ข้ามไปเนื้อหา

ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย
กำกับฮายาโอะ มิยาซากิ
บทภาพยนตร์ฮายาโอะ มิยาซากิ
อำนวยการสร้างโทะชิโอะ ซุซุกิ
กำกับภาพอัตสึจิ โอกูอิ
ดนตรีประกอบโจ ฮิไซชิ
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายโทโฮ (ญี่ปุ่น)
วันฉายญี่ปุ่น 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ไทย 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ความยาว126 นาที
ประเทศ ญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่น
ทำเงินญี่ปุ่น: 12,020 ล้านเยน[1]
ไทย: 2.3 ล้านบาท [2]
เนื้อเรื่องอิงชีวประวัติของ ดร. จิโร โฮะริโกะชิ

ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก (อังกฤษ: The Wind Rises, ญี่ปุ่น: 風立ちぬโรมาจิคาเซะ ทาชินุ) เป็นภาพยนตร์อนิเมะปี พ.ศ. 2556 แนวดราม่าและอิงประวัติศาสตร์ กำกับโดยฮายาโอะ มิยาซากิ ผู้กำกับอนิเมะระดับตำนานของญี่ปุ่น เนื่อเรื่องของอนิเมะอิงชีวประวัติของ ดร. จิโร โฮะริโกะชิ วิศวกรผู้ออกแบบเครื่องบินของบริษัท เครื่องยนต์สันดาปภายในมิตซูบิชิ ประจำโรงงานสาขานาโงยะ

ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดของญี่ปุ่นประจำปี พ.ศ. 2556 ซึ่งในญี่ปุ่นสามารถทำรายได้กว่าหนึ่งหมื่นสองพันล้านเยน (3,840 ล้านบาท) และเข้าฉายในประเทศไทย เมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในโรงภาพยนตร์พื้นที่กรุงเทพมหานครและเชียงใหม่

ชื่อภาษาอังกฤษ The Wind Rises นั้น มาจากวลีแฝงปรัชญาของ พอล วาเลรี ที่ว่า "The wind is rising! We must try to live!" (ลมพัดแรงกล้า เราจึงอยู่ท้าแรงลม!), (เพราะมีสายลม! เราจึงต้องอยู่ต้านลม!)""

เนื้อเรื่อง

[แก้]

ในห้วงเวลาที่จักรวรรดิญี่ปุ่น กำลังเร่งพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของชาติ ตลอดจนแสนยานุภาพทางทหารให้ทัดเทียมชาติมหาอำนาจตะวันตก ในปี 1918 จิโร เด็กหนุ่มที่อาศัยในต่างจังหวัดคนหนึ่งได้ใฝ่ฝันที่จะเป็นนักบิน แต่ฝันนั้นไม่อาจเป็นจริงได้ด้วยปัญหาด้านสายตาของเขา ภายหลังจากได้อ่านนิตยสารการบิน ทำให้เขาได้รู้จักนักออกแบบเครื่องบินชาวอิตาลีที่โด่งดัง คือ เคานต์ คาร์โปนี ผู้ซึ่งบอกเขาว่า ถึงแม้ไม่สามารถขับเครื่องบินได้ แต่ก็สามารถออกแบบเครื่องบินได้ การออกแบบเครื่องบินนั้นยอดเยี่ยมกว่าการขับเครื่องบินเสียอีก

ห้าปีต่อมา จิโร ได้เดินทางไปยังโตเกียวโดยรถไฟเพื่อมาฝึกฝนด้านวิศวกรรมการบิน บนรถไฟเขาได้พบกับเด็กสาวนามว่า นาโอโกะ ที่กำลังเดินทางพร้อมกับสาวใช้ เมื่อรถไฟใกล้ถึงโตเกียว ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขึ้น ทำให้รถไฟต้องหยุดขบวนและผู้โดยสารและผู้คนต่างเอาชีวิตรอดอย่างอลหม่าน เนื่องจากในเมืองมีไฟไหม้จำนวนมากตามมา ห้วงเวลาแห่งความอลหม่านนั้น สาวใช้ของนาโอโกะได้ได้รับบาดเจ็บที่ขาจนไม่สามารถเดินได้ จิโรจึงได้เข้าไปช่วยเหลือและทำแผล และให้นาโอโกะพาไปที่บ้านเพื่อไปเรียกคนมาช่วย โดยที่เขาไม่ได้บอกกล่าวชื่อใดๆไว้

จิโรเมื่อแรกทำงานที่โรงงานเครื่องบินมิตซูบิชิ

ไม่นานหลังจากนั้น จิโรได้เข้าทำงานที่โรงงานอากาศยานของ บริษัท มิตซูบิชิเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยอยู่ในทีมวิศวกรเครื่องบินรบ โครงการ พอสเตอร์ จนเครื่องบินต้นแบบได้สำเร็จ ในวันทดสอบบิน เครื่องบินเกิดปัญหาและตกสู่พื้นดินจนเสียหายทั้งหมด โครงการพอสเตอร์จึงต้องยุติลง ทางบริษัท จึงส่งจิโร ไปเยอรมนีพร้อมกับคณะเพื่อดูงานที่บริษัท จุงส์เกอร์ เนื่องจากอุตสหกรรมการบินของเยอรมันในขณะนั้นถือเป็นแนวหน้าของโลก โดยสามารถผลิตเครื่องบินขนาดใหญ่ที่ทำจากโลหะได้แล้ว กองทัพญี่ปุ่นจึงตื่นตัวเพื่อต้องการให้ญี่ปุ่นมีเครื่องบินโลหะเป็นของตัวเองเช่นกัน

ในปี 1932 ห้าปีหลังจากเข้าทำงาน จิโรได้รับตำแหน่งหัวหน้าทีมวิศวกรออกแบบเครื่องบินรบที่จะประจำการในกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น เครื่องบินต้นแบบลำแรกของจิโร คือ 1MF10 นั้น เป็นที่น่าผิดหวังและล้มเลิกโครงการ จิโรถือโอกาสไปพักผ่อนและคิดไอเดียที่รีสอร์ทแห่งหนึ่ง ที่นั้น เขาได้พบกับนาโอโกะซึ่งคุณพ่อของเธอเป็นเจ้าของ และที่นั่น จิโร ได้พบกับชาวเยอรมันที่เป็นแขกในโรงแรม ชายคนนั้นได้บอกถึงสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงในเยอรมนีที่ปกครองโดยพรรคนาซี ปัญหาเกิดขึ้นกับ ดร. จุงส์เกอร์ และผลลัพธ์ของสงครามที่กำลังอุบัติขึ้น จิโรเริ่มมีใจกับนาโอกะ จนในที่สุด ทั้งสองตกลงคบกัน และจิโร่ได้ไอเดียในการสร้างเครื่องบินใหม่ของเขา

เมื่อกลับมาที่โรงงานได้ไม่นาน มีเจ้าหน้าหน่วยสืบสวนอาชญากรของทางการมาตามจับกุมตัวจิโรด้วยเหตุผลที่ไม่อาจทราบได้ จิโรในฐานะหัวหน้าทีมวิศวกรต้องทำงานอย่างหลบซ่อนและย้ายไปอาศัยอยู่ที่บ้านของรองหัวหน้าโรงงาน ขณะเดียวกัน อาการวัณโรคของนาโอกะก็ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ จนเธอต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลวัณโรค...

ตัวละครหลัก

[แก้]
  • จิโร โฮะริโกะชิ - วิศวกรออกแบบเครื่องบิน
  • นาโอโกะ ซาโตมิ - คนรักของจิโร
  • จีโอวานนี คาโปรนี - ผู้ออกแบบเครื่องบินผู้เป็นต้นแบบของจิโร
  • คิโร ฮนโจ - เพื่อนร่วมงานของจิโร
  • คุโรกาว่า - รองหัวหน้าโรงงาน
  • ฮันส์ คาสทอร์ป - ชาวเยอรมันที่รีสอร์ท
  • ฮัตโตริ - หัวหน้าโรงงาน

เพลง

[แก้]

เพลงภาพกอบภาพยนตร์อนิเมะ ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก ได้รับการประพันธ์โดย โจ ฮิไซชิ

อัลบัมเพลงประกอบภาพยนตร์

[แก้]
The Wind Rises
Soundtrack
風立ちぬ サウンドトラック
หน้าปกอัลบั้มสากล
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย

โจ ฮิไซชิ
ยุมิ มะสึโอะกะ
วางตลาด13 กรกฎาคม 2556
ความยาว53:03
ค่ายเพลงTokuma Japan Communications
ลำดับ ชื่อเพลง ชื่อญี่ปุ่น ยาว
1 Journey (Dreamy Flight) 旅路(夢中飛行) 2:55
2 Shooting Star 流れ星 1:37
3 Caproni (Engineer's Dream) カプローニ(設計家の夢) 1:45
4 Journey (Determination) 旅路(決意) 1:12
5 Naoko (Meeting) 菜穂子(出会い) 0:48
6 Evacuation 避難 1:20
7 Benefactor 恩人 1:25
8 Caproni (Illusory Giant Machine) カプローニ(幻の巨大機) 0:47
9 Excitement ときめき 1:43
10 Journey (Sister) 旅路(妹) 0:40
11 Journey (First Day of Work) 旅路(初出社) 1:43
12 Squad Falcon 隼班< 1:34
13 Falcon 1:22
14 Junkers ユンカース 1:28
15 Journey (Wind of Italia) 旅路(イタリアの風) 1:45
16 Journey (Caproni's Retirement) 旅路(カプローニの引退) 1:20
17 Journey (Meeting at Karuizawa) 旅路(軽井沢の出会い) 1:45
18 Naoko (Fate) 菜穂子(運命) 0:46
19 Naoko (Rainbow) 菜穂子(虹) 1:09
20 Castorp (The Magic Mountain) カストルプ(魔の山) 1:10
21 Wind 0:52
22 Paper Airplane 紙飛行機 2:38
23 Naoko (Propose) 菜穂子(プロポーズ) 1:10
24 Surveillant Prototype 8 八試特偵 0:58
25 Castorp (Farewell) カストルプ(別れ) 1:49
26 Naoko (Yearning) 菜穂子(会いたくて) 3:06
27 Naoko (Crossing Paths) 菜穂子(めぐりあい) 3:04
28 Journey (Marriage) 旅路(結婚) 1:57
29 Naoko (Gaze) 菜穂子(眼差し) 1:04
30 Journey (Farewell)] 旅路(別れ) 1:18
31 Journey (Dreamland) 旅路(夢の王国) 3:36
32 Vapor Trail ひこうき雲 3:23

ผลตอบรับ

[แก้]

การตอบรับจากนักวิจารณ์

[แก้]

ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก ได้รับการวิจารณ์จากนักวิจารณ์ภาพยนตร์ของ Rotten Tomatoes กว่า 139 คน โดยกว่า 88% ตัดสินเป็นบวกและให้เรตติ้ง "รับรองคุณภาพ" (Certified Fresh) และยังมีฉันทามติแก่ภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า "เหมาะสมที่สุดที่จะเป็นผลงานสุดท้ายของผู้กำกับ ฮายาโอะ มิยาซากิ"[3] ได้รับการจัดอันดับดัชนีความนิยม IMDb 8/10 จากผู้ชมกว่าหมื่นคน และได้คะแนนเฉลี่ยในเว็บไซต์ Metacritic ที่ 83/100 จากผู้ให้การวิจารณ์ 41 คน

การวิพากษ์วิจารณ์ในญี่ปุ่น

[แก้]

แม้ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนี้จะสามารถทำรายได้ได้ดีในญี่ปุ่น และได้รับรางวัลด้านภาพยนตร์ในเวทีระดับชาติ ด้วยเนื้อหาที่แม้จะเชิดชูวิศวกรนักประดิษฐ์ผู้มีพรสวรรค์และมีความรักในการออกแบบเครื่องบิน ซึ่งสุดท้ายถูกนำไปใช้ในสงคราม แต่ลักษณะการนำเสนอที่ปรากฏในภาพยนตร์แสดงออกมาในท่าทีที่ว่าตัวเอกซึ่งเป็นวิศวกรซึ่งมีความปรารถนาเพียงการสร้างเครื่องบินที่ดีที่สุด ได้ถูกทุนนิยมและสงครามกดดันให้ต้องสร้างเครื่องบินเพื่อเป็นอาวุธสงคราม ทำให้ถูกกลุ่มอนุรักษนิยมบางกลุ่มในญี่ปุ่นวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการทรยศต่อชาติ และบิดเบือนประวัติศาสตร์[4]

ริวซุเกะ ฮิกะวะ นักวิจารณ์ยังมองว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นสาส์นของผู้สร้างภาพยนตร์ที่ต้องการเตือนสติกระแสชาตินิยมในญี่ปุ่น โดยวิเคราะห์ว่าเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งใหญ่ในภาพยนตร์ซึ่งก็คือเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในภาคคันโตเมื่อปี 1923 มีความคล้ายคลึงกับเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิเมื่อเดือนมีนาคม 2011 ซึ่งภัยพิบัติทั้ง 2 ครั้งนำไปสู่การตกต่ำทางเศรษฐกิจ และเปิดทางให้กระแสชาตินิยมกลายเป็นเครื่องมือชักจูงมวลชน[5][6]

รางวัลและการเช้าชิง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "2014年記者発表資料(2013年度統計)" (PDF). 日本映画製作者連盟. 2013-01-28. สืบค้นเมื่อ 2013-01-28.
  2. Thailand Box Office July 17–20, 2014 Box Office Mojo
  3. "The Wind Rises". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ January 13, 2013.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-14. สืบค้นเมื่อ July 5, 2014.
  5. http://news.thaipbs.or.th/content/wind-rises-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B4. สืบค้นเมื่อ July 5, 2014. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)[ลิงก์เสีย]
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-28. สืบค้นเมื่อ July 5, 2014.
  7. Stone, Sasha (ธันวาคม 15, 2013). "12 Years a Slave wins Pic, Cuaron Director for Houston Film Critics". Awards Daily. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 15, 2013.
  8. Stone, Sasha (ธันวาคม 13, 2013). "San Francisco Film Critics Nominations". Awards Daily. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 13, 2013.
  9. Tapley, Kristopher (ธันวาคม 16, 2013). "2013 Southeastern Film Critics Association winners". HitFix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-29. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 16, 2013.
  10. Lacey, Liam (ธันวาคม 17, 2013). "Toronto film critics name Coen brothers movie the best of 2013". The Globe and Mail. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 17, 2013.
  11. Szklarski, Cassandra (ธันวาคม 17, 2013). "Toronto critics pick Inside Llewyn Davis". Metron News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-12. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 17, 2013.
  12. "2013 EDA Award Nominess". Alliance of Women Film Journalists. ธันวาคม 11, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-12. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 11, 2013.
  13. "Indiana Film Journalists Association Award Winners". The Hollywood News. ธันวาคม 19, 2013. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 19, 2013.
  14. Adams, Ryan (ธันวาคม 20, 2013). "Utah Film Critics ###". Awards Daily. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 20, 2013.
  15. "2013 Georgia Film Critics Association Nominations". HitFix. ธันวาคม 6, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-23. สืบค้นเมื่อ มกราคม 6, 2013.
  16. Adams, Ryan (มกราคม 10, 2013). "12 Years a Slave wows Iowa Critics". Awards Daily. สืบค้นเมื่อ มกราคม 10, 2013.
  17. "IGN: ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม". IGN. สืบค้นเมื่อ มกราคม 9, 2013.
  18. Davis, Clayton. "2014 Golden Globe Nominations Announcement". AwardsCircuit.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-12. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2013.
  19. Lee, Kim. "Miyazaki "The Wind Rises" Nominated For "Best Foreign Language Film" Golden Globe". 247AsianMedia.com. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2013.
  20. "Denver Film Critics Society Nominations". Awards Daily. ธันวาคม 6, 2013. สืบค้นเมื่อ มกราคม 6, 2014.
  21. Adams, Ryan (มกราคม 13, 2014). "Denver Film Critics Society Award Winners". Awards Daily. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2014.
  22. "American Hustle, 12 Years A Slave Lead BFCA's Critics Choice Movie Awards Nominations". Deadline.com. ธันวาคม 17, 2013. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 17, 2013.
  23. Jagernauth, Kevin (ธันวาคม 2, 2013). "'Frozen' & 'Monsters University' Dominate Annie Awards Nominations With 10 Each". Indiewire. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2, 2013.
  24. Derks, David (ธันวาคม 2, 2013). "41st #AnnieAwards Nominations Announced". ASIFA-Hollywood. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2, 2013.
  25. "Hayao Miyazaki Wins Annie Award for Writing The Wind Rises". Anime News Network. 2 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2014.
  26. Joey Magidson (มกราคม 13, 2014). "International cinephile society nominations". Awardscircuit. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-27. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 23, 2014.
  27. Staff (มกราคม 16, 2014). "2013 Academy Awards Nominations and Winners by Category". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2014.
  28. Loo, Egan. "The Wind Rises, Madoka, Lupin vs. Conan, Harlock, Kaguya Earn Japan Academy Prize Nods". Anime News Network. Christopher Macdonald. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2014.
  29. Seto, Shintaro. "日本アカデミー賞にスタジオジブリ2作品、ハーロック、まどかマギカ、ルパンvsコナンの5本". AnimeAnime.jp. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]