ข้ามไปเนื้อหา

ยาโออิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างงานศิลปะของ shōnen-ai ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ Animexx

ยาโออิ (ญี่ปุ่น: やおいโรมาจิyaoi) เป็นหนึ่งในสื่อนวนิยายที่มีต้นกำเนิดมาจากญี่ปุ่น ซึ่งตัวละครหลักมีความสัมพันธ์ระหว่างชายกับชายด้วยกัน โดยส่วนมากผลงานนี้ถูกสร้างขึ้นจากผู้หญิงเพื่อผู้อ่านที่เป็นผู้หญิง ผลงานรูปแบบนี้แตกต่างจากสื่อลามกของเพศเดียวกันที่กลุ่มคนดูเป็นกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนวนิยายแนวนี้ก็เป็นที่ให้ความสนใจในหมู่เพศชายและยังมีนักเขียนเป็นผู้ชายอีกด้วย

ในวงการนิยายและการ์ตูน เริ่มแรกเดิมทียาโอย หมายถึง ประเภทหนึ่งของงานโดจินชิซึ่งเป็นผลงานล้อเลียนมังงะหรืออนิเมะที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น แต่ปัจจุบันความหมายได้เปลี่ยนไป กลายเป็นลักษณะความสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศเชิงอีโรติกหรือโรแมนติกระหว่างชายกับชาย ซึ่งอยู่ในรูปแบบของมังงะ อนิเมะ เกม นิยาย และโดจินชิ

ต่อมาในญี่ปุ่นได้เกิดคำศัพท์ใหม่แทนที่ยะโอะอิ คือคำว่า บอยส์เลิฟ (Boy's Love) (ญี่ปุ่น: ボーイズラブโรมาจิBooizu Rabu) แม้ชื่อจะบอกว่าเป็นความรักของเด็กหนุ่ม แต่ในความเป็นจริงแล้วสามารถใช้ได้กว้างตั้งแต่เรื่องราวระหว่างวัยรุ่นไปจนถึงคนสูงวัย แต่มีศัพท์เฉพาะ คือ ความสัมพันธ์กับชายวัยเยาว์ เรียก โชะตะคอน ถ้าเป็นชายสูงอายุเรียก โอจิคอน ส่วนในต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา ไทย ยังคงนิยมใช้คำว่า ยะโอะอิ[ต้องการอ้างอิง]

นิยามความสัมพันธ์ของคู่รักในยาโอยจะแบ่งออกเป็นสองตำแหน่งคือ seme (เซ-เมะ) เป็นคนที่อยู่ตำแหน่งบนหรือเป็นผู้นำ กับ uke (อุ-เคะ) ผู้ที่อยู่ตำแหน่งล่างหรือเป็นผู้ตาม ธีมส่วนใหญ่ของยาโอยก็จะมี ความสัมพันธ์ต้องห้าม ข่มขืน เหตุการณ์ร้ายแรง และคอมเมดี้ โดยชนิดของนิยายประเภทนี้ก็จะมีหลายแนวไม่ว่าจะเป็น ชีวิตรักวัยเรียน ไซไฟ ย้อนยุค แฟนตาซี สืบสวน และหมวดหมู่ย่อยออกมาคือ Omegaverse, Rainverse, Colorverse, Coffeeverse และอื่น ๆ อีกมากมายตามจินตนาการของผู้สร้าง ในแต่ละ Verse ยังมีแยกย่อยและปรับเปลี่ยนเรื่อย ๆ เปรียบเทียบได้กับหนังสือที่นำมาดัดแปลงทำใหม่เป็นแบบของผู้เขียนเอง แต่ยังคงเค้าโครงของเรื่องเดิมอยู่

ที่มา

[แก้]

คำว่า yaoi กำเนิดครั้งแรงช่วงปลายยุค 70 โดยซาคาตะ ยาซุโกะและฮัตสุ รินโกะ ที่ต้องการล้อเลียนโครงสร้างของงานเขียนโคลงจีนยุคเก่าซึ่งต้องประกอบด้วย ki (introduction บทนำ), syo (development ดำเนินเรื่อง), ten (transition จุดผกผัน), และ ketsu (conclusion บทสรุป) โดยสร้างงานที่

  • Yamanashi (no climax-ไม่มีไคลแมกซ์)
  • Ochinashi (no point-ไม่มีประเด็น)
  • Iminashi (no meaning-ไม่มีความหมาย)

กลายมาเป็นงานโดจินชิที่ชื่อ Loveri

ต่อมาในยุค 80 คำว่า yaoi ได้หมายความถึงงานการ์ตูนล้อเลียนที่มีผู้ชายสองคนเป็นตัวเอกและเน้นความสัมพันธ์ทางเพศเป็นเนื้อหาหลัก ส่วน shonenai หมายถึงการ์ตูนที่มีผู้ชายสองคนเช่นกัน แต่เน้นความรักโรแมนติกและน่ารักอ่อนโยนกว่า ทั้ง yaoi และ shonenai ไม่ใช่การ์ตูนที่กล่าวถึงความรักของ เกย์ แต่เป็นรูปแบบหนึ่งของความรักที่ "เหนือ" กว่าความรักระหว่างคนต่างเพศทั่วไป

แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ต้นกำเนิดของความสัมพันธ์แบบชายกับชายในการ์ตูนไม่ได้เกิดในดงโดจินชิเป็นที่แรก แต่กลับเกิดในงานการ์ตูนที่มีพิมพ์ขายแบบเป็นล่ำเป็นสัน เรื่องนั้นคือ Kaza to Ki no Uta หรือ A Poem of Wind and Trees งานเขียนของทาเคมิยะ เคย์โกะ ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารการ์ตูนผู้หญิงในปี 1976 เรื่องนี้เป็นเรื่องของกิลเบิร์ต คอคโต เด็กหนุ่มรูปงามในโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งที่มีอันต้องร่วมหอลงเตียงกับเพื่อนหนุ่มรูมเมท

ต่อมาในปี 1978 นิตยสาร Comic June (อ่านว่าจู-เน่) ได้วางแผงช่วงเวลาเดียวกับที่กลุ่มของซาคาตะคิดค้นคำว่า yaoi ถือเป็นนิตยสารเล่มแรกที่มีแต่เรื่องชายกับชาย[1]

ศัพท์เทคนิค

[แก้]

โชเน็งไอ

[แก้]

โชเน็งไอ (shonen ai) เป็นคำศัพท์ที่ริเริ่มจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกการ์ตูน อนิเมะ มีเนื้อหาเป็นลักษณะความรักระหว่างชายและชาย โชเน็งไอจะไม่เน้นเรื่องเพศสัมพันธ์เหมือนยะโอะอิ

seme และ uke

[แก้]

ใช้แบ่งแยกสถานะในกรณีของ yaoi และ yuri

  • seme (เซะเมะ) คือ ฝ่ายรุก มักมีรูปร่างสูงใหญ่ และเหมือนผู้ชายปกติ
  • uke (อุเคะ) คือ ฝ่ายรับ มักมีหน้าตาและรูปร่างเหมือนผู้หญิง บางเรื่องมีรูปร่างสูงใหญ่เหมือนกับฝ่ายรุก แต่ยังคงตำแหน่งรับอยู่

โดจินชิ

[แก้]

โดจินชิ (Doujinshi) เป็นการ์ตูนหรือนิยายที่ผู้เขียนออกทุนเองโดยไม่ผ่านสำนักพิมพ์ หรือเรียกว่าหนังสือทำมือ เนื้อหาของโดจินชิสามารถเป็นได้ทั้งออริจินัลของผู้เขียนเอง หรือเป็นการล้อเลียนหรือดัดแปลงจากต้นฉบับโดยผู้เขียนจะหยิบยกตัวละครมาเขียนในรูปแบบใหม่ที่ต่างจากต้นฉบับ (ซึ่งอาจจะเป็นแนวอะไรก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็น yaoi หรือ yuri เสมอไปตามที่คนเข้าใจผิดกัน)

การออกวางจำหน่าย

[แก้]

การ์ตูนแนวยะโอะอินั้น ปัจจุบันเป็นที่หาซื้อได้ง่ายมาก ๆ ส่วนใหญ่จะวางขายในร้านขายหนังสือการ์ตูนใหญ่ ๆ หรือร้านหนังสือการ์ตูนขึ้นห้าง โดยที่จะมีการแบ่งโซนอย่างชัดเจน หนังสือการ์ตูนแนวนี้จะไม่มีฉากในการร่วมเพศอย่างโจ่งแจ้ง ส่วนใหญ่จะมีแค่ฉากจูบเท่านั้น

ข้อวิพากษ์วิจารณ์ ปฏิกิริยา และผลตอบรับ

[แก้]

ในประเทศไทย ถึงแม้ว่าจะมีผู้ชื่นชอบนวนิยายประเภทนี้เป็นจำนวนมากพอสมควรก็ตาม ทว่าก็มีผู้ที่ไม่เห็นด้วย ต่อต้าน และคัดค้านสิ่งที่พวกเขากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ "หยาบคาย" และ "ลามกอนาจาร" โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่ไม่เห็นด้วย มักจะเป็นกลุ่มคนที่มีความคิดไปทางอนุรักษนิยม ชาตินิยม และประเพณีนิยม

ยะโอะอิบางเรื่องถูกเขียนขึ้นโดยใช้สถานที่จริง และหลายเรื่องได้ใช้ชื่อตัวละครที่มีชื่อและนามสกุลชัดเจน จนอาจมีผู้เชื่อว่าตัวละครเป็นบุคคลที่มีอยู่จริง หรือเชื่อว่าบุคคลชื่อนั้น ๆ มีพฤติกรรมชายรักชายจริง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-18. สืบค้นเมื่อ 2008-05-16.

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]
  • นัทธนัย ประสานนาม. “อยู่กับแฟน: บันเทิงคดียาโออิของไทยกับวัฒนธรรมมวลชนในบริบทข้ามสื่อ.” ใน ชาญณรงค์ บุญหนุน, คงกฤช ไตรยวงค์ และพัชชล ดุรงค์กวิน (บก.), เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 12 ‘อยู่ด้วยกัน’: โลก เทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำ และความเป็นอื่น. หน้า 572–605. ม.ป.ท., 2561.