จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซิกซ์ดีกรีส์ออฟอินเนอร์เทอร์บิวเลนซ์ (อังกฤษ: Six Degrees of Inner Turbulence) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่หกของวงดนตรีโพรเกรสซิฟเมทัล ดรีมเทียเตอร์ ออกจำหน่ายเป็นอัลบั้มบรรจุซีดีสองแผ่นเมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2002 ทางค่ายเพลงอิเล็กทราเรเคิดส์ (Elektra Records) ถ้าไม่นับอีพี อะเชนจ์ออฟซีซันส์ (A Change of Seasons) อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มแรกที่มีเพลงที่มีชื่อเดียวกันกับอัลบั้ม และเป็นอัลบั้มที่มีความยาวเป็นอันดับสองของวง รองจากอัลบั้ม ดิแอสโทนิชชิง (The Astonishing) นับมาจนถึงปัจจุบัน ดรีมเทียเตอร์ได้ทำการแสดงสดทุกเพลงในอัลบั้มแล้ว
ผลงานเพลงนี้อยู่ในรูปแบบคอนเซปต์อัลบั้ม ประกอบด้วยหกเพลง โดยห้าเพลงแรกบรรจุอยู่ในแผ่นที่หนึ่ง เนื้อหาของเพลงในอัลบั้มกล่าวถึงการต่อสู้ดิ้นรนในชีวิตในเรื่องต่าง ๆ เช่น โรคพิษสุราเรื้อรัง การสูญเสียความศรัทธา การแยกตัวเอง ความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิต และความตาย ส่วนเพลงที่หก ซึ่งยาว 42 นาที บรรจุอยู่ในแผ่นที่สอง โดยแยกออกเป็นแปดแทร็ก เนื้อหาของเพลงเป็นเรื่องราวของคนหกคนที่ทนทุกข์ทรมานกับอาการเจ็บป่วยทางจิตใจที่แตกต่างกัน ได้แก่ โรคอารมณ์สองขั้ว ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ โรคจิตเภท ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด โรคออทิซึม และโรคหลายบุคลิกหรือบุคลิกภาพแตกแยก นอกจากนี้ ชื่อของอัลบั้มยังบอกเป็นนัยถึงความจริงที่ว่าแต่ละเพลงในอัลบั้มเป็นรูปแบบต่าง ๆ ของความวุ่นวายปั่นป่วนของจิตใจ กล่าวคือ เพลงหกเพลงก็หมายถึงหกขั้นหรือหกรูปแบบ แนวเพลงของแต่ละแทร็กของเพลงที่หกนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลทางดนตรีที่มีต่อวงที่หลากหลายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ดนตรีคลาสสิก ดนตรีโฟล์ก แจ๊ส และเฮฟวีเมทัล
- เพลงแรกของอัลบั้ม "เดอะกลาสพริซัน" (The Glass Prison) เป็นตอนแรกของทเวลฟ์-สเตปสวีต (Twelve-step Suite) พูดถึงเรื่องราวของไมค์ พอร์ตนอย ในการฟื้นสภาพจากโรคพิษสุรา ซึ่งจะมีเพลงเล่าเรื่องราวนี้ต่อในอัลบั้มถัด ๆ ไป จนถึงอัลบั้มชุดที่สิบ แบล็กคลาวส์แอนด์ซิลเวอร์ไลนิงส์ (Black Clouds & Silver Linings) เพลง "เดอะกลาสพริซัน" ประกอบด้วยสามส่วน ซึ่งเป็นสามส่วนแรกในทั้งหมดสิบสองส่วนของทเวลฟ์-สเตปสวีต เพลงนี้เริ่มต้นด้วยเสียงชมพู (pink noise) ซึ่งเป็นเสียงที่ใช้จบเพลง "ไฟนอลลีฟรี" (Finally Free) เพลงสุดท้ายของอัลบั้มชุดที่แล้ว เมโทรโพลิส พาร์ต 2: ซีนส์ฟรอมอะเมโมรี (Metropolis Pt. 2: Scenes from a Memory)
- คอร์ดสุดท้ายของเพลง "ซิกซ์ดีกรีส์ออฟอินเนอร์เทอร์บิวเลนซ์" เป็นคอร์ดที่ใช้เปิดเพลง "แอสไอแอม" (As I Am) ซึ่งอยู่ในอัลบั้มถัดไป เทรนออฟทอต (Train of Thought) และต่อกันเป็นลูกโซ่ไปจนถึงอัลบั้ม อ็อกทาวาเรียม (Octavarium)
นักดนตรีที่มีอิทธิพลต่อการประพันธ์และบันทึกอัลบั้มนี้ ได้แก่ เมทัลลิกา, เรดิโอเฮด, แพนเทอรา,[5] เมกาเดท,[5] ยูทู, ทูล, ไนน์อินช์เนลส์, ซาวด์การ์เดน, อลิซอินเชนส์, เควิน กิลเบิร์ต, คิงส์เอกซ์, กาแลกติกคาวบอยส์, เบ-ลอ บอร์โตก, เรจอะเกนสต์เดอะแมชชีน, และมาเรีย ตีโป[5]
เพลงทั้งหมดประพันธ์ทำนองโดยจอห์น เปตรุชชี, จอห์น ไมอัง, จอร์แดน รูเดส และไมค์ พอร์ตนอย
|
1. | "The Glass Prison"
- "I. Reflection"
- "II. Restoration"
- "III. Revelation"
| Portnoy | 13:52
5:54
3:48
4:10 |
---|
2. | "Blind Faith" | James LaBrie | 10:21 |
---|
3. | "Misunderstood" | Petrucci | 9:32 |
---|
4. | "The Great Debate" | Petrucci | 13:46 |
---|
5. | "Disappear" | LaBrie | 6:46 |
---|
ความยาวทั้งหมด: | 54:18 |
---|
|
6. | "Solitary Shell" (radio edit) | 4:11 |
---|
|
1. | "I. Overture" | (instrumental) | 6:50 |
---|
2. | "II. About to Crash" | Petrucci | 5:50 |
---|
3. | "III. War Inside My Head" | Portnoy | 2:08 |
---|
4. | "IV. The Test That Stumped Them All" | Portnoy | 5:03 |
---|
5. | "V. Goodnight Kiss" | Portnoy | 6:17 |
---|
6. | "VI. Solitary Shell" | Petrucci | 5:47 |
---|
7. | "VII. About to Crash (Reprise)" | Petrucci | 4:04 |
---|
8. | "VIII. Losing Time/Grand Finale" | Petrucci | 5:59 |
---|
ความยาวทั้งหมด: | 42:02 |
---|
- อัลบั้ม
- ซิงเกิล