ฟาโรห์เนโชที่ 2
ฟาโรห์เนโคที่ 2 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เนคาอู | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปหล่อทองแดงขนาดเล็กของฟาโรห์เนโคที่ 2 ปัจจุบันอยู่ที่พิพธภัณฑ์บรูคลิน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 610–595 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | ซามาเจิกที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ซามาเจิกที่ 2 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คู่เสกสมรส | เคเดบนิธอิร์บิเนตที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สวรรคต | 595 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก |
เนโคที่ 2[1] (บางครั้งอาจจะขานพระนามได้ว่า เนคาอู, [2] เนคู, [3] เนโคห์, [4] หรือ นิคูอู[5] ในภาษากรีกโบราณ: Νεκώς Β'[6][7][8] ภาษาฮีบรู: נְוֹ, ฮีบรูสมัยใหม่: Nəkō, ฮีบรูไทเบเรียน: Nekō) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่ยี่สิบหก ทรงปกครองอยู่ระหว่าง 610–595 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งมีศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองซาอิส[9] พระองค์ทรงโปรดให้ดำเนินแผนการก่อสร้างหลายแผนทั่วราชอาณาจักรของพระองค์[10] ในรัชสมัยของพระองค์ ตามคำบอกเล่าของนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก เฮโรโดตัส ฟาโรห์เนโคที่ 2 ทรงได้ส่งคณะสำรวจชาวฟินีเซียนออกไป ซึ่งภายในสามปีได้แล่นเรือจากทะเลแดงไปทั่วแอฟริกาไปยังช่องแคบยิบรอลตาร์และกลับไปยังอียิปต์[11] ภายหลังจากการขึ้นครองพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์ซามาเจิกที่ 2 ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ อาจจะทรงโปรดให้ลบพระนามของพระองค์ออกจากอนุสาวรีย์จำนวนหนึ่ง[12]
ฟาโรห์เนโคทรงมีบทบาทเกี่ยวข้องสำคัญในประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิแอสซีเรียใหม่ จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ และอาณาจักรยูดาห์ โดยพระองค์น่าจะเป็นฟาโรห์ที่กล่าวถึงในหนังสือพระคัมภีร์หลายเล่ม[13][14][15] ซึ่งจุดมุ่งหมายของดำเนินการทางทหารครั้งที่สองของฟาโรห์คือการพิชิตดินแดนเอเชีย[16][17] เพื่อยับยั้งการรุกไปทางทิศตะวันตกของจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่และตัดเส้นทางการค้าบริเวณแม่น้ำยูเฟรติส อย่างไรก็ตาม กองทัพอียิปต์กลับพ่ายแพ้ต่อการโจมตีของชาวบาบิโลนอย่างไม่คาดฝัน และในที่สุดก็ถูกขับไล่ออกจากดินแดนซีเรีย
โดนัลด์ บี. เรดฟอร์ด ซึ่งเป็นนักไอยคุปต์วิทยาได้ตั้งข้อสังเกตว่า ฟาโรห์เนโคที่ 2 ทรงเป็น "ผู้ที่กระทำการตั้งแต่เริ่มต้น และเต็มไปด้วยจินตนาการที่บางทีอาจเหนือกว่าคนในสมัยของพระองค์ [ผู้] ที่มีเคราะห์ร้ายที่ส่งเสริมความรู้สึกว่าเป็นความล้มเหลว"[18]
ฟาโรห์เนโคที่ 2 เสด็จสวรรคตในช่วง 595 ปีก่อนคริสตกาล และพระราชโอรสของพระองค์ได้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ในพระนามฟาโรห์ซามาเจิกที่ 2 อย่างไรก็ตาม ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 2 ทรงได้ลบพระนามออกจากอนุสรณ์สถานเกือบทั้งหมดของพระราชบิดาของพระองค์โดยไม่ทราบสาเหตุ อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางคน เช่น โรแบร์โต กอซโซลี แสดงความเห็นที่ว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นจริงหรือ โดยโต้แย้งว่าหลักฐานของเรื่องนี้คลุมเครือและค่อนข้างขัดแย้งกัน[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Thomas Dobson. Encyclopædia: Or, A Dictionary of Arts, Sciences, and Miscellaneous Literature. Stone house, no. 41, South Second street, 1798. Page 785
- ↑ A History of Egypt, from the XIXth to the XXXth Dynasties. By Sir William Matthew Flinders Petrie. p336.
- ↑ The Historians' History of the World: Prolegomena; Egypt, Mesopotamia. Edited by Henry Smith Williams. p183.
- ↑ United States Exploring Expedition: Volume 15. By Charles Wilkes, United States. Congress. p53
- ↑ The Bibliotheca Sacra, Volume 45. Dallas Theological Seminary., 1888.
- ↑ Essay on the Hieroglyphic System of M. Champollion, Jun., and on the Advantages which it Offers to Sacred Criticism. By J. G. Honoré Greppo. p128
- ↑ Herodotus 2,152. 2
- ↑ W. Pape, "Wörterbuch der griechischen Eigennamen", 1911
- ↑ Cory, Isaac Preston, บ.ก. (1828), The Ancient Fragments, London: William Pickering, OCLC 1000992106, citing Manetho, the high priest and scribe of Egypt, being by birth a Sebennyte, who wrote his history for Ptolemy Philadelphus (266 BCE – 228 BCE).
- ↑ The history of Egypt By Samuel Sharpe. E. Moxon, 1852. Part 640. p138.
- ↑ Herodotus (4.42) [1]
- ↑ The Popular Handbook of Archaeology and the Bible. Edited by Norman L. Geisler, Joseph M. Holden. p287.
- ↑ Encyclopædia britannica. Edited by Colin MacFarquhar, George Gleig. p785
- ↑ The Holy Bible, According to the Authorized Version (A.D. 1611). Edited by Frederic Charles Cook. p131
- ↑ see Hebrew Bible / Old Testament
- ↑ The temple of Mut in Asher. By Margaret Benson, Janet A. Gourlay, Percy Edward Newberry. p276. (cf. Nekau's chief ambition lay in Asiatic conquest)
- ↑ Egypt Under the Pharaohs: A History Derived Entireley from the Monuments. By Heinrich Brugsch, Brodrick. p444 (cf. Neku then attempted to assert the Egyptian supremacy in Asia.)
- ↑ Donald B. Redford, Egypt, Canaan, and Israel in Ancient Times, (Princeton: Princeton University Press, 1992), p. 447-48.
- ↑ Gozzoli, R. B. (2000), The Statue BM EA 37891 and the Erasure of Necho II's Names Journal of Egyptian Archaeology 86: 67–80