ปืนของเชคอฟ
หน้าตา
ปืนของเชคอฟ (อังกฤษ: Chekhov's gun, รัสเซีย: Чеховское ружьё) คือทฤษฎีการละครหนึ่งที่กล่าวว่า ทุกองค์ประกอบในเรื่องเล่าจะถูกกล่าวถึงเฉพาะเมื่อจำเป็น ไม่สามารถทดแทนได้ และสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องถูกกำจัดออกไป[1][2][3]
กำจัดทุกสิ่งที่ไม่สำคัญกับเรื่องออกไป ถ้าในบทแรกมีปืนไรเฟิลแขวนอยู่บนผนัง ในบทที่สองหรือสามต้องมีการลั่นไก ถ้าไม่มีการลั่นไก มันก็ไม่ควรจะแขวนไว้อยู่แต่แรก
คำกล่าวอื่น ๆ เกี่ยวกับทฤษฎี เช่น
- "เราต้องไม่วางปืนไรเฟิลพร้อมกระสุนบนเวที ถ้าจะไม่มีการลั่นไกขึ้น ถือได้ว่าเป็นความผิดของเราในการไม่รักษาสัญญา" เชคอฟ, จดหมายถึงอะเลคซันดร์ เซเมโนวิช ลาซาเรฟ (นามแฝงของ เอ.เอส. กรูซินสกี) วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432[5][6][7] ในที่นี้ "ปืน" หมายถึงบทพูดเดี่ยวที่เชคอฟมองว่าฟุ่มเฟือยและไม่สัมพันธ์กับส่วนที่เหลือของละคร
- "ถ้าในองก์แรกมีปืนพกแขวนอยู่บนผนัง องก์ต่อมาต้องมีการลั่นไก ไม่อย่างนั้นก็ไม่ต้องแขวนมันไว้แต่แรก" จากบทความของเกอร์เลียน Reminiscences of A. P. Chekhov ใน Teatr i iskusstvo พ.ศ. 2447 (ฉบับที่ 28, 11 กรกฎาคม, หน้า 521)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Petr Mikhailovich Bitsilli (1983), Chekhov's art, a stylistic analysis, Ardis, p. x, ISBN 0882334891, OCLC 9197554
- ↑ Daniel Stephen Burt (2008), The Literature 100: A Ranking of the Most Influential Novelists, Playwrights, and Poets of All Time, Infobase Publishing, pp. 137–139, ISBN 1438127065
- ↑ 3.0 3.1 Valentine Tschebotarioff Bill (1987), Chekhov: The Silent Voice of Freedom, Philosophical Library, ISBN 0802225144, OCLC 242149050
- ↑ Sergei Ivanovich Shchukin, Memoirs (1911)
- ↑ Anton Chekov entry at The Isaiah Berlin Virtual Library
- ↑ Чехов А. П. (1 November 1889), Чехов — Лазареву (Грузинскому) А. С., Чехов А. П. Полное собрание сочинений и писем, АН СССР. Ин-т мировой лит.
- ↑ Leah Goldberg (1976), Russian Literature in the Nineteenth Century: Essays, Magnes Press, Hebrew University, p. 163, ISBN 9652235784, OCLC 2783423
- ↑ In 1889, 24-year-old Ilia Gurliand noted these words down from Chekhov's conversation: "If in Act I you have a pistol hanging on the wall, then it must fire in the last act". Donald Rayfield, Anton Chekhov: A Life, New York: Henry Holt and Company, 1997, ISBN 0-8050-5747-1, p. 203
Ernest. J. Simmons says that Chekhov repeated the point later (which may account for the variations). Ernest J. Simmons, Chekhov: A Biography, Chicago: University of Chicago Press, 1962, ISBN 0-226-75805-2, p. 190