ข้ามไปเนื้อหา

ชนเผ่านาวาโฮ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เผ่านาวาโฮและที่พักโฮเกนในฤดูหนาว

ชนเผ่านาวาโฮ (อังกฤษ: Navajo) มีจำนวนประชากรราว 220,000 คน อาศัยบริเวณเขตสงวนที่กว้างใหญ่ ชนเผ่านาวาโฮเป็นอินเดียนแดงกลุ่มใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ ในประวัติศาสตร์ชนเผ่านาวาโฮเริ่มจาก "การเดินทางอันยาวนาน" (The Long Walk) ในปี ค.ศ. 1864 หลังการสู้รบกับชาวสเปนและชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ ชาวนาวาโฮถูกบังคับให้ย้ายไปในเขตหุบเขาโมนูเมนต์ราว 480 กิโลเมตร หลังจากนั้นอีกสี่ปี ชาวนาวาโฮก็ได้รับอนุญาตให้ย้ายกลับไปยังเขตสงวนแบบดั้งเดิม ออกล่าสัตว์และทำการเกษตร

ปัจจุบันชนเผ่านาวาโฮยังคงเลี้ยงแกะในหุบเขาโมนูเมนต์ ซึ่งทำมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ซึ่งได้รับแกะจากชาวสเปนเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 17 การเป็นเจ้าของแกะเป็นสัญลักษณ์ของความมีฐานะในสังคม แม้แกะจะถูกจำกัดจำนวนตั้งแต่ปี 1930 เพราะทุ่งหญ้ามีไม่เพียงพอ

โฮเก้น (hogan) หรือบ้านแบบดั้งเดิมของชาวเผ่านาวาโฮ ใช้เสาไม้ตั้งพิงกันเป็นกระโจมยอดแหลมแล้วพอกด้วยดินรอบๆซึ่งในปัจจุบันจะใช้ซุงเรียงซ้อนกันแล้วพอกดินจนทั่ว สินค้าเกษตรที่สำคัญของชาวเผ่านาวาโฮ เป็นพวกเครื่องเรือน เช่น ตะกร้าหวาย ซึ่งกลายเป็นสินค้าที่สำคัญ

ขนสัตว์เริ่มเข้ามาแทนที่หนังกระต่ายเมื่อ 100 ปีมาแล้ว ซึ่งขนสัตว์จะนำมาทำผ้าห่มและพรม ลวดลายส่วนใหญ่มาจากรูปวาดบนพื้นทรายซึ่งมีกว่า 800 ลาย