ปฏิกิริยาต่อการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย
หน้าตา
บทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วตามสถานการณ์ การแก้ไขล่าสุดบนหน้านี้อาจไม่ได้แสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สุด (กุมภาพันธ์ 2565) |
สงครามรัสเซีย-ยูเครน |
---|
หัวข้อหลัก |
หัวข้อสำคัญ |
หัวข้อเกี่ยวเนื่อง |
ปฏิกิริยาต่อการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย รวมถึงการประณามจากผู้นำโลก รวมถึงการประณามต่อวลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียที่เป็นผู้สั่งการและอนุมัติให้มีการปฏิบัติการทางทหาร ขณะที่บางส่วนโทษว่าเป็นการยั่วยุของเนโท
ประเทศ
[แก้]ทวีปแอฟริกา
[แก้]- กานา – เชอร์ลีย์ อายอร์กอร์ โบตช์เวย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศแถลงประณามต่อการรุกราน[2]
- กาบอง – กาบองเข้าร่วมกับสหรัฐในแถลงการณ์ร่วมภายหลังจากการลงคะแนนเสียงในมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ เกี่ยวกับการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย[3]
- กาบูเวร์ดี – นายกรัฐมนตรีกาบูเวร์ดีออกแถลงประณามบนโพสต์ในเฟสบุค เกี่ยวกับการรุกรานยูเครนและเรียกร้องให้เร่งหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาผ่านการทูตและการเจรจา[4][5]
- แกมเบีย – แกมเบียร่วมสนับสนุนในแถลงการณ์ร่วมนำโดยแอลเบเนีย-อเมริกาที่มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการประณามรัสเซีย[6]
- เคนยา – เคนยาเข้าร่วมกับสหรัฐในแถลงการณ์ร่วมภายหลังจากการลงคะแนนเสียงในมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ เกี่ยวกับการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย[3]
- ซิมบับเว – ซิมบับเวเริ่มอพยพพลเมือง 256 คนออกจากยูเครน โดยแนะนำให้พลเมืองของตนออกจากยูเครนหากสามารถทำได้อย่างปลอดภัย[7]
- ซูดาน – ซูดานมีการประสานงานการอพยพลเมืองของตนในยูเครนกับทางการโปแลนด์และโรมาเนีย[8]
- ซูดานใต้ – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศของซูดานใต้ เรียกร้องให้นักการทูตในยุโรปนับจำนวนประชากรชาวซูดานใต้ในยูเครน โดยระบุว่า "พวกเขามีความกังวลเป็นอย่างสูงเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครน"[9]
- เซาตูแมอีปริงซีป – คาร์ลอส วิลา โนวา ประธานาธิบดีเซาตูเมและปรินซิปี กล่าวว่า ประเทศของเขานั้น "ไม่เห็นด้วยกับการทำสงคราม" ในยูเครน และหวังว่าทั้งสองจะพูดคุยเพื่อ "แก้ไขข้อพิพาท"[10]
- แซมเบีย – มูตาเล นาลูมันโก รองประธานาธิบดีตอบคำถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยระบุว่าแซมเบียไม่สามารถตัดสินใจข้างเดียวเกี่ยวกับความขัดแย้งได้ และจะ "จะไม่สร้างจุดยืนในฐานะประเทศ แต่อาจเป็นกลุ่มองค์กรที่ประเทศเป็นสมาชิกอยู่แทน"[11] นอกจากนี้ แซมเบียยังได้เตรียมแผนอพยพชาวแซมเบียที่อยู่ในยูเครนด้วย[12]
- ตูนิเซีย – ตูนีเซียเรียกร้องให้พลเมืองของตนที่พำนักอยู่ในยูเครนไม่เดินทางออกนอกประเทศ โดยไม่ได้รับการประสานจากหน่วยงานล่วงหน้า[13]
- นามิเบีย – นามิเบียเรียกร้องให้สหประชาชาติแก้ไขสถานการณ์ด้วยสันติวิธี นอกจากนี้ นามิเบียยังเตรียมช่องทางการอพยพชาวนามิเบียจำนวน 100 คน หากมีความจำเป็น[14]
- ไนจีเรีย – วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ถ้อยแถลงเบื้องตันจากกระทรวงการต่างประเทศไนจีเรีย รับทราบถึงการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย โดยอธิบายว่าสถานการณ์นั้นเป็นเรื่อง "น่าประหลาดใจ" โดยมีการประการแผนช่วยเหลือพลเมืองของตนจากยูเครน อย่างไรก็ตาม ในถ้อยแถลงนั้นหลีกเลี่ยงที่จะประณามการกระทำของรัสเซีย และยืนยันในสิ่งที่รัสเซียกล่าวอ้างในการโจมตียูเครนอีกครั้งว่า "จำกัดอยู่ภายในค่ายทหารเท่านั้น"[15] วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ภายหลังจากที่เจฟฟรีย์ ออนเยมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบกับคีร์โดดา วาเลรี เอกอัครรัฐทูตยูเครนประจำไนจีเรีย, อเล็กเซ เชบาร์ชิน เอกอัครรัฐทูตรัสเซียประจำไนจีเรีย และผู้แทนจากประเทศกลุ่ม 7 เขาจึงได้ออกแถลงการณ์ประณามการรุกรานของรัสเซียอย่างเป็นทางการ และเรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังออกจากยูเครน[16]
- ไนเจอร์ – ไนเจอร์เป็นหนึ่งใน 87 ประเทศที่ลงนามจดหมายประณามการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียของสหประชาชาติ[17]
- บอตสวานา – บอตสวานาเป็นหนึ่งใน 87 ประเทศที่ลงนามจดหมายประณามการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียของสหประชาชาติ[18]
- มอริเชียส – รัฐบาลมอริเชียสเรียกร้องให้มีการแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติ และเข้าร่วมในการเรียกร้องให้มีการเจรจากันอย่างสันติในระหว่างคู่ขัดแย้งทั้งสอง[19]
- มาลาวี – ประธานาธิบดีลาซารัส ชาเควรา เรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังทหารโดยทันที[20]
- โมร็อกโก – โมร็อกโกได้ตอกย้ำถึงการสนับสนุนในบูรณภาพแห่งดินแดนของทุกรัฐในสหประชาชาติ[21]
- ลิเบีย – นายลา มันกูช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ออกแถลงประณามการแทรกแซงทางทหารของรัสเซียในยูเครนว่า เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ และเรียกร้องให้รัฐบาลมอสโก "สงบและถอยทัพ"[22]
- เลโซโท – เลโซโทเข้าร่วมกับสหรัฐในแถลงการณ์ร่วมภายหลังจากการลงคะแนนเสียงในมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ เกี่ยวกับการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย[23]
- ไลบีเรีย – ไลบีเรียออกแถลงประณามการรุกราน[24]
- อียิปต์ – นายกรัฐมนตรีมูสตาฟา มัดบูลี ระบุว่ารัฐบาลกำลังเฝ้าติดตามวิดฤตนี้ และเขาแสดงความปรารถนาที่จะให้สถานการณ์คลี่คลายโดยเร็ว[25]
- เอธิโอเปีย – สถานเอกอัครรัฐทูตเอธิโอเปียประจำกรุงเบอร์ลินเรียกร้องให้ชาวเอธิโอเปียในยูเครนข้ามพรมแดมไปยังโปแลนด์[26]
- แองโกลา – รัฐบาลแองโกลาเรียกร้องให้ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งหยุดยิง และเตือนว่าความขัดแย้งนั้นนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่มนุษย์และสิ่งของแล้ว ยังส่งผลให้เกิด "บรรยากาศความตึงเครียดระหว่างประเทศ" ด้วย กระทรวงการต่างประเทศแองโกลายังกล่าวป้องด้วยว่า "คู่กรณีต้องมุ่งมั่นในการแก้ไขความขัดแย้งอย่างสันติ"[27]
- แอฟริกาใต้ – นาเลดี ปันดอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศได้ออกแถลงการณ์กล่าวโทษทั้งรัสเซียและยูเครน โดยเรียกร้องให้ "มีการเจรจาอย่างครอบคลุมโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ" และ "เพิ่มการเจรจาทางการทูต"[28]
- แอลจีเรีย – กระทรวงการต่างประเทศแอลจีเรียระบุว่า "กำลังติดตามความคืบหน้าในสถานการณ์ในสาธารณรัฐยูเครน" นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ชาวอัลจีเรียที่พำนักอยู่ในยูเครน ปฏิบัติตามคำแนะนำของสถานทูตแอลจีเรีย[29]
ทวีปเอเชีย
[แก้]- กัมพูชา − นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ได้ชั่งน้ำหนักในประเด็นรัสเซีย-ยูเครน แล้วสะท้อนความเชื่อที่มีมาช้านานว่า มีเพียงการเจรจาอย่างสันติเท่านั้นหาใช่สงคราม ที่ความขัดแย้งระหว่างคู่ต่อสู่ทั้งสองจะสามารถแก้ไขได้[30]
- กาตาร์ – วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ชีคตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี เจ้าผู้ครองนครรัฐกาตาร์ เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์รัสเซีย-ยูเครนใช้ความยับยั้งชั่งใจ และแก้ไขข้อพิพาทโดยใช้การเจรจาที่สร้างสรรค์และวิธีทางการทูต โดยเน้นย้ำถึงการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วยสันติวิธี พร้อมทั้งเตือนไม่ให้มีการกระทำที่จะนำไปสู่การยกระดับต่อไป[31]
- เกาหลีใต้ – มุน แจ-อินประธานาธิบดีเกาหลีใต้ กล่าวว่าเกาหลีใต้จะเข้าร่วมการคว่ำบาตรระหว่างประเทศต่อรัสเซียในวิกฤต และแสดงความเสียใจต่อการรุกรานของรัสเซียต่อยูเครน เขากล่าวว่า: "การใช้กองกำลังติดอาวุธทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายของมนุษย์ ไม่สามารถหาความชอบธรรมได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ"[32] กระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ยืนยันว่า "รัฐบาลเกาหลีขอประณามอย่างแข็งกร้าวต่อรัสเซียที่รุกรานยูเครนด้วยอาวุธ อันเป็นการละเมิดหลักการกฎบัตรสหประชาชาติ" และ "รัฐบาลเกาหลีจะสนับสนุนและเข้าร่วมความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศ รวมถึงการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ เพื่อควบคุมการรุกรานด้วยอาวุธ"[33]
- เกาหลีเหนือ – วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ รัฐบาลเกาหลีเหนือระบุว่าความขัดแย้งในยูเครนเป็น "ความทะเยอทะยานและไร้เหตุผล" ของสหรัฐ โดยกล่าวหาว่ารัฐบาลวอชิงตันประสงค์จะบรรลุ "อำนาจเหนือทางทหาร" โดยไม่คำนึงถึงความกังวลทางด้านความมั่นคงของรัสเซีย โพสต์หนึ่งบนเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีเหนือมีข้อมูลว่า รี จี-ซง นักวิจัยจากสถาบันสังคมเพื่อการศึกษาการเมืองระหว่างประเทศ ได้แสดงข้อคิดเห็นซึ่งนับเป็นการกล่าวถึงความขัดแย้งของรัสเซียในที่สาธารณะเป็นครั้งแรก ภายหลังการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียเมื่อต้นสัปดาห์ดังกล่าว โดยรีเขียนบทความตอนหนึ่งว่า "ต้นเหตุของวิกฤตการณ์ยูเครนยังอยู่บนความเอนเอียงอย่างสูงและความไร้เหตุผลของสหรัฐ ในการยืดถือการคว่ำบาตรและกดดันเพียงฝ่ายเดียว ในขณะเดียวกันก็ดำเนินตามความมีอิทธิพลในโลกและอำนาจเหนือทางทหาร โดยไม่คำนึงถึงความต้องการอันชอบธรรมชองรัสเซียในการรักษาความมั่นคง"[34]
- คาซัคสถาน – คาซัคสถานเป็นประเทศเพื่อนบ้านและพันธมิตรของรัสเซีย ได้ปฏิเสธคำร้องขอให้กองทัพของคาซัคสถานเข้าร่วมกับรัสเซียในการรุกรานยูเครน ประเทศอดีตสาธารณรัฐโซเวียตยังกล่าวอีกว่า พวกเขาไม่ยอมรับสาธารณรัฐแยก นั่นคือสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ และสาธารณรัฐประชาชนดอเนตสค์ที่รัสเซียได้สร้างขึ้น ซึ่งเอ็นบีซีนิวส์ได้รายงานข้อมูลนี้โดยอ้างอิงจากเจ้าหน้าที่[35] คาซัคสถานหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหวของรัสเซียที่ทำการบุกประเทศอดีตสมาชิกโซเวียด แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้เข้าข้างรัสเซียในการรับรองรัฐแบ่งแยกดินแดนอิสระในยูเครนตะวันออก[36]
- คีร์กีซสถาน – กระทรวงการต่างประเทศคีร์กีซสถาน เรียกร้องให้รัสเซียและยูเครนแก้ไขความขัดแย้งด้วยการเจรจาบนโต๊ะ โดยทางกระทรวงฯ แถลงว่า "เรากำลังติดตามสถานการณ์ในยูเครนด้วยความตกใจและกังวลใจ จากความสัมพันธ์ฉันมิตรในอดีตกับประชาชนของทั้งรัสเซียและยูเครน เราคาดหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะบรรลุสันติภาพในทันที รวมถึงสร้างรูปแบบและกลไกขึ้นใหม่ในการระงับข้อพิพาทบนโต๊ะเจรจา เพื่อป้องกันการบาดเจ็บล้มตายและความเสียหายเพิ่มเติม"[37]
- คูเวต – คูเวตเข้าร่วมกับสหรัฐในแถลงการณ์ร่วมภายหลังจากการลงคะแนนเสียงในมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ เกี่ยวกับการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย[23]
- จอร์แดน − รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจอร์แดนออกแถลงการณ์เรียกร้องให้มีการยุติความขัดแย้งอย่างสันติผ่านการเจรจา เพื่อฟื้นฟูความมั่นใจและเสถียรภาพในภูมิภาคในช่วงเวลา "วิกฤต" นี้[38]
- จีน – สี จิ้นผิง ผู้นำจีนและเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้พูดคุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ว่าจีนสนับสนุนรัสเซียและยูเครนให้แก้ไขปัญหาผ่านทางการเจรจา[39][40] ซึ่งประธานาธิบดีปูตินบอกกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิงว่า "รัสเซียยินดีที่จะดำเนินการเจรจากับยูเครนในระดับสูง"[41] จาง จุน เอกอัครรัฐทูตจีนประจำสหประชาชาติ กล่าวว่า "เราเชื่อมั่นว่าทุกประเทศควรแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วยสันติวิธี ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ"[42] วันที่ 24 กุมภาพันธ์ รัฐบาลจีนปฏิเสธที่จะระบุว่าการปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียนั้น "เป็น/ไม่เป็น" การรุกรานหรือไม่ แต่ได้เปรียบเทียบกับการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของจีน ซึ่งโฆษกของรัฐบาลจีนได้ยกว่าฝรั่งเศสและเยอรมนีนั้น "มีความพยายามเป็นอย่างมากผ่านการเจรจาไกล่เกลี่ยทางการทูต เพื่อบรรเทาความตึงเครียด" และกล่าวหาว่าสหรัฐนั้นปลุกปั่นเพื่อทำให้เกิดสงคราม[43] วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ถ้อยแถลงของทางการจีนระบุว่า ดินแดนและอำนาจอธิปไตยของยูเครนควรได้รับการเคารพ และกระตุ้นให้มีการเจรจาระหว่างยูเครนและรัสเซียโดยเร็วที่สุด[44] หลังจากนั้นไม่นาน หวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและสมาชิกคณะมนตรีรัฐกิจ กล่าวว่า จีนมีจุดยืนที่ชัดเจนเกี่ยวกับบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของทุกประเทศ รวมทั้งยูเครนด้วย[44][45] สื่อของรัฐหลายแห่งในปักกิ่งอ้างคำพูดของช็อลทซ์ว่า "เป็นวันที่เลวร้ายสำหรับยูเครนและวันที่มืดมนสำหรับยุโรป"[46] ผู้เชี่ยวชาญด้านชาตินิยมในสื่อเหยี่ยวเสรี ต่างเรียกปฏิบัติการทางทหารว่า "เป็นวันที่มืดมนครั้งที่สองของยุโรปหลังสงคราม"[47]
- ซาอุดีอาระเบีย – วาลีด อา. เอลคีเรยี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของซาอุดีอาระเบียและเวนดี เชอร์แมน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ร่วมกันหารือว่าจะสร้าง "การตอบโต้ที่รุนแรงระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนอธิปไตยของยูเครน" เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐระบุ[48] ซาอุดีอาระเบียยังคงยึดมั่นในข้อตกลงโอเปก+ โดยมุฮัมมัด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารซาอุดีอาระเบียทรงตรัสกับแอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์เพื่อสนับสนุนพันธมิตรของกลุ่มต่อรัสเซียท่ามกลางการรุกรานยูเครน[49]
- ซีเรีย – บัชชาร อัลอะซัด ประธานาธิบดีซีเรียยกย่องการรุกรานของรัสเซียว่าเป็น "การแก้ไขประวัติศาสตร์" และกล่าวหาว่าชาติตะวันตกใช้ "วิธีการสกปรกในการสนับสนุนผู้ก่อการร้ายในซีเรียและพวกนาซีในยูเครน"[50]
- ญี่ปุ่น – ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้กล่าวประณามการรุกรานของรัสเซียต่อยูเครน และประกาศว่าจะร่วมมือกับสหรัฐในการลงโทษรัสเซียเพิ่มเติม[51] วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ญี่ปุ่นใช้มาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ รวมไปถึงการห้ามส่งออกสารกึ่งตัวนำและผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสูงต่าง ๆ รวมถึงการแช่แช็งทรัพย์สินของธนาคารรัสเซีย 3 แห่งด้วย นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาขยายการคว่ำบาตรเพิ่มเติมไปยังเบลารุสด้วย เนื่องจากสนับสนุนการรุกราน วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ญี่ปุ่นตกลงที่จะเพิ่มความพยายามในการป้องปรามร่วมกับสหรัฐ โดยโยชิมาซะ ฮายาชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นระบุว่า "ผลกระทบของสิ่งนี้จะไม่หยุดอยู่แค่ในยุโรป" ก่อนหน้านี้ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–รัสเซีย ฝ่ายญี่ปุ่นนั้นมีความพยายามหลีกเลี่ยงการเป็นปรปักษ์กับรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล ซึ่งเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับดินแดนของรัสเซียในทวีปเอเชีย อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นเองก็มีความกังวลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับผลกระทบทางภูมิรัฐศาสตร์เกี่ยวกับการผนวกดินแดนยูเครนต่อจีนและไต้หวัน[52][53]
- ติมอร์-เลสเต – ติมอร์-เลสเตเป็นหนึ่งใน 87 ประเทศที่ลงนามในการประณามการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย[54]
- ตุรกี – เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ประธานาธิบดีตุรกีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตุรกี ระบุว่าการกระทำของรัสเซีย "ไม่อาจยอมรับได้" และประณามรัสเซียอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับ "การละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง" พร้อมย้ำถึง "การสนับสนุนอธิปไตยและบูรพภาพแห่งดินแดนของยูเครน"[55] นอกจากนี้ เรือพาณิชย์ของตุรกียังถูกรัสเซียโจมตีด้วยระเบิดบริเวณนอกชายฝั่งเมืองออแดซาด้วย ซึ่งทางการตุรกีระบุว่าไม่มีผู้เสียชีวิต และเรือลำดังกล่าวได้เดินทางไปถึงโรมาเนีย ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติพันธมิตรของเนโทได้อย่างปลอดภัย[56] วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ตุรกีกล่าวถึงการรุกรานว่าเป็น "สงคราม" ซึ่งเป็นการใช้วาทศิลป์จากความขัดแย้งภายใต้อนุสัญญามงเทรอว่าด้วยระบอบแห่งช่องแคบ ค.ศ. 1936 และอนุญาตให้ตุรกีมีสิทธิในการห้ามมิให้เรือรบของรัสเซียผ่านช่องแคบดาร์ดะเนลส์และบอสพอรัส[57] วันที่ 28 กุมภาพันธ์ แอร์โดอันได้ยืนยันต่อสาธารณะว่าจะปิดช่องแคบทั้งสองเพื่อป้องกันการทวีความรุนแรงของสงคราม ในขณะเดียวกันก็จะให้คำมั่นว่าจะรักษาความสัมพันธ์ทั้งกับยูเครนและรัสเซีย[58]
- ไต้หวัน – ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน กล่าวว่า "รัฐบาลของเราขอประณามการละเมิดอธิปไตยของยูเครนโดยรัสเซีย และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายดำเนินการแก้ไขข้อพิพาทด้วยวิธีการที่สันติและมีเหตุผล"[59] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไต้หวัน กล่าวว่า ไต้หวันจะเข้าร่วมการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย และแสดงความเสียใจต่อการตัดสินใจของรัสเซียที่ "ใช้กำลังและการข่มขู่ในการกลั่นแกล้งผู้อื่น แทนที่จะใช้การแก้ไขข้อพิพาทด้วยวิธีการการเจรจาทางการทูตอย่างสันติ"[60]
- ไทย – กระทรวงการต่างประเทศแสดง "ความกังวลอย่างยิ่ง" ต่อสถานการณ์ และกล่าวว่าสนับสนุน "ความพยายามที่ยังคงดำเนินอยู่ เพื่อแสวงหาการแก้ไขสถานการณ์อย่างสันติผ่านการหารือ"[61] วันที่ 2 มีนาคม 2565 ประเทศไทยร่วมกับอีก 140 ประเทศในที่ประชุมฉุกเฉินของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ออกเสียงเห็นชอบให้ประณามและขอให้รัสเซียถอนกำลังในทันที[62]
- เนปาล – เนปาลต่อต้านการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระบุว่า เราต้องเคารพหลักการแห่งอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนอย่างเต็มที่[63]
- บรูไน – บรูไนประณามการรุกรานดังกล่าว โดยเรียกร้องให้แก้ไขสถานการณ์โดยไม่ต้องใช้กำลัง[64]
- บังกลาเทศ – เอเค อับดุล โมเมน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ย้ำถึงการเรียกร้องของบังกลาเทศ ที่เรียกร้องให้ความขัดแย้งทางทหารที่กำลังดำเนินไปของรัสเซียและยูเครนนั้น เป็นไปด้วยความสันติตามกฎบัตรสหประชาชาติ[65] นายกรัฐมนตรี ชีค ฮาซีนา ได้ขอให้ผู้เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน[66] รัสเซียกำลังสร้างหนึ่งในเมกะโปรเจกต์ที่ใหญ่ที่สุดของบังกลาเทศ นั่นคือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์รอปปูร์ ซึ่งรัสเซียเป็นผู้ให้เงินทุนและการขนส่งทั้งหมดสำหรับโครงการนี้ แต่ผู้เชี่ยวชาญสงสัยว่า สงครามนั้นอาจจะขัดขวางการดำเนินงานของโครงการ แม้ว่าโครงการจะแล้วเสร็จกว่าร้อยละ 77 แต่สถานการณ์อาจทำให้การก่อสร้างนั้นยืดเยื้อต่อไป รัสเซียเองเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ซึ่งช่วยบังกลาเทศให้ได้รับเอกราชจากปากีสถานในสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศ[67] ท่าทีที่เป็นกลางซึ่งบังกลาเทศยังคงไว้ในระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียนั้น ผู้สังเกตเชื่อว่ามาจากความกังวลของบังกลาเทศเองที่ไม่ต้องการถูกคุกคามจากประเทศเพื่อนบ้านที่ใหญ่กว่า[68]
- ปากีสถาน – อิมรัน ข่าน นายกรัฐมนตรีปากีสถาน แสดงความเสียใจเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน และกล่าวว่าความขัดแย้งนั้นไม่อยู่ในความสนใจของผู้ใด เขาหวังว่าความขัดแย้งทางทหารระหว่างทั้งสองประเทศ จะสามารถหลีกเลี่ยงได้ผ่านทางการทูต ข่านยังเน้นย้ำด้วยว่าปากีสถานนั้นเชื่อมั่นว่าข้อพิพาทควรจะได้รับการแก้ไขผ่านการเจรจาทางการทูต[69]
- พม่า – ซอมีนอูน โฆษกสภาบริหารแห่งรัฐพม่า กล่าวสนับสนุนการตัดสินใจของรัสเซีย โดยระบุว่า "รัสเซียทำหน้าที่เพื่อปกป้องอธิปไตยของตนเอง" และยกย่องบทบาทของรัสเซียในการคานสมดุลอำนาจโลก[70][71] ดร. ซาซา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติพม่ากล่าวว่า "การโจมตียูเครนโดยปราศจากเหตุผลนั้นไม่ยุติธรรม เป็นเรื่องที่ไม่สามารถอภัยให้ได้ และไม่อาจยอมรับได้"[72]
- ฟิลิปปินส์ – กรมการต่างประเทศฟิลิปปินส์ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ว่ากำลังเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศยืนยันความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาพิพาทอย่างสันติผ่านการเจรจาและทำให้ได้ "มากกว่าคำพูด" และมีการอ้างถึงปฏิญญามะนิลาของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศอย่างสันติ โดยเตโอโดโร โลกซิน จูเนียร์ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศให้คำมั่นว่าจะเดินทางไปยังชายแดนยูเครนเพื่อดูแลเรื่องการอพยพกลับของชาวฟิลิปปินส์เป็นการส่วนตัว[73] ต่อมา ฟิลิปปินส์ได้แสดงเจตจำนงในการลงนามประณามรัสเซียกรณีรุกรานยูเครนในสมัยประชุมฉุกเฉินพิเศษของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ[74]
- ภูฏาน – ตันดี ดอร์จี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศภูฏานกล่าวว่า "กำลังศึกษาและประเมินผลกระทบที่สงครามนั้นจะมีต่อภูฏาน" และเสริมด้วยว่าในประเทศยูเครนนั้นไม่มีชาวภูฏานพำนักอยู่[75]
- มองโกเลีย – อามาร์ไซข่าน ไซน์บูยัน รองนายกรัฐมนตรีมองโกเลีย และบัตต์เซตเซก บัตมุนค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมองโกเลีย ได้พูดคุยกับสื่อมวลชนเกี่ยวกับการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย โดยพวกเขาสรุปแผนการส่งชาวมองโกเลียกลับประเทศ แต่ไม่ได้ประณามการกระทำของรัสเซีย โดยทั้งสองบรรยายถึงการบุกรุกว่าเป็นการปฏิบัติการทางทหารและการต่อสู้ด้วยอาวุธในยูเครน[76]
- มัลดีฟส์ – อับดุลลา ฮูเมด รองฝ่ายการต่างประเทศมัลดีฟส์แถลงถึงแผนในการอพยพชาวมัลดีฟส์ในยูเครน[77]
- มาเลเซีย – อิซมาอิล ซับรี ยักกบ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ออกแถลงการณ์ผ่านสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่ามีความกังวลเกี่ยวกับ "ความขัดแย้งในยูเครนที่ทวีความรุนแรงขึ้น" นอกจากนี้ยังมีการเรียกร้องให้มีการเจรจาและ "ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง"[78] มาเลเซียกีนี สำนักข่าวอิสระตั้งข้อสังเกตว่า คำแถลงของนายกรัฐมนตรีนั้นปราศจากภาษาที่มีพลัง และไม่ได้กล่าวถึงรัสเซีย และไม่ได้ระบุว่าความขัดแย้งนั้นเป็น "การรุกราน" ทำให้โฆษกของนายกรัฐมนตรีออกมากล่าวตอบโต้ว่า สำนักข่าวนั้นเบี่ยงเบนเนื้อหาออกจากส่วนคำสัญของแถลงการณ์[79] วันที่ 27 กุมภาพันธ์ กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียแถลงปฏิเสธการรายงานของ "เซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์" ว่า "ผิดพลาด" ในการอพยพชาวมาเลเซียจากยูเครนโดยบังคับให้พวกเขาเดินทางไปยังโปแลนด์โดยพาหนะส่วนบุคคล เพื่อหนีการรุกรานของรัสเซีย หลังจากมีรายงานว่ารถบัสเช่าเหมาลำที่มีกำหนดมารับผู้อพยพนั้นไม่มาตามนัด ตามมาด้วยข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลมาเลเซียนั้นปฏิเสธความเป็นไปได้ที่รัสเซียจะรุกรานยูเครนว่าเป็น "เรื่องเล่าจากตะวันตก"[80][81] ในการประชุมฉุกเฉิน ผู้แทนของมาเลเซียแถลงว่า ประเทศมาเลเซียจะลงคะแนนสนับสนุนในร่างมติประณามการรุกราน[82]
- ลาว − สปป. ลาว เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใช้ความยับยั้งชั่งใจอย่างเต็มที่ และพยายามลดความตึงเครียดที่อาจบ่อนทำลายสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ นอกจากนี้ สปป. ลาวยังสนับสนุนความพยายามอย่างต่อเนื่องในการหาข้อตกลงอย่างสันติด้วยวิธีการทางการทูต[83]
- เลบานอน – กระทรวงการต่างประเทศเลบานอนแถลงประณามการรุกรานยูเครนทางทหารของรัสเซีย และเรียกร้องให้มอสโกนัน "ยุติการปฏิบัติการทางทหารในทันที"[84] ขณะที่สถานเอกอัครรัฐทูตรัสเซียในเลบานอนแลดงความประหลาดใจต่อการประณาม โดยออกแถลงการณ์ตอบโต้ว่า "คำแถลง... ทำให้เราประหลาดใจในการละเมิดนโยบายการแยกตัวและเลือกข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในเหตุการณ์เหล่านี้ และสังเกตว่ารัสเซียจะไม่ละความพยายามในการมีส่วนร่วมในการทำให้สาธารณรัฐเลบานอนก้าวหน้าและมั่นคง"[85]
- เวียดนาม – เลทิทูฮัง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า เวียดนาม "เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในวิกฤตยูเครนใช้ความอดกลั้น ส่งเสริมการเจรจา และก้าวเข้าสู่มาตรการทางการทูตเพื่อยุติความรุนแรงด้วยสันติด้วยความเคารพต่อกฎบัตรสหประชาชาติ และหลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพในภูมิภาคและโลก"[86]
- ศรีลังกา – กระทรวงการต่างประเทศระบุว่า รัฐบาลศรีลังกามีความกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นในยูเครนเมื่อเร็ว ๆ นี้ และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใช้ความยับยั้งชั่งใจอย่างสูงสุด และดำเนินการเพื่อยุติการสู้รบโดยทันที เพื่อรักษาสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพในภูมิภาค โดยเน้นยำถึงความจำเป็นของความพยายามร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขวิกฤตผ่านการเจรจาทางการทูต และการเจรจาอย่างจริงใจ[87]
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ – สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์งดออกเสียงในมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประขาชาติในการแสดงความเสียใจต่อการรุกรานยูเครนของรัฐบาลมอสโก[88]
- สิงคโปร์ – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า สิงคโปร์นั้น "ขอประณามการรุกรานประเทศอธิปไตยโดยปราศจากการยั่วยุไม่ว่าจะด้วยข้ออ้างใด ๆ ก็ตาม" และ "เราต้องเคารพอธิปไตย เอกราช และบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน"[89] "ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการเจรจาต่อไป รวมไปถึงใช้วิธีในทางการทูตเพื่อยุติข้อพิพาทอย่างสันติ ตามกฎหมายระหว่างประเทศและหลีกเลี่ยงการดำเนินการที่จะทำให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาคต่อไป"[90] สำนักข่าวท้องถิ่นรายงานว่า สิงคโปร์อาจเข้าร่วมการคว่ำบาตรพร้อมกับนานาชาติต่อรัสเซียด้วย และไม่น่าจะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยตรงจากการควบคุมการส่งออกที่เกี่ยวกับรัสเซีย[91] วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 สิงคโปร์ประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย โดยกำหนดให้มีการควบคุมการส่งออกสินค้า "ที่สามารถใช้เป็นอาวุธโดยตรงต่อยูเครน เพื่อทำอันตรายหรือปราบปรามชาวยูเครน" และยกระดับไป "ปิดกั้นธนาคารรัสเซียบางแห่ง และธุรกรรมการเงินที่เกี่ยวข้องกับรัสเซีย" การเคลื่อนไหวครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถือเป็นการปฏิเสธการงดประณามของประขาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[92][93]
- อัฟกานิสถาน – กลุ่มตอลิบานออกแถลงการณ์แสดงความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตในยูเครน และเรียกร้องให้ "แก้ไขวิกฤติด้วยการเจรจาและสันติวิธี"[94]
- อาเซอร์ไบจาน − ประธานาธิบดีอิลฮัม แอลีเยฟ เสนอให้มีการจัดการเจรจาระหว่างยูเครนและรัสเซีย[95] และอาเซอร์ไบจานจะส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับยูเครน[96]
- อาร์มีเนีย − รัฐบาลอาร์มีเนียแสดงความหวัง "ว่าปัญหาที่มีอยู่ระหว่างสองรัฐทั้งสองจะได้รับการแก้ไขผ่านการเจรจาทางการทูติ" และประการความพร้อมในการรับผู้ลี้ภัย[97]
- อินเดีย – นเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดียร้องขอให้ยุติการใช้ความรุนแรงในยูเครนโดยทันที จากการโทรศัพท์กับประธานาธิบดีปูตินในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ นอกจากนี้เขายังแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและการกลับออกมาของนักเรียนนักศึกษาชาวอินเดียจำนวน 18,000 คนในยูเครน ซึ่งรัฐบาลอินเดียงดให้รายละเอียดในประเด็นนี้[98] ก่อนหน้านั้น กระทรวงการต่างประเทศได้แถลงว่า "อินเดียกำลังติตดามการพัฒนาของเหตุการณ์ในภูมิภาคอย่างใกล้ชิด" ซึ่งอินเดียกำลังพิจารณาการตั้งกลไกการค้ากับรัสเซียผ่านสกุลเงินรูปีด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการคว่ำบาตรทางการค้าระหว่างสองประเทศ[99] รัสเซียจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับอินเดียประมาณร้อยละ 70 และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น โดยอินเดียเป็นเพียงสมาชิกเดียวของกลุ่มคิวเอสดีที่ไม่แบนการส่งออกของรีสเซีย อย่างไรก็ตาม อินเดียก็ยังต้องการความช่วยเหลือจากสหรัฐเพื่อตอบโต้จีนซึ่งถือเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดของอินเดียด้วย นักวิเคราะห์จากศูนย์เพื่อการวิจัยนโยบายตั้งข้อสังเกตว่า "อินเดียไม่เคยตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ ไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตาม นับเป็นความท้าทายทางการทูตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามเย็น" ขณะที่อิกอร์ โปลิกา เอกอัครรัฐทูตยูเครนประจำอินเดียให้สัมภาษณ์กับนักข่าวอินเดียว่า เขา "ไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง" กับท่าทีของอินเดีย[100] อินเดียงดออกเสียงในมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการประณามการรุกรานของรัสเซีย[101]
- อินโดนีเซีย – เตอูกู ไฟซาสยาห์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย กล่าวแสดงความกังวลของอินโดนีเซียต่อความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้น อินโดนีเซียเรียกร้องให้รัสเซียเคารพอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน[102] โจโก วีโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซียได้ทวีตบนแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ว่า "หยุดสงคราม สงครามนำความทุกข์มาสู่มนุษยชาติ และเป็นอันตรายต่อโลก"[103][104] วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 มีการประการศว่ารัฐบาลอินโดนีเซียได้พิจารณามาตรการคว่ำบาตรรัสเซียในการรุกรานยูเครน[105] นอกจากนี้ สภาผู้แทนประชาชนยังมีการออกแถลงการณ์ประณามด้วย[106]
- อิสราเอล – นัฟตาลี เบนเนตต์ นายกรัฐมนตรีอิสราเอลกล่าวว่า "หัวใจของเราร่วมกับพลเรือนของยูเครนตะวันออก ผู้ซึ่งกำลังตกอยู่ในสถานการณืนี้" เขาเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงและเสนอความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับยูเครน[107] ยาอีร์ ลาปิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนายกรัฐมนตรีผู้แทนกล่าวว่า "การโจมตีของรัสเซียในยูเครนนั้น ถือเป็นการละเมิดระเบียบระหว่างประเทศอย่างรุนแรง อิสราเอลขอประณามการโจมตีดังกล่าว และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกับพลเมืองของยูเครน อิสราเอลเป็นประเทศที่มีประสบการณ์ด้วยสงคราม และสงครามนั้นไม่ใช่วิธีในการแก้ไขความขัดแย้ง"[108][109][110] วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอิสราเอล ได้ติดสินใจขยายเวลาวีซ่าของนักท่องเที่ยวชาวยูเครนในอิสราเอลเป็นเวลาสองเดือนโดยอัตโนมัติ เพื่อให้พวกเขาสามารถลี้ภัยชั่วคราวจากสงครามในยูเครนได้[111]
- อิหร่าน – แม้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอิหร่านจะเห็นว่าสงครามนั้นมีรากมาจากเนโท แต่เขาไม่เห็นว่าการทำสงครามนั้นเป็นวิธีในการแก้ไขปัญหา พวกเขาเชื่อว่าควรหยุดยิง และมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาทางการเมือง วิธีการทางประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งจำเป็น[112] เอบรอฮีม แรอีซี ประธานาธิบดีอิหร่านได้โทรศัพท์หาปูติน และสนับสนุนการรับประการการหยุดการขยายตัวของเนโท[113][114] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิหร่านทวีตว่า "วิกฤต #ยูเครน มีรากฐานมาจากการยั่วยุของเนโท เราไม่เชื่อว่าการทำสงครามจะเป็นวิธีการแก้ปัญหา จำเป็นต้องหยุดยิง & หาแนวทางการแก้ไขทางการเมืองและประชาธิปไตย" ขณะที่เลขาธิการสภาสูงเพื่อสิทธิมนุษยชนของอิหร่านกล่าวกับ IRNA ว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่านไม่ได้สนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารกับยูเครน แต่ขณะเดียวกัน รัฐบาลเตหะรานก็ไม่ได้ทำเป็นปิดตามองไม่เห็นแผนการแทรกซึมกลุ่มกบฎโดยสหรัฐและชาติพันธมิตร[115]
- อุซเบกิสถาน – เลขาธิการของประธานาธิบดีอุซเบกิสถานระบุผ่านเฟสบุคว่า "ประธานาธิบดีแห่งรัสเซียแจ้งต่อประมุขแห่งรัฐของรเราถึงเหตุผลและสถานการณ์ในการตัดสินใจเป็นปฏิบัติการพิเศษ ในทางกลับกัน อุซเบกิสถานแสดงความหวังว่า อีกไม่นาน ทั้งสองฝ่ายจะหาวิธีร่วมกันในการแก้ไขสถานการณ์และป้องกันไม่ให้สถานการณ์ทวีความรุนแรงขึ้นอีก ข้าพเจ้าต้องการเน้นย้ำว่าอุซเบกิสถานเองมีจุดยืนที่สมดุลและเป็นกลางในเรื่องดังกล่าวนี้"[116][117] กระทรวงการต่างประเทศของอุซเบกิสถานกล่าวว่า สถานทูตอุซเบกิสถานในโปแลนด์กำลังอพยพพลเมืองของอุซเบกิสถานออกจากยูเครนผ่านโปแลนด์[118]
ทวีปยุโรป
[แก้]- กรีซ
- ประธานาธิบดีคาเตรินา ซาเกลลาโรปูโล กล่าวว่า "เราขอประณามเป็นอย่างยิ่งต่อการโจมตีของรัสเซียในประเทศเอกราช" เพราะเป็น "การละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและค่านิยมของเราอย่างชัดเจน"[119]
- นายกรัฐมนตรีคีรีอาโกส มิตโสตากิส แถลงประณามการกระทำอันเป็น "ผู้เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์" ของรัสเซียต่อยูเครน[120][121][122]
- คอซอวอ[a] – นายกรัฐมนตรีอัลบิน กูร์ติ แถลงประณามการรุกรานของรัสเซียว่าเป็น "การรุกรานทางทหารครั้งใหญ่ที่สุด ไม่เพียงแต่ในยุโรป แต่นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง" โดยระบุว่า "เรายืนหยัดร่วมกับสหภาพยุโรป เนโท สหรัฐ และสหราชอาณาจักรในด้านอธิปไตยของรัฐ บูรณภาพแห่งดินแดน ความเป็นอิสระของประเทศ และสิทธิในการตัดสินใจด้วยต้นเองของประชาชนชาวยูเครน" ควบคู่ไปกับการลงโทษโดยรัฐสภาคอซอวอ ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีโยซา ออสมานี กล่าวว่า ชาวคอซอวอสนับสนุนชาวยูเครน "ในระหว่างที่พวกเขาเผชิญกับสงครามที่ไม่มีการยั่วยุ จากการรุกรานของรัสเซีย" โดยระบุในทวิตเตอรร์ว่า "เราจะทำงานร่วมกับพันธมิตรของเรา... อำนาจของรัสเซียจะไม่ได้รับชัยชนะ เสรีภาพและประชาธิปไตยจะเป็นฝ่ายชนะ"[123] แถลงการณ์ร่วมของประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอาวุโสของคอซอวอ ได้ประณามความพยายามเทียบเคียงกับการประกาศอิสรภาพของคอซอวอจากเซอร์เบียว่า "ความพยายามของเผด็จการปูตินในการอ้างถึงกรณีคอซอวอนั้น ไม่ใช่กรณีเดียวกันอย่างสิ้นเชิง เป็นการดูถูก และพยายามอำพราง ขาดฐานหรือเหตุผลใด ๆ สำหรับการโจมตีอย่างป่าเถื่อนของกองกำลังของตนต่อรัฐอธิปไตย"[124]
- โครเอเชีย – นายกรัฐมนตรีอันเดรย์ เปลงกอวิช ออกแถลงการณ์บนทวิตเตอร์ว่า "เราขอประณามการรุกรานและการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียอย่างแข็งขัน การโจมตีที่ไร้การยั่วยุนี้เป็นการละเมิดอธิปไตยของยูเครนและกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง"[125] นอกจากนี้ เปลงกอวิชยังได้พบกับเอกอัครรัฐทูตยูเครนประจำโครเอเชีย โดยระบุว่า โครเอเชียจะสนับสนุนมาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรป และพร้อมจะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและทางเทคนิคแก่ยูเครน[126]
- เช็กเกีย
- ประธานาธิบดีมิโลช เซมาน เรียกร้องในการปราศัยต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ว่า "การรุกรานนั้นเป็นการรุกรานโดยปราศจากการยั่วยุ" และ "รัสเซียได้ก่ออาชญากรรมต่อสันติภาพ" โดยเขาเรียกร้องให้คว่ำบาตรรัสเซียอย่างรุนแรง นอกจากนี้ เขายังกล่าวด้วยว่า ตัวเขาเองนั้น "ผิด" ที่ยืนกรานในช่วงสองสามวันก่อนหน้าที่ว่ารัสเซียจะไม่บุกยูเครน[127]
- นายกรัฐมนตรีเปตร์ ฟีอาลา กล่าวว่า รัฐบาลของเขาได้ถอนข้อตกลงในการดำเนินงานสถานกงสุลรัสเซียในคาร์โลวีวารีและเบอร์โน และได้ระงับการดำเนินงานของสถานกงสุลสาธารณรัฐเช็กในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กและเยคาเตรินเบิร์ก และได้หยุดการออกวีซ่าให้พลเมืองรัสเซีย นอกจากนี้ เขายังประกาศด้วยว่า สาธารณรัฐเช็กจะยืนกรานใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อต้านรัสเซียที่เข้มงวดที่สุด และจะพัฒนาตำแหน่งที่โหดร้ายที่สุดต่อรัสเซีย[128]
- ซานมารีโน – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซามารีโน ออกแถลงการณ์ว่า "การยกระดับทางทหารในยูเครนเป็นบาดแผลขนาดใหญ่สำหรับประชาชนและทุกประเทศที่เชื่อมั่นในคุณค่าของสันติภาพ และขอประณามสงครามอย่างรุนแรง" และ "สถาบันและรัฐบาลของซานมารีโนต่างตกใจเป็นอย่างมากในช่วงเวลานี้"[129]
- ไซปรัส – ประธานาธิบดีนิโคส อานาสตาเซียเดส ทวีตประณาม "ในเงื่อนไขที่รุนแรงที่สุด" ขณะเดียวกันไอโออันนิส คาซูลิดิส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เรียกร้องให้มีการหยุดยิงและกล่าวว่า "นี่เป็นการปฏิบัติการทางทหารภายในยุโรป ซึ่งเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงได้มาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง"[130]
- เดนมาร์ก – นายกรัฐมนตรีเมตเต เฟรเดอริกเซน กล่าวว่าเป็น "วันที่มืดมนสำหรับสันติภาพทั่วโลก" ขณะที่ระบุว่ารัฐบาลของเธอพร้อมที่จะรับผู้ลี้ภัยชาวยูเครน[131]
- หมู่เกาะแฟโร – ความคิดเห็นจากนายกรัฐมนตรีบาร์ดูร์ ออนสไตก์ นีลเซน "วันนี้เป็นวันที่น่าเศร้าและเรามีความคิดเช่นเดียวกับชาวยูเครน นี่ไม่ใช่เพียงการโจมตียูเครน แต่ยังรวมถึงสันติภาพของยุโรปด้วย หมู่เกาะแฟโรประณามอย่างรุนแรง การรุกรานยูเครนโดยรัสเซียนั้น เป็นการโจมตีที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาความยุติธรรม ความมั่นคง และเสถียรภาพอย่างชัดเจน"[132]
- นครรัฐวาติกัน – สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสตรัสว่า เหตุการณ์ในยูเครนทำให้ทรงเกิด "ความปวดร้าวในพระทัย" สมเด็จพระสันตะปาปาทรงกำหนดให้วันที่ 2 มีนาคม วันพุธรับเถ้า เพื่อเป็นวันแห่งสวดอ้อนวอนและการอดอาหารเพื่อสันติภาพ[133] ในการทูตอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน สมเด็จพระสันตะปาปาเสด็จไปยังสถานเอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสันตะสำนัก เมื่อวันที่ศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ เพื่อถ่ายทอดความกังวลเกี่ยวกับการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียต่อเอกอัครราชทูตของรัฐบาลมอสโก[134]
- มาซิโดเนียเหนือ
- ประธานาธิบดีสแตวอ แปนดารอฟสกี ประณามการรุกรานของรัสเซียว่าเป็น "การโจมตีบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของยูเครน ละเมิดหลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศอย่างโจ่งแจ้ง โจมตีระเบียบประชาธิปไตย และภัยคุกคามต่อความมั่นคงของยุโรป"[135]
- นายกรัฐมนตรีดีมีตาร์ โควาเซฟสกี ประกาศความพร้อมของรัฐบาลในการรับผู้ลี้ภัยจากยูเครน หากสถานการณ์นั่นเลวร้ายลงอีก[136]
- นอร์เวย์ – นายกรัฐมนตรียูนาส การ์ สตอร์ ยืนยันว่านอร์เวย์ "ประณามการโจมตีทางการทหารของรัสเซียต่อยูเครนในเงื่อนไขที่รุนแรงที่สุด"[137]
- เนเธอร์แลนด์ – นายกรัฐมนตรีมาร์ก รึตเตอ ประณามการกระทำของรัสเซียใน "เงื่อนไขที่รุนแรงที่รุนแรงที่สุด" โดยกล่าวว่า "ประเทศหนึ่งและชายคนหนึ่งจะต้องรับผิดชอบ" พร้อมเรียกร้องให้ "คว่ำบาตรสูงสุด" ต่อรัสเซีย[138] สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์และสมเด็จพระราชินีมักซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ ตรัสว่า "เราขอส่งกำลังใจให้ชาวยูเครนและทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง"[139]
- บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
- เซลีโก กอมชิชสมาชิกไตรภาคีประธานาธิบดี กล่าวว่า บอสเนียจะสนับสนุนยูเครนตามความสามารถ[123]
- ขณะที่เซลีโก กอมชิชและเชฟิก จาเฟโรวิช สมาชิกโครเอเชียและบอสเนียของไตรภาคีประธานาธิบดี ออกแถลงการณ์แยกกันในการประณามการรุกรานของรัสเซีย มิโลราด โดดิก สมาชิกเซอร์เบียไม่ได้กล่าว แทนที่จะระบุว่าบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนานั้นเป็นกลาง โดยระบุเมื่อวันก่อนว่าเหตุการณ์แสดงให้เห็นว่าเป็นการตัดสินใจที่ดีสำหรับบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาจะไม่เข้าสู่เนโท และประเทศนั้นไม่สนับสนุนการคว่ำบาตร[140]
- บิเซรา ตูร์โกวิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า "บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนายังคงยึดมั่นในอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน และเราเรียกร้องให้ยุติการต่อสู้และการทิ้งระเบิดในทันที! หลักการ OSCE ความั่นคง และกฎหมายระหว่างประเทศกำลังถูกโจมตีอยู่ในวันนี้ ความเกลียดชังและความทุกข์ทรมานของพลเรือนผู้บริสุทธิ์จะต้องยุติลงในทันที" เธอกล่าว โดยรัฐมนตรีตูร์โกวิกเรียกร้องให้รัสเซียและเบลารุสงดใช้กำลังเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพระดับภูมิภาค และระดับโลก[141]
- บัลแกเรีย – บัลแกเรียประณามการรุกราน และนายกรัฐมนตรีคิริล เพตคอฟกล่าวว่า "เราเห็นว่าการรุกรานนี้ไม่ได้ถูกกระตุ้นโดยฝ่ายยูเครน และการกระทำดังกล่าวในยุโรปเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้"[142]
- สเตฟาน ยาเนฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมบัลแกเรียถูกไล่ออก เนื่องจากยืนกรานว่าการเรียกว่าเป็นสงครามนั้นผิด โดยเรียกเป็น "ปฏิบัติการ" นอกจากนี้เขายังได้กล่าวอีกว่า ไม่จำเป็นที่บัลแกเรียจะต้องยอมรับตำแหน่ง "หนุนรัสเซีย หนุนอเมริกา หรือหนุนยุโรป"[143]
- เบลเยียม – นายกรัฐมนตรีอาเล็กซันเดอร์ เดอ โกร กล่าวว่า สหภาพยุโรปต้องการ "การคว่ำบาตรที่เจ็บแสบ" โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ "ชนชั้นปกครอง"[144]
- โปรตุเกส – นายกรัฐมนตรีอังตอนียู กอชตา "ประณามอย่างรุนแรงต่อการปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียบนแผ่นดินยูเครน" ในการแถลงข่าวภายหลังจากการประชุมร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และเสนาธิการทั่วไป[145]
- โปแลนด์ – นายกรัฐมนตรีมาแตอุช มอราวีแยตสกีทวีตว่า "เราต้องตอบสนองโดยทันทีต่อการรุกรานของรัสเซียต่อยูเครน ยุโรปและโลกเสรีต้องหยุดปูติน",[146] และรัฐบาลยังได้ประกาศว่าประเทศโปแลนด์นั้น "พร้อมที่จะรับผู้อพยพและได้เตรียมโรงพยาบาลและรถไฟเพื่อขนส่งชาวยูเครนที่ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีไว้แล้ว"[147] สภาการแพร่ภาพออกอากาศแห่งชาติของโปแลนด์ได้สั่งห้ามเครือข่ายโทรทัศน์อาร์ที ซึ่งเป็นสื่อภายใต้การควบคุมของรัฐบาลรัสเซียออกอากาศตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์[148]
- ฝรั่งเศส – แอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส กล่าวว่า เขาได้พูดคุยกับปูติน และร้องขอให้ "หยุดการต่อสู้และใช้การพูดคุยกับประธานาธิบดียูเครน"[149] และเรียกร้องให้ "ยุติการปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในยูเครนทันที"[150][151]
- ฟินแลนด์
- ประธานาธิบดีเซาลี นีนิสเตอ ประณามการโจมตีของรัสเซียและประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน โดยกล่าวว่า "ขณะนี้หน้ากากของเขาได้เปิดออกแล้ว และมองเห็นได้แต่ใบหน้าเย็นชากระหายสงครามเท่านั้น"[152]
- นายกรัฐมนตรีซันนา มาริน กล่าวว่า การรุกรานยูเครนโดยรัสเซียนั้นได้เปลี่ยนแปลงการอภิปรายเกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกภาพของเนโทในประเทศของเธอ และได้เขียนบนทวิตเตอร์ว่า "การโจมตีเป็นการระเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง และคุกคามชีวิตของพลเรือนจำนวนมาก ฟินแลนด์แสดงออกและสนับสนุนยูเครนอย่างมั่นคง และเรากำลังมองหาวิธีการที่จะเพิ่มการสนับสนุนนี้"[153] วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียได้กล่าวข่มขู่ว่า "จะคุกคามทางทหารและการเมือง" ต่อฟินแลนด์ หาฟินแลนด์พยายามที่จะเข้าร่วมเนโท[154]
- มอนเตเนโกร – ประธานาธิบดีมีโล จูกาโนวิค ประณามการรุกรานของรัสเซียโดยกล่าวว่า "เป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานทั้งหมดของกฎหมายระหว่างประเทศ บ่อนทำลายความมั่นคงของยุโรป และเป็นอันตรายต่อความมั่นคง เราเข้าร่วมเรียกร้องให้ผู้นำสหภาพยุโรปให้รัสเซียยุติการสู้รบอย่างเร่งด่วน ถอนกำลังออกจากยูเครน และเคารพในบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของยูเครน"[140] รองนายกรัฐมนตรีดรีตัน อาบาโซวิช ยังทวีตว่า มอนเตเนโกรนั้นยืนหยัดร่วมกับพันธมิตรเนโทและสหภาพยุโรป[155]
- มอลโดวา – ประธานาธิบดีไมอา ซานดู ประณามการกระทำอันเป็นสงครามของรัสเซียต่อยูเครน โดยกล่าวว่า "เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศอย่างโจ่งแจ้ง รวมถึงอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน"[156] เธอยังเสริมด้วยว่า มอลโดวาพร้อมที่จะรับผู้อพยพกว่าหมื่นคนที่อพยพออกจากยูเครนหลังจากการโจมตีของรัสเซีย และให้คำมั่นว่าจะเปิดพรมแดนเพื่อช่วยเหลือ[157]
- มอลตา – นายกรัฐมนตรีโรเบิร์ต อาเบลา กล่าวในระหว่างการประชุมผู้นำยุโรปว่า มอลตานัน "พูดเพื่อสนับสนุนสันติภาพในยูเครน" และเสริมว่า "โปรดอย่าเป็นภัยต่อจุดยืนเป็นกลางของมอลตา" เนื่องจากรัฐธรรมนูญของมอลตาระบุไว้ว่าประเทศเกาะแห่งนี้นั้นเป็นประเทศเป็นกลาง[158]
- โมนาโก
- เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 เจ้าผู้ครองโมนาโก ทรงยืนยันการสนับสนุนยูเครนในแถลงการณ์ "รัฐเจ้าผู้ครองนั้นยืนยันอีกครั้งถึงการสนับสนุนกฎหมายระหว่างประเทศ และต่ออธิปไตย บูรณภาพ และความเป็นอิสระของรัฐต่าง ๆ" และ "โมนาโกจะอยู่เคียงข้างชาวยูเครนและสิทธิมนุษยชน"[159]
- รัฐมนตรีแห่งรัฐของโมนาโก ประกาศว่าเขากังวลต่อการบุกรุกและระบุว่าโมนาโกอยู่เคียงข้างชาวยูเครน นอกจากนี้ เขายังเรียกร้องให้รัสเซียยุติปฏิบัติการทางทหารโดยทันที และเพื่อให้การเจรจาดำเนินต่อไปได้[160]
- พระราชวังหลวงโมนาโกออกแถลงการณ์ว่า "รัฐเจ้าผู้ครองนั้นจะดำเนินการใช้มาตรการคว่ำบาตรในการแช่แข็งเงินทุน และคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยไม่รอช้าอย่างทีประเทศในยุโรปส่วนใหญ่ดำเนินการ"[161]
- เยอรมนี – อันนาเลนา แบร์บ็อค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า โลกตื่นขึ้นอีกครั้งมาในโลกอีกใบที่แตกต่าง เธอประกาศคว่ำบาตรรัสเซียครั้งใหญ่ ส่วนนายกรัฐมนตรีโอลัฟ ช็อลทซ์ เรียกการรุกรานครั้งนี้ว่าเป็น "ความผิดพลาดร้ายแรง" ของปูติน[162] ในขั้นต้น เยอรมนีห้ามการส่งอาวุธไปยังยูเครน และป้องกันไม่ให้เอสโตเนียส่งปืนครกที่ผลิตในเยอรมนีไปยังยูเครน[163] เยอรมนีระบุว่ามีการส่งหมวกกันน็อคจำนวน 5,000 ใบ และโรงพยาบาลสนามไปยังยูเครน[164] ซึ่งนี่ทำให้นายกเทศมนตรีกรุงเคียฟออกมาตอบโต้ว่า "แล้วพวกเขาจะส่งอะไรมาต่อล่ะ หมอนหนุนหรือ"[163] วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ผู้สังเกตการณ์มองว่าด้วยปฏิกิริยาต่อแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากทั้งชาติพันธมิตรของเนโทและสหภาพยุโรป ในที่สุดเยอรมนีจึงเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจ โดยอนุญาตให้มีการส่งปืนครกที่ผลิตในเยอรมนีจำนวน 9 กระบอกในเอสโตเนีย และเครื่องยิงระเบิดขับเคลื่อนด้วยจรวดจากเนเธอร์แลนด์จำนวน 400 และตกลงที่จะเพิ่มการส่งอาวุธต่อต้านรถถัง 1,000 เครื่องและระบบป้องต่อต้านอากาศยานสติงเกอร์ 500 เครื่องไปยังยูเครน[165] การประชุมฉุกเฉินของรัฐสภาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ช็อลทซ์กล่าวถึง "ยุคใหม่" ที่เริ่มต้นจากการรุกรานของรัสเซีย โดยจากนี้ไปเยอรมนีจะลงทุนมากกว่าเป้าหมายของประเทศเนโทที่ร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพื่อป้องกัน โดยเม็ดเงินจำนวน 1 แสนล้านยูโรจะพร้อมสำหรับการลงทุนในกองทัพบกในปี 2565 นี้[166]
- โรมาเนีย – ประธานาธิบดีเกลาส์ โยฮานิส ประณามการรุกรานของทหารรัสเซียต่อยูเครนผ่านทวิตเตอร์ เขาระบุอย่างชัดเจนว่า "โรมาเนียพร้อมกับชุมชนประชาธิปไตยระหว่างประเทศทั้งหมดขอปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวต่อพฤติกรรมที่ขาดความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นการบ่อนทำลายรากฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และระเบียบหฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบัน" ว่า "สหพันธรัฐรัสเซียได้แสดงให้เห็นอีกครั้งว่าพวกเขาไม่สนใจในการเจรจาที่สร้างสรรค์ที่เสนอโดยชุมชนยุโรปและยูโร-แอตแลนติก" และพลเมืองโรมาเนียควรออกจากยูเครนโดยเร็วที่สุด[167]
- ลักเซมเบิร์ก
- นายกรัฐมนตรีซาวีเอ เบิทเทิล กล่าวประณามการรุกรานผ่านแถลงการณ์บนทวิตเตอร์[168]
- ฌอง อัสเซลบอร์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์กับวิทยุท้องถิ่นว่า "การกำจัด" ปูติน "ทางกายภาพ" อาจเป็นหนทางเดียวที่จะยุติสงคราม ภายหลังเขาได้ออกมาอธิบายว่าคำพูดของเขานั้นเป็นเพียงการ "หลุดปาก" และปฏิกิริยาทางอารมณ์เมื่อได้ยินข่าวการโจมตีตามแต่ใจของรัสเซียในเมืองคาร์คิฟ[169]
- ลัตเวีย – เอกิลส์ เลวิตส์ ประธานาธิบดีลัตเวีย ประณามอย่างรุนแรงต่อการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย โดยเรียกร้องให้เสนอ "การสนับสนุนที่เป็นไปได้ทั้งหมดรวมไปถึงด้านอาวุธ" สำหรับยูเครน และ "การคว่ำบาตรที่รุนแรงที่สุดต่อรัสเซีย"[170]
- ลีชเทินชไตน์
- ลีชเทินชไตน์ประณามการรุกรานในแถลงการณ์เผยแพร่บนเว็บไซต์ทางการของรัฐบาล[171]
- รัฐบาลลีชเทินชไตน์สัญญาว่าจะอุทิศเงินจำนวน 500,000 ฟรังก์สวิสจากงบประมาณด้านการพัฒนามนุษยธรรมระหว่างประเทศที่มีอยู่ให้แก่โครงการด้านมนุษยธรรม เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม[172]
- ลิทัวเนีย – ประธานาธิบดีแห่งลิทัวเนีย ประกาศภาวะฉุกเฉินหลังจากการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย โดยระบุว่ากองทัพจของประเทศเนโทให้ประจำการตามแนวชายแดนเพื่อตอบสนองต่อ "การรบกวนและการยั่วยุที่อาจเกิดขึ้นจากกองกำลังทหารขนาดใหญ่จำนวนมากในรัสเซียและเบลารุส"[173]
- สเปน
- นายกรัฐมนตรีเปโดร ซันเชซ ประณาม "การปฏิบัติการทางทหารที่ไม่สามารถทนได้ของรัฐบาลรัฐเซียในดินแดนยูเครน" ผ่านทวิตเตอร์ หลังจากการประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติสเปน โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปนเป็นองค์ประธาน[174]
- โฆเซ มานวย อัลบาเรส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เรียกการโจมตีของรัสเซียว่า "ไม่ยุติธรรม" และ "เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างโจ่งแจ้ง" ในขณะที่ประกาศว่าสเปนกำลังประสานงานกับชาติพันธมิตรของสหภาพยุโรปและชาติพันธมิตรของเนโท[175] มาร์การิตา โรเบลส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมร้องขอให้มีการคว่ำบาตรรัสเซีย "อย่างรุนแรง" หลังจากเรียกการกระทำของรัสเซียว่า "มีแรงถึงดูดที่ไม่ธรรมดา" แต่ระบุว่าจะมีไม่กองทัพในนามเนโทในดินแดนของยูเครน เนื่องจากยูเครนมิได้เป็น "ชาติสมาชิกของเนโท"[176]
- วันที่ 27 กุมภาพันธ์ มาร์การิตา โรเบลส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมประกาศจัดส่งยุทโธปกรณ์ทางทหารจำนวน 20 ตันไปยังยูเครน[177] และได้ดำเนินการตามคำขอในการส่งเรือรบบลัส เด เลโซเข้าร่วมกับภารกิจของเนโท[178]
- สโลวาเกีย – นายกรัฐมนตรีเอดูอาร์ด เฮเกอร์ กล่าวว่า "จักรวรรดินิยมรัสเซียกำลังถูกฟื้นฟูขึ้นต่อหน้าต่อตาของเราในรูปแบบที่ก้าวร้าวและเข้มแข็ง" และเสริมเกี่ยวกับวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียว่า "ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อสงครามครังนี้จะเป็นเหยื่อของเขา และเขาต้องเป็นผู้รับผิดชอบในสายตาของสาธารณชนทั่วโลก"[179] วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 มีการประดับไฟสีน้ำเงินและเหลืองที่ปราสาทบราติสลาวาและพระราชวังกราสซัลโกวิชซึ่งเป็นทำเนียบประธานาธิบดีแห่งสโลวาเกียเพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันกับยูเครน[180]
- สโลวีเนีย – นายกรัฐมนตรียาแน็ส ยานชา ประณาม "การรุกรานทางทหารต่อยูเครนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน" ของรัสเซีย และเรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังทหารของตนออกโดยทันที และเคารพบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครนอย่างเต็มที่ โดยยืนยันอีกครั้งว่าสโลวีเนียสนับสนุนยูเครน[181] ยานชามีกำหนดเยือนยูเครนในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อพูดคุยกับคู่ค้าชาวยูเครนของเขา[182][183] มีการประดับธงชาติยูเครนที่รัฐสภาของสโลวีเนียในลูบลิยานา เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและภารดรภาพระหว่างทั้งสองประเทศ[184]
- สวิตเซอร์แลนด์ – กระทรวงการต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์ออกแถลงการณ์ โดยพิจารณาว่าการกระทำของรัสเซียเป็น "การรุกราน" และ "การละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง" ในขณะที่ประธานาธิบดีอิกนาซีโอ กัสซิส ประกาศว่าจะสนับสนุนการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปในด้านการเดินทางและการเงิน แต่ยังไม่กำหนดมาตรการคว่ำบาตรของประเทศ[185] อย่างไรก็ตาม สภาสหพันธรัฐจะยกเลิกแนวทางในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ โดยประกาศว่าสวิตเซอร์แลนด์กำลังกำหนดมาตรการคว่ำบาตรทรัพย์สินของรัสเซียเช่นเดียวกับสหภาพยุโรป การยกเว้นจากมาตรการคว่ำบาตรเหล่านี้คือการจ่ายสำหรับวัตถุดิบด้านพลังงาน จากข้อมูลของกัสซิส การตัดสินใจนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแต่ก็สอดคล้องกับความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์[186]
- สวีเดน – นายกรัฐมนตรีมักดาเลียนา อันเดอช็อนกล่าวว่า "สวีเดนประณามการรุกรานยูเครนอย่างต่อเนื่องของรัสเซียในเงื่อนไขที่รุนแรงที่สุด การกระทำของรัสเซียยังเป็นการโจมตีคำสั่งด้านความมั่นคงของยุโรปด้วย จะมีการตอบโต้ด้วยความสามัคคีและแข็งแกร่งในการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับยูเครน รัสเซียเท่านั้นที่จะต้องรับผิดชอบต่อความทุกข์ทรมานของมนุษย์"[187]
- สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงบริจาคด้วยความ "เอื้อเฟื้อ" ต่อคณะกรรมการฉุกเฉินด้านภัยพิบัติ (DEC) ในการร้องขอด้านมนุษยธรรมของยูเครน[188]
- นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน กล่าวว่า "เขารู้สึกตกใจกับเหตุการณ์ที่น่ากลัวในยูเครน" และประณามว่า "ประธานาธิบดีปูตินได้เลือกเส้นทางแห่งการนองเลือก และการทำลายล้างด้วยการโจมตีโดยปราศจากการยั่วยุ"[189]
- ในระหว่างการเสด็จเยือนเซาท์เอ็นออนซี เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ทรงประณามการรุกรานของรัสเซียโดยระบุว่า "สิ่งที่เราเห็นในโศกนาฏกรรมอันน่าสยดสยองในเซาท์เอ็นนั้นเป็นการโจมตีประชาธิปไตย การโจมตีสังคมเปิด และการโจมตีเสรีภาพ เรากำลังมองเห็นสิ่งเดียวกันนั้นกำลังเกิดขึ้นในยูเครนวันนี้อย่างไร้เหตุผลที่สุด ในจุดยืนที่เรายืนอยู่ตรงนี้ เราเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับบรรดาผู้ที่กำลังก่อก้านความรุนแรงก้าวร้าว"[190]
- สำนักพระราชวังในดยุกและดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ออกแถลงการณ์ผ่านทวิตเตอร์ โดยทั้งสองตรัสว่า "ในเดือนตุลาคม 2563 เรามีโอกาสได้พบกับประธานาธิบดีเซเลนสกีและสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความหวังและการมองโลกในแง่ดีสำหรับอนาคตของยูเครน วันนี้เราขอยืนเคียงข้างประธานาธิบดีและประชาชนชาวยูเครนทุกคน ในฐานะที่พวกเขาต่อสู้อย่างกล้าหาญเพื่ออนาคตนั้น"[191]
- เบน วอลเลซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกล่าวว่า การกระทำของรัสเซียนั้นเป็น "การรุกรานอย่างเปลือกเปล่าต่อประเทศประชาธิปไตย"[192]
- ยิบรอลตาร์ – "การกระทำของรัสเซียในวันนี้ที่ก่อให้เกิดการรุกรานของประเทศอธิปไตย และประชาธิปไตยเต็มรูปแบบโดยไม่มีการยั่วยุหรือข้อแก้ตัวที่สมเหตุสมผล พวกเราไม่มีคาดหวังว่าจะได้เห็นการรุกรานที่ไม่อาจให้อภัยได้ในยุโรปในช่วงชีวิตของเรา ยิบรอลตาร์จึงร่วมกับนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ผู้นำของประเภทอื่น ๆ และผู้คนทั่วโลกในการประณามการกระทำนี้ด้วยเงื่อนไขที่เข้มงวดที่สุด" ฟาเบียน ปิการ์โด หัวหน้าคณะรัฐมนตรีกล่าว[193] ปิการ์โดยังเรียกร้องให้แบนเครือข่ายโทรทัศน์อาร์ทีที่ถูกควบคุมโดยรัฐของรัสเซียเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ และผู้ให้บริการโทรทัศน์ของยิบรอลตาร์ตกลงที่จะระงับการออกอากาศของอาร์ที[194]
- เกิร์นซีย์ – "เกิร์นซีย์ปฏิบัติตามระเบียบการคว่ำบาตรของสหราชอาณาจักร และนโยบายต่างประเทศของสหราชอาณาจักร และจะดำเนินการต่อไป มาตรการที่ประกาศบางส่วนจะมีผลบังคับใช้โดยอัตโนมัติ และมีการสื่อสารกับภาคอุตสาหกรรมแล้ว การลงโทษอื่น ๆ บางส่วนที่ประกาศไปเมื่อวานนี้ อาจต้องมีกฎหมายใหม่ในสหราชอาณาจักร และหากเป็นเช่นนั้น รัฐจะดำเนินการร่วมกับสหราชอาณาจักรเพื่อให้แน่ใจว่ามาตรการคว่ำบาตรทั้งหมดจะมีผลบังคับใช้ และบังคับใช้ได้อย่างเท่าเทียม"[195]
- ไอล์ออฟแมน – รัฐบาลไอล์ออฟแมนมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลสหราชอาณาจักร และจะยังคงเป็นเช่นนั้นเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครน "เราจะดำเนินการตามรัฐบาลสหราชอาณาจักร"[196] นับตั้งแต่นั้นก็ได้มีการปิดน่านฟ้าและท่าเรือสำหรับยานพาหนะสัญชาติรัสเซีย และได้ขยายการคว่ำบาตรของสหราชอาณาจักรเพื่อบังคับใช้กับไอล์ออฟแมนโดยอัตโนมัติ และอัลฟริด แคนแนน หัวหน้าคณะรัฐมนตรีได้ประณามการกระทำของประธานาธิบดีรัสเซีย[197]
- เจอร์ซีย์ – ลินดอน ฟาร์นแฮม ผู้ช่วยหัวหน้าคณะรัฐมนตรี (รักษาการ) และวุฒิสมาชิกได้ออกแถลงการณ์ดังต่อไปนี้ "เราอยู่เคียงข้างสหราชอาณาจักรอย่างเต็มที่ในการประณามการกระทำที่ก้าวร้าวนี้ และเราจะดำเนินการตามการตอบสนองของสหราชอาณาจักรโดยทันที สหราชอาณาจักรมีหน้าที่รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเราจะดำเนินการคว่ำบาตรของทั้งสหราชอาณาจักรและสหประชาชาติ"[198]
- ออสเตรีย – คาร์ล เนแฮมเมอร์ นายกรัฐมนตรีออสเตรีย อ้างว่า "เกิดสงครามขึ้นในยุโรปอีกแล้ว" และประณามการโจมตีของรัสเซียและประกาศว่าออสเตรียนั้นเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับยูเครน[199]
- อาเซอร์ไบจาน − ประธานาธิบดีอิลฮัม แอลีเยฟ เสนอให้มีการจัดการเจรจาระหว่างยูเครนและรัสเซีย[200] และอาเซอร์ไบจานจะส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปยังยูเครน[201]
- อาร์มีเนีย − รัฐบาลอาร์มีเนียแสดงความ "หวังว่าปัญหาที่มีอยู่ระหว่างสองรัฐที่เป็นมิตรจะได้รับการแก้ไขผ่านการเจรจาทางการทูต" และประกาศความพร้อมในการรับผู้ลี้ภัย[202]
- อันดอร์รา – รัฐบาลอันดอร์ราประณามการรุกรานดังกล่าว และนายกรัฐมนตรีซาวีเอร์ เอสปอต ร้องขอให้เกิดสันติภาพ โดยเขากล่าวว่า "ไม่ควรหันไปพึ่งพาสงคราม"[203] วันที่ 2 มีนาคม อันดอร์ราเข้าร่วมการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย เอสปอตยอมรับว่าผลกระทบจะไม่ได้สูง แต่มันเป็นเรื่องของความเชื่อมั่น และอันดอร์ราไม่เคยใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อประเทศอื่นมาก่อน[204]
- อับฮาเซีย[b] – อัสลาน บซานิยา ประธานาธิบดีอับคาเซียระบุว่า การรุกรานยูเครนโดยรัสเซียนั้น "ชอบธรรมอย่างยิ่ง"[205]
- อิตาลี – นายกรัฐมนตรีมาริโอ ดรากี สัญญาว่า "จะทำทุกวิถีทางในการฟื้นฟูอำนาจอธิปไตยของยูเครน" และ "เป็นไปไม่ได้ที่จะมีการเจรจากับรัฐบาลมอสโก" และเรียกร้องให้รัสเซียถอนกองกำลังของตนกลับสู่พรมแดนที่เป็นที่ยอมรับโดยสากลอย่างไม่มีเงื่อนไข[206]
- เอสโตเนีย – นายกรัฐมนตรีคายา กัลลัส เรียกรัสเซียว่า "ภัยคุกคามต่อทั้งยุโรป"[207]
- แอลเบเนีย – อีลีร์ เมตา ประธานาธิบดีแอลเบเนียเรียกประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 และได้ออกแถลงการณ์ "ประณามอย่างรุนแรงต่อการโจมตีทางทหารของรัสเซียในยูเครน" ว่าเป็น "การยกระดับที่ไร้เหตุผลและไม่ยุติธรรม" ซึ่ง "ถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ กฎบัตรสหประชาชาติ ข้อตกลงมินสค์ บันทึกบูดาเปสต์ และบ่อนทำลายความมั่นคงและสันติภาพทั่วยุโรป" พร้อมทั้งแสดงความเสียใจกับผู้เสียชีวิตและ "แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับประชาชนชาวยูเครนและสถาบันประชาธิปไตย"[208] โดยเป็นข้อความที่คล้ายคลึงกับนายกรัฐมนตรีเอดิ รามา แถลงไปก่อนหน้านั้นในทวิตเตอร์[123] ออลตา ชาชกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุโรปและการต่างประเทศ[209] และเฟริต ฮอชา เอกอัครรัฐทูตสหประชาชาติในการประชุมคณะมนตรีความมั่นคง[210] ได้เข้าร่วมกับสหรัฐในการเรียกร้องให้สหประชาชาติลงมติประณามการกระทำของรัสเซีย เนื่องจากความตั้งใจที่จะบังคับให้รัสเซียใช้สิทธิวีโต้[211] หลังจากการประชุมสุดยอดเนโท รามากล่าวว่า แอลเบเนียพร้อมที่จะรับผู้ลี้ภัยชาวยูเครนจำนวนพันกว่าคนที่ลี้ภัยสงคราม[212]
- ไอซ์แลนด์ – นายกรัฐมนตรีคาตริน ยาคอปสโตว์ทีร์ ประณามรัสเซียที่รุกรานยูเครนว่าเป็น "การละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศที่ยอมรับไม่ได้"[213]
- ไอร์แลนด์
- ประธานาธิบดีไมเคิล ดี. ฮิกกินส์ เรียกการรุกรานของรัสเซียว่า "ยอมรับไม่ได้และผิดศีลธรรม" และกล่าวว่า "ความรุนแรงนี้ต้องยุติลง รัสเซียต้องถอนกำลังทหาร การเพิ่มกำลังทหารต้องยุติลง พลเรือนทุกคนต้องได้รับมนุษยธรรมโดยสมบูรณ์ ความหวังอันริบหรี่ทุกประการในทางการทูตจะต้องถูกยึดไป"[214]
- นายกรัฐมนตรีไมเคิล มาร์ติน ประณามการกระทำที่ "อุกอาจ" ของรัสเซียในยูเครน และสัญญาว่า "จะมีการคว่ำบาตรอย่างรุนแรงจากสหภาพยุโรป" ในขณะที่กล่าวว่า "ความคิดของเราจะต้องอยู่กับประชาชนผู้บริสุทธิ์ของยูเครนในช่วงเวลานี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากที่สุดของพวกเขา"[215]
- รองนายกรัฐมนตรีลีโอ วาแรดการ์ กล่าวว่า ในขณะที่ไอร์แลนด์นั้นเป็นกลางทางทหาร "ในความขัดแย้งนี้ ไอร์แลนด์ไม่อาจเป็นกลางได้เลย" ซึ่งไอร์แลนด์นั้นสนับสนุน "อย่างแน่วแน่และไม่มีเงื่อนไข" ในการสนับสนุนยูเครน[216] เขาได้เปรียบเทียบการรุกรานยูเครนกับการรุกรานเชโกสโลวาเกียในปี 2482 โดยเรียกปูตินว่า "ฮิตเลอร์แห่งศตวรรษที่ 21"[217]
- ฮังการี
- ประธานาธิบดียาโนช อาแดร์ ประณามอย่างรุนแรงต่อการรุกรานของรัสเซีย ซึ่ง "ฮังการีเคยต้องถูกบังคับให้ต้องทนกับเหตุการณ์ที่คล้ายกันในปี ค.ศ. 1956" อาแตร์กล่าวเสริมว่า "เรา [ฮังการี] ได้ทำทุกอย่างเพื่อให้ผู้นำรัฐบาลมอสโกยังคงรักษาระดับและอดกลั้น น่าเสียดายที่เราไม่ประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากรัสเซียได้ทำตามแผนที่ไตร่ตรองไว้ล่วงหน้าแล้ว"[218]
- นายกรัฐมนตรีวิกโตร์ โอร์บาน กล่าวว่า "เราประณามการโจมตีทางทหารของรัสเซียร่วมกับพันธมิตรสหภาพยุโรปและเนโท" โดยเสริมว่าการส่งกองกำลังหรือยุทโธปกรณ์ไปยังยูเครนนั้น "ไม่มีปัญหา และเราจะทำแน่นอนในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม"[219]
ทวีปอเมริกาเหนือ
[แก้]- กัวเตมาลา – ประธานาธิบดีอาเลฆันโดร ยามาตเต ออกแถลงการณ์ผ่านทวิตเตอร์ในการประณามการรุกรานของรัสเซีย[220]
- กรีเนดา – เกรเนดามีการแถลงประณามการบุกรุก[221]
- คอสตาริกา – ประธานาธิบดีการ์โลส อัลบาราโด เกซาดา ออกแถลงการณ์ผ่านทวิตเตอร์ โดยปฏิเสธและประณามการกระทำอันเป็น "การใช้กำลังและการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน" โดยกล่าวว่า "สันติภาพ" ควรเป็นเพียงวิธีการเดียว[222]
- คิวบา – รัฐบาลคิวบาตำหนิรัฐบาลสหรัฐว่าเป็นต้นเหตุแห่งวิกฤตในยูเครน และสนับสนุนสิทธิของรัสเซียในการ "ป้องกันตัว" แต่กล่าวว่าความขัดแย้งนั้นควรได้รับการแก้ไขทางการทูต[223]
- แคนาดา – นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ประณาม "การโจมตียูเครนอย่างร้ายแรงของรัสเซียในเงื่อนไขที่รุนแรงที่สุด" และกล่าวว่า "การกระทำโดยมิได้มีการยั่วยุก่อนเหล่านี้เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครนอย่างชัดเจน พวกเขายังได้ละเมิดพันธกรณีของรัสเซียภายใต้กฎระหว่างประเทศและกฎบัตรของสหประชาชาติด้วย"[224]
- จาเมกา – นายกรัฐมนตรีแอนดรูว์ ฮอลเนส ประณามรัสเซียโดยกล่าวว่า "จาเมกามีความสอดคล้องในการสนับสนุนการเคารพในระดับสากล และการปฏิบัติตามหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศ นั่นคือ การเคารพบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของทุกประเทศ ดังนั้น เราจึงไม่สามารถสนับสนุนการกระทำดังกล่าวได้ และเราจึงขอประณามการรุกรานยูเครน"[225]
- เซนต์ลูเชีย – เซนต์ลูเซียแสดงความกังวลเกี่ยวกับการรุกรานและสนับสนุนคำแถลงของ CARICOM ในการประณามรัสเซีย[226]
- เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ – ในการประชุมฉุกเฉินของสหประชาชาติ อินงา รอนดา คิงเอกอัครราชทูตกล่าว่าประเทศของเธอนั้น "ยืนยันอย่างชัดเจนว่าให้สหพันธรัฐรัสเซียยุติปฏิบัติการทางทหารและถอนกำลังออกจากยูเครนโดยทันที"[227]
- ดอมินีกา – โดมินิกาประณามการรุกรานและเรียกร้องให้ยุติความ 'ก้าวร้าว'[228]
- นิการากัว – ประธานาธิบดีดานิเอล ออร์เตกา สนับสนุนการส่งกำลังทหารของปูตินไปยังยูเครนหลังจากรับรองการแบ่งแยกดินแดนแล้ว[229]
- บาร์เบโดส – นายกรัฐมนตรีมีอา มอตต์ลีย์ เรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังและอธิบายว่าการรุกรานดังกล่าวเป็นการละเมิดบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน[230]
- บาฮามาส – บาฮามาสประณามการรุกราน และเฟรด มิตเชลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า "การรุกรานยูเครนโดยสหพันธรัฐรัสเซียซึ่งนำโดยประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูตินนั้นไม่ชอบ ไม่ชอบด้วนหฎหมาย และควรยุติและถอนกำลังทันที"[231]
- เบลีซ – เบลีซประณาม 'การรุกรานอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัสเซีย' และแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อยูเครน[232]
- ปานามา – ปานามาแสดงความเสียใจต่อการรุกรานดังกล่าว และกล่าวว่าสนับสนุนในอธิปไตย เอกราช และบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน[233]
- เม็กซิโก – มาร์เซโล เอบราด เลขาธิการการะทรวงการต่างประเทศเม็กซิโก กล่าวว่า ในนามของประธานาธิบดีอันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ ได้ออกแถลงการณ์บนทวิตเตอร์ โดยปฏิเสธและประณามการรุกรานของรัสเซีย โดยเขาเรียกร้องให้ยุติการเป็นศัตรูเพื่อให้มีมติอย่างสันติ[234] อย่างไรก็ตาม วันที่ 1 มีนาคม โลเปซ โอบราดอร์กล่าวว่าเม็กซิโกจะไม่เข้าร่วมการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย และวิพากษ์วิจารณ์การเซ็นเซอร์สื่อรัสเซียของต่างชาติ[235]
- สหรัฐ
- ประธานาธิบดีโจ ไบเดิน ออกแถลงการณ์ประณามการรุกรานของรัสเซียว่า "ปราศจากการยั่วยุและไม่ยุติธรรม" และกล่าวหาว่าปูตินเริ่ม "สงครามโดยไตร่ตรองไว้ก่อนที่จะนำมาซึ่งความสูญเสียซึ่งชีวิต และความทุกข์ทรมานอย่างร้ายแรง"[236] ไบเดินกล่าวว่า สหรัฐจะไม่ส่งกองกำลังของตนเพื่อปกป้องยูเครน อย่างไรก็ตาม ไบเดินได้อนุมัติการคว่ำบาตรโดยตรงต่อปูตินและเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย[237][238]
- ในการแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภา 2565 ไบเดินแถลงว่า นานฟ้าสหรัฐทั้งหมดจะปิดบริการสำหรับเครื่องบินสัญชาติรัสเซียทุกลำ[239] นอกจากนี้ ไบเดินยังกล่าวโจมตีผู้มีอำนาจของรัสเซีย ที่สนับสนุนปูตินด้วยว่า "เรากำลังร่วมมือกับพันธมิตรในยุโรป เพื่อค้นหาและยึดเรือยอทช์ อพาร์ตเมนต์หรู และเครื่องบินส่วนตัวของคุณ เราจะนำมาซึ่งหายนะของคุณ"[240]
- รองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ขู่ว่าจะเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียในกระประชุมความมั่นคงมิวนิก โดยเธอกล่าวว่า "ให้ดิฉันได้พูดอย่างชัดเจน ดิฉันสามารถพูดได้อย่างมั่นใจว่า หากรัสเซียยังคงรุกรายยูเครน สหรัฐจะร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วนในการกำหนดราคาที่รัสเซียต้องจ่ายในแง่เศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน"[241]
- แนนซี เพโลซี โฆษกสภาสหรัฐให้คำมั่นสัญญาว่า จะให้สภาผู้แทนราษฎร์ผ่านเงินทุนที่จำเป็นในการสนับสนุนรัฐบาลยูเครน[242]
- สาธารณรัฐโดมินิกัน – ประธานาธิบดีลุยส์ อาบินาเดร์ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังจากยูเครนและระบุด้วยว่า รัสเซียกำลังละเมิดอัตลักษณ์ทางการเมือง วัฒนธรรม และดินแดนของชาวยูเครน[243]
- แอนทีกาและบาร์บิวดา – พอล เชต กรีเน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประณามการรุกรานของรัสเซียและเรียกร้องให้มีการเจรจาทางการทูตเกิดขึ้น[244]
- ฮอนดูรัส – ฮอนดูรัสประณามการรุกรานของรัสเซีย[245]
- เฮติ – เฮติแสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครนและเรียกร้องให้ทั้งสองประเทศหางทางแก้ปัญหาผ่านทางการทูต เฮติสนับสนุนมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการประณามรัสเซีย[246][247]
ทวีปอเมริกาใต้
[แก้]- กายอานา – กายอานาประณามการรุกรานและเรียกร้องให้รัสเซียเคารพอธิปไตยของยูเครน[248][249]
- โคลอมเบีย – ประธานาธิบดีอิบัน ดูเก มาร์เกซ กล่าวว่า โคลอมเบีย "ปฏิเสธการโจมตียูเครนโดยรัสเซียอย่างเด็ดขาด" และถือว่าการรุกรานนั้น เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติ[250]
- ชิลี – ประธานาธิบดีเซบัสเตียง ปิเนรา กล่าวว่า "การรุกรานและการละเมิดอธิปไตยของยูเครนของรัสเซียนั้น ถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ"[251] ในขณะที่ประธานาธิบดีที่เพิ่งได้รับเลือก กาบริเอล โบริช กล่าวว่า "ขอประณามการรุกรานยูเครน การละเมิดอธิปไตย และการใช้กำลังอย่างผิดกฎหมาย"[252]
- ซูรินาม – ซูรินามประณามการรุกราน[253]
- บราซิล – ประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลโซนารู ปฏิเสธที่จะประณามรัสเซียในการรุกรานยูเครนเพื่อแสดงจุดยืนเป็นกลางของบราซิล[254]
แหล่งข่าวใกล้ชิดกล่าวกับรอยเตอร์ว่า บราซิลจะสนับสนุนมติประณามการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียในการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แหล่งข่าวที่หนึ่งกล่าวว่า "เราจะสนับสนุนมติคณะมนตรีความมั่นคง และเราจะประณามการรุกราน" ขณะที่แหล่งข่าวอีกรายกล่าวว่า "รัสเซียละเมิดกฎของสหประชาชาติด้วยการรุกรานประเทศอื่น ด้วยข้อเท็จจริงนั้นจึงมิอาจเป็นอื่นใดไปได้นอกจากการประณาม"[255] รองประธานาธิบดีแฮมิลตัน มูเรา แนะนำให้ใช้กำลังในการต่อต้านรัสเซียในบริบทของวิกฤติทางการทหาร[256] อย่างไรก็ตาม วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลโซนารู กล่าวว่า เขาจะยังคงไม่ประณามการรุกราน และบราซิลจะยังคงเป็นกลางต่อความขัดแย้งนี้[257] - ปารากวัย – ปารากวัยประณามการรุกราน[258]
- เปรู – เซซาร์ ลันดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวในแถลงการณ์ว่า "เมื่อเผชิญกับการละเมิดอธิปไตย อาณาเขต และบูรณภาพของยูเครน เปรูขอให้ปฏิเสธการใช้กำลังทหาร และแสดงความเห็นผ่านกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ"[259]
ทวีปโอเชียเนีย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
องค์กรระหว่างรัฐและองค์กรระหว่างประเทศ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พรรคการเมือง นักการเมืองฝ่ายค้าน และกลุ่มการเมืองอื่น
[แก้]ทวีปเอเชีย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- ไทย
- พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังทหารออกจากยูเครนทันที และวิพากษ์วิจารณ์จุดยืนของรัฐบาลไทยว่าเป็น "นกสองหัว"[260]
ทวีปยุโรป
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ทวีปอเมริกาเหนือ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ทวีปอเมริกาใต้
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ทวีปโอเชียเนีย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
องค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มและบุคคลที่ไม่ใช่การเมือง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บริษัท
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บริษัทน้ำมันและแก๊ส
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อดีตนักการเมือง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วงการวิทยาศาสตร์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สถาบันศาสนา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กลุ่มนักเลงคอมพิวเตอร์
[แก้]แอนอนิมัส
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สื่อออกอากาศ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การเต้นรำ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การประดับไฟในสถานที่สำคัญ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เพลง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วีดีโอเกม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กีฬา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นักกีฬาและทีมนักกีฬา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผู้สนับสนุน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
องค์กรกีฬา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]- การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย
- การประท้วงต่อต้านการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย
- ปฏิกิริยาต่อวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน พ.ศ. 2564–2565
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ คอซอวอเป็นดินแดนข้อพิพาทระหว่างสาธารณรัฐคอซอวอกับสาธารณรัฐเซอร์เบีย สาธารณรัฐคอซอวอประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 แต่เซอร์เบียยังคงอ้างว่าคอซอวอเป็นดินแดนอธิปไตยของตน ใน พ.ศ. 2556 ทั้งสองรัฐบาลเริ่มกระชับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงบรัสเซลส์ ปัจจุบันคอซอวอได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐเอกราชจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ 98 ชาติจาก 193 ชาติ
- ↑ สถานะของอับคาเซียยังคงถูกโต้แย้ง ในระดับสากลนั้นเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจอร์เจีย ส่วนอับคาเซียได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐอิสระจากห้าประเทศสมาชิกสหประชาชาติและอีกสี่รัฐที่ได้รับการยอมรับบางส่วน
รายการอ้างอิง
[แก้]- ↑ Parashar, Sachin (26 February 2022). "Russia vetoes UNSC resolution; India, China abstain". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2022-02-26.
- ↑ "Ghana condemns Russia's "unprovoked" attack on Ukraine". 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ 3.0 3.1 Mureithi, Carlos (February 25, 2022). "What is Africa's position on Russia's invasion of Ukraine?". Quartz. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "PR e PM de Cabo Verde condenam invasão da Ucrânia pela Rússia e pedem diálogo". 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 2 March 2022.
- ↑ "Prime Minister of Cabo Verde Facebook post". 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Remarks by Ambassador Thomas-Greenfield Recognizing Additional Cosponsors of a UN Security Council Resolution Condemning Russia's Aggression". 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Zim to evacuate 256 citizens from Ukraine". The Herald. 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
- ↑ Ismail, Talal (26 February 2022). "Sudan to evacuate nationals in Ukraine via Poland, Romania". Anadolu Agency. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
- ↑ Okuj, Obaj (25 February 2022). "S. Sudan embassies in Europe to account for its citizens in Ukraine". Eye Radio. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
- ↑ Afonso, Josimar (26 February 2022). "Ucrânia: São Tomé e Príncipe não é a favor da guerra e apela à diplomacia - PR". สืบค้นเมื่อ 2 March 2022.
- ↑ Yambani, Victoria (25 February 2022). "Zambia Takes Neutral Position In Russia Ukraine Conflict". The Zambian Observer. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Zambia : Government will start evacuating Zambians, residents in Ukraine". 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "MINISTRY OF FOREIGN AFFAIRS: EMERGENCY MEETING WITH ICRC, IOM AND UNHCR OFFICES". Ministère des Affaires Étrangères. 24 February 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-26. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Government calls on UN for resolution in Ukraine". Informanté. 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Okafor, Chiamaka (24 February 2022). "Nigeria 'surprised' but fails to condemn Russian invasion of Ukraine". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "We Urge Russia To 'Pull Back' On Ukraine Attacks – FG". Channels Television. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
- ↑ "Mapped: 87 countries condemn Russia's invasion of Ukraine at the UN". Axios. 26 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Mapped: 87 countries condemn Russia's invasion of Ukraine at the UN". Axios. 26 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Mauritius calls for peaceful resolution of Russia-Ukraine conflict". Panafrican News Agency. 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 1 March 2022.
- ↑ "Malawi supports calls for Russia to withdraw forces from Ukraine". 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "The Kingdom of Morocco is following with concern the evolution of the situation between the Russian Federation and Ukraine". KINGDOM OF MOROCCO MINISTRY OF FOREIGN AFFAIRS AFRICAN COOPERATION AND MOROCCAN EXPATRIATES. 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ Abdullah, Walid (24 February 2022). "Libya condemns Russian military operation in Ukraine". www.aa.com.tr. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ 23.0 23.1 "Joint Statement Following a Vote on a UN Security Council Resolution on Russia's Aggression Toward Ukraine". United States Mission to the United Nations. 26 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Liberia condemns Russia Unprovoked Attack on Ukraine; As Pope Francis Calls for Calm". The Independent Probe Newspaper. 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Egyptian Cabinet discusses Russia-Ukraine crisis". Arab News. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Tekle, Tesfa-Alem (27 February 2022). "Contact embassy in Berlin before leaving Ukraine, Ethiopia tells citizens". The East African. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
- ↑ Rodrigues, Venâncio (26 February 2022). "Ucrânia/ Rússia: Angola apela ao cessar-fogo". สืบค้นเมื่อ 2 March 2022.
- ↑ "World Reaction to the Invasion of Ukraine". Wilson Center. 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "وزارة الخارجية تؤكد حرصها على ضمان سلامة أفراد الجالية الوطنية بأوكرانيا". Aldjazair News. 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "PM: War won't end Ukraine row". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Qatar urges Russia, Ukraine to seek peaceful means". Gulf Times. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Yoon, Dasl (24 February 2022). "South Korea to Join International Sanctions Against Russia". Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Ministry of Foreign Affairs of the Republic of Korea (25 February 2022). "MOFA Spokesperson's Statement on Situation Regarding Ukraine". mofa.go.kr. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "N. Korea blames U.S.' 'high-handedness and arbitrariness' for Ukraine crisis". Yonhap News Agency. 26 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Russia ally Kazakhstan denies request to join attack on Ukraine: Report". Washington Examiner. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Kazakh provider blocks Russian TV stations over Ukraine war". Reuters. 28 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Kyrgyzstan calls on Russia, Ukraine to sit down at negotiating table". Interfax. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Jordan urges restraint, de-escalation in Ukraine crisis". สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "China's Xi Jinping Speaks To Putin, Calls For "Negotiation" With Ukraine". NDTV. AFP. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Xi speaks to Putin and calls for 'negotiation' with Ukraine". The Japan Times. Reuters. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Putin tells Xi that Russia willing to hold high-level talks with Ukraine -China's CCTV". Financial Post. Reuters. 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ McCarthy, Simone (22 February 2022). "As the West condemns Russia over Ukraine, Beijing strikes a different tone". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Sharma, Shweta (24 February 2022). "China refuses to accept Russia has 'invaded' Ukraine, blames US for war". The Independent. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ 44.0 44.1 Frank, Joel (25 February 2022). "China Foreign Ministry: Ukraine's territory and sovereignty should be respected, urges talks". FXStreet (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "China says it respects Ukraine's sovereignty and Russia's security concerns". Reuters. 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "德国总理:这对乌克兰来说是可怕的一天 对欧洲来说是黑暗的一天" (ภาษาจีนตัวย่อ). Sina Finance. Beijing Daily.
- ↑ Niutanqin. "乌克兰战争,带给世界的10个严重后果!". Huanqiu (ภาษาจีนตัวย่อ).
- ↑ "Senior Saudi, U.S. officials discuss response to Ukraine crisis -State Dept". Reuters. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Saudi crown prince says kingdom still committed to OPEC+ oil agreement with Russia". S&P Global Platts. 27 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2022.
- ↑ "Russia's Ukraine invasion a "correction of history": Assad". The Times of India. AFP. 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Landers, Peter (24 February 2022). "Japan Condemns Russia, to Work With U.S. on Sanctions". Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Lee, Michelle (26 February 2022). "Japanese and U.S. foreign ministers agree to step up joint deterrence efforts". Washington Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Parallels with Taiwan colour Asian views of the war in Ukraine". The Economist. 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Mapped: 87 countries condemn Russia's invasion of Ukraine at the UN". Axios. 26 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ The Economist. "Turkey's rapprochement with Russia may not survive the war in Ukraine". The Economist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Reuters. "Turkish-owned ship hit by bomb off coast of Odessa, no casualties - Turkish authority". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Turkey, overseeing passage to Black Sea, calls Russian invasion 'war'". Reuters. 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Erdogan says Turkey cannot abandon ties with Russia or Ukraine". Reuters. 28 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "China says Ukraine crisis completely different from Taiwan claims". Yahoo! News. AFP. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Pei-ju, Teng (25 February 2022). "Taiwan to join international sanctions against Russia". focustaiwan.tw. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ กระทรวงการต่างประเทศ (24 February 2022). "แถลงการณ์ไทยต่อสถานการณ์ในยูเครน". www.mfa.go.th. ราชอาณาจักรไทย. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Workpointtoday (3 March 2022). "สหประชาชาติลงมติ 141 ชาติเห็นชอบประณามรัสเซียบุกยูเครน". workpointtoday.com. เวิร์คพอทย์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 3 March 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Nepal opposes Russian invasion of Ukraine". The Kathmandu Post. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "BRUNEI DARUSSALAM'S STATEMENT ON THE SITUATION IN UKRAINE". Ministry of Foreign Affairs. 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Bangladesh calls for a peaceful end to Ukraine-Russia crisis through UN Charter". Bdnews24.com. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Report, Star Digital (28 February 2022). "Closely observe Russia-Ukraine war situation, PM directs". The Daily Star. สืบค้นเมื่อ 1 March 2022.
- ↑ "When Russia Stunned US & UK Naval Forces And Helped India Win The 1971 War". IndiaTimes. 1 March 2022. สืบค้นเมื่อ 1 March 2022.
- ↑ Khasru, B. Z. "Ukraine Invasion Prompts Tepid Response From South Asia". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 1 March 2022.
- ↑ Abrar, Mian (24 February 2022). "PM Imran regrets Ukraine-Russia tensions, says conflict not in anyone's interest". Pakistan Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Myanmar Regime Backs Russia's Invasion of Ukraine". The Irrawaddy. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Russian invasion of Ukraine 'justified', says Myanmar junta". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Dr. Sa Sa's tweet". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Bajo, Anna Felicia (25 February 2022). "Philippines to int'l community: Reaffirm commitment to peaceful settlements of disputes". GMA News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Philippines to vote to condemn Russia invasion of Ukraine". GMA News. 28 February 2022. สืบค้นเมื่อ 1 March 2022.
- ↑ Dendup, Tshering (25 February 2022). "No Bhutanese in Ukraine: Foreign Minister". Bhutan Broadcasting Service. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Mongolia tiptoes around Russian aggression toward Ukraine". bne IntelliNews. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Twelve Maldivians still in Ukraine: Foreign Ministry". Avas.mv. 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
- ↑ "Ukraine: PM expresses concern, but stops short of calling it an 'invasion'". Malaysiakini. 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "PMO protests Malaysiakini article on Ismail's Ukraine statement". Malaysiakini. 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ Ayamany, Keertan (27 February 2022). "Foreign Ministry denies report of bungled Ukraine evacuation, says retreat planned since Feb 16". Malay Mail. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ Azmi, Hadi (26 February 2022). "Ukraine invasion: Malaysian diplomats flee Kyiv by road as government draws flak for evacuation bungling". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "As Russian Federation's Invasion of Ukraine Creates New Global Era, Member States Must Take Sides, Choose between Peace, Aggression, General Assembly Hears". www.un.org. 1 March 2022. สืบค้นเมื่อ 2 March 2022.
- ↑ "Laos Issues Official Statement on Situation in Ukraine". สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Lebanese Foreign Ministry Condemns Russia's Invasion of Ukraine". Naharnet. Lebanon. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Bassam, Laila (25 February 2022). "Russia says it is surprised by Lebanon's condemnation of invasion". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-26. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
{{cite news}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Viet Nam calls on relevant parties in Ukraine crisis to exercise self-restraint". Socialist Republic of Viet Nam Government News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ https://mfa.gov.lk/mst-ukraine/
- ↑ Nichols, Michelle; Pamuk, Humeyra (26 February 2022). "Russia vetoes U.N. Security action on Ukraine as China abstains". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Ukraine Ambassador to Singapore urges global solidarity, 'massive' sanctions on Russia". CNA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-02-27.
- ↑ Tham, Davina (23 February 2022). "Ukraine's sovereignty, territorial integrity 'must be respected', says Singapore as Russia recognises breakaway regions". channelnewsasia.com. CNA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2022. สืบค้นเมื่อ 22 February 2022.
- ↑ "Singapore may join Russia sanctions; no major hit to trade sector, but risks remain". www.businesstimes.com.sg. สืบค้นเมื่อ 2022-02-27.
- ↑ "Singapore to Sanction Russia in 'Almost Unprecedented' Move". www.bloomberg.com. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Singapore to slap unilateral sanctions on Russia in 'almost unprecedented' move". South China Morning Post. 28 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ Roscoe, Matthew (25 February 2022). "Taliban calls on Russia and Ukraine to end the crisis through "peaceful means"". Euro Weekly News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Zelenskyy says Presidents of Turkiye and Azerbaijan have offered to organize talks with Russia". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Азербайджан отправил гуманитарную помощь в Украину" [Azerbaijan sends humanitarian aid to Ukraine] (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ Martirosyan, Armine. "Op-ed: "Armenia stays neutral in conflict between Russia and Ukraine"". สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Modi Appeals for 'Cessation of Violence' in Call With Putin, First Indian Reaction to Russian Attack". The Wire (India). 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Jadhav, Rajendra; Anand, Nupur; Ahmed, Aftab (25 February 2022). "India explores setting up rupee trade accounts with Russia to soften sanctions blow". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Shih, Gerry (25 February 2022). "India avoids condemning Russian invasion of Ukraine, keeps aloof from Biden's coalition against Moscow". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Bhasin, Swati (26 February 2022). "India on why it abstained on Russia resolution: Who said what at UN meet". Hindustan Times. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Indonesia Desak Rusia Hormati Kedaulatan Ukraina" [Indonesia Urges Russia to Respect Ukraine's Sovereignty] (ภาษาอินโดนีเซีย). CNN Indonesia. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Widodo, Joko [@jokowi] (February 24, 2022). "Setop perang. Perang itu menyengsarakan umat manusia, dan membahayakan dunia" (ทวีต) (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ February 27, 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Indonesia calls for negotiation and diplomacy after Russia attacks Ukraine, will not impose sanctions". Channel News Asia. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Nadira, Fergi (24 February 2022). "Indonesia Pikirkan Matang Sanksi Rusia Atas Invasi ke Ukraina" [Indonesia Thinks About Russian Sanctions For Invasion of Ukraine]. Republika Online (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Prasetia, Fransiskus Adhiyuda (25 February 2022). "Komisi I DPR: Indonesia Mengecam Bentuk Penjajahan Termasuk Invasi Rusia Ke Ukraina" [House of Representatives Commission I: Indonesia Condemns Forms of Colonialism, Including Russia's Invasion of Ukraine]. Tribunnews.com (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Berman, Lazar (24 February 2022). "Bennett refrains from condemning Russia in first remarks since invasion of Ukraine". The Times of Israel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Israel condemns attack in Ukraine". Ministry of Foreign Affairs of Israel. 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Berman, Lazar (24 February 2022). "Jerusalem pans Russian attack on Ukraine: 'A grave violation of international order'". The Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Israel's Lapid condemns Russian attack on Ukraine".
- ↑ Shaked, Ayelet [@Ayelet__Shaked] (27 February 2022). החלטתי לאפשר לתיירים מאוקראינה השוהים בישראל כדין ומעוניינים להאריך כרגע את שהותם לקבל הארכה של חודשיים, בתקווה כי המצב באוקראינה יחזור לסדרו בהקדם. אין צורך להגיע ללשכות, זה יקרה באופן גורף. [I have decided to allow tourists from Ukraine who are legally staying in Israel and are currently interested in extending their stay to receive a two-month extension, in the hope that the situation in Ukraine will return to normal soon. There is no need to go to the bureaus, it will happen en masse] (ทวีต) (ภาษาฮิบรู). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "امیرعبداللهیان: بحران اوکراین ریشه در اقدامات تحریکآمیز ناتو دارد- اخبار دیپلماسی ایران – اخبار بین الملل تسنیم | Tasnim". خبرگزاری تسنیم | Tasnim. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Putin, Raisi Speak Amid Ukraine Invasion, Say Iran Deal Would 'Help Maintain Stability'". Haaretz. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "In phone call, Iran's Raisi tells Putin that NATO expansion a 'serious threat'". Times of Israel. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Iran pursuing national interests in dealing with Ukraine conflict". Islamic Republic News Agency. 26 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Uzbekistan affirms neutrality in relation to Russian action in Ukraine". สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Sherzod Asadov Facebook post". Facebook. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Uzbekistan evacuates its citizens from Ukraine through Poland". AKIpress News Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Sakellaropoulou condemns Russian attack on Ukraine". eKathimerini.com. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "PM Mitsotakis: Greece unequivocally condemns Russian invasion". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Greek PM condemns Russian attack, says Greece energy supply secure". uk.news.yahoo.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Greece condemns 'revisionist' Russia attack on Ukraine". Macau Business. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ 123.0 123.1 123.2 "Kosovo Leaders Condemn Russian Attack, Affirm Solidarity With Ukraine". Prishtina Insight. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Live updates: UN Council to vote on condemning invasion". AP News. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "PM Plenkovic: We strongly condemn Russia's invasion of Ukraine". N1. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Plenković: Croatia Will Support Sanctions Against Russia, Help Ukraine". Total Croatia News. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Janicek, Karel (24 February 2022). "By invading Ukraine, Putin loses allies in eastern Europe". AP News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Prague shuts down two Russian consulate generals, two Czech consulates in Russia". TASS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Dichiarazione del Segretario di Stato per gli Affari Esteri Luca Beccari in merito agli ultimi sviluppi sulla situazione in Ucraina" [Statement by the Secretary of State for Foreign Affairs Luca Beccari on the latest developments on the situation in Ukraine]. www.esteri.sm (ภาษาอิตาลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Agapiou, Gina (24 February 2022). "Anastasiades, Kasoulides condemn invasion, president attending EU summit (Update 4)". Cyprus Mail. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Mette Frederiksen: 'I dag er en mørk dag for freden i verden'" [Mette Frederiksen: 'Today is a dark day for peace in the world']. DR (ภาษาเดนมาร์ก). 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "The Faroese government condemns the Russian attack on Ukraine". The Government of Faroe Islands. 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Pope announces 2 March as day of prayer and fasting for Ukraine – Vatican News". www.vaticannews.va. 23 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Pullella, Philip (25 February 2022). "Departing from protocol, pope goes to Russian embassy over Ukraine". Reuters. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Pendarovski, Stevo [@SPendarovski] (24 February 2022). "I strongly condemn the military actions that #Russia is taking against #Ukraine, which will unavoidably lead to irreparable human loss and material damage" (ทวีต). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ Trkanjec, Zeljko (24 February 2022). "North Macedonia ready to accept refugees from Ukraine". www.euractiv.com. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Norway condemns Russia's military attack on Ukraine". Government.no. Oslo. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
'Norway condemns Russia's military attack on Ukraine in the strongest possible terms. This attack is a serious violation of international law and endangers the lives of innocent people,' said Prime Minister Jonas Gahr Støre.
- ↑ "Dutch condemn Ukraine invasion ahead of crisis cabinet, EU meetings". DutchNews.nl. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Response by King Willem-Alexander and Queen Máxima to the situation in Ukraine". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ 140.0 140.1 "Russian attack on Ukraine: Serbia and Republika Srpska yet to take a position". European Western Balkans. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "FM Turkovic: BiH remains firmly committed to Ukraine's Sovereignty and Territorial Integrity". Sarajevo Times. 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Bulgaria's government strongly condemns Russia's aggression against Ukraine". Bulgarian National Radio. 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ https://www.politico.eu/article/bulgaria-pm-fires-defense-minister-stefan-yanev-promote-vladimir-putin-spin/
- ↑ "Invasion de l'Ukraine : De Croo veut durcir les sanctions sur la table, "si on mord, il faut mordre durement"" [Invasion of Ukraine: De Croo wants to toughen the sanctions on the table, "if you bite, you have to bite hard"]. RTBF (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Portugal vehemently condemns Russian action on Ukrainian soil". www.portugal.gov.pt. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "'Unprovoked and unjustified:' world reacts to attack on Ukraine". France 24. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Reuters (24 February 2022). "Germany offers Poland help with refugees from Ukraine". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Kayali, Laura; Goujard, Clothilde (24 February 2022). "Europe increases pressure on Kremlin-backed broadcaster RT". Politico Europe. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Macron says he spoke to Putin at Zelenskiy's request". POLITICO. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "France's Macron demands 'targeted European sanctions' against Russia". Al Arabiya English. 22 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "France condemns 'paranoid' Putin address as Macron demands sanctions against Russia". The Local France. 21 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Lonas, Lexi (24 February 2022). "Finland says debate on NATO membership 'will change' after Russian invasion". TheHill. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Finnish leaders condemn Russia attack on Ukraine". News. Yle. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Lonas, Lexi (25 February 2022). "Russia threatens 'military and political consequences' if Finland, Sweden try joining NATO". The Hill.
- ↑ "Russian attack on Ukraine: Serbia and Republika Srpska yet to take a position". European Western Balkans. 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "The World Reacts to Russia's Invasion of Ukraine". Lawfare. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Epstein, Jake (24 February 2022). "Thousands of Ukrainian refugees flee to Moldova after Russian attack". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "No major impact on Malta economy from Russian invasion of Ukraine, Abela says". Times of Malta. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "MONACO FLIES THE COLOURS OF UKRAINE IN FULL SUPPORT". 28 February 2022. สืบค้นเมื่อ 1 March 2022.
- ↑ "Guerre en Ukraine: "Monaco soutient toutes les initiatives qui permettraient de faire cesser les opérations militaires"" (ภาษาฝรั่งเศส). 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Monaco clamps down on Russian assets after Ukraine invasion". Reuters. 28 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ Frühauf, Sarah (24 February 2022). "Berlin im Schockzustand". tagesschau.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ 163.0 163.1 Huggler, Justin (26 January 2022). "'What will they send next? Pillows?': Kyiv mayor Vitali Klitschko hits back at Berlin over helmets". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ Herszenhorn, David M.; Bayer, Lili (26 February 2022). "Germany still blocking arms supplies to Ukraine". POLITICO. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ Herszenhorn, David M.; Bayer, Lili; von der Burchard, Hans (26 February 2022). "Germany to send Ukraine weapons in historic shift on military aid". Politico. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "'A new era': Germany rewrites its defence, foreign policies". France 24. 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
- ↑ "Klaus Iohannis, după ce Putin a atacat Ucraina: "Condamn cu putere, în numele României, agresiunea militară a Rusiei"". Digi24 (ภาษาโรมาเนีย). 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Bettel, Xavier [@Xavier_Bettel] (24 February 2022). "I strongly condemn Russia´s military aggression. We are consulting closely with EU partners and Allies to respond to this attack on Ukraine and call on President Putin to put an immediate end to it. My thoughts are with the people of Ukraine who have to suffer this ordeal" (ทวีต). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Asselborn says Putin death remarks a "mistake"". delano.lu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-03.
- ↑ "Statement by the President of Latvia Egils Levits on Russian invasion of Ukraine". Chancery of the President of Latvia. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Liechtenstein verurteilt die russische Aggression gegen die Ukraine" [Liechtenstein condemns Russian aggression against Ukraine]. regierung.li (ภาษาเยอรมัน). 24 February 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-25. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Regierung beschliesst Nachvollzug von Sanktionen und gibt IHZE Gelder frei". www.medienportal.regierung.li. 25 February 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-21. สืบค้นเมื่อ 2022-03-04.
- ↑ Reuters (24 February 2022). "Lithuania declares state of emergency after Russia invades Ukraine". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Sánchez, Pedro [@sanchezcastejon] (February 24, 2022). "Condenamos las intolerables acciones militares del gobierno ruso en territorio ucraniano. Los valores que compartimos con Europa nos guiarán en esta crisis. España defenderá la legalidad internacional, se desvivirá por restablecer la paz y será solidaria con las zonas afectadas" [We condemn the intolerable military actions of the Russian government on Ukrainian territory. The values we share with Europe will guide us through this crisis. Spain will defend international legality, will go out of its way to restore peace and will show solidarity with the affected areas.] (ทวีต) (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ Albares, José Manuel [@jmalbares] (February 24, 2022). "The unjustifiable Russian attack on Ukraine is a blatant violation of international law. We condemn this aggression and call for its cessation. Spain is coordinating a response with EU partners and @NATO allies. Our solidarity with the government and people of Ukraine" (ทวีต). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ Europa Press (24 February 2022). "Robles apuesta por sanciones "severísimas" a Rusia y subraya que no habrá tropas de la OTAN en Ucrania" [Robles bets on "very severe" sanctions against Russia and stresses that there will be no NATO troops in Ukraine]. www.europapress.es (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ González, Miguel (27 February 2022). "España envía 20 toneladas de equipos militares de protección a Ucrania". El País (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "España envía dos buques al Mar Negro y ofrece cazas a la OTAN en plena escalada de tensión en Ucrania". infoLibre (ภาษาสเปน). 20 January 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Heger: Putin will be held responsible for all the victims of this war". The Slovak Spectator. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Bratislavský hrad aj prezidentský palác sa rozsvietili vo farbách ukrajinskej vlajky" [Both Bratislava Castle and the Presidential Palace lit up in the colors of the Ukrainian flag]. tyzden (ภาษาสโลวัก). 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Janša, Janez [@JJansaSDS] (24 February 2022). "Together with our @NATO and #EU allies we strongly condemn Russia's unprecedented military aggression against Ukraine. Russia must immediately withdraw its military and fully respect Ukraine's territorial integrity. A no-fly zone over 🇺🇦 has to be introduced. #StandWithUkraine https://t.co/MhYVbXTFcP" (ทวีต). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Slovenia Condemns Russian Attack on Ukraine". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Janša to Visit Ukraine Thursday, Friday". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Janša, Janez [@JJansaSDS] (24 February 2022). "Ukrainian flags 🇺🇦 hung in solidarity on government buildings in Slovenia. #StandWithUkriane 🇺🇦 🇸🇮 https://t.co/kM4LovgZaf" (ทวีต). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ swissinfo.ch. "Switzerland resists imposing own sanctions against Russia". SWI swissinfo.ch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Cumming-Bruce, Nick (28 February 2022). "Switzerland says it will freeze Russian assets, setting aside a tradition of neutrality". New York Times. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Press conference by the Swedish Prime Minister on the occasion of Russia's invasion of Ukraine". government.se. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Queen Elizabeth shows support for Ukraine, makes donation to aid victims". Business Standard. สืบค้นเมื่อ 4 March 2022.
- ↑ Demianyk, Graeme (24 February 2022). "Boris Johnson Condemns Russia's 'Unprovoked Attack' On Ukraine". HuffPost. New York City. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
I am appalled by the horrific events in Ukraine and I have spoken to President Zelenskyy to discuss next steps. President Putin has chosen a path of bloodshed and destruction by launching this unprovoked attack on Ukraine. The UK and our allies will respond decisively.
- ↑ Nolasco, Stephanie (1 March 2022). "Prince Charles condemns Russian invasion of Ukraine: 'Brutal aggression'". Fox News. สืบค้นเมื่อ 1 March 2022.
- ↑ Legardye, Quinci (26 February 2022). "Prince William and Kate Middleton Share Support for People of Ukraine". Harper's Bazaar. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ Demianyk, Graeme (24 February 2022). "Boris Johnson Condemns Russia's 'Unprovoked Attack' On Ukraine". HuffPost. New York City. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
This is naked aggression against a democratic country which had dared to express a different aspiration than being a supine neighbour to Russia.
- ↑ "Statement from the Chief Minister on the Crisis in Ukraine - 121/2022". HM Government of Gibraltar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "RT broadcasts suspended on Rock as Govt tightens visa rules for Russians". Gibraltar Chronicle. 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Statement from Guernsey's Deputy Chief Minister on events unfolding in Ukraine". The official website for the States of Guernsey. 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Statement from Isle of Man Government on situation in Ukraine". 25 February 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Isle of Man News". Manx Radio (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-03.
- ↑ "Ministers respond to situation in Ukraine". 24 February 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Nehammer: "Militärisch neutral, aber solidarisch mit der Ukraine" [Nehammer: "Militarily neutral, but in solidarity with Ukraine]. Der Standard (ภาษาเยอรมัน - ออสเตรีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Zelenskyy says Presidents of Turkiye and Azerbaijan have offered to organize talks with Russia". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Азербайджан отправил гуманитарную помощь в Украину" [Azerbaijan sends humanitarian aid to Ukraine] (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ Martirosyan, Armine. "Op-ed: "Armenia stays neutral in conflict between Russia and Ukraine"". สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "El Govern condemna l'atac a Ucraïna i treballa per a la repatriació dels andorrans" [The government condemns the attack on Ukraine and works for the repatriation of Andorrans]. Andorra Difusió (ภาษาคาตาลัน). 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Gómez Pérez, Victoria (2 March 2022). "Andorra se suma a les sancions econòmiques contra Rússia". El Periòdic d'Andorra (ภาษาคาตาลัน). สืบค้นเมื่อ 3 March 2022.
- ↑ "Abkhazia recognises Ukraine's Donetsk and Luhansk". 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Italy's Draghi promises "whatever it takes" to restore Ukrainian sovereignty". Reuters. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Lendon, Brad; Cotovio, Vasco (24 February 2022). Written at Seoul and Moscow. "Poland and Baltic countries trigger consultations under NATO article 4". CNN. Atlanta. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
Estonian Prime Minister Kaja Kallas said Russia's invasion of Ukraine represented a 'threat to the whole of Europe,' the Estonian government said in a statement on Thursday.
- ↑ "Albanian President Strongly Condemns Russian Aggression in Ukraine". Albanian Daily News. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Minister Xhaçka Condemns Russia's Offense on Ukraine". Albanian Daily News. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Albania's UN Ambassador Condemns Russia's Attack on Kiev". Albanian Daily News. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "US, Albania call for UN vote Friday on resolution condemning Russia (Russia-Ukraine live updates)". Al Jazeera. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Live updates: Zelenskyy declines US offer to evacuate Kyiv". The Associated Press. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "Russians In Iceland & Icelandic Government Condemn Invasion Of Ukraine, Protests Planned". The Reykjavik Grapevine. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Moloney, Eoghan (1 March 2022). "'The abuse by the powerful of its neighbour' - President Michael D Higgins condemns 'unacceptable' Russian invasion". Irish Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2022. สืบค้นเมื่อ March 2, 2022.
- ↑ McGrath, Dominic (24 February 2022). "Taoiseach condemns 'outrageous' actions of Russia, promises 'severe' sanctions". Irish Mirror. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Burns, Sarah; Beesley, Arthur. "Ireland is 'not neutral', says Tánaiste as 70 Irish citizens remain in Ukraine". The Irish Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Mulgrew, Seoirse (25 February 2022). "Leo Varadkar: 'Putin is the Hitler of the 21st century'". Irish Independent. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "President Áder: Hungary Strongly Condemns Russia's Attack on Ukraine". Hungary Today. 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "PM Orbán: "Together with Our EU and NATO Allies, We Condemn Russia's Military Attack"". Hungary Today. 26 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Giammattei, Alejandro [@DrGiammattei] (25 February 2022). "Condenamos enérgicamente la invasión militar a Ucrania por parte de la Federación de Rusia, acción que contraviene los principios de la Carta de las Naciones Unidas, el derecho internacional y los tratados internacionales" [We strongly condemn the military invasion of Ukraine by the Russian Federation, an action that contravenes the principles of the Charter of the United Nations, international law and international treaties] (ทวีต) (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Grenada condemns Russia's assault on Ukraine". 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Camhaji, Elías; Moleiro, Alonso; Galarraga, Naiara; Centenera, Mar (24 February 2022). "Rusia encuentra el respaldo en sus aliados latinoamericanos tras invadir Ucrania" [Russia finds support in its Latin American allies after invading Ukraine]. El País (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Gámez Torres, Nora (23 February 2022). "Cuba blames U.S. for the crisis in Ukraine, but stops short of endorsing Putin's invasion". Miami Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Trudeau to deliver remarks following Russia's attack on Ukraine". CP24. Toronto. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
'Canada condemns in the strongest possible terms Russia's egregious attack on Ukraine,' Trudeau said in a statement late Wednesday.
- ↑ "Jamaica's PM condemns Russia's invasion of Ukraine | Loop Jamaica". Loop News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Pierre Concerned About Economic Impact Of Russian Invasion Of Ukraine". 26 February 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-26. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "St Vincent calls for end to Russia-Ukraine war". Jamaica Observer. 2 March 2022. สืบค้นเมื่อ 2 March 2022.
- ↑ "Statement by the Government of the Commonwealth of Dominica on the situation in Ukraine". 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Ortega supports Putin's deployment of troops to Ukraine after recognizing separatist regions". Confidencial. 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Prime Minister Mia Amor Mottley's Statement On Ukraine". 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "'WRONG, UNLAWFUL AND SHOULD END': The Bahamas denounces Russia's invasion of Ukraine". 25 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Statement by the Government of Belize on the Illegal Russian Invasion of Ukraine". 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Panamá lamenta la invasión de Rusia a Ucrania y aboga por el diálogo y el derecho internacional" (ภาษาสเปน). 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Olivares Alonso, Emir (24 February 2022). "México condena enérgicamente "invasión" de Rusia a Ucrania: SRE" [Mexico strongly condemns Russia's "invasion" of Ukraine: SRE]. La Jornada (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Mexico's president says he will not impose sanctions on Russia". CNN. 1 March 2022.
- ↑ Parti, Tarini (24 February 2022). "Biden Calls Putin's Ukraine Actions an 'Unprovoked and Unjustified' Attack". The Wall Street Journal. New York City. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
President Biden said in a statement Wednesday that Russian President Vladimir Putin's actions against Ukraine were an 'unprovoked and unjustified attack.' 'President Putin has chosen a premeditated war that will bring a catastrophic loss of life and human suffering,' the statement said.
- ↑ Liptak, Kevin (8 December 2021). "Biden says US troops in Ukraine are off the table but promises withering sanctions if Russia invades". CNN. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ Lakshman, Sriram (26 February 2022). "U.S. Sanctions Vladimir Putin and Foreign Minister Sergei Lavrov". The Hindu. ISSN 0971-751X. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ "U.S. to close airspace to Russian planes, further weakening its aviation industry". Washington Post. ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2022-03-02.
- ↑ CNN, Kevin Liptak (2 March 2022). "5 takeaways from President Biden's State of the Union speech". CNN. สืบค้นเมื่อ 2022-03-02.
- ↑ News, A. B. C. "Harris on Ukraine: World at 'a decisive moment in history'". ABC News. สืบค้นเมื่อ 2022-03-02.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Swanson, Ian (2022-02-28). "Pelosi says Congress will provide any economic help Ukraine needs". TheHill. สืบค้นเมื่อ 2022-03-02.
- ↑ "Abinader: Putin no respeta la identidad política, cultural y territorial de Ucrania" [Abinader: Putin does not respect the political, cultural and territorial identity of Ukraine] (ภาษาสเปน). 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Foreign Affairs Minister projects major implications from Ukraine crisis". 25 January 2022. สืบค้นเมื่อ 25 January 2022.
- ↑ "Honduras reitera su condena al uso de la fuerza y las acciones militares en Ucrania" (ภาษาสเปน). 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Haïti se prononce sur l'invasion russe de l'Ukraine" [Haiti speaks out on Russian invasion of Ukraine] (ภาษาฝรั่งเศส). 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Thomas-Greenfield, Linda (25 February 2022). "Remarks by Ambassador Thomas-Greenfield Recognizing Additional Cosponsors of a UN Security Council Resolution Condemning Russia's Aggression". สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
- ↑ Chabrol, Denis (24 February 2022). "Guyana unites against Russia's invasion of Ukraine". Demerara Waves. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Guyana calls on Russia to respect Ukraine's sovereignty". 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Alsema, Adriaan (24 February 2022). "Colombia condemns Russia's invasion of Ukraine". Colombia Reports. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Piñera, Sebastian [@sebastianpinera] (24 February 2022). "Chile condemns Russia's act of aggression and violation of Ukraine's sovereignty and territorial integrity. These actions violate international law and threaten innocent lives and international peace and security" (ทวีต). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ Gabriel Boric Font [@gabrielboric] (24 February 2022). "Rusia ha optado por la guerra como medio para resolver conflictos. Desde Chile condenamos la invasión a Ucrania, la violación de su soberanía y el uso ilegitimo de la fuerza. Nuestra solidaridad estará con las víctimas y nuestros humildes esfuerzos con la paz" [Russia has opted for war as a means of resolving conflicts. From Chile we condemn the invasion of Ukraine, the violation of its sovereignty and the illegitimate use of force. Our solidarity will be with the victims and our humble efforts with peace.] (ทวีต) (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Suriname veroordeelt Russische militaire interventie in Oekraïne" [Suriname condemns Russian military intervention in Ukraine] (ภาษาดัตช์). 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ Stargardter, Gabriel (27 February 2022). "Bolsonaro won't condemn Putin, says Brazil will remain neutral over invasion". www.reuters.com. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
- ↑ Paraguassu, Lisandra (26 February 2022). "Brazil to vote for resolution condemning Russian invasion of Ukraine -sources". Reuters. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Cobb, Julia Symmes (25 February 2022). "Some Latin American nations call for Russian withdrawal from Ukraine". Reuters.
- ↑ "Bolsonaro won't condemn Putin, says Brazil will remain neutral over invasion". Reuters. 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Paraguay condena los ataques al pueblo ucraniano" [Paraguay condemns the attacks on the Ukrainian people] (ภาษาสเปน). 24 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Empresa Peruana de Servicios Editoriales S. A. EDITORA PERÚ. "Peru urges respect for international law". andina.pe (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ matichon (2022-02-28). "'พิธา' จี้รบ.ยึดหลักสากล โชว์จุดยืนต่อต้านสงคราม เลิกทำตัวไม่เลือกข้าง แบบนกสองหัว". มติชนออนไลน์.