ดูกี
ดูกี | ||
---|---|---|
สตูดิโออัลบั้มโดย | ||
วางตลาด | 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994 | |
บันทึกเสียง | กันยายน–ตุลาคม ค.ศ. 1993 | |
สตูดิโอ | แฟนตาซีสตูดิโอส์ เบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย | |
แนวเพลง | ||
ความยาว | 39:38 นาที | |
ค่ายเพลง | รีไพรส์ | |
โปรดิวเซอร์ |
| |
ซิงเกิลจากดูกี | ||
|
ดูกี (อังกฤษ: Dookie) เป็นสตูดิโออัลบัมชุดที่ 3 ของศิลปินพังก์ร็อกอเมริกัน กรีนเดย์ ออกจำหน่าย 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994 โดยค่ายรีไพรส์เรเคิดส์[2] ถือเป็นการร่วมงานครั้งแรกกับโปรดิวเซอร์ ร็อบ คาวัลโล และเป็นอัลบัมเปิดตัวกับค่ายใหญ่ ดูกี ได้รับความสำเร็จด้านยอดขายไปทั่วโลก มีอันดับสูงสุดอันดับ 2 บนชาร์ต บิลบอร์ด 200 ของสหรัฐ และยังเข้าชาร์ตในอีก 7 ประเทศ[3][4] อัลบัมยังขับเคลื่อนให้กรีนเดย์หรือแม้แต่ดนตรีพังก์ร็อกได้รับความนิยมสู่กระแสหลัก[5] ดูกี ได้รับการรับรองแผ่นเสียงเพชรจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกาโดยมียอดสั่งซื้อ 10 ล้านชุด
ดูกี มีซิงเกิลฮิต 5 ซิงเกิล ได้แก่ "ลองวิว", "เวนไอคัมอะราวด์", "บาสเกตเคส", เพลงบันทึกเสียงใหม่อีกครั้ง "เวลคัมทูพาราไดส์" และซิงเกิลเฉพาะบนวิทยุ "ชี"[6] อัลบัมถือได้ว่าได้รับคำชมตั้งแต่ตอนออกจำหน่ายจนปัจจุบัน ได้รับรางวัลแกรมมี่สาขาอัลบัมดนตรีออลเทอร์นาทิฟยอดเยี่ยม ในปี 1995 และติดอยู่อันดับ 1993 ในรายชื่อ 500 อัลบัมยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล ที่อันดับ 193 ของนิตยสาร โรลลิงสโตน[7][8] จากข้อมูลปี 2004 ดูกี เป็นอัลบัมที่มียอดขายมากที่สุดของวง โดยขายได้มากกว่า 20 ล้านชุดทั่วโลก[9]
ภูมิหลังและการบันทึกเสียง
[แก้]หลังจากประสบความสำเร็จในวงการเพลงใต้ดินกับสตูดิโออัลบัมชุดที่ 2 เคอร์พลังก์ (1992) มีค่ายใหญ่หลายค่ายเริ่มสนใจในกรีนเดย์[10] ตัวแทนของค่ายเหล่านี้พยายามชักชวนวงให้เซ็นสัญญาโดยนัดพวกเขาทานข้าวเพื่อหาข้อตกลงกัน ผู้จัดการคนหนึ่งยังเชิญวงไปดิสนีย์แลนด์ด้วย[11] วงก็ปฏิเสธไปจนพวกเขาได้พบกับโปรดิวเซอร์และตัวแทนจากค่ายรีไพรส์ที่ชื่อ ร็อบ คาวัลโล วงประทับใจผลงานของเขาที่ทำงานร่วมกับวงจากแคลิฟอร์เนียอย่าง เดอะมัฟส์ และต่อมาพวกเขาแสดงความเห็นต่อคาวัลโลว่า "เป็นคนเพียงคนเดียวที่เราสามารถพูดด้วยและติดต่อได้"[11]
ในที่สุดวงก็ได้ออกจากค่ายอิสระของพวกเขาที่ชื่อ ลุกเอาต์! เรเคิดส์ อย่างฉันท์มิตร และเซ็นสัญญากับรีไพรส์ การได้เซ็นสัญญากับค่ายใหญ่นี้ทำให้แฟนดั้งเดิมของวงจำนวนมากจากคลับเพลงอินดี้ที่ตั้งอยู่เลขที่ 924 ถนนกิลแมน ตราหน้าวงว่า "ขายตัว" (Selling out)[12][13] คลับแห่งนี้สั่งห้ามกรีนเดย์เข้าร้านตั้งแต่เซ็นสัญญากับค่ายใหญ่[11] โดยนักร้องนำ บิลลี โจ อาร์มสตรอง บอกกับนิตยสาร สปิน ในปี 1999 ว่า "ผมไม่สามารถกลับไปยังกระแสพังก์ได้อีก แม้ว่าเราจะประสบความสำเร็จที่สุดในโลกหรือล้มเหลวที่สุด สิ่งเดียวที่ผมสามารถทำได้คือ นำจักรยานแล้วก็มุ่งไปข้างหน้า"[14]
คาวัลโลเป็นโปรดิวเซอร์หลักของอัลบัมนี้ ร่วมด้วยเจอร์รี ฟินน์ ที่รับหน้าที่ผสมเสียง กรีนเดย์ให้เทปเดโมแรกกับคาวัลโล พอหลังจากที่เขาฟังระหว่างขับรถกลับบ้าน เขารู้สึกได้ว่า "ได้พบสิ่งใหญ่โตเข้าโดยบังเอิญ"[11] วงได้ทำการบันทึกเสียงเป็นเวลา 3 อาทิตย์ และผสมเสียงอัลบัมนี้ 2 ครั้ง[11] อาร์มสตรองอ้างว่าวงต้องการสร้างเสียงที่ฟังดูแห้ง "คล้ายกับอัลบัมของเซ็กซ์พิสทอลส์ หรืออัลบัมแรก ๆ ของแบล็กแซ็บบาธ"[15] วงยังรู้สึกไม่พอใจกับต่อการผสมเสียงแรก คาวัลโลก็เห็นด้วยและผสมเสียงใหม่ที่แฟนตาซีสตูดิโอส์ในเบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย[15] ต่อมาอาร์มสตรองพูดถึงประสบการทำงานในสตูดิโอนี้ว่า "ทุกอย่างถูกเขียนมาแล้ว สิ่งที่เราต้องทำก็แค่เล่นเพลง"[11][15]
การเขียนเพลง
[แก้]เนื้อหาส่วนใหญ่ของอัลบัมนี้แต่งโดยอาร์มสตรอง เว้นเพลง "อีเมเนียสสลีปัส" (Emenius Sleepus) ที่แต่งโดยมือเบสของวง ไมก์ เดินต์ และเพลงซ่อน "ออลบายมายเซลฟ์" (All by Myself) ที่ประพันธ์ทำนองและเนื้อเพลงโดยมือกลอง เทร คูล อัลบัมเกี่ยวพันกับประสบการณ์ที่หลากหลายของสมาชิกวง และมีเนื้อหาอย่างเรื่อง ความวิตกกังวล อาการแพนิกกำเริบ การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง รสนิยมทางเพศ ความเบื่อหน่าย การสังหารหมู่ การหย่า และอดีตเพื่อนสาว[11]
เพลงที่ 1–7
[แก้]อาร์มสตรองเขียนเพลง "แฮฟวิงอะบลาสต์" (Having a Blast) ตอนเขาอยู่ที่คลีฟแลนด์ในปี 1992[16] ซิงเกิล "ลองวิว" มีเส้นเบสที่เป็นลายเซ็นโดยมือเบส เดินต์แต่งขณะอยู่ภายใต้อิทธิพลของแอลเอสดี[17] "เวลคัมทูพาราไดส์" ซิงเกิลที่ 2 ของ ดูกี เดิมทีบรรจุอยู่ในสตูดิโออัลบัมชุด 2 เคอร์พลังก์ เพลงได้รับการบันทึกเสียงใหม่โดยลดเสียงแตกเพื่อบรรจุในอัลบัม ดูกี[10] เพลงนี้ไม่เคยมีมิวสิกวิดีโออย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ดีมีการนำใช้ภาพแสดงสดของเพลงนี้มาใช้เป็นมิวสิกวิดีโอบ่อยครั้ง วิดีโอนี้มีอยู่ในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของกรีนเดย์[18]
ซิงเกิลฮิต "บาสเกตเคส" ติดบนชาร์ตซิงเกิลทั่วโลกหลายชาร์ต[19][20] เป็นเพลงได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องส่วนตัวของอาร์มสตรอง เพลงพูดถึงภาวะวิตกกังวลของอาร์มสตรองและความรู้สึก "บ้า" ก่อนที่จะหาสาเหตุของโรคตื่นตระหนกนี้ได้[15] ท่อนเวิร์สที่ 3 "บาสเกตเคส" เอ่ยถึง การค้าประเวณีชาย อาร์มสตรองกล่าวว่า "ผมต้องการท้าทายตัวเองหรือคนฟังใครก็ตามที่อาจจะเป็นเช่นนี้ เหมือนเป็นการมองดูที่โลกใบนี้แล้วพูดว่า 'มันไม่ดำและไม่ขาวอย่างที่คุณคิด นี่ไม่ใช่คุณตัวของปู่คุณ หรืออาจจะเป็นก็ได้'"[21] มิวสิกวิดีโอถ่ายทำที่สถาบันด้านจิตที่ทิ้งร้าง เพลงนี้ถือเป็นหนึ่งในเพลงที่ได้รับความนิยมที่สุดของวง[22]
เพลงที่ 8–14
[แก้]ซิงเกิลเฉพาะทางวิทยุ "ชี" แต่งโดยอาร์มสตรอง มีเรื่องราวเกี่ยวกับแฟนเก่าที่ได้แสดงบทกวีแนวนิยมสตรีที่ใช้ชื่อเดียวกับชื่อเพลงเขา[15] เพื่อเป็นการตอบกลับ อาร์มสตรองจึงได้แต่งเนื้อเพลง "ชี" แล้วแสดงให้เธอเห็น[15] ต่อมาเธอย้ายไปยังเอกวาดอร์ นั่นกระตุ้นให้อาร์มสตรองใส่เพลง "ชี" ไว้ในอัลบัม แฟนเก่าคนนี้ยังได้รับการเอ่ยถึงในเพลง "ซัสซาฟรัสรูตส์" (Sassafras Roots) และ "ชัมป์" (Chump) อีกด้วย[15]
ซิงเกิลสุดท้าย "เวนไอคัมอะราวด์" ก็ได้รับแรงบันดาลใจจากผู้หญิง แต่ครั้งนี้เกี่ยวกับภรรยาเก่าของอาร์มสตรอง เอเดรียน หลังจากที่ทั้งคู่ได้ทะเลาะกัน อาร์มสตรองได้ทิ้งเอเรียนมาอยู่คนเดียวในบางครั้ง[10] มิวสิกวิดีโอมีสมาชิกวง 3 คน เดินไปมาในยามค่ำคืนที่เบิร์กลีย์ และซานฟรานซิสโก จนตอนจบกลับมายังสถานที่เดิม สมาชิกในภายภาคหน้าของวงกรีนเดย์ เจสัน ไวต์ ปรากฏตัวในมิวสิกวิดีโอนี้ด้วยกับแฟนสาวเขาตอนนั้น[11] เพลงนี้เป็นซิงเกิลแรกของวงที่ติดท็อป 10 โดยติดอันดับ 6 บนชาร์ตฮอต 100 แอร์เพลย์ และขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตมอเดิร์นร็อกแทร็กส์เป็นเวลา 7 อาทิตย์ (นานกว่า "บาสเกตเคส" 2 อาทิตย์) ยังขึ้นอันดับ 2 ทั้งชาร์ตเมนสตรีมร็อก และเมนสตรีมท็อป 40 เพลง "คัมมิงคลีน" (Coming Clean) พูดเนื้อหาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องรักร่วมสองเพศของเขาเมื่อตอนอายุ 16 และ 17 ปี[23] ในการสัมภาษณ์กับนิตยสาร ดิแอดโวเคต เขากล่าวว่า ถึงแม้ว่าเขาจะไม่เคยมีความสัมพันธ์กับผู้ชาย แต่เพศสภาพของเขา "เป็นอะไรที่เขาต้องต่อสู้กับตัวเอง" บิลลี โจ อาร์มสตรอง เขียนเพลง "อินดิเอนด์" (In the End) ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับแม่ของเขาและสามีของเธอ เขาพูดไว้ว่า "เพลงนี้เกี่ยวกับสามีของแม่ผม เพลงนี้ค่อนข้างไม่เกี่ยวกับผู้หญิง หรือใครบางคนที่ไม่เกี่ยวกับผมโดยตรงในด้านความสัมพันธ์ อินดิเอนด์จึงเป็นเรื่องราวของแม่ผม"[24]
ปก
[แก้]ชื่อของอัลบัมเอ่ยถึงการที่สมาชิกของวงมักประสบปัญหาท้องเสีย ที่พวกเขาบอกว่าเป็น "อึเหลว" (liquid dookie) ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เขารับประทานอาหารที่เสียแล้วระหว่างทัวร์ เดิมทีวงจะตั้งชื่ออัลบัมว่า ลิควิตดูกี (Liquid Dookie) อย่างไรก็ดีก็เห็นว่า "หยาบไป" จึงตั้งชื่อว่า ดูกี[11][15]
งานศิลป์จากเพื่อนวงพังก์จากอีสต์เบย์ ที่ชื่อริชชี บุเชอร์ ได้สร้างข้อพิพาท ตั้งแต่การวาดภาพระเบิดใส่ผู้คนและตึก ภาพเป็นการจำลองถนนเทเลกราฟในเบิร์กลีย์ ตรงกลางภาพเป็นระเบิดโดยมีชื่อวงอยู่ด้านบน[25] อาร์มสตรองอธิบายงานศิลป์บนปกนี้ว่า
ผมต้องการงานศิลป์ให้ดูแตกต่างจริง ๆ ผมต้องการแสดงให้เห็นถึงย่านอีสต์เบย์ เป็นที่มาของผม เพราะมีศิลปินมากมายในย่านอีสต์เบย์ที่สำคัญพอ ๆ กับดนตรี ผมเลยคุยกับริชชี บุเชอร์ เขาได้ทำปกขนาด 7 นิ้ว ให้กับวงชื่อเราอุล (Raooul) ซึ่งผมชอบจริง ๆ เขาก็เล่นให้หลายวงในอีสต์เบย์มาหลายปี ยังมีชิ้นส่วนของพวกเราอยู่บนปกด้วย มีชายคนหนึ่งถือกล้องขึ้นไปบนฟ้า แล้วถ่ายภาพด้วยเครา เขาได้ถ่ายวงต่าง ๆ ในทุกสุดสัปดาห์ที่ถนนกิลแมน ยังมีตัวละครที่สวมเสื้อคลุมที่ดูเหมือนกับโมนาลิซา เป็นผู้หญิงบนปกของอัลบัมแรกของแบล็กซับบาธ แล้วก็มีมือกีตาร์ของวงเอซี/ดีซี ที่ชื่อแองกัส ยัง ที่ไหนสักที่ด้วย มีกราฟฟิตีเขียนว่า "Twisted Dog Sisters" ที่หมายถึงหญิงสาว 2 คนจากเบิร์กลีย์ ผมคิดว่าผู้ชายพูดว่า "The fritter, fat boy" ที่เอ่ยถึงตำรวจในเมือง[26]
ปกหลังในการพิมพ์แรก ๆ ของซีดีนั้นปรากฏของเล่นของตัวละครเออร์นีจาก เซซามีสตรีท ที่ใช้แอร์บรัชพ่นทับภายหลังเนื่องจากกลัวเรื่องการฟ้องร้อง อย่างไรก็ดี การพิมพ์ในแคนาดาและยุโรป ยังปรากฏภาพเออร์นีอยู่บนปกหลังด้วย[11] มีข่าวลือว่าที่ถูกนำออกไปเพราะจะทำให้ผู้ปกครองคิดว่า ดูกี เป็นอัลบัมเพลงกล่อมเด็ก หรือผู้สร้าง เซซามีสตรีท อาจจะฟ้องกรีนเดย์ได้[10]
การออกจำหน่าย
[แก้]ดูกี ออกจำหน่ายเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994[27] ตอนออกนั้นอัลบัมเข้าชาร์ต 7 ประเทศ ขึ้นอันดับสูงสุดอันดับ 2 บนบิลบอร์ด 200 ในสหรัฐ[12] และยังประสบความสำเร็จในอีกหลายประเทศ โดยสูงสุดอันดับ 1 ในนิวซีแลนด์[28] อันดับต่ำสุดในทุกประเทศคือในสหราชอาณาจักรที่อันดับ 13[20] ขณะที่ทุกซิงเกิลจากอัลบัม ติดชาร์ตในหลายประเทศ ซิงเกิลฮิต "บาสเกตเคส" เข้าท็อป 10 ในสหราชอาณาจักรและสวีเดน ต่อมาปี 1995 อัลบัมได้รับรางวัลแกรมมีสาขาอัลบัมดนตรีออลเทอร์นาทิฟยอดเยี่ยม โดย "ลองวิว" กับ "บาสเกตเคส" ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่[29]
ตลอดในคริสต์ทศวรรษ 1990 ดูกี ยังคงทำยอดขายได้ดี จนท้ายสุดสามารถได้รับการรับรองแผ่นเสียงเพชร[30] ในปี 1999 ดูกี มียอดขายมากกว่า 20 ล้านชุดทั่วโลก และยังคงเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดของวง[31]
การตอบรับ
[แก้]คะแนนคำวิจารณ์ | |
---|---|
ที่มา | ค่าประเมิน |
ออลมิวสิก | [27] |
ออลเทอร์นาทิฟเพรส | [32] |
บิลบอร์ด | [33] |
ชิคาโกซันไทมส์ | [34] |
ชิคาโกทริบูน | [35] |
เอ็นเอ็มอี | 7/10[36] |
พิตช์ฟอร์ก | 8.7/10[37] |
เดอะโรลลิงสโตนอัลบัมไกด์ | [38] |
สปินออลเทอร์นาทิฟเรเคิดไกด์ | 8/10[39] |
เดอะวิลเลจวอยซ์ | A−[40] |
ดูกี ได้รับคำชื่นชม บิล แลมบ์จาก อะเบาต์.คอม เห็นว่าเป็นอัลบัมที่ดีกว่าในช่วงเวลานั้นแน่ ๆ โดยเรียกว่า "หนึ่งในอัลบัมเสาหลักของคริสต์ทศวรรษ 1990"[41] สตีเฟน โทมัส เออร์เลวิน แห่งออลมิวสิกอธิบาย ดูกี ว่าเป็น "ชิ้นส่วนดาวแจ่มจรัสของมอเดิร์นพังก์ที่หลายวงพยายามทำเลียนแบบ แต่ไม่มีใครทำได้ดีกว่านี้"[27] ในปี 1994 ไทม์ กล่าวว่า ดูกี เป็นอัลบัมดีที่สุดประจำปีอันดับ 3 และเป็นอัลบัมร็อกที่ดีที่สุดประจำปี 1994[42] จอน พาเรเลส จาก เดอะนิวยอร์กไทมส์ ในช่วงต้นปี 1995 บรรยายดนตรีของ ดูกี ว่า "พังก์ที่กลับมาเป็นป็อปได้อย่างรวดเร็ว ตลก ติดหู เพลงอันทรงพลัง ที่เกี่ยวกับการคร่ำครวญ และเปลี่ยนช่องโทรทัศน์ ความไม่แยแสต่อซาวด์ที่ซาบซึ้งอย่างมาก"[43] พอล เอแวนส์ แห่ง โรลลิงสโตน อธิบายถึงกรีนเดย์ว่า "พวกเขาได้กำลังโน้มน้าวโดยส่วนมาก เพราะพวกเขาได้เข้าใจการต่อต้านค่านิยมแบบหยาบจากพังก์ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง อย่าง การกล่าวโทษ การสมเพชตัวเอง การรู้สึกชิงชังตัวเองอย่างยโส อารมณ์ขัน การหลงตัวเอง และตลก"[44]
นีล สเตราส์แห่ง เดอะนิวยอร์กไทมส์ แม้จะชมเชยคุณภาพโดยรวมของอัลบัม ก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "ซาวด์ป็อปของ ดูกี แค่คล้ายเพลงพังก์อย่างไกล ๆ"[45] วงไม่ได้โต้ตอบคำวิจารณ์เหล่านี้ในช่วงแรก จนต่อมาก็อ้างว่า พวกเขา "แค่พยายามเป็นตัวเอง" และบอกว่า "วงเราเอง เราจะทำอะไรตามที่อยาก"[11] เดินต์อ้างว่าอัลบัมต่อมา อินซอมนิแอก เป็นหนึ่งในอัลบัมของวงที่มีเนื้อเพลงและดนตรีหนักที่สุด โดยวงได้ปล่อยความโกรธต่อคำวิจารณ์จากนักวิจารณ์และอดีตแฟนเพลง[11]
ดูกี ได้รับเครดิตร่วมไปกับอัลบัม สแมช ของดิออฟสปริง[46][47] ว่าได้ช่วยทำให้พังก์ร็อกกลับมาสู่วัฒนธรรมกระแสหลักได้[5] โทมัส แนสซิฟจากช่อง ฟิวส์ เอ่ยว่าเป็นอัลบัมป็อปพังก์ที่สำคัญที่สุด[48]
ในเดือนเมษายน 2014 โรลลิงสโตน ให้อัลบัมนี้อยู่อันดับ 1 ของรายชื่อ "1994: 40 งานเพลงยอดเยี่ยมจากปียอดเยี่ยมของออลเทอร์นาทิฟกระแสหลัก"[49] เดือนต่อมา ลาวด์ไวร์ ให้ ดูกี อยู่อันดับ 1 ของรายชื่อ "10 อัลบัมฮาร์ดร็อกยอดเยี่ยมแห่งปี 1994"[50] กีตาร์เวิลด์ ให้ ดูกี อยู่อันดับ 13 ของรายชื่อ "ซูเปอร์อันโนวน์: 50 อัลบัมรูปสัญญะ (iconic) ที่นิยามปี 1994"[51]
การได้รับเกียรติ
[แก้]ตั้งแต่ออก ดูกี ได้อยู่ในหลายรายชื่อ "ต้องมี" อยู่มากมาย ที่จัดขึ้นโดยสื่อดนตรี ด้านล่างคือรายชื่อที่โดดเด่นที่จัดให้ ดูกี อยู่ในรายชื่อ โดยข้อมูลดัดแปลงจากเว็บไซต์แอกเคลมด์มิสิก [52]
สิ่งพิมพ์ | ประเทศ | การได้รับเกียรติ | ปี | อันดับ |
---|---|---|---|---|
เคอร์แรง! | สหราชอาณาจักร | เดอะเคอร์แรง! 100 อัลบัมที่คุณต้องฟังก่อนตาย[53] | 1998 | 33 |
คลาสสิกร็อกแอนด์เมทัลแฮมเมอร์ | สหราชอาณาจักร | 200 อัลบัมยอดเยี่ยมแห่งคริสต์ทศวรรษ 1990[54] | 2006 | N/A |
รอเบิร์ต ดิเมอรี | สหรัฐ | 1001 อัลบัมที่คุณต้องฟังก่อนตาย[55] | 2005 | N/A |
โรลลิงสโตน | สหรัฐ | 500 อัลบัมยอดเยี่ยมตลอดกาล[8] | 2012 | 193 |
โรลลิงสโตน | สหรัฐ | อัลบัมยอดเยี่ยมแห่งปี 1994 (จากผู้อ่าน)[56] | 1994 | 1 |
โรลลิงสโตน | สหรัฐ | 1994: 40 งานเพลงยอดเยี่ยมจากปียอดเยี่ยมของออลเทอร์นาทิฟกระแสหลัก[49] | 2014 | 1 |
ลาวด์ไวร์ | สหรัฐ | 10 อัลบัมฮาร์ดร็อกยอดเยี่ยมแห่งปี 1994[50] | 2014 | 1 |
โรลลิงสโตน | สหรัฐ | 100 อัลบัมยอดเยี่ยมแห่งยุค 90[57] | 2010 | 30 |
สปิน | สหรัฐ | 100 อัลบัมยอดเยี่ยม, 1985–2005[58] | 2005 | 44 |
หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล | สหรัฐ | เดอะเดฟินิทีฟ 200[59] | 2005 | 50 |
เคอร์แรง! | สหราชอาณาจักร | 51 อัลบัมป็อปพังก์ยอดเยี่ยมที่เคยมีมา[60] | 2015 | 2 |
การแสดงสด
[แก้]ทันทีหลังออกจำหน่าย วงเริ่มออกทัวร์ระดับประเทศ โดยเริ่มต้นในสหรัฐที่พวกเขาใช้ห้องสมุดเคลื่อนที่ที่เป็นของพ่อเทร คูล ใช้ในการเดินทางระหว่างโชว์[11] มีผู้ชมนับล้านได้เห็นการแสดงของกรีนเดย์ที่งานวูดสต็อก '94 ผ่านระบบจ่ายเมื่อรับชมซึ่งทำให้วงมีแฟนเพลงมากขึ้น งานนี้มีเรื่องอื้อฉาวที่เป็นที่ที่วงใช้โคลนสู้กับฝูงชน[61] ไปจนจบโชว์ของกรีนเดย์[62] ระหว่างการสู้นี้ ผู้รักษาความปลอดภัยเข้าใจผิดว่าเดินต์เป็นแฟนเพลง จึงตะครุบตัวเขาแล้วโยนเขาเข้ากับจอมอนิเตอร์ เป็นเหตุให้เขาได้รับบาดเจ็บที่แขนและฟันหัก 2 ซี่[63]
วงปรากฏตัวที่งานลอลลาพาลูซา และซีวันฮันเดรดอะคูสติกคริสต์มาสที่เมดิสันสแควร์การ์เดน โดยอาร์มสตรองแสดงเพลง "ชี" ในสภาพเปลือยเปล่า[64] วงออกทัวร์ไปทั่วสหรัฐและแคนาดา จากนั้นก็แสดงอีกไม่กี่โชว์ในยุโรป ก่อนที่จะบันทึกเสียงงานอัลบัมชุดถัดไป อินซอมนิแอก ระหว่างการทัวร์อาร์มสตรองคิดถึงบ้าน ภรรยาเขา เอเดรียน อาร์มสตรอง ซึ่งได้แต่งงานกันไม่นานหลังออกอัลบัม ดูกี ก็ได้ตั้งครรภ์ระยะเวลาแทบจะทั้งทัวร์ อาร์มสตรองรู้สึกหงุดหงิดที่ไม่สามารถช่วยเหลือและเอาใจใส่เธอได้[11]
เดือนสิงหาคม 2013 มีการเล่นเพลงทั้งหมดในอัลบัม ดูกี ที่สถาบันบริกซ์ตันในลอนดอนและเทศกาลเรดิงและลีดส์เพื่อเป็นฉลองในวาระจะครบรอบ 20 ปีของอัลบัม[31][65]
รายชื่อเพลง
[แก้]เนื้อเพลงทั้งหมดแต่งโดย บิลลี โจ อาร์มสตรอง เว้นในหมายเหตุ ดนตรีทั้งหมดประพันธ์โดยกรีนเดย์[66]
ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
1. | "Burnout" | 2:07 |
2. | "Having a Blast" | 2:44 |
3. | "Chump" | 2:54 |
4. | "Longview" | 3:59 |
5. | "Welcome to Paradise" (ฉบับบันทึกเสียงใหม่) | 3:44 |
6. | "Pulling Teeth" | 2:31 |
7. | "Basket Case" | 3:01 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
8. | "She" | 2:14 |
9. | "Sassafras Roots" | 2:37 |
10. | "When I Come Around" | 2:58 |
11. | "Coming Clean" | 1:34 |
12. | "Emenius Sleepus" (เนื้อเพลงแต่งโดยไมก์ เดินต์) | 1:43 |
13. | "In the End" | 1:46 |
14. | "F.O.D." (เพลงจบที่เวลา 2:50 จากนั้นจึงตามด้วยเพลงซ่อน "All by Myself" แต่งและร้องโดยเทร คูล โดยเริ่มที่เวลา 4:07) | 5:46 |
ความยาวทั้งหมด: | 39:38 |
ฉบับไอทูนส์/กูเกิล เพลย์/สปอติฟาย
[แก้]ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
14. | "F.O.D." | 2:50 |
15. | "All by Myself" (แต่งและร้องโดยเทร คูล) | 1:40 |
ความยาวทั้งหมด: | 38:22 |
คณะผู้สร้างอัลบั้ม
[แก้]กรีนเดย์
- บิลลี โจ อาร์มสตรอง — ร้องนำ, กีตาร์
- ไมก์ เดินต์ — เบส, ร้องประสาน
- เทร คูล — กลอง, กีตาร์และร้องนำในเพลง "All by Myself"
- ร็อบ คาวัลโล; โปรดิวเซอร์ ผสมเสียง
- เจอร์รี ฟินน์ — ผสมเสียง
- นีล คิง — วิศวกร[68]
- เคซี แม็กแครงกิน — วิศวกร
- ริชชี บุเชอร์ — ศิลปินปก
- เคน เชลส – ถ่ายภาพ
- แพต ไฮนส์ – งานศิลป์อนุสาร
ชาร์ตและการรับรอง
[แก้]
ชาร์ต[แก้]
ชาร์ตสิ้นปี[แก้]
ชาร์ตสิ้นทศวรรษ[แก้]
|
การรับรอง[แก้]
|
ซิงเกิล
[แก้]ปี | เพลง | อันดับสูงสุด | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ยูเอส มอเดิร์นร็อกแทรกส์ [95] |
ยูเอส เมนสตรีมร็อกแทรกส์ [96] |
ยูเค [20] |
แคนาดา [97][98] |
สวีเดน [72] |
นิวซีแลนด์ [28] |
ฝรั่งเศส [99] | ||
1994 | "ลองวิว" | 1 | 13 | 30 | — | — | — | — |
1994 | "เวลคัมทูพาราไดส์" | 7 | — | 20 | — | — | 21 | — |
1994 | "บาสเกตเคส" | 1 | 9 | 7 | 12 | 3 | 21 | 35 |
1995 | "เวนไอคัมอะราวด์" | 1 | 2 | 27 | 3 | 28 | 4 | — |
1995 | "ชี" | 5 | 18 | — | — | — | — | — |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kjersti Egerdahl (2010). Green Day: A Musical Biography. ABC-CLIO. p. 58. ISBN 0313365970.
- ↑ "Amazon.com – Dookie – Music".
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Green Day – Chart history – Billboard". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ 2014-05-23.
- ↑ "1994 album releases". Times Union. 2013-02-08. สืบค้นเมื่อ 2014-05-23.
- ↑ 5.0 5.1 Zac Crain (1997-10-23). "Green Day Family Values – Page 1 – Music – Miami". Miami New Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-22. สืบค้นเมื่อ 2013-09-02.
- ↑ "Green Day – Chart history – Billboard". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ 2014-05-23.
- ↑ "The 1995 Grammy Winners". The New York Times. 1995-03-03. สืบค้นเมื่อ 2014-05-23.
- ↑ 8.0 8.1 "The 500 Greatest Albums of All Time". Rolling Stone. 2003-12-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-20. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.(ต้องรับบริการ)
- ↑ Adam, Chandler (2014-02-01). "Green Day's Album 'Dookie' Is 20 Years Old Today". Yahoo! Music. สืบค้นเมื่อ 2014-05-23.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Ultimate Albums: Green Day's "Dookie". VH1. 1994.
- ↑ 11.00 11.01 11.02 11.03 11.04 11.05 11.06 11.07 11.08 11.09 11.10 11.11 11.12 11.13 "Green Day". Behind the Music. 2001. VH1.
- ↑ 12.0 12.1 "Green Day Biography". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
- ↑ "What Happened Next..." Guitar Legends. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-27. สืบค้นเมื่อ 2006-09-26.
- ↑ Smith, RJ (August 1999). "Top 90 Albums of the 90's". SPIN.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 15.6 15.7 "Billie Joe Armstrong Interview on VH1". VH1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-08-09. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ @billiejoe (9 February 2011). "I wrote "having a blast" in cleveland..." (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 2011-02-12 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ Mundy, Chris (January 26, 1995). "Green Day: Best New Band". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-24. สืบค้นเมื่อ November 19, 2015.
- ↑ "Green Day Music Videos". Green Day. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-03. สืบค้นเมื่อ 2007-07-20.
- ↑ "Green Day single chart history". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-05. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ 20.0 20.1 20.2 "UK album chart archives". everyhit.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-18. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
- ↑ Fricke, David (February 3, 2014). "'Dookie' at 20: Billie Joe Armstrong on Green Day's Punk Blockbuster". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-09. สืบค้นเมื่อ January 29, 2015.
- ↑ Richard Buskin. "Green Day: 'Basket Case'". Soundonsound.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-01. สืบค้นเมื่อ 2013-10-30.
- ↑ "Interview with The Advocate magazine". The Advocate. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-03-09. สืบค้นเมื่อ 2007-07-27.
- ↑ "Song Meanings". Green Day Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-06-18.
- ↑ Cizmar, Martin (February 18, 2014). "Where's Angus?". Willamette Week. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2016. สืบค้นเมื่อ October 14, 2016.
- ↑ "Dookie". Ultimate Albums. ตอน 2. March 17, 2002. VH1.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 Erlewine, Stephen Thomas. "Dookie – Green Day". AllMusic. สืบค้นเมื่อ March 30, 2018.
- ↑ 28.0 28.1 "New Zealand album chart archives". charts.org.nz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
- ↑ Gaar, Gillian (2009-10-28). "Green Day: Rebels With a Cause".
- ↑ "Diamond Certified Albums". RIAA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-25. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
- ↑ 31.0 31.1 "Green Day 'Dookie' Set: Billie Joe Armstrong & Rockers Perform 1994 Album In Entirety For London Show [WATCH] : Music News". Mstarz. 2013-08-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-17. สืบค้นเมื่อ 2013-09-02.
- ↑ Raub, Jesse (June 22, 2010). "Green Day – Dookie". Alternative Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 29, 2010. สืบค้นเมื่อ August 22, 2015.
- ↑ Payne, Chris (February 1, 2014). "Green Day's 'Dookie' at 20: Classic Track-By-Track Review". Billboard. สืบค้นเมื่อ August 22, 2015.
- ↑ DeRogatis, Jim (February 20, 1994). "Green Day, 'Dookie' (Warner Bros.)". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-18. สืบค้นเมื่อ September 24, 2015.
- ↑ Kot, Greg (March 4, 1994). "Green Day: Dookie (Reprise)". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ September 24, 2015.
- ↑ Barker, Emily (January 29, 2014). "25 Seminal Albums From 1994 – And What NME Said At The Time". NME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 9, 2015. สืบค้นเมื่อ July 8, 2015.
- ↑ Hogan, Marc (May 7, 2017). "Green Day: Dookie". Pitchfork. สืบค้นเมื่อ May 8, 2017.
- ↑ Catucci, Nick (2004). "Green Day". ใน Brackett, Nathan; Hoard, Christian (บ.ก.). The New Rolling Stone Album Guide. Simon & Schuster. pp. 347–48. ISBN 0-7432-0169-8.
- ↑ Weisbard, Eric; Marks, Craig, บ.ก. (1995). Spin Alternative Record Guide. Vintage Books. ISBN 0-679-75574-8.
- ↑ Christgau, Robert (October 18, 1994). "Consumer Guide". The Village Voice. สืบค้นเมื่อ August 22, 2015.
- ↑ Lamb, Bill (July 17, 2013). "Green Day – Dookie". Top40.about.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 9, 2013. สืบค้นเมื่อ August 12, 2013.
- ↑ "The Best Music of 1994". Time. 1994-12-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2007-07-21.
- ↑ Pareles, Jon (1995-01-05). "The Pop Life". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-07-21.
- ↑ "Green Day". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 17, 2012. สืบค้นเมื่อ February 14, 2015.
- ↑ Strauss, Neil (1995-02-05). "POP VIEW; Has Success Spoiled Green Day?". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-07-21.
- ↑ Joe D'angelo (2004-09-15). "How Green Day's Dookie Fertilized A Punk-Rock Revival". MTV.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-16. สืบค้นเมื่อ 2014-06-17.
- ↑ Melissa Bobbitt (2014-04-08). "The Offspring's 'Smash' Turns 20". About.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-12. สืบค้นเมื่อ 2014-06-17.
- ↑ "Green Day's 'Dookie' Turns 20: Musicians Revisit the Punk Classic – Features – Fuse". Fuse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 23, 2015. สืบค้นเมื่อ February 14, 2015.
- ↑ 49.0 49.1 "1994– The 40 Best Records From Mainstream Alternative's Greatest Year – Rolling Stone". Rolling Stone. April 17, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-16. สืบค้นเมื่อ May 23, 2014.
- ↑ 50.0 50.1 "10 Best Hard Rock Albums of 1994". Loudwire. May 20, 2014. สืบค้นเมื่อ May 23, 2014.
- ↑ "Superunknown: 50 Iconic Albums That Defined 1994". GuitarWorld.com. July 14, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 15, 2014. สืบค้นเมื่อ July 14, 2014.
- ↑ "List of Dookie Accolades". Acclaimed Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-07-17.
- ↑ "Kerrang! – The Kerrang! 100 Albums You Must Hear Before You Die". AcclaimedMusic.net. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
- ↑ "Acclaimed Music – Classic Rock and Metal Hammer 200 List". AcclaimedMusic.net. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
- ↑ Dimery, Robert – 1001 Albums You Must Hear Before You Die; page 855
- ↑ "Rocklist.net....Rolling Stone (USA) End of Year Lists". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-28.
- ↑ "100 Best Albums of the Nineties: Green Day, 'Dookie'". Rolling Stone. 2011-04-27. สืบค้นเมื่อ 2011-08-03.
- ↑ "Spin Magazine – 100 Greatest Albums, 1985–2005". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-11. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
- ↑ "The Definitive 200". Rock and Roll Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 13, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-08-18.
- ↑ "51 Greatest Pop Punk Albums Ever". Kerrang! (1586): 18–25. September 16, 2015.
- ↑ VH1's VH1 40 Freakiest Concert Moments: #40 Mudstock – 2006
- ↑ "Wood Stock 1994 Mudfight description". Chiff. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-03. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
- ↑ "When I Come Around Facts". Song Facts. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
- ↑ "Green Day Tour Notes". Geek Stink Breath. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
- ↑ "Green Day play 'Dookie' during Reading Festival 2013 headline show | News". Nme.Com. 2013-08-23. สืบค้นเมื่อ 2014-02-25.
- ↑ 66.0 66.1 "Green Day – Dookie (Vinyl, LP, Album) at Discogs". Discogs. สืบค้นเมื่อ 2014-05-23.
- ↑ "Release "Dookie" by Green Day – MusicBrainz". MusicBrainz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-17. สืบค้นเมื่อ 2014-05-23.
- ↑ "Green Day: 'Basket Case' –". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-08.
- ↑ 69.0 69.1 "Discography Green Day". australian-charts.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-16. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
- ↑ 70.0 70.1 "Top Albums/CDs – Volume 60, No. 25, January 23, 1995". RPM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2012. สืบค้นเมื่อ 2010-11-29.
- ↑ "Hits of the World – Spain". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. 13 May 1995. p. 60. สืบค้นเมื่อ 5 September 2017.
- ↑ 72.0 72.1 72.2 "Swedish album chart archives". hitparad.se. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
- ↑ 73.0 73.1 "GREEN DAY – Artist – Official Charts". Official Charts Company.
- ↑ "Year End Sales Charts – European Top 100 Albums 1995" (PDF). Music & Media. December 23, 1995. p. 14. สืบค้นเมื่อ July 29, 2018.
{{cite magazine}}
: Cite magazine ต้องการ|magazine=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "Top 100 Album-Jahrescharts" (ภาษาเยอรมัน). GfK Entertainment. สืบค้นเมื่อ August 13, 2018.
- ↑ Geoff Mayfield (December 25, 1999). 1999 The Year in Music Totally '90s: Diary of a Decade – The listing of Top Pop Albums of the '90s & Hot 100 Singles of the '90s. Billboard. สืบค้นเมื่อ October 15, 2010.
- ↑ "Internet Archive Wayback Machine". 6 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2011.
{{cite web}}
: Cite ใช้ชื่อทั่วไป (help) - ↑ "ARIA Charts – Accreditations – 2011 Albums". Australian Recording Industry Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-28. สืบค้นเมื่อ 2014-11-16.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2010-08-30.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ abpd.org.br/home/certificados/?busca_artista=Green+Day
- ↑ "Gold Platinum Database: Green Day – Dookie". Canadian Recording Industry Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-17. สืบค้นเมื่อ 2011-12-21.
- ↑ "IFPI Platinum Europe Awards". 24 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2013.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-02. สืบค้นเมื่อ 2014-07-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Musiikkituottajat – Tilastot – Kulta- ja platinalevyt". IFPI.fi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-28. สืบค้นเมื่อ February 14, 2015.
- ↑ "The Irish Charts – All there is to know". 4 June 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2009.
- ↑ Italian Album Certifications เก็บถาวร ตุลาคม 6, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ https://web.archive.org/web/20110724195817/http://www.radioscope.net.nz/index.php?option=com_content&task=view&id=79&Itemid=62
- ↑ "Bestseller charts and awards :: Polish Society of the Phonographic Industry". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-03. สืบค้นเมื่อ 2011-05-10.
- ↑ "Pełny Tekst Regulaminu Przyznawania Wyróżnień". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-29. สืบค้นเมื่อ 2011-05-10.
- ↑ "Gold & Platinum 1987 – 1998 (In Swedish, Page 16)" (PDF). ifpi.se. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-21. สืบค้นเมื่อ 2010-02-07.
- ↑ "Gold & Platinum (In Swedish)". ifpi.se. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-11. สืบค้นเมื่อ 2010-02-07.
- ↑ "BPI Awards Search". bpi.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-25. สืบค้นเมื่อ 2014-11-16.
- ↑ Copsey, Rob (October 6, 2016). "Green Day's biggest singles – the ultimate punk-rock playlist". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ October 6, 2016.
- ↑ 94.0 94.1 "Gold and Platinum". RIAA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2009-06-10.
- ↑ "Green Day Album & Song Chart History – Alternative Songs". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.
- ↑ "Green Day – Billboard Singles". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.
- ↑ "Top Singles – Volume 60, No. 17, November 14, 1994". RPM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2012. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.
- ↑ "Top Singles – Volume 61, No. 3, February 20, 1995". RPM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2012. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.
- ↑ "Green Day French single chart history". สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.