ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาออสซีเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาออสซีเชีย
ирон ӕвзаг (irōn ævzag)
дигорон ӕвзаг (digōrōn ævzag)
ออกเสียงแม่แบบ:IPA-os
แม่แบบ:IPA-os
ประเทศที่มีการพูดออสซีเชีย
ภูมิภาคคอเคซัส
ชาติพันธุ์ชาวออสซีเชีย
จำนวนผู้พูด597,450  (2010)[1]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
Jassic (สูญหาย)
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
รัฐที่มีการยอมรับบางส่วน:
 เซาท์ออสซีเชีย
รหัสภาษา
ISO 639-1os
ISO 639-2oss
ISO 639-3oss
Linguasphere58-ABB-a
ข้อความภาษาออสซีเชียในอักษรละตินจากหนังสือที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1935
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาออสซีเชีย (Ossetic/Ossetian/Ossete language) เป็นภาษากลุ่มอิหร่านใช้พูดในแถบออสซีเชียแถบเทือกเขาคอเคซัส โดยนอร์ทออสซีเชียอยู่ในรัสเซีย ส่วนเซาท์ออสซีเชียอยู่ในจอร์เจีย มีผู้พูดภาษานี้ราว 500,000 คน ภาษานี้มี 35 หน่วยเสียง เป็นพยัญชนะ 26 เสียง สระเดี่ยว 7 เสียง สระประสม 2 เสียง เขียนด้วยอักษรซีริลลิก ในช่วง พ.ศ. 2481–2493 ในเซาท์ออสซีเชียเขียนภาษานี้ด้วยอักษรจอร์เจีย

ประวัติและการจัดจำแนก

[แก้]

ภาษาออสซีเชียเป็นภาษาพูดและภาษาเขียนของชาวออสซีเตส ซึ่งอยู่ทางตอนกลางของเทือกเขาคอเคซัสและเป็นชนกลุ่มใหญ่ในสาธารณรัฐออสเซเตียเหนือ-อลาเนีย ซึ่งอยู่ในสหพันธรัฐรัสเซียและออสซีเชียใต้ซึ่งเป็นรัฐอิสระโดยพฤตินัยในสาธารณรัฐจอร์เจีย ภาษาออสซีเชียอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน กลุ่มอิหร่านตะวันออก กลุ่มย่อยอิหร่านตะวันออกตอนเหนือ จึงมีความใกล้เคียงกับภาษาปาทาน และภาษายักโนบี

ในยุคคลาสสิก ภาษาในกลุ่มภาษาอิหร่านได้แพร่กระจายในบริเวณที่ปัจจุบันคือประเทศอิหร่าน เอเชียกลาง ยุโรปตะวันออก และเทือกเขาคอเคซัส ภาษาออสเซเตียเป็นภาษาเดียวที่อยู่รอดโดยสืบทอดมาจากภาษาไซเทียซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่าน สาขาตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาษาออสเซเตียจัดเป็นภาษาในกลุ่มภาษาอิหร่านเช่นเดียวกับภาษาเคิร์ด ภาษาตาตี และภาษาตาลิช ที่มีผู้พูดจำนวนหนึ่งในเทือกเขาคอเคซัส เป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอลานิกซึ่งเป็นภาษาของชาวอะลานที่เป็นเผ่าในยุคกลางที่สืบทอดมาจากชาวซาร์มาเทียน และเชื่อว่าเป็นลูกหลานภาษาเดียวที่เหลืออยู่ของภาษาซาร์มาเทียน ภาษาที่มีความใกล้เคียงกันมากที่สุดคือภาษายักโนบีในทาจิกิสถาน ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ของกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาออสซีเชียมีปัจจัยแสดงพหูพจน์ –ta ซึ่งเหมือนกับในภาษายักโนบี ภาษาซาร์มาเทียน และภาษาซอกเดีย

ระบบการเขียน

[แก้]

ระบบการเขียนภาษาออสเซเตียเขียนด้วยอักษรซีริลลิกแต่ต่างจากภาษาอื่นที่มีอักษร Ӕ ӕ บิดาของภาษาออสเซเตียสมัยใหม่คือ กอสตา เซตากูรอฟ ซึ่งเป็นกวี ในรัสเซียเขียนด้วยอักษรซีริลลิก แต่ในจอร์เจียเขียนด้วยอักษรจอร์เจีย หนังสือภาษาออสเซเตียฉบับแรกตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2341 และใน พ.ศ. 2387 ได้มีการปรับการใช้อักษรโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย Andreas Sjögren มีการนำอักษรละตินมาใช้ในราว พ.ศ. 2463 แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2480 ได้นำอักษรซีริลลิกแบบใหม่มาใช้ ส่วนการเขียนด้วยอักษรจอร์เจียนั้น ได้เพิ่มตัวอักษร 3 ตัวเข้าไปใน พ.ศ. 2363 การใช้อักษรซีริลลิกในออสเซเตียใต้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2480 ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้อักษรจอร์เจียอีกใน พ.ศ. 2497 เคยมีการนำอักษรอาหรับมาใช้ใน พ.ศ. 2482 แต่ก็เป็นในระยะเวลาสั้นๆ

การใช้ภาษา

[แก้]

หนังสือที่พิมพ์ในภาษาออสเซเตียเล่มแรกพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2341 หนังสือพิมพ์ฉบับแรก Iron Gazet ตีพิมพ์ฉบับแรกเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 ในวลาดิกาฟกัส การแปลไบเบิลเป็นภาษาออสเซเตียสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2553 ภาษาออสเซเตียเป็นภาษาราชการทั้งในออสเซเตียเหนือและออสเซเตียใต้คู่กับภาษารัสเซีย แต่การใช้อย่างเป็นทางการถูกจำกัด มีหนังสือพิมพ์รายวัน 2 ฉบับในออสเซเตียคือ Ræstdzinad (Рæстдзинад, "ความจริง") ในออสเซเตียเหนือและXurzærin (Хурзæрин, "ดวงอาทิตย์") ในออสเซเตียใต้ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นใช้ภาษาออสเซเตียในบางบทความ มีวารสารรายเดือน Max dug (Мах дуг, "ยุคของเรา") ที่ตีพิมพ์กวีนิพนธ์และนิยายในภาษาออสเซเตียเป็นครั้งคราว ภาษาออสเซเตียมีสอนในโรงเรียนมัธยม ผู้พูดเป็นภาษาแม่จะเรียนวรรณคดีออสเซเตีย

อ้างอิง

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]