ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศนอร์เวย์

พิกัด: 61°N 8°E / 61°N 8°E / 61; 8
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

61°N 8°E / 61°N 8°E / 61; 8

ราชอาณาจักรนอร์เวย์

ภาษาอื่น ๆ
คำขวัญไม่มีa
เพลงชาติ

ที่ตั้งของ ประเทศนอร์เวย์  (เขียว)

ในยุโรป  (เขียวและเทาเข้ม)

ที่ตั้งของประเทศนอร์เวย์และดินแดนโพ้นทะเล: สฟาลบาร์, ยานไมเอน, เกาะบูเว, เกาะปีเตอร์ที่ 1 และควีนม็อดแลนด์
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ออสโล
59°56′N 10°41′E / 59.933°N 10.683°E / 59.933; 10.683
ภาษาราชการนอร์เวย์[a]
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับ
กลุ่มชาติพันธุ์
ศาสนา
(2019)[8][9]
75.6% คริสต์
—68.7% คริสตจักรแห่งนอร์เวย์[d]
—6.9% นิกายอื่น ๆ
20.2% ไม่มีศาสนา
3.4% อิสลาม
0.8% อื่น ๆ
เดมะนิมชาวนอร์เวย์
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5
ยูนัส การ์ สเตอเรอ
Masud Gharahkhani
Toril Marie Øie
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
 L สภาซามี
ประวัติ
ค.ศ. 872
ค.ศ. 1263
ค.ศ. 1397
ค.ศ. 1524
25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1814
17 พฤษภาคม ค.ศ. 1814
4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1814
7 มิถุนายน ค.ศ. 1905
พื้นที่
• รวม
385,207 ตารางกิโลเมตร (148,729 ตารางไมล์)[11] (อันดับที่ 61b)
5.32 (2015)[12]
ประชากร
• 2024 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 5,550,203[13] (อันดับที่ 118)
14.4 ต่อตารางกิโลเมตร (37.3 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 213)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2020 (ประมาณ)
• รวม
350 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[14] (อันดับที่ 49)
64,856 ดอลลาร์สหรัฐ[14] (อันดับที่ 6)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2020 (ประมาณ)
• รวม
366 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[14] (อันดับที่ 33)
67,987 ดอลลาร์สหรัฐ[14] (อันดับที่ 4)
จีนี (2019)Negative increase 25.4[15]
ต่ำ
เอชดีไอ (2022)เพิ่มขึ้น 0.966[16]
สูงมาก · อันดับที่ 2
สกุลเงินโครเนอร์นอร์เวย์ (NOK)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
รูปแบบวันที่วว.ดด.ปปปป
ไฟบ้าน230 โวลต์ - 50 เฮิร์ซ
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+47
โดเมนบนสุด.nod
  1. ประเทศนี้ไม่มีคำขัวญอย่างเป็นทางการ แต่จากคำสาบานในสภาร่างรัฐธรรมนูญของนอร์เวย์ประจำปี 1814 สามารถถือเป็นคำขวัญอย่างไม่เป็นทางการที่ใกล้เคียงที่สุด:
    Enige og tro inntil Dovre faller (บูกโมล)
    Einige og tru inntil Dovre fell (นีนอชก์)
    "สามัคคีและภักดีจนกว่าโดฟเรล่มสลาย"
  2. รวมแผ่นดินใหญ่ สฟาลบาร์และยานไมเอน[11] (ถ้าไม่รวมดินแดนพึ่งพิง จะเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 67 โดยมีพื้นที่ 323,802 ตารางกิโลเมตร[17])
  3. จำนวนร้อยละนี้มีพื้นที่แผ่นดินใหญ่ สฟาลบาร์ และยานไมเอน ซึ่งรวมแผ่นน้ำแข็งเป็น"พื้นดิน" ทำให้มีพื้นที่ 19,940.14/(365,246.17+19,940.14).[ต้องการอ้างอิง]
  4. มี 2 รหัสที่ได้จองไว้แต่ไม่ได้ใช้ คือ .sj สำหรับสฟาลบาร์และยานไมเอน .bv สำหรับเกาะบูแว

นอร์เวย์ (อังกฤษ: Norway; บูกโมลนอร์เวย์: Norge; นีน็อชก์นอร์เวย์: Noreg; ซามีเหนือ: Norga) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (อังกฤษ: Kingdom of Norway; บูกโมลนอร์เวย์: Kongeriket Norge; นีน็อชก์นอร์เวย์: Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง นอร์เวย์มีพื้นที่ทั้งหมด 385,207 ตารางกิโลเมตร (148,729 ตารางไมล์) มีเมืองหลวงคือกรุงออสโล และมีประชากรราว 5,385,300 คน (ค.ศ. 2020)[18] ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวนอร์ดิก[19] โดยอัตราการย้ายถิ่นฐานมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของอัตราการเติบโตของประชากร

ดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ในขณะที่เกาะบูแวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนควีนม็อดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยอีกด้วย

สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 เป็นกษัตริย์พระองค์ปัจจุบันของนอร์เวย์ และมี อานา ซูลบาร์ก เป็นนายกรัฐมนตรีมาตั้งแต่ ค.ศ. 2013 นอร์เวย์มีฐานะรัฐอธิปไตยรวมที่มีระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ นอร์เวย์แบ่งอำนาจรัฐผ่านรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาลฎีกาตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1994 ราชอาณาจักรก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 872 ซึ่งมาจากการควบรวมของอาณาจักรย่อยจำนวนมากและดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1,149 ปี นอร์เวย์เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเดนมาร์ก-นอร์เวย์ ระหว่าง ค.ศ. 1537-1814 และเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสวีเดน ระหว่าง ค.ศ. 1814-1905 นอร์เวย์วางตัวเป็นกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[20] จนถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 1940 ก่อนจะเข้าร่วมเมื่อถูกรุกรานและครอบครองโดยเยอรมนีจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง[21]

นอร์เวย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา และยังเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติ เนโท สมาคมการค้าเสรียุโรป สภายุโรป สนธิสัญญาแอนตาร์กติก และสภานอร์ดิก และเป็นสมาชิกของเขตเศรษฐกิจยุโรป องค์การการค้าโลก และ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และยังเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เชงเกน นอกจากนี้ ภาษานอร์เวย์ยังเข้าใจร่วมกันได้กับภาษาเดนมาร์กและสวีเดน

นอร์เวย์พัฒนาประเทศด้วยนโยบายเศรษฐกิจตามรูปแบบของตัวแบบนอร์ดิก เช่นเดียวกับประเทศ อื่น ๆ ในสแกนดิเนเวีย โดยมีระบบสวัสดิการที่มีคุณภาพสูง และระบบประกันสังคมที่ครอบคลุม และยังให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกันของประชากร[22] นอร์เวย์ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยและมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจสูง[23][24] มีจุดเด่นในภาคอุตสาหกรรมหลัก โดยมีปริมาณสำรองของปิโตรเลียม แก๊สธรรมชาติ แร่ธาตุ ไม้แปรรูป อาหารทะเล และน้ำจืดจำนวนมาก[25] อุตสาหกรรมปิโตรเลียมมีสัดส่วนประมาณหนึ่งในสี่ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) นอร์เวย์ยังเป็นผู้ส่งออกน้ำมันและแก๊สธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลกในบรรดาประเทศนอกตะวันออกกลาง[26]

นอร์เวย์เป็นประเทศพัฒนาแล้ว[27] และมีรายได้ต่อหัวสูงเป็นอันดับ 4 ของโลกตามการจัดอันดับธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และตามการวัดค่าภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (พีพีพี) (ประมาณการใน ค.ศ. 2015) ซึ่งรวมถึงเขตปกครองตนเองและภูมิภาค นอร์เวย์อยู่ในอันดับที่ 11 ในด้านประเทศที่มีกองทุนความมั่งคั่งอธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[28] นอร์เวย์ได้รับการจัดอันดับดัชนีการพัฒนามนุษย์ที่สูงที่สุดในโลกตั้งแต่ ค.ศ. 2009 นอกจากนี้ยังได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีการขจัดความเหลื่อมล้ำทางสังคมสูงที่สุดใน ค.ศ. 2018[29] และเป็นประเทศอันดับหนึ่งที่มีอัตราความสุขของประชากรสูงที่สุดใน ค.ศ. 2017 รวมทั้งอันดับหนึ่งในด้านดัชนีความซื่อสัตย์ต่อสาธารณะ ดัชนีเสรีภาพ และดัชนีประชาธิปไตย และยังเป็นประเทศหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเกิดอาชญากรรมที่ต่ำที่สุดในโลกอีกด้วย[30]

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงภูมิประเทศของนอร์เวย์ในฤดูหนาว
ภูมิประเทศที่ราบลุ่มทั่วไปของนอร์เวย์ใกล้บริเวณ ฟยอร์ด
เกาะขนาดใหญ่บางแห่งตามแนวชายฝั่งทางตอนเหนือของนอร์เวย์

นอร์เวย์ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกของสแกนดิเนเวียในยุโรปเหนือ มีพรมแดนส่วนที่ติดต่อกับสวีเดนและฟินแลนด์ยาว 2,542 กิโลเมตร และพรมแดนสั้น ๆ ติดต่อกับรัสเซียทางทิศตะวันออก ทางทิศตะวันตกและใต้ติดต่อกับทะเลนอร์วีเจียน ทะเลเหนือ และสแกเกอแรก ทางทิศเหนือติดต่อกับทะเลแบเรนตส์ ภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อม

ภูมิประเทศ[31] : ภูเขาน้ำแข็งปกคลุมมากกว่าครึ่งประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่สูงและภูเขาสูงจะมีน้ำแข็งปกคลุมตลอดทั้งปี พื้นที่หลายแห่งมีภูเขาสลับซับซ้อน มีช่องเขาแคบ ๆ สลับที่ราบหลายแห่ง ชายฝั่งทะเลส่วนใหญ่เป็นฟยอร์ดที่มีน้ำลึกแต่นิ่ง เหมาะในการสร้างท่าเรือ

ภูมิอากาศ : ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขาสูงแยกกันโดย หุบเขาที่ อุดมสมบูรณ์ มีที่ราบขนาดเล็ก กระจายอยู่ทั่วไป ตามชายฝั่งมีธารน้ำแข็ง (Fjords) จำนวนมาก มีที่ทุ่งหญ้าทุนดราที่ไม่มีต้นไม้ทางทิศเหนือ บริเวณชายฝั่งอากาศเย็นสบาย ด้วยอิทธิพลของกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Current) พื้นที่ด้านในทวีปมีอากาศเย็นกว่าและมีปริมาณน้ำที่ตกจากฟ้า (ในรูปฝนหรือหิมะ หรืออื่น ๆ) มากกว่า ฤดูร้อนก็มีอากาศเย็นกว่า ฝนตกตลอดทั้งปี ในบริเวณชายฝั่งตะวันตก

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

[แก้]
แผนที่อารยธรรมคอร์ดแวร์.

ยุคสำริด

[แก้]
ศิลปะสกัดหินรูปเรือนอร์ดิกในยุคสำริด
แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนเจอร์แมนิกในนอร์เวย์ โดย Jordanes.
Sæbø sword จาก Sæbø, Hordaland (800 ปีก่อน ค.ศ.)

ยุคโลหะ

[แก้]

การอพยพย้ายถิ่น

[แก้]

ชาวนอร์เวย์เองก็อพยพไปยังประเทศอื่นเช่นเดียวกัน ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 และในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ชาวนอร์เวย์ประมาณ 800,000 คนอพยพไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเศรษฐกิจของนอร์เวย์ไม่ดีนักและประชากรหางานทำได้ยากมาก หลายคนฝันว่าจะไปเริ่มชีวิตใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะได้ยินว่าที่นั่นมีโอกาสดี ๆ มากมาย หลายคนพบว่าชีวิตในประเทศใหม่นี้มีความยากลำบากในช่วงแรก ในขณะที่คนส่วนใหญ่ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

ปัจจุบันชาวนอร์เวย์เป็นจำนวนมากทำงานหรือศึกษาในต่างประเทศ คนเหล่านี้ใช้เวลาเรียนรู้วัฒนธรรมอื่น ๆ และเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ ชาวนอร์เวย์ที่เป็นผู้ใหญ่ช่วงต้นมักใช้เวลาสองถึงสามเดือนหรือตลอดทั้งปีเดินทางไปรอบโลกเพื่อชมและหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ในประเทศและวัฒนธรรมที่แตกต่าง

ผู้อพยพชุดล่าสุดของนอร์เวย์คือกลุ่มที่เดินทางไปยังประเทศเขตร้อนและอาศัยอยู่ในระยะเวลาที่ต่างกัน ผู้ชราภาพที่กินบำนาญหลายรายต้องการออกจากพื้นที่เขตหนาวของนอร์เวย์ในช่วงฤดูหนาว หลายคนย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศอื่น เช่น สเปน อย่างถาวร ในขณะที่อีกหลายคนอาศัยอยู่ในประเทศเหล่านี้ในช่วงฤดูหนาวและกลับมานอร์เวย์ในช่วงฤดูร้อน

นอร์เวย์เป็นถิ่นอาศัยของกลุ่มคนที่มีพื้นเพหลากหลายมาเป็นเวลายาวนาน ชาวซามีอาศัยอยู่ทางนอร์เวย์ตอนเหนือมาเป็นเวลาสองพันปี และมีคนเดินทางมายังนอร์เวย์เพื่อมาหางานทำนับเป็นร้อยปีมาแล้ว ผู้ย้ายถิ่นฐานชุดแรกที่เข้ามาทำงานที่นี่มาจากประเทศเพื่อนบ้านและในยุโรปตะวันตก ปัจจุบันประชากรจากกว่า 200 ประเทศอาศัยอยู่ที่นี่

เศรษฐกิจของนอร์เวย์ปรับตัวดีขึ้นนับตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ทำให้มีความต้องการแรงงานและมีคนเป็นจำนวนมากจากหลายประเทศเดินทางเข้ามาเพื่อหางานทำ คนกลุ่มแรกที่เข้ามามาจากยุโรป และนับตั้งแต่ช่วงปี 1970 เป็นต้นมา หลายคนมาจากเอเชีย อาฟริกาและละตินอเมริกา นอกจากนี้ยังมีชาวปากีสถานและชาวเตอร์กที่เดินทางมาเพื่อทำงานที่นี่ หลายคนยังคงอาศัยอยู่ในนอร์เวย์ในปัจจุบัน ในปี 1975 การย้ายถิ่นฐานถูกชะลอไว้ชั่วคราวเนื่องจากอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นและปัญหาด้านการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับคนที่เดินทางเข้ามาในประเทศ

ปัจจุบันประชากรจากประเทศใน EEA สามารถรับใบอนุญาตผู้พำนักและใบอนุญาตทำงานในนอร์เวย์ได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในสาขางานที่นอร์เวย์ต้องการก็สามารถขอรับใบอนุญาตทำงานได้เช่นกัน ในช่วงปีที่ผ่านมา ผู้ลี้ภัยทางการเมืองหลายคนเดินทางมายังนอร์เวย์จากส่วนต่าง ๆ ของโลก ผู้ที่ลี้ภัยสงครามและกรณีความรุนแรงสามารถยื่นขอลี้ภัยทางการเมืองในนอร์เวย์ได้

ยุคไวกิง

[แก้]
หมวกเหล็ก ค้นพบที่ Gjermundbu ใกล้เมือง Haugsbygd, Buskerud, เป็นหมวกเหล็กสมัยไวกิงที่มีสภาพสมบูรณ์.
Gokstad ship ที่ พิพิธภัณฑ์เรือไวกิง กรุงออสโล

เราเรียกช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศักราช 800 – 1100 ว่าเป็นยุคไวกิง นอร์เวย์ไม่ได้เป็นประเทศที่เป็นรัฐเดียว แต่เป้นราชอาณาจักรเล็ก ๆ หลายอาณาจักร ฮาร์รรัลด์ แฟร์แฮร์ (Harald Hårfagre) เป็นพระราชาของดินแดนที่ใหญ่ในปี 872 ชาวไวกิงเดินทางไปหลายประเทศ และชาวไวกิงบางส่วนคือ พ่อค้า จากการซื้อและขายของต่าง ๆ

ชาวเหนือที่อาศัยในแถบสแกนดิเนเวีย มีพื้นที่เพาะปลูกน้อย จึงหันมายึดอาชีพการประมง และพัฒนาการต่อเรือเดินทะเล ซึ่งต่อมามีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องออกทะเลเพื่อค้าขายแต่พวกนี้ชอบทำตัวเป็นโจรสลัด เที่ยวรุกรานใครต่อใคร ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เรียกชาวเหนือพวกนี้ว่า "Viking" (ชาวนอร์เวย์ออกเสียงว่า วีคิง) เรือเดินทะเลดั้งเดิม ซึ่งมีความยาว 22 เมตร กลางลำกว้าง 5 เมตร ลึก 1.5 เมตร มีฝีพาย 30-32 คน ตรงกลางมีเสากระโดงสำหรับติดเรือใบ ท้องเรือแบนเหมาะแก่การโต้คลื่น หัวงอน ท้ายงอน ช่วยให้ปราดเปรียว โดยเฉพาะหัวเรือนั้น ทำเป็นหัวงู เนื่องจากมีความเชื่อว่าสัตว์เลื้อยคลานชนิดนี้จะช่วยขจัดความชั่วร้าย

จะเห็นได้ว่าส่วนประกอบที่ทำเป็นลำเรือนั้นคือไม้โอ๊ก ซึ่งตีประกบกันเป็นเกล็ด แล้วเคลือบด้วยน้ำมันเหนียว ๆ ซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่าเรือไม้อื่น ๆ ส่วนหางเสือนั้นทำเป็นแบบถอดได้ ลำเรือมีน้ำหนักเบา พอขึ้นฝั่งก็ถอดหางเรือ เข็นเรือเกยตื้นได้คล่อง ครั้นจะออกทะเลก็เข็นลงน้ำ ติดหางเสือพร้อมกับเร่งฝีพาย ชักใบเรือขึ้นเสากระโดง มีเรือไวกิงตั้งแสดงไว้ 3 ลำ แต่ละลำมีอายุราว ๆ 1,000 ปี ดูเหมือนกว่าลำที่ขุดพบแรกสุดเมื่อร้อยปีเศษมานี้ แม้จะผุพังไปมาก

แต่เขาได้ใช้ความพยายามเอาชิ้นส่วนที่ยังใช้ได้มาประกอบรวมกับของใหม่ ซึ่งของเดิมนั้นจะมีสีคล้ำกว่าอย่างเห็นได้ชัด ส่วนช่วงหลังของอาคาร ใช้เป็นที่แสดงสิ่งของที่ขุดพบในซากเรือและในจำนวนเรือไวกิงหรือเรือเดินทะเลทั้ง 3 ลำนี้ มีเพียงลำเดียวที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์เนื่องจากจมอยู่ในโคลน อีกทั้งได้พบหลักฐานว่าไม่เคยออกทะเล แต่ใช้เป็นที่ฝังศพของหญิงสูงศักดิ์ชาวไวกิง 2 คน พร้อมกับสิ่งของเครื่องใช้สำหรับผู้ตายให้เอาไปใช้ในภพหน้า และมีอยู่ลำหนึ่งเสียหายมาก เพราะโดนแทร็กเตอร์ของคนงานก่อสร้างโดยบังเอิญ ส่วนแพ Kon-Tiki ได้ตั้งแสดงไว้อีกพิพิธภัณฑ์ ในที่นั้นยังมีเรือฟาง Ra II อีกลำ ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อใช้พิสูจน์ความจริงบางประการเมื่อไม่นานมานี้

สหภาพคาลมาร์

[แก้]
แผนที่แสดงอาณาเขตของนอร์เวย์ ค.ศ. 1265

เดนมาร์ก-นอร์เวย์

[แก้]
Battle of the Sound ระหว่างกองเรือฝ่ายสัมพันธมิตร ดาโน-นอร์เวย์–ดัตช์ และ สวีเดน, 29 ตุลาคม 1658.

ระหว่างศตวรรษที่ 14 เดนมาร์กมีอิทธิพลเหนือนอร์เวย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ใน ค.ศ. 1397 นอร์เวย์อยู่ในสหภาพเดียวกับเดนมาร์กและสวีเดนอย่างเป็นทางการ สหภาพถูกปกครองโดยกษัตริย์ร่วมกัน สวีเดนค่อย ๆ ถอนตัวออกมาจากสหภาพนี้ แต่เดนมาร์กและนอร์เวย์ยังคงรวมกันจนกระทั่งค.ศ. 1814

สหภาพถูกปกครองจากเดนมาร์ก โคเปนเฮเกนเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของสหภาพและชาวนอร์เวย์อ่านและเขียนเป็นภาษาเดนมาร์ก เกษตกรชาวนอร์เวย์จ่ายภาษีให้กับกษัตริย์ในโคเปนเฮเกน

สหราชอาณาจักร

[แก้]
สภาร่างรัฐธรรมนูญ ค.ศ.1814 วาดโดย Oscar Wergeland

การประกาศเอกราช

[แก้]

สหภาพกับสวีเดนล่มสลายใน ค.ศ. 1905 มีความขัดแย้งทางการเมืองเป็นเวลาหลายปีระหว่างรัฐสภาของนอร์เวย์กับกษัตริย์ในประเทศสวีเดน และในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีความเชื่อมากขึ้นเรื่อยๆ ว่านอร์เวย์ควรเป็นประเทศเอกราชและมีเสรีภาพ

วันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1905 รัฐสภาประกาศว่ากษัตริย์แห่งสวีเดนไม่ได้เป็นกษัตริย์ของนอร์เวย์อีกต่อไป และสหภาพกับสวีเดนก็ล่มสลายตามมา ปฏิกิริยาตอบกลับในสวีเดนรุนแรงและสงครามระหว่างนอร์เวย์และสวีเดนใกล้จะเริ่มขึ้น เนื่องมากจากการลงประชามติสองครั้งเกิดขึ้นในปีเดียวกัน จึงเป็นตัวกำหนดให้สหภาพกับสวีเดนล่มสลายและชาติใหม่ของนอร์เวย์เป็นการปกครองโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข

เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์กถูกเลือกให้เป็นกษัตริย์คนใหม่ของนอร์เวย์ เขามีชื่อทางราชวงศ์ของนอร์เวย์ว่า ฮากอน กษัตริย์ฮากอนเป็นกษัตริย์องค์ที่ 7 ของนอร์เวย์ตั้งแต่ ค.ศ. 1905 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1957

สงครามโลก

[แก้]
ส่วนหนึ่งของNorwegian Campaign ค.ศ. 1940

นอร์เวย์ถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 ถึง 1945 และถูกทำลายในช่วงสงครามไปมาก อาคารบ้านเรือน โรงงานและเมืองต่าง ๆ ถูกทิ้งระเบิดและเผาทำลาย สินค้าส่วนใหญ่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการและประชาชนต้องประสบกับความยากลำบาก

สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้นในเดือนกันยายนปี 1939 เมื่อครั้งที่โปแลนด์ถูกรุกรานโดยทหารเยอรมัน ทหารเยอรมันรุกรานนอร์เวย์เมื่อวันที่ 9 เมษายน 1940 มีการต่อสู้ช่วงสั้น ๆ เกิดขึ้นหลายแห่งในประเทศ แต่ระยะเวลาเพียงไม่กี่วันเยอรมันก็สามารถควบคุมนอร์เวย์ได้ทั้งหมด กษัตริย์และเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างหลบหนีไปที่ลอนดอนประเทศอังกฤษและดำเนินการต่อต้านจากที่นั่น

ระหว่างสงครามช่วงสองสามวันแรก ยังไม่มีการต่อต้านเกิดขึ้นมากนักในนอร์เวย์ เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกพวกนาซีควบคุม โดยรัฐบาลใหม่ที่เข้าพวกกับนาซีได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อบริหารประเทศแทน รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้ถูกเลือกขึ้นตามระบอบประชาธิปไตย

ชาวนอร์เวย์หลายคนประกอบกิจกรรมที่ผิดกฎหมายระหว่างช่วงสงคราม มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างไม่มีการปิดกั้น ทั้งทางหนังสือพิมพ์และใบปลิว และมีอีกหลายคนที่ช่วยคนให้หลบหนีจากพวกนาซีไปยังประเทศอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวีเดนและอังกฤษ หลายคนถูกจับกุมและขังไว้ในค่ายกักกัน

แม้ว่าประเทศจะถูกยึดครอง แต่คนส่วนใหญ่ยังไปทำงานตามปกติและเด็ก ๆ ก็ยังคงไปเรียนหนังสือได้ตามเดิม อย่างไรก็ตาม อาหาร เสื้อผ้าและปัจจัยอื่น ๆ ถูกแบ่งสรรจากฝ่ายควบคุม ทำให้หลายคนเกิดความไม่แน่ใจในอนาคต

นอร์เวย์มีเรือพาณิชย์ก่อนช่วงสงครามเป็นจำนวนมาก ระหว่างช่วงสงครามปี 1940-1945 เรือหลายลำในจำนวนนี้ส่งสินค้าไปยังประเทศที่ทำสงครามกับเยอรมัน โดยรัฐบาลนอร์เวย์ในลอนดอนเป็นผู้เตรียมการขนส่งเหล่านี้ ประมาณครึ่งหนึ่งของกองเรือถูกทิ้งตอร์ปิโดหรือถล่มด้วยระเบิด ลูกเรือชาวนอร์เวย์เกือบ 4,000 คนต้องเสียชีวิตระหว่างสงคราม

ชายและหญิงชาวนอร์เวย์ประมาณ 10,000 คนเสียชีวิตเนื่องจากสงคราม ประมาณ 700 คนจากนี้เป็นชาวยิวที่ถูกส่งไปยังค่ายกักกันส่วนกลางในเยอรมันและโปแลนด์

ในวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 เยอรมันยอมจำนน นอร์เวย์จึงเป็นประเทศเอกราชอีกครั้ง ชาวนอร์เวย์ประมาณ 50,000 คนต้องข้อหากบฏหลังจากสงครามสิ้นสุด คนเหล่านี้เป็นสมาชิกของพรรคสังคมนิยมแห่งชาตินอร์เวย์ Nasjonal Samling ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ฝักใฝ่กับพวกนาซี โดย25 คนถูกประหารชีวิตด้วยข้อหากบฏหลังสงคราม

ยุคฟื้นฟูประเทศ

[แก้]

หลังปี 1945 ประเทศได้เริ่มบูรณะตัวเองใหม่อีกครั้ง ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่ตื่นตัวมาก ทั้งการผลิตและการส่งออกอยู่ในอัตราที่เพิ่มขึ้น กองเรือพาณิชย์เองก็ถูกบูรณะขึ้นใหม่อีกครั้ง

หลายคนสามารถหางานทำได้ และแม้ว่าค่าแรงจะไม่สูงมากนัก แต่ปัญหาความยากจนก็ลดลงไปได้บ้าง คนส่วนใหญ่มีมุมมองที่ดีและหลายคนคาดหวังที่จะมีส่วนร่วมในการบูรณะประเทศนอร์เวย์ขึ้นอีกครั้ง ความเท่าเทียมกัน และคุณค่าที่เท่ากันกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับคนส่วนใหญ่ เศรษฐกิจของนอร์เวย์ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังคงต้องแบ่งสรรสินค้าใช้อยู่จนช่วงปลายทศวรรษที่ 1950

ระหว่างช่วงทศวรรษหลังสงคราม มีการปฏิรูปมากมายเกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของทุกคน ชั่วโมงการทำงานถูกกำหนดให้สั้นลง และวันหยุดยาวนานขึ้น ในปี 1967 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายหลักประกันแห่งชาติ กฎหมายนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจให้กับประชากรทุกคน รวมทั้งคนชราและคนป่วย

การเมืองการปกครอง

[แก้]
สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 พระประมุขของราชอาณาจักรนอร์เวย์
เจ้าชายโฮกุน องค์รัชทายาทแห่งนอร์เวย์

นอร์เวย์มีการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และระบอบรัฐสภา ประมุขแห่งรัฐของนอร์เวย์คือพระมหากษัตริย์ โดยพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 และองค์รัชทายาทคือ เจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ บทบาทของกษัตริย์ในปัจจุบัน จำกัดอยู่เพียงด้านพิธีการและสัญลักษณ์

บริหาร

[แก้]

ประมุขของรัฐคือ พระมหากษัตริย์ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล พระมหากษัตริย์แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ตำแหน่งประมุขของรัฐสืบทอดโดยการสืบสันตติวงศ์ ตามด้วยการเลือกตั้งรัฐสภา โดยทั่วไปผู้นำพรรคการเมืองเสียงข้างมากหรือผู้นำคณะรัฐบาลผสมจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี

นิติบัญญัติ

[แก้]

สภานิติบัญญัติของนอร์เวย์ (Storting) มีลักษณะเป็นรัฐสภาเดี่ยวที่ได้มีการปรับให้เหมาะกับประเทศ (modified unicameral parliament) สมาชิกจำนวน 169 ที่น่ง ได้รับการเลือกตั้งในระบบคะแนนนิยมแบบสัดส่วน วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

ตุลาการ

[แก้]

ศาลสูงสุด หรือ Hoyesterett ซึ่งผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
แผนที่ภูมิรัฐศาสตร์แสดงเขตการปกครองระดับบนสุด (เทศมณฑล) ของนอร์เวย์

ประเทศนอร์เวย์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 เทศมณฑล (fylke) และ 357 เทศบาล (kommune) เทศมณฑลในนอร์เวย์เป็นระดับการปกครองที่อยู่ระหว่างรัฐกับเทศบาล

เทศมณฑลและศูนย์กลางการบริหารทั้ง 15 แห่ง ได้แก่

นโยบายต่างประเทศ

[แก้]

นอร์เวย์มีสถานเอกอัครราชทูตใน 82 ประเทศ[32] และกว่า 60 ประเทศมีสถานทูตอยู่ในนอร์เวย์ ทั้งหมดตั้งอยู่ในกรุงออสโล นอร์เวย์เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติ (UN) องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (เนโท) สภายุโรป และสมาคมการค้าเสรียุโรป นอร์เวย์ได้ออกคำขอเข้าร่วมสหภาพยุโรป (EU) ในขณะที่เดนมาร์ก สวีเดน และฟินแลนด์ได้รับสมาชิกภาพในปัจจุบัน เขตเลือกตั้งของนอร์เวย์ปฏิเสธสนธิสัญญาภาคยานุวัติในการลงประชามติในปี 1972 และ 1994 หลังจากการลงประชามติในปี 1994 นอร์เวย์ยังคงเป็นสมาชิกในเขตเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งเป็นข้อตกลงที่อนุญาตให้ประเทศเข้าถึงตลาดภายในของสหภาพได้ โดยมีเงื่อนไขว่านอร์เวย์จะบังคับใช้กฎหมายของสหภาพซึ่งถือว่ามีความเกี่ยวข้อง นอร์เวย์ยังมีส่วนร่วมนกิจกรรมนานาชาติมากมาย เช่น นโยบายความมั่นคงและการป้องกันร่วมกันของสหภาพ ข้อตกลงเชงเกน และสำนักงานป้องกันยุโรป ตลอดจนโครงการแยกอีก 19 โครงการ นอร์เวย์เข้าร่วมในการเป็นนายหน้าซื้อขายสัญญาออสโลในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นความพยายามที่ไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย

[แก้]

ประเทศไทยเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับนอร์เวย์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905 หลังจากที่นอร์เวย์ได้ประกาศเอกราชและแยกตัวออกจากสวีเดนโดยสันติ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1905 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับนอร์เวย์ใกล้ชิดมากขึ้นจากการเสด็จฯ เยือนนอร์เวย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1907 ซึ่งได้ทรงลงพระนามาภิไธยย่อ “จปร” ไว้บนก้อนหิน ณ บริเวณนอร์ดแคปป์ (Nordkapp) ต่อมา ได้มีการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานไทย ณ นอร์ดแคปป์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยือนนอร์เวย์ เพื่อทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว เมื่อปี 2532

ในปี 2495 ได้มีการแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการทูตในระดับอัครราชทูต และได้ยกฐานะความสัมพันธ์ขึ้นเป็นระดับเอกอัครราชทูตตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2503 จากนั้น นอร์เวย์ได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตมาประจำประเทศไทยตลอดมา ส่วนไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล เมื่อเดือนสิงหาคม 2530 และต่อมา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 คณะรัฐมนตรีมีมติให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล มีเขตอาณาครอบคลุมสาธารณรัฐลัตเวีย นอกจากนี้ ไทยยังมีสถานกงสุล ณ เมืองเบอร์เกน อีกด้วย

ไทยและนอร์เวย์ได้เฉลิมฉลองการครบรอบ 100 ปี แห่งความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2548 ในโอกาสดังกล่าว เจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ และเจ้าหญิงเมตเต-มาริต พระชายา ได้เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 23 - 26 พฤศจิกายน 2547

นอกจากนี้ นอร์เวย์เคยมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในการเชื่อมความสัมพันธ์ไทย –- จีน โดยเมื่อต้นปี 2514 นอร์เวย์ได้เริ่มทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดให้ผู้แทนฝ่ายไทยและฝ่ายจีนได้พบปะหารือกัน เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2514 โดยนายอานันท์ ปันยารชุน เอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก และนายเจียว กง หัว (Chiao Kuan-Hua) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ได้พบปะหารือกันที่นครนิวยอร์ก อันนำไปสู่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518

นอร์เวย์ถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้ไทย เช่น การเก็บกู้ทุ่นระเบิดบริเวณแนวชายแดน เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น และใช้ไทยเป็นจุดประสานงานหลักในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความสัมพันธ์ด้านการค้า

ไทยและนอร์เวย์มีกรอบการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้คณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจ การเดินเรือ อุตสาหกรรม วิชาการและการค้า ไทย-นอร์เวย์ ซึ่งได้มีการประชุมมาแล้ว 4 ครั้ง ระหว่างปี 2529 - 2542 ไทยและนอร์เวย์ยังได้ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในกรอบพหุภาคี คือ การเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรียุโรป (European Free Trade Association – EFTA) ซึ่งมีสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ โดยทั้งสองฝ่ายได้เริ่มดำเนินการเจรจาตั้งแต่ปี 2548 และได้หยุดชะงักไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยเมื่อเดือนกันยายน 2549 โดยล่าสุด ที่ประชุมร่วมรัฐสภาไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2556 ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับ EFTA แล้ว และจะมีการเจรจารอบแรก ในช่วงต้นปี 2557

ความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว

ชาวนอร์เวย์เดินทางมาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ค.ศ. 2006 มีจำนวน 101,920 คน ปี ค.ศ. 2007 จำนวน 110,076 คน ปี ค.ศ. 2008 จำนวน 127,976 คน และปี ค.ศ. 2009 จำนวน 151,572 คน ซึ่งมีสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรนอร์เวย์ซึ่งมีจำนวน 4.8 ล้านคน ในขณะที่เมื่อปี ค.ศ. 2009 มีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปท่องเที่ยวนอร์เวย์จำนวนประมาณ 8,000 คน

แหล่งท่องเที่ยวที่ชาวนอร์เวย์นิยม คือ แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดภูเก็ต ปัจจัยที่ ทำให้ชาวนอร์เวย์นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย คือ ความสามารถสนองตอบต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวนอร์เวย์ในการท่องเที่ยวประเภทหาดทราย ชายทะเลของไทย และการที่ไทยมีค่าครองชีพที่ไม่สูง

เมื่อกลางเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2009 การบินไทยได้เปิดเส้นทางบินตรงไทย – นอร์เวย์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวนอร์เวย์และนักธุรกิจ ด้วยเครื่องแอร์บัส 340-500 ประกอบด้วยชั้นธุรกิจ 60 ที่นั่ง ชั้นประหยัด 42 ที่นั่ง และชั้นประหยัด 113 ที่นั่ง โดยในปัจจุบัน บินออกจากนอร์เวย์ทุกวัน ใช้เวลาบินราว 10 ชั่วโมงครึ่ง

กองทัพ

[แก้]
กองทัพนอร์เวย์ท่ามกลางหิมะ

กองทัพนอร์เวย์ปัจจุบันมีประมาณ 23,000 คน รวมทั้งพนักงานพลเรือน ตามที่ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2009) ความพรั่งพร้อมในการเรียกระดมพลเต็มจะอยู่ที่ประมาณ 83,000 คน นอร์เวย์มีการเกณฑ์ทหารสำหรับเพศชาย (6-12 เดือนของการฝึกอบรม) และพลอาสาสมัครสำหรับเพศหญิง[33] กองทัพนอร์เวย์เป็นผู้ใต้บังคับบัญชากระทรวงกลาโหม ทหารของนอร์เวย์จะแบ่งออกเป็นสาขาต่อไปนี้: กองทัพ, กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ และ กองอาสารักษาดินแดน

เศรษฐกิจ

[แก้]

โครงสร้าง

[แก้]
เมืองท่าเบอร์เกน

นอร์เวย์เป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติทางพื้นดิน ป่าไม้ และทะเลจำนวนมาก โดยมีอุตสาหกรรมหลัก คือ อุตสาหกรรมการประมง อุตสาหกรรมผลิตภัณท์ป่าไม้ อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ อุตสาหกรรมแร่ธาตุ จำพวกอะลูมิเนียม สังกะสี ตะกั่ว และทองแดง และอุตสาหกรรมการต่อเรือ และอุปกรณ์ด้านการเดินเรือทะเล นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังมีอุตสาหกรรมการเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทางตอนใต้ของทะเลเหนือ รัฐบาลนอร์เวย์จึงพยายามที่จะดำเนินนโยบายที่จะให้หลักประกันต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเพื่อผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต

นอร์เวย์เป็นรัฐสวัสดิการ ซึ่งมีนโยบายที่เน้นการนำรายได้ของรัฐมาสนับสนุนภาคบริการเพื่อเป็นหลักประกันทางสังคมแก่ประชาชนในด้านต่างๆ อาทิ การบริการรักษาพยาบาล การศึกษา การจัดระบบบำเหน็จบำนาญ และการดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุ เป็นต้น ลักษณะสำคัญของสังคมนอร์เวย์อีกประการหนึ่ง คือ การเน้นความเท่าเทียมกันในเรื่องเพศ ซึ่งทำให้สตรีชาวนอร์เวย์ได้รับสิทธิในการทำงานและสิทธิทางด้านสังคมอื่น ๆ เช่นเดียวกับบุรุษ

สำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจของนอร์เวย์ในระดับภูมิภาคยุโรป นอกเหนือจากการส่งเสริมความร่วมมือในกลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic) ซึ่งประกอบด้วยเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน แล้ว นอร์เวย์ยังเป็นสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association - EFTA) ซึ่งมีสมาชิกประเทศ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ โดยไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และนอร์เวย์ได้เจรจากับสหภาพยุโรป (European Union - EU) เพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area - EEA) ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1994

การท่องเที่ยว

[แก้]

ในปี 2008 นอร์เวย์อยู่ในอันดับที่ 17 ในแง่จำนวนนักท่องเที่ยวโดย สภาเศรษฐกิจโลก[34] การท่องเที่ยวในนอร์เวย์มีส่วนกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโต 4.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศตามรายงานในปี 2016 ประชากรนอร์เวย์ทุก ๆ หนึ่งในสิบห้าคนทั่วประเทศทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว[35] การท่องเที่ยวเป็นไปตามฤดูกาลในนอร์เวย์ โดยมีนักท่องเที่ยวมากกว่าครึ่งที่มาเยือนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม สถานที่ท่องเที่ยวหลักของนอร์เวย์คือภูมิประเทศที่หลากหลายซึ่งทอดยาวไปทั่วอาร์กติกเซอร์เคิล มีชื่อเสียงจากแนวชายฝั่งที่เป็นแนวฟยอร์ดและภูเขา สกีรีสอร์ท ทะเลสาบและป่าไม้ สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในนอร์เวย์ ได้แก่ ออสโล โอเลซุนด์ เบอร์เกน บริกเกน สตาวังเงร์ ทรอนด์เฮม คริสเตียนแซนด์ และทรอมโซ ธรรมชาติส่วนใหญ่ของนอร์เวย์ยังคงไม่ถูกทำลาย จึงดึงดูดนักปีนเขาและนักเล่นสกีจำนวนมาก ฟยอร์ด ภูเขา และน้ำตกในนอร์เวย์ตะวันตกและตอนเหนือดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายแสนคนในแต่ละปี

A row of three-storey attached, wooden buildings with pitched roofs located on a broad street. First floor are small shops.
ทัศนียภาพของเมืองท่าบริกเกิน

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

การคมนาคม และ โทรคมนาคม

[แก้]

เส้นทางคมนาคม

[แก้]
  • ทางรถไฟ
    รถไฟรูปแบบทันสมัยที่ประเทศนอร์เวย์ ใช้ในการรับส่งระหว่างสนามบิน

เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรต่ำ รูปร่างแคบและชายฝั่งที่ยาว การขนส่งสาธารณะในประเทศนอร์เวย์ได้รับการพัฒนาน้อยกว่าในหลายประเทศในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตนอกเมือง อย่างเช่นมีประเพณีการขนส่งทางน้ำเก่าของนอร์เวย์ แต่กระทรวงคมนาคมนอร์เวย์ในปีที่ผ่านมา การขนส่งทางรถไฟ ถนน และทางอากาศดำเนินการผ่านบริษัทย่อยจำนวนมากเพื่อที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ[36] เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการเป็นไปได้ของการสร้างใหม่ระบบรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ[37][38] เครือข่ายรถไฟของนอร์เวย์หลักยาว 4,114 กิโลเมตร (2,556 ไมล์) ของขนาดความกว้างรางรถไฟมาตรฐาน ซึ่ง 242 กิโลเมตร (150 ไมล์) คือรางคู่และ 64 กิโลเมตร (40 ไมล์) เป็นทางรถไฟความเร็วสูง (210 กม. / ชม.) ขณะที่ 62% เป็นไฟฟ้าที่ 15 kV 16 ⅔ AC เฮิร์ตซ์ รถไฟขนส่งผู้โดยสารได้อย่างมากที่สุด 56,827,000 คน และสินค้า 24,783,000 ตัน[39] เครือข่ายทั้งหมดเป็นของการรถไฟบริหารนอร์เวย์แห่งชาติ[40][41] ในขณะที่รถไฟด่วนสนามบินกำลังดำเนินการโดย การรถไฟนอร์เวย์ (NSB) [42][43] และยังมีอีกหลายบริษัทที่ดำเนินการขนส่งสินค้าทางรถไฟ

นอร์เวย์มีท่าอากาศยาน 97 แห่งในนอร์เวย์ มีอยู่เจ็ดสนามบินมีผู้โดยสารมากกว่าหนึ่งล้านคนเป็นประจำทุกปี[44] และยังมีสายการบินท่าอากาศยานหลักของนอร์เวย์คือ ท่าอากาศยานออสโล[45] ซึ่งเป็นท่าหลักของสามสายการบินหลักของนอร์เวย์: สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม[46] นอร์วีเจียนแอร์ชัทเทิล[47] และไวเดอร์โรว

ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ในนอร์เวย์สามารถพบได้ทั่วไปตามโรงพยาบาลและแท่นขุดเจาะน้ำมัน นอร์วิเจียนแอร์แอมบูแลนซ์ บริการพยาบาลทางอากาศมีเฮลิคอปเตอร์สิบสองลำและเครื่องบินเก้าลำ[48]

  • ทางเรือ

สิ่งก่อสร้างชายฝั่งจะถูกดำเนินการโดยกรมบริหารชายฝั่งนอร์เวย์ ในขณะที่ท่าเรือดำเนินการโดยเทศบาล[49][50] นอร์เวย์มีแนวชายฝั่ง 90,000 กิโลเมตร (56,000 ไมล์) เรือสำราญ 400,000 ลำ และเรือพาณิชย์ 715 ลำ

โทรคมนาคม

[แก้]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

[แก้]
นีลส์ เฮนริก อาเบล ได้รับการยกย่องให้เป็นนักคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของสแกนดิเนเวีย

นักวิทยาศาสตร์ชาวนอร์เวย์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ได้แก่ นักคณิตศาสตร์ นีลส์ เฮนริก อาเบล และ โซพุส ลี ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดตลอดกาล แคสปาร์ เวสเซล เป็นคนแรกที่อธิบายเรื่องเวกเตอร์และจำนวนเชิงซ้อนในระนาบเชิงซ้อน การวิจัยขั้นสูงของ Ernst S. Selmer นำไปสู่การศึกษาในสมัยใหม่ของอัลกอริทึม ทอรัลฟ์ สโคเล็ม มีส่วนสนับสนุนด้านตรรกะทางคณิตศาสตร์ ออยชไตน์ ออร์ และ Ludwig Sylow มีส่วนสำคัญในการศึกษาทฤษฎีกรุป เอเติล เซลเบิร์ก เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 20 ซึ่งเขาได้รับรางวัลทั้ง Fields Medal และ Abel Prize

นักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ได้แก่ นักฟิสิกส์ อีกิดิอุส แอลลิง, อีวาร์ กีเวอร์, คาร์ล อันทวน เบียร์คเนส และ คริสเตียน บีร์เคลันด์ นักอุตุนิยมวิทยา วิลเฮล์ม เบียร์คเนส และ แรกนาร์ ฟเยอร์ตอฟท์ มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การพยากรณ์อากาศด้วยตัวเลข ผู้บุกเบิกเว็บ Håkom Wium Lie ได้พัฒนา Cascading Style Sheets ซึ่งเป็นหนึ่งในการพัฒนา อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล และนำอินเทอร์เน็ตไปยังยุโรป โดยสร้างเครือข่ายแรกนอกสหรัฐอเมริกาเพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตของอเมริกา นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ Ole-Johan Dahl และ Kristen Nygaard มีอิทธิพลอย่างมากในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ซึ่งพวกเขาได้รับรางวัล Turing Award

การศึกษา

[แก้]

การศึกษาระดับอุดมศึกษาในนอร์เวย์เปิดสอนโดยมหาวิทยาลัยเจ็ดแห่ง วิทยาลัยเฉพาะทาง 5 แห่ง วิทยาลัยมหาวิทยาลัย 25 แห่ง และวิทยาลัยเอกชนอีกหลายแห่ง การศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นไปตามกระบวนการดังต่อไปนี้ ปริญญาตรี (3 ปี), ปริญญาโท (2 ปี) และปริญญาเอก (3 ปี) การศึกษาของรัฐนั้นไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนโดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ[51][52] ปีการศึกษามีสองภาคเรียนตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงธันวาคม และตั้งแต่มกราคมถึงมิถุนายน ผู้รับผิดชอบด้านการศึกษาคือกระทรวงศึกษาธิการและการวิจัยของนอร์เวย์

สิ่งก่อสร้างใน มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์เวย์

สาธารณสุข

[แก้]

นอร์เวย์ได้รับรางวัลที่หนึ่งตามดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติ (HDI) ประจำปี 2013 ในทางตรงกันข้าม ในช่วงทศวรรษที่ 1800 ความยากจนและโรคติดต่อเป็นปัญหาใหญ่ในนอร์เวย์พร้อมกับความอดอยากและโรคระบาด[53] ตั้งแต่ทศวรรษ 1900 การพัฒนาด้านสาธารณสุขเกิดขึ้นจากการพัฒนาในหลายด้าน เช่น สภาพสังคมและความเป็นอยู่ การเปลี่ยนแปลงของโรคและการระบาดทางการแพทย์ การจัดตั้งระบบบริการสุขภาพ และการเน้นเรื่องสาธารณสุข การฉีดวัคซีนและโอกาสในการรักษาที่เพิ่มขึ้นด้วยยาปฏิชีวนะส่งผลให้ประชากรชาวนอร์เวย์ดีขึ้นอย่างมาก สุขอนามัยที่ดีขึ้นและโภชนาการที่ดีขึ้นเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีขึ้น รูปแบบโรคในนอร์เวย์เปลี่ยนจากโรคติดต่อเป็นโรคไม่ติดต่อและโรคเรื้อรังเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ความไม่เท่าเทียมกันและความแตกต่างทางสังคมยังคงมีอยู่ในสาธารณสุขในนอร์เวย์ในปัจจุบัน ในปี 2013 อัตราการเสียชีวิตของทารกอยู่ที่ 2.5 ต่อการเกิด 1,000 คนในเด็กอายุต่ำกว่าหนึ่งขวบ

รัฐสวัสดิการ

[แก้]

ประชากรศาสตร์

[แก้]
ประชากรนอร์เวย์

จำนวนประชากรนอร์เวย์มีประมาณ 4.9 ล้านคน[54] ส่วนใหญ่เป็นชาวนอร์เวย์และชาวเยอรมันเหนือ ชาวซามิอาศัยอยู่ในภาคกลางและภาคเหนือของนอร์เวย์และสวีเดน เช่นเดียวกันกับทางตอนเหนือของฟินแลนด์และรัสเซียในคาบสมุทร Kola

การย้ายถิ่นฐาน

[แก้]
เชื้อชาติ ประชากร[55] %
นอร์เวย์ 4,305,886 86.2%
สวีเดน 78,830 1.6%
ขั้วโลก 65,294 1.3%
เดนมาร์ก 53,630 1.0%
เยอรมนี 40,847 0.8%
อังกฤษ 36,312 0.7%
ปากีสถาน 35,722 0.7%

ศาสนา

[แก้]
โบสถ์ของนิกายเชิร์ชออฟในเทศมณฑลเทรินเดอลาก
มัสยิด Bait-un-Nasr ในกรุงออสโล
ศาสนา (2013) [56] จำนวน %
ศาสนาคริสต์ 4,143,687 82.03%
โปรเตสแตนต์
-ลูเทอแรน 3,843,731 76.09%
-โปรเตสแตนต์อีวานเจลิคัล 39,412 0.78%
-พยานพระยะโฮวา 12,049 0.24%
-เมทอดิสต์ 10,715 0.21%
-แบปทิสต์ 10,213 0.20%
โรมันคาทอลิก 121,130 2.4%
ออร์ทอดอกซ์ 12,959 0.26%
คริสต์อื่น 126,307 2.50%
ศาสนาอื่น 150,414 2.98%
ศาสนาอิสลาม 120,882 2.39%
ศาสนาพุทธ 16,001 0.32%
ศาสนาฮินดู 6,797 0.13%
ศาสนาซิกข์ 3,323 0.07%
ศาสนาบาไฮ 1,122 0.02%
ศาสนายูดาห์ 788 0.02%
อื่นๆ 1,501 0.03%
มนุษยนิยม 86,061 1.70%
ไม่มีศาสนาและไม่ทราบ 658,154 13.03%
ทั้งหมด 5,051,275 100.0%

ภาษา

[แก้]
เขตของภาษาถิ่นในนอร์เวย์: นอร์เวย์เหนือ (เหลือง), นอร์เวย์กลาง (น้ำเงิน), นอร์เวย์ตะวันตก (ส้ม) และ นอร์เวย์ตะวันออก (ฟ้า)

ภาษานอร์เวย์ เป็นภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก เป็นภาษาราชการของประเทศนอร์เวย์ และมีความใกล้ชิดกับภาษาสวีเดนและเดนมาร์ก ภาษานอร์เวย์มีรูปแบบการเขียน 2 แบบ คือ ภาษาบุ๊กมอล (Bokmål) (หมายถึง "ภาษาหนังสือ") และ ภาษานีน็อชก์ (Nynorsk) (หมายถึง "ภาษานอร์เวย์ใหม่") ภาษานอร์เวย์อยู่ในอันดับที่ 108 ผู้พูด 4.7 ล้านคน ตระกูลภาษามาจากสแกนดิเนเวียตะวันออกและตะวันตก

แต่คนนอร์เวย์ส่วนใหญ่นิยมใช้ภาษาบุ๊กมอลมากกว่า ทั้งหนังสือพิมพ์หรือรายการทีวีต่าง ๆ นอกจากนี้เด็ก ๆ ทุกคนต้องเรียนภาษาอังกฤษด้วย ปัจจุบันคนนอร์เวย์ส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้[57][58][59][60]

วัฒนธรรม

[แก้]

วรรณกรรม

[แก้]

ราวกลางศตวรรษที่ 19 การเคลื่อนไหวในศิลปะและวัฒนธรรมเริ่มปรากฏออกมาให้เห็น ซึ่งเราเรียกว่า จิตนิยมของชาติ ส่วนสำคัญของการเคลื่นไหวคือการเน้นที่ลักษณะของประเทศรวมถึงการขยายและการเสริมแต่ง ในนอร์เวย์ มุ่งเน้นเบื้องต้นในเรื่องความสวยงามของประเทศตามธรรมชาติ ชุมชนเกษตรกรรมถูกมองว่าเป็น “ชาวนอร์เวย์ที่เป็นแบบอย่าง”

จิตนิยมของชาติแสดงออกในรูปแบบของวรรณกรรม ทัศนศิลป์และดนตรี ในระหว่างช่วงเวลานี้ ชาวนอร์เวย์เริ่มพัฒนาความรู้สึกของเอกลักษณ์ของชาติมากขึ้น ความรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นชาวนอร์เวย์ที่ถูกพัฒนายอย่างมากมายนี้ส่งผลให้ความปรารถนาอย่างแรงกล้าสำหรับประเทศคือการได้รับเอกราช

หลังจากเริ่มต้นในสหภาพกับเดนมาร์กเป็นเวลาหลายศตวรรษ ภาษเขียนของนอร์เวย์คือภาษาเดนมาร์ก ภาษาเขียนที่เราอ้างถึงในปัจจุบันคือ bokmål เป็นการพัฒนาในอนาคตของภาษานี้ ในระหว่างช่วงเวลาจิตนิยมของชาติ คนจำนวนมากเชื่อว่าชาวนอร์เวย์ควรจะมาภาษาเขียนของตัวเองซึ่งไม่ได้มีพื้นฐานมาจากภาษาเดนมาร์ก ด้วยเหตุผลนี้ นักภาษาศาสตร์ชื่อ Ivar Aasen (ค.ศ. 1813 – 1896) เดินทางรอบประเทศเพื่อเก็บตัวอย่างจากภาษาพื้นเมืองหลายหลายภาษา เขาใช้ตัวอย่างเหล่านี้สร้างภาษาเขียนใหม่เรียกว่า nynorsk (ภาษานอร์เวย์ใหม่). ทั้ง nynorsk และ bokmål มีการพัฒนาอย่างมากตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แต่นอร์เวย์ก็ยังคงมีสิ่งที่แตกต่างกันอย่างเป็นทางการ 2 สิ่ง นอกเหนือจาก Sami และ Kven (kvensk)

ศิลปะ

[แก้]
ภาพปราสาท Frederiksborg วาดโดย โยฮัน คริสเตียน ดาห์ล

เป็นเวลานานที่งานศิลปะของนอร์เวย์ถูกครอบงำด้วยงานศิลปะจากเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ รวมทั้งอิทธิพลของศิลปะเดนมาร์กในโคเปนเฮเกนด้วย ในศตวรรษที่ 19 ยุคศิลปะนอร์เวย์อย่างแท้จริงเริ่มต้นขึ้น โดยเริ่มมีการวาดภาพบุคคล ต่อมาด้วยภาพภูมิทัศน์อันน่าประทับใจ โยฮัน คริสเตียน ดาห์ล (ค.ศ. 1788–1857) มีพื้นเพมาจากโรงเรียนเดรสเดน มีชื่อเสียงในการวาดภาพภูมิทัศน์ของนอร์เวย์ตะวันตก

สถาปัตยกรรม

[แก้]
โบสถ์ไม้สมัยกลางอือเนส ได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลก

จากการที่มีพื้นที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ สถาปนิกชาวนอร์เวย์หลายคนนิยมสร้างอาคารบ้านเรือนจากไม้[61][62] และด้วยการที่นอร์เวย์เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์เมื่อ 1,000 ปีที่แล้ว โบสถ์จึงถูกสร้างขึ้นในหลายร้อยปีที่ผ่านมา[63] เริ่มจากการก่อสร้างมหาวิหารนิดารอสในเมืองทรอนด์เฮม ในยุคกลางตอนต้น มีการสร้างโบสถ์ไม้คานขึ้นทั่วประเทศนอร์เวย์ โบสถ์ Urnes Stave ใน Sognefjord อยู่ในรายการมรดกโลกของยูเนสโก ตัวอย่างที่โดดเด่นอีกประการของสถาปัตยกรรมไม้คืออาคารต่าง ๆ ที่ท่าเรือเบอร์เกน ซึ่งอยู่ในรายชื่อแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างไม้สูงแคบ ๆ เรียงเป็นแถวตามแนวท่าเทียบเรือ

ในศตวรรษที่ 17 ภายใต้ระบอบราชาธิปไตยของเดนมาร์ก เมืองและหมู่บ้านต่างๆ เช่น Kongsberg และ Røros ได้ก่อตั้งขึ้น เมือง Kongsberg มีโบสถ์ที่สร้างขึ้นในสไตล์บารอก อาคารไม้แบบดั้งเดิมที่สร้างขึ้นในโรรอสยังคงหลงเหลืออยู่ หลังจากที่สหภาพนอร์เวย์กับเดนมาร์กถูกยุบในปี 1814 ออสโลก็กลายเป็นเมืองหลวง สถาปนิกชื่อ Christian H. Grosch เป็นผู้ออกแบบมหาวิทยาลัยออสโล ตลาดหลักทรัพย์ออสโล ตลอดจนอาคารและโบสถ์อื่น ๆ อีกหลายแห่งที่สร้างขึ้นในช่วงเริ่มต้นของการสร้างชาติ

ดนตรี

[แก้]

อาหาร

[แก้]
Smørbrød แซนวิชนอร์เวย์

อาหารที่จำหน่ายในนอร์เวย์จะต้องเคร่งครัดต่อกฎระเบียบเรื่องสุขลักษณะเป็นอย่างมาก จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค คนนอร์เวย์บริโภคนม ขนมปังสีน้ำตาล และปลา เป็นจำนวนมาก ประเพณีการทำอาหารของนอร์เวย์ แสดงอิทธิพลของประเพณีการเดินเรือและการทำฟาร์มระยะเวลายาวนานกับปลาแซลมอน ปลาคอดแฮร์ริ่ง ปลาเทราท์ และอาหารทะเลอื่น ๆ และจานถ้วยชามนอร์เวย์ดั้งเดิม เช่น lutefisk, smalahove, pinnekjøtt และ fårikål[64]

อาหารประจำชาติของนอร์เวย์ คือ เลฟซ่า ทำมาจากมันฝรั่งต้มบด จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับโรตีแผ่นใหญ่ เวลากินมักจะทาเนยอยู่ด้านบน ไส้กรอกจะห่อด้วยแผ่นโรตี อีกทั้งอาหารส่วนใหญ่ทำมาจากปลา เพราะประเทศนี้หาปลาง่าย

สื่อสารมวลชน

[แก้]

กีฬา

[แก้]

กีฬาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมนอร์เวย์ และกีฬาที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ฟุตบอล แฮนด์บอล ไบแอธลอน สกีครอสคันทรี กระโดดสกี สเก็ตเร็ว และฮ็อกกี้น้ำแข็ง ฮ็อกกี้น้ำแข็งเป็นกีฬาในร่มทีได้รับความนิยมที่สุด แฮนด์บอลหญิงทีมชาติได้รับรางวัลหลายรายการ ได้แก่ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนสองครั้ง (2008, 2012), การแข่งขันชิงแชมป์โลกสามครั้ง (1999, 2011, 2015) และการแข่งขันชิงแชมป์ยุโรปหกครั้ง (1998, 2004, 2006, 2008, 2010, 2014)

ในกีฬาฟุตบอล ฟุตบอลหญิงทีมชาตินอร์เวย์ชนะเลิศฟุตบอลโลกในปี 1995[65] และการแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิกในปี 2000 และชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปสองสมัย (1987, 1993) ทีมชาติฟุตบอลชายได้เข้าร่วมฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายสามครั้ง (1938, 1994 และ 1998) และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปหนึ่งครั้ง (2000) อันดับสูงสุดของฟีฟ่าที่นอร์เวย์ทำได้คืออันดับ 2 ในปี 1993 และ 1995

หมากรุกยังได้รับความนิยมในนอร์เวย์เช่นกัน มังนึส คาลเซิน เป็นแชมป์โลกคนปัจจุบัน[66] มีปรมาจารย์ประมาณ 10 คนและอาจารย์ระดับนานาชาติ 29 คนในนอร์เวย์ที่ได้รับการยกย่อง

วันหยุด

[แก้]

นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีทัศนะในเชิงอนุรักษ์นิยมต่อชีวิตซึ่งเคารพในระบอบราชาธิปไตย วันเกิดของสมาชิกราชวงศ์มีการเฉลิมฉลองเป็นประจำทุกปี วันหยุดที่สำคัญในประเทศได้แก่ วันเซนต์ฮันส์ เป็นการเคารพบูชาพลังของธรรมชาติ วันเซนต์มาร์ติน วันหยุดครั้งสุดท้ายก่อนวันคริสต์มาสคาทอลิก เฉลิมฉลองในวันที่ 11 พฤศจิกายน วันฟยอร์ด เป็นวันหยุดทั่วไปที่ประเทศในสแกนดิเนเวียร่วมฉลองด้วยกัน เดนมาร์กเป็นชาติแรกที่เฉลิมฉลองในปี 1991 วันฟยอร์ดมีจุดประสงค์เดียวคือเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาของธรรมชาติ ในระหว่างการเฉลิมฉลองผู้คนสามารถเยี่ยมชมนิทรรศการที่มีเนื้อหาเฉพาะทางธรรมชาติ และมีการชมคอนเสิร์ตและชมภาพยนตร์มากมาย

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เขียนด้วยบูกโมลและนีนอชก์
  2. เหนือ, ลูเล และใต้[1][2]
  3. รวมชนพื้นเมืองซามี และชนกลุ่มน้อยยิว, นักเดินทาง, ชาวฟินในป่า, โรมานี และเคว็น
  4. ศาสนาคริสต์นิกายอีแวนเจลิคัล-ลูเทอแรนเคยเป็นศาสนาสาธารณะของรัฐจนกระทั่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 2012[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Offisiell status for samisk". Language Council of Norway. สืบค้นเมื่อ 19 August 2021. Samisk har status som minoritetsspråk i Noreg, Sverige og Finland, og i alle tre landa har samisk status som offisielt språk i dei samiske forvaltningsområda. [Sámi is recognised as a minority language in Norway, Sweden and Finland, and is an official language within the Sámi administrative areas in all three countries.]
  2. 2.0 2.1 "Minoritetsspråk". Språkrådet.
  3. "Immigrants and their children as of 1 January 2020". Statistics Norway. 9 March 2020. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
  4. "Immigrants and Norwegian-born to immigrant parents". Statistics Norway. 9 March 2021. สืบค้นเมื่อ 30 March 2021.
  5. kirkedepartementet, Fornyings-, administrasjons- og (16 June 2006). "Samer". Regjeringen.no.
  6. inkluderingsdepartementet, Arbeids- og (16 June 2006). "Nasjonale minoriteter". Regjeringen.no.
  7. "The Constitution of Norway, Article 16 (English translation, published by the Norwegian Parliament)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 September 2015.
  8. Church of Norway Statistics Norway 17 May 2020
  9. Members of religious and life stance communities outside the Church of Norway, by religion/life stance. Statistics Norway 8 December 2019
  10. regjeringen.no (5 July 2011). "The Re-establishing of a Norwegian State". Government.no.
  11. 11.0 11.1 "Arealstatistics for Norway 2019". Kartverket, mapping directory for Norway. 20 December 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-08. สืบค้นเมื่อ 1 March 2020.
  12. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  13. "Population, 2024-01-01" (ภาษาอังกฤษ). Statistics Norway. 2024-02-21. สืบค้นเมื่อ 2024-02-25.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 "Norway". International Monetary Fund.
  15. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.
  16. "2022 Human Development Index Ranking" (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 2023-03-13. สืบค้นเมื่อ 2024-03-17.
  17. "Norway". CIA World fact.
  18. "Finn fakta om Norge". Kartverket.no (ภาษานอร์เวย์นีนอสก์).
  19. "Population". SSB (ภาษาอังกฤษ).
  20. Tenold, Stig (2019), Tenold, Stig (บ.ก.), "The First World War: The Neutral Ally", Norwegian Shipping in the 20th Century: Norway's Successful Navigation of the World's Most Global Industry, Palgrave Studies in Maritime Economics (ภาษาอังกฤษ), Springer International Publishing, pp. 63–89, doi:10.1007/978-3-319-95639-8_3, ISBN 978-3-319-95639-8, สืบค้นเมื่อ 2021-09-04
  21. "Norway - World War II". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  22. https://web.archive.org/web/20170322121226/http://hdr.undp.org/sites/all/themes/hdr_theme/country-notes/ROU.pdf
  23. Nikel, David (2020-09-24). "Norway Rich List: Meet the Wealthiest Norwegians in 2020". Life in Norway (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  24. Savage, Maddy. "Unlike most millennials, Norway's are rich". www.bbc.com (ภาษาอังกฤษ).
  25. "Exports of Norwegian oil and gas". Norwegianpetroleum.no (ภาษาอังกฤษ).
  26. Energy, Ministry of Petroleum and (2018-06-13). "Oil and Gas". Government.no (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  27. "Developed Countries List". worldpopulationreview.com.
  28. "World's Biggest Wealth Fund Hits $1 Trillion". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2017-09-19. สืบค้นเมื่อ 2021-09-04.
  29. "Norwegian Society / Living in Norway / StudyinNorway / Home - Study in Norway". web.archive.org. 2018-03-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-21. สืบค้นเมื่อ 2021-09-04.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  30. "Norway Crime Rate & Statistics 1990-2021". www.macrotrends.net.
  31. ธงชัย ธนะสิงห์. (2547). ภูมิศาสตร์ยุโรป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
  32. "Norges utenriksstasjoner - regjeringen.no". web.archive.org. 2008-02-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-06. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  33. "NDF official numbers". NDF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-12. สืบค้นเมื่อ 2009-04-22.
  34. "World Economic Forum - Latest Press Releases". web.archive.org. 2008-03-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-07. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  35. https://web.archive.org/web/20180404073253/http://www.innovasjonnorge.no/contentassets/0d32e3231c0a4367a96838ee3bb5b294/key-figrues-2016.pdf
  36. Norwegian Ministry of Transport and Communication, 2003: 3
  37. Norway. "Majority in Favor of High-Speed Trains". Theforeigner.no. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
  38. "The vast majority said yes (high-speed trains), thanks to lyntog". Translate.google.com. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
  39. Norwegian National Rail Administration, 2008: 4
  40. Norwegian National Rail Administration, 2008: 4
  41. Norwegian National Rail Administration. "About". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-16. สืบค้นเมื่อ 2008-07-15.
  42. Norwegian National Rail Administration, 2008: 13
  43. Norwegian National Rail Administration, 2008: 16
  44. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-28. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
  45. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-28. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
  46. "Scandinavian Airlines", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-09-22, สืบค้นเมื่อ 2022-09-25
  47. "Norwegian Air Shuttle", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-09-24, สืบค้นเมื่อ 2022-09-25
  48. "Norwegian Air Ambulance", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-09-09, สืบค้นเมื่อ 2022-09-25
  49. "Norwegian Coastal Administration", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-06-15, สืบค้นเมื่อ 2022-09-25
  50. "Startsiden". Kystverket - tar ansvar for sjøveien (ภาษานอร์เวย์).
  51. Corner, Opportunities (2021-07-27). "Study in Norway Free | Study Without IELTS". Opportunities Corners (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  52. "Study in Norway / StudyinNorway / Home - Study in Norway". www.studyinnorway.no. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-25. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  53. "Folkehelse i Norge 1814 - 2014 - Folkehelseinstituttet". archive.ph. 2014-09-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-04. สืบค้นเมื่อ 2022-04-15.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  54. http://www.ssb.no/english/subjects/02/befolkning_en/
  55. "Statistics Norway – Persons with immigrant background by immigration category and country background". Ssb.no. 2011-01-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-22. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
  56. "Church of Norway, 2013. Retrieved 3 July 2014. (ภาษานอร์เวย์)
  57. "Language / Living in Norway / StudyinNorway / Home - Study in Norway". www.studyinnorway.no. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  58. "Norway: Language - Tripadvisor". www.tripadvisor.com (ภาษาอังกฤษ).
  59. "10 Countries Where You Didn't Know Most People Speak English (Slideshow)". The Daily Meal (ภาษาอังกฤษ). 2016-04-08.
  60. Nikel, David (2018-09-27). "The Languages of Norway". Life in Norway (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  61. Reuben, Jeff (2019-04-17). "A Brief History of Scandinavian Architecture". Scandinavia Standard (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  62. https://www.dailyscandinavian.com/experimental-wooden-structures-in-norway/
  63. "Church of Norway". Church of Norway (ภาษานอร์เวย์บุคมอล).
  64. "Culture of Norway – history, people, clothing, traditions, women, beliefs, food, customs, family". Everyculture.com. 2010-09-04. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
  65. "FIFA". fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
  66. Bryne, Lars (2014-11-23). "Carlsen er verdensmester: – Jeg er lykkelig og lettet". NRK (ภาษานอร์เวย์บุคมอล).

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Larsen, Karen (1948). A History of Norway. Princeton, New Jersey: Princeton University Press.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
Wikinews
Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
Portal:Norway