ข้ามไปเนื้อหา

ทวีปออสเตรเลีย

พิกัด: 26°S 141°E / 26°S 141°E / -26; 141
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทวีปออสเตรเลีย
พื้นที่8,600,000 ตารางกิโลเมตร (3,300,000 ตารางไมล์) (ที่ 7)
ประชากร39,357,469 คน[หมายเหตุ 1] (ที่ 6)
ความหนาแน่น4.2/km2 (11/sq mi)
จีดีพี (อำนาจซื้อ)1.5 ล้านล้าน
เดมะนิมชาวออสเตรเลีย/ชาวปาปัว
ประเทศ
ดินแดน
ภาษาอังกฤษ, อินโดนีเซีย, ตอกปีซิน, ฮีรีโมตู, กลุ่มภาษาปาปัวและตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนพื้นเมือง 269 ภาษา และกลุ่มภาษาชนพืนเมืองออสเตรเลียประมาณ 70 ภาษา
เขตเวลาUTC+8, UTC+9:30, UTC+10
โดเมนระดับบนสุด.au, .id และ .pg
เมืองใหญ่

ทวีปออสเตรเลีย บางครั้งเรียกในบริบททางเทคนิคด้วยชื่อ ซาฮูล (อังกฤษ: Sahul, /səˈhl/) ออสเตรเลีย-นิวกินี, ออสตราลิเนีย (Australinea) หรือ เมกานีเซีย (Meganesia)[1][2][3] เพื่อแยกจากประเทศออสเตรเลีย ตั้งอยู่ในซีกโลกใต้และตะวันออก[4] ประกอบด้วยออสเตรเลียแผ่นดินใหญ่ รัฐแทสมาเนีย เกาะนิวกินี (ปาปัวนิวกินีและนิวกินีตะวันตก) หมู่เกาะอารู หมู่เกาะแอชมอร์และคาร์เทียร์ หมู่เกาะคอรัลซีส่วนใหญ่ และเกาะใกล้เคียงอื่น ๆ ออสเตรเลียที่ตั้งบนพื้นที่ทางภูมิศาสตร์โอเชียเนีย เป็นทวีปที่เล็กที่สุดในบรรดา 7 ทวีป

ตัวทวีปประกอบด้วยไหล่ทวีปที่ปกคลุมไปด้วยทะเลน้ำตื้น ซึ่งแบ่งแผ่นดินออกเป็นหลายทวีป ได้แก่ ทะเลอาราฟูรากับช่องแคบทอร์เรสระหว่างออสเตรเลียแผ่นดินใหญ่กับนิวกินี และช่องแคบแบสส์ระหว่างออสเตรเลียแผ่นดินใหญ่กับแทสมาเนีย เมื่อระดับน้ำทะเลอยู่ในระดับต่ำกว่าในช่วงยุคน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีน รวมถึงยุคน้ำแข็งสูงสุดสุดท้ายประมาณ 18,000 ปีก่อน ค.ศ. แผ่นดินนี้เชื่อมเข้าพื้นที่แห้งกลายเป็นดินแดนซาฮูล ชื่อ "ซาฮูล" มาจาก Sahul Shelf ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของไหล่ทวีปออสเตรเลีย จากนั้นในช่วง 18,000 ถึง 10,000 ปีก่อน ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจนท่วมพื้นที่ราบลุ่มและแยกทวีปไปเป็นแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ในระดับต่ำและแห้งแล้งถึงกึ่งแห้งแล้ง กับเกาะภูเขานิวกินีกับแทสมาเนีย

ด้วยขนาดพื้นที่ทั้งหมด 8.56 ล้าน ตารางกิโลเมตร (3,310,000 ตารางไมล์) ทำให้ออสเตรเลียเป็นทวีปที่เล็ก ข้างล่าง ราบเรียบ และแห้งแล้งเป็นอันดับ 2 ของโลก (เป็นรองเพียงแอนตาร์กติกา)[5] เนื่องจากประเทศออสเตรเลียส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นที่ผืนเดียว และประกอบด้วยทวีปส่วนใหญ่ ทำให้มีการเรียกอย่างไม่เป็นทางการในบางครั้งว่าเป็นทวีปเกาะที่ล้อมรอบด้วยมหาสมุทร[6]

ปาปัวนิวกินี ประเทศในทวีป เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษามากที่สุดในโลก[7] และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีพื้นที่ชนบทมากที่สุด เนื่องจากประชากรร้อยละ 18 อาศัยอยู่ในเมือง[8] ส่วนปาปัวตะวันตก ภูมิภาคในประเทศอินโดนีเซีย เป็นที่อยู่ของชนเผ่าที่ไม่ได้รับการติดต่อประมาณ 44 กลุ่ม[9] ออสเตรเลียที่กินพื้นที่ทวีปมากที่สุด มีความเป็นเมืองอย่างมาก[10] และมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 14 กับดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก[11][12] ออสเตรเลียยังมีประชากรผู้อพยพมากเป็นอันดับ 9 ของโลก[13][14]

ที่สุดในทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย[แก้]

จุดที่สุดในทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย[15] สถานที่ รัฐ/ประเทศ
จุดเหนือสุด: เกาะไซปัน นอร์เทิร์นมาเรียนา/สหรัฐอเมริกา
จุดใต้สุด: เกาะมักควอรี แทสเมเนีย/ ออสเตรเลีย
จุดตะวันออกสุด: เกาะซาลัสอีโกเมซ ชิลี
จุดตะวันตกสุด: แหลมสตีฟ เวสเทิร์นออสเตรเลีย/ออสเตรเลีย
ภูเขาที่สูงที่สุด: ปุนจักจายา เกาะนิวกินีตะวันตก
เกาะที่ใหญ่ที่สุด: เกาะนิวกินี ปาปัวนิวกินี
แอ่งที่ราบใหญ่ที่สุด: แอ่งเมอร์รีย์-ดาร์ลิง ออสเตรเลีย
ผิวน้ำต่ำที่สุด: ทะเลสาบแอร์ ออสเตรเลีย

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Heinsohn, Tom (October 2003). "Animal translocation: long-term human influences on the vertebrate zoogeography of Australasia (natural dispersal versus ethnophoresy)". Australian Zoologist (ภาษาอังกฤษ). 32 (3): 351–376. doi:10.7882/AZ.2002.014. ISSN 0067-2238.
  2. O'Connell, J. F; Allen, J (2004-06-01). "Dating the colonization of Sahul (Pleistocene Australia–New Guinea): a review of recent research". Journal of Archaeological Science. 31 (6): 835–853. Bibcode:2004JArSc..31..835O. doi:10.1016/j.jas.2003.11.005. ISSN 0305-4403.
  3. Rasmussen, Claus; Thomas, Jennifer C.; Engel, Michael S. (December 2017). "A New Genus of Eastern Hemisphere Stingless Bees (Hymenoptera: Apidae), with a Key to the Supraspecific Groups of Indomalayan and Australasian Meliponini". American Museum Novitates (3888): 1–33. doi:10.1206/3888.1. ISSN 0003-0082.
  4. New, T.R. (2002). "Neuroptera of Wallacea: a transitional fauna between major geographical regions" (PDF). Acta Zoologica Academiae Scientiarum Hungaricae. 48 (2): 217–27.
  5. Agency, Digital Transformation. "The Australian continent". info.australia.gov.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2022. สืบค้นเมื่อ 1 November 2021.
  6. Löffler, Ernst; A.J. Rose, Anneliese Löffler & Denis Warner (1983). Australia:Portrait of a Continent. Richmond, Victoria: Hutchinson Group. p. 17. ISBN 978-0-09-130460-7.
  7. Seetharaman, G. (13 August 2017). "Seven decades after Independence, many small languages in India face extinction threat". The Economic Times.
  8. "World Bank data on urbanisation". World Development Indicators. World Bank. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2009. สืบค้นเมื่อ 15 July 2005.
  9. "BBC: First contact with isolated tribes?". Survival International. สืบค้นเมื่อ 24 July 2015.
  10. "Geographic Distribution of the Population". 24 May 2012. สืบค้นเมื่อ 1 December 2012.
  11. Data refer mostly to the year 2014. World Economic Outlook Database-April 2015, International Monetary Fund. Accessed on 25 April 2015.
  12. "Australia: World Audit Democracy Profile". WorldAudit.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2007. สืบค้นเมื่อ 5 January 2008.
  13. Statistics, c=AU; o=Commonwealth of Australia; ou=Australian Bureau of (19 May 2023). "Main Features – Cultural Diversity Article". www.abs.gov.au.
  14. United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Population Division, (2019). 'International Migration' in International migrant stock 2019. Accessed from International migrant stock 2015: maps on 24 May 2017.
  15. ภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ (2553). ภูมิศาสตร์ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย. ภาพลูกโลกแสดงตำแหน่งของสถานที่ทวีปออสเตรเลีย-โอเชียเนีย. กรุงเทพฯ: บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด. p. ๙๘.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Australia (continent)

26°S 141°E / 26°S 141°E / -26; 141