ข้ามไปเนื้อหา

พรตนิยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา ที่ประดิษฐานที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

พรตนิยม[1] (อังกฤษ: asceticism) เป็นการดำเนินชีวิตรูปแบบหนึ่งที่ละเว้นกายิกสุขอันเกิดจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ มักกระทำเพื่อเป้าหมายทางศาสนา ผู้บำเพ็ญพรตอาจหลีกหนีออกจากสังคมที่วุ่นวายเพื่อฝึกตนหรืออาจยังคงอยู่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม แต่โดยทั่วไปจะดำรงชีวิตแบบประหยัดโดยการละทิ้งทรัพย์สมบัติของตนและละทิ้งความสุขทางกาย และใช้เวลาทั้งหมดไปกับการบำเพ็ญเพียรหรือฝึกตนตามหลักศาสนาหรือความเชื่อ[2]

หลายศาสนามีการบำเพ็ญพรต เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาเชน ศาสนาฮินดู ศาสนาคริสต์ และศาสนายูดาห์ ส่วนศาสนาอิสลามกระแสหลักในปัจจุบันมีการอดอาหารในช่วงรอมฎอนเป็นหนึ่งในหลักการอิสลาม ถือเป็นการบำเพ็ญพรตรูปแบบหนึ่งที่ปฏิบัติอยู่ทั่วไป ในขณะที่ลัทธิศูฟีมีการปฏิบัติบำเพ็ญพรตอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด[3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภาพจนานุกรมศัพท์ปรัชญา ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ ๕, กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2560. 320 หน้า. หน้า 23. ISBN 978-616-389-061-0
  2. Richard Finn (2009). Asceticism in the Graeco-Roman World. Cambridge University Press. pp. 94–97. ISBN 978-1-139-48066-6.
  3. Spencer C. Tucker (2010). The Encyclopedia of Middle East Wars. ABC-CLIO. p. 1176. ISBN 978-1-85109-948-1.
  4. Eric O. Hanson (2006). Religion and Politics in the International System Today. Cambridge University Press. pp. 102–103. ISBN 978-0-521-61781-9.