ข้ามไปเนื้อหา

พันธุศาสตร์ของเม็นเดิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Myosotis: Colour and distribution of colours are inherited independently.[1]

พันธุศาสตร์ของเม็นเดิล หรือ พันธุศาสตร์เมนเดเลียน (อังกฤษ: Mendelian inheritance, Mendelian genetics, Mendelism) เป็นชุดของทฤษฎีว่าด้วยการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่งซึ่งเป็นพื้นฐานของวิชาพันธุศาสตร์ในปัจจุบัน มีที่มาจากการศึกษาของเกรกอร์ เม็นเดิล ซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1865 และ 1866 ซึ่งได้รับการค้นพบอีกครั้งใน ค.ศ. 1900 และเป็นที่ถกเถียงอย่างมากในช่วงแรก ต่อมาเมื่อถูกผนวกเข้ากับทฤษฎีทายกรรมโครโมโซม (chromosome theory of inheritance) ของทอมัส ฮันต์ มอร์กัน ใน ค.ศ. 1915 ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของแก่นของวิชาพันธุศาสตร์คลาสสิก

กฎของเม็นเดิล

[แก้]

กฎการแบ่งแยก ("กฎข้อแรก")

[แก้]

กฎการแยกตัวของยีน (Law of segregation of gene) ยีนในสิ่งมีชีวิตจะอยู่เป็นคู่เมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ยีนเหล่านี้จะแยกออกจากกันอย่างอิสระไปสู่เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์

กฎการจัดเรียงอย่างอิสระ ("กฎข้อสอง")

[แก้]

กฎการเข้าชุดกันอย่างเป็นอิสระของยีน (Law of independent assortment) ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์นั้น ยีนบนโครโมโซมซึ่งอยู่ต่างคู่กัน มีความเป็นอิสระที่จะเข้ารวมตัวกันในเซลล์สืบพันธุ์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Write Work: Mendel's Impact
  • Peter J. Bowler (1989). The Mendelian Revolution: The Emergence of Hereditarian Concepts in Modern Science and Society. Baltimore: Johns Hopkins University Press.
  • Atics, Jean. Genetics:The life of DNA. ANDRNA press.