ประวิตร วงษ์สุวรรณ
ประวิตร วงษ์สุวรรณ | |
---|---|
ประวิตรใน พ.ศ. 2561 | |
รักษาการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565 (0 ปี 37 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา[a] |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (9 ปี 2 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (2 ปี 232 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ถัดไป | ยุทธศักดิ์ ศศิประภา |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (4 ปี 314 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ถัดไป | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 168 วัน) | |
หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 (4 ปี 124 วัน) | |
ก่อนหน้า | อุตตม สาวนายน |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548 (0 ปี 365 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร |
ถัดไป | พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ (2563–ปัจจุบัน) |
บุพการี |
|
ญาติ |
|
ชื่อเล่น | ป้อม |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2512–2548 |
ยศ | พลเอก |
หน่วย | กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ |
บังคับบัญชา | กองทัพบก |
ผ่านศึก | สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองลาว |
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (ชื่อเกิด ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ[1]; เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488) ชื่อเล่น ป้อม เป็นทหารบกและนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้า พรรคพลังประชารัฐ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ประธานกรรมการมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด เคยดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการทหารบก ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26ได้ชื่อว่าเป็น "พี่ใหญ่" ของกลุ่มแยกบูรพาพยัคฆ์และกลุ่ม 3 ป.
ชีวิตและการงาน
ชีวิตช่วงต้นและการรับราชการทหาร
พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนโตของ พล.ต. ประเสริฐ กับนางสายสนี วงษ์สุวรรณ มีน้องชาย 4 คน คือ
- พล.ร.อ. ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ
- พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
- พงษ์พันธุ์ วงษ์สุวรรณ อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนสโมสรฟุตบอลทีโอที
- พันธุ์พงษ์ วงษ์สุวรรณ[2]
เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียลในปี พ.ศ. 2505 จากนั้นในปี พ.ศ. 2508 ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 และศึกษาต่อ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 17 สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2512 ในปี พ.ศ. 2521 เข้าศึกษาโรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 56 และในปี พ.ศ. 2540 สำเร็จหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 40 ในปี พ.ศ. 2556
เขาถือได้ว่าเป็นนายทหารที่เติบโตมาจากกองทัพภาคที่ 1 ทางภาคตะวันออกมาโดยตลอด โดยสังกัดกับกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือคนส่วนใหญ่ที่เรียกกันว่า "ทหารเสือราชินี" ถือได้ว่าเป็นนายทหารรุ่นพี่ที่สนิทสนมกับนายทหารอดีตผู้บัญชาการทหารบก 2 นาย คือ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา และพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
งานการเมือง
พล.อ. ประวิตรเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี พ.ศ. 2551 ปีต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ประจำกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552
ปลาย พ.ศ. 2553 สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายาว่า "ป้อมทะลุเป้า" สืบเนื่องจากผลงานด้านความมั่นคงในการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่บรรลุเป้าหมาย รวมถึงการขออนุมัติงบประมาณต่าง ๆ ที่ถูกครหา[3] ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
เขาเป็นที่ทราบกันว่าเป็น "พี่ใหญ่" ของกลุ่มทหารที่เรียกลำลองกันว่า"บูรพาพยัคฆ์" ซึ่งหมายถึงทหารที่เริ่มต้นรับราชการจาก กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี 2551 จนถึง 2554 กล่าวว่าตลอดอาชีพของประวิตร เขาให้คำปรึกษาแก่พล.อ. ประยุทธ์ และช่วยให้เขาได้เลื่อนขั้น
หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานที่ปรึกษา และเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา[4] เขายังเป็นประธานคณะกรรมการอีกกว่า 50 คณะ[5]
ต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 พรรคพลังประชารัฐ ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ที่ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี โดยมีการแต่งตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ พล.อ. ประวิตรได้รับการเลือกเป็นหัวหน้าพรรค[6]
ต่อมาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 พล.อ. ประวิตรเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี จากการที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พล.อ. ประยุทธ์ยุติการปฏิบัติหน้าที่ นับเป็นผู้บัญชาการทหารบกคนที่ 11 ที่ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 เกิดความขัดแย้งระหว่าง พล.อ. ประวิตร และ พล.อ. ประยุทธ์ในพรรคพลังประชารัฐ[7] ไม่นานหลังจากนั้นพรรคมีการปรับภาพลักษณ์ของ พล.อ. ประวิตรให้เป็นนายทหารประชาธิปไตย เข้าถึงได้กับทุกกลุ่ม[8] เดือนมกราคมปีถัดมา พล.อ. ประยุทธ์ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[9] ขณะเดียวกันพล.อ. ประวิตรกล่าวว่าพร้อมจะเป็นนายกรัฐมนตรี และระบุว่าตนยังมีความสัมพันธ์อันดีกับพล.อ. ประยุทธ์ และพล.อ. อนุพงษ์ในฐานะพี่น้อง แม้จะมีความเห็นทางการเมืองที่ต่างกันก็ตาม[10]
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 พล.อ. ประวิตรได้พบกับภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หนึ่งในแกนนำกลุ่มราษฎร เขากล่าวกับเธอว่าจะไม่มีรัฐประหารเกิดขึ้นอีก[11] เดือนถัดมาเขาสมัครเป็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 และเป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทยเพียงคนเดียวของพรรคพลังประชารัฐ ทั้งนี้ ในการเลือกตั้งเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน เขาได้รับเลือกเป็น ส.ส. สมัยแรก และเป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อคนเดียวของ พปชร.
รับราชการทหาร
- พ.ศ. 2512 : ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมที่ 3
- พ.ศ. 2514 : ผู้บังคับหมวดเครื่องยิงหนัก กองร้อยเครื่องยิงหนัก กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2517 : ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2519 : นายทหารยุทธการและการฝึก กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2520 : ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2522 : นายทหารฝ่ายยุทธการ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2523 : รองผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2524 : ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2527 : ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2529 : รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2532 : ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2536 : รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2539 : ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2540 : รองแม่ทัพภาคที่ 1
- พ.ศ. 2541 : แม่ทัพน้อยที่ 1
- พ.ศ. 2543 : ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
- พ.ศ. 2544 : ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ
- พ.ศ. 2545 : แม่ทัพภาคที่ 1
- พ.ศ. 2546 : ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548 : ผู้บัญชาการทหารบก
- 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 : สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549
- 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- 2 เมษายน พ.ศ. 2553 : ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัย[12]
- 7 เมษายน พ.ศ. 2553 : รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
- 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553 : ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ใน พ.ศ. 2554 ได้รับตำแหน่งเป็นคณะดำเนินคดี ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรณีประเทศกัมพูชาฟ้องร้องประเทศไทย[13]
ใน พ.ศ. 2558 เขาเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 12 คณะกรรมการ[14]
- 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 รักษาการนายกรัฐมนตรี
ราชการสงคราม
ในปี พ.ศ. 2513 พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในยศ"ร้อยตรี"ขณะนั้น ได้อาสาสมัครไปราชการสงคราม ณ สาธารณรัฐเวียดนาม ในหน่วยกองพลทหารอาสาสมัคร ในตำแหน่งผู้บังคับหมวดสื่อสาร กรมทหารราบที่ 2 กองพลทหารอาสาสมัคร[15]
กรณีอื้อฉาว
กรณีไม่เปิดเผยนาฬิกาหรู
การยกมือขึ้นบังแดดของพลเอกประวิตร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระหว่างรอถ่ายรูปกับคณะรัฐมนตรีใหม่ "ประยุทธ์ 1/5" เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560 กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งคำถามว่าเหตุใด นาฬิกาเรือนโตยี่ห้อริชาร์ดมิลล์ (Richard Mille) จำนวน 9 เรือน จึงไม่ปรากฏอยู่ในประเภท "ทรัพย์สินอื่น" ที่มีราคามากกว่าสองแสนบาท ในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ของพล.อ. ประวิตร เมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเมื่อปี พ.ศ. 2557[16]
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากเอกสารแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของพล.อ. ประวิตร ที่ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557 นั้น พบว่าพล.อ. ประวิตร มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 87,373,757.62 บาท ประกอบไปด้วย
- เงินในบัญชี 53 ล้านบาท
- เงินลงทุน 7 ล้านบาท
- ที่ดิน 17 ล้านบาท
- โรงเรือน และสิ่งปลูกสร้าง 10 ล้านบาท
และรถฟ็อลคส์วาเกิน (Volkswagen) ครอบครองปี พ.ศ. 2543 และไม่พบว่ามีการยื่นชี้แจงในส่วนของบัญชีทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มีมูลค่าเกิน 2 แสนบาทไว้ โดยคาดว่านาฬิกาประดับข้อมือของพล.อ. ประวิตร น่าจะเป็นยี่ห้อริชาร์ดมิลล์ (Richard Mille) รุ่น RM 029 ตัวเรือนทำด้วยแพลทินัม ส่วนสายเป็นยางอย่างดี มีจุดเด่นอยู่ตรงตัวเลขวันที่ขนาดใหญ่ สนนราคา 111,492.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3.6 ล้านบาท ขณะที่แหวนเพชรก็น่าจะอยู่ที่ราว 5 กะรัตขึ้นไป โดยมูลค่าในตลาดของเพชรเริ่มต้นที่ 4–7 ล้านบาท[17]
สื่อมวลชนได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงการที่พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่กล้าปลดพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่า เนื่องจากเขาเป็นมือประสานสิบทิศรู้จักคนในวงการนักการเมืองและทหารตำรวจอย่างกว้างขวาง[18]
กรณีฮาวาย
เมื่อปี พ.ศ. 2559 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางไปฮาวาย ระหว่าง 29 กันยายน – 2 ตุลาคม ณ รัฐฮาวาย สหรัฐ เครื่องบิน โบอิง 747-400 โดยใช้เงิน จำนวน 20,953,800 ล้าน[19]บาท ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นตัวเลขที่สูงเกินความจำเป็น[20][21] ในปี พ.ศ. 2561 ปปช. ไม่รับไต่สวนกรณีเหมาลำฮาวาย ระบุไม่พบการกระทำใดที่ผิดราชการ จึงมีมติไม่รับไว้พิจารณา[22][23]
กรณีตบศีรษะนักข่าว
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ ขณะเดินทางไปงานเลี้ยงฉลองนักกีฬาโอลิมปิก ได้แสดงท่าทีฉุนเฉียวต่อนักข่าวจากสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ที่ได้ถามเกี่ยวกับการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในวันเดียวกัน จนตบศีรษะที่นักข่าว ต่อมา องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นการคุกคามนักข่าว และเรียกร้องให้พล.อ. ประวิตรรับผิดชอบ[24] รวมทั้งสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เตรียมยื่นสอบจริยธรรมร้ายแรงแก่ พล.อ. ประวิตร[25] ต่อมา พริษฐ์ วัชรสินธุ สส. และโฆษกพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่าตนเตรียมนำประเด็นดังกล่าวหารือที่ประชุมในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2567[26]
กรณีอื่น ๆ
พล.อ. ประวิตร แสดงความคิดเห็นภายหลังเหตุเรือล่มในจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2561 ว่า "คนจีนเป็นเป็นคนนำนักท่องเที่ยวจีนเข้ามา เป็นเรื่องของนักท่องเที่ยวเขา เขาทำของเขาเอง เขาฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เราจะให้ไปเรียกความเชื่อมั่นได้อย่างไร" ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกประเทศ[27]
หลังเหตุการณ์โจมตีโรงแรมที่ไนโรบี พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการโจมตีโรงแรมดุสิตดีทูในเครือดุสิตธานีโดยกลุ่มติดอาวุธ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ประวิทย์ให้สัมภาษณ์ว่า มูลเหตุหนึ่งที่ทำให้กลุ่มติดอาวุธโจมตีนั้นอาจเกิดจากการที่อาหารในโรงแรมอร่อย ส่งผลให้มีผู้ไม่พอใจในความคิดเห็นดังกล่าวทั้งในและต่างประเทศ[28]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่าง ๆ[29] ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[30]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[31]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[32]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[1]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[33]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[34]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[35]
- พ.ศ. 2551 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[36]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
- เวียดนามใต้ :
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2513 – เหรียญคอมเมนเดชัน (ทหารบก)[37]
- สิงคโปร์ :
- พ.ศ. 2548 – เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[38]
- ลาว :
- พ.ศ. 2553 – เหรียญชัยมิตรภาพ[39]
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถ
- ↑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ยุติปฏิบัติหน้าที่ระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ตามมติของศาลรัฐธรรมนูญ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ขึ้นรักษาการแทน
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑๐ ง หน้า ๑๑, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
- ↑ ฉายานักการเมืองปี 53
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง หน้า ๑, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๗
- ↑ "Prawit moved to 'ease work'". Bangkok Post. 17 August 2018. สืบค้นเมื่อ 18 August 2018.
- ↑ ไทยรัฐ (27 มิถุนายน 2563). "เปิดรายชื่อ กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐชุดใหม่ ใต้การนำของ "ลุงป้อม"". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ร้าว แต่ยังไม่แตก พลังประชารัฐในภาวะ "มังกรสองหัว"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-02-02.
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : เบื้องหลัง "จดหมายเปิดใจ" และ "ลุงป้อมเปิดอกคุยสื่อ"". BBC News ไทย. 2023-04-12.
- ↑ "นักการเมืองเต็มตัว 'บิ๊กตู่' สมัครสมาชิก รทสช. ขึ้นเวทีร่ายยาวภารกิจเพื่อคนไทยทั้งชาติ". 2023-01-09.
- ↑ "เสิร์ฟอะไรบ้าง เมนูโต๊ะจีน 3 ล้าน งานระดมทุน 'พลังประชารัฐ'". workpointTODAY.
- ↑ ""บิ๊กป้อม" คุยกับ "น้องมายด์ แกนนำราษฎร" อารมณ์ดี เซลฟี่คู่ บอกจะไม่มีรัฐประหารอีก". pptvhd36.com.
- ↑ "คำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่132/2553 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัย<" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-09. สืบค้นเมื่อ 2016-12-09.
- ↑ "ได้รับตำแหน่งเป็นคณะดำเนินคดี ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-10. สืบค้นเมื่อ 2011-05-24.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 12 คณะกรรมการ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผู้บังคับหมวดสื่อสาร กรมทหารราบที่ 2 กองพลทหารอาสาสมัคร (เสือดำ ผลัดที่ 2) อดีตทหารเสือราชินี นักเรียนเตรียมทหารรุ่น 6 จปร. 17 ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ ประดับเปลวระเบิด จากการปฏิบัติหน้าที่ในสาธารณรัฐเวียดนาม
- ↑ ประวิตรมีทรัพย์เท่าไร ถึงใส่นาฬิกาเรือนละหลายล้านบาทได้, BBC Thailand, 6 ธันวาคม 2017
- ↑ อ้าง “บิ๊กป้อม” ยืมแหวนเพชรแม่มาใส่ ส่วนนาฬิกาหรูนักธุรกิจเพื่อนรักให้ยืมมา, Mgr Online, 10 ธ.ค. 2560
- ↑ ประวิตร วงษ์สุวรรณ: อนาคต “พี่ใหญ่” วัย 72
- ↑ คมชัดลึก (2016-10-03). ""บิ๊กป้อม" แจงใช้งบ 20 ล้านบินฮาวายไม่ได้เที่ยว". สำนักข่าวอิศรา.
- ↑ "ประวิตรยันเหมาลำไปฮาวาย20ล. โปร่งใส". www.sanook.com/news. 2016-10-03.
- ↑ "ปมเที่ยวบินฮาวาย ประวิตรชี้ใช้บินไทยก็เหมือนเงินจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา | ประชาไท Prachatai.com". prachatai.com. 2024-08-17.
- ↑ https://www.pptvhd36.com (2018-01-05). "บิ๊กป้อมรอด!!ป.ป.ช.ไม่รับพิจารณาคดีเช่าเหมาลำเครื่องบินไปฮาวาย". pptvhd36.com.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ "ป.ป.ช. ไม่รับไต่สวนคดีเช่าเหมาลำเครื่องบินไปฮาวายของ 'ประวิตร' | ประชาไท Prachatai.com". prachatai.com. 2024-08-17.
- ↑ "ไทยพีบีเอส ออกแถลงการณ์ กรณีผู้สื่อข่าวถูกแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมในระหว่างการสัมภาษณ์". Thai PBS.
- ↑ "ยื่นสอบจริยธรรมร้ายแรงประวิตร หลังมีพฤติกรรมคุกคามสื่อ". THE STANDARD. 2024-08-17.
- ↑ https://www.matichon.co.th/politics/news_4740062 ไอติม ขอประณาม กรณีประวิตรกับนักข่าว จ่อเอาเข้ากมธ.พัฒนาการเมืองฯสอบ...
- ↑ เรือล่มภูเก็ต: สื่อทางการจีนไม่พอใจคำพูด ประวิตร ที่ว่า "เขาทำของเขาเอง"
- ↑ สื่อนอกอึ้ง ‘ประวิตร’ บอกกลุ่มติดอาวุธโจมตีรร.ดุสิตในเคนยา อาจเพราะอาหารอร่อย
- ↑ "พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี". รัฐบาลไทย. สืบค้นเมื่อ March 21, 2021.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๖ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๑๓ มกราคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๕๓ ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๓ กันยายน ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙๑๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๖, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒
- ↑ 37.0 37.1 37.2 ร้อยเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบาที่ 3 กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2517
- ↑ Ministry of Defence Singapore. COMMANDER-IN-CHIEF OF THE ROYAL THAI ARMY RECEIVES PRESTIGIOUS MILITARY AWARD
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเหรียญตราต่างประเทศ, เล่ม 127 ตอนที่ 13 ข หน้า 14, 5 พฤศจิกายน 2553
แหล่งข้อมูลอื่น
- ประวัติจากเว็บไซต์กองทัพบก เก็บถาวร 2009-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เปิดสาแหรก "บิ๊กป้อม - ประวิตร วงษ์สุวรรณ" ว่าที่รมว.กลาโหม[ลิงก์เสีย]
ก่อนหน้า | ประวิตร วงษ์สุวรรณ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก | รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง (ครม. 61 และ 62) (30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566) |
ภูมิธรรม เวชยชัย สมศักดิ์ เทพสุทิน ปานปรีย์ พหิทธานุกร อนุทิน ชาญวีรกูล พัชรวาท วงษ์สุวรรณ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค | ||
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม. 61) (30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) |
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา | ||
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม. 59) (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554) |
พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา | ||
พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร | ผู้บัญชาการทหารบก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548) |
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน | ||
พลโท พรชัย เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา | แม่ทัพภาคที่ 1 (พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2546) |
พลโท ไพศาล กตัญญู |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ทหารบกชาวไทย
- ผู้บัญชาการทหารบกของกองทัพไทย
- แม่ทัพภาคที่ 1
- ราชองครักษ์เวร
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- คณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยนครพนม
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา