ข้ามไปเนื้อหา

นีมาโทดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นีมาโทดา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
เคลด: Nematoida
ไฟลัม: หนอนตัวกลม

Rudolphi, 1808
Classes

Adenophorea
   Subclass Enoplia
   Subclass Chromadoria
Secernentea
   Subclass Rhabditia
   Subclass Spiruria
   Subclass Diplogasteria

นีมาโทดา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Nematoda) หรือหนอนตัวกลม เป็นชื่อเรียกของ แขนงวิชา วิทยาศาสตร์ โดยใช้เรียก ไฟลัม ซึ่งเป็นประเภทของการแบ่งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

ลักษณะ

[แก้]

มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica animal) ลำตัวกลม ยาว เรียวหัว-ท้าย ไม่มีข้อปล้อง (non metameric) ไม่มีรยางค์ ผิวลำตัวปกคลุมด้วยสารคิวติน (Cuticle) เพื่อป้องกันน้ำย่อยจาก Host มีสมมาตรแบบ Bilateral symmetry มีช่องว่างในลำตัวแบบไม่แท้จริง (Psudocoelom) ยังไม่มีระบบเลือด ไม่มีระบบหายใจ พวกที่เป็นปรสิตจะหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน พวกที่อิสระก็จะหายใจทางผิวหนัง มีระบบทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (Complete digestive tract) เป็นพวกแรก ระบบขับถ่ายประกอบด้วยต่อมเรนต์ (renettle gland) ท่อขับถ่ายทางด้านข้างลำตัว (Lateral excretory canal) ไม่มีเฟลมเซลล์ มีปมประสาทใหญ่ จัดเป็นสมอง มีลักษณะเป็นวงแหวน (Nerve ring) อยู่รอบคอหอย ติดต่อกับเส้นประสาทใหญ่ทางด้านท้อง (Ventral nerve cord) และด้านหลัง (Dorsal nerve cord) ตลอดลำตัว มีกล้ามเนื้อเฉพาะตามยาวเท่านั้น จึงได้แต่งอตัวไปมา เป็นพวกแยกเพศ (Dioecious) ตัวเมียมักมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้

ประเภท

[แก้]

สามารถแบ่งตามประเภทการดำรงชีวิตได้ 3 ประเภท

  1. พยาธิตัวกลมในลำไส้ เช่น พยาธิปากขอ, พยาธิหัวม้า
  2. พยาธิตัวกลมในเนื้อเยื่อ เช่น พยาธิโรคเท้าช้าง, พยาธิตัวยักษ์
  3. พยาธิตัวกลมที่เป็นอิสระ เช่น หนอนน้ำส้มสายชู, หนอนในน้ำเน่า, ไส้เดือนฝอย

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]