พระแม่มาตังคี
พระแม่มาตังคี | |
---|---|
เทวีแห่งความรู้ ศิลปะ วาทศิลป์ เวทมนตร์ พลังเหนือธรรมชาติ และการควบคุมสัตว์ป่า | |
ส่วนหนึ่งของ หนึ่งกลุ่มคณะเทวีมหาวิทยา | |
จิตรกรรมแบบประเพณีอินเดียแบบเบงกอล ปลายพุทธศตวรรษที่ 24 | |
ชื่ออื่น | ราชมาตังคี,มนตราริณีเทพี |
ชื่อในอักษรเทวนาครี | मातङ्गी |
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต | Mātaṅgī |
ส่วนเกี่ยวข้อง | มหาวิทยา พระแม่สุรัสวดี เทวีในศาสนาฮินดู พระแม่กาลี พระแม่ปารวตี พระเรณุกา |
ที่ประทับ | เทวโลก , ป่าดิบชื้น หรือ ป่าช้า |
อาวุธ | ดาบ, วีณา, หัวกะโหลกที่มีนกแก้วเกาะ, ขวาน, บ่วงบาศ, ต้นอ้อย, อังกุสะ, ทัณฑะ, (คทา) |
คู่ครอง | พระมาตัง (พระศิวะ) หรือ พระพรหม |
พระแม่มาตังคี (สันสกฤต: मातङ्गी) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู พระนางเป็นหนึ่งในคณะเทวีมหาวิทยาทั้งสิบของนิกายตันตระพระนางนั้นเป็นองค์เดียวกับพระสุรัสวดีเทวีแห่งศิลปศาสตร์ ในคติของตันตระ[1]
เทวกำเนิด
[แก้]ครั้งหนึ่งพระแม่ปารวตีได้ทูลขอพระศิวะกลับไปเยี่ยมท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา พระศิวะตกลงแต่พระแม่จะต้องกลับมาภายในเร็ววัน พระศิวะเกิดอาการไขข้องใจจึงได้ออกตามหาพระแม่ปารวตีโดยปลอมเป็นคนขายเครื่องประดับและเมื่อพระศิวะหาพระแม่เจอ พระองค์จึงขอเสพสังวาสกับนาง ในขณะที่พระแม่กำลังจะสาปพ่อค้าคนนี้ พระนางก็รับรู้ได้ว่าเขาคือพระศิวะ นางจึงบอกกับพ่อค้าว่าให้รอช่วงเวลาที่เหมาะสมกว่านี้ ในช่วงเย็นพระแม่ได้จำแลงกายเป็นหญิงจัณฑาลและกลับไปหาพระศิวะ พระนางมีรูปกายเพรียวงาม หน้าอกอวบอิ่ม สวมชุดและเครื่องประดับสีแดง และพระนางก็ร่ายรำต่อหน้าพระศิวะ หลังการยั่วยวนแห่งพระแม่ผู้ทรงเสน่ห์ พระศิวะถามพระมาตังคีว่าเธอเป็นใคร พระแม่ตอบว่า ฉันคือหญิงวรรณะจัณฑาล พระศิวะทราบว่านี่คือพระแม่ปารวตีจึงจำแลงตนเป็นจัณฑาล และพระองค์ทั้ง2ก็ร่วมเสพสังวาสกัน (ค่อนข้างร้อนแรง)
อีกตำนานหนึ่งกล่าวไว้ว่า ฤๅษีทุรวาสเดินทางมายังเขาไกรลาสในขณะที่เหล่าเทพกำลังฉลองเทศกาลโฮลี แต่เขากลับไม่ได้รับความสนใจเพราะทุกคนกำลังสนุกสนานกับการเต้นรําทําให้เขาไม่พอใจและสาป พระศิวะและพระแม่ปารวตีให้ไปอยู่ในที่สันโดษ ทั้งสองพระองค์ตอบรับคําสาปและได้ไปอาศัยอยู่ในป่าช้าในรูปของมาตังและมาตังคี
อีกเรื่องเล่านึงบอกว่า พระแม่มาตังคีเสด็จลงไปในแม่นํ้าคงคาเพื่อปลุกพระแม่เกาศิกีหรืออัมพิกาเพื่อปราบอสูรศุมภะและนิศุมภะ
พระลักษณะ
[แก้]พระแม่มาตังคีมีพระวรกายสีเขียวมรกตเข้มหรือสีดำ มีพระเนตรสามดวง โดยมีพระจันทร์เสี้ยวอยู่ระหว่างคิ้ว บางตำนานบอกว่าพระแม่มาตังคีเกิดจากพระแม่สุรัสวดีและพระแม่กาลีรวมร่างกัน กลายเป็นพระแม่มาตังคี อาวุธที่ถือประกอบด้วย ดาบ บ่วงบาศ วีณา ต้นอ้อย และหัวกะโหลกที่มีนกแก้ว 2 ตัวเกาะอยู่ อาศัยอยู่ตามป่าดิบชื้นหรือป่าช้า ในอินเดียใต้นิยมบูชาแบบมีพระกร8พระกร ถือ ขวาน บ่วงบาศ ดอกบัว นกแก้ว2ตัว ต้นอ้อย และวีณา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kinsley (1997) p. 217
ดูเพิ่ม
[แก้]- มหาวิทยา
- นวทุรคา
- เจ้าพ่อเจ้าแม่ในศาสนาฮินดู
- เทพ/ผีบรรพชนในศาสนาฮินดู
- พระสุรัสวดี
- พระปารวตี
- พระกาลี
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Matangi