ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์
ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ | |
---|---|
ไอน้ำที่พ่นสูงถึง 3,000 ฟุต (1 กม.) ในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ.1982 สองปีหลังจากการประทุครั้งใหญ่ | |
จุดสูงสุด | |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 8,363 ฟุต (2,549 เมตร) |
ความสูง ส่วนยื่นจากฐาน | 4,605 ฟุต (1,404 เมตร) |
พิกัด | 46°11′28″N 122°11′40″W / 46.1912000°N 122.1944000°W [1] |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
เขตสกาแมเนีย, รัฐวอชิงตัน, ประเทศสหรัฐ | |
เทือกเขา | ร่องแคสเคด |
แผนที่ภูมิประเทศ | จัดทำโดยกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา |
ข้อมูลทางธรณีวิทยา | |
อายุหิน | < 40,000 ปี |
ประเภทภูเขา | กรวยภูเขาไฟสลับชั้นที่มีพลัง (เขตมุดตัว) |
แนวโค้งภูเขาไฟ | ภูเขาไฟแคสเคด |
การปะทุครั้งล่าสุด | ค.ศ.2004–2008 |
การพิชิต | |
พิชิตครั้งแรก | ค.ศ.1853 โดยโทมัส เจ. ดรายเออร์ |
เส้นทางง่ายสุด | ส่วนลาดเอียงทางทิศใต้ของภูเขาไฟ (บริเวณใกล้จุดปะทุมากที่สุด) |
ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ หรือ เมานต์เซนต์เฮเลนส์ (อังกฤษ: Mount St. Helens) เป็นภูเขาไฟมีพลังประเภทกรวยสลับชั้น ตั้งอยู่ในสกามาเนียเคาน์ตี รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกาในฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของแปซิฟิก ห่างจากเมืองซีแอตเทิลไปทางใต้ 154 กิโลเมตร และห่างจากเมืองพอร์ตแลนด์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 80 กิโลเมตร ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ได้ชื่อจากนักการทูตชาวอังกฤษ ลอร์ดเซนต์เฮเลนส์ คู่หูของนักสำรวจ จอร์จ แวนคูเวอร์ ที่สำรวจพื้นที่ในบริเวณนั้นตั้งแต่ปลายคริสต์วรรษที่ 18 ภูเขาไฟลูกนี้ตั้งอยู่ในเทือกเขาคาสเคด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวภูเขาไฟคาสเคด ส่วนหนึ่งของวงแหวนแห่งไฟ ซึ่งมีภูเขาไฟมีพลังตั้งอยู่กว่า 160 ลูก ภูเขาไฟลูกนี้เป็นที่รู้จักกันดีจากการระเบิดและการพ่นเถ้าถ่านออกมา
ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์โด่งดังมากที่สุดจากการระเบิดครั้งรุนแรง ในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) เมื่อเวลา 08:32 น. ตามเวลาท้องถิ่น (เขตเวลาแปซิฟิก)[2] ซึ่งเป็นเหตุการณ์ภัยพิบัติทางภูเขาไฟที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด และก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิตในครั้งนั้น 57 ราย บ้านเรือน 250 หลัง สะพาน 47 แห่ง ทางรถไฟยาว 24 กิโลเมตร และทางหลวงยาว 298 กิโลเมตรถูกทำลาย การระเบิดทำให้เกิดแผ่นดินถล่มขนาดใหญ่ ลดความสูงของยอดเขาจาก 2,950 เมตร เหลือ 2,550 เมตร และปล่องภูเขาไฟเปลี่ยนรูปกลายเป็นรูปคล้ายเกือกม้า[3] แผ่นดินที่ถล่มลงมามีปริมาตรมากกว่า 2.9 ลูกบาศก์กิโลเมตร หลังจากนั้นได้มีการก่อตั้งอนุสาวรีย์แห่งชาติภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ ขึ้นมา เพื่อปกป้อง อนุรักษ์ภูเขาไฟ และให้เป็นที่ศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับภูเขาไฟ
เช่นเดียวกันภูเขาไฟส่วนใหญ่ในเทือกเขาคาสเคด ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์มีลักษณะเป็นกรวยปะทุ ประกอบด้วยหินลาวา แบ่งชั้นด้วยเถ้า หินพัมมิซ และหินตะกอนอื่น ๆ ภูเขาประกอบด้วยชั้นของหินบะซอลต์ และหินแอนดีไซท์ ผ่านโดมลาวาที่เป็นหินเดไซท์โป่งออกมา โดยโดมหินเดไซท์ที่ใหญ่ที่สุดก่อตัวใกล้กับยอดเขา และโดมขนาดเล็กกว่าคือ โดมโกทร็อกส์ ตั้งอยู่ข้างภูเขาไฟทางตอนเหนือ ซึ่งโดมทั้งสองแห่งนี้ถูกทำลายไปจากการระเบิดเมื่อ ค.ศ. 1980
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Mount Saint Helens". Geographic Names Information System, U.S. Geological Survey.
- ↑ "Mount St. Helens National Volcanic Monument". USDA Forest Service. (สืบค้นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2006)
- ↑ "May 18, 1980 Eruption of Mount St. Helens". USDA Forest Service. สืบค้นเมื่อ 2007-08-11.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Harris, Stephen L. (1988). "Mount St. Helens: A Living Fire Mountain". Fire Mountains of the West: The Cascade and Mono Lake Volcanoes (1st ed.). Missoula, Montana: Mountain Press Publishing Company. pp. 201–228. ISBN 0-87842-220-X.
- Mullineaux, D.R.; Crandell, D.R. (1981). The Eruptive History of Mount St. Helens, USGS Professional Paper 1250. Retrieved on October 28, 2006.
- Mullineaux, D.R. (1996). Pre-1980 Tephra-Fall Deposits Erupted From Mount St. Helens, USGS Professional Paper 1563. Retrieved on October 28, 2006.
- Pringle (1993). Roadside Geology of Mount St. Helens National Volcanic Monument and Vicinity, Washington State Department of Natural Resources, Division of Geology and Earth Resources Information; Circular 88.
- USGS/Cascades Volcano Observatory, Vancouver, Washington. Description: Mount St. Helens Volcano, Washington. เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on October 28, 2006.