ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาคือภาษาย่อยที่มีทัพบกและทัพเรือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาคือภาษาย่อยที่มีทัพบกและทัพเรือ (อังกฤษ: a language is a dialect with an army and a navy) เป็นสำนวนหนึ่ง[1][2][3] ที่กล่าวถึงการตัดสินโดยอำเภอใจ[4]ว่าอะไรคือภาษาและอะไรคือภาษาย่อยหรือภาษาถิ่น สำนวนนี้กล่าวว่า สถานภาพทางการเมืองและสังคม[5]มักมีอิทธิพลต่อมุมมองของผู้คนว่า ภาษาที่ใช้ในสังคมนั้นควรจัดเป็นภาษาถิ่นหรือไม่ นักวิชาการทางด้านภาษายิดดิชและนักภาษาศาสตร์เชิงสังคม แมกซ์ ไวน์ไรค์ (Max Weinreich) เป็นผู้ที่ทำให้สำนวนนี้เป็นที่รู้จักในโลกภาษาศาสตร์ ซึ่งเป็นสำนวนที่แนะนำโดยลูกศิษย์ของแมกซ์ ไวน์ไรค์

ความหมาย

[แก้]

ในสำนวน "ภาษาคือภาษาย่อยที่มีทัพบกและทัพเรือ" นั้น คำว่า "กองทัพ" เปรียบเทียบกับผู้ที่มีอำนาจปกครองประเทศหนึ่งอยู่ (ผู้ใดมีกองทัพผู้นั้นมีอำนาจ) ฉะนั้นผู้ที่มีกองทัพก็เป็นผู้ที่สามารถกำหนดได้ว่าอะไรคือภาษาอะไรคือภาษาถิ่น อาทิ ในประเทศไทย รัฐบาลไทยกำหนดว่า ภาษาประจำชาติคือ ภาษาไทยมาตรฐาน แต่ภาษาอื่น ๆ ที่พูดในประเทศถือเป็นภาษาถิ่น เป็นต้น ในขณะเดียวกันบ้างก็ถือว่าภาษาไทยถิ่นอีสานเป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาไทย (a dialect of Thai) แต่บ้างก็ถือว่าเป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาลาว (a dialect of Lao)

ในสแกนดิเนเวีย

[แก้]

ในสแกนดิเนเวีย ผู้พูดภาษานอร์เวย์ ผู้พูดภาษาเดนมาร์ก และ ผู้พูดภาษาสวีเดน สามารถสื่อภาษาของตัวเองกับผู้พูดที่มาจากนอร์เวย์ เดนมาร์ก และ สวีเดน กันได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม แต่ละรัฐก็ไม่ถือว่าภาษาของตนเองเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน รัฐบาลในสามประเทศนี้ไม่กำหนดว่าภาษาตนเองเป็น ภาษาสแกนดิเนเวียถิ่นนอร์เวย์ ภาษาสแกนดิเนเวียถิ่นเดนมาร์ก และภาษาสแกนดิเนเวียถิ่นสวีเดน เป็นต้น

ในเอเชียใต้

[แก้]

ในประเทศอินเดีย และ ประเทศปากีสถาน ผู้พูดภาษาฮินดี กับ ผู้พูดภาษาอูรดู สามารถใช้ภาษาแม่ของตนเองสื่อสารและเข้าใจกันได้เป็นอย่างดี แต่รัฐบาลของสองประเทศไม่ถือว่าทั้งสองภาษานั้นเป็นภาษาเดียวกัน หรือว่าเป็นภาษาเดียวกันที่ใช้ในต่างท้องถิ่น แต่กลับถือว่าสองภาษานี้เป็นภาษาที่แยกกัน โดยภาษาฮินดีเป็นภาษาที่พูดโดยชาวฮินดู และ ภาษาอูรดูโดยชาวมุสลิม

ในประเทศจีน

[แก้]

ในประเทศจีน ภาษาจีนกลาง ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาจีนเซี่ยงไฮ้ ฯลฯ เป็นภาษาที่ผู้พูดมิสามารถฟังเข้าใจกันได้เลย แต่รัฐบาลจีนถือว่าภาษาเหล่านี้เป็นภาษาเดียวกันเพียงแต่ใช้ในต่างท้องถิ่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Victor H. Mair, The Columbia History of Chinese Literature, p. 24 full text: "It has often been facetiously remarked... the falsity of this quip can be demonstrated..."
  2. Henry Hitchings, The Language Wars: A History of Proper English, p. 20 full text: "There's an old joke that..."
  3. S. Mchombo, "Nyanja" in Keith Brown, Sarah Ogilvie, eds., Concise encyclopedia of languages of the world, p. 793 full text: "A recurrent joke in linguistics courses ... is the quip that ..."
  4. Timothy B. Weston, Lionel M. Jensen, China beyond the headlines, p. 85 full text: "Weinreich...pointing out the arbitrary division between [dialect and language]"
  5. Thomas Barfield, The Dictionary of Anthropology, s.v. 'sociolinguistics' full text: "Fundamental notions such as 'language' and 'dialect' are primarily social, not linguistic, constructs, because they depend on society in crucial ways."

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • John Earl Joseph (2004). Language and identity: national, ethnic, religious. Palgrave Macmillan. ISBN 978-0-333-99752-9.
  • John Edwards (2009). Language and identity: an introduction. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-69602-9.
  • Robert McColl Millar (2005). Language, nation and power: an introduction. Palgrave Macmillan. ISBN 978-1-4039-3971-5.