ช้างศรีลังกา
ช้างศรีลังกา | |
---|---|
ช้างพลายในธรรมชาติ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Proboscidea |
วงศ์: | Elephantidae |
สกุล: | Elephas |
สปีชีส์: | E. maximus |
สปีชีส์ย่อย: | E. m. maximus |
Trinomial name | |
Elephas maximus maximus Linnaeus, 1758 | |
แผนที่กระจายพันธุ์ของช้างศรีลังกา |
ช้างศรีลังกา (อังกฤษ: Sri Lankan elephant; สิงหล: ශ්රි ලංකා අලියා; ชื่อวิทยาศาสตร์: Elephas maximus maximus) เป็นช้างเอเชียชนิดย่อยชนิดหนึ่ง มีถิ่นกระจายพันธุ์เฉพาะบนเกาะซีลอน หรือประเทศศรีลังกาในปัจจุบันเท่านั้น
ช้างศรีลังกา ได้ถูกอนุกรมวิธานแยกออกจากช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ โดยคาโรลัส ลินเนียส นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนเมื่อปี ค.ศ. 1758 โดยถือว่าเป็นชนิดต้นแบบของช้างเอเชียด้วย[2]
ช้างศรีลังกา มีลักษณะรูปร่างที่ใหญ่โตกว่าช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ มีผิวหนังสีคล้ำหรือสีดำ ขนาดใบหูใหญ่และมีสีกระจายมากบริเวณใบหู ใบหน้า งวงและลำตัว ตัวผู้หรือช้างพลายส่วนใหญ่จะเป็น ช้างสีดอ คือ ไม่มีงา มีแต่ขนายซึ่งเป็นงาขนาดเล็กโตประมาณเท่าข้อมือ (เส้นรอบวงประมาณ 15-20 เซนติเมตร) ยาวไม่พ้นปากหรืออาจยาวพ้นปากเพียงเล็กน้อย มีน้อยตัวที่มีงา ส่วนตัวเมียหรือช้างพังมีลักษณะเหมือนกับช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ คือไม่มีงา มีแต่ขนายเท่านั้น[3]
ช้างศรีลังกา มีความผูกพันกับมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยชาวศรีลังกาเชื่อว่า ด้วยความที่เป็นสัตว์ใหญ่และมีผิวสีคล้ำ จึงเป็นสัญลักษณ์ของเมฆฝน ช้างศรีลังกาจึงใช้ในงานแห่เพื่อขอฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานเทศกาลเอสสะลา เพราเฮรา (ඇසළ පෙරහර) หรืองานฉลองพระเขี้ยวแก้วของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเทศกาลแห่ไปตามท้องถนนที่ยิ่งใหญ่ของศรีลังกา ช้างศรีลังกาถือเป็นหลักของเทศกาลนี้ ช้างที่ถูกเลือกให้เป็นพาหนะและร่วมไปในขบวนเทศกาลนี้ จะเป็นช้างที่ถูกเลือกคัดสรรเป็นอย่างยิ่ง หากเป็นช้างพลายต้องเป็นช้างที่ไม่อยู่ในอาการตกมัน มี
อากัปกิริยาที่สงบเรียบร้อย เชื่อฟังคำสั่งของมนุษย์ ช้างตัวที่ถูกคัดเลือกจะได้รับการตรวจสภาพร่างกายและบำรุงให้มีความพร้อมจากสัตวแพทย์ และถูกพาไปกินอาหารที่หลังภูเขาอันเป็นแหล่งที่มีอาาหรช้างอุดมสมบูรณ์ ต่อจากนั้นจะถูกตกแต่งร่างกายด้วยสีสันต่าง ๆ รวมถึงผ้าหลากสี และหลอดไฟประดับตามส่วนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความประทับใจแก่ผู้พบเห็น โดยเฉพาะช้างตัวที่ต้องเป็นพาหนะในการอัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว ซึ่งถือเป็นช้างประธาน โดยมีคติว่า แสงไฟและแสงสว่างจะเป็นสิ่งช่วยป้องกันพระเขี้ยวแก้วจากสิ่งชั่วร้ายที่มาคุกคามต่าง ๆ นานา[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Choudhury, A., Lahiri Choudhury, D.K., Desai, A., Duckworth, J.W., Easa, P.S., Johnsingh, A.J.T., Fernando, P., Hedges, S., Gunawardena, M., Kurt, F., Karanth, U., Lister, A., Menon, V., Riddle, H., Rübel, A., Wikramanayake, E. (2008). "Elephas maximus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2010.4.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Linnaei, C. (1760) Elephas maximus In: Caroli Linnæi Systema naturæ per regna tria naturæ, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis. Tomus I. Halae Magdeburgicae. Page 33
- ↑ "ประเภทและสายพันธุ์". pirun.ku.ac.th/. 17 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-07. สืบค้นเมื่อ 17 April 2014.
- ↑ "เรื่องเล่าจากเทศกาล : เอสสะลา เพราเฮรา ตอนที่ 2". ไทยพีบีเอส. 16 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-19. สืบค้นเมื่อ 17 April 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Elephas maximus maximus ที่วิกิสปีชีส์