ฌัก การ์ตีเย (ช่างทำอัญมณี)
ฌัก การ์ตีเย | |
---|---|
เกิด | 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1884 |
เสียชีวิต | 10 กันยายน ค.ศ. 1941 | (57 ปี)
อาชีพ |
|
มีชื่อเสียงจาก | เป็นผู้บริหารบริษัทคาร์เทียร์ |
ฌัก-ธีโอดูเล การ์ตีเย (ฝรั่งเศส: Jacques-Théodule Cartier; 2 กุมภาพันธ์ 1884–10 กันยายน 1941) เป็นช่างทำอัญมณีชาวฝรั่งเศส และผู้บริหารบริษัทเครื่องประดับคาร์เทียร์ หรือ การ์ตีเย ในภาษาฝรั่งเศส
ชีวิตในวัยเด็ก
[แก้]ฌักเกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1884 ที่ปารีส เขาเป็นลูกชายคนเล็กในบรรดาลูกชายสามคนของ อัลเฟร็ด การ์ตีเย (1841–1925) และ อเมลี อลิซ การ์ตีเย (1853–1914) พี่ชายสองคนของเขาคือปิแอร์ การ์ตีเย และหลุยส์ การ์ตีเย ปู่ของเขา หลุยส์-ฟร็องซัวส์ การ์ตีเย ได้เข้าซื้อกิจการร้านขายเครื่องประดับของ อดอลฟี ปิการ์ ซึ่งเป็นอาจารย์ของเขาใน ค.ศ. 1847 ถือเป็นการก่อตั้งบริษัทเครื่องประดับการ์ตีเย (คาร์เทียร์) ที่มีชื่อเสียง
ฌักสำเร็จการศึกษาจาก Collège Stanislas de Paris
อาชีพ
[แก้]ฌักทำงานร่วมกับพี่ชายสองคนของเขาเพื่อสร้างชื่อให้กับ 'คาร์เทียร์' ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวให้มีชื่อเสียงในระดับโลก ทั้งในด้านเครื่องประดับและนาฬิกา ในขณะที่ฌักเปิดและบริหารร้านในลอนดอน ปิแอร์ก็เปิดและบริหารร้านในนิวยอร์ก ฌักรับผิดชอบการดำเนินงานของคาร์เทียร์ที่ลอนดอนใน ค.ศ. 1909 และในที่สุดก็ย้ายไปอยู่ที่ตำแหน่งปัจจุบันที่ 175 New Bond Street ในขณะเดียวกัน หลุยส์เป็นนักออกแบบที่สร้างผลิตภัณฑ์สไตล์คาร์เทียร์ที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบัน[1]
ฌักโชคดีมากที่ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหญิงมาทิลเด พระญาติของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ซึ่งมีส่วนช่วยส่งเสริมธุรกิจของคาร์เทียร์[2] ในช่วงต้นทศวรรษ 1900 "คาร์เทียร์กลายเป็นช่างทำอัญมณีให้กับ ร็อคกี้เฟลเลอร์, Vanderbilts, ฟอร์ด, มอร์แกน, สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร, พระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนีย และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งใน ค.ศ. 1907 ตรงกับการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ของพระองค์ Hans Nadelhoffer ซึ่งเป็นผู้เขียนชีวประวัติของคาร์เทียร์ได้กล่าวว่า พระองค์ทรงซื้อกำไลคาร์เทียร์มูลค่า 450,000 ดอลลาร์[3]
หลังจากพวกเขาประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง หลุยส์และปิแอร์ต่างก็ตัดสินใจแต่งงาน ในขณะที่ฌักยุ่งอยู่กับการสนองความต้องการและความปรารถนาของราชวงศ์ และเดินทางไปต่างประเทศเพื่อค้นหาอัญมณีที่มีเอกลักษณ์และโดดเด่น ฌักไปที่อ่าวเปอร์เซียเพื่อค้นหาไข่มุกที่สมบูรณ์แบบ จากนั้นฌักเดินทางไปอินเดียโดยนำเครื่องเพชรพลอยอันงดงามของบรรดามหาราชาในท้องถิ่นกลับไปที่สตูดิโอในลอนดอนเพื่อออกแบบใหม่และปรับเปลี่ยนเพื่อการใช้งานของผู้สวมใส่ ปิแอร์และฌักร่วมกันซื้อไข่มุกและอัญมณีล้ำค่าจำนวนมากจากเจ้าชายอินเดีย เอกลักษณ์ของไข่มุกและอัญมณีทำให้เครื่องประดับแต่ละชิ้นมีความพิเศษ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจของพวกเขาประสบความสำเร็จ[4]
ฌักเปิดร้านในลอนดอนจนกระทั่งเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1941 หลุยส์พี่ชายของเขาเสียชีวิตในปีถัดมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1942[5] ตระกูลการ์ตีเยสิ้นสุดการบริหารธุรกิจของตระกูลในปี ค.ศ. 1964 เนื่องจากการจากไปของปิแอร์[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Price, J. "Masterpieces of French Jewelry". Running Press.
{{cite web}}
:|url=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ Brickell, Francesca Cartier (26 November 2019). "'The Cartiers: The Untold Story Behind the Jewelry Empire,' by Francesca Cartier Brickell: An Excerpt". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 3 March 2020.
- ↑ Sansom, Ian (9 July 2011). "Great Dynasties of the World: The Cartiers". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 27 February 2012.
- ↑ Misiorowski, Elise B. (Spring 1986). "Book review: Cartier Jewelers Extraordinary by Hans Nadelhoffer". Gems and Geology: 64. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2013. สืบค้นเมื่อ 27 February 2012.
- ↑ "LOUIS CARTIER, 67, OF JEWELRY FIRM; Grandson of the Founder of Cartier, Inc., Who Headed Its Paris Branch, Dies Here NOTED FOR HIS DESIGNS Collector of Islamic Paintings Was Expert on Iranian Art -- Retired in 1932" (PDF). The New York Times. 24 July 1942. สืบค้นเมื่อ 3 March 2020.
- ↑ "PIERRE CARTIER, JEWELER, IS DEAD; Member of Noted French Family Founded Store Here" (PDF). The New York Times. 29 October 1964. สืบค้นเมื่อ 3 March 2020.