ชะตากรรมที่โลกไม่ลืม
ชะตากรรมที่โลกไม่ลืม | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | สตีเว่น สปีลเบิร์ก |
บทภาพยนตร์ | สตีเว่น ไซเลียน |
สร้างจาก | นิยาย ชินด์เลอร์ อาร์ก โดย ทอมัส คนีลลีย์ |
อำนวยการสร้าง | สตีเว่น สปีลเบิร์ก เจอรัลด์ อาร์. โมเลน บรานโก้ ลัสติก |
นักแสดงนำ | เลียม นีสัน เบน คิงสลีย์ เรล์ฟ ไฟนส์ แคโรไลน์ กูดอลล์ โจนาธาน ซากัลล์ เอ็มเบธ เดวิดซ์ |
กำกับภาพ | จานุสซ์ คามินสกี้ |
ตัดต่อ | ไมเคิล คาห์น |
ดนตรีประกอบ | จอห์น วิลเลียมส์ |
บริษัทผู้สร้าง | อัมบลิน เอนเตอร์เทนเม้นท์ |
ผู้จัดจำหน่าย | ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์ |
วันฉาย |
|
ความยาว | 197 นาที |
ประเทศ | สหรัฐ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
ทำเงิน | 321.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
ข้อมูลจาก All Movie Guide | |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
ชะตากรรมที่โลกไม่ลืม (อังกฤษ: Schindler's List) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวมหากาพย์ ดราม่า อิงประวัติศาสตร์ ที่ออกฉายในปี ค.ศ. 1993 กำกับโดย สตีเว่น สปีลเบิร์ก ดัดแปลงผลงานของ ทอมัส คนีลลีย์ นิยายเรื่อง ชินด์เลอร์ อาร์ก ในปี ค.ศ. 1982 ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องของ อ็อสคาร์ ชินด์เลอร์ นักอุตสาหกรรมชาวเยอรมันที่ช่วยชีวิตผู้ลี้ภัยชาวโปแลนด์เชื้อสายยิวกว่าพันคนจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยจ้างพวกเขาให้ทำงานในโรงงานของเขาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นำแสดงโดยเลียม นีสัน รับบทชินด์เลอร์ ราล์ฟ ไฟนส์ รับบทเจ้าหน้าที่เอสเอส อามอน เกิท และเบ็น คิงส์ลีย์ รับบทนักบัญชีชาวยิวของชินด์เลอร์ อิทซัค สเติร์น
เนื้อเรื่อง
[แก้]ในกรากุฟในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันได้บีบบังคับชาวโปแลนด์เชื้อสายยิวท้องถิ่นให้เข้าสู่กรากุฟเกตโตที่แออัดแน่นเกินไป อ็อสคาร์ ชินด์เลอร์ เป็นบุคคลที่มีเชื้อสายเยอรมันจากเชโกสโลวาเกีย ได้เดินทางเข้ามาถึงในเมืองนี้ด้วยความหวังที่จะทำให้เกิดโชคลาภ สมาชิกพรรคนาซี ชินด์เลอร์ได้ติดสินบนกับแวร์มัคท์ (กองทัพเยอรมัน) และเจ้าหน้าที่หน่วยเอ็สเอ็สและได้รับกรรมสิทธิ์ในโรงงานเพื่อผลิตภาชนะเครื่องเคลือบ เพื่อช่วยให้เขาดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ชินด์เลอร์จึงขอความช่วยเหลือจาก อิทแช็ก สเติร์น เจ้าหน้าที่ชาวยิวท้องถิ่นที่ติดต่อกับตลาดมืดและชุมชนธุรกิจชาวยิว สเติร์นได้ช่วยชินด์เลอร์ในการจัดการด้านการเงินสำหรับโรงงาน ชินด์เลอร์ได้ดำรงความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับนาซีและสนุกเพลิดเพลินกับความมั่นคั่งและสถานะที่ได้เป็นคือ "Herr Direktor" สเติร์นได้ทำการจัดการด้านบริหาร ชินด์เลอร์ได้ว่าจ้างคนงานชาวยิวเพราะพวกเขามีราคาถูก ในขณะที่สเติร์นมั่นใจว่าคนจำนวนมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อความพยายามในการทำสงครามของเยอรมัน ซึ่งจะช่วยให้พวกเขารอดพ้นจากการถูกส่งไปยังค่ายกักกันหรือสังหาร
เอ็สเอ็ส-อุนเทอร์ชตวร์มฟือเรอร์ (ร้อยตรี) อาม็อน เกิท ได้เดินทางมาถึงกรากุฟเพื่อคุมงานการก่อสร้างค่ายกักกันปวาซอฟ เมื่อค่ายสร้างเสร็จสมบูรณ์ เขาสั่งให้ทำการล้มล้างเขตเกตโต มีหลายคนถูกยิงและถูกสังหารในกระบวนการล้มล้างเกตโต ชินด์เลอร์ได้รู้เห็นเป็นพยานการสังหารหมู่และได้รับความรู้สึกสะเทือนใจอย่างมากมาย เขาสังเกตเห็นเด็กหญิงคนหนึ่งในชุดเสื้อคลุมสีแดง ในขณะที่เธอได้ซ่อนตัวจากพวกนาซี และต่อมาก็พบเห็นร่างของเธออยู่ท่ามกลางศพที่ถูกบรรทุกในรถเข็นออกมา ชินด์เลอร์ได้ระมัดระวังในการรักษามิตรภาพของเขากับเกิท และผ่านทางการติดสินบนและของขวัญอันฟุ่มเฟือย ยังคงได้รับการสนับสนุนจากหน่วยเอ็สเอ็ส เกิทได้กระทำทารุณอย่างโหดร้ายต่อ เฮเลน เฮิร์ช สาวใช้ชาวยิวของเขา และยิงปืนใส่ผู้คนจากระเบียงบ้านของเขาเองโดยทำการสุ่มและนักโทษก็หวาดกลัวสำหรับชีวิตของพวกเขาเอง เมื่อเวลาผ่านไป จุดมุ่งหมายของชินด์เลอร์ได้เปลี่ยนจากการหาเงินมาเป็นความพยายามรักษาชีวิตผู้คนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อปกป้องคนงานของเขาให้ดีขึ้นไปอีก ชินด์เลอร์ได้ติดสินบนกับเกิทเพื่อขออนุญาตให้เขาสร้างค่ายขนาดย่อย
ในขณะที่เยอรมันเริ่มที่จะแพ้สงคราม เกิทได้รับคำสั่งให้ส่งชาวยิวที่เหลือในค่ายปวาซอฟไปยังค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ชินด์เลอร์ได้ขออนุญาตจากเกิทให้เขาทำการย้ายคนงานของเขาไปยังโรงงานผลิตอาวุธใหม่ที่เขาวางเผนจะสร้างขึ้นในบรึนน์ลิตซ์ใกล้กับเมือง Zwittau ที่เป็นบ้านเกิดของเขา เกิทนั้นอนุญาต แต่เรียกร้องเงินสินบนจำนวนมาก ชินด์เลอร์และสเติร์นได้ร่วมกันทำ "รายชื่อของชินด์เลอร์" -รายชื่อของผู้คนประมาณ 850 คนที่จะถูกโยกย้ายไปยัง Brinnlitz และช่วยให้รอดพ้นจากการขนส่งโยกย้ายไปยังเอาชวิทซ์
รถไฟที่บรรทุกผู้หญิงและเด็กสาวได้ถูกเปลี่ยนเส้นทางไปยังเอาช์วิทซ์-เบียร์เคอเนาโดยไม่ได้ตั้งใจ ชินด์เลอร์ได้ติดสินบนกับ รูด็อล์ฟ เฮิส ผู้บัญชาการค่ายเอาช์วิทซ์พร้อมกับถุงบรรจุเพชรเพื่อลุ้นให้พวกเขาได้รับการปล่อยตัว ที่โรงงานแห่งใหม่ ชินด์เลอร์ได้ห้ามไม่ให้ทหารการ์ดเอ็สเอ็สเข้าไปในพื้นที่โรงงานของเขาและสนับสนุนให้ชาวยิวทำพิธีในวันสะบาโตได้ ในอีกเจ็ดเดือนต่อมา เขาได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการติดสินบนกับเจ้าหน้าที่นาซีและซื้อแต่กล่องใส่ปลอกกระสุนจากบริษัทอื่น ๆ เนื่องจากเป็นแผนอุบายของชินด์เลอร์เอง โรงงานไม่ได้ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์แต่อย่างใดเลยในช่วงเวลานี้ ซินเลอร์ได้หมดเงินในปี ค.ศ. 1945 เช่นเดียวกับที่เยอรมนีได้ยอมจำนน สงครามในยุโรปได้ยุติลงในที่สุด ในฐานะที่เป็นสมาชิกพรรคนาซีและผู้ได้รับผลประโยชน์จากสงคราม ชินด์เลอร์ต้องหลบหนีจากกองทัพแดงที่กำลังรุกเข้ามาเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุม พวกทหารการ์ดเอ็สเอ็สในโรงงานของชินด์เลอร์ได้รับคำสั่งให้ทำการสังหารคนงานชาวยิวให้หมด แต่ชินด์เลอร์ได้ห้ามปรามพวกเขาไม่ให้ทำเช่นนั้น เพื่อที่พวกเขาจะได้กลับไปหาครอบครัว[ของพวกเขาเอง]ในฐานะที่เป็นมนุษย์ แทนที่จะเป็นฆาตกร เขากล่าวคำอำลากับคนงานของเขาและเตรียมที่จะมุ่งหน้าไปยังทางด้านตะวันตก โดยหวังว่าจะยอมจำนนต่ออเมริกัน คนงานได้มอบคำแถลงพร้อมกับลงนามแก่ชินด์เลอร์เพื่อยืนยันบทบาทของเขาในการช่วยชีวิตชาวยิวและเสนอด้วยแหวนสลักด้วยคำพูดภาษาฮีบรูที่มีอักษรทัลมุด:"ใครก็ตามที่ช่วยชีวิตผู้คนหนึ่งคนเท่ากับช่วยชีวิตคนบนโลกทั้งใบ" ชินด์เลอร์รู้สึกประทับใจและละอายใจเพราะเขารู้สึกว่าเขาควรทำจะทำได้มากกว่านี้ เขาหยุดร้องไห้สะอึกสะอื้นและรู้สึกสบายใจขึ้นโดยคนงาน หลังจากที่เขาและภรรยาจากไปแล้ว เหล่าชินด์เลอร์ยูเดินต่างค้างคืนที่บริเวณโรงงานและตื่นขึ้นในเช้าวันรุ่งขึ้น โดยเจ้าหน้าที่โซเวียตได้ประกาศว่าพวกเขาได้รับอิสรภาพ ชาวยิวได้ออกจากโรงงานแล้วเดินไปที่เมืองใกล้เคียง
บทส่งท้ายได้เผยให้เห็นว่า ชินด์เลอร์ได้แยกทางกับภรรยาในช่วงหลังสงครามเช่นเดียวกับความพยายามของเขาที่ต้องล้มเหลวหลายครั้งที่จะเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ในขณะที่อาม็อน เกิทถูกจับกุม ขึ้นศาล และถูกประหารชีวิตด้วยข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซินด์เลอร์ได้รับเกียรติจาก Yad Vashem สำหรับความพยายามของเขาที่จะช่วยคนงานของเขาให้รอดพ้นจากความตาย ในปัจจุบัน ผู้รอดชีวิตจำนวนมากจากชินด์เลอร์ยูเดิน และนักแสดงได้แวะเยี่ยมหลุมศพของชินด์เลอร์ และวางศิลาบนป้าย สัญลักษณ์ชาวยิวแบบดั้งเดิมของการเคารพในเยี่ยมชมหลุมศพ ผู้มาเยือนคนสุดท้ายคือ เลียม นีสัน ได้วางกุหลาบสองดอกไว้บนเครื่องหมาย [1]
นักแสดงหลัก
[แก้]- เลียม นีสัน รับบท อ็อสคาร์ ชินด์เลอร์
- เบน คิงสลีย์ รับบท อิทแช็ก สแตร์น
- เรล์ฟ ไฟนส์ รับบท เอ็สเอ็ส-อุนเทอร์ชตวร์มฟือเรอร์ อาม็อน เกิท
- คารอลีน กูดอล รับบท เอมิลี ชินด์เลอร์
- โจนาธาน ซาเกิล รับบท โพลเด็ค เฟ็ฟเฟอร์แบร์
- เอมเบิร์ธ เดวิดต์ซ รับบท เฮเลน เฮียร์ช
รางวัล
[แก้]- รางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- รางวัลออสการ์ สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- รางวัลออสการ์ สาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม
- รางวัลออสการ์ สาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม
- รางวัลออสการ์ สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม
- รางวัลออสการ์ สาขากำกับศิลป์ยอดเยี่ยม
- รางวัลออสการ์ สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- รางวัลลูกโลกทองคำ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประเภทภาพยนตร์ดรามา
- ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
อ้างอิง
[แก้]- ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2536
- ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2537
- ภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ
- ภาพยนตร์อเมริกัน
- ภาพยนตร์ที่กำกับโดย สตีเวน สปีลเบิร์ก
- ภาพยนตร์โดยยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลออสการ์
- ภาพยนตร์ที่สร้างจากเหตุการณ์จริง
- ภาพยนตร์ขาวดำ
- ภาพยนตร์ชีวประวัติ
- ภาพยนตร์ที่มีฉากในประเทศเยอรมนี
- ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในประเทศอิสราเอล
- ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในประเทศโปแลนด์
- ภาพยนตร์โดยแอมบลินเอ็นเตอร์เทนเมนต์
- อาม็อน เกิท
- อ็อสคาร์ ชินด์เลอร์
- ภาพยนตร์อนุรักษ์หอทะเบียนภาพยนตร์แห่งชาติสหรัฐ