ความผิดปรกติในความคิด
ความผิดปรกติในความคิด (Thought disorder) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Formal thought disorder (FTD) |
ผ้าที่ปักโดยคนไข้โรคจิตเภท แสดงการสัมพันธ์คำและแนวคิดต่าง ๆ อย่างไร้ความหมายที่เป็นอาการของความผิดปกติทางความคิด | |
สาขาวิชา | จิตเวช |
ความผิดปรกติในความคิด[1] หรือ ความผิดปกติทางความคิด (อังกฤษ: thought disorder ตัวย่อ TD) หมายถึงความคิดสับสนดังที่เห็นจากการพูดสับสน[2] ความปกติทางความคิดโดยเฉพาะ ๆ รวมการพูดนอกเรื่อง (derailment) พูดน้อย (poverty of speech) ตอบเฉียด (tangentiality คือพูดไม่เข้าเรื่อง) พูดไร้เหตุผล พูดหรือทำท่าทางซ้ำ ๆ (perseveration) และความคิดชะงัก (thought blocking)[2] TD เป็นอาการเด่นอย่างหนึ่งของโรคจิตเภท แต่ก็สัมพันธ์กับภาวะอื่น ๆ อีกด้วยรวมทั้งความผิดปกติทางอารมณ์ ภาวะสมองเสื่อม อาการฟุ้งพล่าน และโรคทางประสาท (neurological disease)[3][4]
จิตแพทย์จัดความผิดปกติทางความคิดโดยรูปแบบ (formal thought disorder) ว่าเป็นความคิดที่ผิดปกติอย่างหนึ่ง ส่วนอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความผิดปกติทางความคิดโดยเนื้อหาซึ่งรวมอาการหลงผิด (delusion) อย่างหลังเป็นความผิดปกติในเรื่องที่คิด อย่างแรกเป็นความผิดปกติในความคิดโดยรูปแบบที่แสดงออก แม้คำภาษาอังกฤษว่า thought disorder อาจหมายถึงอาการทั้งสองแบบ แต่หนังสือจิตเวชบางเล่มและบทความนี้ใช้คำนี้โดยหมายถึงความผิดปกติทางความคิดโดยรูปแบบ
แม้จิตแพทย์ชาวสวิส อ็อยเกน บล็อยเลอร์ ผู้ตั้งชื่อโรค schizophrenia (โรคจิตเภท) จัดความผิดปกตินี้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของโรคจิตเภท[5] แต่ความผิดปกตินี้ก็ไม่ได้เกิดเฉพาะในโรคจิตเภทหรืออาการโรคจิตเท่านั้น มันมักเป็นอาการหนึ่งของอาการฟุ้งพล่าน และอาจพบในความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า[2] การพูดสัมผัสเสียง (clanging) หรือการพูดเลียน (echolalia) ก็อาจพบด้วยใน Tourette syndrome[6] คนไข้ที่สำนึกถึงสิ่งแวดล้อมลดลง ไม่มีสมาธิ และสับสน ซึ่งเป็นอาการที่เรียกว่า clouding of consciousness (เหมือนมีหมอกในหัว) ดังที่พบในอาการเพ้อก็มีความผิดปกตินี้ด้วย[7]
แต่ก็มีความแตกต่างในการตรวจรักษาคนไข้สองกลุ่มนี้ คนไข้โรคจิตเภทหรือมีอาการโรคจิตไม่ค่อยสำนึกถึงหรือเป็นห่วงเรื่องความสับสนของตน[8] เทียบกับคนไข้ที่เหมือนมีหมอกในหัว ที่จัดว่าเป็นคนไข้โรคทางกาย ปกติจะสำนึกถึงและเป็นห่วง โดยบ่นว่าสับสน คิดได้ไม่ดี
รูปแบบและกระบวนการทางความคิดเทียบกับสิ่งที่คิด
[แก้]คำภาษาอังกฤษว่า thought disorder ทำความสับสนให้กับทั้งนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาแพทย์ระยะเวชปฏิบัติ และแพทย์ที่มีประสบการณ์แล้ว มันไม่มีนิยามที่ยอมรับอย่างทั่วไป แม้จะเริ่มมีความเห็นพ้องภายในทศวรรษที่ผ่านมา (2016) แพทย์บางพวกใช้มันหมายถึงความผิดปกติทางความคิดโดยรูปแบบ (formal thought disorder) และการพูดที่สับสน บางพวกใช้อย่างกว้าง ๆ โดยหมายถึงการพูดที่สับสน ความสับสน อาการหลงผิด (delusion) รวมแม้กระทั่งประสาทหลอน (hallucination)[9] พวกอื่นใช้มันหลวม ๆ ยิ่งกว่านั้นโดยหมายถึงความผิดปกติทางประชาน (cognitive disorder) ในปี 1962 จิตแพทย์ชาวอังกฤษ (Frank Fish) เสนอว่า ความผิดปกติทางประชานสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ความผิดปกติทางการรับรู้ (perceptual disorder) ความผิดปกติในสิ่งที่คิด (thought content disorder) ความผิดปกติของกระบวนการความคิด (thought process disorder) และความผิดปกติของรูปแบบความคิด (thought form disorder)[10]
ในสถานรักษาพยาบาลทางจิตเวช ความผิดทางการรับรู้ที่สามัญสุดคือประสาทหลอนแบบต่าง ๆ ความผิดปกติในสิ่งที่คิด ซึ่งก็คือความผิดปกติของความเชื่อและการตีความประสบการณ์ ก็คืออาการหลงผิด (delusion) ความผิดปกติของกระบวนการความคิด ซึ่งเป็นความผิดปกติทางไอเดียและการสร้างคำพูดก่อนที่จะแสดงออก รวมการพูดเร็ว (pressured speech) และความคิดชะงัก (thought blocking) ความผิดปกติของรูปแบบความคิด ซึ่งก็คือความผิดปกติในความคิดโดยรูปแบบตรง ๆ ก็คือความผิดปกติของการแสดงออกทางภาษาทั้งในการพูดการเขียน รวมการพูดไม่ปะติดปะต่อ (incoherence) การตอบเฉียด (tangentiality) หรือการพูดออกนอกเรื่อง (derailment) อาการที่คนไข้แสดงในสถานการณ์แต่ละครั้ง ๆ อาจไม่สามารถจัดเข้าหมวดหมู่เหล่านี้โดยเดี่ยว ๆ ได้ คนไข้อาจมีความผิดปกติในหมวดหมู่หนึ่ง ๆ มากกว่านั้น หรือทั้งหมด[10] เมื่อกันความผิดปกติทางการรับรู้และความผิดปกติในสิ่งที่คิด คำว่า ความผิดปกติทางความคิด (thought disorder) หรือความผิดปกติทางความคิดโดยรูปแบบ (formal thought disorder) ในหนังสือทางจิตเวชบางครั้ง (หรือควรหมายความอย่างนี้[11]) หมายถึงความผิดปกติของรูปแบบและกระบวนการความคิด[10][11] บทความนี้โดยมากเพ่งความสนใจไปที่ความหมายนี้โดยเฉพาะในส่วนเรื่องรูปแบบย่อยต่าง ๆ
รูปแบบย่อยและอาการ
[แก้]ความผิดปกติในความคิด (thought disorder) อาจต่อเนื่องจากพฤติกรรมปกติ คือ คนปกติอาจมีอาการเป็นบางครั้งบางคราวเช่นเมื่อเหนื่อยหรือเมื่อเสียความยับยั้งชั่งใจ เมื่อนักเขียนใช้ภาษาแบบสร้างสรรค์ หรือเมื่อคนในอาชีพบางอย่าง เช่น นักการเมือง ผู้บริหาร นักปรัชญา รัฐมนตรี หรือนักวิทยาศาสตร์ ใช้ภาษาแบบเป็นวิชาการ/แบบเป็นทางการมากเกิน หรือเมื่อคนที่ไม่ค่อยฉลาดหรือไม่มีการศึกษาใช้ภาษาคล้ายกับคนไข้ที่มีอาการโรคทางจิตอย่างรุนแรง[12]
เพื่อพิจารณาว่าคนไข้มีอาการนี้หรือไม่ แพทย์พยาบาลจะสังเกตดูการพูดอย่างละเอียด แม้การมีอาการต่าง ๆ ที่จะกล่าวต่อไปจะเป็นเรื่องปกติในบางครั้ง แต่ระดับความผิดปกติ ความถี่ และผลต่อการใช้ชีวิตก็จะเป็นตัวให้สรุปว่าคนไข้มีอาการนี้หรือไม่[13] คนไข้ควรจะประเมินภายในบริบท เช่น คนไข้ควบคุมอาการนี้ได้หรือไม่ สามารถลดลงเมื่อขอให้กล่าวอย่างเจาะจงหรือย่างกระชับขึ้นได้หรือไม่ พูดดีขึ้นไหมเมื่อกล่าวถึงอีกเรื่องหนึ่ง มีอาการที่สำคัญอย่างอื่น ๆ อีกหรือไม่ คนไข้มีพื้นเพอย่างไร (เช่น การศึกษาและระดับเชาวน์ปัญญา)[12] อนึ่ง ความใส่ใจที่พิการ ความจำไม่ดี และปัญหาการเข้าใจความคิดทางนามธรรมอาจแสดงว่ามีความผิดปกตินี้ ซึ่งสามารถเฝ้าสังเกตหรือประเมินด้วยแบบประเมินสถานะทางจิตใจ เช่น serial sevens[A] หรือการตรวจสอบความจำ[10]
มีรูปแบบย่อยที่ได้ตั้งชื่อหลายอย่างและอาจสับสนได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงโดยไม่ระบุว่าเป็นรูปแบบย่อยของความผิดปกติทางความคิด[15] รูปแบบย่อยต่าง ๆ ที่อาจพบในวรรณกรรมแพทย์รวมทั้ง
- อาการพูดน้อย (alogia หรือ poverty of speech)[16] คือพูดน้อยไม่ว่าจะโดยปริมาณหรือโดยเนื้อความ ในการจัดอาการของโรคจิตเภทเป็นอาการเชิงบวกหรืออาการเชิงลบ มันเป็นอาการเชิงลบ แต่เมื่อจัดลงในหมวดหมู่ที่มากกว่านั้น การพูดน้อยโดยเนื้อความ (poverty of speech content) คือพูดสื่อความได้น้อยแม้ปริมาณคำพูดจะปกติ เป็นอาการสับสน (disorganization symptom) อย่างหนึ่ง เทียบกับการพูดน้อยโดยปริมาณ (poverty of speech) ที่เป็นอาการเชิงลบอย่างหนึ่ง[16] ในแบบการวัดเพื่อประเมินอาการบกพร่องสำหรับโรคจิตเภท (SANS) ซึ่งใช้ในงานวิจัยทางคลินิก อาการความคิดชะงัก (thought blocking) และการเพิ่มความล่าช้าในการตอบ (increased latency in response) ก็จัดเป็นส่วนของอาการพูดน้อยด้วย[17]
- อาการความคิดชะงัก (thought blocking)[18] คือการคิดชะงักไปโดยยังไม่จบเรื่อง คนไข้อาจหรือไม่อาจดำเนินความคิดต่อไปได้[19] นี่เป็นความผิดปกติทางความคิดอย่างหนึ่งที่เห็นในโรคจิตเภท[2]
- อาการคิดอ้อมค้อม (circumstantiality, circumstantial thinking, circumstantial speech)[18] คือบอกรายละเอียดที่ไม่จำเป็นโดยมักไม่เข้าประเด็นคำถามแต่ก็ยังไม่เสียประเด็นหลัก[20] ไม่สามารถตอบคำถามโดยไม่ให้รายละเอียดเกินควรและไม่จำเป็น[21] ต่างกับอาการตอบเฉียด (tangentiality) เพราะคนไข้ยังกลับไปยังประเด็นหลักได้ ตัวอย่างเช่น คนไข้ตอบคำถามคือ "ตอนนี้นอนหลับดีไหม" ว่า "ผมนอนตั้งแต่เช้าจะได้นอนพอ ผมชอบฟังเพลงหรืออ่านหนังสือก่อนนอน ผมกำลังอ่านนิยายปริศนาอยู่ บางทีผมอาจจะเขียนนิยายปริศนาในอนาคต แต่มันไม่ได้ช่วยหรอก หมายถึงการอ่านหนังสือน่ะ ผมนอนได้เพียง 2-3 ชม. ตอนกลางคืน"[22]
- อาการคิดสัมผัสเสียง (clanging, clang association)[18] เป็นอาการความคิดแล่นเตลิด (flight of ideas) ที่รุนแรง ที่ไอเดียต่าง ๆ จะสัมพันธ์กันตามสัมผัสเสียงหรือสัมผัสอักษร ไม่ได้ตามความหมาย[19] ในภาษาอังกฤษ คนไข้อาจกล่าว่า "Many moldy mushrooms merge out of the mildewy mud on Mondays." (ตามสัมผัสอักษร) หรือ "I heard the bell. Well, hell, then I fell." (ตามสัมผัสเสียง) ปกติมักเห็นในคนไข้โรคอารมณ์สองขั้วในระยะฟุ้งพล่าน แต่ก็เห็นด้วยในอาการโรคจิตที่มีเหตุจากโรคทางจิตเวช คือ โรคจิตเภท และ schizoaffective disorder
- อาการคิดนอกเรื่อง (derailment, loose association, knight's move thinking)[18] ความคิดเปลี่ยนจากเรื่องหนึ่งไปยังอีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกันนิด ๆ หน่อย ๆ หรือไม่เกี่ยวเลย มักจะเห็นในคำพูดแต่ก็เห็นในการเขียนด้วย[23] เช่น "พรุ่งนี้ฉันจะออกจากบ้านนะ ฉันเข้าไปจัดการ เออ ฉันใส่ยาฟอกสีในผมของฉันในรัฐแคลิฟอร์เนีย"[24]
- อาการพูดวอกแวก (distractible speech) คือเมื่อพูดอยู่ยังไม่จบ คนไข้เปลี่ยนประเด็นไปอีกเรื่องหนึ่งเพราะสิ่งเร้าภายนอกใกล้ ๆ เช่น "ต่อจากนั้น ฉันก็ย้ายที่อยู่จากซานฟรานซิสโกไปยัง... คุณได้เน็คไทนั้นมาจากที่ไหน"[25]
- อาการพูดเลียน (echolalia)[26] คืออาการเลียนคำหรือวลีของผู้อื่นที่ทำโดยอัตโนมัติและไม่รู้ตัว[19][27][28] อาจทำครั้งเดียว หรือทำซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง อาจเลียนแค่คำสุดท้าย ๆ ที่คนอื่นพูด อาจเป็นอาการอย่างหนึ่งของ Tourette's Syndrome ตัวอย่างเช่น (ถาม) "จะกินข้าวเย็นไหม" (ตอบ) "จะกินข้าวเย็นไหม [หยุดไปครู่หนึ่ง] กิน มีอะไรกิน"[29]
- อาการพูดเลี่ยงความคิดต่อไป (evasion) คือเปลี่ยนความคิดต่อไปตามเหตุผลในลำดับความคิด ด้วยความคิดอื่นที่ใกล้ ๆ กันแต่ไม่สมควรหรือไม่ถูกต้อง เรียกด้วยว่า paralogia หรือ perverted logic[30][31] ตัวอย่างภาษาอังกฤษเช่น "I... er ah... you are uh... I think you have... uh-- acceptable erm... uh... hair."
- อาการความคิดแล่นเตลิด (flight of ideas)[18] คือกระโดดจากประเด็นหนึ่งไปยังอีกประเด็นหนึ่ง แม้จะอาจจะสัมพันธ์กันบ้าง อาจเป็นเพราะความคล้ายกันของประเด็น หรือในกรณีที่รุนแรงขึ้น เพราะสัมผัสเสียง เพราะคำที่มีความหมายหลายนัย เพราะเล่นคำ หรือเพราะสิ่งเร้าธรรมดา ๆ รอบ ๆ ตัว เช่น เสียงนกร้อง ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของคราวฟุ้งพล่านในโรคอารมณ์สองขั้ว[19]
- ความไม่สมเหตุผล (illogicality)[32] คือสรุปเรื่องโดยไม่สมเหตุผล (โดย non-sequitur หรือการอนุมานที่ผิดพลาด) เช่น "คุณคิดว่านี่จะใส่ในกล่องได้ไหม" ตอบเช่นว่า "พูดเล่นหรือไง มันเป็นสีน้ำตาลไม่ใช่หรือ"
- พูดไม่ปะติดปะต่อ (incoherence, word salad)[18] พูดเข้าใจไม่ได้เพราะแม้จะใช้คำที่มีจริง ๆ แต่วิธีประกอบคำเข้าด้วยกันทำให้ไร้ความหมาย ปะติดปะต่อไม่ได้[19] เช่น ถามว่า "ทำไมคนถึงหวีผม" ตอบว่า "เพราะมันทำให้เป็นวงในชีวิต กล่องของฉันเสีย ช่วยฉันด้วย ช้างสีน้ำเงิน ผักกาดช่างกล้าหาญจริง ๆ เนอะ ฉันชอบอิเล็กตรอน ฮัลโหล ขอที!"
- การเสียจุดมุ่งหมาย (loss of goal)[33] การไม่ตามกระแสความคิดไปให้ถึงข้อยุติตามปกติได้[34] เช่น ถามว่า "ทำไมคอมพ์ของฉันถึงล้มอยู่เรื่อย" ตอบว่า "คือ คุณอยู่ในบ้านปูนฉาบ ดังนั้น กรรไกรจึงต้องอยู่ในลิ้นชักอีกอันหนึ่ง"
- การสร้างคำใหม่ (neologism)[18] เมื่อใช้ในบริบททางประสาทวิทยาหรือจิตพยาธิวิทยา หมายถึงการสร้างคำ วลี หรือสำนวนใหม่ ที่ปกติคนอื่นเข้าใจความหมายและที่มาไม่ได้ ตัวอย่างในภาษาอังกฤษก็คือ การใช้คำว่า klipno เพื่อเรียกนาฬิกา (watch)[35][36] แม้คำภาษาอังกฤษว่า neologism อาจใช้หมายถึงคำที่สร้างขึ้นอย่างไม่ถูกต้องแต่สามารถเข้าใจที่มาได้ (เช่น "headshoe"-รองเท้าศีรษะ แทน hat-หมวก) แต่จะชัดเจนกว่าถ้าเรียกว่า word approximation (การสร้างคำเลียน)[37]
- การรวมรายละเอียดเกิน (overinclusion)[26] คือรวมรายละเอียดที่ไร้ประโยชน์ ไม่สมควร ไม่ตรงประเด็น เกินความต้องการเกี่ยวกับเรื่องหนึ่ง ๆ[38][39]
- การคงใช้คำพูดซ้ำ ๆ (perseveration)[26] คือคงยืนใช้เสียง คำหรือวลีซ้ำ ๆ แม้เมื่อคนอื่นพยายามเปลี่ยนประเด็นการพูด[19][40][41] เช่น "ดีใจมากเลยที่ได้มาอยู่ที่เนวาดา เนวาดา เนวาดา เนวาดา" หรืออาจตอบคำถามแบบเดิม ๆ แม้จะเปลี่ยนคำถามไปแล้ว เช่น "คุณชื่อแมรี่ใช่ไหม" "ใช่" "คุณอยู่ใน รพ. หรือเปล่า" "ใช่" "คุณเป็นโต๊ะใช่ใหม่" "ใช่" อาการอาจรวมอาการพูดซ้ำเร็ว (palilalia) และการพูดซ้ำพยางค์สุดท้ายของคำ (logoclonia) อาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีโรคสมองที่เป็นโรคกายเช่น โรคพาร์คินสัน
- การพูดเร็ว (pressure of speech)[32] คือพูดไม่หยุด เร็ว ไม่หยุดแม้ชั่วครู่[19] ขัดจังหวะได้ยาก อาจพูดต่อไปแม้เมื่อถามคำถามอื่นตรง ๆ เป็นการพูดมากผิดปกติ[42]
- การพูดมีเนื้อความน้อย (Poverty of content of speech)[16] คือปริมาณคำพูดที่ใช้ตอบคำถามอาจจะปกติแต่คำพูดมักคลุมเครือ ตรงไปตรงมาเกิน เป็นนามธรรมเกิน ซ้ำ ๆ เกิน พูดเป็นพิมพ์เดียว และสื่อความหมายได้น้อย[17] เช่น คนไข้ตอบคำถาม "ทำไมถึงได้เข้า รพ." ว่า “ผมมักจะใคร่ครวญ มันเป็นเรื่องทั่วไปของโลก มันเป็นแนวโน้มที่ต่างกันไปบ้างเป็นครั้งเป็นคราว มันระบุเรื่องต่าง ๆ มากกว่าสิ่งอื่น ๆ มันอยู่ในลักษณะนิสัย นี่เป็นสิ่งที่ผมอยากจะกล่าวเพื่ออธิบายทุกสิ่งทุกอย่าง”[38]
- พูดวางท่า (stilted speech)[43] คือพูดเป็นรูปแบบ/ตามภาษาเขียน/ตามภาษาทางการ มีพิธีรีตอง วางท่า สุภาพ ไม่คุ้นเคย ล้าสมัย[44] เป็นภาษาดอกไม้[19] ตามกฎเกณฑ์/ระเบียบวิธี เป็นปรัชญา อย่างเลยเถิด[45] ตัวอย่างภาษาอังกฤษเช่น "The attorney comported himself indecorously." (ทนายวางท่าอย่างไม่เหมาะ)
- อาการตอบเฉียด (tangentiality)[18] คือพูดโดยมักออกนอกประเด็น ไม่กล่าวถึงประเด็นหลัก[46] มักตอบคำถามอย่างอ้อม ๆ[47][19] เช่น สำหรับคำถาม "คุณมาจากไหน" ตอบว่า "สุนัขของผมมาจากประเทศอังกฤษ ปลาและแผ่นมันฝรั่งทอดที่นั่นอร่อย ปลาหายใจด้วยเหงือก"
- อาการพูดหรือเขียนซ้ำ ๆ อย่างไร้ความหมาย (verbigeration)[48] เป็นคำหรือวลีที่พูดหรือเขียนซ้ำ ๆ และไร้ความหมายโดยใช้แทนที่คำพูดที่เข้าใจได้ ดังที่เห็นในโรคจิตเภท[48][49]
- การสร้างคำเลียน (word approximations) คือใช้คำเก่าสร้างคำใหม่อย่างไม่ถูกต้อง แต่ที่มาของคำสามารถเข้าใจได้ ตัวอย่างภาษาอังกฤษเช่น เช่น "headshoe"-รองเท้าศีรษะ แทน hat-หมวก[37]
การใช้คำในภาษาอังกฤษ
[แก้]บทความในส่วนนี้อธิบายการใช้คำในภาษาอังกฤษที่ทำให้สับสนได้ง่ายเมื่ออ่านวรรณกรรมแพทย์ในภาษาอังกฤษ
Thought Disorder
[แก้]อภิธานทางจิตเวช/จิตวิทยาเร็ว ๆ นี้ (2015, 2017) นิยาม thought disorder ว่าเป็นการคิดหรือปริชานที่เกิดปัญหาโดยมีผลต่อการสื่อสาร ภาษา หรือสิ่งที่คิดซึ่งรวมการมีข้อคิดน้อย (poverty of ideas), การสร้างคำใหม่ (neologisms), การพูดโดยไม่ดำเนินตามตรรกะ (paralogia), การพูดไม่ปะติดปะต่อ (word salad) และอาการหลงผิด (delusion)[3][4] ซึ่งรวมทั้งปัญหาในสิ่งที่คิดและรูปแบบความคิด แล้วเสนอคำที่เฉพาะเจาะจงกว่าสองคำคือ ความผิดปกติทางความคิดโดยเนื้อหา (content thought disorder) และความผิดปกติทางความคิดโดยรูปแบบ (formal thought disorder)[4] ความผิดปกติทางความคิดโดยเนื้อหานิยามว่าเป็นปัญหาความคิดที่มีอาการหลงผิดที่ไม่ประสานกันหลายอย่าง[50][51] ความผิดปกติทางความคิดโดยรูปแบบนิยามว่าเป็นปัญหาของรูปแบบหรือโครงสร้างความคิด[52][53] ยกตัวอย่างเช่น คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM-5 ปี 2013) ใช้แต่คำว่า formal thought disorder โดยเป็นไวพจน์ของคำว่า disorganized thinking และคำว่า disorganized speech[54] เทียบกับบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ICD-10) ซึ่งใช้แต่คำว่า thought disorder โดยจะใช้คำว่า delusion (อาการหลงผิด) และ hallucination (ประสาทหลอน) ติดตามแต่ต่างหากเสมอ ๆ[55] และพจนานุกรมแพทย์ทั่วไป (2002) ที่แม้จะนิยามคำว่า thought disorder คล้ายกับอภิธานทางจิตเวช[56] แต่ก็ใช้คำนี้ในการนิยามคำอื่น ๆ ในนัยเดียวกันกับที่ ICD-10 ใช้[57]
หนังสือจิตเวชเร็ว ๆ นี้ (2017) เมื่อกล่าวถึงความผิดปกติทางความคิดว่าอยู่ในกลุ่ม "อาการสับสน" (disorganization syndrome) ในบริบทของโรคจิตเภทว่า
“Thought disorder” ในที่นี้หมายถึงความสับสนของรูปแบบความคิด ไม่ใช่สิ่งที่คิด การใช้คำว่า “thought disorder” ที่คร่ำครึรวมเอาอาการหลงผิดและบางครั้งประสาทหลอน แต่นี่ทำให้สับสนและไม่ใส่ใจความแตกต่างที่ชัดเจนของความสัมพันธ์ระหว่างอาการต่าง ๆ ที่ได้ปรากฏอย่างชัดเจนภายใน 30 ปีที่ผ่านมา อาการหลงผิดและประสาทหลอนควรระบุว่าเป็นอาการโรคจิต และ thought disorder ควรใช้โดยหมายความถึงความผิดปกติทางความคิดโดยรูปแบบ (formal thought disorder) หรือความผิดปกติของปริชานทางคำพูด (disorder of verbal cognition)
— Phenomenology of Schizophrenia (2017), THE SYMPTOMS OF SCHIZOPHRENIA[11]
หนังสือเล่มเดียวกันยังกล่าวถึงแพทย์ที่ใช้คำว่า formal thought disorder อย่างกว้าง ๆ โดยหมายถึงความผิดปกติของรูปแบบความคิดบวกอาการทางประชานที่เป็นอาการโรคจิต[58] และงานศึกษาต่าง ๆ ที่ตรวจสอบปริชานและอาการย่อยอต่าง ๆ ของโรคจิตเภทอาจเรียก formal thought disorder ว่า conceptual disorganization หรือ disorganization factor[11] อย่างไรก็ดี ก็ยังมีความเห็นแตกต่างรวมทั้ง
โชคไม่ดีว่า คำว่า “thought disorder” มักใช้หมายถึงทั้งความผิดปกติทางความคิดโดยรูปแบบและสิ่งที่คิดแบบหลงผิด เพื่อความชัดเจน การใช้วลีว่า “thought disorder” อย่างไม่มีตัวจำกัดควรเลิกใช้ในการสื่อสารทางจิตเวช แม้คำว่า “formal thought disorder” ก็ยังใช้อย่างกว้าง ๆ เกินไป ควรจะทำให้ชัดเจนเสมอว่า กำลังกล่าวถึงอาการอาการคิดนอกเรื่อง (derailment) อาการความคิดแล่นเตลิด (flight of ideas) หรืออาการคิดอ้อมค้อม (circumstantiality)
— The Mental Status Examination, The Medical Basis of Psychiatry (2016)[59]
อาการพูดน้อย
[แก้]อาการพูดน้อย (alogia) ซึ่งรวมทั้งการพูดน้อย (poverty of speech) และการพูดมีเนื้อความน้อย (poverty of content of speech) ได้จัดว่าเป็นอาการบกพร่อง (negative symptom) ของโรคจิตเภท เช่น ที่พบในแบบวัดเพื่อประเมินอาการบกพร่องสำหรับโรคจิตเภท (SANS)[17] จึงจัดว่าเป็นความผิดปกติทางความคิดเชิงบกพร่อง (negative thought disorder)[16] งานศึกษาโดยวิเคราะห์ปัจจัยได้เริ่มจัดอาการเชิงบวกและอาการบกพร่องของโรคจิตเภทลงในมิติเกินกว่า 2 มิติเริ่มจาก 3 โดยปัจจุบัน (2017) ได้ถึง 5 มิติ รวมทั้งอาการโรคจิต อาการบกพร่อง อาการสับสน (รวม TD) ความซึมเศร้าและความวิตกกังวล และความไม่สงบทางกายใจ (agitation) โดยได้ "ความสม่ำเสมอที่น่าทึ่ง" และคาดว่าจะมีมากกว่านี้ในอนาคต[60] เมื่อจัดหมวดหมู่เช่นนี้ การพูดมีเนื้อความน้อย โดยพูดเป็นปริมาณปกติ ก็จัดว่า "เป็นความสับสนทางความคิดและไม่ใช่อาการบกพร่อง และรวมลงในกลุ่มอาการสับสนได้อย่างเหมาะสม" การพูดน้อยเท่านั้นที่จัดว่าเป็นอาการบกพร่อง[16]
วิถีดำเนิน วินิจฉัย และพยากรณ์โรค
[แก้]ในยุคต้น ๆ เชื่อว่า ความผิดปกติทางความคิดเกิดแต่ในโรคจิตเภท ภายหลังจึงพบว่า มันเกิดในภาวะทางจิตเวชอื่น ๆ รวมทั้งอาการฟุ้งพล่านในโรคอารมณ์สองขั้ว และเกิดแม้ในคนปกติ อนึ่ง คนไข้โรคจิตเภทไม่ได้มีอาการนี้ทุกคน ดังนั้น การไม่ผิดปกติทางความคิดจึงไม่ได้หมายความว่าไม่มีโรคจิตเภท คือ ภาวะนี้ไม่ได้จำเพาะกับโรคนี้มาก[33] เมื่อใช้นิยามโดยเฉพาะ ๆ ของรูปแบบย่อยของภาวะ และเมื่อจัดหมวดหมู่เป็นอาการเชิงบวกและอาการเชิงลบ จิตแพทย์หญิงชาวอเมริกันผู้ประดิษฐ์แบบประเมินอาการเชิงบวกและอาการเชิงลบของโรคจิตเภท (คือ Nancy Andreasen) ได้พบว่า[33] รูปแบบย่อยต่าง ๆ ของความผิดปกติมักเกิดไม่เท่ากันระหว่างคนไข้อาการฟุ้งพล่าน คนไข้ซึมเศร้า กับคนไข้โรคจิตเภท คนไข้อาการฟุ้งพล่านมีการพูดเร็ว (pressured speech) เป็นอาการเด่นสุด แต่ก็มีอัตราการพูดนอกเรื่อง (derailment) ตอบเฉียด (tangentiality) และพูดไม่ปะติดปะต่อ (incoherence) ที่เด่นพอ ๆ กันกับคนไข้โรคจิตเภท โดยมีโอกาสมีการพูดเร็ว พูดวอกแวก (distractibility) และพูดอ้อมค้อมมากกว่า[33][61]
ส่วนคนไข้โรคจิตเภทมีความผิดปกติทางความคิดเชิงบกพร่องมากกว่ารวมทั้งการพูดน้อยและการพูดมีเนื้อหาน้อย แต่ก็มีความผิดปกติทางความคิดเชิงบวกบางอย่างในอัตราสูงเหมือนกัน[33] การพูดนอกเรื่อง การพูดเสียจุดหมาย (loss of goal) การพูดมีเนื้อหาน้อย การตอบเฉียด และการพูดไม่สมเหตุผล (illogicality) ค่อนข้างจะเฉพาะกับโรคจิตเภท[62]
ส่วนคนไข้โรคซึมเศร้ามีความผิดปกติทางความคิดน้อยกว่า ที่เด่นสุดก็คือการพูดน้อย การพูดมีเนื้อหาน้อย และการพูดอ้อมค้อม อนึ่ง หมอยังพบประโยชน์ทางการวินิจฉัยในการแบ่งเป็นอาการเชิงบวกและอาการบกพร่อง เช่น การมีความผิดปกติทางความคิดเชิงบกพร่องโดยไม่ผิดปกติทางอารมณ์อย่างเต็มตัวชี้ว่า เป็นโรคจิตเภท[33][61]
หมอยังพบประโยชน์ทางการพยากรณ์โรคของการแบ่งอาการออกเป็นอาการเชิงบวกและอาการบกพร่อง ในคนไข้อาการฟุ้งพล่าน ความผิดปกติทางความคิดโดยมากจะกลับคืนสู่ระดับปกติ 6 เดือนหลังจากเริ่มตรวจรักษา ซึ่งแสดงว่าความผิดปกติทางความคิดในโรคนี้ แม้จะรุนแรงเท่า ๆ กับที่พบในโรคจิตเภท ก็ยังฟื้นสภาพได้ แต่ในคนไข้โรคจิตเภท ความผิดปกติทางความคิดเชิงบกพร่องยังคงยืนหลังจาก 6 เดือนและบางครั้งยังแย่ลงอีก ส่วนความผิดปกติเชิงบวกจะดีขึ้นบ้าง อนึ่ง ความผิดปกติทางความคิดเชิงบกพร่องเป็นตัวยพยากรณ์ผลบางอย่างที่ดี เช่น คนไข้ที่มีความผิดปกติทางความคิดเชิงบกพร่องที่เด่นจะดำเนินชีวิตทางสังคมได้แย่ลง 6 เดือนต่อมา[33] ดังนั้นโดยทั่วไป การมีอาการเชิงลบที่เด่นกว่าเป็นตัวชี้ว่า จะได้ผลที่แย่กว่า อย่างไรก็ดี คนไข้ก็ยังอาจฟื้นสภาพได้ดี ตอบสนองต่อยา และสมองทำงานปกติ โดยอาการเชิงบวกก็จะคล้าย ๆ กันในทางตรงกันข้าม[63]
เมื่อเริ่มป่วย ความผิดปกติทางความคิดที่เด่นจะชี้พยากรณ์โรคที่แย่กว่า รวมทั้ง[11]
- โรคจะเกิดเร็วกว่า
- เพิ่มความเสี่ยงต้องเข้า รพ.
- ผลต่อการดำเนินชีวิตจะแย่กว่า
- อัตราความพิการจะสูงกว่า
- พฤติกรรมทางสังคมจะแย่กว่า
ความผิดปกติทางความคิดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษายังพยากรณ์การดำเนินของโรคที่แย่กว่า[11] ในโรคจิตเภท ความรุนแรงของความผิดปกติทางความคิดมักจะเสถียรยิ่งกว่าของประสาทหลอนและอาการหลงผิด ความผิดปกติทางความคิดที่เด่นมีโอกาสลดลงน้อยกว่าเมื่อถึงวัยกลางคนเมื่อเทียบกับอาการเชิงบวกของโรคจิตเภทอื่น ๆ[11] ความผิดปกติทางความคิดที่เบากว่าอาจเกิดในระยะบอกเหตุ (prodromal) และระยะฟื้นสภาพแล้วแต่ยังมีอาการเหลือค้าง (residual) ของโรคจิตเภท[64]
DSM-5 รวมอาการหลงผิด ประสาทหลอน และกระบวนการความคิดสับสน (คือ ความผิดปกติทางความคิดโดยรูปแบบ) และพฤติกรรมเคลื่อนไหวที่สับสนหรือผิดปกติ (รวมอาการเคลื่อนไหวน้อยหรือมากเกิน) เป็นอาการกุญแจสำคัญของโรคจิต (pyschosis) แม้จะไม่เฉพาะเจาะจงต่อโรคใดโรคหนึ่ง แต่ลักษณะของอาการโรคจิตบางอย่างก็ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงต่อโรคบางอย่าง เช่น โรคจิตเภทสเปร็กตัม (schizophrenia spectrum disorders) รวมทั้ง schizoaffective disorder, schizophreniform disorder ปกติจะมีประสาทหลอน และ/หรืออาการหลงผิดที่เด่น รวมทั้งความผิดปกติทางความคิดโดยรูปแบบ — โดยแสดงเป็นความผิดปกติทางพฤติกรรมที่รุนแรงรวมทั้งพฤติกรรมเคลื่อนไหวน้อยหรือมากเกิน สับสน และแปลก ส่วนโรคที่มีอาการโรคจิตโดยมีเหตุจากภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ และโรคจิตชักนำโดยสารปกติจะมีอาการหลงผิดและประสาทหลอน ส่วนโรคหลงผิด (delusional disorder) และโรคจิตแบบมีร่วม (shared psychotic disorder) ซึ่งมีน้อยกว่า ปกติจะมีอาการหลงผิดที่คงยืน[65] งานวิจัยพบว่า ความผิดปกติทางความคิดโดยรูปแบบโดยมากพบอย่างสามัญในคนไข้โรคจิตเภทและความผิดปกติทางอารมณ์ แต่การพูดมีเนื้อความน้อยจะสามัญกว่าในโรคจิตเภท[66]
แพทย์ผู้มีประสบการณ์อาจแยกแยะอาการโรคจิตจริง ๆ ดังที่พบในโรคจิตเภทและอาการฟุ้งพล่านของโรคอารมณ์สองขั้ว กับการแสร้งป่วยที่บุคคลแสร้งป่วยเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยอาการที่ปรากฏ ยกตัวอย่างเช่น คนแสร้งป่วยอาจกล่าวถึงสิ่งที่คิดอันผิดปกติ โดยไม่ผิดปกติทางรูปแบบ เช่น พูดนอกเรื่อง อาการเชิงลบต่าง ๆ รวมทั้งอาการพูดน้อยอาจไม่มี อนึ่ง ความผิดปกติทางความคิดอย่างเรื้อรังปกติจะทำให้เป็นทุกข์[67]
โดยทั่วไปแล้วโรคออทิซึมสเปกตรัม (ASD) ซึ่งจะวินิจฉัยได้ก็ต่อเมื่อโรคเกิดก่อนอายุ 3 ขวบ จะต่างกับโรคจิตเภทที่เกิดเร็ว (early-onset schizophrenia) โดยการเริ่มเกิดโรค (เพราะโรคจิตเทภที่เกิดก่อนอายุ 10 ขวบมีน้อยกว่า) และโดยความจริงว่า คนไข้ ASD ไม่ผิดปกติทางความคิด[68] อย่างไรก็ดี มีงานศึกษาที่เสนอว่า คนไข้ ASD ก็ปรากฏปัญหาทางภาษาดังที่พบในคนไข้โรคจิตเภท งานศึกษาปี 2008 พบว่า เด็กและวัยรุ่นที่มี ASD คิดไม่สมเหตุผล (illogical thinking) และคิดนอกเรื่อง (loose association) ในอัตราสูงกว่ากลุ่มควบคุม โดยความคิดไม่สมเหตุผลสัมพันธ์กับการทำงานทางประชานและทาง executive control ส่วนการคิดนอกเรื่องสัมพันธ์กับปัญหาทางการสื่อสารและกับรายงานของพ่อแม่เกี่ยวกับความเครียดและความวิตกกังวลของเด็ก[69]
ความสัมพันธ์กับความพิการทางประสาทปริชาน
[แก้]ความผิดปกติทางความคิดเสนอว่า สัมพันธ์กับประสาทปริชาน (neurocognition) ผ่านความจำอาศัยความหมาย (semantic memory) คือความพิกาารในเครือข่ายประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำอาศัยความหมายในคนไข้โรคจิตเภท ที่วัดโดยความต่างกันของความคล่องในการนึกคำ (จำนวนชื่อสัตว์ที่นึกได้ภายใน 60 วินาที) กับความคล่องอาศัยเสียง (จำนวนคำที่เริ่มด้วยอักษร “F” ซึ่งนึกได้ภายใน 60 วินาที) เป็นตัวพยากรณ์ความรุนแรงของความผิดปกติทางความคิดโดยรูปแบบ ซึ่งแสดงว่าคนไข้อาจไม่มีข้อมูลทางคำพูด (เนื่องกับ semantic priming[B]) เพียงพอ ยังมีสมมติฐานอื่น ๆ รวมทั้งความบกพร่องของความจำใช้งาน (working memory deficit) คือสับสนว่าอะไรได้กล่าวไปแล้วในการสนทนา และปัญหาเกี่ยวกับการใส่ใจ[71]
ข้อวิจารณ์
[แก้]แนวคิดของความผิดปกติทางความคิดได้ถูกวิจารณ์ว่ามีนิยามที่เวียนเป็นวง หรือไม่สืบเนื่องกัน[72] เช่นการรู้ว่ามีความผิดปกติทางความคิดต้องอนุมานเอาจากคำที่พูด แต่จริง ๆ ความคิดอาจต้องอาศัยระบบการสร้างคำพูด (เพราะเวลาคิด อาจคิดเป็นคำพูด)
ข้อวิจารณ์อีกอย่างเป็นเรื่องการแยกอาการโรคจิตเภทออกเป็นอาการเชิงบวกและอาการบกพร่องรวมทั้งความผิดปกติทางความคิด เพราะมันอธิบายความผิดปกติทางความคิดซึ่งเป็นเรื่องซับซ้อนและความสัมพันธ์ของมันกับอาการเชิงบวกอื่น ๆ ให้กลายเป็นเรื่องง่าย ๆ เกินไป งานศึกษาโดยวิเคราะห์ปัจจัยภายหลังพบว่า อาการเชิงบกพร่องมักมีสหสัมพันธ์กับกันและกัน ในขณะที่อาการเชิงบวกอาจแบ่งออกกเป็นสองกลุ่ม[73] กลุ่มสามกลุ่มเช่นนี้ต่อมาจัดอย่างคร่าว ๆ ได้ว่า เป็นอาการบกพร่อง (negative symptoms) อาการโรคจิต (psychotic symptoms) และอาการสับสน (disorganization symptoms)[63][60] อาการพูดน้อย (alogia) ซึ่งเป็นความผิดปกติทางความคิดชนิดหนึ่งที่ดั้งเดิมจัดว่าเป็นอาการเชิงบกพร่อง สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือจัดการพูดมีเนื้อหาน้อย (poverty of speech content) เป็นอาการสับสน และจัดการพูดน้อย (poverty of speech) การตอบช้า (response latency) และความคิดชะงัก (thought blocking) โดยเป็นอาการบกพร่อง[74] อย่างไรก็ดี ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้แบ่งอาการออกเป็นเชิงบวก/เชิงบกพร่องเช่นนี้อาจช่วยให้สามารถระบุอาการต่ง ๆ ของโรคจิตเภทได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในงานต่อ ๆ มา[75]
ความผิดปกติทางความคิดโดยเนื้อหา
[แก้]เมื่อกันประสาทหลอนออกซึ่งสามารถจัดว่าเป็นความผิดปกติในการรับรู้ (perceptual disorder) ความผิดปกติทางความคิดโดยเนื้อหา (content thought disorder) เป็นปัญหาทางความคิดที่บุคคลมีอาการหลงผิดในหลายรูปแบบ ที่ไม่ปะติดปะต่อกัน และแปลก ๆ ปกติมักพบในโรคจิตเภทและความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ รวมทั้งโรคย้ำคิดย้ำทำและอาการฟุ้งพล่าน[50][51] แต่ความผิดปกติทางความคิดโดยเนื้อหาไม่ได้จำกัดอยู่แค่กับอาการหลงผิด ความผิดปกติอย่างอื่น ๆ รวมทั้ง
- ความหมกมุ่น (preoccupation) คือหมกมุ่นอยู่กับความคิดอย่างหนึ่ง ๆ อย่างมีอารมณ์
- การย้ำคิด (obsession) เป็นความคิด ไอเดีย หรือมโนภาพที่แทรกซอน (intrusive) หรือไม่สมควรที่สร้างความทุกข์ความเดือนร้อนใจ
- การย้ำทำ (compulsion) คือจำต้องทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรื่อย ๆ และซ้ำ ๆ โดยอาจจะไม่ได้ความสุข แต่เพื่อลดความทุกข์
- ความคิดเชิงไสยศาสตร์ (magical thinking) คือเชื่อว่าความคิดของตนอย่างเดียวก็สามารถก่อผลในโลก หรือว่า การคิดถึงสิ่งนั้น ๆ ก็เหมือนกับลงมือกระทำจริง ๆ
- ความคิดที่ให้น้ำหนักเกิน (overvalued ideas) คือเชื่อผิดหรือเกินจริงโดยยึดไว้อย่างปักใจแต่ยังไม่ถึงอาการหลงผิด
- ความคิดมุ่งตนเอง (ideas of reference) คือเชื่อว่า เหตุการณ์ธรรมดาหรือบังเอิญที่ประสบมีความหมายต่อตนอย่างสำคัญ
- ความคิดว่าถูกอิทธิพลภายนอก (ideas of influence) คือเชื่อว่าคนอื่น ๆ หรือสิ่งอื่นภายนอกมีอำนาจบังคับตน
- ความคิดว่ามีคนตามรังควาน (persecutory idea)[76][77]
- โรคกลัว คือกลัววัตถุสิ่งต่าง ๆ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างไม่สมเหตุผล[78][38]
- ความคิดฆ่าตัวตาย
- ความคิดทำความรุนแรง
- ความคิดฆ่าคน[79]
แก่นปัญหาของสิ่งที่คิดก็คือความเชื่อความปักใจที่ผิดปกติ แม้หลังจากกันวัฒนธรรมและพื้นเพของบุคคลนั้น ๆ โดยเริ่มตั้งแต่ความคิดที่ให้น้ำหนักเกิน (overvalued idea) จนไปถึงอาการหลงผิด โดยปกติแล้วความเชื่อผิดปกติและอาการหลงผิดไม่จำเพาะเจาะจงต่อโรคใดโรคหนึ่ง[80] แม้อาการหลงผิดโดยเฉพาะบางอย่าง ๆ อาจเกิดในโรคหนึ่ง ๆ มากกว่าโรคอื่น ๆ[81] อนึ่ง ความคิดปกติ ซึ่งรวมการสำนึกรู้ ความเป็นห่วง ความเชื่อ ความหมกมุ่น ความหวัง ความเพ้อฝัน จินตนาการ และแนวคิดในเรื่องต่าง ๆ อาจไม่สมเหตุผล อาจประกอบด้วยความเชื่อ ความเดียดฉันท์ และความเอนเอียง/อคติ ที่เห็นได้โต้ง ๆ ว่าขัดแย้งกัน[82][83] บุคคลต่าง ๆ ก็ยังต่างกัน แม้แต่คนเดียวกันก็ยังคิดไม่เหมือนกันอย่างพอสมควรเป็นครั้งเป็นคราว[84]
ในคนไข้จิตเวช อาการหลงผิดเป็นความผิดปกติในเรื่องที่คิดซึ่งสามัญสุด[10] เป็นความเชื่อที่ตายตัวและยืนหยัดได้โดยไม่มีมูลฐาน ไม่สามารถเปลี่ยนได้ด้วยเหตุผลหรือหลักฐานที่ขัดแย้ง ไม่เข้ากับพื้นเพทางภูมิภาค วัฒนธรรม และการศึกษาของบุคคลนั้น ๆ ตัวอย่างสามัญที่พบเมื่อตรวจสภาวะจิตใจรวมทั้ง
- หลงผิดว่ามีคนหลงรักตน (erotomanic)
- หลงผิดคิดตนเขื่อง (grandiose) ว่า ตนเก่งสุด แข็งแรงสุด เร็วสุด รวยสุด หรือฉลาดสุด
- หลงผิดว่ามีคนตามรังควาน (persecutory) ไม่ว่าจะต่อตนเองหรือต่อคนใกล้ชิด
- หลงผิดว่า ข้อคิดเห็น เหตุการณ์ หรือวัตถุสิ่งของธรรมดา ๆ รอบ ๆ ตัวมีความหมายพิเศษต่อตน (reference)
- หลงผิดว่าความคิดถูกป่าวประกาศให้คนอื่นรู้ (thought broadcasting)
- หลงผิดว่าคนอื่นเอาความคิดมาใส่ในตน ไม่ใช่ความคิดของตน (thought insertion)[85]
- หลงผิดว่า มีคนดึงความคิดออกจากใจของตนเองโดยตนไม่สามารถทำอะไรได้ (thought withdrawal)
- หลงผิดว่า สิ่งภายนอกกำลังควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระทำของตน (outside control)[86]
- หลงผิดว่า คู่ครองของตนมีชู้ (infidelity)
- หลงผิดว่า ตนมีโรคหรือป่วย (somatic)
- หลงผิดว่า ร่างกายจิตใจของตน หรือว่าโลกภายนอก หรือส่วนบางส่วนเช่นนั้น ไม่มีอยู่อีกต่อไป (nihilistic)[78]
อาการหลงผิดสามัญในคนที่มีอาการฟุ้งพล่าน, โรคซึมเศร้า, schizoaffective disorder, อาการเพ้อ, ภาวะสมองเสื่อม, โรคใช้สารเสพติด (SUD), โรคจิตเภท และโรคหลงผิด (delusional disorder)[80]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ serial sevens เป็นการนับถอยหลังจาก 100 ทีละ 7 (คือ 100, 93, 86 เป็นต้น) เป็นวิธีการตรวจการทำงานของจิตใจทางคลินิก เช่น เพื่อช่วยประเมินสถานะทางจิตใจหลังอาจเกิดบาดเจ็บที่ศีรษะหรือเมื่อสงสัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม นี้เป็นการตรวจที่ใช้มาอย่างช้าสุดก็ตั้งแต่ปี 1944[14] ซึ่งนำมารวมใช้เป็นส่วนของ Mini-Mental State Examination ยังใช้ตรวจว่าคนไข้กำลังหมดสติหลังจากให้ยาสลบหรือไม่ เช่น ที่ทำก่อนทันตกรรมใหญ่
- ↑ semantic priming เป็นผลที่เกิดจากการได้สิ่งเร้าที่มีความหมายคล้าย ๆ กัน ซึ่งทำให้แปลผลสิ่งเร้าที่คล้ายกันต่อมาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า เทียบกับการได้สิ่งเร้าที่ไม่สัมพันธ์กันโดยความหมายมาก่อน ยกตัวอย่างเช่น การตอบสนองต่อคำว่า นางพยาบาล จะเร็วกว่าเมื่อได้คำว่า หมอ มาก่อนเทียบกับการได้คำว่า กระเป๋า[70]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Thought disorder", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(แพทยศาสตร์) ความผิดปรกติในความคิด
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Yudofsky, Stuart C.; Hales, Robert E. (2002). The American Psychiatric Publishing Textbook of Clinical Psychiatry. Washington, DC: American Psychiatric Association. ISBN 1-58562-032-7. OCLC 49576699.
- ↑ 3.0 3.1 Kaplan and Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (2017), Appendix B: Glossary of Psychiatry and Psychology Terms. "thought disorder Any disturbance of thinking that affects language, communication, or thought content; the hallmark feature of schizophrenia. Manifestations range from simple blocking and mild circumstantiality to profound loosening of associations, incoherence, and delusions; characterized by a failure to follow semantic and syntactic rules that is inconsistent with the person’s education, intelligence, or cultural background."
- ↑ 4.0 4.1 4.2 APA dictionary of psychology (2015), p. 1086. "thought disorder a cognitive disturbance that affects communication, language, or thought content, including poverty of ideas, neologisms, paralogia, word salad, and delusions. A thought disorder is considered by some to be the most important mark of schizophrenia (see also schizophrenic thinking), but it is also associated with mood disorders, dementia, mania, and neurological diseases (among other conditions). Also called thought disturbance. See content thought disorder; formal thought disorder."
- ↑ Colman, AM (2001). Oxford Dictionary of Psychology. Oxford University Press.
- ↑ Barrera, A; McKenna, PJ; Berrios, GE (2009). "Formal thought disorder, neuropsychology and insight in schizophrenia". Psychopathology. 42 (4): 264–9. doi:10.1159/000224150. PMID 19521143.
- ↑ Noble, John; Greene, Harry L (1996-01-15). Textbook of primary care medicine. Mosby. p. 1325. ISBN 978-0-8016-7841-7.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Jefferson, James W.; Moore, David Scott (2004). Handbook of medical psychiatry. Elsevier Mosby. p. 131. ISBN 0-323-02911-6.
- ↑ Thought Disorder (2016), 25.1. Introduction., p. 497.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Thought Disorder (2016), 25.2. Definition., pp. 497-498. cited Fish, FJ (1962). Schizophrenia. Bristol, England: Bright.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 Lewis, Stephen F; Escalona, Rodrigo; Keith, Samuel J (2017). "12.2 Phenomenology of Schizophrenia". ใน Sadock, Virginia A; Sadock, Benjamin J; Ruiz, Pedro (บ.ก.). Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (10th ed.). Wolters Kluwer. THE SYMPTOMS OF SCHIZOPHRENIA, Disorganization, Thought Disorder. ISBN 978-1-4511-0047-1.
- “Thought disorder” here refers to disorganization of the form of thought and not content. An older use of the term “thought disorder” included the phenomena of delusions and sometimes hallucinations, but this is confusing and ignores the clear differences in the relationships between symptoms that have become apparent over the past 30 years. Delusions and hallucinations should be identified as psychotic symptoms, and thought disorder should be taken to mean formal thought disorders or a disorder of verbal cognition.
- "Thought disorder is the most studied form of the disorganization symptoms. It is referred to as “formal thought disorder,” or “conceptual disorganization,” or as the “disorganization factor” in various studies that examine cognition or subsyndromes in schizophrenia. ..."
- ↑ 12.0 12.1 Thought Disorder (2016), 25.3. What Are the Boundaries of Thought Disorder?., pp. 498-499.
- ↑ Andreasen, NC (November 1979). "Thought, language, and communication disorders. I. Clinical assessment, definition of terms, and evaluation of their reliability". Arch. Gen. Psychiatry. 36 (12): 1315–21. doi:10.1001/archpsyc.1979.01780120045006. PMID 496551.
- ↑ "Intellectual Impairment in Head Injuries". 1944. doi:10.1176/ajp.100.4.480.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Thought Disorder (2016), 25.4. What Are the Common Types of Thought Disorder?, pp. 498-499.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 Phenomenology of Schizophrenia (2017), THE SYMPTOMS OF SCHIZOPHRENIA, Categories of Negative Symptoms.
- "... In this way, alogia is conceived of as a “negative thought disorder.” ..."
- "... The paucity of meaningful content in the presence of a normal amount of speech that is sometimes included in alogia is actually a disorganization of thought and not a negative symptom and is properly included in the disorganization cluster of symptoms. ..."
- ↑ 17.0 17.1 17.2 Kaplan and Sadock's Concise Textbook of Clinical Psychiatry (2008), "6 Psychiatric Rating Scales", Table 6-5 Scale for the Assessment of Negative Symptoms (SANS), p. 44.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 18.6 18.7 Houghtalen, Rory P; McIntyre, John S (2017). "7.1 Psychiatric Interview, History, and Mental Status Examination of the Adult Patient". ใน Sadock, Virginia A; Sadock, Benjamin J; Ruiz, Pedro (บ.ก.). Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (10th ed.). Wolters Kluwer. HISTORY AND EXAMINATION, Thought Process/Form, Table 7.1-6. Examples of Disordered Thought Process/Form. ISBN 978-1-4511-0047-1. indicates and briefly defines the follow types: Clanging, Circumstantial, Derailment (loose associations), Flight of ideas, Incoherence (word salad), Neologism, Tangential, Thought blocking
- ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 19.6 19.7 19.8 Videbeck, S (2008). Psychiatric-Mental Health Nursing, 4th ed. Philadelphia: Wolters Kluwers Health, Lippincott Williams & Wilkins.
- ↑ APA dictionary of psychology (2015), pp. 187–188 circumstantiality n. circuitous, indirect speech in which the individual digresses to give unnecessary and often irrelevant details before arriving at the main point. An extreme form, arising from disorganized associative processes, may occur in schizophrenia, obsessional disorders, and certain types of dementia. Circumstantiality differs from tangentiality in that the main point is never lost but rather accompanied by a large amount of nonessential information.
- ↑ Videbeck S (2017). "8. Assessment". Psychiatric-Mental Health Nursing (7th ed.). Wolters Kluwer. CONTENT OF THE ASSESSMENT, Thought Process and Content, p. 232. ISBN 9781496355911.
- ↑ Videbeck (2017), Chapter 16 Schizophrenia, APPLICATION OF THE NURSING PROCESS, Thought Process and Content, p. 446. "how have you been sleeping lately?" “Oh, I go to bed early, so I can get plenty of rest. I like to listen to music or read before bed. Right now I’m reading a good mystery. Maybe I’ll write a mystery someday. But it isn’t helping, reading I mean. I have been getting only 2 or 3 hours of sleep at night.”
- ↑ APA dictionary of psychology (2015), p. 299 "derailment n. a symptom of thought disorder, often occurring in individuals with schizophrenia, marked by frequent interruptions in thought and jumping from one idea to another unrelated or indirectly related idea. It is usually manifested in speech (speech derailment) but can also be observed in writing. Derailment is essentially equivalent to loosening of associations. See cognitive derailment; thought derailment."
- ↑ Thought Disorder (2016), 25.4.2.8. Distractible Speech, p. 502. "The next day when I'd be going out you know, I took control, like uh, I put bleach on my hair in California."
- ↑ Thought Disorder (2016), 25.4.2.8. Distractible Speech, p. 502.
- ↑ 26.0 26.1 26.2 Kaplan and Sadock's Concise Textbook of Clinical Psychiatry (2008), "10 Schizophrenia", CLINICAL FEATURES, Thought, pp. 168-169.
- "Form of Thought. Disorders of the form of thought are objectively observable in patients’ spoken and written language. The disorders include looseness of associations, derailment, incoherence, tangentiality, circumstantiality, neologisms, echolalia, verbigeration, word salad, and mutism."
- "Thought Process. ... Disorders of thought process include flight of ideas, thought blocking, impaired attention, poverty of thought content, poor abstraction abilities, perseveration, idiosyncratic associations (e.g., identical predicates and clang associations), overinclusion, and circumstantiality."
- ↑
American Psychiatry Association (2013). "Bipolar and Related Disorders". Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (5th ed.). Arlington: American Psychiatric Publishing. Glossary of Technical Terms, p. 821. ISBN 978-0-89042-555-8.
echolalia The pathological, parrotlike, and apparently senseless repetition (echoing) of a word or phrase just spoken by another person.
- ↑
O’Toole, Marie T, บ.ก. (2013). visual-evoked potential (VEP). Mosby's Medical Dictionary (9th ed.). Elsevier Mosby. p. 582. ISBN 978-0-323-08541-0.
echolalia /ek′ōlā′lyə/ [Gk, echo + lalein, to babble], 1. (in psychiatry) the automatic and meaningless repetition of another’s words or phrases, especially as seen in schizophrenia. A kind of echolalia is delayed echolalia.
- ↑ Bashe, PR (2001). The OASIS Guide to Asperger Syndrome; Advice, Support, Insight, and Inspiration. Crown Publishers. p. 22.
- ↑ APA dictionary of psychology (2015), p. 389 evasion n. 1. a form of paralogia in which an idea that is logically next in a chain of thought is replaced by another idea closely but not accurately or appropriately related to it. 2. elusion or avoidance.
- ↑ Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (2017), Appendix B Glossary of Psychiatry and Psychology Terms evasion ... consists of suppressing an idea that is next in a thought series and replacing it with another idea closely related to it. Also called paralogia; perverted logic.
- ↑ 32.0 32.1 Kaplan and Sadock's Concise Textbook of Clinical Psychiatry (2008), "Chapter 6 Psychiatric Rating Scales", OTHER SCALES, Table 6-6 Scale for the Assessment of Positive Symptoms (SAPS), Positive formal thought disorder, p. 45 includes and defines Derailment, Tangentiality, Incoherence, Illogicality, Circumstantiality, Pressure of speech, Distractible speech, Clanging.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 33.3 33.4 33.5 33.6 Thought Disorder (2016), 25.5. Diagnostic and Prognostic Significance of Thought Disorder, pp. 502-503. อ้างอิง
- Andreasen, NC (November 1979). "Thought, language, and communication disorders. I. Clinical assessment, definition of terms, and evaluation of their reliability". Arch. Gen. Psychiatry. 36 (12): 1315–21. doi:10.1001/archpsyc.1979.01780120045006. PMID 496551.
- Andreasen, NC (1979). "The clinical assessment of thought, language, and communication disorders: II. Diagnostic significance". Arch Gen Psychiatry. 36: 1325–1330.
- Andreasen, NC; Hoffrnann, RE; Grove, WM (1984). Alpert, M (บ.ก.). Mapping abnormalities in language and cognition. Controversies in schizophrenia, 1985. New York: Guilford Press. pp. 199–226.
- ↑ Oyebode, Femi (2015). "10 Disorder of Speech and Language". Sims’ Symptoms in the Mind (5th ed.). Elsevier. Schizophrenic Language Disorder, Clinical Description and Thought Disorder, p. 167. ISBN 978-0-7020-5556-0.
- ↑ APA dictionary of psychology (2015), pp. 696 neologism n. a newly coined word or expression. In a neurological or psychopathological context, neologisms, whose origins and meanings are usually nonsensical and unrecognizable (e.g., klipno for watch), are typically associated with aphasia or schizophrenia. ...
- ↑ Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (2017), Appendix B Glossary of Psychiatry and Psychology Terms neologism New word or phrase whose derivation cannot be understood; often seen in schizophrenia. ...
- ↑ 37.0 37.1 Kaplan and Sadock's Concise Textbook of Clinical Psychiatry (2008), "Chapter 4 Signs and Symptoms in Psychiatry", GLOSSARY OF SIGNS AND SYMPTOMS, p. 29
- ↑ 38.0 38.1 38.2 Akiskal, Hagop S (2016). "1 The Mental Status Examination". ใน Fatemi, S Hossein; Clayton, Paula J (บ.ก.). The Medical Basis of Psychiatry (4th ed.). New York: Springer Science+Business Media. 1.5.5. Speech and Thought., pp. 8-10. doi:10.1007/978-1-4939-2528-5. ISBN 978-1-4939-2528-5. * "This form of thought is most characteristic of mania and tends to be overinclusive, with difficulty in excluding irrelevant, extraneous details from the association."
- ↑ APA dictionary of psychology (2015), p. 751. overinclusion n. failure of an individual to eliminate ineffective or inappropriate responses associated with a particular stimulus.
- ↑ Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (2017), Appendix B Glossary of Psychiatry and Psychology Terms perseveration 1. Pathological repetition of the same response to different stimuli, as in a repetition of the same verbal response to different questions. 2. Persistent repetition of specific words or concepts in the process of speaking. Seen in organic mental disorders, schizophrenia, and other mental illness. ...
- ↑ APA dictionary of psychology (2015), pp. 781 perseveration n. ... 5. in speech and language, the abnormal or inappropriate repetition of a sound, word, or phrase, as occurs in stuttering. ...
- ↑ Kaplan and Sadock's Concise Textbook of Clinical Psychiatry (2008), "Chapter 6 Psychiatric Rating Scales", OTHER SCALES, Table 6-6 Scale for the Assessment of Positive Symptoms (SAPS), Positive formal thought disorder, p. 45
- ↑ Peralta, Victor; Cuesta, Manuel J; de Leon, Jose (March–April 1992). "Formal thought disorder in schizophrenia: A factor analytic study". Comprehensive Psychiatry. Elsevier.
{{cite journal}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) - ↑ Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (2017), Appendix B Glossary of Psychiatry and Psychology Terms stilted speech Excessively formal, stiff, stylized, or pompous speech; overly polite, distant, or antiquated speech.
- ↑ Liddle, Peter F (2001). Disordered mind and brain: the neural basis of mental symptoms. Royal College of Psychiatrists. p. 301. ISBN 1-901242-65-X.
inappropriately pompous, legalistic, philosophical, or quaint
- ↑ APA dictionary of psychology (2015), pp. 1065 tangentiality n. a thought disturbance that is marked by oblique speech in which the person constantly digresses to irrelevant topics and fails to arrive at the main point. In extreme form, it is a manifestation of loosening of associations, a symptom frequently seen in schizophrenia or delirium. ...
- ↑ Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (2017), Appendix B Glossary of Psychiatry and Psychology Terms tangentiality Disturbance in which the person replies to a question in an oblique, digressive, or even irrelevant manner and the central idea is not communicated. ...
- ↑ 48.0 48.1 Clinical Manifestations of Psychiatric Disorders (2017), THINKING DISTURBANCES, Continuity. "Word salad describes the stringing together of words that seem to have no logical association, and verbigeration describes the disappearance of understandable speech, replaced by strings of incoherent utterances."
- ↑ Kaplan and Sadock's Concise Textbook of Clinical Psychiatry (2008), "Chapter 4 Signs and Symptoms in Psychiatry", GLOSSARY OF SIGNS AND SYMPTOMS, p. 32
- ↑ 50.0 50.1 Kaplan and Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (2017), "Appendix B: Glossary of Psychiatry and Psychology Terms" "content thought disorder Disturbance in thinking in which a person exhibits delusions that may be multiple, fragmented, and bizarre."
- ↑ 51.0 51.1 APA dictionary of psychology (2015), p. 242 "content-thought disorder a type of thought disturbance, typically found in schizophrenia and some other mental disorders (e.g., obsessive-compulsive disorder, mania), characterized by multiple fragmented delusions."
- ↑ Kaplan and Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (2017), "Appendix B: Glossary of Psychiatry and Psychology Terms" "formal thought disorder Disturbance in the form of thought rather than the content of thought; thinking characterized by loosened associations, neologisms, and illogical constructs; thought process is disordered, and the person is defined as psychotic. Characteristic of schizophrenia."
- ↑ APA dictionary of psychology (2015), p. 432 "formal thought disorder disruptions in the form or structure of thinking. Examples include derailment and tangentiality. It is distinct from thought disorder, in which the disturbance relates to thought content."
- ↑ American Psychiatry Association (2013). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (5th ed.). Arlington: American Psychiatric Publishing. ISBN 978-0-89042-555-8.
- As the proper formal thought disorder: "Schizophrenia Spectrum and Other Psychotic Disorders", Key Features That Define the Psychotic Disorders, Disorganized Thinking (Speech), p. 88 "Disorganized thinking (formal thought disorder) is typically inferred from the individual’s speech. ..."
- As possibly something else: "Dissociative Disorders", Differential Diagnosis, Psychotic disorders, p. 296 "... Dissociative experiences of identity fragmentation or possession, and of perceived loss of control over thoughts, feelings, impulses, and acts, may be confused with signs of formal thought disorder, such as thought insertion or withdrawal. ..."
- ↑ "The ICD-10 Classification of Mental and Behavioural Disorders: Clinical descriptions and diagnostic guidelines (CDDG)" (PDF). World Health Organization. 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2004-10-17.
- F06.2 Organic delusional [schizophrenia-like] disorder, p.59: Features suggestive of schizophrenia, such as bizarre delusions, hallucinations, or thought disorder, may also be present. ... Diagnostic guidelines ... Hallucinations, thought disorder, or isolated catatonic phenomena may be present. ...
- F20.0 Paranoid schizophrenia, p. 80: ... Thought disorder may be obvious in acute states, but if so it does not prevent the typical delusions or hallucinations from being described clearly. ...
- F20.1 Hebephrenic schizophrenia, p. 81: ... In addition, disturbances of affect and volition, and thought disorder are usually prominent. Hallucinations and delusions may be present but are not usually prominent. ...
- ↑ The British Medical Association Illustrated Medical Dictionary. Dorling Kindersley. 2002. p. 547. ISBN 0-7513-3383-2.
thought disorders Abnormalities in the structure or content of thought, as reflected in a person’s speech, writing, or behaviour. ...
- ↑ The BMA Illustrated Medical Dictionary (2002)
- p. 470 psychosis: ... Symptoms include delusions, hallucinations, thought disorders, loss of affect, mania, and depression. ...
- p. 499-500 schizophrenia: ... The main symptoms are various forms of delusions such as those of persecution (which are typical of paranoid schizophrenia); hallucinations, which are usually auditory (hearing voices), but which may also be visual or tactile; and thought disorder, leading to impaired concentration and thought processes. ...
- ↑ Matorin, Anu A; Shah, Asim A; Ruiz, Pedro (2017). "8 Clinical Manifestations of Psychiatric Disorders". ใน Sadock, Virginia A; Sadock, Benjamin J; Ruiz, Pedro (บ.ก.). Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (10th ed.). Wolters Kluwer. THINKING DISTURBANCES, Flow and Form Disturbances. ISBN 978-1-4511-0047-1.
Although formal thought disorder typically refers to marked abnormalities in the form and flow or connectivity of thought, some clinicians use the term broadly to include any psychotic cognitive sign or symptom.
- ↑ The Mental Status Examination (2016), 1.6.2. Disturbances in Thinking., pp. 14-15.
- ↑ 60.0 60.1 Phenomenology of Schizophrenia (2017), THE SYMPTOMS OF SCHIZOPHRENIA.
- "... By the mid-1980s, factor analytic techniques were being more broadly applied to the assessment of the symptoms of schizophrenia, and separate investigators found that three dimensions or subsyndromes of schizophrenia could be derived from rating scales. ... "
- "... Scales or combinations of scales that include more diverse examples of psychopathology lead to the reliable derivation of psychotic, negative, disorganization, depression and anxiety, and agitation dimensions. ..."
- "... there has been a remarkable consistency in the finding of these same five factors. ..."
- "... This dissection of the syndrome of schizophrenia into subsyndromes will multiply if more and more elaborate assessments of signs, symptoms, and history are completed. ..."
- ↑ 61.0 61.1 Coryell, William; Clayton, Paula J (2016). "4 Bipolar Illness". ใน Fatemi, S Hossein; Clayton, Paula J (บ.ก.). The Medical Basis of Psychiatry (4th ed.). New York: Springer Science+Business Media. 4.7. Clinical Picture, 4.7.2. Symptoms, p. 59. doi:10.1007/978-1-4939-2528-5. ISBN 978-1-4939-2528-5.
- ↑ Oyebode, Femi (2015). "10 Disorder of Speech and Language". Sims' Symptoms in the Mind: Textbook of Descriptive Psychopathology (5th ed.). Saunders Elsevier. Schizophrenic Language Disorder, CLINICAL DESCRIPTION AND THOUGHT DISORDER, p. 167. ISBN 978-0-7020-5556-0.
- ↑ 63.0 63.1 Thought Disorder (2016), 25.6. Relationship Between Thought Disorders and Other Symptoms of Schizophrenia., pp. 503-504.
- ↑ DSM-5 (2013), Schizophrenia Spectrum and Other Psychotic Disorders, Key Features That Define the Psychotic Disorders, Disorganized Thinking (Speech), p.88. harvp error: multiple targets (2×): CITEREFDSM-52013 (help)
- ↑ Ivleva, Elena I; Tamminga, Carol A (2017). "12.16 Psychosis as a Defining Dimension in Schizophrenia". ใน Sadock, Virginia A; Sadock, Benjamin J; Ruiz, Pedro (บ.ก.). Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (10th ed.). Wolters Kluwer. DSM-5: AN UPDATED DEFINITION OF PSYCHOSIS. ISBN 978-1-4511-0047-1.
- ↑ Akiskal, Hagop S (2017). "13.4 Mood Disorders: Clinical Features". ใน Sadock, Virginia A; Sadock, Benjamin J; Ruiz, Pedro (บ.ก.). Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (10th ed.). Wolters Kluwer. BIPOLAR DISORDERS, Bipolar I Disorder, Acute Mania. ISBN 978-1-4511-0047-1.
- ↑ {{cite book | editor1-last = Sadock | editor1-first = Virginia A | editor2-last = Sadock | editor2-first = Benjamin J | editor3-last = Ruiz | editor3-first = Pedro | year = 2017 | title = Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry | edition = 10th | isbn = 978-1-4511-0047-1 | publisher = Wolters Kluwer | last1 = Ninivaggi | first1 = Frank John | chapter = 28.1 Malingering | at = CLINICAL PRESENTATIONS OF MALINGERING, Psychological Symptomatology: Clinical Presentations, Psychosis.
- ↑ Sikich, Linmarie; Chandrasekhar, Tara (2017). "53 Early-Onset Psychotic Disorders". ใน Sadock, Virginia A; Sadock, Benjamin J; Ruiz, Pedro (บ.ก.). Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (10th ed.). Wolters Kluwer. DIFFERENTIAL DIAGNOSIS, Autism Spectrum Disorders. ISBN 978-1-4511-0047-1.
- ↑ Solomon, M; Ozonoff, S; Carter, C; Caplan, R (2008). "Formal thought disorder and the autism spectrum: relationship with symptoms, executive control, and anxiety". J Autism Dev Disord. 38 (8): 1474–84. doi:10.1007/s10803-007-0526-6. PMC 5519298. PMID 18297385.
- ↑ APA dictionary of psychology (2015), pp. 960 semantic priming an effect in which the processing of a stimulus is more efficient after the earlier processing of a meaningfully related stimulus, as opposed to an unrelated or perceptually related stimulus. For example, responses to the word nurse would be faster following presentation of the word doctor than of the word purse.
- ↑ Harvey, Philip D; Keefe, Richard SE; Eesley, Charles E (2017). "12.10 Neurocognition in Schizophrenia". ใน Sadock, Virginia A; Sadock, Benjamin J; Ruiz, Pedro (บ.ก.). Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (10th ed.). Wolters Kluwer. RELATIONSHIP OF NEUROCOGNITIVE IMPAIRMENT TO SCHIZOPHRENIA SYMPTOMS, Formal Thought Disorder. ISBN 978-1-4511-0047-1.
- ↑ Bentall, R. (2003). Madness explained: Psychosis and Human Nature. London: Penguin Books Ltd. ISBN 0-7139-9249-2.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Thought Disorder (2016), 25.6. Relationship Between Thought Disorders and Other Symptoms of Schizophrenia., pp. 503-504. cited
- Arndt, S; Alliger, RJ; Andreasen, NC (1991). "The positive and negative symptom distinction: the failure of a two-dimensional model". Br J Psychiatry. 158: 317–322.
- Bilder, RM; Mukhedee, S; Rieder, RO; Pandurangi, AK (1985). "Symptomatic and neuropsychological components of defect states". Schizophr Bull. 11: 409–419.
- Liddle, PF (1987). "The symptoms of chronic schizophrenia: a reexamination of the positive-negative dichotomy". Br J Psychiatry. 151: 145–151.
- ↑ Miller, D; Arndt, S; Andreasen, N (2004). "Alogia, attentional impairment, and inappropriate affect: Their status in the dimensions of schizophrenia". Comprehensive Psychiatry. 34: 221–226.
- ↑ Phenomenology of Schizophrenia (2017), THE SYMPTOMS OF SCHIZOPHRENIA, Negative Symptoms. "The two-syndrome concept as formulated by T. J. Crow was especially important in spurring research into the nature of negative symptoms. ...—but this does not diminish the creative efforts that led to these scales or importance of these scales for research. In fact, it was only through careful analysis of the structure of symptoms in these scales that a more accurate characterization of the phenomenology of schizophrenia was possible."
- ↑
Houghtalen, Rory P; Mcintyre, John S (2017). "7.1 Psychiatric Interview, History, and Mental Status Examination of the Adult Patient". ใน Sadock, Virginia A; Sadock, Benjamin J; Ruiz, Pedro (บ.ก.). Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (10th ed.). Wolters Kluwer. Table 7.1-5. Elements of the Mental Status Examination with Examples of Abnormal Findings. ISBN 978-1-4511-0047-1.
Thought content: obsession, delusion, magical thinking, overvalued ideas, ideas of reference or influence, persecutory ideas.
- ↑ Kaplan and Sadock's Concise Textbook of Clinical Psychiatry (2008), "Chapter 1 Psychiatric History and Mental Status Examination", MENTAL STATUS EXAMINATION, Thought Disorder, Thought Content., p. 7.
- ↑ 78.0 78.1 Sadock, Benjamin J (2017). "7.2 Outline for a Psychiatric Examination". ใน Sadock, Virginia A; Sadock, Benjamin J; Ruiz, Pedro (บ.ก.). Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (10th ed.). Wolters Kluwer. MENTAL STATUS, Table 7.2-1. Common Questions for the Psychiatric History and Mental Status. ISBN 978-1-4511-0047-1.
Thought content: Delusions— persecutory (paranoid), grandiose, infidelity, somatic, sensory, thought broadcasting, thought insertion, ideas of reference, ideas of unreality, phobias, obsessions, compulsions, ambivalence, autism, dereism, blocking, suicidal or homicidal preoccupation, conflicts, nihilistic ideas, hypochondriasis, depersonalization, derealization, flight of ideas, idé fixe, magical thinking, neologisms.
- ↑ Psychiatric Interview, History, and Mental Status Examination of the Adult Patient (2017), HISTORY AND EXAMINATION, Risk Assessment "Suicidal, violent, and homicidal ideation fall under the category of thought content..."
- ↑ 80.0 80.1 Clinical Manifestations of Psychiatric Disorders (2017), THINKING DISTURBANCES, Thought Content, Disturbances in Thought Contents.
- ↑ Clinical Manifestations of Psychiatric Disorders (2017), THINKING DISTURBANCES, Thought Content, Delusions.
- ↑ Clinical Manifestations of Psychiatric Disorders (2017), THINKING DISTURBANCES, Thought Content.
- ↑ Clinical Manifestations of Psychiatric Disorders (2017), THINKING DISTURBANCES, Types of Thinking.
- ↑ Clinical Manifestations of Psychiatric Disorders (2017), THINKING DISTURBANCES, Normal Thinking.
- ↑ Psychiatric Interview, History, and Mental Status Examination of the Adult Patient (2017), HISTORY AND EXAMINATION, Thought Content & Table 7.1-7. Examples of Delusional Thought
- ↑ Fatemi, S Hossein; Folsom, Timothy D (2016). "6 Schizophrenia". ใน Fatemi, S Hossein; Clayton, Paula J (บ.ก.). The Medical Basis of Psychiatry (4th ed.). New York: Springer Science+Business Media. 6.6. Clinical Findings, 6.6.2. Mental Status Examination in a Subject with Schizophrenia, 6.6.2.5. Thought Form and Content, p. 103. doi:10.1007/978-1-4939-2528-5. ISBN 978-1-4939-2528-5.
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- VandenBos GR, บ.ก. (2015). APA dictionary of psychology (2nd ed.). Washington, DC: American Psychological Association. doi:10.1037/14646-000. ISBN 978-1-4338-1944-5.
- Sadock VA, Sadock BJ, Ruiz P, บ.ก. (2017). Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (10th ed.). Wolters Kluwer. ISBN 978-1-4511-0047-1.
- Sadock BJ, Sadock VA (2008). Kaplan and Sadock's Concise Textbook of Clinical Psychiatry. Lippincott Williams & Wilkins. ISBN 9780781787468.
- Andreasen NC (2016). "25 Thought Disorder". ใน Fatemi SH, Clayton PJ (บ.ก.). The Medical Basis of Psychiatry (4th ed.). New York: Springer Science+Business Media. pp. 497–505. doi:10.1007/978-1-4939-2528-5. ISBN 978-1-4939-2528-5.
- McKenna PJ, Oh TM (2005). Schizophrenic Speech: Making Sense of Bathroots and Ponds that Fall in Doorways. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-81075-3.