ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศออสเตรีย

พิกัด: 47°20′N 13°20′E / 47.333°N 13.333°E / 47.333; 13.333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

47°20′N 13°20′E / 47.333°N 13.333°E / 47.333; 13.333

สาธารณรัฐออสเตรีย

Republik Österreich (เยอรมัน)
ที่ตั้งของ ประเทศออสเตรีย  (เขียวเข้ม) – ในทวีปยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม) – ในสหภาพยุโรป  (เขียว)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]
ที่ตั้งของ ประเทศออสเตรีย  (เขียวเข้ม)

– ในทวีปยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (เขียว)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
เวียนนา
48°12′N 16°21′E / 48.200°N 16.350°E / 48.200; 16.350
ภาษาราชการเยอรมัน[a][b]
ภาษาประจำชาติออสเตรียนเยอรมัน (ออสเตรีย)[c]
ภาษาที่ได้รับการรับรอง
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2020)[3]
ศาสนา
(ค.ศ. 2018)[4]
เดมะนิมชาวออสเตรีย
การปกครองสหพันธ์สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
อเล็คซันเดอร์ ฟัน แดร์ เบ็ลเลิน
คาร์ล เนฮัมเมอร์
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
สภารัฐบาลกลาง
สภาแห่งชาติ
ประวัติการก่อตั้ง
1 พฤศจิกายน ค.ศ. 996
17 กันยายน ค.ศ. 1156
6 มกราคม ค.ศ. 1453
11 สิงหาคม ค.ศ. 1804
30 มีนาคม ค.ศ. 1867
12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
10 กันยายน ค.ศ. 1919
1 พฤาภาคม ค.ศ. 1934
12 มีนาคม ค.ศ. 1938
27 เมษายน ค.ศ. 1945
27 กรกฎาคม ค.ศ. 1955
พื้นที่
• รวม
83,879 ตารางกิโลเมตร (32,386 ตารางไมล์) (อันดับที่ 113)
0.84 (ค.ศ. 2015)[5]
ประชากร
• เมษายน ค.ศ. 2022 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 9,027,999[6] (อันดับที่ 98)
107.6 ต่อตารางกิโลเมตร (278.7 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 106)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
582,130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 43)
64,750 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 14)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
479,820 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 33)
53,320 ดอลลาร์สหรัฐ [7] (อันดับที่ 17)
จีนี (ค.ศ. 2020)positive decrease 27.0[8]
ต่ำ
เอชดีไอ (ค.ศ. 2020)เพิ่มขึ้น 0.922[9]
สูงมาก · อันดับที่ 18
สกุลเงินยูโร () (EUR)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+43
โดเมนบนสุด.at

ออสเตรีย[d] มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐออสเตรีย[e] เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของยุโรปกลาง โดยเป็นสหพันธรัฐที่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 รัฐ โดยหนึ่งในเก้ารัฐนั้นคือเวียนนาซึ่งทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของประเทศ ออสเตรียมีพรมแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับเยอรมนี ทางทิศเหนือติดกับเช็กเกีย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับสโลวาเกีย ทางทิศตะวันออกติดกับฮังการี ทางทิศใต้ติดกับสโลวีเนียและอิตาลี และทางทิศตะวันตกติดกับสวิตเซอร์แลนด์และลีชเทินชไตน์ ออสเตรียมีเนื้อที่ 83,879 ตารางกิโลเมตร (32,386 ตารางไมล์) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และมีประชากร 9 ล้านคน[11]

ออสเตรียเกิดขึ้นมาจากพื้นที่ส่วนที่เหลือของแคว้นชายแดนตะวันออกและแคว้นชายแดนฮังการีในช่วงปลายคริสต์สหัสวรรษที่ 1 เดิมนั้นเป็นแคว้นชายแดนของไบเอิร์น ซึ่งในเวลาต่อมาได้พัฒนากลายเป็นดัชชีของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 1156 และกลายเป็นอาร์ชดัชชีใน ค.ศ. 1453 ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 กรุงเวียนนาได้ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงฝ่ายบริหารของจักรวรรดิ และออสเตรียจึงกลายเป็นดินแดนศูนย์กลางแห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค หลังจากที่จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ถูกยุบลงใน ค.ศ. 1806 ออสเตรียได้สถาปนาจักรวรรดิเป็นของตนเองซึ่งได้กลายเป็นมหาอำนาจและเป็นสมาชิกที่มีบทบาทสำคัญในสมาพันธรัฐเยอรมัน ความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิออสเตรียในสงครามออสเตรีย-ปรัสเซียใน ค.ศ. 1866 นำไปสู่จุดสิ้นสุดของสมาพันธรัฐ และได้ปูทางให้กับการสถาปนาจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในปีต่อมา

ภายหลังการลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันทซ์ แฟร์ดีนันท์ ใน ค.ศ. 1914 จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟ ทรงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย ซึ่งในท้ายที่สุดก็ได้ทวีความรุนแรงกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ความพ่ายแพ้และการล่มสลายของจักรวรรดิในเวลาต่อมาได้นำไปสู่การสถาปนาสาธารณรัฐเยอรมันออสเตรียใน ค.ศ. 1918 และในเวลาต่อเป็นสาธารณรัฐออสเตรียที่หนึ่งใน ค.ศ. 1919 ในสมัยระหว่างสงคราม ทัศนคติต่อต้านระบบรัฐสภาก็มาถึงจุดสูงสุด จนนำไปสู่การก่อตั้งระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ออสเตรียภายใต้การนำของเอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส ใน ค.ศ. 1934 ก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่สองเป็นเวลาหนึ่งปี ออสเตรียถูกผนวกเข้ากับนาซีเยอรมนีโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และได้กลายเป็นเขตการปกครองในระดับต่ำกว่าชาติ หลังการปลดปล่อยออสเตรียใน ค.ศ. 1945 และการถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองเป็นเวลายาวนาน ประเทศก็ได้รับอำนาจอธิปไตยกลับคืนมาอีกครั้ง และได้ประกาศความเป็นกลางอย่างถาวรใน ค.ศ. 1955

ออสเตรียเป็นประเทศประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนโดยมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นประมุขแห่งรัฐ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้าฝ่ายบริหาร พื้นที่เมืองขนาดใหญ่ ได้แก่ เวียนนา กราทซ์ ลินทซ์ ซัลทซ์บวร์ค และอินส์บรุค ออสเตรียได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีมาตรฐานการครองชีพสูงสุด และได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก ในดัชนีการพัฒนามนุษย์ใน ค.ศ. 2020

ออสเตรียเป็นสมาชิกของสหประชาชาติมาตั้งแต่ ค.ศ. 1955[12] และเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปมาตั้งแต่ ค.ศ. 1995[13] เป็นที่ตั้งขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรปและองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก ออสเตรียเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจและองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่สำหรับการลงนามความตกลงเชงเกนใน ค.ศ. 1995[14] และออสเตรียใช้สกุลเงินยูโรใน ค.ศ. 1999[15]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ชื่อของประเทศออสเตรียในภาษาเยอรมัน (Österreich) มาจากคำในภาษาเยอรมันสูงเก่าว่า Ostarrîchi ซึ่งแปลว่า "อาณาจักรทางตะวันออก" และปรากฏเป็นครั้งแรกใน "เอกสารอาณาจักรทางตะวันออก" (Ostarrîchi document) จาก ค.ศ. 996[16][17] คำดังกล่าวอาจเป็นคำแปลของวลีในภาษาละตินสมัยกลางว่า Marchia orientalis มาเป็นภาษาท้องถิ่น (ไบเอิร์น) อีกทอดหนึ่ง

ออสเตรียเป็นจังหวัดหนึ่งของไบเอิร์นซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 976 คำว่า ออสเตรีย เป็นชื่อในภาษาเยอรมันที่แผลงเป็นภาษาละตินและได้รับการบันทึกไว้เป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 12[18] ในขณะนั้น พื้นที่บริเวณลุ่มน้ำดานูบของออสเตรีย (พื้นที่โอแบร์เอิสเตอร์ไรช์และนีเดอร์เอิสเตอร์ไรช์) เป็นอาณาเขตทางตะวันออกสุดของไบเอิร์น

ประวัติศาสตร์

[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

ออสเตรียเป็นสหพันธรัฐที่ประกอบด้วย 9 รัฐท้องถิ่น รัฐเหล่านี้แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น เขต (Bezirke) และ นคร (Statutarstädte) ซึ่งในเขตแต่ละแห่งยังแบ่งออกเป็นเทศบาล (Gemeinden)

  1. รัฐคารินเทีย (Kärnten)
  2. รัฐซัลทซ์บวร์ค (Salzburg)
  3. รัฐทีโรล (Tirol)
  4. รัฐบัวร์เกินลันท์ (Burgenland)
  5. รัฐฟอร์อาร์ลแบร์ค (Vorarlberg)
  6. รัฐนีเดอร์เอิสเตอร์ไรช์ (Nieder­österreich )
  7. รัฐเวียนนา (Wien)
  8. รัฐสตีเรีย (Styria)
  9. รัฐโอแบร์เอิสเตอร์ไรช์ (Ober­österreich)

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน ตามแผนที่ประเทศออสเตรียมีความกว้างจากทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกมากกว่า 575 กิโลเมตร มีความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้มากกว่า 294 กิโลเมตร

ประมาณ 60% ของสภาพภูมิประเทศของประเทศออสเตรียมีลักษณะเป็นภูเขาและเนินเขา ซึ่งได้รับการขานนามให้เป็น "ดินแดนแห่งขุนเขา" ประเทศออสเตรียมีการพาดผ่านของเส้นทาง "แม่น้ำดานูบ" (Donau) โดยผ่านรัฐโลเวอร์ออสเตรียหรือนีเดอร์เอิสเทอร์ไรช์ (Lower Austria; Niederösterreich) และรัฐอัปเปอร์ออสเตรียหรือโอเบอร์เอิสเทอร์ไรช์ (Upper Austria; Oberösterreich) ก่อนไหลต่อไปยังประเทศเช็กเกีย ภูมิประเทศของประเทศออสเตรียแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ

ภูเขา (Berge)
กรอสส์กล็อคเนอร์ (Großglockner)
ภูเขาสูงในประเทศออสเตรียมีความสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 3,000 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศออสเตรียตั้งอยู่ทางเทือกเขาด้านตะวันออก (Ostalpen) ด้วยความสูง 3,798 เมตร มีชื่อว่า โกรสส์กล็อกเนอร์ (Großglockner) ยอดเขาที่สูงรองลงมาคือ วิลด์ชปิทเซอ (Wildspitze) ด้วยความสูง 3,774 เมตร และยอดเขาที่สูงเป็นอันดับที่สามของประเทศออสเตรยคือ ไวสส์คูเกิล (Weißkugel) ด้วยความสูง 3,738 เมตร ด้วยลักษณะของภูเขาเป็นจุดสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบกีฬาฤดูหนาว (Wintersport) ยกตัวอย่างเช่น สกี สโนว์บอร์ด เป็นต้น ส่วนในฤดูร้อน ก็ยังสามารถที่จะท่องเที่ยวชื่นชมสภาพป่า และการปีนเขา อีกด้วย
ทะเลสาบนอยซีดเดิล (Neusiedler See)
ทะเลสาบ (Seen)
แม่น้ำดานูบในลินซ์ (Donau at Linz)
ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดของประเทศออสเตรียมีชื่อว่า นอยซีดเลอร์เซ (Neusiedler See) โดยมีพื้นที่ประมาณ 77% หรือประมาณ 315 ตารางกิโลเมตร อยู่ที่รัฐบูร์เกนลันด์ (Burgenland) ส่วนพื้นที่อีกประมาณ 33% ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของประเทศฮังการี และยังมีทะเลสาบอื่นๆ ที่มีความสำคัญคือ อัทเทอร์เซ (Attersee) ด้วยพื้นที่ประมาณ 46 ตารางกิโลเมตร และเทราน์เซ (Traunsee) อยู่ในพื้นที่รัฐอัปเปอร์ออสเตรีย และทะเลสาบอื่น ๆ อีกมากมายที่มีความสำคัญมากสำหรับดึงดูดนักท่องเที่ยวในช่วงฤดูร้อน เช่น โบเดินเซ (Bodensee), ซัลซ์คัมเมอร์กูทส์ (Salzkammerguts), โวทเฮอร์ซี (Wörthersee), มิลล์ชเตทเทอร์เซ (Millstätter See), ออสเซียเคอร์เซ (Ossiacher See), ไวส์เซินเซ (Weißensee), โมนด์เซ (Mondsee), วอล์ฟกังเซ (Wolfgangsee) เป็นต้น
แม่น้ำ (Flüsse)
แม่น้ำดานูบ (Donau) เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดสายหนึ่งในยุโรปและไหลผ่านภาคกลางตะวันออก แม่น้ำดานูบเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศออสเตรีย เมืองหลวงของรัฐลินซ์และเวียนนาตั้งอยู่บนแม่น้ำดานูบ

เศรษฐกิจ

[แก้]

เป็นแบบเสรีนิยมผสมสังคมนิยม โดยรัฐมีบทบาทในอุตสาหกรรม และวิสาหกิจหลัก เช่น อุตสาหกรรมขั้นปฐม การผลิตกระแสไฟฟ้า ธนาคาร และกิจการสาธารณูปโภค สาเหตุที่รัฐได้เข้ามาจัดการบริหารแบบรวมศูนย์ ก็เพื่อป้องกันการครอบครองจากโซเวียตภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ออสเตรียจึงเริ่มแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และได้พัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาดได้สำเร็จ ซึ่งทำให้ประชาชนมีมาตรฐานความเป็นอยู่สูง รัฐบาลชุดที่ผ่านมา ซึ่งเป็นพรรคขวา ได้มีแผนที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจการของรัฐเพิ่มเติม อันจะทำให้รัฐบาลออสเตรียมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจลดลง และในช่วงเวลาที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างแบบ Social Partnership ในช่วงทศวรรษที่ 60 และ 70 ได้ลดน้อยลงตามเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่เปลี่ยนไป รัฐบาลชุดปัจจุบันซึ่งนำโดยพรรคฝ่ายซ้ายสังคมนิยมจึงมีนโยบายชะลอการแปรรูปรัฐวิสาหกิจลง และเป็นที่คาดว่า จะมีนโนบายที่ทำให้ความสัมพันธ์ของนายจ้างและลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมเป็นไปแบบ Social Partnership ต่อไป

ประชากร

[แก้]
เด็ก ๆ ในออสเตรีย ใกล้ Au, Vorarlberg

สถิติออสเตรีย (Statistik Austria) รายงานว่าประชากรออสเตรียมีประมาณเกือบ 9 ล้านคน (8.9) ใน ค.ศ. 2020[19] โดยประชากรในเวียนนา เมืองหลวงของประเทศ มีมากกว่า 1.9 ล้านคน[20] (รวมชานเมืองที่มีประชากร 2.6 ล้านคน) ซึ่งเท่ากับหนึ่งส่วนสี่ของประชากรทั้งประเทศ

ผู้คนในกรุงเวียนนา (Wien)

เวียนนาเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ รองลงมาคือกราทซ์ที่มีประชากร 291,007 คน หลังจากนั้นคือลินทซ์ (212,538)[21], ซัลทซ์บวร์ค (155,031), อินส์บรุค (131,989) และคลาเกินฟวร์ท (101,303) เมืองอื่น ๆ มีประชากรน้อยกว่า 100,000 คน

ตามรายงานจาก Eurostat ใน ค.ศ. 2018 มีพลเมืองต่างชาติในประเทศออสเตรียที่ 1.69 ล้านคน ซึ่งเท่ากับ 19.2% ของประชากรทั้งหมด แบ่งเป็น 928,700 คน (10.5%) ที่ถือกำเนิดนอกสหภาพยุโรป และ 762,000 คน (8.6%) ถือกำเนิดในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป[22] มีลูกหลานของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศนี้มากกว่า 483,100 คน[23] ชาวเติร์กเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีมากที่สุดในประเทศออสเตรีย โดยมีจำนวนประมาณ 350,000 คน[24]

มีการประมาณอัตราการเจริญพันธุ์โดยรวม (TFR) ใน ค.ศ. 2017 ที่เด็ก 1.52 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคน[25] ซึ่งต่ำกว่าอัตราการทดแทนที่ 2.1 และยังคงต่ำกว่าจำนวนเด็ก 4.83 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคนใน ค.ศ. 1873[26] ออสเตรียมีประชากรที่อยู่ในวัยชรามากเป็นอันดับ 12 ของโลก โดยชาวออสเตรียมีอายุเฉลี่ยที่ 44.2 ปี[27] การคาดหมายคงชีพใน ค.ศ. 2016 อยู่ที่ประมาณ 81.5 ปี (ชาย 78.9 ปี หญิง 84.3 ปี)[28]

สถิติออสเตรียประมาณการว่าใน ค.ศ. 2080 จะมีประชากรอาศัยอยู่ในประเทศนี้เกือบ 10 ล้านคน[29]

เมืองใหญ่สุด

[แก้]


ศาสนา

[แก้]
ศาสนาในประเทศออสเตรีย (2017)
โรมันคาทอลิก
  
56.9%
อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
  
8.8%
อิสลาม
  
8.0%
โปรเตสแตนต์
  
3.3%
พุทธ
  
0.3%
ไม่มี
  
22.7%
ข้อมูล:[30][31][32]
บาซิลิกาMariazell เป็นสถานที่แสวงบุญยอดนิยมในออสเตรีย

ใน ค.ศ. 2001 ประชากรออสเตรียประมาณ 74% ระบุตนเองว่านับถือโรมันคาทอลิก[33] ในขณะที่ประมาณ 5% ระบุตนเองเป็นโปรเตสแตนต์[33] ชาวออสเตรียที่นับถือศาสนาคริสต์ทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์[34]จำเป็นต้องจ่ายค่าสมาชิกบังคับ (คำนวณตามรายได้—ประมาณ 1%) ให้กับคริสต์จักร การชำระเงินนี้มีชื่อเรียกว่า "Kirchenbeitrag" ("คุณูปการคริสตจักร") เนื่องจากในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีผู้นับถือและผู้เข้าโบสถ์น้อยลง ข้อมูลจากรายชื่อสมาชิก 5,050,000 คน หรือ 56.9% ของประชากรทั้งประเทศ ของคริสตจักรโรมัคาทอลิกออสเตรียใน ค.ศ. 2018 มีผู้เข้าโบสถ์ในวันอาทิตย์ที่ 605,828 คน หรือ 7% ของประชากรทั้งประเทศใน ค.ศ. 2015[35] คริสตจักรลูเทอแรนก็รายงานว่าสูญเสียผู้นับถือ 74,421 คนในช่วง ค.ศ. 2001 ถึง 2016 รายงานสำมะโน ค.ศ. 2001 ระบุว่ามีประชากรประมาณ 12% ที่ประกาศว่าตนไม่มีศาสนา[33]

ตามรายงานจากโพล Eurobarometer ใน ค.ศ. 2010[36]

  • พลเมืองออสเตรีย 44% ตอบว่า "พวกเขาเชื่อว่ามีพระเจ้า"
  • 38% ตอบว่า "พวกเขาเชื่อว่ามีวิญญาณหรือพลังชีวิต"
  • 12% ตอบว่า "พวกเขาไม่เชื่อว่ามีวิญญาณ พระเจ้า หรือพลังชีวิต"

วัฒนธรรม

[แก้]

ออสเตรียมีชื่อเสียงในด้านวัฒนธรรม ศิลปะ และดนตรี มีศิลปินและนักแต่งเพลงชื่อดังมากมาย Wolfgang Amadeus Mozart เป็นหนึ่งในนักประพันธ์เพลงหลายคนในยุคคลาสสิก

หมายเหตุ

[แก้]
  1. พจนานุกรมออสเตรีย ซึ่งถือเป็นพจนานุกรมอย่างเป็นทางการ ได้รับการจัดพิมพ์โดยผ่านการมอบหมายของกระทรวงศึกษาธิการออสเตรีย
  2. ภาษาโครเอเชีย เช็ก ฮังการี โรมานี สโลวัก และสโลวีเนียได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการโดยกฎบัตรสำหรับภาษาภูมิภาคและภาษาชนกลุ่มน้อยในยุโรป
  3. It is standardized in Austria by the Österreichisches Wörterbuch, a dictionary published by the Ministry of Education, Science and Research.
  4. อังกฤษ: Austria, ออกเสียง: /ˈɒstriə/ ( ฟังเสียง), /ˈɔːstriə/;[10] เยอรมัน: Österreich, ออกเสียง: [ˈøːstɐʁaɪç] ( ฟังเสียง)
  5. อังกฤษ: Republic of Austria; เยอรมัน: Republik Österreich, ออกเสียง: [ʁepuˈbliːk ˈʔøːstɐʁaɪç] ( ฟังเสียง)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Die verschiedenen Amtssprachen in Österreich". DemokratieWEBstatt.at. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 พฤษภาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2018.
  2. "Regional Languages of Austria". Rechtsinformationssystem des Bundes. 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2013.
  3. "Bevölkerung nach Migrationshintergrund". www.statistik.at (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-14. สืบค้นเมื่อ 2021-12-23.
  4. "Central Intelligence Agency". The World Factbook. Central Intelligence Agency. 7 February 2020. สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
  5. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 2020-10-11.
  6. "Population by Year-/Quarter-beginning". 7 พฤศจิกายน 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2015.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "Austria". International Monetary Fund. 1 April 2018. สืบค้นเมื่อ 23 July 2018.
  8. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
  9. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  10. Roach, Peter (2011), Cambridge English Pronouncing Dictionary (18th ed.), Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-15253-2
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  12. Jelavich 267
  13. "Austria". The World Factbook. Central Intelligence Agency. 14 May 2009. สืบค้นเมื่อ 31 May 2009.
  14. "Austria joins Schengen". Migration News. พฤษภาคม 1995. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กรกฎาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2009.
  15. "Austria and the euro". European Commission - European Commission. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2018.
  16. "University of Klagenfurt". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2009.
  17. Bischof, Günter; Pelinka, Anton, บ.ก. (1997). Austrian Historical Memory and National Identity. New Brunswick: Transaction Publishers. pp. 20–21. ISBN 978-1-56000-902-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2018.
  18. Brauneder, Wilhelm (2009). Österreichische Verfassungsgeschichte (11th ed.). Vienna: Manzsche Verlags- und Universitätsbuchhandlung. p. 17. ISBN 978-3-214-14876-8.
  19. Statistik Austria. "STATISTIK AUSTRIA – Presse". statistik.at. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2014.
  20. "Probezählung 2006 – Bevölkerungszahl" (PDF). Statistik Austria (ภาษาเยอรมัน). 31 ตุลาคม 2006. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มิถุนายน 2009. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2009.
  21. "Zahlen - Bevölkerung". Stadt Linz (ภาษาเยอรมัน).
  22. "Migration and migrantpopulation statistics" (PDF). www.ec.europa.eu. Eurostat.
  23. "Population – Austria". Austrian Press & Information Service in the United States, Embassy of Austria.
  24. "Turkey's ambassador to Austria prompts immigration spat". BBC News. 10 November 2010.
  25. AUSTRIA, STATISTIK. "Bevölkerung". Statistik.at. สืบค้นเมื่อ 24 August 2017.
  26. Roser, Max (2014), "Total Fertility Rate around the world over the last two centuries", Our World In Data, Gapminder Foundation
  27. "The World FactBook - Austria", The World Factbook, July 12, 2018
  28. "The World Factbook — Central Intelligence Agency". www.cia.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 พฤษภาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2017.
  29. "Population Forecasts". www.statistik.at.
  30. WZ-Recherche 2016. Published in article: "Staat und Religion เก็บถาวร 15 พฤศจิกายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Wiener Zeitung, January 2016.
  31. "Anzahl der Gläubigen von Religionen in Österreich im Zeitraum 2012 bis 2017". Statista – Das Statistik-Portal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2018. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2018.
  32. katholisch.at. "Statistik". www.katholisch.at. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มีนาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2016.
  33. 33.0 33.1 33.2 "Census 2001: Population 2001 according to religious affiliation and nationality" (PDF) (ภาษาเยอรมัน). Statistik Austria. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2007. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2007.
  34. ภาษีเป็นข้อบังคับสำหรับลูเทอแรนและปฏิรูป
  35. "Katholische Kirche Österreichs, Statistik". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มีนาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2017.
  36. "Special Eurobarometer, biotechnology, page 204" (PDF) (Fieldwork: Jan–Feb 2010 ed.). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2013.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Brook-Shepherd, Gordon (1998). The Austrians: a thousand-year odyssey. New York: Carroll & Graf Publishers, Inc. ISBN 978-0-7867-0520-7.
  • Jelavich, Barbara (1987). Modern Austria: empire and republic 1815–1986. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-31625-5.
  • Johnson, Lonnie (1989). Introducing Austria: a short history. Riverside, Calif.: Ariadne Press. ISBN 978-0-929497-03-7.
  • Rathkolb, Oliver. The Paradoxical Republic: Austria, 1945–2005 (Berghahn Books; 2010, 301 pages). Translation of 2005 study of paradoxical aspects of Austria's political culture and society.
  • Schulze, Hagen (1996). States, nations, and nationalism: from the Middle Ages to the present. Cambridge, Massachusetts: Blackwell. ISBN 978-0-631-20933-1.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
รัฐบาล
การค้า
การท่องเที่ยว