ประธานาธิบดีคีร์กีซสถาน
ประธานาธิบดี แห่งสาธารณรัฐคีร์กีซ | |
---|---|
ตราประจำตำแหน่ง | |
ธงประจำตำแหน่ง | |
สมาชิกของ | คณะรัฐมนตรี คณะมนตรีความมั่นคง |
จวน | ทำเนียบแห่งรัฐ "อาลา-อาร์ชา" |
ที่ว่าการ | ทำเนียบขาว |
ผู้แต่งตั้ง | การเลือกตั้งทางตรง |
วาระ | 5 ปี ต่ออายุได้ 1 ครั้ง[1] |
ตราสารจัดตั้ง | รัฐธรรมนูญคีร์กีซสถาน |
ตำแหน่งก่อนหน้า | ประธานโซเวียตสูงสุดสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซ |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | อัสการ์ อากายิฟ |
สถาปนา | 27 ตุลาคม 1990 |
เงินตอบแทน | 1,281,609 โซม หรือ 14,660 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี[ต้องการอ้างอิง] |
เว็บไซต์ | president |
ประธานาธิบดีคีร์กีซสถาน หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐคีร์กีซ (คีร์กีซ: Кыргыз Республикасынын Президенти; รัสเซีย: Президент Киргизской Республики) เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของประเทศคีร์กีซสถาน มีอำนาจสั่งการฝ่ายบริหารของรัฐบาลแห่งชาติ เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพคีร์กีซ และยังเป็นหัวหน้าสภาความมั่นคงแห่งชาติด้วย
ตามรัฐธรรมนูญ ประธานาธิบดี "เป็นสัญลักษณ์ของเอกภาพระหว่างประชาชนกับอำนาจรัฐ และเป็นผู้ค้ำประกันรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐคีร์กีซ ของปัจเจกบุคคลและพลเมือง"
ตำแหน่งประธานาธิบดีก่อตั้งขึ้นในปี 2533 แทนที่ตำแหน่งประธานสภาสูงสุดของสหภาพโซเวียตที่มีอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2479 ในขณะที่คีร์กีซสถานยังเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซ
ผู้ดำรงตำแหน่งที่มาจากเลือกตั้งเป็นคนแรกคืออัสการ์ อากายิฟ ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2533 จนถึง 24 มีนาคม พ.ศ. 2548 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 กูร์มันเบก บากียิฟ ก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่อมา และได้รับเลือกอีกครั้งในปี 2552 แต่การจลาจลครั้งใหญ่ในเดือนเมษายน 2553 ทำให้เขาต้องลาออกและหนีออกจากประเทศ ในเดือนเมษายน 2553 โรซา โอตุนบาเยวา ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลชั่วคราว เธอเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในวาระที่จำกัดจนกว่าจะมีการจัดการเลือกตั้ง อัลมัซเบก อาตัมบายิฟ ได้รับเลือกในการเลือกตั้งประธานาธิบดีคีร์กีซสถานในปี 2554 และดำรงตำแหน่งต่อจากโอตุนบาเยวาในวันที่ 1 ธันวาคมของปีนั้น
เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560 โซโรนบัย เจนเบกัฟ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีของประเทศ เขาเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ต่อมาในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เจนเบกัฟลาออกหลังจากเหตุการณ์ความไม่สงบเกี่ยวกับการเลือกตั้งรัฐสภาเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ทำให้นายกรัฐมนตรีซาดือร์ จาปารัฟ รักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดีก่อนที่รัฐสภาจะรับรองให้เขาเป็นประธานาธิบดีในวันที่ 16 ตุลาคม
ซาดือร์ จาปารัฟ เป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 และคนปัจจุบันของคีร์กีซสถาน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Kyrgyzstan parliament approves referendum on new constitution". 11 March 2021.
- ↑ Merz, Theo (16 October 2020). "Ex-prisoner Sadyr Japarov confirmed as Kyrgyzstan president". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 18 October 2020.