ข้ามไปเนื้อหา

คำประกาศบัลโฟร์ ค.ศ. 1926

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าจอร์จที่ 5 (ประทับนั่งตรงกลาง) และเหล่านายกรัฐมนตรีในการประชุมใหญ่ผู้นำแห่งจักรวรรดิ
แถวยืน (จากซ้าย): มอนโร (นิวฟันด์แลนด์), โคทส์ (นิวซีแลนด์), บรูซ (ออสเตรเลีย), เฮิร์ทซอก (สหภาพแอฟริกาใต้), คอสเกรฟ (รัฐเสรีไอริช)
แถวนั่ง: บอลดวิน (สหราชอาณาจักร), พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร, วิลเลียม ไลอัน แมกเคนซี คิง (แคนาดา)

คำประกาศบัลโฟร์ ค.ศ. 1926 (อังกฤษ: Balfour Declaration of 1926) ประกาศในการประชุมใหญ่ผู้นำแห่งจักรวรรดิอังกฤษ ค.ศ. 1926 จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน โดยตั้งชื่อคำประกาศนี้ตามอาเธอร์ บัลโฟร์ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี (Lord President of the Council) เนื้อความคำประกาศนั้นรับรองว่าสหราชอาณาจักรและเหล่าประเทศในเครือจักรภพ

... นั้นเป็นประชาคมที่ต่างปกครองตนเองภายในจักรวรรดิอังกฤษอันมีความเท่าเทียมกันทางสถานะและไม่มีประเทศใดที่จะด้อยกว่าในเรื่องของทั้งกิจการภายในและต่างประเทศ แต่ล้วนมีอัตลักษณ์สำคัญที่เหมือนกันผ่านความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และอีกยังถือเป็นส่วนหนึ่งของเหล่าประเทศในเครือจักรภพแห่งประชาชาติได้อย่างเสรี[1]

คณะกรรมาธิการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในจักรวรรดิซึ่งมีบัลโฟร์เป็นประธานได้รับผิดชอบในการร่างเอกสารสำหรับเตรียมการต่างๆ จนถึงการลงมติเป็นเอกฉันท์โดยเหล่านายกรัฐมนตรีทั้งหลายในจักรวรรดิเมื่อ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1926[2] โดยแผนการนี้มีผู้เสนอโดยนายกรัฐมนตรีแอฟริกาใต้ เฮิร์ทซอก และนายกรัฐมนตรีแคนาดา วิลเลียม ไลอัน แมกเคนซี คิง

อาเธอร์ บัลโฟร์ เอิร์ลแห่งบัลโฟร์

คำประกาศนี้ได้ตกลงรับรองเพิ่มการมีเอกราชทางการเมืองและทางการทูตของประเทศในเครือจักรภพในช่วงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และยังแนะนำให้ผู้สำเร็จราชการ (Governor General) ซึ่งเป็นผู้แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งถือเป็นประมุขแห่งรัฐโดยพฤตินัยของแต่ละประเทศนั้นไม่ควรมีหน้าที่เป็นผู้แทนของรัฐบาลสหราชอาณาจักร ในไม่กี่ปีถัดมา ได้เริ่มมีการจัดตั้งข้าหลวงใหญ่ (High Commissioner) ซึ่งบทบาทหน้าที่นั้นเกือบจะเหมือนกับเอกอัครข้าราชทูต ข้าหลวงใหญ่แห่งสหราชอาณาจักรได้รับการแต่งตั้งเป็นครั้งแรกเพื่อปฏิบัติราชการที่แคนาดา เมื่อปีค.ศ. 1928

ข้อสรุปต่างๆ ของการประชุมใหญ่ผู้นำเมื่อปีค.ศ. 1926 ได้นำเข้ามาประชุมหารืออีกครั้งเมื่อการประชุมใหญ่ปีค.ศ. 1930 และได้บรรจุเข้าในธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1931 ในธรรมนูญนี้ได้ระบุไว้ว่ารัฐสภาสหราชอาณาจักรจะไม่ตรากฎหมายใดๆ เพื่อจะบังคับใช้เป็นกฎหมายในประเทศในเครือรัฐประเทศนั้นๆ ยกเว้นกรณีที่กฎหมายได้ระบุไว้ว่ารัฐบาลแห่งประเทศนั้นได้ร้องขอและให้การยินยอมการตรากฎหมายนั้นๆ[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Clause II
  2. Marshall, Sir Peter (September 2001). "The Balfour Formula and the Evolution of the Commonwealth". The Round Table. 90 (361): 541–53. doi:10.1080/00358530120082823. S2CID 143421201.
  3. Statute of Westminster, 1931, 22 Geo. V, c. 4, s. 4.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Hall, H. Duncan. "The genesis of the Balfour declaration of 1926." Journal of Commonwealth & Comparative Politics 1.3 (1962): 169–193.
  • Holland, Robert F. Britain and the Commonwealth Alliance, 1918–39 (Springer, 1981).
  • McIntyre, W. David. "The strange death of dominion status." Journal of Imperial and Commonwealth History 27.2 (1999): 193–212.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]