ชาวยิวอัชเกนัซ
ชาวยิวอัชเกนัซ หรือ ชาวยิวแห่งอัชเกนัซ (ฮีบรู: יְהוּדֵי אַשְׁכֲּנָז หรือ אַשְׁכֲּנָזִים, อังกฤษ: Ashkenazi Jews หรือ Ashkenazic Jews หรือ Ashkenazim) คือชาวยิวที่สืบเชื้อสายมาจากชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำไรน์แลนด์ทางตะวันตกของเยอรมนีและตอนเหนือของฝรั่งเศสในยุคกลาง คำว่า "Ashkenaz" เป็นชื่อภาษาฮิบรูสมัยกลางของภูมิภาคที่ในปัจจุบันครอบคลุมประเทศเยอรมนี และบริเวณที่มีชายแดนติดต่อที่พูดภาษาเยอรมัน นอกจากนั้นอัชเกนัซก็ยังเป็นประมุขจาเฟติคที่สืบเชื้อสายมาจากลูกหลานของโนอาห์ (Table of Nations) ฉะนั้น "อัชเกนัซ" หรือ "อัชเกนัซยิว" ก็คือ "ชาวยิวเยอรมัน"
ต่อมาชาวยิวอัชเกนัซก็อพยพไปทางตะวันออก ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ไม่ได้พูดภาษาเยอรมันที่รวมทั้งฮังการี โปแลนด์ ลิทัวเนีย รัสเซีย ยุโรปตะวันออก และ ภูมิภาคอื่นๆ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึง 19 ภาษาที่นำติดตัวไปก็คือภาษายิดดิช ซึ่งเป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกของชาวยิว ที่ตั้งแต่ยุคกลางมาเป็น "ภาษากลาง" ในหมู่ชาวยิวอัชเกนัซ นอกจากนั้นก็มีบ้างที่พูดภาษายิว-ฝรั่งเศส หรือ ภาษาซาร์ฟาติค (Zarphatic) และ ภาษากลุ่มสลาฟ-ที่มีพื้นฐานมาจากภาษาคนานิค (ภาษายิว-เช็ก) ชาวยิวอัชเกนัซวิวัฒนาการวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ผสานเอาวัฒนธรรมของชนในท้องถิ่นที่ตั้งถิ่นฐานในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกเข้ามาด้วย
แม้ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ชาวยิวอัชเกนัซจะเป็นจำนวนเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของประชากรชาวยิวทั้งโลก แต่เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1931 จำนวนก็สูงขึ้นถึง 92 เปอร์เซ็นต์ และในปัจจุบันเป็นจำนวนประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของชาวยิวทั่วโลก[15] ชุมชนชาวยิวที่มีประวัติยืดยาวในยุโรปจะเป็นชาวยิวอัชเกนัซนอกจากกลุ่มที่มีควาสัมพันธ์กับบริเวณเมดิเตอเรเนียน ชาวยิวส่วนใหญ่ที่อพยพจากยุโรปไปยังทวีปอื่นในสองร้อยปีที่ผ่านมาก็เช่นกัน โดยเฉพาะการอพยพไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา ที่ชาวยิวส่วนใหญ่ในบรรดาชาวยิวอเมริกัน 5.3 ล้านคนเป็นชาวยิวอัชเกนัซ[16] ซึ่งทำให้เป็นชาวยิวอัชเกนัซกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในโลก
นิยาม
[แก้]นิยามของความเป็นชาวยิวยังไม่เป็นที่ตกลงกันโดยทั่วไป—ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาจากนิกายต่างๆ หรือ ในบริบทของการเมือง หรือแม้แต่โดยทั่วไป ซึ่งการเป็นยิวอาจจะกล่าวอย่างง่ายๆ ว่าเป็นทั้งทางศาสนาและทางโลก หรือ ทางศาสนาแต่อย่างเดียว ซึ่งทำให้เป็นการยากที่จะระบุนิยามของชาวยิวอัชเกนัซ เพราะชาวยิวอัชเกนัซได้รับการตีความหมายเป็นหลายอย่างโดยศาสนา วัฒนธรรม และ ชาติพันธุ์เป็นเครื่องวัด แต่ชาวยิวอัชเกนัซส่วนใหญ่ในปัจจุบันมิได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในยุโรปตะวันออกแล้ว ฉะนั้นลักษณะทางวัฒนธรรมและการปฏิบัติทางศาสนาที่เคยเป็นลักษณะเฉพาะเพราะตำแหน่งที่ตั้งถิ่นฐานที่ใกล้เคียงกันก็เริ่มเลือนหายไป นอกจากนั้นคำว่า "อัชเกนัซ" ก็ยังนำไปใช้ในบริบทที่นอกไปจากการใช้กันมาก่อน โดยเฉพาะในอิสราเอล ตามหลักของปรัชญาออร์ธอด็อกซ์แล้วผู้ที่จะเป็นยิวได้ก็เมื่อมีแม่เป็นยิว หรือ เปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนายูดาย ซึ่งทำให้ตีความหมายได้ว่าผู้หนึ่งอาจจะเป็นอัชเกนัซแต่ไม่ได้เป็นยิวตามการตีความหมายของกลุ่มชาวยิวบางกลุ่ม ซึ่งทำให้การใช้คำว่า "อัชเกนัซ" ตีความหมายได้ว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่วิวัฒนาการมาจากการดำรงชีวิตตามหลักศาสนายูดายในยุโรป
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Ashkenazi Jews". Hebrew University of Jerusalem. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2013. สืบค้นเมื่อ 29 October 2013.
- ↑ "First genetic mutation for colorectal cancer identified in Ashkenazi Jews". The Gazette. Johns Hopkins University. 8 September 1997. สืบค้นเมื่อ 2013-07-24.
- ↑ Feldman, Gabriel E. (May 2001). "Do Ashkenazi Jews have a Higher than expected Cancer Burden? Implications for cancer control prioritization efforts". Israel Medical Association Journal. 3 (5): 341–46. PMID 11411198. สืบค้นเมื่อ 2013-09-04.
- ↑ Statistical Abstract of Israel, 2009, CBS. "Table 2.24 – Jews, by country of origin and age". สืบค้นเมื่อ 22 March 2010.
- ↑ "Yiddish". 19 November 2019.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "Reconstruction of Patrilineages and Matrilineages of Samaritans and Other Israeli Populations From Y-Chromosome and Mitochondrial DNA Sequence Variation" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 May 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 "Jews Are the Genetic Brothers of Palestinians, Syrians, and Lebanese". Science Daily. 2000-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-07-19.
- ↑ 8.0 8.1 "Study Finds Close Genetic Connection Between Jews, Kurds". Haaretz. 21 November 2001.
- ↑ Wade, Nicholas (9 June 2010). "Studies Show Jews' Genetic Similarity". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
- ↑ "High-resolution Y chromosome haplotypes of Israeli and Palestinian Arabs reveal geographic substructure and substantial overlap with haplotypes of Jews" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
- ↑ "Banda et al. "Admixture Estimation in a Founder Population". Am Soc Hum Genet, 2013". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2019. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
- ↑ Bray, SM; Mulle, JG; Dodd, AF; Pulver, AE; Wooding, S; Warren, ST (September 2010). "Signatures of founder effects, admixture, and selection in the Ashkenazi Jewish population". Proceedings of the National Academy of Sciences. 107 (37): 16222–27. Bibcode:2010PNAS..10716222B. doi:10.1073/pnas.1004381107. PMC 2941333. PMID 20798349.
- ↑ Adams SM, Bosch E, Balaresque PL, และคณะ (December 2008). "The genetic legacy of religious diversity and intolerance: paternal lineages of Christians, Jews, and Muslims in the Iberian Peninsula". American Journal of Human Genetics. 83 (6): 725–36. doi:10.1016/j.ajhg.2008.11.007. PMC 2668061. PMID 19061982.
- ↑ Shai Carmi; Ken Y. Hui; Ethan Kochav; Xinmin Liu; James Xue; Fillan Grady; Saurav Guha; Kinnari Upadhyay; Dan Ben-Avraham; Semanti Mukherjee; B. Monica Bowen; Tinu Thomas; Joseph Vijai; Marc Cruts; Guy Froyen; Diether Lambrechts; Stéphane Plaisance; Christine Van Broeckhoven; Philip Van Damme; Herwig Van Marck; และคณะ (September 2014). "Sequencing an Ashkenazi reference panel supports population-targeted personal genomics and illuminates Jewish and European origins". Nature Communications. 5: 4835. Bibcode:2014NatCo...5.4835C. doi:10.1038/ncomms5835. PMC 4164776. PMID 25203624.
- ↑ Elazar, Daniel J. "Can Sephardic Judaism be Reconstructed?". Jerusalem Center for Public Affairs. สืบค้นเมื่อ 2006-05-24.
- ↑ Pfeffer, Anshel. "Jewish Agency: 13.2 million Jews worldwide on eve of Rosh Hashanah, 5768". Haaretz Daily Newspaper Israel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-19. สืบค้นเมื่อ 2007-09-13.
อ้างอิงสำหรับ "ชาวยิวอัชเกนัซคือใคร?"
[แก้]- Goldberg, Harvey E. (2001). The Life of Judaism. University of California Press. ISBN 978-0520212671.
- Silberstein, Laurence (2000). Mapping Jewish Identities. New York University Press. ISBN 978-0814797693.
- Wettstein, Howard (2002). Diasporas and Exiles: Varieties of Jewish Identity. University of California Press. ISBN 978-0520228641.
- Wex, Michael (2005). Born to Kvetch: Yiddish Language and Culture in All Its Moods. St. Martin's Press. ISBN 978-0312307417.
อ้างอิงอื่น ๆ
[แก้]- Beider, Alexander (2001): A Dictionary of Ashkenazic Given Names: Their Origins, Structure, Pronunciations, and Migrations. Avotaynu. ISBN 1886223122.
- Biale, David (2002): Cultures of the Jews: A New History. Schoken Books. ISBN 0805241310.
- Birnbaum, Solomon A. (November 1946). "The cultural structure of East Ashkenazic Jewry". The Slavonic and East European Review. 25 (64).
- Brook, Kevin Alan (2003): "The Origins of East European Jews" in Russian History/Histoire Russe vol. 30, nos. 1–2, pp. 1–22.
- Gross, N. (1975): Economic History of the Jews. Schocken Books, New York.
- Haumann, Heiko (2001): A History of East European Jews. Central European University Press. ISBN 9639241261.
- Kriwaczek, Paul (2005): Yiddish Civilization: The Rise and Fall of a Forgotten Nation. Alfred A. Knopf, New York. ISBN 1400040876.
- Lewis, Bernard (1984): The Jews of Islam. Princeton University Press. ISBN 0691054193.
- Bukovec, Predrag: East and South-East European Jews in the 19th and 20th Centuries, European History Online, Mainz: Institute of European History, 2010, retrieved: 17 December 2012.
- Vital, David (1999): A People Apart: A History of the Jews in Europe. Oxford University Press. ISBN 0198219806.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The YIVO Encyclopedia of Jews in Eastern Europe
- Kaplan, Karen (18 April 2009). "Jewish legacy inscribed on genes?". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 23 December 2009.
- Ashkenazi history at the Jewish Virtual Library
- "Ashkenazi Jewish mtDNA haplogroup distribution varies among distinct subpopulations: lessons of population substructure in a closed group"—European Journal of Human Genetics, 2007
- "Analysis of genetic variation in Ashkenazi Jews by high density SNP genotyping"
- Nusach Ashkenaz, and Discussion Forum เก็บถาวร 2013-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Ashkenaz Heritage