ข้ามไปเนื้อหา

ซูเปอร์มาริโอแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซูเปอร์มาริโอแลนด์
ผู้พัฒนานินเท็นโดอาร์แอนด์ดีวัน
ผู้จัดจำหน่ายนินเท็นโด
กำกับซาโตรุ โอกาดะ
อำนวยการผลิตกูนเป โยโกอิ
แต่งเพลงฮิโรกาซุ ทานากะ
ชุดซูเปอร์มาริโอ
เครื่องเล่นเกมบอย
วางจำหน่าย
  • JP: 21 เมษายน 1989
  • NA: 11 สิงหาคม 1989
แนวเกมแพลตฟอร์ม
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว

ซูเปอร์มาริโอแลนด์ (อังกฤษ: Super Mario Land ญี่ปุ่น: スーパーマリオランド; Sūpā Mario Rando) เป็นวิดีโอเกมแพลตฟอร์มแนวจอเลื่อนด้านข้างใน ค.ศ. 1989 ซึ่งได้รับการพัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเท็นโดพร้อมกับการเปิดตัวเครื่องเล่นเกมพกพาเกมบอย ถือเป็นเกมแพลตฟอร์มมาริโอเกมแรกที่วางจำหน่ายสำหรับเครื่องเล่นเกมพกพา รูปแบบการเล่นคล้ายกับเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ ที่จำหน่ายเมื่อ ค.ศ. 1985 แต่ปรับลดขนาดจอลงให้เหมาะกับขนาดจอของเครื่อง ผู้เล่นบังคับตัวมาริโอผ่าน 12 ด่านโดยเคลื่อนที่ไปด้านขวาและกระโดดข้ามเพื่อหลบเลี่ยงศัตรูและหลุมลึก ซูเปอร์มาริโอแลนด์มีความแตกต่างจากเกมมาริโออื่นที่มีฉากอยู่ที่ซาราซาแลนด์ (Sarasaland) มีสภาพแวดล้อมแบบใหม่ในลักษณะภาพวาดลายเส้นและมาริโอตามหาเจ้าหญิงองค์ใหม่คือเจ้าหญิงเดซี เกมยังมีรูปแบบเกมยิงแบบเกรเดียสด้วยกันถึงสองด่าน

ทีมนินเท็นโดอาร์แอนด์ดีวันของกูนเป โยโกอิ ผู้สร้างเกมบอย ทำตามคำขอของผู้บริหารนินเท็นโด ฮิโรชิ ยามาอูจิ ให้พัฒนาเกมมาริโอเกมหนึ่งลงเครื่องเล่นเกมใหม่ แรกเริ่มเป็นรุ่นพกพาของมาริโอ และเป็นเกมแรกที่ทำขึ้นโดยไม่มีความร่วมมือจากชิเงรุ มิยาโมโตะ ด้วยเหตุนั้น ทีมพัฒนาลดคุณสมบัติของเกมมาริโอลงให้เหมาะกับอุปกรณ์ และใช้บางคุณสมบัติที่ไม่สอดคล้องกับเกมในชุด ซูเปอร์มาริโอแลนด์ถูกคาดหวังว่าเป็นเกมที่แสดงจุดเด่นของเครื่องเล่นจนกระทั่งเกมเตตริส ที่ผลิตโดยนินเท็นโดอเมริกาออกจำหน่ายสำหรับเกมบอย เกมออกคู่กับเกมบอยครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น (เมษายน ค.ศ. 1989) และจำหน่ายทั่วโลกหลังจากนั้น ซูเปอร์มาริโอแลนด์ถูกจำหน่ายซ้ำพร้อมเปิดตัวเครื่องเล่นนินเท็นโด 3ดีเอส ผ่านคอนโซลเสมือน ใน ค.ศ. 2011 ซึ่งแสดงให้เห็นการปรับเปลี่ยนภาพให้เหมาะสมกับเครื่องเล่นด้วย

การตอบรับเบื้องต้นเป็นไปในทางยกย่อง นักวิจารณ์รู้สึกพอใจกับซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ที่ขนาดเล็กลง แต่สังเกตที่ความสั้นของเกม พวกเขาถือว่าเกมนี้เป็นเกมที่ดีที่สุดที่ออกพร้อมเครื่องเล่นเกมบอย เครื่องเล่นเกมมือถือประสบความสำเร็จในทัยที และเกมซูเปอร์มาริโอแลนด์ขายได้มากกว่า 18 ล้านหน่วย มากกว่าซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 3 นักวิจารณ์ทั้งร่วมสมัยและยุคเก่ายกย่องดนตรีประกอบเกม บทวิจารณ์ระยะหลังตำหนิความครึ่ง ๆ กลาง ๆ และความผิดแผกจากธรรมเนียมของเกมชุด เกมมีภาคต่ออีกหลายภาค ได้แก่ ซูเปอร์มาริโอแลนด์ 2: 6 โกลเดนคอยส์ (1992) วาริโอแลนด์: ซูเปอร์มาริโอแลนด์ 3 (1994) และซูเปอร์มาริโอ 3ดี แลนด์ แม้ว่าไม่ปรากฏกลไกใด ๆ จากภาคแรกในเกมภาคต่อเหล่านี้ เกมยังถูกรวมในรายชื่อเกมของเกมบอยอันดับต้น ๆ และเปิดตัวเจ้าหญิงเดซีในฐานะตัวละครในเกมชุดมาริโอด้วย

อ้างอิง

[แก้]