คริสตินา อากีเลรา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
คริสตินา อากีเลรา | |
---|---|
คริสตินา อากีเลราในปี ค.ศ. 2022 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | คริสตินา อากีเลรา |
เกิด | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2523 (43 ปี) |
ที่เกิด | สหรัฐอเมริกา |
แนวเพลง | ป็อบ ,อาร์แอนด์บี,แจ๊ส,ลาติน |
อาชีพ | นักร้อง,นักแต่งเพลง,โปรดิวเซอร์เพลง |
ช่วงปี | ค.ศ. 1998 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | อาร์ซีเอ |
คู่สมรส | Jordan Bratman (สมรส 2005; หย่า 2011) |
เว็บไซต์ | christinaaguilera.com |
คริสตินา มาเรีย อากีเลรา (อังกฤษ: Christina Maria Aguilera) เกิดเมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1980 เป็นนักร้อง-นักแต่งเพลง แนวป็อบ/อาร์แอนด์บีชาวอเมริกัน เจ้าของเพลงฮิต Genie In A Bottle, What A Girl Wants, Come On Over, Beautiful และ Ain't No Other Man และมียอดขายอัลบั้มรวมมากกว่า 75 ล้านหน่วยทั่วโลก โดยนิตยสาร โรลลิงสโตน ได้จัดให้เธออยู่อันดับที่ 58 ในหัวข้อ 100 นักร้องที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล โดยเธอเป็นผู้ที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับการจัดอันดับ[1][2]
ชีวิตในวัยเด็ก
[แก้]คริสตินา อากีเลรา เกิดที่เกาะสแตเทน นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก มีเชื้อสายไอริช-เอกวาดอร์-เยอรมัน-ดัตช์-เวลส์ บิดาของอากีเลราเป็นทหารประจำการในขณะนั้น ส่วนมารดาเป็นครูสอนภาษาสเปน ทั้งคู่หย่าร้างกันเมื่ออากีเลรามีอายุได้ 7 ปี โดยอากีเลราและน้องสาวได้ย้ายตามมารดาไปยังรอสเชสเตอร์ซึ่งเป็นย่านชานเมือง พิสต์เบิร์กในรัฐเพนซิลเวเนีย ความสัมพันธ์ระหว่างอากีเลราและบิดานั้นไม่ค่อยราบรื่นนัก เห็นได้จากบทเพลง มีหลายครั้งที่เธอได้ตัดพ้อ รวมไปถึง ชีวิตในวัยเด็ก
ค.ศ. 1988 ตอนอายุ 8 ขวบเธอมีโอกาสไปออกรายการโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในรายการ Star Search อากีเลราได้ร้องเพลง "A Sunday Kind of Love" แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ก่อนที่อีก 3 ปีต่อมา อากีเลราได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรายการมิกกี้ เม้าส์ คลับ ทางดิสนีย์แชนแนล ร่วมกับจัสติน ทิมเบอร์เลค และบริตนีย์ สเปียรส์
คริสตินา อากีเลรา ประสบความสำเร็จในวงการดนตรีครั้งแรกในญี่ปุ่นตอนอายุ 14 กับเพลง All I Wanna Do ที่เธอร้องคู่กับ เคอิโสะ นากานิ
เสียงร้อง
[แก้]เสียงร้องของคริสติน่า อยู่ในช่วงของโซปราโน และมีช่วงเสียงร้องกว้าง 4 ออกเตฟ (Eb2 - C#7) นักวิจารณ์มักจะจับเสียงร้องเธอไปเปรียบเทียบกับวิตนีย์ ฮิวสตัน และ มารายห์ แครี อยู่เสมอ ต้นแบบด้านเสียงร้องของเธอนั้นมาจาก เอตตา เจมส์ นักร้องเพลงบูลส์ระดับตำนาน และเจ้าของเพลง "At Last" ที่คริสติน่าร้องมาโดยตลอดช่วงชีวิตการเป็นนักร้องของเธอ เธอกล่าวว่า "เอตตาคือศิลปินที่ฉันชอบมากที่สุด ฉันกล่าวแบบนี้มาตลอด 7 ปี ตั้งแต่ฉันออกอัลบั้มแรก และทุกๆการสัมภาษณ์" โดยในงานศพของเอตต้านั้น คริสติน่าได้ขึ้นโชว์เพลง At Last เพื่อรำลึกถึงเอตต้าด้วย นอกจากเอตตา เจมส์แล้ว คริสติน่ายังมีต้นแบบของเธออีกคือ วิตนีย์ ฮิวสตัน มารายห์ แครี มาดอนน่า เจเน็ต แจ็กสัน อารีธา แฟรงคลิน และ นิน่า ซิโมน
อาชีพการเป็นศิลปิน
[แก้]1998 - 2001 : เริ่มต้น Christina Aguilera
[แก้]ปี ค.ศ. 1997 อากีเลราร้องเพลง "Reflection" ประกอบภาพยนตร์แอนิเมชันของดิสนีย์ เรื่อง มู่หลาน ซึ่งทำไห้เธอได้เซ็นสัญญากับอาร์ซีเอ เร็คคอร์ดส ต้นสังกัดปัจจุบันในเวลาต่อมา "Reflection" ได้เข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
24 สิงหาคม ค.ศ. 1999 ออกอัลบั้มชุดแรก ชื่อชุด "Christina Aguilera" เพลง Genie In A Bottle ขึ้นไปครองอันดับ 1 ในอเมริกาถึง 5 สัปดาห์ ในเดือนกรกฎาคม อัลบั้ม Christina Aguilera ออกขายตามมาในเดือน และตัวอัลบั้มขึ้นถึงอันดับ 1 ในอเมริกาด้วยยอดขายอัลบั้มอีกกว่า 8 ล้านหน่วย เฉพาะที่อเมริกา และกว่า 17 ล้านหน่วยทั่วโลก นอกจากนี้อัลบั้มชุดนี้ยังมีเพลงฮิต อันดับ 1 อีก 2 เพลงคือ "What a Girl Wants" และ "Come on Over Baby (All I Want Is You)" และยังมีเพลงดังอย่าง I Turn To You ที่เป็นผลงานการแต่งเพลงของไดแอน วอเรน
ในงานการประกาศผลรางวัลแกรมมีครั้งที่ 42 อากีเลราได้รับรางวัลศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม[3]
ต่อมาในปี ค.ศ. 2000 ซึ่งเป็นช่วงกระแสเพลงละตินมีความร้อนแรง อากีเลราได้ออกอัลบั้มภาษาสเปน Mi Reflejo ซึ่งเป็นการนำเพลงฮิตจากอัลบั้ม "Christina Aguilera" มาดัดแปลงเป็นเวอร์ชันภาษาสเปนและได้เพิ่งเพลงเข้าไปอีก ตัวอัลบั้มเปิดตัวในชาร์ตที่อัน 27 และอันดับ 1 ส่วนอัลบั้มเพลงละติน และได้รับรางวัลละติน แกรมมี สาขาอัลบั้มเพลงป็อปโดยศิลปินหญิงยอดเยี่ยม แผ่นเสียงทองคำในสหรัฐอเมริกา และมียอดจำหน่ายทั่วโลกกว่า 4 ล้านหน่วย ในปี ค.ศ. 2000 นี้ อากีเลรายังได้ออกอัลบั้มเพลงคริสต์มาสในชื่อ My Kind of Christmas อีกหนึ่งอัลบั้ม และยังยังได้ร้องเพลง "Nobody Wants To Be Lonely" ร่วมกับ ริคกี้ มาร์ติน อีกด้วย
ปี ค.ศ. 2001 อากีเลรา ร่วมกับ ลิล คิม, ไมยา, และพิงก์ ออกซิงเกิลประกอบภาพยนตร์เรื่อง Moulin Rough! ในเพลง "Lady Marmalade" ซึ่งต้นฉบับนั้นเป็นเพลงฮิตของ แพตตี้ ลาเบล ในปี ค.ศ. 1975 ตัวซิงเกิลประสบความสำเร็จอย่างสูง ขึ้นถึงอันดับหนึ่งในชาร์ตบิลบอร์ด และยังได้รับรางวัลแกรมมี สาขาศิลปินป็อปรวมกันเฉพาะกิจยอดเยี่ยมอีกด้วย
2002 - 2003 : Stripped
[แก้]ปี ค.ศ. 2002 อากีเลราออกอัลบั้มชุดที่ 2 ในชื่อ "Stripped" ในอัลบั้มชุดนี้ อากีเลราได้ร่วมแต่ง และได้ร่วมงานกับ ลินดา เพอร์รี อดีต Four Non Blondes, สก็อต สโทช อัลบั้มเปิดตัวที่อันดับ 2 ในชาร์ตบิลบอร์ดด้วยยอดขาดจำหน่ายกว่า 330,000 หน่วย
ซิงเกิลแรก "Dirrty" นั้นมีแร็ปเปอร์ เรดแมน มาร่วมร้อง Dirrty ถึงเป็นการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของอากีเลราจากสาวน้อยกลายเป็นการดุเดือดมากยิ่งขึ้น เรื่องเพศอย่างโจ่งแจ้ง ตัวมิวสิกวิดีโอถูกแบนในประเทศไทยเพราะมีข้อความ"การท่องเที่ยวเพศประเทศไทย" ปรากฏอยู่ในวิดีโอ ซึ่งภายหลังอากีเลราได้ออกมาขอโทษกรณีดังกล่าว ตัวซิงเกิลนั้นไม่ค่อยประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา แต่กลับไปได้ดีในชาร์ตต่างประเทศ ขึ้นถึงอันดับหนึ่งในยูเคชาร์ตและมียอดขายกว่า12ล้านหน่วยทั่วโลก
ซิงเกิลที่ 2 อย่าง "Beautiful" นั้นเป็นผลงานการแต่งของลินดา เพอร์รี โปรดิวซ์และร่วมแต่งเพลงโดย ร่วมแต่งเพลง เพลงนี้ยังได้รับรางวัลแกรมมี สาขา ศิลปินเพลงป็อปหญิงยอดเยี่ยม
อากีเลรา ได้ร้องเพลงประกอบหนังเรื่อง Shark Tale เพลง "Car Wash" (ร่วมร้องโดย มิสซี เอลเลียต) นอกจากนั้นเธอยังได้ร่วมงานกับเนลลี เพลง "Tilt Ya Head Back"
อากีเลราและจัสติน ทิมเบอร์เลค ออกทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกันในชื่อ "Justified & Stripped Tour" ก่อนที่อากีเลราจะทัวร์คอนเสิร์ตต่อไปในโดยเปลี่ยนชื่อ "Stripped World Tour" ซึ่งเป็นหนึ่งในคอนเสิร์ตทัวร์ที่ทำได้รายได้สูงสุดในปีนั้น
2006 - 2007 : Back To Basics
[แก้]อัลบั้มที่ 3 ของอากีเลรา Back To Basics ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2006 ตัวงานถือเป็นการคารวะต่อดนตรีวินเทจ แจ๊ซ โซล และบลูส์จากทศวรรษที่ 1920’s - 1940’s ที่มีอิทธิพลแห่งความเป็นตัวตนของอากีเลรา Back To Basics เป็นการกลับมาร่วมงานกันอีกครั้งระหว่างอากีเลราและลินดา เพอร์รี และโปรดิวเซอร์ชื่อดังอีกหลายราย เช่น ดีเจ พรีเมียร์, มาร์ค รอนสัน, บิ๊ก แท็งก์ และควาเม่
ซิงเกิลแรก "Ain’t No Other Man" กำกับโดยผู้กำกับมิวสิกวิดีโอชื่อดัง Bryan Barber ขึ้นชาร์ทในอังกฤษถึงอันดับ 2 ในอเมริกาหยุดอยู่ที่อันดับ 6
อากีเลรายังได้ออกทัวร์คอนเสิร์ตในชื่อ Back To ฺBasics Tour ซึ่งได้มาเปิดการแสดงที่กรุงเทพเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 2007 ด้วย ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตครั้งแรกของอากีเลราในประเทศไทย
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 ที่งานประกาศผลรางวัลแกรมมี ครั้งที่ 49 อากีเลรายังได้ขึ้นแสดงเพลง "It's a Man's Man's World" เป็นการแสดงเคารพต่อเจมส์ บราวน์ โดยการแสดงของเธอนั้นได้รับการจัดอันดับให้อยู่อันดับ 3 การแสดงแกรมมี่ที่น่าจดจำที่สุดตลอดกาล และในงานเดียวกันนี้ อากีเลรายังได้รับ รางวัลแกรมมี สาขาศิลปินป็อปหญิงยอดเยี่ยม จากเพลง "Ain't No Other Man" อีกด้วย[4]
2008 - 2010 : Keep Gettin' Better และ Bionic
[แก้]วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 อาร์ซีเอ เร็คคอร์ด ออกวางจำหน่ายอัลบั้ม Keeps Gettin' Better: A Decade of Hits อัลบั้มรวมฮิตอัลบั้มแรกของคริสตินา โดยเปิดตัวที่อันดับ 9 ในชาร์ต ในอัลบั้มนี้มีซิงเกิลนำคือ เพลง "Keep Gettin' Better" ซึ่งคริสตินาได้ขึ้นแสดงเพลงนี้ในงานประกาศผลรางวัลเอ็มทีวี วิดีโอ มิวสิก อวอร์ดส ซิงเกิลนี้ขึ้นสูงสุดในชาร์ตบิลบอร์ดที่อันดับ 7[5]
หลังจากที่ได้ชิมลางกับอัลบั้ม Keeps Gettin' Better: A Decade of Hits แล้ว คริสติน่าได้เปิดตัวอัลบั้มที่ 6 ของเธอ Bionic ในวันที่ 8 มิ.ย. 2010 ซึ่งใช้โปรดิวเซอร์มากมายในการร่วมสร้างสรรค์อัลบั้ม Bionic นี้เช่น Tricky Stewart, Le Tigre, Switch, Ester Dean, Sam Endicott, Sia, Claude Kelly, Linda Perry, M.I.A., Santigold และ Peaches อัลบั้ม Bionic มีแนวเพลงผสมผสานระหว่าง electronic และ dance อัลบั้ม Bionic เปิดตัวยอดขายได้อันดับที่ 3 ด้วยยอดขาย 110,000 ก๊อปปี้ Bionic เปิดตัวด้วยด้วยซิงเกิ้ลแรกเพลง "Not Myself Tonight" เพลง Pop/Dance ทำอันดับบน Billboard Hot 100 สูงสุดที่ #23 ส่วนซิงเกิ้ลที่ 2 คือ "You Lost Me" แต่อัลบั้มไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ได้เริ่มมีการจัด Bionic ทัวร์ขึ้นโดยการเริ่มทัวร์จากฝั่งอเมริกาเหนือร่วมกับนักร้องสาวชาวอังกฤษ Leona Lewis แต่ต้องหยุดลงเนื่องจากตัว คริสติน่าเอง ต้องโปรโมทหนัง บาร์รักเวทีร้อน และการซ้อมไม่เพียงพอจึงเป็นเหตุผลให้ทางต้นสังกัด RCA Records ได้ยกเลิกการทัวร์คอนเสิร์ตไป แต่อย่างไรเธอก็ยังคงเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั้งการแสดงสดรางวัลแกรมมี่ 2011 ร่วมกับ เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน หรือการร้องเพลงชาติที่เกิดการผิดพลาดในงาน Super Bowl XXL 2011
2012 - Lotus
[แก้]ค.ศ. 2012 งานสตูดิโอลำดับที่ 5 ของเธอ อากีเลราได้เป็น Executive Producer และร่วมงานกับ Max Martin, Alex Da Kid, Sia Furler, Claude Kelly, Steve Robson อัลบั้มเปิดตัวบน Global Chart อยู่ที่อันดับ 9 ด้วยยอดขายทั่วโลก 117K ซิงเกิลเปิดตัว "Your Body" กำกับโดย Melina Matsoukas ทำอันดับบน Billboard Hot 100 สูงสุดที่อันดับ 34 และขึ้นอันดับ 1 ยอดโหลด iTunes TH เป็นประเทศแรก อากีเลร่าได้รับรางวัลเกียรติยศ "Voice Of A Generation" จากงาน ALMA Awards 2012 และยังได้รับรางวัลพิเศษ "People Voice Award" เป็นบุคคลที่ถูกกล่าวขานมากที่สุดในวงการอุตสาหกรรมทางดนตรี จากงานประกาศผลรางวัล People's Choice Awards 2013
2018 - Liberation และการออกทัวร์คอนเสิร์ตในรอบทศวรรษ the Liberation tour
[แก้]กือบ 10 ปีที่ผ่านมา นับว่าไม่ใช่เส้นทางการเป็นดาวที่โรยด้วยกลีบกุหลาบเท่าไรนักของอากีเลร่า นับตั้งแต่อัลบั้ม Bionic(2010) ต่อเนื่องด้วยอัลบั้ม Lotus (2012) ที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนักจนหลายๆ คนเอามาเป็นคำล้อถึงอัลบั้มไหนก็ตามที่ออกมามักจะไม่ประสบความสำเร็จ และถึงแม้การมานั่งเป็นหนึ่งในกรรมการของรายการ The Voice US ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ช่วยเติมไฟให้กับคำว่าดีว่าในตัวเธอเท่าไรนัก แต่กลับจะยิ่งให้เก้าอี้ดีว่าของเธอต้องเป็นอันสั่นคลอน แต่การกลับมาพร้อมอัลบั้มใหม่ Liberation ที่หากใครเป็นแฟนเพลงเธอจะรู้ดี ว่านี่คือตัวตนที่แท้จริงที่เราเคยได้สัมผัสกันมาแล้วกับช่วงพีกในเส้นทางอาชีพของเธอจากอัลบั้ม Stripped (2002) ที่เต็มไปด้วยเพลงช้าบัลลาดโชว์พลังเสียง ในเพลงอย่าง “Walk Away” หรือจะทำให้โลกของเพลงป๊อปร้อนเป็นไฟด้วยความแรงของเพลง “Dirty” โดยอากีเลรากล่าวว่า ลองนึกดูว่า หากใครคนหนึ่งหายไปจากชีวิตเรานานกว่า 6 ปี แล้วในวันที่คนคนนั้นวนกลับเข้ามาในชีวิตเราอีกครั้ง เราก็ต้องอดสงสัยไม่ได้ว่า 6 ปีที่หายไป เธอเป็นอย่างไรบ้าง เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร Liberation จึงเปรียบเสมือนการรวบรวมเรื่องราวในช่วงชีวิตของคริสติน่าที่น้อยคนจะรู้จากตามหน้าสื่อ เพราะถูกฉาบหน้าด้วยภาพลักษณ์ของนักร้องดีว่าจอมบงการ จนกระทั่งเธอรู้สึกเป็นอิสระพอที่จะพาเราไปทำความรู้จักกับตัวตนที่แท้จริงและรสนิยมทางดนตรีของเธอ ที่เป็นมากกว่าเพลงป๊อป แต่ก็ใช่ว่าการทดลองอะไรใหม่จะเป็นผลสำเร็จเสมอไป เพราะอย่างเพลงซิงเกิลเปิดตัว “Accelerate” ที่พาคนงงงวยกันไปถ้วนหน้า ด้วยเพลงสไตล์ซินธิไซเซอร์เหนือความคาดหมายว่าเธอจะมาแนวนี้ ซึ่งเพลงดังกล่าวได้ Ty Dolla $ign และ 2 Chainz มาช่วยฟีเจอริ่งและทำให้เพลงนี้ไม่ขี้เหร่จนเกินไป แต่ก็คงจะไม่มีอะไรแย่ไปกว่า “Pipe ft. XNDA” ซึ่ง XNDA คือตัวละครลึกลับที่ไม่มีใครรู้ว่าคือใคร แต่ก็มีการลือว่าศิลปินคนนั้นคือ P!NK แต่ไม่ว่าศิลปินคนนั้นจะเป็นใคร เพลงนี้ก็เป็นเพลงที่เชยสะบัดเหมือนกับหลุดมาจากเพลงอาร์แอนด์บียุค 2000 ที่เอาต์ไปนานโขแล้ว นอกจากความกล้าในการเล่าเรื่องแล้ว คริสติน่าก็ยังกล้าในเรื่องของพาร์ตดนตรีที่จะทดลองอะไรใหม่ๆ ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดจากอัลบั้มนี้คือ การหยิบนู่นหยิบนี่มาผสมรวมกัน เริ่มตั้งแต่ “Right Moves ft. Keida”, “Shenseea” เพลงป๊อปกลิ่นอายเร็กเก้ ที่เธอเริ่มพาคนฟังไปสัมผัสรสนิยมในการฟังเพลงส่วนตัวของเธอ ที่คนส่วนใหญ่คิดว่าเธอชอบแต่จะพ่นไฟโชว์พลังเสียงอย่างเดียว แต่อาร์แอนด์บี ฮิปฮอป ก็นับว่าเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจของเธอเหมือนกัน พอเริ่มแง้มให้เห็นถึงรสนิยมการฟังเพลงของเธอแล้ว “Like I do ft.GoldLink” ก็พาเราไปอยู่ในอีกโลกดนตรีของเธอทันที ด้วยเพลงอาร์แอนด์บีแบบสมัยนิยม จากลีลาการโปรดิวซ์โดย Anderson .Paak ที่ฟังเพลิน ไม่ได้ดีไม่ได้แย่ ฟังไปฟังมาแล้ว เออ...เสียงของเธอก็เข้ากับเพลงอาร์แอนด์บีเหมือนกันนะ ในเพลง “Deserve” ก็ได้เสียงซินธิไซเซอร์มาสร้างความแปลกใหม่ท่ามกลางเนื้อหาที่เต็มไปด้วยความขี้หึง ความไม่มั่นใจ การทำเรื่องบ้าๆ แต่บอกว่าที่ทำไปเพราะรักของเธอ หรืออย่าง “Unless It’s With You” ที่เป็นเพลงช้าบัลลาดเปียโนสวยๆ แต่เนื้อหานั้นเจ็บปวดหัวใจ กับการตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์ที่หาใช่ว่าการแต่งงานคือคำตอบของทุกสิ่ง และการแต่งงานก็ไม่ใช่แฮปปี้เอ็นดิ้งเสมอไป แต่ถึงยังไงเธอก็ยังเชื่อในความรักและพร้อมจะแต่งงานกับคนที่ใช่อยู่ดี สำหรับ ‘Liberation Tour’ ของ Aguilera เริ่มขายบัตร 19 พฤษภาคมนี้ และรอบแรกจะเริ่มที่ ไมอามี่ รัฐฟลอริด้า ในวันที่ 25 กันยายน 2018
ในปี 2019 เธอประกาศทัวร์คอนเสิร์ตแถบยุโรปครั้งแรกในรอบ 13 ปี ภายใต้ชื่อ "The X Tour" โดยคริสติน่าจัดเต็มตะลอนออนทัวร์ตลอดทั้งปีนี้ ทั้งโชว์ใหญ่ที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา ในเดือน มิถุนายน กันยายน และตุลาคม ส่วนเดือนกรกฎาคม และ พฤศจิกายน จะเป็นคิวพบปะแฟนเพลงในแถบยุโรป ทั้ง ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมนี ฟินแลนด์ รัสเซีย ไอร์แลนด์ อังกฤษ และ 3เมืองในเม็กซิโก
Burlesque (บาร์รัก เวทีร้อน)
[แก้]ในปี ค.ศ. 2009 ภาพยนตร์เรื่องแรกของอากิเลร่าที่ได้แสดงนำ เริ่มถ่ายทำในเดือน พฤศจิกายน ในภาพยนตร์เพลงเรื่อง Burlesque โดยค่าย Screen Gems นอกจากจะเป็นการแสดงนำเรื่องแรกของอากิเลร่าแล้ว ยังเป็นการหวนคืนจอของ แฌร์ นักร้องเจ้าของรางวัลออสการ์อีกด้วย โดยคริสติน่ารับบท "Ali Marilyn Rose" เด็กสาวจากเมืองเล็กที่เข้ามาตามหาความรักและความฝันใน ลอสแอนเจลิส และได้ทำงานใน Burlesque คลับของ Tess(แฌร์) จนเกิดเรื่องราวต่างๆมากมายขึ้น กำกับการแสดงโดย Steve Antin ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้จะเข้าโรงภาพยนตร์ปลายปี 2010
ในปี ค.ศ. 2011 อากิเลร่าได้ร่วมงานกับรายการแข่งขันร้องเพลงชื่อว่ารายการ เดอะวอยซ์ ซึ่งอากิเลร่าได้เป็นกรรมการและโค้ชทีม และนอกจากนี้ยังได้ร่วมงานกับ อดัม เลอวีน นักร้องนำจากวง มารูนไฟว์ ในเพลงมูฟ ไลท์ แจ๊คเคอร์ซึ่งเพลงนี้ได้ขึ้นที่1 บนชาร์ตบิลบอร์ดและไอทูน
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]อากีเลร่าแต่งงานกับจอร์แดน แบรตแมน หนึ่งในทีมงานของเธอเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ทั้งคู่มีลูกชาย 1 คนคือ แม็กซ์ซี่ ไลรอน แบรตแมน ปัจจุบัน อากีเลร่าได้หย่าร้างกับจอร์แดน[6] และได้คบหากับแฟนหนุ่ม แมตต์ รัทเลอร์ และมีบุตรสาวชื่อ ซัมเมอร์เรน
ผลงาน
[แก้]
|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Immortals: The First Fifty". Rolling Stone Issue 946. Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-25. สืบค้นเมื่อ 2014-07-11.
- ↑ "The 100 Greatest Singers of All Time". rollingstone.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-03. สืบค้นเมื่อ 2008-11-12.
- ↑ Christina Aguilera Wins Best New Artist yahoo.com
- ↑ "ดิกซี ชิกส์" เยี่ยม - "เรดฮอตฯ" ยอด "แกรมมี่อวอร์ด '49" เก็บถาวร 2007-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน manager.co.th
- ↑ The Billboard Hot 100 Billboard.com
- ↑ Christina Aguilera and Jordan Bratman Marriage Profile About.com
- ↑ Sisario, Ben (24 May 2010). "Christina Aguilera Postpones Tour". The New York Times Blog. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ 25 May 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2523
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักร้องอเมริกัน
- นักแสดงดิสนีย์
- ชาวอเมริกันเชื้อสายเอกวาดอร์
- ชาวอเมริกันเชื้อสายไอริช
- ชาวอเมริกันเชื้อสายเวลส์
- ชาวอเมริกันเชื้อสายดัตช์
- ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน
- ศิลปินสังกัดอาร์ซีเอเรเคิดส์
- ศิลปินสังกัดโซนี่ มิวสิค
- ผู้ที่ได้รับรางวัลแกรมมี
- นักร้องเด็กชาวอเมริกัน
- ผู้กำกับมิวสิกวิดีโอชาวอเมริกัน
- บุคคลจากเกาะสแตเทน
- นักดนตรีป็อปเด็ก