ข้ามไปเนื้อหา

ดอลลาร์สหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดอลลาร์สหรัฐ
United States dollar (อังกฤษ)
ธนบัตร 1 ดอลลาร์สหรัฐ (ด้านหน้า)
ISO 4217
รหัสUSD
การตั้งชื่อ
หน่วยใหญ่
 10อีเกิล
หน่วยย่อย
1/10ไดม์
1/100เซนต์
สัญลักษณ์$, US$, U$
เซนต์¢
ชื่อเล่น
รายการ
ธนบัตร
 ใช้บ่อย$1, $5, $10, $20, $50, $100
 ไม่ค่อยใช้$2 (ยังคงพิมพ์อยู่); $500, $1,000, $5,000, $10,000 (ยุติแล้ว ยังคงใช้ได้ตามกฎหมาย)
เหรียญ
 ใช้บ่อย, , 10¢, 25¢
 ไม่ค่อยใช้50¢, $1 (ยังคงผลิตอยู่); 1/2¢, , , 20¢, $2.50, $3, $5, $10, $20 (ยุติแล้ว ยังคงใช้ได้ตามกฎหมาย)
ข้อมูลการใช้
วันที่เริ่มใช้2 เมษายน 1792; 232 ปีก่อน (1792-04-02)
 ที่มา[1]
แทนที่Continental currency
สกุลเงินต่างชาติหลายประเทศ เช่น:
ปอนด์สเตอร์ลิง
ดอลลาร์สเปน
ผู้ใช้ดู§ ทางการ (11), § ไม่ทางการ (7)
การตีพิมพ์
ธนาคารกลางระบบธนาคารกลางสหรัฐ
 เว็บไซต์federalreserve.gov
เจ้าของโรงพิมพ์Bureau of Engraving and Printing
 เว็บไซต์www.bep.gov
โรงพิมพ์ธนบัตรโรงกษาปณ์สหรัฐ
 เว็บไซต์usmint.gov
การประเมินค่า
อัตราเงินเฟ้อ3.7%
 ที่มา[1], สิงหาคม 2023
 วิธีดัชนีราคาผู้บริโภค
ผูกค่าโดยดู§ การผูกค่าสกุลเงิน

ดอลลาร์สหรัฐ (อังกฤษ: United States dollar สัญลักษณ์: $; รหัสสกุลเงิน: USD; หรือเรียกอีกอย่างว่า US$ เพื่อแยกความแตกต่างจากสกุลเงินอื่น ๆ ที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์; เรียกว่าดอลลาร์, ดอลลาร์สหรัฐ, ดอลลาร์อเมริกัน หรือเรียกขานกันว่า บั๊ก) เป็นสกุลเงินอย่างเป็นทางการของ สหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศ รัฐบัญญัติเหรียญกษาปณ์ปี 1792 กำหนดให้ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในระดับที่เท่าเทียมกับเงินดอลลาร์สเปน โดยแบ่งเป็น 100 เซ็นต์ และอนุญาตให้ผลิตเหรียญที่มีสกุลเงินดอลลาร์และเซนต์ได้ ธนบัตรของสหรัฐอเมริกาออกในรูปแบบ Federal Reserve Notes ซึ่งนิยมเรียกว่าธนบัตรเนื่องจากมีสีเขียวเป็นส่วนใหญ่[2]

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน ดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์นิวซีแลนด์ ดอลลาร์บรูไน เป็นต้น นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ[3] และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป

ดอลลาร์สหรัฐกลายเป็นสกุลเงินสำรองนานาชาติสำคัญหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และกลายเป็นสกุลเงินสำรองหลักของโลกแทนที่ปอนด์สเตอร์ลิงตามระบบเบรตตันวูดส์ช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินที่ใช้งานแพร่หลายที่สุดในธุรกรรมระหว่างประเทศ[4] และเป็นสกุลเงินลอยตัวแบบเสรี โดยยังเป็นสกุลเงินทางการในบางประเทศและสกุลเงินโดยพฤตินัยในอีกหลายแห่ง[5][6]

ชื่อเล่นที่ชาวอเมริกันเรียก 1 เซนต์ ว่า "เพนนี" (penny), 5 เซนต์ ว่า "นิกเกิล" (nickel), 10 เซนต์ ว่า "ไดม์" (dime), 25 เซนต์ ว่า "ควอเตอร์" (quarter), 1 ดอลลาร์สหรัฐ ว่า "บั๊ก (ภาษาสแลง)" (buck) และเรียก หนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ว่า แกรนด์ (grand)

เหรียญ

[แก้]

เหรียญกษาปณ์ที่มีการผลิตอยู่ในปัจจุบัน และใช้หมุนเวียนทั่วไป มีอยู่ทั้งหมด 6 ชนิด ดังนี้

มูลค่า ชื่อสามัญ ด้านหน้า ด้านหลัง ภาพด้านหน้าและวันที่ออกแบบ ลวดลายด้านหลังและวันที่ออกแบบ น้ำหนัก เส้นผ่าศูนย์กลาง ส่วนประกอบ ขอบ หมุนเวียน
เซนต์
เพนนี อับราฮัม ลิงคอล์น (1909) ยูเนียนชีลด์ (2010) 2.5 กรัม (0.088 ออนซ์) 0.75 นิ้ว (19.05 มิลลิเมตร) สังกะสี 97.5% ครอบด้วยทองแดง 2.5% เรียบ แพร่หลาย
5 เซนต์
นิกเกิล ทอมัส เจฟเฟอร์สัน (2006) มอนทิเชลโล (1938) 5.0 กรัม (0.176 ออนซ์) 0.835 นิ้ว (21.21 มิลลิเมตร) ทองแดง 75%
นิกเกิล 25%
เรียบ แพร่หลาย
10 เซนต์
10¢
ไดม์ แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์ (1946) กิ่งมะกอก, คบเพลิง และกิ่งโอ๊ก (1946) 0.08 ออนซ์ (2.268 กรัม) 0.705 นิ้ว (17.91 มิลลิเมตร) ทองแดง 91.67%
นิกเกิล 8.33%
118 หยัก แพร่หลาย
25 เซนต์
25¢
ควอเตอร์ จอร์จ วอชิงตัน (1932) หลายแบบ (5 แบบต่อปี) 0.2 ออนซ์ (5.67 กรัม) 0.955 นิ้ว (24.26 มิลลิเมตร) ทองแดง 91.67%
นิกเกิล 8.33%
119 หยัก แพร่หลาย
50 เซนต์
50¢
ฮาล์ฟดอลลาร์ จอห์น เอฟ. เคนเนดี (1964) ตราประธานาธิบดี (1964) 0.4 ออนซ์ (11.34 กรัม) 1.205 นิ้ว (30.61 มิลลิเมตร) ทองแดง 91.67%
นิกเกิล 8.33%
150 หยัก จำกัด
1 ดอลลาร์
$1
เหรียญดอลลาร์, โกลเดนดอลลาร์ ซาคาจาเวีย

(2000)

หลายแบบ (4 แบบต่อปี) 8.10 กรัม (0.286 ออนซ์) 26.50 มิลลิเมตร (1.043 นิ้ว) ทองแดง 88.5%
สังกะสี 6%
แมงกานีส 3.5%
นิกเกิล 2%
เรียบ 2000–2006
มีตัวอักษร 2007–ปัจจุบัน
จำกัด

ธนบัตร

[แก้]

ธนบัตรที่มีการผลิตอยู่และใช้หมุนเวียนทั่วไปอยู่ในปัจจุบัน มี 7 ชนิด ดังนี้

มูลค่า หน้า หลัง บุคคล ลวดลายด้านหลัง ชุดแรก ชุดล่าสุด หมุนเวียน
1 ดอลลาร์ จอร์จ วอชิงตัน มหาลัญจกรของสหรัฐ Series 1963[a]
Series 1935[b]
Series 2021[7] แพร่หลาย
2 ดอลลาร์ ทอมัส เจฟเฟอร์สัน Declaration of Independence โดย จอห์น ทรัมบูล Series 1976 Series 2017A จำกัด
5 ดอลลาร์ อับราฮัม ลินคอล์น อนุสรณ์สถานลินคอล์น Series 2006 Series 2021[8] แพร่หลาย
10 ดอลลาร์ อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน Treasury Building Series 2004A Series 2017A แพร่หลาย
20 ดอลลาร์ แอนดรูว์ แจ็กสัน ทำเนียบขาว Series 2004 Series 2017A แพร่หลาย
50 ดอลลาร์ ยูลิสซีส เอส. แกรนต์ อาคารรัฐสภาสหรัฐ Series 2004 Series 2017A แพร่หลาย
100 ดอลลาร์ เบนจามิน แฟรงคลิน อินดิเพนเดนซ์ฮอลล์ Series 2009A[9] Series 2017A แพร่หลาย

ประเทศที่ใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

[แก้]

ทางการ

[แก้]

ไม่ทางการ

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ด้านหน้า
  2. ด้านหลัง
  3. ใช้งานร่วมกับเรียลกัมพูชา
  4. ใช้งานร่วมกับเซ็งตาวูติมอร์-เลสเต
  5. ใช้งานร่วมกับเซนตาโบเอกวาดอร์
  6. ใช้งานร่วมกับบิตคอยน์
  7. ใช้งานร่วมกับดอลลาร์ไลบีเรีย
  8. ใช้งานร่วมกับบัลบัวปานามา
  9. ใช้งานร่วมกับซิมดอลลาร์
  10. 10.0 10.1 10.2 ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
  11. 11.0 11.1 11.2 สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
  12. ใช้งานร่วมกับปอนด์สเตอร์ลิง
  13. มีการใช้งานเหรียญสหรัฐจำนวนเล็กน้อยหมุนเวียนไปพร้อม ๆ กับดอลลาร์แคนาดา และเป็นที่ยอมรับตามมูลค่าจากผู้ค้าปลีก ธนาคาร และเครื่องแลกเหรียญส่วนใหญ่

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Coinage Act of 1792" (PDF). United States Congress. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 7, 2004. สืบค้นเมื่อ April 2, 2008.
  2. "The Implementation of Monetary Policy - The Federal Reserve in the International Sphere" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.
  3. Benjamin J. Cohen, The Future of Money, Princeton University Press, 2006, ISBN 0-691-11666-0; cf. "the dollar is the de facto currency in Cambodia", Charles Agar, Frommer's Vietnam, 2006, ISBN 0-471-79816-9, p. 17
  4. "The Implementation of Monetary Policy – The Federal Reserve in the International Sphere" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2017. สืบค้นเมื่อ October 17, 2018.
  5. Cohen, Benjamin J. 2006. The Future of Money, Princeton University Press. ISBN 0-691-11666-0.
  6. Agar, Charles. 2006. Vietnam, (Frommer's). ISBN 0-471-79816-9. p. 17: "the dollar is the de facto currency in Cambodia."
  7. "USPaperMoney.Info: Series 2017A $1". www.uspapermoney.info. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2020. สืบค้นเมื่อ February 7, 2020.
  8. "5 Dollars (Federal Reserve Note; colored) - United States". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 7, 2023. สืบค้นเมื่อ June 7, 2023.
  9. "$100 Note | U.S. Currency Education Program". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 20, 2020. สืบค้นเมื่อ April 22, 2021.
  10. Nay Im, Tal; Dabadie, Michel (March 31, 2007). "Dollarization in Cambodia" (PDF). National Bank of Cambodia (ภาษาอังกฤษ). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2022. สืบค้นเมื่อ April 11, 2022.
  11. Nagumo, Jada (August 4, 2021). "Cambodia aims to wean off US dollar dependence with digital currency". Nikkei Asia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2022. สืบค้นเมื่อ April 11, 2022. Cambodia runs a dual-currency system, with the U.S. dollar widely circulating in its economy. The country's dollarization began in the 1980s and 90s, following years of civil war and unrest.
  12. "Central Bank of Timor-Leste". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 1, 2019. สืบค้นเมื่อ March 22, 2017. The official currency of Timor-Leste is the United States dollar, which is legal tender for all payments made in cash.
  13. "Ecuador". CIA World Factbook. October 18, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 10, 2021. สืบค้นเมื่อ October 17, 2018. The dollar is legal tender
  14. "El Salvador". CIA World Factbook. October 21, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 7, 2021. สืบค้นเมื่อ October 17, 2018. The US dollar became El Salvador's currency in 2001
  15. "Currency". Central Bank of Liberia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2023. สืบค้นเมื่อ January 15, 2023.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ภาพสกุลเงินและเหรียญสหรัฐ

[แก้]