ซิปแอร์ โตเกียว
| |||||||
ก่อตั้ง | 31 กรกฎาคม 2018 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 3 มิถุนายน 2020 | ||||||
ท่าหลัก | โตเกียว-นาริตะ | ||||||
สะสมไมล์ | ZIPAIR Point Club | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 7 | ||||||
จุดหมาย | 9 | ||||||
บริษัทแม่ | เจแปนแอร์ไลน์ | ||||||
สำนักงานใหญ่ | นาริตะ, ชิบะ, ประเทศญี่ปุ่น | ||||||
บุคลากรหลัก | ชิงโงะ นิชิดะ (ประธาน) | ||||||
เว็บไซต์ | www.zipair.net |
ซิปแอร์ โตเกียว (อังกฤษ: ZIPAIR Tokyo; ญี่ปุ่น: 株式会社ZIPAIR Tokyo) เป็นสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งมีฐานการบินที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ[1][2] ซิปแอร์ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ. 2018 โดยเป็นบริษัทในเครือของเจแปนแอร์ไลน์ ซึ่งได้เช่าฝูงบินโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์[3][4] ในช่วงแรกซิปแอร์ให้บริการขนส่งสินค้าเนื่องจากข้อจำกัดการเดินทางจากการระบาดทั่วของโควิด-19 แล้วจึงให้บริการขนส่งผู้โดยสารในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน[5][6]
ประวัติ
[แก้]ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018 เจแปนแอร์ไลน์ (เจเอแอล) ได้มีการประกาศเรื่องแผนการสร้างสายการบินราคาประหยัดขึ้นมาในช่วงปีค.ศ. 2022 เพื่อเป็นการแข่งขันกับสายการบินอื่น ๆ ในเอเชียที่ขยายเส้นทางเข้ามาในญี่ปุ่น เช่น แอร์เอเชียเอกซ์[7] เจเอแอลจึงได้จัดตั้งบริษัทลูกในชื่อ "T.B.L. Co., Ltd."[3][8][9] โดยมีการคาดการณ์ว่าสายการบินจะเริ่มดำเนินงานทันเวลาสำหรับงานแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2020[10]
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2019 สายการบินได้ถูกตั้งชื่อว่าซิปแอร์ โดยชื่อนี้มีการอ้างอิงถึงคำว่า "Zip" ซึ่งหมายถึงความเร็วและ "ZIP Code"[1][11] ต่อมา T.B.L. เปลี่ยนชื่อเป็น "ZIPAIR Tokyo Inc."[1] โดยในช่วงแรกมีการวางแผนเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังกรุงเทพมหานครและกรุงโซลจากท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ โดยได้เริ่มดำเนินเที่ยวบินเหล่านี้ในวันที่ 14 พฤษภาคม และ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 ตามลำดับ ด้วยเครื่องบินโบอิง 787-8 ที่เช่ามาจากเจเอแอล[1][2][4][12] ซิปแอร์ได้วางแผนสำหรับเที่ยวบินไปยังสหรัฐไว้ โดยจะเริ่มดำเนินเที่ยวบินในปีค.ศ. 2021[4][13][14][15]
ในช่วงที่มีการระบาดทั่วของโควิด-19 ซิปแอร์ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ด้วยการที่ประเทศไทยห้ามเที่ยวบินขาเข้าทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2020[16] และรัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกมาตรการบังคับใช้ชายแดน[17] แล้วจึงให้บริการขนส่งผู้โดยสารในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน[5][6] ภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ ซิปแอร์ได้ประกาศเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2020 ว่าการเปิดให้บริการจะถูกเลื่อนออกไปจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม[18] แม้ว่าในเดือนนั้นสายการบินได้ยื่นคำร้องกับกระทรวงคมนาคมของสหรัฐฯ เพื่อดำเนินการเส้นทางไปโฮโนลูลูเพื่อเริ่มต้นเส้นทางในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2020[19] เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ได้มีการประกาศว่าสายการบินได้ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานญี่ปุ่นเพื่อเปิดเที่ยวบินขนส่งสินค้าระหว่างโตเกียวและกรุงเทพฯ เพื่อตอบสนองความต้องการขนส่งสินค้าทางอากาศในระหว่างการระงับเที่ยวบินโดยสาร[20] ซิปแอร์เริ่มเปิดให้บริการในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2020 โดยให้บริการขนส่งสินค้าในช่วงแรก[5][21][22]
ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 ซิปแอร์ก็เริ่มให้บริการขนส่งผู้โดยสารหลังจากให้บริการขนส่งผู้โดยสารมากว่า 4 เดือน[6] และก็ได้เพิ่มเส้นทางบินไปยังโฮโนลูลูในหมู่เกาะฮาวาย[23] รวมถึงเส้นทางอื่น ๆ ทั้งในเอเชียและสหรัฐ เช่น สิงคโปร์และลอสแอนเจลิส[24][25] อีกทั้งยังได้รับโบอิง 787 เพิ่มเติมจากเจเอแอล[26][27]
หลังจากการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 ซิปแอร์ได้ประกาศเปลี่ยนลวดลายบนบริเวณแพนหางของเครื่องบิน โดยลวดลาย ณ เวลานั้นมีตัวอักษร "Z" อยู่ในบริเวณหาง เนื่องจาก "Z" เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพรัสเซีย ซิปแอร์จึงเปลี่ยนลวดลายเป็นลายรูปเรขาคณิตสีเขียวทดแทนในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน[28] นอกจากนี้ยังได้มีการวางแผนเส้นทางใหม่ไปยังแซนโฮเซ รัฐแคลิฟอร์เนีย[29][30]
จุดหมายปลายทาง
[แก้]ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2022 ซิปแอร์ โตเกียวให้บริการเที่ยวบินไปยัง 6 จุดหมายปลายทางใน 5 ประเทศ ดังนี้:[31]
ฝูงบิน
[แก้]ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2022 ซิปแอร์ โตเกียวมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[36]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
J | Y | รวม | ||||
โบอิง 787-8 | 7 | — | 18 | 272 | 290[37] | เช่าจากเจแปนแอร์ไลน์[38] |
รวม | 7 | — |
ซิปแอร์ โตเกียวมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 8.6 ปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Japan's First Medium to Long-Haul Low-Cost Carrier "ZIPAIR Tokyo" Now Established!" (Press release). Japan Airlines. March 8, 2019. Retrieved October 10, 2022.
- ↑ 2.0 2.1 "『ZIPAIR』成田空港第1ターミナル北ウイングの使用を決定" ["ZIPAIR" Narita Airport Terminal 1 North Wing to be used] (Press release) (in Japanese). ZIPAIR Tokyo. August 1, 2019. Retrieved October 10, 2022.
- ↑ 3.0 3.1 "JAL Establishes Preparatory Company for New LCC Business" (Press release). Japan Airlines. July 31, 2018. Retrieved October 10, 2022.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "ZIPAIR、787の機内お披露目 上級席はフルフラット、全席モニターなしで軽量化". Aviation Wire (ภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "PRESS RELEASE - ZIPAIR". www.zipairtokyo.com.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "ZIPAIR Tokyo set for inaugural passenger flights". Routes (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "Zipair: a defensive move by JAL as AirAsia X expands in Japan | CAPA". web.archive.org. 2019-03-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-21. สืบค้นเมื่อ 2022-10-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ https://press.jal.co.jp/en/release/201805/004717.html
- ↑ "JAL、LCC準備会社「TBL」設立 募集は秋から". Aviation Wire (ภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ "Japan Airlines new LCC to be called ZIPAIR Tokyo". Australian Aviation (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย).
- ↑ Post, The Jakarta. "Japan Airlines to launch ZIPAIR Tokyo low-cost long-haul carrier". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Zipair Tokyo on track for 2020 launch". Routes (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ 2019-03-08T07:51:30+00:00. "JAL names new LCC Zipair Tokyo". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "JAL、成田国際線を20年度3-5路線拡充 ZIPAIRも活用". Aviation Wire (ภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ "ZIPAIR、ハワイも有力 西田社長「マーケット大きい」". Aviation Wire (ภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Thailand suspends incoming flights". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-10-10.
- ↑ "The Ministry of Justice". www.moj.go.jp.
- ↑ "PRESS RELEASE - ZIPAIR". www.zipairtokyo.com.
- ↑ "ZIPAIR、ハワイ就航へ 米運輸省に申請、冬ダイヤ開設目指す". Aviation Wire (ภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ "PRESS RELEASE - ZIPAIR". www.zipairtokyo.com.
- ↑ "日航傘下ジップエア 初の就航、まず貨物便 逆風に負けず". 毎日新聞 (ภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ "Zipair Tokyo goes cargo-only for debut flight due to pandemic | The Asahi Shimbun: Breaking News, Japan News and Analysis". The Asahi Shimbun (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 23.0 23.1 "PRESS RELEASE - ZIPAIR". www.zipairtokyo.com.
- ↑ 24.0 24.1 "ZIPAIR to open new international route". Routes (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ 25.0 25.1 "ZIPAIR Announces Inaugural Long-Haul Destination: Service to Los Angeles Launching December 25 | ZIPAIR Official Website". www.zipair.net (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "ZIPAIR、3号機が姿現す 元JALの787-8、JA824J". Aviation Wire (ภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ "News for Airlines, Airports and the Aviation Industry | CAPA". centreforaviation.com.
- ↑ NEWS, KYODO. "Japanese airline ditches "Z" logo to avoid misunderstanding". Kyodo News+.
- ↑ "ZIPAIR to Launch Nonstop Service to Mineta San José Starting December 2022. Featuring Renovated Livery - Marking the Dawn of a New Era in Air Travel | ZIPAIR Official Website". www.zipair.net (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "ZIPAIR Tokyo Schedules mid-Dec 2022 Tokyo – San Jose Launch". AeroRoutes (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา).
- ↑ "ZIPAIR Basic Information | ZIPAIR Official Website". www.zipair.net (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 32.0 32.1 32.2 "プレスリリース - ZIPAIR". www.zipairtokyo.com.
- ↑ "ZIPAIR、成田-マニラ7/1就航 1日1往復". Aviation Wire (ภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ "ZIPAIR Will Launch Cargo Flights to Seoul". ZIPAIR Tokyo (Press release). Tokyo: Japan Airlines Group. 6 September 2020. สืบค้นเมื่อ 24 April 2022.
- ↑ "ZIPAIR Tokyo Schedules mid-Dec 2022 Tokyo – San Jose Launch". AeroRoutes (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา).
- ↑ "ZIPAIR Tokyo Fleet Details and History". www.planespotters.net.
- ↑ "『ZIPAIR』使用機材、ボーイング787型機の客室が完成!!" [Completed the cabin of the Boeing 787 aircraft, the equipment that uses "ZIPAIR"!!] (Press release) (ภาษาญี่ปุ่น). ZIPAIR Tokyo. 2019-12-18. สืบค้นเมื่อ 2019-12-24.
- ↑ "ZIPAIR、787の機内お披露目 上級席はフルフラット、全席モニターなしで軽量化". Aviation Wire (ภาษาญี่ปุ่น).