ตอกปีซิน
ตอกปีซิน | |
---|---|
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศปาปัวนิวกินี |
จำนวนผู้พูด | 120,000 (2004)[1] ผู้พูดภาษาที่สอง 4 ล้านคน (2005)[2] |
ตระกูลภาษา | ครีโอลอังกฤษ
|
ระบบการเขียน | อักษรละติน (ชุดตัวอักษรตอกปีซิน) อักษรเบรลล์พิดจิน |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ปาปัวนิวกินี |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | tpi |
ISO 639-3 | tpi |
Linguasphere | 52-ABB-cc |
ตอกปีซิน (ตอกปีซิน: Tok Pisin, [ˌtok piˈsin])[3] เป็นภาษาครีโอลที่พูดในประเทศปาปัวนิวกินี เป็นหนึ่งในภาษาทางการของปาปัวนิวกินี และเป็นภาษาที่ใช้มากที่สุดในประเทศ มีคนพูดเป็นภาษาที่ 2 ประมาณ 2 ล้านคน ตอกปีซินเรียกเป็นชื่ออื่นว่า "ภาษาอังกฤษพิดจินเมลานีเชีย" (Melanesian Pidgin English) หรือ "ภาษานีโอ-เมลานีเชีย" (Neo-Melanesian)
มีการใช้ภาษาตอกปีซินอยู่บ้างในสื่อมวลชนและรัฐบาล อย่างไรก็ดี ภาษาอังกฤษยังคงเป็นที่ใช้มากกว่าในบริบทเหล่านี้ ในโรงเรียนบางแห่ง ภาษาตอกปีซินเป็นภาษาที่ใช้สอนใน 3 ปีแรกของการเรียนชั้นต้น
คำศัพท์ของภาษานี้ 5 ใน 6 มาจากตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน และ 1 ใน 6 มาจากตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และมีไวยากรณ์ที่มีพื้นฐานจากไวยากรณ์ภาษาพิดจินอย่างง่าย โดยที่มีความไม่สม่ำเสมอต่าง ๆ
ชื่อ
[แก้]คำว่า tok แปลว่า "คำ" หรือ "ภาษา" มีที่มาจากคำว่า talk ในภาษาอังกฤษ ส่วนคำว่า pisin มาจากคำว่าภาษาอังกฤษว่า pidgin ซึ่งหมายถึงภาษาพิดจิน
ในขณะที่ชื่อของภาษานี้คือ Tok Pisin บางครั้งมีผู้เรียกในภาษาอังกฤษเป็น "ภาษาพิดจินนิวกินี"[4] ชาวปาปัวนิวกินีที่พูดภาษาอังกฤษมักเรียกภาษาตอกปีซินเป็น "พิดจิน"[5] การใช้ศัพท์ "พิดจิน" ในที่นี้มีความแตกต่างจาก "ภาษาพิดจิน" ในภาษาศาสตร์ ภาษาตอกปีซินไม่ใช่ภาษาพิดจินในความหมายหลัง เพราะภาษานี้กลายเป็นภาษาแม่ของผู้คนหลายคน ทำให้ภาษานี้อยู่ในกลุ่มภาษาครีโอลตามศัพท์ภาษาศาสตร์[6]
ชุดตัวอักษร
[แก้]ชุดตัวอักษรตอกปีซินประกอบด้วย 22 ตัวอักษร ในจำนวนนี้มี 5 ตัวที่เป็นสระ และ 4 ตัวที่เป็นทวิอักษร[7] ตัวอักษรมีดังนี้ (สระอยู่ในอักษรหนา):
- a, b, d, e, f, g, h, i, k, l, m, n, o, p, r, s, t, u, v, w, y
ทวิอักษรสี่ตัวเป็นได้ทั้งสระประสมสองเสียง และอักษร:
- ⟨ai⟩, ⟨au⟩, ⟨oi⟩ และ ⟨ng⟩ (ใช้ทั้ง /ŋ/ และ /ŋɡ/)
ตัวอย่าง
[แก้]ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1 ในภาษาตอกปีซิน:
- Yumi olgeta mama karim umi long stap fri na wankain long wei yumi lukim i gutpela na strepela tru. Uumi olgeta igat ting ting bilong wanem samting i rait na rong na mipela olgeta i mas mekim gutpela pasin long ol narapela long tingting bilong brata susa.[8]
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1 ในภาษาไทย:
- มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ตอกปีซิน ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ ตอกปีซิน ที่ Ethnologue (15th ed., 2005)
- ↑ Smith, Geoffrey. 2008. Tok Pisin in Papua New Guinea: Phonology. In Burridge, Kate, and Bernd Kortmann (eds.), Varieties of English, Vol.3: The Pacific and Australasia. Berlin: Walter de Gruyter. 188-210.
- ↑ E.g. Nupela Testamen bilong Bikpela Jisas Kraist, 1969.
- ↑ The published court reports of Papua New Guinea refer to Tok Pisin as "Pidgin": see for example Schubert v The State [1979] PNGLR 66.
- ↑ See the Glottolog entry for Tok Pisin (itself evidence that the linguistic community considers it a language in its own right, and prefers to name it Tok Pisin), as well as numerous references therein.
- ↑ Mundhenk, Norm (1990). "Linguistic Decisions in the Tok Pisin Bible". Melanesian Pidgin and Tok Pisin: Proceedings of the First International Conference on Pidgins and Creoles in Melanesia: 372.
- ↑ "TOKSAVE LONG OL RAITS BILONG OL MANMERI LONG OLGETA HAP BILONG DISPELA GIRAUN AS BILONG TOKTOK". ohchr.org.
- ↑ Nations, United. "Universal Declaration of Human Rights - Thai". United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-24. สืบค้นเมื่อ 2022-06-18.