ประเทศเปรู
สาธารณรัฐเปรู | |
---|---|
ที่ตั้งของ ประเทศเปรู (เขียว) ในทวีปอเมริกาใต้ (เทา) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ลิมา 12°2.6′S 77°1.7′W / 12.0433°S 77.0283°W |
ภาษาราชการ |
|
กลุ่มชาติพันธุ์ (2017[a]) |
|
ศาสนา |
|
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี[2][3] |
ดินา โบลัวร์เต[4] | |
ตำแหน่งว่าง | |
กุสตาโว อาเดรียนเซน | |
Eduardo Salhuana | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภาแห่งสาธารณรัฐ |
เอกราช จากสเปน | |
• ประกาศ | 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1821 |
9 ธันวาคม ค.ศ. 1824 | |
• ได้รับการยอมรับ | 14 สิงหาคม ค.ศ. 1879 |
พื้นที่ | |
• รวม | 1,285,216 ตารางกิโลเมตร (496,225 ตารางไมล์) (อันดับที่ 19) |
0.41 | |
ประชากร | |
• 2021 ประมาณ | 34,294,231[5] (อันดับที่ 44) |
• สำมะโนประชากร 2017 | 31,237,385 |
23 ต่อตารางกิโลเมตร (59.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 198) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 385.719 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 47) |
• ต่อหัว | 11,516 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 103) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 195.761 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 49) |
• ต่อหัว | 5,845 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 86) |
จีนี (2019) | 41.5[7] ปานกลาง |
เอชดีไอ (2019) | 0.777[8] สูง · อันดับที่ 79 |
สกุลเงิน | นูเอโบโซล (PEN) |
เขตเวลา | UTC−5 (เวลาในประเทศเปรู) |
รูปแบบวันที่ | วว.ดด.ปปปป (ค.ศ.) |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +51 |
รหัส ISO 3166 | PE |
โดเมนบนสุด | .pe |
เปรู (สเปน: Perú [peˈɾu]; เกชัว: Piruw [pɪɾʊw];[9] ไอมารา: Piruw [pɪɾʊw]) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเปรู (สเปน: ) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศเอกวาดอร์และประเทศโคลอมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศบราซิลและประเทศโบลิเวีย ทางทิศใต้ติดกับประเทศชิลี และทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก
ประเทศเปรูเป็นที่ตั้งของอารยธรรมการัล ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่อันหนึ่งของโลก และอาณาจักรอินคา จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาก่อนยุคโคลัมบัส[10] ต่อมาภูมิภาคนี้ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิสเปน และได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2364
ชื่อเปรูมาจากคำว่า "บิรู" (Birú) ซึ่งเป็นชื่อของผู้ปกครองท้องถิ่นบริเวณอ่าวซานมีเกลในปานามา[11] โดยบริเวณนี้เป็นจุดใต้สุดที่ชาวยุโรปรู้จักเมื่อครั้งนักสำรวจชาวสเปนมาถึงในปี พ.ศ. 2065[12] ดังนั้นเมื่อฟรันซิสโก ปิซาร์โรเดินทางสำรวจต่อไปทางใต้ จึงเรียกภูมิภาคเหล่านั้นว่าบิรูหรือเปรูด้วย[13] จักรวรรดิสเปนรับรองชื่อนี้ในปี พ.ศ. 2072 ในเอกสาร กาปิตูลาซิออนเดโตเลโด ซึ่งตั้งจังหวัดเปรูบริเวณจักรวรรดิอินคาเดิม[14]
รัฐอธิปไตยของเปรูเป็นตัวแทนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่แบ่งการปกครองออกเป็น 25 ภูมิภาค ปัจจุบันเปรูเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา โดยอยู่ในอันดับที่ 82 ในดัชนีการพัฒนามนุษย์ของโลกและมีแนวโน้มการพัฒนาคุณภาพมนุษย์อยู่ในระดับสูง[15] ประชากรเปรูมีรายได้ในระดับปานกลางและยังคงมีอัตราความยากจนอยู่ราว 19 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเปรูถือเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจมากที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคอเมริกาใต้ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ย 5.9%[16] รวมทั้งมีอัตราการเติบโตทางอุตสาหกรรมที่เร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่อัตราเฉลี่ย 9.6% กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศได้แก่ การขุดเจาะ การทำเหมือง การผลิต เกษตรกรรม และการประมง พร้อมกับกิจกรรมภาคเศรษฐกิจส่วนอื่น ๆ ที่กำลังเติบโต เช่น โทรคมนาคมและเทคโนโลยีชีวภาพ[17] ประเทศเปรูเป็นส่วนหนึ่งของ The Pacific Pumas ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศทางการเมืองและเศรษฐกิจตามแนวชายฝั่งแปซิฟิกของลาตินอเมริกาที่มีแนวโน้มร่วมกันของการเติบโตในเชิงบวก ประชากรของเปรูมียังเสรีภาพทางสังคมและการดำรงชีวิตสูง
เปรูถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์สูงโดยมีประชากรจากหลายภูมิภาค เช่น ชาวอินเดียน-อเมริกัน ชาวยุโรป ชาวแอฟริกา รวมถึงชาวเอเชีย ภาษาหลักที่ใช้ในการสื่อสารโดยทั่วไปคือภาษาสเปน และยังมีภาษาท้องถิ่นอีกมากมายตามแถบชนบทของประเทศ เช่น ภาษาไอมารา ภาษาเกชัว ความหลากหลายทางวัฒนธรรมดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นผ่านวิถีชีวิตของชาวเปรูในหลายแง่มุม เช่น สถานที่ท่องเที่ยว ดนตรี อาหาร การแต่งกาย เป็นต้น[18][19][20]
ภูมิศาสตร์
[แก้]เปรูมีพื้นที่ 1,285,220 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดกับเอกวาดอร์และโคลอมเบียทางเหนือ บราซิลทางตะวันออก โบลิเวียทางตะวันออกเฉียงใต้ ชิลีทางใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตก ประเทศเปรูมีเทือกเขาแอนดีสพาด ผ่านขนานกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก แบ่งประเทศออกเป็นสามภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ พื้นที่ชายฝั่งหรือ โกสตา (costa) ทางตะวันตก เป็นที่ราบแคบและแห้งแล้งยกเว้นบริเวณหุบเขาซึ่งเกิดจากแม่น้ำตามฤดูกาล เขตที่สูงหรือ ซิเอร์รา (sierra) เป็นภูมิภาคบนเทือกเขาแอนดีส ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ราบสูงอัลติปลาโน (Altiplano) เช่นเดียวกับวัสการัน (Huascarán) จุดที่สูงที่สุดของประเทศ 6,768 เมตร[21] ส่วนที่สามคือเขตป่ารกทึบหรือ เซลบา (selva) เป็นที่ราบกว้างขวาง ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นแอมะซอน เกือบร้อยละ 60 ของพื้นที่ประเทศอยู่ในส่วนนี้[22]
แม่น้ำส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแอนดีส และไหลลงสู่เขตลุ่มน้ำสามแห่งของเปรู แม่น้ำที่ไหลไปทางมหาสมุทรแปซิฟิกนั้นสูงชันและสั้น ไหลอย่างไม่สม่ำเสมอ ในขณะที่สายที่ไหลไปทางแม่น้ำแอมะซอนนั้นยาวกว่า มีกระแสน้ำมากกว่า และสูงชันน้อยกว่าเมื่อไหลออกจากเขตที่สูง ส่วนแม่น้ำที่ไหลไปยังทะเลสาบติติกากาส่วนใหญ่จะสั้นและมีกระแสน้ำมาก[23] แม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับต้น ๆ ของเปรูได้แก่ แม่น้ำอูกายาลิ แม่น้ำมารัญญอน แม่น้ำปูตูมาโย แม่น้ำยาบารี แม่น้ำวายากา แม่น้ำอูรูบัมบา แม่น้ำมันตาโร และแม่น้ำแอมะซอน[24]
เปรูไม่ได้มีเฉพาะภูมิอากาศแบบเขตร้อนเหมือนประเทศแถบเส้นศูนย์สูตรทั่วไป อิทธิพลของเทือกเขาแอนดีสและกระแสน้ำฮุมบ็อลท์ทำ ให้เปรูมีความหลากหลายทางภูมิอากาศ เขตชายฝั่งมีอากาศอบอุ่น ปริมาณน้ำฝนต่ำ และความชื้นสูง ยกเว้นส่วนเหนือสุดที่ร้อนกว่าและฝนตกมากกว่า[25] โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ บริเวณชายฝั่งตอนเหนือจะมีฝนตกหนักมาก[26] เขตที่สูง มีฝนตกบ่อยในฤดูร้อน อุณหภูมิและความชื้นลดลงตามความสูง[27] ส่วนเขตป่ารกทึบมีจุดสำคัญที่ฝนตกหนักและอุณหภูมิสูง ยกเว้นส่วนใต้สุดที่มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นและฝนตกตามฤดูกาล[28] จากภูมิประเทศและภูมิอากาศที่หลากหลาย ทำให้เปรูมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยจนถึงปี พ.ศ. 2546 พบพืชและสัตว์แล้วถึง 21,462 ชนิด ในจำนวนนั้น 5,855 เป็นสปีชีส์เฉพาะถิ่น[29]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ยุคก่อนอินคา
[แก้]ปรากฏร่องรอยของมนุษย์กลุ่มแรกในบริเวณประเทศเปรูตั้งแต่ประมาณ 10,000 ปีก่อนพุทธศักราช[30] อารยธรรมการัลซึ่งเป็นสังคมที่เก่าแก่ที่สุดในเปรูเจริญขึ้นบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในระหว่าง 2,500 ถึง 1,300 ปีก่อนพุทธศักราช[31]
จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่หลงเหลืออยู่มากมายในประเทศเปรู แสดงให้เห็นว่ามีอารยธรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้ในยุคก่อนอินคา อารยธรรมชาบินเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดอารยธรรมหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้ ศูนย์กลางอยู่บริเวณชายฝั่งตอนกลางของเปรู โบราณสถานที่สำคัญคือ ชาบินเดวันตาร์ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงลิมา
ในยุคต่อมา อารยธรรมโมเชพัฒนาขึ้นบริเวณชายฝั่งตอนเหนือของเปรู และภายหลังพัฒนากลายเป็นอารยธรรมชีมู ส่วนทางตอนใต้ของเปรู อารยธรรมนัซกาได้ถือกำเนิดขึ้นบริเวณชายฝั่งในช่วงระยะเวลาเดียวกับอารยธรรมโมเช ร่องรอยอารยธรรมที่สำคัญคือเส้นนัซกา นอกจากนี้ ยังมีอารยธรรมตีวานากู ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ใกล้กรุงลาปาซในประเทศโบลิเวีย และอารยธรรมอัวรีซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณแคว้นไออากูโชทางตอนใต้ของเปรู[32]
ยุคอินคา
[แก้]อาณาจักรอินคาก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 18 แต่เริ่มมีอำนาจขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1981 ในสมัยของปาชากูตี กษัตริย์องค์ที่ 9 อินคาค่อย ๆ ขยายอาณาเขตออกไปจากศูนย์กลางที่เมืองกุสโกทั้ง โดยวิธีทางการทูตและการสู้รบ จักรวรรดิขยายใหญ่จนถึงที่สุดในยุคของไวนา กาปัก กษัตริย์องค์ที่ 11 ครอบคลุมบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ ตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของประเทศโคลอมเบียไปจนถึงตอนกลางของประเทศชิลี รวมทั้งบริเวณประเทศโบลิเวีย และตอนเหนือของประเทศอาร์เจนตินา
ก่อนที่ไวนา กาปักจะสวรรคต ได้ทรงแบ่งดินแดนอินคาให้แก่อาตาวัลปาและวัสการ์ พระราชโอรสทั้งสอง แต่พระราชโอรสทั้งสองไม่พอพระทัย ต้องการปกครองแผ่นดินแต่เพียงพระองค์เดียว จึงเกิดการสู้รบเพื่อแย่งแผ่นดินกันขึ้น ในที่สุดอาตาวัลปาก็เป็นฝ่ายชนะ
ในขณะที่ดินแดนอินคากำลังวุ่นวายด้วยสงครามแย่งชิงอำนาจและโรคระบาด ฟรันซิสโก ปิซาร์โร นักสำรวจชาวสเปนกับ กำลังพลเพียง 167 คน ได้เดินทางมาเข้าพบอาตาอวลปาขณะที่กำลังพักผ่อนหลังเสร็จสงครามและจับพระองค์เป็นตัวประกัน ชาวอินคามอบทองคำและเงินเป็นจำนวนมากให้แก่ปิซาร์โรเพื่อเป็นค่าไถ่ให้ปล่อย ตัวจักรพรรดิของตน แต่ปิซาร์โรกลับไม่ยอมรักษาคำพูดและประหารพระองค์ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2075[33]
การปกครองของสเปน
[แก้]ในปี พ.ศ. 2075 กองทัพผู้พิชิตของสเปนนำโดยฟรันซิสโก ปิซาร์โร เอาชนะจักรพรรดิอินคาอาตาอวลปา และผนวกเข้าอยู่ใต้การปกครองของสเปน ปิซาร์โรตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ลิมาซึ่งกลายเป็นเมืองหลวงของประเทศเปรูในปัจจุบัน สิบปีถัดมา จักรวรรดิสเปนภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คได้ตั้งเขตอุปราชแห่งเปรู ซึ่งครอบคลุมอาณานิคมในอเมริกาใต้เกือบทั้งหมด[34] ประมาณสามสิบปีถัดมา อุปราชฟรันซิสโก เด โตเลโด จัดระเบียบดินแดนในปกครองของตนใหม่ ด้วยการทำเหมืองแร่เงินเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลักและใช้แรงงานชาวพื้นเมือง[35] ทองแท่งจากเปรูเป็นแหล่งรายได้ของเจ้าสเปนและส่งเสริมเครือข่ายการค้าที่ซับซ้อนที่ไปไกลถึงยุโรปและฟิลิปปินส์[36] อย่างไรก็ตาม ในอีกสองศตวรรษต่อมา การผลิตแร่เงินและการกระจายของเศรษฐกิจที่ลดลงทำให้รายได้ของเจ้าสเปนลดลง[37] จึงทำให้สำนักเจ้าของสเปนประกาศการปฏิรูปบูร์บง ซึ่งประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาเพิ่มภาษีและแยกส่วนเขตอุปราชแห่งเปรู[38] กฎหมายใหม่นี้กระตุ้นให้เกิดการกบฏของตูปัก อามารูที่ 2 และความพยายามปฏิวัติอื่น ๆ ซึ่งพ่ายแพ้ทั้งหมด[39] ในช่วงสงครามประกาศเอกราชในอเมริกาใต้ เปรูยังคงเป็นฐานที่มั่นของฝ่ายสนับสนุนกษัตริย์ แต่เปรูก็กลายเป็นประเทศเอกราชจากการต่อสู้ของโฆเซ เด ซาน มาร์ติน และซิมอน โบลิบาร์[40]
สาธารณรัฐเปรู
[แก้]ในช่วงแรกของการเป็นสาธารณรัฐ การแก่งแย่งชิงอำนาจของผู้นำทางทหารก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพทางการเมือง[41] อัตลักษณ์ของชาติถูกสร้างขึ้นในยุคนี้ จากการที่แนวความคิดสหพันธ์อเมริกาใต้ของโบลิบาร์และสหภาพกับโบลิเวียไม่ประสบความสำเร็จ[42] ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 เปรูมีเสถียรภาพภายใต้การนำของประธานาธิบดีรามอน กัสติยา ด้วยรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการส่งออกปุ๋ยขี้นก (guano)[43] อย่างไรก็ตาม ทรัพยากรเหล่านี้ถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็ว เปรูมีหนี้สินอย่างหนัก และการต่อสู้ทางการเมืองก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง[44]
เปรูพ่ายแพ้ต่อชิลีในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2422 ถึง 2427 เสียดินแดนจังหวัดอาริกาและตาราปากาในสนธิสัญญาอังกอนและลิมา หลังจากปัญหาภายในประเทศหลังสงคราม เปรูกลับมามีเสถียรภาพภายใต้การนำของพรรคซิบิล ซึ่งสิ้นสุดลงหลังเอากุสโต เบ. เลกิอา ขึ้นเป็นผู้นำประเทศ[45] เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทำให้เลกิอาถูกล้มจากอำนาจ และกำเนิดพันธมิตรประชาชนปฏิวัติอเมริกา (Alianza Popular Revolucionaria Americana)[46] การแข่งขันระหว่างกลุ่มนี้กับกลุ่มชนชั้นสูงและกองทัพเป็นส่วนสำคัญของการเมืองเปรูในอีกสามทศวรรษถัดมา[47]
ในปี พ.ศ. 2511 กองทัพเปรูนำโดยนายพลฆวน เบลัสโก อัลบาราโด ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากประธานาธิบดีเฟร์นันโด เบลาอุนเด รัฐบาลใหม่ทำการปฏิรูปครั้งใหญ่ แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนมากเท่าไรนัก[48] ในปี พ.ศ. 2518 นายพลฟรันซิสโก โมราเลส เบร์มูเดซ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทนเบลัสโก ยุติการปฏิรูปและนำประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตยอีกครั้ง[49] หลังยุคของโมราเลสในปี 2523 เปรูประสบปัญหาหนี้ต่างประเทศสูง เงินเฟ้อที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ การขนส่งยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง และปัญหาการเมืองที่การใช้กำลังอย่างรุนแรง[50] ภายใต้การนำของประธานาธิบดีอัลเบร์โต ฟูฆิโมริ พ.ศ. 2533-2543 ประเทศเปรูก็เริ่มฟื้นตัวด้วยการปฏิรูปทางการเมืองและการปราบปรามกลุ่มผู้ก่อการร้าย แต่ฟูฆิโมริก็ถูกกล่าวหาเรื่องอำนาจนิยม การทุจริตในตำแหน่งหน้าที่ และการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำให้เขาต้องลาออกและหนีออกนอกประเทศหลังจากการเลือกตั้งครั้งปัญหาในปี พ.ศ. 2543[51] ประชาธิปไตยกลับคืนสู่เปรูอีกครั้งในสมัยของประธานาธิบดีอาเลฆันโดร โตเลโด ซึ่งนับแต่นั้นเป็นต้นมา เปรูพยายามกำจัดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และสามารถรักษาสภาพทางเศรษฐกิจที่ดีไว้ได้[52]
การปกครอง
[แก้]เปรูเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ใช้ระบอบประธานาธิบดี ภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล โดยได้รับเลือกตั้งเข้ามาอยู่ในตำแหน่งห้าปี และไม่สามารถได้รับเลือกอีกในสมัยถัดไปทันทีได้[53] ประธานาธิบดีแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่เหลือตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี[54] รัฐสภาของเปรูเป็นแบบสภาเดียว มีสมาชิก 120 คน ได้รับเลือกตั้งเข้ามาอยู่ในตำแหน่งเป็นเวลาห้าปี[55] ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารสามารถเริ่มเสนอร่างกฎหมายได้ โดยร่างกฎหมายจะต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาและประกาศใช้โดยประธานาธิบดี[56] สถาบันตุลาการเป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ[57] แต่มีการแทรกแซงฝ่ายตุลาการบ่อยครั้งตลอดประวัติศาสตร์[58]
รัฐบาลเปรูได้รับการเลือกตั้งโดยตรง และการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปีจนถึง 70 ปี[59] ในการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2549 อาลัน การ์ซิอา จากพรรคอาปริสตาเปรู ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเหนือโอยันตา อูมาลา จากสหภาพเพื่อเปรู[60] สภาปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกจากพรรคอาปริสตาเปรู 36 คน พรรคชาตินิยมเปรู 23 คน พรรคสหภาพเพื่อเปรู 19 คน พรรคเอกภาพแห่งชาติ 15 คน พันธมิตรเพื่ออนาคต 13 คน พันธมิตรรัฐสภา 9 คน และกลุ่มรัฐสภาพิเศษ 5 คน[61]
ความ สัมพันธ์กับต่างประเทศของเปรูที่ผ่านมามักเกี่ยวพันกับปัญหาข้อพิพาทพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ตกลงกันได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 20[62] ปัจจุบันเปรูมีข้อพิพาทกับชิลีเรื่องน่านน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก[63] เปรูเป็นสมาชิกของกลุ่มในภูมิภาคหลายกลุ่ม เป็นสมาชิกก่อตั้งของประชาคมแอนดีส และเป็นสมาชิกขององค์กรรัฐอเมริกา
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ประเทศเปรูแบ่งการปกครองออกเป็น 25 แคว้น (región) แต่ละแคว้นแบ่งออกเป็นจังหวัด (provincia) และเขต (distrito) ย่อยลงมาตามลำดับ (ยกเว้นจังหวัดลิมาซึ่งเป็นเอกเทศไม่อยู่ในแคว้นใด) แต่ละแคว้นเลือกรัฐบาลท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วยประธานและสภา มีวาระ 4 ปี[64] รัฐบาลท้องถิ่นดูแลเรื่องการพัฒนาภูมิภาค โครงการลงทุนสาธารณะ ส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการจัดการทรัพย์สินสาธารณะ[65] จังหวัดลิมาบริหารโดยเทศบาลมหานครลิมา[66]
แคว้นต่าง ๆ ของเปรู และเมืองหลักของแคว้นได้แก่
และจังหวัดลิมา มีเมืองหลักคือลิมา เมืองหลวงของประเทศ
กองทัพ
[แก้]กองทัพเปรูประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ มีหน้าที่หลักคือดูแลความปลอดภัยของอิสรภาพ เอกราช และบูรณภาพดินแดนของประเทศ[67] กองกำลังของเปรูอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงกลาโหม และประธานาธิบดีในฐานะผู้บัญชาการสูงสุด การเกณฑ์ทหารถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2542 และเปลี่ยนมาใช้การเป็นทหารโดยสมัครใจแทน[68]
เศรษฐกิจ
[แก้]เปรู เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านเศรษฐกิจเนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ เขตภูเขาอุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด เปรูจึงเป็นผู้ผลิตแร่ธาตุรายใหญ่ของโลก เช่นทองแดง (อันดับ 3 ของโลก) ตะกั่ว (อันดับ 4 ของโลก) เงิน (อันดับ 1 ของโลก) สังกะสี (อันดับ 3 ของโลก) ดีบุก (อันดับ 3 ของโลก) [69] น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ส่วนทางชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกมีสภาพเอื้ออำนวยต่อการประมง[70] ผลิตภัณฑ์การเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ มันฝรั่ง[71] ข้าวโพด ผลไม้ ต้นโคคา และการปศุสัตว์[70] นอกจากนี้ ทรัพยากรการท่องเที่ยวของเปรู เช่น มาชูปิกชู เมืองกุสโก และป่าดิบชื้นบริเวณแม่น้ำแอมะซอนสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก[72] [73]
เปรู มีรายได้ต่อประชากรปี (พ.ศ. 2549) อยู่ที่ 3,374 ดอลลาร์สหรัฐ ร้อยละ 39.3 ของประชากรเป็นคนจน รวมถึงร้อยละ 13.7 ที่อยู่ในระดับจนมาก[74] การบริการมีส่วนร้อยละ 52.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ปี พ.ศ. 2550 ตามด้วยอุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิร้อยละ 23.2 อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิร้อยละ 14.2 และภาษีร้อยละ 9.7[75] สินค้าส่งออกที่สำคัญของเปรู ได้แก่ ทองแดง ทอง สังกะสี ปิโตรเลียม กาแฟ และสิ่งทอ ส่วนการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบและสินค้าทุนสำหรับอุตสาหกรรม ประเทศคู่ค้าหลักของเปรูได้แก่สหรัฐอเมริกา จีน บราซิล ชิลี แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น โคลอมเบีย และเอกวาดอร์[76]
นโยบายเศรษฐกิจของเปรูมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ในช่วงปี พ.ศ. 2511-2518 รัฐบาลฆวน เบลัสโก อัลบาราโด มีการปฏิรูปหลายอย่างเช่น การปฏิรูปที่ดินทางการเกษตร ยึดบริษัทต่างชาติหลายแห่งมาเป็นของรัฐบาล การใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนและการขยายภาครัฐบาล ถึงแม้การปฏิรูปเหล่านี้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่จะปรับการกระจายรายได้และยุติการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจจากประเทศที่พัฒนาแล้วได้ก็ตาม[77] แต่นโยบายปฏิรูปเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็คงอยู่จนปี พ.ศ. 2533 เมื่อรัฐบาลอัลเบร์โต ฟูฆิโมริ ยกเลิกการควบคุมราคา การแทรกแซงทางการค้า การควบคุมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และดำเนินการแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่[78] การปฏิรูปเสรีนี้เหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจเปรูมีการเติบโตอย่างมั่นคงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ยกเว้นแต่ช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540[79]
ในปี พ.ศ. 2550 เปรูมีสภาพเศรษฐกิจดีที่สุดในรอบ 40 ปี[80] และเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในทวีป (ประมาณร้อยละ 9.2 ใน พ.ศ. 2550) ซึ่งเป็นผลจากการที่ราคาแร่ธาตุสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ การลงทุนของภาคเอกชนและการบริโภคภายในประเทศยังเติบโตสูงขึ้นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ความร่ำรวยและความเจริญกลับกระจายไม่ทั่วถึงประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่เมืองที่ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและทางตอนเหนือของ ประเทศมีเศรษฐกิจที่เจริญเติบโต เมืองทางตอนใต้แถบเทือกเขาแอนดีสซึ่งส่วนใหญ่ประกอบการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็กกลับมีอัตราประชากรยากจนสูงถึงร้อยละ 70[81]
ประชากร
[แก้]เปรูมีประชากรประมาณ 28 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของทวีปอเมริกาใต้จากข้อมูลปี พ.ศ. 2550[82] โดยการเติบโตของจำนวนประชากรลดลงจากร้อยละ 2.6 เหลือร้อยละ 1.6 ในช่วงปี พ.ศ. 2493 ถึง 2543 โดยคาดการณ์ว่าจะมีประชากรประมาณ 42 ล้านคนในปี พ.ศ. 2593[83] จากข้อมูลปี พ.ศ. 2548 ร้อยละ 72.6 ของประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมือง และร้อยละ 27.4 ในเขตชนบท[84] เมืองหลักของเปรูได้แก่ ลิมา อาเรกิปา ตรูฆิโย ชิกลาโย ปิวรา อิกิโตส ชิมโบเต กุสโก และอวงกาโย ซึ่งมีประชากรมากกว่าสองแสนคนในการสำรวจปี พ.ศ. 2536[85]
เปรูเป็นสังคมพหุชาติพันธุ์ที่เกิดจากการรวมตัวของหลายเชื้อชาติตลอดช่วงห้าศตวรรษ โดยชนพื้นเมืองเปรูอาศัยอยู่ในเปรูเป็นเวลานับพันปีก่อนที่สเปนจะเข้าครอบครองในพุทธศตวรรษที่ 21 ประชากรพื้นเมืองลดลงในช่วงประมาณร้อยปี จากเก้าล้านคนเหลือเพียงประมาณหกแสนคนจากโรคติดต่อ[86] ชาวสเปนและชาวแอฟริกาจำนวนมากเข้ามาในยุคอาณานิคม หลังได้รับเอกราช มีชาวยุโรปอพยพเพิ่มขึ้น จากอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และสเปน[87] ชาวจีนเข้ามาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ทดแทนแรงงานทาส และได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของสังคมเปรู[88]
ภาษาทางการของเปรูคือ ภาษาสเปน ซึ่งเป็นภาษาแม่ของชาวเปรูที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปร้อยละ 80.3 (พ.ศ. 2536) และภาษาเกชัวซึ่งมีประชากรร้อยละ 16.5 พูดภาษานี้ (พ.ศ. 2536) มีผู้พูดภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ และภาษาต่างประเทศร้อยละ 3 และร้อยละ 0.2 ของประชากรตามลำดับ[89] จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2549 ประชากรร้อยละ 85 ระบุว่าตัวเองนับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 11 นับถือนิกายโปรเตสแตนต์[90] อัตราการรู้หนังสืออยู่ที่ร้อยละ 88.9 โดยอัตราในชนบท (ร้อยละ 76.1) ต่ำกว่าในเมือง (ร้อยละ 94.8) [91] การศึกษาขั้นประถมและมัธยมเป็นการศึกษาบังคับและบริการแบบให้เปล่า (ฟรี) ในโรงเรียนของรัฐ[92]
วัฒนธรรม
[แก้]วัฒนธรรมเปรูมีรากฐานอยู่บนวัฒนธรรมพื้นเมืองและวัฒนธรรมสเปน[93] ศิลปะของเปรูย้อนกลับไปได้ถึงเครื่องปั้นเดิมเผา สิ่งทอ เพชรพลอย และการแกะสลักของวัฒนธรรมยุคก่อนอินคา ชาวอินคายังคงรักษารูปแบบงานเหล่านี้และยังบรรลุผลในด้านสถาปัตยกรรมโดยได้สร้างมาชูปิกชูในยุคอาณานิคม ศิลปะได้รับอิทธิพลแบบบาโรก โดยผสมเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น[94] ในยุคนี้ ศิลปะส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับศาสนา ตัวอย่างเช่นโบสถ์จำนวนมากและจิตรกรรมแบบสำนักกุสโก[95] ศิลปะในเปรูซบเซาลงหลังได้รับเอกราช จนมาถึงยุคศิลปะแบบอินดิเฆนิสโม ซึ่งนำเสนอความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวพื้นเมืองอเมริกาใต้[96] วัฒนธรรมโบราณของชาวอินคายังคงอยู่ในเปรูในปัจจุบัน ชาวเปรูยังคงใช้ชีวิตตามแบบบรรพบุรุษ เช่น การใช้ภาษาเกชัว การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
อาหาร
[แก้]อาหาร จานหลักของเปรูมีความหลากหลายเพราะมีส่วนผสมที่สามารถหาได้ในประเทศ หลายอย่าง เช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้ออัลปากา และเนื้อหนูตะเภา นิยมรับประทานอาหารจานหลักกับมันฝรั่ง (ซึ่งกล่าวกันว่ามีมากถึง 3,500 ชนิด[71]) ข้าวโพด หรือข้าว ในเขตเทือกเขาชาวเปรูมักจะกินซุปเพื่ออบอุ่นร่างกายก่อนออกไปเผชิญความหนาวเย็น อาหารเปรูที่มีชื่อเสียงคือ เซบิเช ซึ่งมีลักษณะคล้ายยำทะเล โดยนำเนื้อปลาสดหรือกุ้งสดที่หมักในน้ำมะนาวและพริกไทย มาผสมกับหัวหอมซอย
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเปรูคือ ปิสโกซาวร์ (pisco sour) ซึ่งมีส่วนผสมของเหล้าปิสโก (บรั่นดีที่ทำจากองุ่น) น้ำมะนาว น้ำแข็ง ไข่ขาว และน้ำหวาน ชาวเปรูยังนิยมดื่มเครื่องดื่มจากข้าวโพดสีม่วงที่เรียกว่า ชิชาโมราดา (chicha morada) อีกด้วย[97]
ชาวพื้นเมืองนิยมเคี้ยวใบโคคาตากแห้งและดื่มชาโคคามาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ปัจจุบันกำลังประสบปัญหาถูกต่อต้านจากนานาชาติ เนื่องจากใบโคคา (ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตโคเคน) ถูกสหประชาชาติกำหนดให้เป็นยาเสพติดตั้งแต่ พ.ศ. 2504[98]
ดนตรีและการเต้นรำ
[แก้]ดนตรีของเปรูมีพื้นฐานจากดนตรีพื้นเมือง และได้รับอิทธิพลจากสเปนและแอฟริกาในภายหลัง[99] ในยุคก่อนถูกสเปนครอบครองดนตรีก็มีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามพื้นที่ เครื่องดนตรีพื้นเมืองที่แพร่หลายที่สุดคือขลุ่ยเกนาและกลองตินยา[100] เมื่ออารยธรรมสเปนเข้ามากีตาร์ก็เป็นที่รู้จักและกลายเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นที่นิยมมากที่สุดอย่างหนึ่งในเปรู[101] นอกจากนี้ กีตาร์ยังเป็นจุดกำเนิดให้แก่เครื่องดนตรีชนิดใหม่คือชารังโก อิทธิพลของดนตรีแบบแอฟริกาปรากฏให้เห็นในทั้งในจังหวะของเพลงและเครื่องดนตรี เช่น กลองกาฆอน[102]
การเต้นรำพื้นเมืองของเปรูนอกจากการเต้นรำของคู่หญิงชายอย่างมาริเนรา ตอนเดโร และไวโนแล้ว ยังมีระบำกรรไกร ซึ่งชาวเปรูถือว่าเป็นการแสดงที่เป็นพิธีการ ผู้เต้นจะถือกรรไกรไว้ขณะเต้นด้วยท่าที่โลดโผน[101]
เทศกาล
[แก้]เปรูมีเทศกาลมากมายตลอดทั้งปี ซึ่งมีทั้งเทศกาลทางศาสนา เทศกาลเกี่ยวกับประเพณีของอินคา เทศกาลเกี่ยวกับการเกษตร และเทศกาลเพื่อเฉลิมฉลอง เช่น คาร์นิวาลที่มีจุดเด่นที่การละเล่นสาดน้ำ อินตีไรมีหรือพิธีเพื่อบูชาพระอาทิตย์ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอินคา เซญญอร์เดโลสมิลาโกรส (ลอร์ดออฟมิราเคิลส์) ซึ่งเป็นพาเหรดทางศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ เป็นต้น[103]
กองทัพ
[แก้]ประเทศเปรูมีกองกำลังทหารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในแถบลาตินอเมริกา โดยมีกองทัพทั้ง 3 เหล่าทัพ ได้แก่ กองทัพบก (Ejército del Perú, EP) กองทัพเรือ (Marina de Guerra del Perú, MGP) และกองทัพอากาศ (Fuerza Aérea del Perú, FAP) ทั้งสามเหล่าทัพมีทหารร่วม 400,000 นาย[104] และขึ้นตรงต่อกองบัญชาการกองทัพของเปรู[105] (ควบคุมและสั่งการโดยประธานาธิบดี) มีภารกิจหลักคือรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศและป้องกันตนเองจากการรุกรานของประเทศเพื่อนบ้าน
หมายเหตุและอ้างอิง
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ รวมครั้งแรกในสำมะโนประจำชาติ ค.ศ. 2017 สำหรับผู้ที่มีอายุ 12 ขึ้นไป ซึ่งรวมองค์ประกอบอื่น ๆ อย่างบรรพบุรุษ, ประเพณี และต้นกำเนิดครอบครัวเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจความเป็นจริงทางวัฒนธรรมของประเทศได้ดีขึ้น
- ↑ คำถามศาสนาถูกรวมในสำมะโนประจำชาติ ค.ศ. 2017 สำหรับผู้ที่มีอายุ 12 ขึ้นไป
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Perú: Perfil Sociodemográfico" (PDF). Instituto Nacional de Estadística e Informática. p. 231. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 27 September 2018.
- ↑ Shugart, Matthew Søberg (September 2005). "Semi-Presidential Systems: Dual Executive and Mixed Authority Patterns" (PDF). Graduate School of International Relations and Pacific Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 August 2008. สืบค้นเมื่อ 31 August 2017.
{{cite journal}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Shugart, Matthew Søberg (December 2005). "Semi-Presidential Systems: Dual Executive And Mixed Authority Patterns". French Politics. 3 (3): 323–351. doi:10.1057/palgrave.fp.8200087. ISSN 1476-3427. OCLC 6895745903.
Only in Latin America have all new democracies retained a pure presidential form, except for Peru (president-parliamentary) and Bolivia (assembly-independent).
- ↑ https://www.bbc.com/news/world-latin-america-63895505
- ↑ "Perú: Estimaciones y Proyecciones de Población Total, por Años Calendario y Edades Simples, 1950–2050" [Peru: Estimates and Projections of Total Population, by Calendar Years and Simple Ages, 1950–2050] (PDF) (ภาษาสเปน). National Institute of Statistics and Informatics. September 2009. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2018. สืบค้นเมื่อ 18 September 2018.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "Peru". International Monetary Fund. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2021. สืบค้นเมื่อ 18 January 2020.
- ↑ "Gini Index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2020. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2020. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ รัฐบาลเปรูใช้ชื่อภาษาเกชัวเป็น Perú (ดูรัฐสภาเปรูฉบับภาษาเกชัว website เก็บถาวร 30 กรกฎาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และรัฐธรรมนูญเปรูฉบับภาษาเกชัว but common Quechua name is Piruw
- ↑ "Civilizations in America". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-09. สืบค้นเมื่อ 2008-05-24.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help)Washington State University (อังกฤษ) - ↑ Raúl Porras Barrenechea, El nombre del Perú, p. 83. (สเปน)
- ↑ Raúl Porras Barrenechea, El nombre del Perú, p. 84. (สเปน)
- ↑ Raúl Porras Barrenechea, El nombre del Perú, p. 86. (สเปน)
- ↑ Raúl Porras Barrenechea, El nombre del Perú, p. 87. (สเปน)
- ↑ "| Human Development Reports". hdr.undp.org.
- ↑ "Overview". World Bank (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2018-04-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-23.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ writer, Staff. "Culture of Peru | Discover Peru" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).[ลิงก์เสีย]
- ↑ Fracolli, Britt (2020-01-31). "Peru's cultural traditions and habits". Peru For Less (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Peru Culture". Machu Picchu (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-03-04.
- ↑ AndesHandbook, Huascarán เก็บถาวร 2016-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกข้อมูลวันที่ 12 สิงหาคม 2550. (อังกฤษ)
- ↑ Instituto de Estudios Histórico-Marítimos del Perú, El Perú y sus recursos: Atlas geográfico y económico, p. 16. (สเปน)
- ↑ Instituto de Estudios Histórico-Marítimos del Perú, El Perú y sus recursos: Atlas geográfico y económico, p. 31. (สเปน)
- ↑ Instituto Nacional de Estadística e Informática, Perú: Compendio Estadístico 2005, p. 21. (สเปน)
- ↑ Instituto de Estudios Histórico-Marítimos del Perú, El Perú y sus recursos: Atlas geográfico y económico, pp. 24-25. (สเปน)
- ↑ "El Niño Information". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-27. สืบค้นเมื่อ 2008-06-28.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help). เรียกข้อมูลวันที่ 28 มิถุนายน 2551. (อังกฤษ) - ↑ Instituto de Estudios Histórico-Marítimos del Perú, El Perú y sus recursos: Atlas geográfico y económico, pp. 25-26. (สเปน)
- ↑ Instituto de Estudios Histórico-Marítimos del Perú, El Perú y sus recursos: Atlas geográfico y económico, pp. 26-27. (สเปน)
- ↑ Instituto Nacional de Estadística e Informática, Perú: Compendio Estadístico 2005, p. 50. (สเปน)
- ↑ Tom Dillehay et al, "The first settlers", p. 20.
- ↑ Jonathan Haas et al, "Dating the Late Archaic occupation of the Norte Chico region in Peru", p. 1021.
- ↑ "South American Sites & Culures". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-02. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) Minnesota State University Mankato (อังกฤษ) - ↑ Terence N. D'Altroy, The Incas, Blackwell Publishing, 2002
- ↑ Recopilación de leyes de los Reynos de las Indias, vol. II, pp. 12-13. (สเปน)
- ↑ Peter Bakewell, Miners of the Red Mountain, p. 181. (อังกฤษ)
- ↑ Margarita Suárez, Desafíos transatlánticos, pp. 252-253. (สเปน)
- ↑ Kenneth Andrien, Crisis and decline, pp. 200-202. (อังกฤษ)
- ↑ Mark Burkholder, From impotence to authority, pp. 83-87. (อังกฤษ)
- ↑ Scarlett O'Phelan, Rebellions and revolts in eighteenth century Peru and Upper Peru, p. 276. (อังกฤษ)
- ↑ Timothy Anna, The fall of the royal government in Peru, pp. 237-238. (อังกฤษ)
- ↑ Charles Walker, Smoldering ashes, pp. 124–125.(อังกฤษ)
- ↑ Paul Gootenberg, Between silver and guano, p. 12. (อังกฤษ)
- ↑ Paul Gootenberg, Imagining development, pp. 5–6. (อังกฤษ)
- ↑ Paul Gootenberg, Imagining development, p. 9. (อังกฤษ)
- ↑ Ulrich Mücke, Political culture in nineteenth-century Peru, pp. 193–194. (อังกฤษ)
- ↑ Peter Klarén, Peru, pp. 262–276. (อังกฤษ)
- ↑ David Palmer, Peru: the authoritarian tradition, p. 93. (อังกฤษ)
- ↑ George Philip, The rise and fall of the Peruvian military radicals, pp. 163–165. (อังกฤษ)
- ↑ Daniel Schydlowsky and Juan Julio Wicht, "Anatomy of an economic failure", pp. 106–107. (อังกฤษ)
- ↑ Peter Klarén, Peru, pp. 406–407. (อังกฤษ)
- ↑ BBC News, Fujimori: Decline and fall. 20 พ.ย. 2543 เรียกข้อมูลวันที่ 13 ก.ค. 2551. (อังกฤษ)
- ↑ "Survivor Toledo". The Economist. 2005-01-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-19. สืบค้นเมื่อ 2008-07-31. (อังกฤษ)
- ↑ Constitución Política del Perú, Article N° 112.
- ↑ Constitución Política del Perú, Article N° 122.
- ↑ Constitución Política del Perú, Article N° 90.
- ↑ Constitución Política del Perú, Articles N° 107-108.
- ↑ Constitución Política del Perú, Articles N° 146.
- ↑ Jeffrey Clark, Building on quicksand. Retrieved on July 24, 2007. (อังกฤษ)
- ↑ Constitución Política del Perú, Article N° 31.
- ↑ Oficina Nacional de Procesos Electorales, Segunda Elección Presidencial 2006. Retrieved on May 15, 2007. (สเปน)
- ↑ Congreso de la República del Perú, Grupos Parlamentarios เก็บถาวร 2019-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกข้อมูลวันที่ 5 มกราคม 2551. (สเปน)
- ↑ Ronald Bruce St John, The foreign policy of Peru, pp. 223-224. (อังกฤษ)
- ↑ BBC News, Peru-Chile border row escalates. เรียกข้อมูลวันที่ 16 พฤษภาคม 2550. (อังกฤษ)
- ↑ Ley N° 27867, Ley Orgánica de Gobiernos Regionales, Article N° 11.
- ↑ Ley N° 27867, Ley Orgánica de Gobiernos Regionales, Article N° 10.
- ↑ Ley N° 27867, Ley Orgánica de Gobiernos Regionales, Article N° 66.
- ↑ Ministerio de Defensa, Libro Blanco de la Defensa Nacional, p. 90.
- ↑ Ley N° 27178, Ley del Servicio Militar, Articles N° 29, 42 and 45.
- ↑ The Economist, Pocket World in Figures 2007 Edition, 2549 (อังกฤษ)
- ↑ 70.0 70.1 "ข้อมูลประเทศเปรูจากเวิลด์แฟกต์บุก". CIA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-05. สืบค้นเมื่อ 2008-05-21.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help). เรียกข้อมูลวันที่ 21 พฤษภาคม 2551.(อังกฤษ) - ↑ 71.0 71.1 "Llamas and mash" (ภาษาอังกฤษ). The Economist. 2008-02-28.
- ↑ "Ecotourism in Peru". The Economist. 2008-04-10. (อังกฤษ)
- ↑ "Tourism in Peru". The Economist. 2001-07-19.[ลิงก์เสีย] (อังกฤษ)
- ↑ ข้อมูลปี พ.ศ. 2550. Instituto Nacional de Estadística e Informática, La pobreza en el Perú en el año 2007, p. 3. (สเปน)
- ↑ Banco Central de Reserva, Producto Bruto Interno por Sectores Productivos 1950 - 2007. (สเปน)
- ↑ ข้อมูลปี 2549. Banco Central de Reserva, Memoria 2006, pp. 60-61, 66. Retrieved on July 3, 2007. (สเปน)
- ↑ Rosemary Thorp and Geoffrey Bertram, Peru 1890–1977, pp. 318–319.
- ↑ John Sheahan, Searching for a better society, p. 157.
- ↑ Banco Central de Reserva, Producto bruto interno por sectores productivos 1951–2006. Retrieved on 2008-07-09. (สเปน)
- ↑ "Background of Peru". The Economist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-10. สืบค้นเมื่อ 2008-05-20.. เรียกข้อมูลวันที่ 20 พฤษภาคม 2551.(อังกฤษ)
- ↑ "Poverty amid progress". The Economist. 2008-05-08.. เรียกข้อมูลวันที่ 20 พฤษภาคม 2551. (อังกฤษ)
- ↑ United Nations, World Population ProspectsPDF (2.74 MiB), pp. 44-48. Retrieved on July 29, 2007 (อังกฤษ)
- ↑ Instituto Nacional de Estadística e Informática, Perú: Estimaciones y Proyecciones de Población, 1950-2050, pp. 37-38, 40. (สเปน)
- ↑ Instituto Nacional de Estadística e Informática, Perú: Estimaciones y Proyecciones de Población, 1950-2050, p. 45. (สเปน)
- ↑ Instituto Nacional de Estadística e Informática, Migraciones Internas en el Perú เก็บถาวร 2012-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2550. (สเปน)
- ↑ Noble David Cook, Demographic collapse: Indian Peru, 1520-1620, p. 114. (อังกฤษ)
- ↑ Mario Vázquez, "Immigration and mestizaje in nineteenth-century Peru", pp. 79-81. (อังกฤษ)
- ↑ Magnus Mörner, Race mixture in the history of Latin America, p. 131. (อังกฤษ)
- ↑ Instituto Nacional de Estadística e Informática, Perfil sociodemográfico del Perú เก็บถาวร 2007-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2550. (สเปน)
- ↑ US Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor, International Religious Freedom Report 2007. เรียกข้อมูลวันที่ 14 มิถุนายน 2551. (อังกฤษ)
- ↑ Portal Educativo Huascarán, El analfabetismo en cifras เก็บถาวร 2007-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2550. (สเปน)
- ↑ Constitución Política del Perú, Article N° 17.
- ↑ Víctor Andrés Belaunde, Peruanidad, p. 472. (สเปน)
- ↑ Gauvin Alexander Bailey, Art of colonial Latin America, pp. 72-74. (อังกฤษ)
- ↑ Gauvin Alexander Bailey, Art of colonial Latin America, p. 263. (อังกฤษ)
- ↑ Edward Lucie-Smith, Latin American art of the 20th century, pp. 76-77, 145-146. (อังกฤษ)
- ↑ Rob Rachowiecki and Charlotte Beech, Peru, Lonely Planet, 2004, หน้า 42-43 (อังกฤษ)
- ↑ "Fighting for the Right to Chew Coca". Time. 2008-03-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-23. สืบค้นเมื่อ 2008-05-22.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) (อังกฤษ) - ↑ Raúl Romero, "Andean Peru", p. 385-386.
- ↑ Dale Olsen, Music of El Dorado, pp. 17-22.
- ↑ 101.0 101.1 "Dances and Musical Instruments". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-25. สืบค้นเมื่อ 2008-07-02.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) (อังกฤษ) - ↑ Raúl Romero, "La música tradicional y popular", pp. 263-265.
- ↑ "Festivals in Peru". Peru Tourism Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-15. สืบค้นเมื่อ 2008-05-31.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) (อังกฤษ) - ↑ Cruz, Yohel (2017-07-29). "Ránking ubica al Perú como la cuarta Fuerza Armada más poderosa de Latinoamérica". RPP (ภาษาสเปน).
- ↑ "Military expenditure (% of GDP) - Peru | Data". data.worldbank.org.
บรรณานุกรม
[แก้]- Bailey, Gauvin Alexander. Art of colonial Latin America. London: Phaidon, 2005, ISBN 0714841579.
- Constitución Política del Perú. 29 December 1993.
- Custer, Tony. The Art of Peruvian Cuisine. Lima: Ediciones Ganesha, 2003, ISBN 9972920305.
- Garland, Gonzalo. "Perú Siglo XXI", series of 11 working papers describing sectorial long-term forecasts, Grade, Lima, Peru, 1986–1987.
- Garland, Gonzalo. Peru in the 21st Century: Challenges and Possibilities in Futures: the Journal of Forecasting, Planning and Policy, Volume 22, No. 4, Butterworth-Heinemann, London, England, May 1990.
- Gootenberg, Paul. (1991) Between silver and guano: commercial policy and the state in postindependence Peru. Princeton: Princeton University Press ISBN 0691023425.
- Gootenberg, Paul. (1993) Imagining development: economic ideas in Peru's "fictitious prosperity" of Guano, 1840–1880. Berkeley: University of California Press, 1993, 0520082907.
- Higgins, James (editor). The Emancipation of Peru: British Eyewitness Accounts, 2014. Online at jhemanperu เก็บถาวร 21 เมษายน 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Instituto de Estudios Histórico–Marítimos del Perú. El Perú y sus recursos: Atlas geográfico y económico. Lima: Auge, 1996.
- Instituto Nacional de Estadística e Informática. "Perú: Compendio Estadístico 2005" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 March 2007. สืบค้นเมื่อ 2021-12-22.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) (8.31 MB). Lima: INEI, 2005. - Instituto Nacional de Estadística e Informática. Perfil sociodemográfico del Perú. Lima: INEI, 2008.
- Instituto Nacional de Estadística e Informática. Perú: Estimaciones y Proyecciones de Población, 1950–2050. Lima: INEI, 2001.
- แม่แบบ:DOClink. 28 September 1999.
- Ley N° 27867, Ley Ley Orgánica de Gobiernos Regionales. 16 November 2002.
- Martin, Gerald. "Literature, music and the visual arts, c. 1820–1870". In: Leslie Bethell (ed.), A cultural history of Latin America. Cambridge: University of Cambridge, 1998, pp. 3–45.
- Martin, Gerald. "Narrative since c. 1920". In: Leslie Bethell (ed.), A cultural history of Latin America. Cambridge: University of Cambridge, 1998, pp. 133–225.
- Porras Barrenechea, Raúl. El nombre del Perú. Lima: Talleres Gráficos P.L. Villanueva, 1968.
- Scheina, Robert (2003), Latin America's Wars: The Age of the Caudillo, 1791–1899, Brassey's, ISBN 978-1-57488-450-0
- Thorp, Rosemary and Geoffrey Bertram. Peru 1890–1977: growth and policy in an open economy. New York: Columbia University Press, 1978, ISBN 0231034334
อ่านเพิ่ม
[แก้]- เศรษฐกิจ
- (ในภาษาสเปน) Banco Central de Reserva. Cuadros Anuales Históricos เก็บถาวร 1 พฤษภาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- (ในภาษาสเปน) Instituto Nacional de Estadística e Informática. Perú: Perfil de la pobreza por departamentos, 2004–2008. Lima: INEI, 2009.
- Concha, Jaime. "Poetry, c. 1920–1950". In: Leslie Bethell (ed.), A cultural history of Latin America. Cambridge: University of Cambridge, 1998, pp. 227–260.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Country Profile from BBC News
- Peru. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Google search
- World Bank Summary Trade Statistics Peru
- PeruLinks เก็บถาวร 15 ตุลาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน web directory
- Wikimedia Atlas of Peru
- คู่มือการท่องเที่ยว Peru จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- (ในภาษาสเปน) Web portal of the Peruvian Government
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศเปรู ที่โอเพินสตรีตแมป