ข้ามไปเนื้อหา

พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
ISINUS7427181091 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค
ก่อตั้ง31 ตุลาคม ค.ศ. 1837
ซินซินแนติ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา
ผู้ก่อตั้ง
สำนักงานใหญ่ซินซินแนติ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา
พื้นที่ให้บริการทั่วโล
บุคลากรหลักเดวิด เอส. เทเลอร์ (ประธาน, CEO)
ผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก และ สินค้าเพื่อสุขอนามัยส่วนบุคคล
ตราสินค้าSee list of brands
รายได้เพิ่มขึ้น 70.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2020)[1]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 16.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2020)[1]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 13.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2020)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 120.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2020)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง 46.88 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2020)[1]
พนักงาน
เพิ่มขึ้น 99,000 คน (ค.ศ. 2020)[1]
เว็บไซต์us.pg.com

พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (อังกฤษ: Procter & Gamble; NYSE: PG) หรือ พีแอนด์จี (P&G) เป็นบริษัทข้ามชาติผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคจากสหรัฐอเมริกา[2] มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซินซินแนติ รัฐโอไฮโอ

พีแอนด์จีได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสารฟอร์จูน ติดอันดับห้า จาก "10 บริษัทที่ได้รับการยกย่องสูงสุด" ประจำปี 2011[3] เลื่อนขึ้นจากอันดับหกในปี 2010

บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1837 โดยนายวิลเลียม พรอคเตอร์ ช่างทำเทียนไขชาวอังกฤษ และนายเจมส์ แกมเบิล ช่างทำสบู่ชาวไอร์แลนด์ ชายทั้งคู่อพยพเข้ามาอาศัยที่เมืองซินซินแนติ แต่งงานกับพี่น้องชื่อโอลิเวียร์ และเอลิซาเบท นอริส[4] และได้รับคำแนะนำจากนายอะเล็กซานเดอร์ นอริส ที่เป็นพ่อตาของคนทั้งสองให้ร่วมดำเนินธุรกิจ ก่อตั้งกิจการ พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ขึ้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1837

ในปี 2005 พีแอนด์จีได้ควบรวมกิจการกับยิลเลตต์ และกลายเป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่มียอดขายอันดับหนึ่งของโลก มียอดขายแซงหน้ายูนิลีเวอร์ โดยมียอดขายทั่วโลก 82.6 พันล้านเหรีญสหรัฐ ในปี ค.ศ. 2011[1]

ในปี 2012 พีแอนด์จีได้ถอนตัวออกจากธุรกิจอาหาร ด้วยการขายแบรนด์พริงเกิลส์ ซึ่งเป็นแบรนด์สินค้ามันฝรั่งทอดกรอบ ที่มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วโลก ให้กับเคลลอกส์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารและขนมรายใหญ่ของโลก

พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิลในประเทศไทย

[แก้]

พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล เทรดดิ้ง ในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยในขณะนั้นมีพนักงานเพียง 37 คน ก่อนหน้านั้น ผลิตภัณฑ์ของพีแอนด์จีในประเทศไทยได้รับการดูแลโดยดีทแฮล์ม และบอร์เนียวมาก่อน โดยในช่วงที่ดีทแฮล์มและบอร์เนียวเป็นผู้จำหน่ายสินค้าของพีแอนด์จีในประเทศไทย มีสินค้าที่มีชื่อในสมัยนั้นเช่น สบู่ไอวอรี่ สบู่เซฟการ์ด ยาสีฟันเครสท์ ผงซักฟอกไทด์ เป็นต้น ต่อมาพีแอนด์จีได้เข้าซื้อกิจการของริชาร์ดสัน-วิคส์ทั่วโลกในปี พ.ศ. 2528 ก่อนที่จะมาเปิดกิจการในประเทศไทยในอีก 2 ปีต่อมา สินค้าในยุคที่พีแอนด์จีมาดำเนินการเอง สินค้าแรกคือ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ออย ออฟ อูลาน (หรือโอเลย์ ในปัจจุบัน) ยารักษาสิวเคลียราซิล ยาอมแก้ไอวิคส์ และผ้าอ้อมเด็กแพมเพอร์ส ซึ่งเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ และเคยอยู่ภายใต้การดูแลของริชาร์ดสัน-วิคส์ หลังจากนั้นพีแอนด์จีก็ได้มีสินค้าที่มีชื่อเสียงออกมาอีก ซึ่งเป็นสินค้าที่มีผลิตในประเทศไทย เช่น แชมพูรีจอยส์,แพนทีน,เฮดแอนด์โชว์เดอร์ส ผ้าอนามัยวิสเปอร์ เป็นต้น ต่อมาพีแอนด์จีได้เข้าซื้อกิจการของแคล์รอล ยิลเลตต์ เวลล่าและผลิตภัณฑ์ผงซักฟอกและถนอมผ้าของคอลเกต-ปาล์มโอลีฟ ในประเทศไทย มาเลเซีย ฮ่องกง บรูไน พม่า ลาว และกัมพูชา ทำให้พีแอนด์จีได้สินค้ามาทำตลาดเพิ่มในประเทศไทย หลังจากเข้าซื้อกิจการเหล่านี้ นอกจากสินค้าของพีแอนด์จีเอง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "Annual Report 2020 (Form 10-K)" (PDF). Procter & Gamble. U.S. Securities and Exchange Commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-22. สืบค้นเมื่อ October 21, 2020.
  2. "Procter & Gamble board meets amid CEO reports[ลิงก์เสีย]." Associated Press at Boston Herald. Tuesday June 9, 2009. Retrieved on November 17, 2009.
  3. "10 บริษัทที่ได้รับการยกย่องสูงสุดจากนิตยสาร Fortune". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-19. สืบค้นเมื่อ 2011-12-16.
  4. Dyer, Davis (2004). Rising Tide: Lessons from 165 Years of Brand Building at Procter & Gamble. Harvard Business School Press. ISBN 1591391474. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]