ข้ามไปเนื้อหา

ความกระหาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความกระหาย (อังกฤษ: thirst) คือ ความอยากของไหล ส่งผลให้เกิดสัญชาตญาณพื้นฐานของสัตว์ให้ดื่ม เป็นกลไกสำคัญเกี่ยวข้องกับดุลของไหล ความกระหายเกิดขึ้นจากการขาดของไหลหรือมีความเข้มข้นของออสโมไลต์ (osmolite) บางชนิดเพิ่มขึ้น เช่น เกลือ หากปริมาตรน้ำของร่างกายลดต่ำกว่าขีดกั้นจำเพาะหรือความเข้มข้นของออสโมไลต์สูงเกินไป สมองจะส่งสัญญาณความกระหาย

ภาวะขาดน้ำต่อเนื่องสามารถก่อปัญหาได้หลายอย่าง แต่มักสัมพันธ์กับปัญหาไตและปัญหาทางประสาทวิทยา เช่น ชัก มากที่สุด

อาการกระหายน้ำมากเรื้อรัง ร่วมกับภาวะปัสสาวะมาก อาจเป็นสิ่งบ่งชี้เบาหวานหรือเบาจืด

มีตัวรับและระบบอื่นในร่างกายซึ่งตรวจหาปริมาตรที่ลดลงหรือความเข้มข้นของออสโมไลต์ที่เพิ่มขึ้น พวกมันส่งสัญญาณไประบบประสาทส่วนกลางแล้วจะมีการประมวลผลกลางตามมา ฉะนั้น บางแหล่งจึงแยก "ความกระหายนอกเซลล์" จาก "ความกระหายในเซลล์"[1] โดยความกระหายนอกเซลล์ คือ ความกระหายอันเกิดจากปริมาตรที่ลดลง และความกระหายในเซลล์เกิดจากความเข้มข้นของออสโมไลต์ที่เพิ่มขึ้น กระนั้น ความอยากนั้นเป็นสิ่งที่ผลิตจากการประมวลผลกลางในสมอง ไม่ว่าตรวจหาอย่างไร

อ้างอิง

[แก้]
  1. Carlson, N. R. (2005). Foundations of Physiological Psychology: Custom edition for SUNY Buffalo. Boston, MA: Pearson Custom Publishing.