ภาษากุรุข
ภาษากุรุข | |
---|---|
कुड़ुख़ | |
ประเทศที่มีการพูด | อินเดีย, บังกลาเทศ |
ชาติพันธุ์ | ชาวกุรุข |
จำนวนผู้พูด | 2,053,000 คน (พ.ศ. 2540) (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | ดราวิเดียน
|
ระบบการเขียน | อักษรเทวนาครี |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | kru |
ISO 639-3 | kru |
ภาษากุรุข (Kurukh; อักษรเทวนาครี: कुड़ुख़) เป็นภาษาในตระกูลภาษาดราวิเดียนที่พูดโดยเผ่าโอโรนหรือเผ่ากุรุข ที่อยู่ในรัฐพิหาร ฌารขัณฑ์ โอริศา มัธยประเทศ ฉัตตีสครห์ และเบงกอลตะวันตก ในประเทศอินเดีย และบังกลาเทศภาคเหนือ มีความใกล้เคียงกับภาษาบราฮุอี และภาษามัลโตหรือภาษาปาหาเรีย บางครั้งเรียกภาษาโอโรน
การจัดจำแนก
[แก้]ภาษากุรุขอยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน[1] จัดอยู่ในกลุ่มภาษาดราวิเดียนเหนือ ใกล้เคียงกับภาษาปาหาเรีย เขียนด้วยอักษรเทวนาครี
ผู้พูด
[แก้]ผู้พูดภาษานี้ที่เป็นเผ่าโอโรนและไกสานรวมกันประมาณ 2,053,000 คน อัตราการรู้หนังสือพบในเผ่าโอโรน 23% เผ่าไกสาน 17% ภาษานี้มีโอกาสที่จะเป็นภาษาตาย[2] รัฐบาลของรัฐฌารขัณฑ์และฉัตติสครีย์ได้สนับสนุนให้สอนภาษากุรุขในโรงเรียนที่มีชนเผ่าทั้งสองเป็นจำนวนมาก
วรรณกรรม
[แก้]มีการแปลไบเบิลเป็นภาษากุรุขเมื่อ พ.ศ. 2543 มีการสอนภาษาในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเช่น มหาวิทยาลัยรันชีและมหาวิทยาลัยสิโธ กาโญ วารสารเช่น Nam Kurkhat, Singi Dai และ Jharkhand Dhara ตีพิมพ์บทความที่เขียนด้วยภาษากุรุข มีการตีพิมพ์หนังสือด้วยภาษากุรุขในรัฐฌารขัณฑ์ โอริศา ฉัตติสครีย์ มัธยประเทศและเบงกอลตะวันตก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Stassen, Leon (1997). Intransitive Predication. Oxford Studies in Typology and Linguistic Theory. Oxford University Press. p. 220. ISBN 978-0199258932.
- ↑ Daniel Nettle and Suzanne Romaine. Vanishing Voices: The Extinction of the World's Languages. Oxford: Oxford University Press, 2000. Page 9.