จักรวรรดิโปรตุเกส
จักรวรรดิโปรตุเกส Império Português | |
---|---|
ค.ศ. 1415–ค.ศ. 1999 | |
เพลงชาติ: "อิงนูปราเตียติโก" (ค.ศ. 1808–1834) เพลงรักชาติ "อูอีนูดาการ์ตา" (ค.ศ. 1834–1910) เพลงสรรเสริญรัฐธรรมนูญ "อาปูร์ตูเกซา" (ค.ศ. 1910–1999) The Portuguese | |
จักรวรรดิโปรตุเกสและดินแดนโพ้นทะเล. แดง - ดินแดนที่เป็นเจ้าของ; เขียวมะกอก - สำรวจ; ส้ม - บริเวณที่มีอิทธิพลทางการค้า; ชมพู - อ้างสิทธิ; เขียว - สถานีค้าขาย; น้ำเงิน - การสำรวจทางทะเลหลัก เส้นทาง และบริเวณที่มีอิทธิพล | |
สถานะ | จักรวรรดิ |
เมืองหลวง | ลิสบอน a |
พระมหากษัตริย์ | |
• 1415–1433 | สมเด็จพระเจ้าฌูเซที่ 1 (พระองค์แรก) |
• 1908–1910 | สมเด็จพระเจ้ามานูเอลที่ 2 (พระองค์สุดท้าย) |
ประธานาธิบดี | |
• 1911–1915 | มานูเอล เด อาร์เฮียกา (คนแรก) |
• 1996–1999 | ฌอร์ฌึ ซังไปยู (คนสุดท้าย) |
ประวัติศาสตร์ | |
• การยึดครองเมืองเซวตา | ค.ศ. 1415 |
ค.ศ. 1498 | |
• ค้นพบบราซิล | ค.ศ. 1500 |
ค.ศ. 1808 | |
ค.ศ. 1815 | |
• บราซิลได้รับเอกราช | ค.ศ. 1822 |
ค.ศ. 1910 | |
• เสียอาณานิคมกัว | ค.ศ. 1961 |
ค.ศ. 1974–1975 | |
• การส่งมอบมาเก๊า | ค.ศ. 1999 |
จักรวรรดิโปรตุเกส (อังกฤษ: Portuguese Empire, โปรตุเกส: Império Português) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิอาณานิคมของโลกจักรวรรดิแรกที่มีดินแดนในหลายทวีปที่รวมทั้งอเมริกาใต้, แอฟริกา, อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้การปกครอง และเป็นจักรวรรดิอาณานิคมที่รุ่งเรืองอยู่นานที่สุดในยุโรปที่รุ่งเรืองอยู่เป็นเวลาเกือบห้าร้อยปีตั้งแต่การพบบราซิลในปี ค.ศ. 1500 จนกระทั่งถึงการคืนมาเก๊าในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานกว่าจักรวรรดิสเปน และ จักรวรรดิฝรั่งเศส
ความต้องการที่จะขยายดินแดนไปทั่วโลกของโปรตุเกสเริ่มขึ้นอย่างจริงจังเมื่อนักสำรวจเริ่มดินทางไปสำรวจทางฝั่งทะเลของแอฟริกาในปี ค.ศ. 1419 หลังจากที่ได้รับชัยชนะต่อเมืองเซวตา (Ceuta) ทางตอนเหนือของแอฟริกาในปี ค.ศ. 1415 โปรตุเกสใช้ความก้าวหน้าล่าสุดทางการเดินเรือ, การเขียนแผนที่ และเทคโนโลยีทางทะเลเช่นการใช้เรือคาราเวล (Caravel) ในการแสวงหาเส้นทางการค้าขายเครื่องเทศซึ่งเป็นสินค้าที่มีค่าที่สุดในยุคนั้น ในปี ค.ศ. 1488 บาร์ตูลูเมว ดีอัช (Bartolomeu Dias) เดินทางรอบแหลมกูดโฮปสำเร็จ และในปี ค.ศ. 1498 วาสโก ดา กามาก็เดินทางรอบอินเดีย ขณะที่การสำรวจเหล่านี้เป็นการแสดงถึงอำนาจของโปรตุเกสในต่างประเทศแต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของการสำรวจก็เพื่อเป็นการขยายเส้นทางการค้าที่เน้นการแสวงหาเส้นทางใหม่ไปยังตะวันออกไกล โดยไม่ต้องเดินทางผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่ขณะนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของอำนาจของฝ่ายปฏิปักษ์โดยเฉพาะจักรวรรดิออตโตมัน
ความเปลี่ยนแปลงในปี ค.ศ. 1500 เกิดขึ้นเมื่อมีผู้พบฝั่งทะเลอเมริกาใต้โดยบังเอิญ และเมื่อเปดรู อัลวาเรซ กาบรัลเป็นผู้เดินทางสำรวจไปพบและยึดบราซิลเป็นอาณานิคม นโยบายที่เคยเป็นการสำรวจเพื่อการค้าจึงเริ่มเปลี่ยนไปเป็นการสำรวจเพื่อแสวงหาอาณานิคม ในช่วงเวลาหลายสิบปีต่อมานักเดินเรือชาวโปรตุเกสก็ดำเนินการสำรวจฝั่งทะเลและเกาะต่างๆ ในเอเชียตะวันออกต่อไป ก่อตั้งป้อม และ สถานีการค้า (trading post) ขึ้นตามสถานที่ต่างๆ ที่พบ ภายในปี ค.ศ. 1571 โปรตุเกสก็มีสถานีการค้าระไปตั้งแต่ลิสบอนเองไปจนถึงนางาซากิในญี่ปุ่น การขยายดินแดนทำให้โปรตุเกสกลายเป็นจักรวรรดิโลกที่มีความมั่งคั่งอันมหาศาล
ระหว่างปี ค.ศ. 1580 ถึงปี ค.ศ. 1640 โปรตุเกสก็กลายเป็นพันธมิตรรองของสเปนของสองราชบัลลังก์ในการรวมตัวกันเป็นสหภาพไอบีเรีย (Iberian Union) แม้ว่าสองราชอาณาจักรนี้จะมีการบริหารแยกกันแต่อาณานิคมของโปรตุเกสก็กลายเป็นเป้าในการโจมตีโดยศัตรูของสเปนในยุโรปผู้มีความไม่พึงพอใจต่อความสำเร็จในอำนาจทางทะเลในต่างประเทศของจักรวรรดิในคาบสมุทรไอบีเรียที่รวมทั้งจักรวรรดิดัตช์ (ผู้ในที่สุดก็เข้าสงครามสงครามอิสรภาพต่อต้านสเปน), จักรวรรดิอังกฤษ และ จักรวรรดิฝรั่งเศส แต่โปรตุเกสเป็นประเทศเล็กและมีประชากรเพียงจำนวนไม่มากนักซึ่งทำให้ไม่สามารถป้องกันอาณานิคมในการปกครองของตนเองในดินแดนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ซึ่งในที่สุดก็เป็นผลทำให้อำนาจของโปรตุเกสเริ่มลดถอยลง นอกจากนั้นการสูญเสียบราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมที่ใหญ่ที่สุดและสร้างผลกำไรให้มากที่สุดแก่โปรตุเกสในปี ค.ศ. 1822 ในช่วงการปลดปล่อยอาณานิคมในอเมริกา (Decolonization of the Americas) เป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงที่ทำให้โปรตุเกสไม่อาจฟื้นตัวขึ้นได้หลังจากนั้น
การล่าอาณานิคมในแอฟริกาที่เริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้โปรตุเกสพอจะได้ดินแดนมาบ้าง ดินแดนส่วนใหญ่ในแอฟริกาที่ได้มาตกอยู่ภายใต้การบริหารและอิทธิพลของโปรตุเกสเป็นเวลาหลายร้อยปี เมืองเช่นลูอันดา (Luanda) และ เบงเกลา (Benguela) และที่ตั้งถิ่นฐานต่างๆ หลายแห่งได้รับการก่อตั้งขึ้นและปกครองโดยโปรตุเกสมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง อังตอนียู ดือ ออลีไวรา ซาลาซาร์ (António de Oliveira Salazar) ผู้นำของโปรตุเกสก็ยังพยายามรักษาจักรวรรดิโปรตุเกสไว้โดยไม่ยอันอมเปลี่ยนแปลงในขณะที่ประเทศต่างๆ ในยุโรปเริ่มถอนตัวจากอาณานิคมต่างๆ ในปี ค.ศ. 1961 กองกำลังจำนวนเพียงเล็กน้อยของโปรตุเกสที่ประจำอยู่ที่รัฐกัวก็ไม่สามารถต้านทานกองทหารอินเดียที่รุกเข้ามาในอาณานิคมได้ ซาลาซาร์จึงเริ่มสงครามอาณานิคมโปรตุเกสอันเป็นสงครามนองเลือดอันยาวนานเพื่อที่จะปราบปรามนักต่อต้านอาณานิคมในอาณานิคมแอฟริกา สงครามอันไม่เป็นที่นิยมมาสิ้นสุดลงเมื่อคณะรัฐบาลของซาลาซาร์ถูกโค่นอำนาจในปี ค.ศ. 1974 ที่เรียกกันว่าการปฏิวัติคาร์เนชัน (Carnation Revolution) หลังจากนั้นรัฐบาลโปรตุเกสก็เปลี่ยนนโยบายทันทีและอนุมัติอิสรภาพของประเทศต่างๆ ในอาณานิคมโปรตุเกสทั้งหมดยกเว้นมาเก๊าที่มาคืนให้แก่ประเทศจีนในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งเท่ากับเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิโปรตุเกส
อ้างอิง
[แก้]- Abernethy, David (2000). The Dynamics of Global Dominance, European Overseas Empires 1415–1980. Yale University Press. ISBN 0300093144.
- Anderson, James Maxwell (2000). The History of Portugal. Greenwood Publishing Group. ISBN 0313311064.
- Boxer, Charles Ralph (1969). The Portuguese Seaborne Empire 1415–1825. Hutchinson. ISBN 0091310717.
- Boyajian, James (2008). Portuguese Trade in Asia Under the Habsburgs, 1580–1640. JHU Press. ISBN 0801887542.
- Davies, Kenneth Gordon (1974). The North Atlantic World in the Seventeenth Century. University of Minnesota Press. ISBN 0816607133.
- Diffie, Bailey (1977). Foundations of the Portuguese Empire, 1415–1580. University of Minnesota Press. ISBN 0816607826.
- Lockhart, James (1983). Early Latin America: A History of Colonial Spanish America and Brazil. Cambridge University Press. ISBN 0521299292.
- McAlister, Lyle (1984). Spain and Portugal in the New World, 1492–1700. University of Minnesota Press. ISBN 0816612161.
- Newitt, Malyn D.D. (2005). A History of Portuguese Overseas Expansion, 1400–1668. Routledge. ISBN 0415239796. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-14. สืบค้นเมื่อ 2009-08-17.
- Russell-Wood, A.J.R. (1998). The Portuguese Empire 1415–1808. Johns Hopkins University Press. ISBN 0801859557.
- Scammell, Geoffrey Vaughn (1997). The First Imperial Age, European Overseas Expansion c.1400–1715. Routledge. ISBN 0415090857.
ดูเพิ่ม
[แก้]- จักรวรรดิโปรตุเกส
- จักรวรรดิ
- จักรวรรดิโพ้นทะเล
- รัฐคริสต์
- รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป
- รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย
- รัฐสิ้นสภาพในทวีปแอฟริกา
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศโปรตุเกส
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศอินเดีย
- รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 15
- สิ้นสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20
- รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 1958
- สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2542
- บทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์