ทะเลกาลิลี
ทะเลกาลิลี | |
---|---|
พิกัด | 32°50′N 35°35′E / 32.833°N 35.583°E |
ชนิดของทะเลสาบ | โมโนมิกติก |
แหล่งน้ำไหลเข้าหลัก | แม่น้ำจอร์แดนตอนบนและน้ำไหลผ่านในท้องถิ่น[1] |
แหล่งน้ำไหลออก | แม่น้ำจอร์แดนตอนล่าง, การระเหย |
พื้นที่รับน้ำ | 2,730 ตารางกิโลเมตร (1,050 ตารางไมล์)[2] |
ประเทศในลุ่มน้ำ | อิสราเอล, ซีเรีย, เลบานอน |
ช่วงยาวที่สุด | 21 กิโลเมตร (13 ไมล์) |
ช่วงกว้างที่สุด | 13 กิโลเมตร (8.1 ไมล์) |
พื้นที่พื้นน้ำ | 166 ตารางกิโลเมตร (64 ตารางไมล์) |
ความลึกโดยเฉลี่ย | 25.6 เมตร (84 ฟุต) (มีความผันผวน) |
ความลึกสูงสุด | 43 เมตร (141 ฟุต) (มีความผันผวน) |
ปริมาณน้ำ | 4 ลูกบาศก์กิโลเมตร (0.96 ลูกบาศก์ไมล์) |
เวลาพักน้ำ | 5 ปี |
ความยาวชายฝั่ง1 | 53 กิโลเมตร (33 ไมล์) |
ความสูงของพื้นที่ | −214.66 เมตร (704.3 ฟุต) (มีความผันผวน) |
เมือง | ทิเบเรียส (อิสราเอล) |
อ้างอิง | [1][2] |
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด |
ทะเลกาลิลี (อังกฤษ: Sea of Galilee; ฮีบรู: יָם כִּנֶּרֶת, แอราเมอิกของชาวยิว: יַמּא דטבריא, גִּנֵּיסַר, อาหรับ: بحيرة طبريا) หรือ ทะเลสาบทิเบเรียส (อังกฤษ: Lake Tiberias) หรือ คินเนเรท (อังกฤษ: Kinneret) เป็นทะเลสาบน้ำจืดในประเทศอิสราเอล เป็นทะเลสาบน้ำจืดซึ่งอยู่ต่ำที่สุดในโลก และเป็นทะเลสาบซึ่งอยู่ต่ำที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก (รองจากทะเลเดดซีซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็ม)[3][4] อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลระหว่าง 215 และ 209 เมตร (705 และ 686 ฟุต)[5] ทะเลสาบมีความยาวโดยรอบทะเลสาบประมาณ 53 กิโลเมตร (33 ไมล์) มีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร (13 ไมล์) และความกว้างประมาณ 13 กิโลเมตร (8.1 ไมล์) มีพื้นที่ 166.7 ตารางกิโลเมตร (64.4 ตารางไมล์) และมีความลึกสูงสุดประมาณ 43 เมตร (141 ฟุต)[6] ทะเลสาบกาลิลีรับน้ำบางส่วนจากน้ำพุใต้ดิน แต่แหล่งที่มาหลักคือแม่น้ำจอร์แดนซึ่งไหลผ่านทะเลสาบจากเหนือลงใต้และออกจากทะเลสาบที่เขื่อนเดกาเนีย
ภูมิศาสตร์
[แก้]ทะเลกาลิลีตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอิสราเอล ระหว่างที่ราบสูงโกลันและภูมิภาคกาลิลีในหุบเขาทรุดจอร์แดน[7] เกิดจากการแยกออกของแผ่นเปลือกโลกแอฟริกาและแผ่นเปลือกโลกอาระเบีย ดังนั้นพื้นที่บริเวณนี้จะมักเกิดแผ่นดินไหว และในอดีตเคยเกิดภูเขาไฟระเบิด[8] มีหลักฐานจากหินบะซอลต์และหินอัคนีชนิดอื่น ๆ จำนวนมาก ซึ่งบ่งบอกถึงธรณีวิทยาของกาลิลี[9][10]
ชื่อ
[แก้]ทะเลสาบแห่งนี้ถูกเรียกด้วยชื่อที่แตกต่างกันไปตลอดประวัติศาสตร์ โดยปกติแล้วชื่อจะขึ้นกับการตั้งถิ่นฐานอาศัยที่เด่น ๆ บนชายฝั่ง และเมื่อชะตากรรมของเมืองต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป ชื่อของทะเลสาบก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน
ชื่อในภาษาฮีบรูสมัยใหม่คือ คินเนเรท มาจากคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งปรากฏในชื่อ "ทะเลคินเนเรท" ในกันดารวิถี 34:11 และโยชูวา 13:27 และสะกดว่า כנרות "Kinerot" ในภาษาฮีบรู ใน โยชูวา 11:2 ชื่อนี้ยังพบในเอกสารต้นฉบับของยูการิตในมหากาพย์ Aqhat ชื่อ "คินเนเรท" ถูกระบุในฐานะชื่อเมืองในรายชื่อของ "เมืองที่มีกำแพงล้อม" ในโยชูวา 19:35 ศัพทมูลซึ่งเป็นที่เชื่อถืออย่างแพร่หลายสันนิษฐานว่าชื่อ คินเนเรท อาจมีต้นกำเนิดมาจากคำภาษาฮีบรูว่า kinnor ("พิณ") เพราะทะเลสาบมีรูปร่างเหมือนพิณ[11] อย่างไรก็ตาม นักวิชาการเห็นพ้องว่าต้นกำเนิดของชื่อทะเลสาบคินเนเรทนั้นมาจากชื่อเมืองคินเนเรทซึ่งเป็นเมืองสำคัญในยุคสัมฤทธิ์และยุคเหล็ก และมีการขุดพบที่ Tell el-'Oreimeh[12] แต่ในทางกลับกัน เมืองคินเนเรทก็อาจจะถูกตั้งชื่อตามแหล่งน้ำ และไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่บ่งชี้ที่มาของชื่อเมือง[13]
นักเขียนทั้งหมดของพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ใช้คำเรียกว่า "ทะเล" (ฮีบรู יָם yam, กรีก θάλασσα) ยกเว้นพระวรสารนักบุญลูกาที่เรียกว่า "ทะเลสาบเยนเนซาเรท" (ลูกา 5:1 ) จากคำภาษากรีกว่า λίμνη Γεννησαρέτ (limnē Gennēsaret) "รูปคำภาษากรีกของ Chinnereth"[14] ทาลมุดของบาบิโลนรวมถึงโยเซพุสระบุถึงทะเลสาบแห่งนี้ในชื่อ "ทะเลกิโนซาร์" ตามชื่อกิโนซาร์ซึ่งที่ราบขนาดเล็กอันอุดมสมบูรณ์ที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ[15] กิโนซาร์ยังเป็นอีกชื่อหนึ่งที่มาจากคำว่า "คินเนเรท"[12]
คำว่า กาลิลี มาจากคำภาษาฮีบรูว่า Haggalil (הַגָלִיל) ซึ่งมีความหมายตรงตัวว่า "เขต" เป็นรูปย่อของ Gelil Haggoyim "เขตของบรรดาประชาชาติ" (อิสยาห์ 9:1) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 ทะเลกาลิลีเป็นที่รู้จักแพร่หลายในชื่อ ทะเลสาบทิเบเรียส ตามชื่อเมืองทิเบเรียสซึ่งก่อตั้งขึ้นบนชายฝั่งด้านตะวันตกเพื่อเป็นเกียรติแก่จักรพรรดิติแบริอุส จักรพรรดิลำดับที่ 2 ของโรมัน ในพันธสัญญาใหม่ ชื่อ "ทะเลกาลิลี" (กรีก: θάλασσαν τῆς Γαλιλαίας, thalassan tēs Galilaias) ถูกใช้ในพระวรสารนักบุญมัทธิว 4:18; 15:29, พระวรสารนักบุญมาระโก 1:16; 7:31 และพระวรสารนักบุญยอห์น 6:1 ในชื่อว่า "ทะเลกาลิลี คือทะเลทิเบเรียส" (θαλάσσης τῆς Γαλιλαίας τῆς Τιβεριάδος, thalassēs tēs Galilaias tēs Tiberiados) ซึ่งเป็นชื่อในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1[16] ทะเลทิเบเรียสยังเป็นที่ถูกกล่าวถึงในเอกสารของโรมันและในทาลมุดเยรูซาเล็ม และได้รับการดัดแปลงเป็นชื่อในภาษาอาหรับว่า (بحيرة طبريا), "ทะเลสาบทิเบเรียส"
ดูเพิ่ม
[แก้]- การอัศจรรย์ของพระเยซู
- พระคริสต์ผจญพายุในทะเลกาลิลี (ภาพวาดของแร็มบรันต์ในปี ค.ศ. 1633)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Aaron T. Wolf, Hydropolitics along the Jordan River เก็บถาวร 28 พฤษภาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, United Nations University Press, 1995
- ↑ 2.0 2.1 "Exact-me.org". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2012. สืบค้นเมื่อ 1 February 2008.
- ↑ "Sea of Galilee Geographic Information". International Lake Environment Committee (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-09-18.
- ↑ ทะเลสาบวอสตอคซึ่งเป็นทะเลสาบใต้ธารน้ำแข็งที่ค้นพบในปี ค.ศ. 1996 ได้ขึ้นมาท้าทายสถิติของทะเลสาบทั้งสองแห่ง มีการประมาณการว่าทะเลสาบวอสตอคอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลระหว่าง 200 เมตร (660 ฟุต) ถึง 600 เมตร (2,000 ฟุต)
- ↑ "Kinneret – General" (ภาษาฮิบรู). Israel Oceanographic & Limnological Research Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-13.
- ↑ Data Summary: Lake Kinneret (Sea of Galilee) เก็บถาวร 3 กุมภาพันธ์ 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Sea of Galilee | Israel, Fishing, Map, & History | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-21. สืบค้นเมื่อ 2023-11-29.
- ↑ Horowitz, Aharon; הורוביץ, א' (1977). "הסטראטיגראפיה של הפלייסטוקן בעמק-הירדן / the Pleistocene Stratigraphy of the Jordan Valley". Eretz-Israel: Archaeological, Historical and Geographical Studies / ארץ-ישראל: מחקרים בידיעת הארץ ועתיקותיה. יג: 14*–22*. ISSN 0071-108X. JSTOR 23618737.
- ↑ Harash, A.; Bar, Y. (1988-02-01). "Faults, landslides and seismic hazards along the Jordan River gorge, Northern Israel". Engineering Geology. 25 (1): 1–15. Bibcode:1988EngGe..25....1H. doi:10.1016/0013-7952(88)90015-4. ISSN 0013-7952.
- ↑ Lu, Yin; Wetzler, Nadav; Waldmann, Nicolas; Agnon, Amotz; Biasi, Glenn P.; Marco, Shmuel (2020-11-27). "A 220,000-year-long continuous large earthquake record on a slow-slipping plate boundary". Science Advances. 6 (48): eaba4170. Bibcode:2020SciA....6.4170L. doi:10.1126/sciadv.aba4170. ISSN 2375-2548. PMC 7695470. PMID 33246948.
- ↑ Easton's Revised Bible Dictionary, "Chinnereth". Another speculation is that the name comes from a fruit called in Biblical Hebrew kinar, which is thought to be the fruit of Ziziphus spina-christi.
- ↑ 12.0 12.1 Negev, Avraham; Gibson, Shimon, บ.ก. (2001). "Kinneret". Archaeological Encyclopedia of the Holy Land. New York and London: Continuum. p. 285. ISBN 978-0-8264-1316-1. สืบค้นเมื่อ 26 July 2021.
- ↑ McKenzie, John L. (1995). Dictionary of the Bible (1st Touchstone ed.). New York: Simon & Schuster. p. 130. ISBN 978-0-684-81913-6. OCLC 34111634.
- ↑ Easton, Gennesaret.
- ↑ Israel and You (28 February 2019). "Sea of Galilee – Aerial View *". Israel and You (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 1 January 2020.
- ↑ Easton, Tiberias
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Tamar Zohary, Assaf Sukenik, Tom Berman (2014). Lake Kinneret: Ecology and Management. Springer. ISBN 978-94-017-8944-8.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - C. Serruya (1978). Lake Kinneret. Springer. ISBN 978-90-6193-085-3.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- World Lakes Database entry for Sea of Galilee
- Kinneret Data Center // Kinneret Limnological Laboratory
- Sea of Galilee – official government page (in Hebrew)
- Sea of Galilee water level – official government page (in Hebrew)
- Database: Water levels of Sea of Galilee since 1966 (in Hebrew)
- Bibleplaces.com: Sea of Galilee
- Updated elevation of the Kinneret's level (in Hebrew) – elevation (meters below sea level) is shown on the line following the date line