทหารจีนเพียงคนเดียวที่รอดจากการบุก
ในวันที่ 12 กันยายน ผู้แทนของจีนเรียกร้องให้สันนิบาตชาติเข้ามาแทรกแซงแต่สันนิบาตชาติก็ไม่ตอบสนอง จากจุดนั้นทำให้จอมพลเจียงมองไปยังอเมริกา หวังว่าอเมริกาจะรวบรวมการสนับสนุนของต่างประเทศให้กับจีน จอมพลเจียงยังคงออกคำสั่งให้ผู้บัญชาการภาคสนามยึดเซี่ยงไฮ้เป็นที่มั่นไม่ว่าจะสูญเสียเท่าไรเพื่อรอคอยเวทีการทูตระหว่างประเทศ
ยุทธการเจียงยิน
[แก้]เจียงยินตั้งอยู่ที่100 กิโลเมตรทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเซี่ยงไฮ้ในปากแม่น้ำแยงซีเกียง พลเรือเอกเฉินเฉากวนผู้บัญชาการกองทัพเรือออกคำสั่งปิดน่านน้ำตั้งแต่ในวันที่ 7 สิงหาคมที่เจียงยิน, มณฑลเจียงสูเพื่อไม่ให้ญี่ปุ่นส่งเรือรบเข้ามาในน่านน้ำแยงซีเกียง มีเรือลาดตระเวนห้าลำและเรือฝึกหนึ่งลำมาถึงเจียงยินในวันที่ 11 สิงหาคม ระหว่างวันที่ 11 สิงหาคมถึง 25 สิงหาคม มีเรือรบถึง 43 ลำและเรือพาณิชย์ 185 ลำล่มในเส้นทางไปเจียงยินไปยังจุดปิดน่านน้ำป้องกันญี่ปุ่นเพราะทุ่นระเบิดถูกวางไว้ที่ปากแม่น้ำ หลิวซิงนายทหารบัญชาการการป้องกันที่เจียงยินออกคำสั่งให้กองเรือที่หนึ่งได้แก่เรือลาดตระเวนเบาหนิงไห่, ผิงไห่, ยี่เฉียน และเรือฝึกหยิงลุ่ย กองเรือที่สองในการบัญชาการของอูหยางเกอได้แก่เรือพิฆาตเจียนกาง เรือรบชูโยวและอื่นๆถูกส่งให้ล่องแม่น้ำขึ้นไปยังนานกิง
เมื่อทราบถึงกับดักที่จีนได้วางไว้โดยทราบมาจากการลาดตระเวนโดยอากาศยาน พลเรือเอกคิโยะชิ ฮะเซะกะวะแห่งกองเรือราชนาวีที่ 3 ออกคำสั่งทิ้งระเบิดแนวป้องกัน ความสูญเสียครั้งแรกของจีนเกิดขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคมเรือลาดตระเวนหนิงไห่และผิงไห่ถูกอากาศยานญี่ปุ่นจมลงในบริเวณน้ำตื้น ตามมาด้วยเรือรบแปดลำในวันที่ 23 ตุลาคม 1937 กองทัพเรือจีนกู้ปืนใหญ่จากเรือรบที่จมลงเพื่อใช้ตั้งป้อมปืนชายฝั่งและเปลี่ยนกลยุทธ์การยึดครองเมืองท่าสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้กองทัพเรือญี่ปุ่นแล่นขึ้นแม่น้ำแยงซีเกียง แม้ว่าจะมีป้อมปืนเพียงแค่ป้อมเดียวแต่ก็สามารถจมเรือรบญี่ปุ่นสองลำในวันที่ 30 ตุลาคม 1937
ยุทธการหลัวเตี่ยน
[แก้]ในวันที่ 11 กันยายน 1937 ด้วยคำแนะนำของอเล็กซานเดอร์ วอน ฟอลเคนเฮาเซน ทหารจีน 300,000 นายตั้งรับที่หลัวเตี่ยน (羅店) เมืองที่ตั้งบริเวณชานเมืองเซี่ยงไฮ้ที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญถึงเป็นศูนย์กลางการคมนาคม ปืนใหญ่, รถถัง, การยิงสนับสนุนจากเรือและเครื่องบินพร้อมกับทหารญี่ปุ่น 100,000 นายโจมตีหลัวเตี่ยนหลังจากนั้นไม่นาน แม้ว่าได้รับอำนาจการยิงสูงแต่ทหารจีนก็ต่อสู้อย่างหัวชนฝา แนวหน้าจัดกำลังให้มีกำลังพลน้อยที่สุดในขณะทหารที่เหลือจัดเป็นกำลังสำรอง ทหารจีนจะบุกไปข้างหน้าได้ก็ต่อเมื่อปืนใหญ่และเรือรบจะหยุดยิงหรือกองทหารญี่ปุ่นบุกเข้ามา อย่างไรก็ตามอัตราการสูญเสียของจีนสูงถึง 50% และถอยทัพในวันที่ 15 กันยายน
ยุทธการต่าฉาง
[แก้]กำลังเสริมกองใหม่จากญี่ปุ่นและไต้หวันข้ามแม่น้ำยุนเซาบินทางตอนใต้ของลัวเตียน กองทัพญี่ปุ่นเล็งเมืองดาชางซึ่งเป็นศูนย์กลางสื่อสารของกองทัพบก ถ้าหากต่าฉาง (大場) ถูกยึดแนวรบตะวันออกของเซี่ยงไฮ้จะถูกเปิดเผย การต่อสู้การเป็นสงครามสร้างความสูญเสียอย่างรวดเร็วซึ่งสร้างความยากลำบากให้ทหารจีนที่ใช้วิธีสละชีวิตบุกเข้าไปในรังปืนกลและที่ตั้งปืนใหญ่เป็นวิธีเดียวที่สามารถสู้กับอำนาจการยิงของญี่ปุ่น แต่ในวันที่ 17 ตุลาคมแสงสว่างเล็กๆของคนจีนมาพร้อมกับกองทัพกวานซีที่บัญชาการโดยพลเอกอาวุโสหลี่ซงเหรินและพลเอกอาวุโสไป๋ชงซี การตอบโต้บัญชาการได้อย่างรวดเร็วแต่ดำเนินการได้ไม่สัมฤทธิ์ผลมากนักจนถูกผลักดันถอยอย่างรวดเร็วทำให้ต้าชางถูกญี่ปุ่นยึดในวันที่ 25 ตุลาคม เมื่อต่าฉางถูกยึด ทหารจีนเริ่มถอนทัพเข้าไปตั้งหลักที่เซี่ยงไฮ้
การลุกฮือที่ต่าฉาง
[แก้]หลังจากที่กองทัพยี่ปุ่นเข้ายึดเมืองต่าฉาง ชาวจีนที่ต่างพากันโกรธแค้นต่อการกดขี่ข่มเหงของทหารญี่ปุ่น จึงได้พากันลุกฮือขึ้นต่อต้าน ได้เกิดกองกำลังต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นโดยกลุ่มผู้ต่อต้านได้รวบรวมผู้คนกว่า 500 คน ต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่น โดยบุกเข้าวางระเบิดโจมตีฐานทัพที่มั่นของญี่ปุ่นและสังหารนายทหารระดับสูงไปหลายนาย จนกระทั่งเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม กองทัพญี่ปุ่นก็เข้าควบคุมสถานการณ์ได้เป็นปกติเหมือนเดิม กองกำลังต่อต้านญี่ปุ่นที่ต่าฉางถูกปราบปรามจนสำเร็จ หลังเหตุการณ์การลุกฮือครั้งนี้ พลเรือนจีนเสียชีวิตไปกว่า 200 คน ส่วนทหารญี่ปุ่นเสียชีวิต 36 นาย
การเสียเมืองเซี่ยงไฮ้
[แก้]วันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1937 กองทัพที่ 10 ของญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่จินซานเว่ย (金山衛) ทางตอนใต้ของเซี่ยงไฮ้ เพราะว่าเมืองมีลักษณะผังเมืองเป็นวงกลมและไม่เห็นผลลัพธ์ที่ดีออกมาจากการประชุมที่บรัสเซลส์ ในที่สุดจอมพลเจียงออกคำสั่งให้ถอนกำลังในวันที่ 8 พฤศจิกายนและในวันที่ 12 พฤศจิกายนทั้งเมืองไม่มีทหารจีนเหลืออยู่ การบุกของญี่ปุ่นทลายทหารจีนที่ป้องกันที่คุนซานในวันที่ 10 พฤศจิกายน ที่แนวอู๋ฟูในวันที่ 19 พฤศจิกายน และที่แนวป้องกันซีเฉิงในวันที่ 26 พฤศจิกายน ในวันที่ 1 ธันวาคมกองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนที่เข้าใกล้เจียงยินและยึดเมืองในเวลาต่อมา ป้อมปืนชายฝั่งใกล้เจียงยินถูกทำลายในวันที่ 3 ธันวาคม กองทัพจีนยังคงล่าถอยจนไปถึงเมืองหลวงนานกิง
ผลสรุป
[แก้]เริ่มแรก ญี่ปุ่นคาดการณ์ว่าได้ชัยชนะยึดเซี่ยงไฮ้ภายในเวลาสามวัน แต่การต่อสู้กินเวลาสามเดือน แต่การต่อสู้ครั้งนี้เป็นการเผชิญหน้าขนาดใหญ่ครั้งแรกของญี่ปุ่นและจีนและเป็นยุทธการที่นองเลือด ผลสัมฤทธิ์ของจีนคือการสร้างความสูญเสียให้กับทหารญี่ปุ่นถึง 40,000 นายจาก 300,000 นายทำให้แรงผลักดันของญี่ปุ่นชะลอตัวลงแต่ผลสัมฤทธิ์ที่ได้มาต้องแลกมาด้วยราคาแพง จีนสูญเสียทหาร 250,000 นายจาก 700,000 นายและที่เลวร้ายที่สุดในกลุ่มทหารที่เสียชีวิตรวมถึงทหารชั้นยอดที่ถูกฝึกมาจากเยอรมนีของกองทัพจีน การสูญเสียนายทหารที่มีประสบการณ์ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในเหตุการณ์ที่ตามมาของสงครามจีนญี่ปุ่นครั้งที่สอง ผลทางด้านการเมืองทำให้เจียงไคเช็กซึ่งอยู่ในฐานะผู้นำสาธารณรัฐจีนที่สั่นคลอนจากการสูญเสียครั้งนี้แต่การป้องกันอย่างไม่สนใจใครทำให้ประชาคมระหว่างประเทศมีความมั่นใจในความสามารถของการต่อสู้ของชาวจีนบางส่วน
การตั้งรับเป็นเวลาสามเดือนทำให้อุตสาหกรรมมีเวลาเคลื่อนย้ายไปยังที่อื่นในแผ่นดินได้ แม้ว่าจำนวนนเครื่องจักรที่ย้ายมาจะมีจำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการสูญเสียความหวังต่อสู้กับญี่ปุ่นเพราะว่านิคมอุตสาหกรรมที่เซี่ยงไฮ้ถูกญี่ปุ่นยึด
หลังจากชัยชนะของญี่ปุ่น กองทหารของญี่ปุ่นในเซี่ยงไฮ้เพิ่มเป็น 300,000 นาย ในเวลานั้นทหารอังกฤษ, ฝรั่งเศส, อเมริกา, และจีนที่เข้ามาอาศัยในเขตข้อตกลงสัมปทานต่างชาติมีน้อยกว่า 8,000 นายแต่เมื่อเข้าสู่เดือนธันวาคม 1941 ที่เกิดสงครามแปซิฟิกเขตสัมปทานต่างชาติถูกญี่ปุ่นยึดครองโดยปราศจากการตอบโต้
เซี่ยงไฮ้ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น
[แก้]หลังจากญี่ปุ่นเข้ายึดเมืองเซี่ยงไฮ้ได้มีการสังหารชาวจีนที่ทางฝ่ายญี่ปุ่นสงสัยว่าจะมีการต่อต้าน ในระหว่างที่ญี่ปุ่นเข้าควบคุมเมืองนั้นชาวจีนต้องประสบกับชะตากรรมที่น่าเศร้า มีการปล้นสะดม ข่มขืนและมีการจับหญิงชาวจีนที่เคราะห์ร้ายมาเป็นนางบำเรอ (Comfort Woman) เมื่อกองทัพญี่ปุ่นเข้าควบคุมบรรดาเขตเช่าสัมปทานของชาวตะวันตกในเซี่ยงไฮ้ สื่อข่าวตะวันตกในเขตเช่าในเซี่ยงไฮ้ต่างประโคมข่าวว่าเป็น "ช่วงเวลาแห่งฝันร้าย"
แต่อย่างไรก็ตามชาวจีนในเซี่ยงไฮ้ยังไม่ยอมแพ้และรวมกำลังตั้งขบวนการใต้ดินสู้รบกับญี่ปุ่นต่อไป ทหารญี่ปุ่นจำนวนมากและเจ้าหน้าที่ของพวกเขาถูกลอบสังหารโดยขบวนการใต้ดินของจีน ดังนั้นในตอนท้ายของทุก ๆ ถนนจะมีรั้วลวดหนามที่พร้อมที่จะปิดถนนเพื่อหยุดการหลบหนีของมือสังหาร แต่มีเพียงไม่กี่คนที่ถูกจับ
-
กองทัพญี่ปุ่นทำการเฉลิมฉลองหลังยึดเมืองเซี่ยงไฮ้ได้ หน้าปกของ นิตยสารเซะไค กะโฮะของญี่ปุ่น (世界画報) ฉบับ 13 หมายเลข 12
-
ทหารญี่ปุ่นรื้อทำลายรูปปั้น ดร.ซุน ยัตเซ็น ที่เมืองเซี่ยงไฮ้
-
ทหารญี่ปุ่นกำลังประหารชีวิตชาวจีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 一寸河山一寸血: 淞沪会战 Chinese Program on the Battle of Shanghai
- ↑ Harmsen, Peter (2013). Shanghai 1937: Stalingrad on the Yangtze (1st ed.). Casemate. ISBN 978-1612001678.
- ↑ "Articles published during wartime by former Domei News Agency released online in free-to-access archive". The Japan Times Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-11-02. ISSN 0447-5763. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-04. สืบค้นเมื่อ 2019-06-04.
- ↑ Hsiung, James (1992). China's Bitter Victory. Armonk: M.E. Sharpe. p. 143. ISBN 978-0-87332-708-4.
- ↑ "Shanghai's Cathay Hotel on August 14, 1937". North China Daily News. 1937-08-15
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ 6.0 6.1 6.2 "1,000 Dead In Shanghai/Devastation By Chinese Bombs". London: The Times. 1937-08-16
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ Faber, John (1978). Great news photos and the stories behind them (2 ed.). Courier Dover Publications. pp. 74–75. ISBN 0-486-23667-6.
- ↑ "Idzumo Class". Battleships-Cruisers.co.uk
{{cite web}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ "Japanese Cruiser Sails.; Idzumo Leaves San Francisco and Will Clear for Action at Sea". New York Times. August 23, 1914
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ "Missiles Hit in Crowded Streets". The Evening Independent. St. Petersburg, Florida. 14 August 1937. pp. 1–2.
- ↑ 11.0 11.1 Frederic E. Wakeman (September 1996). Policing Shanghai, 1927–1937. University of California Press. p. 280. ISBN 0-520-20761-0. สืบค้นเมื่อ 2010-06-14.
- ↑ Frederic E. Wakeman (September 1996). Policing Shanghai, 1927–1937. University of California Press. p. 281. ISBN 0-520-20761-0. สืบค้นเมื่อ 2010-06-14.