ข้ามไปเนื้อหา

ดักลาส แมกอาเธอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดักลาส แมกอาเธอร์
26 มกราคม ค.ศ. 1880(1880-01-26) – 5 เมษายน ค.ศ. 1964(1964-04-05) (84 ปี)


ดักลาส แมกอาร์เธอร์ (ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2488)
ฉายา/ราชทินนาม "Gaijin Shogun (โชกุนต่างด้าว)"
"Dugout Doug"
"หัวหน้าใหญ่(Big Chief)"
เกิดที่ ลิตเทิลร็อก อาร์คันซอ สหรัฐ
อนิจกรรมที่ วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ
เหล่าทัพ  กองทัพบกสหรัฐ
กองทัพฟิลิปปินส์ สหประชาชาติ
ปีปฏิบัติงาน พ.ศ. 2446-2507
ยศสูงสุด จอมพล
จอมพล (กองทัพฟิลิปปินส์)
รับใช้ สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา
ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
บัญชาการ ผู้บัญชาการกองกำลังความมั่นคงแห่งสหประชาติ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตร
ผู้บัญชาการทหารแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้
กองทัพสหรัฐแห่งตะวันออกไกล
เสนาธิการทหารฟิลิปปินส์
เสนาธิการทหารสหรัฐฯ
กองกำลังฟิลิปปินส์
ผู้กำกับการโรงเรียนทหารสหรัฐฯ
กองพลทหารราบที่ 42
กองพลทหารราบที่ 84
การยุทธ สงครามปฏิวัติเม็กซิกัน
 • การยึดครองที่เบรากรุซ
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
 • การยุทธที่มาร์น
 • ยุทธการเซนต์มิฮิเอล
 • ปฏิบัติการมูส-อาร์กอนน์
สงครามโลกครั้งที่สอง
 • การทัพฟิลิปปินส์ครั่งที่หนึ่ง(พ.ศ. 2484–2485)
 • การทัพนิวกินี
 • การทัพฟิลิปปินส์ครั้งที่สอง(พ.ศ. 2487–2488)
 • การทัพบอร์เนียว พ.ศ. 2488
 • การยึดครองญี่ปุ่น
สงครามเกาหลี
 • การยุทธที่อินช็อน
 • การทัพสหประชาติ พ.ศ. 2493
 • การทัพจีนฤดูหนาว
 • การทัพสหประชาติ พ.ศ. 2494
บำเหน็จ Medal of Honor
Distinguished Service Cross (3)
Army Distinguished Service Medal (5)
Navy Distinguished Service Medal
Silver Star (7)
Distinguished Flying Cross
Bronze Star
Air Medal
Purple Heart (2)
Complete list
พลเอกแมกอาร์เธอร์กลับคืนสู่ฟิลิปปินส์ในการรบที่อ่าวเลเต หลังจากถอยจากการบุกของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2

จอมพล ดักลาส แมกอาร์เธอร์ (อังกฤษ: Douglas MacArthur; 26 มกราคม ค.ศ. 1880 - 5 เมษายน ค.ศ. 1964) เป็นชาวอเมริกันที่ดำรงตำแหน่งเป็นจอมพลแห่งกองทัพฟิลิปปินส์ เขาเป็นเสนาธิการทหารบกสหรัฐในช่วงปี 1930 และมีบทบาทที่สำคัญในเขตสงครามแปซิฟิกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้รับเหรียญมีเดล ออฟ ฮอนเนอร์ สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเขาในการทัพฟิลิปปินส์ ซึ่งทำให้เขาและพ่อของเขาอย่างอาเธอร์ แมกอาเธอร์ จูเนียร์ เป็นสองพ่อลูกคนแรกที่ได้รับเหรียญนี้ เขาเป็นหนึ่งในห้าคนเท่านั้นที่ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งยศเป็นพลเอกแห่งกองทัพในกองทัพสหรัฐ และเป็นเพียงคนเดียวที่ได้รับตำแหน่งยศเป็นจอมพลแห่งกองทัพฟิลิปปินส์

เขาเติบโตในครอบครัวทหารใน American Old West แมกอาเธอร์เป็นผู้แทนนักเรียนที่กล่าวสุนทรพจน์ในวันรับประกาศนียบัตรที่โรงเรียนการทหารเท็กซัสตะวันตก(West Texas Military Academy) โดยที่เขาได้เรียนจบในโรงเรียนมัธยมและดำรงตำแหน่งยศเป็นกัปตันที่หนึ่งในโรงเรียนการทหารสหรัฐที่เวสต์พอยต์ ซึ่งเขาได้จบการศึกษาในอันดับสูงสุดของระดับชั้น ในปี ค.ศ. 1903 ในช่วงที่สหรัฐเข้ายึดครองเวรากรูซ ปี ค.ศ. 1914 เขาได้ปฏิบัติภารกิจการลาดตระเวน ซึ่งเขาได้รับการเสนอชื่อในการรับเหรียญมีเดล ออฟ ฮอนเนอร์ ในปี ค.ศ. 1917 เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากยศพันตรีมาเป็นพันเอก และกลายเป็นหัวหน้าเสนาธิการของกองพล(เรนโบว์) ที่ 42 ในการต่อสู้รบในแนวรบด้านตะวันตกในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้ขึ้นสู่ตำแหน่งเป็นนายพลจัตวา ได้รับการเสนอชื่อในการรับเหรียญมีเดล ออฟ ฮอนเนอร์อีกครั้ง และได้รับเหรียญดิสทิงกวิชด์ เซอร์วิส ครอสส์ถึงสองครั้งและเหรียญซิลเวอร์ สตาร์ ถึงเจ็ดครั้ง

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1919 ถึง 1922 แมกอาเธอร์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนายการโรงเรียนการทหารสหรัฐที่เวสต์พอยต์ ซึ่งเขาได้พยายามปฏิรูปหลายครั้ง งานที่ได้รับมอบหมายต่อไปของเขาคือในฟิลิปปินส์ ซึ่งในปี ค.ศ. 1924 เขาได้มีส่วนช่วยในการปราบปรามพวกลูกเสือมูตินของฟิลิปปินส์ ในปี ค.ศ. 1925 เขาได้กลายเป็นพลตรีที่อายุน้อยที่สุดในกองทัพ เขาได้ทำหน้าที่ในศาลทหารของนายพลจัตวา Billy Mitchell และเป็นประธานคณะกรรมการโอลิมปินอเมริกันในช่วงโอลิมปิกฤดูร้อน ค.ศ. 1928 ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ในปี ค.ศ. 1930 เขาได้กลายเป็นเสนาธิการของกองทัพบกสหรัฐ ด้วยเหตุนี้ เขาจึงได้มีส่วนร่วมในการขับไล่กองทัพโบนัสผู้ประท้วงให้ออกไปจากรุงวอชิงตัน ดี ซี ในปี ค.ศ. 1932 และการจัดตั้งและจัดระเบียบของกองทัพน้อยอนุรักษ์พลเรือน เขาได้ลาออกจากกองทัพในปี ค.ศ. 1937 เพื่อกลายเป็นที่ปรึกษาทางทหารของรัฐบาลเครือจักรภพแห่งฟิลิปปินส์

แมกอาเธอร์ได้ถูกเรียกตัวให้เข้าปฏิบัติหน้าที่ในปี ค.ศ. 1941 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังกองทัพบกสหรัฐในตะวันออกไกล ได้เกิดหายนะที่ตามมาหลายครั้ง โดยเริ่มจากกองทัพอากาศของเขาได้ถูกทำลายลงในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 และญี่ปุ่นบุกครองฟิลิปปินส์ ในไม่ช้า, กองกำลังของแมกอาเธอร์ได้ถูกบังคับให้ล่าถอยไปที่บาตาอัน ซึ่งพวกเขาติดอยู่ที่แห่งนั้นจนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1942 แมกอาเธอร์ ครอบครัวของเขา และทหารลูกน้องของเขาได้ออกจากเกาะคอร์เรจิดอร์ด้วยเรือตอร์บิโดขนาดเล็ก และลี้ภัยไปยังออสเตรเลีย ที่ซึ่งแมกอาเธอร์ได้กลายเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในพื้นที่แปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อเขาได้เดินทางมาถึง แมกอาเธอร์ได้กล่าวสุนทรพจน์ซึ่งเขาได้ให้คำมั่นสัญญาว่า "ข้าพเจ้าจะกลับมา" ที่ฟิลิปปินส์ ภายหลังจากการสู้รบในแปซิฟิกมายาวนานกว่าสองปี เขาก็ได้ทำตามคำมั่นสัญญานั้น สำหรับการป้องกันฟิลิปปินส์ของเขา แมกอาเธอร์ก็ได้รับเหรียญมีเดล ออฟ ฮอนเนอร์ เขาได้ยอมรับการยอมจำนนของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 บนเรือยูเอสเอส มิสซูรี ซึ่งจอดทอดสมออยู่ที่อ่าวโตเกียว และเขาได้ควบคุมดูแลการยึดครองญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 ถึง ค.ศ. 1951 ในฐานะผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพของญี่ปุ่น เขาได้ควบคุมดูแลการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมอย่างกว้างขวางของญี่ปุ่น เขาได้เป็นผู้นำในกองบัญชาการสหประชาชาติในสงครามเกาหลีด้วยประสบความสำเร็จครั้งแรก อย่างไรก็ตาม การบุกครองเกาหลีเหนือซึ่งเป็นที่ถกเถียงกัน ได้กระตุ้นให้เกิดการแทรกแซงของจีนและความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่หลายต่อหลายครั้ง แมกอาเธอร์จึงถูกประธานาธิบดี แฮร์รี่ เอส ทรูแมน ปลดออกจากกองบัญชาการซึ่งเป็นที่ถกเถียงกัน เมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1951 ต่อมาเขาได้กลายเป็นประธานคณะกรรมการของเรมิงตัน แรนด์