ประเทศโปแลนด์
สาธารณรัฐโปแลนด์ Rzeczpospolita Polska (โปแลนด์) | |
---|---|
ที่ตั้งของ ประเทศโปแลนด์ (เขียวเข้ม) – ในยุโรป (เขียว & เทาเข้ม) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | วอร์ซอ 52°13′N 21°02′E / 52.217°N 21.033°E |
ภาษาราชการ | โปแลนด์[1] |
กลุ่มชาติพันธุ์ | |
ศาสนา (พ.ศ. 2562[4]) |
|
เดมะนิม | |
การปกครอง | สาธารณรัฐแบบรัฐสภา (โดยนิตินัย)[5] |
อันด์แชย์ ดูดา | |
ดอนัลต์ ตุสก์ | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
• สภาสูง | วุฒิสภา |
• สภาล่าง | เซย์ม |
ก่อตั้ง | |
14 เมษายน ค.ศ. 966 | |
18 เมษายน ค.ศ. 1025 | |
1 กรกฎาคม ค.ศ. 1569 | |
24 ตุลาคม ค.ศ. 1795 | |
11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 | |
17 กันยายน ค.ศ. 1939 | |
19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 | |
31 ธันวาคม ค.ศ. 1989[7] | |
พื้นที่ | |
• รวม | 312,696[8] ตารางกิโลเมตร (120,733 ตารางไมล์)[c] (อันดับที่ 69) |
1.48 (ณ ปี 2558)[10] | |
ประชากร | |
• 2563 ประมาณ | 38,268,000[11] (อันดับที่ 38) |
123 ต่อตารางกิโลเมตร (318.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 83) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2564 (ประมาณ) |
• รวม | 1.363 ล้านล้านดอลลาร์[12] (อันดับที่ 19) |
• ต่อหัว | 35,957 ดอลลาร์[12] (อันดับที่ 39) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2564 (ประมาณ) |
• รวม | 642 พันล้านดอลลาร์[12] (อันดับที่ 22) |
• ต่อหัว | 16,930 ดอลลาร์[12] (อันดับที่ 44) |
จีนี (2562) | 28.5[13] ต่ำ |
เอชดีไอ (2562) | 0.880[14] สูงมาก · อันดับที่ 35 |
สกุลเงิน | ซวอตือ (PLN) |
เขตเวลา | UTC+1 (เวลายุโรปกลาง) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง) |
รูปแบบวันที่ | dd/mm/yyyy (ค.ศ.) |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +48 |
โดเมนบนสุด | .pl |
เว็บไซต์ poland.pl |
โปแลนด์[d] มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐโปแลนด์[e] เป็นประเทศในตอนกลางของยุโรป[15] แบ่งออกเป็น 16 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่กว่า 312,696 ตารางกิโลเมตร (120,733 ตารางไมล์) และมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นตามฤดูกาลเป็นส่วนใหญ่[9] โปแลนด์มีประชากรเกือบ 38.5 ล้านคน และเป็นรัฐสมาชิกที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของสหภาพยุโรป[9] โดยมีวอร์ซอ เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยมีเมืองใหญ่อื่น ๆ ได้แก่ กรากุฟ, วุช, วรอตสวัฟ, ปอซนัญ, กดัญสก์ และชแชชิน
ดินแดนที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ของโปแลนด์นั้น ครอบคลุมตั้งแต่ชายฝั่งตามแนวทะเลบอลติกทางตอนเหนือของประเทศ ไปจนถึงเทือกเขาชูแดแรสและคาร์เพเทียนทางตอนใต้ โปแลนด์มีพรมแดนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับลิทัวเนียและรัสเซีย (ผ่านทางแคว้นคาลินินกราด) ทิศตะวันออกติดกับเบลารุสและยูเครน ทิศใต้ติดกับสโลวาเกียและเช็กเกีย และทิศตะวันตกติดกับเยอรมนี[16]
ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่มีชีวิตชีวาบนผืนดินของโปแลนด์ มีระยะเวลาอยู่เป็นหลายพันปี ตลอดยุคโบราณตอนปลายมีความหลากหลายอย่างกว้างขว้าง โดยมีวัฒนธรรมและชนเผ่าต่าง ๆ ได้ตั้งรกรากอยู่บนที่ราบในยุโรปกลางอันกว้างใหญ่ อย่างไรก็ตาม ชาวโปลันด์ตะวันตกเป็นผู้ที่ครอบครองภูมิภาคแห่งนี้ และก็ได้ตั้งชื่อให้กับภูมิภาคนี้ว่าโปแลนด์ การสถาปนารัฐโปแลนด์นั้นสามารถย้อนรอยไปถึง ค.ศ. 966 เมื่อมีผู้ปกครองนอกรีตแห่งราชอาณาจักรที่อยู่ร่วมกับดินแดนของประเทศโปแลนด์ในปัจจุบัน ได้ยอมรับศาสนาคริสต์ และได้เปลี่ยนมานับถือคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก[17] ราชอาณาจักรโปแลนด์ถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1025 และใน ค.ศ. 1569 ก็ได้ประสานความสัมพันธ์ทางการเมืองที่มีมายาวนานกับลิทัวเนีย โดยการลงนามในสหภาพลูบลิน สหภาพนี้ได้ก่อตั้งเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุด (มีพื้นที่มากกว่า หนึ่ง ล้าน ตารางกิโลเมตร หรือ 400,000 ตารางไมล์) และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในยุโรป ภายในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 17 โดยมีระบบการเมืองเป็นแบบเสรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งได้รับเอารัฐธรรมนูญสมัยใหม่ เป็นฉบับแรกของยุโรปมาใช้ นั่นคือ รัฐธรรมนูญวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791[18][19][20]
หลังผ่านพ้นความโดดเด่นและความรุ่งเรืองแล้วนั้น เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนียก็ถูกแบ่งดินแดนโดยประเทศเพื่อนบ้านของเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย เมื่อช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และได้รับเอกราชอีกครั้งใน ค.ศ. 1918 ด้วยสนธิสัญญาแวร์ซาย หลังจากความขัดแย้งทางด้านดินแดนอยู่หลายครั้ง โปแลนด์ซึ่งเป็นรัฐหลายชนชาตินั้น ได้รับการฟื้นฟูสถานะเป็นผู้เล่นหลักในการเมืองของยุโรป ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้นด้วยการรุกรานโปแลนด์โดยนาซีเยอรมนี ตามมาด้วยสหภาพโซเวียตที่รุกรานโปแลนด์ตามกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ พลเมืองชาวโปแลนด์ประมาณ 6 ล้านคน รวมถึงชาวยิวในประเทศจำนวน 3 ล้านคน เสียชีวิตลงตลอดช่วงระหว่างสงคราม[21][22] ในฐานะที่เป็นรัฐสมาชิกของกลุ่มตะวันออก สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ได้ประกาศโดยทันทีว่า ประเทศของตนเป็นหัวหน้าในการลงนามสนธิสัญญาวอร์ซอ ท่ามกลางความตึงเครียดในสงครามเย็น ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ภายหลังเหตุการณ์ใน ค.ศ. 1989 โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเกิดขึ้นและการมีส่วนร่วมของขบวนการโซลิดาริตี รัฐบาลคอมมิวนิสต์ถูกยุบ และโปแลนด์ก็ได้สถาปนาตนเองขึ้นมาใหม่ ในฐานะสาธารณรัฐประชาธิปไตย
โปแลนด์ถือเป็นตลาดที่พัฒนาแล้ว[23] และเป็นประเทศอำนาจปานกลาง โดยเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของสหภาพยุโรป ตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (อำนาจตลาด) และใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ[24] โปแลนด์ให้มาตรฐานการครองชีพ ความปลอดภัย และเสรีภาพทางเศรษฐกิจที่สูงมาก[25][26][27] เช่นเดียวกับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ที่ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน และระบบหลักประกันสุขภาพแบบถ้วนหน้า[28][29] ประเทศนี้มีแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกอยู่ 17 แห่ง โดย 15 แห่งเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม[30] โปแลนด์เป็นรัฐสมาชิกของเขตเชงเกน, สหภาพยุโรป, เขตเศรษฐกิจยุโรป, สหประชาชาติ, เนโท, องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และกลุ่มวิแชกราด
นิรุกติศาสตร์
[แก้]ชื่อของประเทศโปแลนด์ในภาษาแม่ว่า Polska นั้น มีมาจากชนเผ่าเลติชของชาวโปลันด์ตะวันตก ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำวาร์ตา ซึ่งในปัจจุบันคือภูมิภาควีแยลกอปอลสกา โดยเริ่มมาตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 6[31] ชื่อของชนเผ่านี้มีต้นกำเนิดมาจากภาษาโปรโต-อินโด-ยุโรป คำว่า *pleh₂- (ที่ราบ) และภาษาโปรโต-สลาวิก คำว่า pole (ทุ่งกว้าง)[31][32] ในทางนิรุกติศาสตร์นั้นได้มีการพลิกแพลงคำจากภูมิลักษณ์ของภูมิภาคและภูมิประเทศอันราบเรียบของวีแยลกอปอลสกา[33] ชื่อประเทศโปแลนด์ในภาษาอังกฤษนั้น (Poland) ถูกประดิษฐ์คำขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ 1560 โดยมาจากภาษาเยอรมันกลาง-สูง คำว่า Pole(n) และได้เติมคำหลังต่อท้ายว่า land ที่มีความหมายว่า ผู้คนหรือประเทศชาติ[34][35] ก่อนที่จะถูกเอามาใช้ ส่วนชื่อประเทศโปแลนด์ในภาษาละติน (Polonia) ก็ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ทั่วยุโรปภายในยุคกลาง[36]
ประวัติศาสตร์
[แก้]โปแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ในการรบวอร์ซอ โปแลนด์ต้องสู้กับสหภาพโซเวียตที่มีทหารมากกว่าถึงห้าเท่า แต่ทหารโปแลนด์ที่รักชาติก็สามารถขับไล่รัสเซียออกไปได้ ต่อมาโปแลนด์เกิดความขัดแย้งภายในประเทศ นาซีเยอรมนีได้เรียกร้องผนวกท่าเรือเสรีดานซิกแต่โปแลนด์ปฏิเสธ นาซีเยอรมนีกับสหภาพโซเวียตได้ทำสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพและร่วมมือกันเข้ายึดครองโปแลนด์ ในปี พ.ศ. 2482 โดยเยอรมนีจะเข้ายึดด้านตะวันตก ส่วนสหภาพโซเวียตจะเข้ายึดด้านตะวันออก แต่รัฐบาลของโปแลนด์ได้หลบลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษและจัดตั้งเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นทำการต่อสู้กับนาซีเยอรมนีต่อไป
ในระหว่างอยู่ภายใต้การครอบครองของนาซีเยอรมัน นาซีได้ทำการกวาดต้อนชาวยิวในโปแลนด์หลายล้านคนไปยังค่ายกักกัน โดยเฉพาะค่ายกักกันเอาชวิตซ์ และทำการสังหารหมู่อย่างโหดและทารุณ ต่อมาในปี 1945 กองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียตได้เข้ายึดครองโปแลนด์และได้ให้ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ หลังสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเย็น ประเทศโปแลนด์ได้เป็นหนึ่งในสมาชิกของประเทศในยุโรปตะวันออกที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์
ภูมิศาสตร์
[แก้]ที่ตั้ง ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป มีพรมแดนติด 7 ประเทศ ได้แก่ ทิศเหนือจรดรัสเซีย (แคว้นคาลีนินกราด) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกจรดลิทัวเนีย เบลารุส และยูเครน ทิศใต้จรดสโลวาเกียและสาธารณรัฐเช็ก ทิศตะวันตกจรดเยอรมนี และทิศเหนือจรดทะเลบอลติก
ภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ราบเกือบทั้งประเทศ นอกจากบริเวณชายแดนทางใต้เป็นทิวเขาตาตรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาคาร์เพเทียและภูเขาซูดีทีส ซึ่งมียอดเขาสูงที่สุดคือยอด Rysy สูงจากระดับน้ำทะเล 8,200 ฟุต เป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างโปแลนด์กับสโลวาเกีย โปแลนด์มีแม่น้ำสายสำคัญคือ แม่น้ำโอเดอร์ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ และแม่น้ำวิสตูลาที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศ
การเมือง
[แก้]บริหาร
[แก้]โปแลนด์เป็นประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ[37][38] โครงสร้างของรัฐบาลนั้น มีศูนย์กลางอยู่ที่คณะรัฐมนตรี ที่นำโดยนายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีจะแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี ซึ่งมักจะมาจากพันธมิตรในสภาเซย์มเป็นส่วนใหญ่ ประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งจากคะแนนเสียงอยู่ทุก ๆ 5 ปี โดยประธานาธิบดีคนปัจจุบันคืออันด์แชย์ ดูดา และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือมาแตอุช มอราวีแยตสกี[39]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]โปแลนด์แบ่งเขตการปกครองระดับบนสุดออกเป็น 16 จังหวัด (โปแลนด์: województwa) ได้แก่
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การปกครองในระดับรองลงไปจากจังหวัดได้แก่
- อำเภอ (powiaty) แบ่งเป็น
- อำเภอชนบท (powiaty ziemskie) 314 แห่ง และ
- อำเภอนคร (powiaty grodzkie) 65 แห่ง
- เทศบาล (gminy) 2,478 แห่ง
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Many declared more than one ethnic or national identity. The percentages of ethnic Poles and minorities depend on how they are counted. 94.83% declared exclusively Polish identity, 96.88% declared Polish as their first identity and 97.10% as either first or second identity. Around 98% declared some sort of Polish as their first identity.
- ↑ การเข้ารับศาสนาคริสต์ในประเทศโปแลนด์ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ โดยไม่สนถึงการติดต่อทางศาสนาหรืออื่น ๆ เพราะว่าเป็นการรวมชนเผ่าโปแลนด์ให้เป็นหนึ่ง[6]
- ↑ พื้นที่โปแลนด์ตามสำนักงานสถิติกลาง มีพื้นที่ 312,679 ตารางกิโลเมตร (120,726 ตารางไมล์) โดยมีพื้นดิน 311,888 ตารางกิโลเมตร (120,421 ตารางไมล์) และพื้นน้ำส่วนใน 791 ตารางกิโลเมตร (305 ตารางไมล์)[9]
- ↑ อังกฤษ: Poland; โปแลนด์: Polska, [ˈpɔlska] ( ฟังเสียง) ปอลสกา
- ↑ อังกฤษ: Republic of Poland; โปแลนด์: Rzeczpospolita Polska, [ʐɛt͡ʂpɔˈspɔlita ˈpɔlska] ( ฟังเสียง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐโปแลนด์ มาตราที่ 27
- ↑ Struktura narodowo-etniczna, językowa i wyznaniowa ludności Polski. Narodowy Spis Powszechny Ludności i Mieszkań 2011 [National-ethnic, linguistic and religious structure of Poland. National Census of Population and Housing 2011] (PDF) (ภาษาโปแลนด์). Central Statistical Office. 2015. ISBN 978-83-7027-597-6.
- ↑ Ludność. Stan i struktura demograficzno-społeczna. Narodowy Spis Powszechny Ludności i Mieszkań 2011 [Population. Number and demographical-social structure. National Census of Population and Housing 2011] (PDF) (ภาษาโปแลนด์). Central Statistical Office. 2013. ISBN 978-83-7027-521-1.
- ↑ "Special Eurobarometer 493, European Union: European Commission, September 2019, pages 229–230". ec.europa.eu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 October 2020.
- ↑ "Poland - The World Factbook". 22 September 2021. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Christian Smith (1996). Disruptive Religion: The Force of Faith in Social-movement Activism. Psychology Press. ISBN 978-0-415-91405-5. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013 – โดยทาง Google Books.
- ↑ "The Act of December 29, 1989 amending the Constitution of the Polish People's Republic". Internetowy System Aktów Prawnych. สืบค้นเมื่อ 18 October 2020. (ในภาษาโปแลนด์)
- ↑ GUS. "Powierzchnia i ludność w przekroju terytorialnym w 2018 roku".
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "Concise Statistical Yearbook of Poland, 2008" (PDF). Central Statistical Office. 28 July 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 October 2008. สืบค้นเมื่อ 12 August 2008.
- ↑ "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
- ↑ demografia.stat.gov.pl/. "Population. Size and structure and vital statistics in Poland by territorial division. As of December 31, 2019". stat.gov.pl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-18. สืบค้นเมื่อ 2021-08-27.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 "World Economic Outlook Database, October 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 30 October 2019.
- ↑ "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 20 March 2020.
- ↑ "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 10 December 2019. สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.
- ↑ Johnson, Lonnie R. (1996). Central Europe: enemies, neighbors, friends. Oxford University Press. p. 3. ISBN 978-0-19-802607-5.
- ↑ "Poland". 28 February 2017.
- ↑ Lukowski, Jerzy; Zawaszki, Hubert (2001). A Concise History of Poland (First ed.). University of Stirling Libraries – Popular Loan (Q 43.8 LUK): Cambridge University Press. p. 3. ISBN 978-0-521-55917-1.
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - ↑ Norman Davies, Europe: A History, Pimlico 1997, p. 554: Poland-Lithuania was another country which experienced its 'Golden Age' during the sixteenth and early seventeenth centuries. The realm of the last Jagiellons was absolutely the largest state in Europe
- ↑ Piotr Stefan Wandycz (2001). The price of freedom: a history of East Central Europe from the Middle Ages to the present. Psychology Press. p. 66. ISBN 978-0-415-25491-5. สืบค้นเมื่อ 13 August 2011.
- ↑ Gehler, Michael; Steininger, Rolf (2005). Towards a European Constitution: A Historical and Political Comparison with the United States (ภาษาอังกฤษ). Böhlau Verlag Wien. p. 13. ISBN 978-3-205-77359-7.
Poland had actually managed to pass a first progressive constitution on 3, May 1795; this was Europes first written constitution.
- ↑ Tatjana Tönsmeyer; Peter Haslinger; Agnes Laba (2018). Coping with Hunger and Shortage under German Occupation in World War II. Springer. p. 188. ISBN 978-3-319-77467-1.
- ↑ Materski & Szarota (2009)
- ↑ "Poland promoted to developed market status by FTSE Russell". Emerging Europe. September 2018. สืบค้นเมื่อ 1 January 2021.
- ↑ "The World Factbook — Central Intelligence Agency". www.cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 12 April 2019.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Human Development Indicators – Poland". Human Development Reports. United Nations Development Programme. 2020. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "World's Safest Countries Ranked — CitySafe". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2017. สืบค้นเมื่อ 14 April 2017.
- ↑ "Poland 25th worldwide in expat ranking". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-06. สืบค้นเมื่อ 14 April 2017.
- ↑ Administrator. "Social security in Poland". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2016. สืบค้นเมื่อ 24 April 2017.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Healthcare in Poland – Europe-Cities". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2017. สืบค้นเมื่อ 24 April 2017.
- ↑ UNESCO World Heritage. "Poland". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 29 July 2021.
- ↑ 31.0 31.1 Gliński, Mikołaj (6 December 2016). "The Many Different Names of Poland". Culture.pl. สืบค้นเมื่อ 31 March 2019.
- ↑ Lehr-Spławiński, Tadeusz (1978). Język polski. Pochodzenie, powstanie, rozwój. Warszawa (Warsaw): Państwowe Wydawnictwo Naukowe. p. 64.
- ↑ Potkański, Karol (2004) [1922]. Pisma pośmiertne. Granice plemienia Polan. Vol. Volume 1 & 2. Kraków: Polska Akademia Umiejętności. p. 423. ISBN 978-83-7063-411-7.
{{cite book}}
:|volume=
has extra text (help) - ↑ Harper, Douglas (n.d.). "Poland (n.)". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 1 August 2021.
- ↑ Harper, Douglas (n.d.). "Pole (n.)". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 1 August 2021.
- ↑ Buko, Andrzej (2014). Bodzia. A Late Viking-Age Elite Cemetery in Central Poland. Leiden: Brill. p. 36. ISBN 978-90-04-28132-5.
- ↑ Cienski, Jan (12 October 2019). "Europe's Poland puzzle". POLITICO.
- ↑ "Constitutional history of Poland". ConstitutionNet.
- ↑ "Kornel Morawiecki funeral mass held in Warsaw". www.thefirstnews.com.
- Materski, Wojciech; Szarota, Tomasz (2009). "Przedmowa" [Preface]. Polska 1939–1945. Straty Osobowe i Ofiary Represji pod Dwiema Okupacjami [Human Losses and Victims of Repressions under Two Occupations] (ภาษาโปแลนด์). Warsaw: IPN. ISBN 978-83-7629-067-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2012. สืบค้นเมื่อ 27 October 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Poland.gov.en – Polish national portal เก็บถาวร 3 ธันวาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Poland. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 21 (11 ed.). 1911.
- Encyclopædia Britannica. Vol. 32 (12th ed.). 1922. .
- ประเทศโปแลนด์ ที่เว็บไซต์ Curlie
- Wikimedia Atlas of Poland
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศโปแลนด์ ที่โอเพินสตรีตแมป