ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่การองตอง

พิกัด: 49°18′18″N 1°14′58″W / 49.30500°N 1.24944°W / 49.30500; -1.24944 (Battle of Carentan)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่การองตอง
ส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด, ยุทธการที่นอร์ม็องดี
Map depicting the Battle for Carentan
แผนการของการโจมตี, ยุทธการที่การองตอง
วันที่10–14 มิถุนายน ค.ศ. 1944
สถานที่
49°18′18″N 1°14′58″W / 49.30500°N 1.24944°W / 49.30500; -1.24944 (Battle of Carentan)
การองตอง, ฝรั่งเศส
ผล สหรัฐอเมริกาชนะ
คู่สงคราม
 สหรัฐอเมริกา  ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหรัฐอเมริกา แม็กซ์เวลล์ ดี. เทย์เลอร์
สหรัฐอเมริกา แอนโทนี่ แมคออลีฟฟ์
สหรัฐอเมริกา มอริส โรส
สหรัฐอเมริกา โรเบิร์ต ซิงก์
นาซีเยอรมนี ฟรีดริช ฟอน เดอร์ เฮย์ดท์
นาซีเยอรมนี แวร์เนอร์ ออสเตนดอร์ฟ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
กองพลขนส่งทางอากาศที่ 101

กองพลฟัลเชียร์มเยเกอร์ที่ 2

  • กองพันฟัลเชียร์มเยเกอร์ที่ 6

กองพลทหารราบที่ 91

  • กองพันทหารองครักษ์ตะวันตกที่ 1058
Ostlegionen
กำลัง
11 กองพันทหารราบพลร่ม
1 กองพันรถถัง
1 กองพันทหารราบยานเกราะ
2 กองพันทหารราบพลร่ม
2 กองพันทหารราบองครักษ์ .
2 กองพันทหารองครักษ์ยานเกราะ .
1 กองพันรถถัง กับอาวุธจู่โจม
ความสูญเสีย

อย่างน้อยที่สุด 400 นายเสียชีวิต (KIA)

บาดเจ็บหลายร้อยนาย
800+ เสียชีวิต (KIA)

ยุทธการที่การองตองเป็นการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างกองกำลังทหารโดดร่มแห่งกองทัพสหรัฐและกองทัพเวร์มัคท์ของเยอรมันในช่วงยุทธการที่นอร์ม็องดี การรบครั้งนี้ได้เกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 10 และ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1944 เมื่อเข้าใกล้และภายในเมืองของการองตอง (carentan) ประเทศฝรั่งเศส[1]

เป้าหมายของการโจมตีของกองกำลังอเมริกันคือการรวบรวมหัวหาดของสหรัฐ(หาดยูทาห์และหาดโอมาฮา)และจัดตั้งแนวป้องกันอย่างต่อเนื่องต่อการโจมตีตอบโต้กลับของเยอรมัน กองกำลังป้องกันของเยอรมันได้พยายามที่รักษาเมืองไว้ให้ได้นานที่สุดพอที่จะช่วยให้มีการเสริมกำลังในระหว่างทางไปยังทางใต้ การขัดขวางหรือระงับการรวมที่พักและให้กองทัพสหรัฐที่ 5 ทำการเปิดฉากโจมตีไปยังเมือง Lessay-Périers เพื่อที่จะปิดล้อมทางแหลมโคเตนติน

การองตองได้รับการป้องกันโดยสองกองพันจากกรมทหารฟัลเชียร์มเยเกอร์ที่ 6 (กรมทหารโดดร่มที่ 6) ของกองพลฟัลเชียร์มเยเกอร์ที่ 2 และสองกองพันหน่วยทหารตะวันออก (Ostlegionen-ทหารที่ไม่ใช่ชาวเยอรมันแต่เป็นชาวต่างชาติ เช่น รัสเซีย ตุรกี ยูเครน เป็นต้น) กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์แกรนาเดียร์ที่ 17 ได้รับคำสั่งให้เสริมกำลังไปที่คาร์เรนทัน แต่กลับล่าช้าเพราะขาดแคลนทางด้านการขนส่งและถูกโจมตีโดยเครื่องบินรบฝ่ายสัมพันธมิตร การโจมตีของกองพลโดดร่มที่ 101 ได้ลงสู่พื้นดินโดยร่มชูชีพเมื่อวันที่ 6 มิถุนายนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการโดดร่มของอเมริกาลงสู่นอร์ม็องดี ได้รับคำสั่งให้ทำการยึดครองเมืองคาร์เรนทัน

ในการสู้รบที่ตามมา กองพลโดดร่มที่ 101 ได้ถูกบังคับให้เดินทางผ่านเส้นทางหลวงเข้าสู่การองตองเมื่อวันที่ 10 และ 11 มิถุนายน ด้วยขาดแคลนกระสุนทำให้กองกำลังเยอรมันต้องถูกบังคับถอนกำลังเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์แกรนาเดียร์ที่ 17 ได้โจมตีตอบโต้กลับไปยังกองพลโดดร่มที่ 101 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ด้วยประสบผลสำเร็จขั้นแรก การโจมตีได้ถูกย้อนกลับโดยกองบัญชาการรบ A (CCA) ของกองพลยานเกราะที่ 2 ของสหรัฐ

การรบ

[แก้]

ในวันที่ 9 มิถุนายน พลร่ม 101st รวมพลกัน โดยมีกองพันทหารราบพลร่มที่ 502 เฝ้าระวังแนวด้านขวาตามแนวแม่น้ำ Douve กองพันทหารราบพลร่มที่ 506 ออกข้ามถนนการองตองและกองพันทหารราบเครื่องร่อนที่ 327 ในตำแหน่งซ้ายตามแนวแม่น้ำ Douve ตรงข้าม Brévands กองพันทหารราบพลร่มที่ 501 กลายเป็นกองกำลังสำรองของกองพลและเฝ้าคุ้มกันแนงฝั่งซ้ายตะวันออกของ กองพันทหารราบเครื่องร่อนที่ 327.

จากการสอดแนมทางอากาศและลาดตระเวนระบุไว้ว่าเมืองการองตองมีการป้องกันที่บาง แผนจู่โจมยึดเมืองก็ถูกคิดค้นโดยการโอบล้อมเมืองสองรอบแนว โดยมีกองพันทหารราบพลร่มที่ 502 อยู่ฝั่งขวาและมี กองพันทหารราบเครื่องร่อนที่ 327 อยู่ฝั่งซ้าย โดยมีการวางแผนการโดดร่มหลังเที่ยงคืนวันที่ 10

ภารกิจของกองพันทหารราบพลร่ม 502 คือยึดครองสะพานและพื้นที่ราบสูงในทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองจนถึงถนน Périre (เนินเขาที่ 30) จนถึงแนวถอนกำลัง

ภารกิจของกองพันทหารราบเครื่องล่อนที่ 327 คือข้ามแม่น้ำ Douve ที่ Brévands วนไปจนถึงตะวันออกและเข้ามาในถนนตะวันตกจาก Isigny และเข้าเมือง

[2]

ถนนเลนส์ Purple Heart, วันที่ 10

[แก้]
หมวดทหารอเมริกันบนถนนในการองตองไม่ทราบวันที่ที่แน่ชัด

กองพันทหารราบพลร่มที่ 502, กองพันเล็กที่ 3 ที่นำการจู่โจมภายใต้ พันโท Robert G. Cole พบว่าสะพานที่ 2 เสียหายอย่างหนัก และ ทหารช่างที่รับหน้าที่โดนถล่มยิงกดจาก ปืน 88 มม. พันโทส่ง ร้อยตรี Ralph B. Gehauf และกองกำลังลาดตระเวนนั่งเรือข้ามแม่น้ำ พวกเขาหาทางต่อสู้จนมาถึงสะพานสุดท้ายแต่พบว่าสะพานถูกกีดกันโดย Belgian gate. กองกำลังลาดตระเวนทำได้แค่ดันมันไปเพียงแค่ 18 นิ้ว พอสำหรับทหารหนึ่งคนที่จะเดินเข้าไป ต่อมากองกำลังลาดตระเวนถูกบดบังวิสัยทัศน์ สับสน และ ถูกยิงกด โดยแฟลร์ ปืนครก และ ปืนกล และกองกำลังลาตระเวนก็ได้เคลื่อนพลกลับไปตอน 05:30 นาฬิกา การจู่โจมจึงถูกเลื่อนเวลา. แสงปืนส่วนใหญ่มาจากบ้านไร่หลังใหญ่และแนว Hedgehog บนที่ราบสูงห่างจากถนนพ้นสะพานที่ 4 มา 250 หลา

หน่วยกองพันเล็กที่ 1 และ 2 ของกองพันทหารราบเครื่องร่อนที่ 327 ข้ามแม่น้ำ Douve river ในตอนเช้าของวันที่ 10 กองพันเล็กที่ 1 ได้รับความเสียหายจากปืนครกฝั่งเดียวกันเองระหว่างข้ามแม่น้ำด้วยเรือยาง บางหน่วยเดินลุยน้ำ

เมื่อมาถึงฝั่งตะวันออกในตอนเช้าสาย กองพัน 327 พุ่งหน้าสู่ Catz กองพันเล็กที่ 1 เข้าโจมตีทิศใต้ของถนน Isigny ส่วนกองพันเล็กที่ 2 เข้าโจมตีทิศเหนือของถนนโดยมี กองร้อย G ของกองพันเล็กที่ 2 นำการโจมตี กองพันได้รับความเสียหายอย่างหนักเมื่อเข้าใกล้ตัวเมืองการองตอง กองร้อย G จึงถูกย้ายไปยังกองกำลังสำรองและถูกเปลี่ยนคำสั่งให้ขึ้นตรงกับกองพันเล็กที่ 3 ของ กองพัน 327 (401) ในช่วงเวลาสายๆของวันที่ 11 กองร้อย A ของกองพัน 401 (3Bn) และกองร้อย G ของกองพัน 327 เข้าโจมตีทางทิศใต้อีกครั้งจนถึง the Bassin a Flot และได้รับความเสียหายอย่างหนัก

เวลา 01:45 นาฬิกา กองพันเล็กที่ 1 ของ กองพัน 327 เคลื่อนพลข้ามสะพาน จนกระทั่ง 06:00 นาฬิกา มีการระดมยิงปืนใหญ่ไป ณ รอบๆบริเวณของกองพัน

กองพันสามารถข้ามสะพานและเข้ายึด Brévands ได้และเคลื่อนพลไป 5 กิโลเมตรทางเหนือและใต้ กองร้อย A ของกองพัน 401 ร่วมมือกับกองพลตั้งแถวซ้ายและพุ่งหน้าไปยัง Auville-sur-le-Vey เพื่อที่จะรวมพลกับ กองพลทหารราบที่ 29 กองพัน 327 ไม่ได้ยิงจนกระทั่งเข้ามาถึงสะพานคลอง the Vire-Taute ทิศตะวันออกของการองตอง ณ เวลา 18:00 นาฬิกา ก็ได้รบกับกองพันเยอรมัน 2 กองพันบนแนวจนยึดฝั่งตะวันออกได้ในที่สุด ณ เวลาเที่ยงคืน

สะพานที่แม่น้ำ Douve ก็ยังไม่ซ่อมแซมจนกองพันเล็กที่ 3 ของกองพัน 502 กลับมาในตอนบ่าย พลร่มหาอุปกรณ์การช่างช่วยกันซ่อมสะพานและได้รุกคืบต่อไปไม่นานหลังจากเวลา 13:00 นาฬิกา เคลื่อนพลด้วยแถวตอนลึกและบุกด้วยการหมอบคลาน กองพันถึงสะพานที่ 4 เมื่อเวลา 16:00 นาฬิกา โดยที่มีหน่วยส่วนใหญ่ที่ข้ามสะพานที่ 3 มาแล้วอยู่ภายใต้การระดมยิงของ ปืนครก ปืนใหญ่ สไนเปอร์ และ ปืนกล ทันทีที่พวกเขาอยู่ในระยะยิงของเยอรมัน ความเสียหายของกองพันเยอะขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งตกกลางคืนการบุกก็ได้จบลงแต่ความเสียหายยังมีอยู่ ณ เวลา 23:30 นาฬิกา ยู 87 ชตูคา 2 ลำบินต่ำและกระหน่ำยิงทหารอเมริกันจนถึงแก่ชีวิตประมาณ 30 นาย และทำให้กองร้อย I ปฏิบัติการไม่ได้อีกในการรบ

มีความเสียหายมากถึง 67% จากกองกำลังเดิมก่อนรบจึงกลายเป็นชื่อ ถนนเลนส์ Purple Heart มาจากเส้นทางไปการองตอง ถนน Sainte-Mère-Église

เบื้องหลัง

[แก้]

ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด

[แก้]

วันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ.1944 ฝ่ายพันธมิตรเริ่มปฏิบัติการโจมตีทางด้านอากาศและการบุกรุกรานสะเทินนํ้าสะเทินบกของนอร์ม็งดี ใช้ชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด กองพลทหารร่มทางอากาศที่ 101ได้ลงพื้นที่ด้านหลังหาดยูทาห์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นกองกำลังเสริมของเยอนมันไม่ให้โจมตีการขนาบข้างของเหล่ากองพลสหรัฐที่7ในระหว่างภารกิจหลักในการยึดท่าเรือของแชร์บูร์ก กองพลร่อนได้ลงพื้นที่โดยเครื่องร่อนและเรือในวันที่ 6 และ 7 มิถุนายน

การรวบรวมหัวหาดของสหรัฐอเมริกาที่หาดยูทาห์และหาดโอมาฮาเป็นเป้าหมายD-Dayในการบุกสะเทินนํ้าสะเทินบก แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากการต้านทานของเยอรมันอย่างหนักที่หาดโอมาฮาอีกอย่างหน่วยข่าวกรองของกลุ่มสัมพันธ์ยังเชื่อว่าหน่วยทหารของเยอรมันกำลังรวมพลกันเพื่อผลักดันให้เกิดช่องระหว่างพวกเขา การใช้คำสั่งปฏิติการของทั้งกองทัพสหรัฐที่ 1 และกองทัพบริติชที่ 2 ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก นายพลเบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรีแห่งบริติชได้ออกคำสั่งให้กองพลของนายพลโทโอมาร์ แบรดลีย์ทำการรวมพลต่อทั้งสองแบบรวดเร็วกัน เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งสัมพันธ์มิตรดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ที่หาดโอมาฮาได้เห็นด้วยกับการออกคำสั่งของนายพลเบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรีที่ให้ "ความพยายามที่เข้มแข็ง" นายพลโทโอมาร์ แบรดลีย์ที่ยังไม่ได้อยู่ในการคำสั่งปฏิติการเพียงแค่ได้รับการอัปเดตเกี่ยวกับการสู้รบสงครามจากในสายโทรศัพท์ทุกประจำวันจากเสนาธิการกลุ่มกองทัพที่ 21

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Battle to Control Carentan During World War II". History Net. สืบค้นเมื่อ 2013-06-24.
  2. "The Battle For Carentan (8–15 June)". Utah Beach to Cherbourg. American Forces in Action. United States Army Center of Military History. 1991 [1948]. CMH Pub 100-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2009. สืบค้นเมื่อ 9 July 2010.