กูฟีย์
อักษรกูฟีย์ หรือ อักษรคูฟิกฮ์ (อาหรับ: الخط الكوفي; Kufic script) เป็นรูปแบบหนึ่งของอักษรอาหรับที่ได้รับความนิยมตั้งแต่ยุคเริ่มแรกในฐานะอักษรที่นิยมใช้ในการคัดลอกอัลกุรอานและเพื่อการตกแต่งทางสถาปัตยกรรม และในเวลาต่อมาได้กลายเป็นรูปแบบอ้างอิงและรูปแรกเริ่ม (archetype) ของอักษรอาหรับอีกจำนวนมาก กูฟีย์พัฒนามาจากอักษรนาบาเตียนอิรักจากเมืองกูฟา ชื่อเมืองกูฟานี้เป็นที่มาของชื่อเรียกอักษรกูฟีย์ หรือกูฟิกในภาษาอังกฤษ[1] ลักษณะหลักของอักษรกูฟีย์คือการเรียงในแนวนอน, รูปอักษรเป็นเส้นตรง (rectilinear letterforms) และประกอบด้วยมุมแหลม[1] กูฟีย์ยังสามารถแบ่งออกเป็นชนิดย่อย ๆ ได้อีก ตามลักษณะการคัดอักษรวิจิตร
กูฟีย์เหลี่ยม
[แก้]กูฟีย์เหลี่ยม (Square Kufic; อาหรับ: ٱلْكُوفِيّ ٱلمُرَبَّع) หรือ บันนาอี (banna'i; بَنَائِيّ, อักษร "อิฐ") เป็นรูปแบบการเขียนอักษรอาหรับเปลือย (bare writing) ซึ่งพัฒนาชึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12[2][3] นักอักษรวิจิตร มามูห์น ซักกัล อธิบายว่า กูฟีย์เหลี่ยมถูกนำมาใช้เพื่อการก่อสร้างที่ใช้อิฐเป็นหลักในการตกแต่งให้เป็นอักษรวิจิตรอิสลาม และ "การอ่านออกไม่ใช่หัวใจสำคัญ" ของกูฟีย์เหลี่ยม[3]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
หน้าหนึ่งจากอัลกุอานอักษรกูฟีย์, ราวศตวรรษที่แปด (Surah 15: 67–74)
-
อักษรกูฟีย์จาก อุลกุรอานยุคแรก ๆ ราวศตวรรษที่ 8-9 (Surah 7: 86–87)
-
เอกสารซูรัต มัรยัม; อักษรกูฟีย์บนหนังกวางกะเซล, ศตวรรษที่เก้า (Surah 19: 83–86)
-
อัลกุรอานอักษรกูฟีย์เขียนด้วยหมึกและประดับทอง, ศตวรรษที่ 11, ประเทศอิหร่าน (Surah 92: 1–5)
-
ส่วนหนึ่งของ "กุรอานพยาบาล” (مصحف الحاضنة)
-
อัลกุรอานยุตอับบัสซิด เปอร์เซีย, รอยต่อศตวรรษที่ 11-12
-
อักษรกูฟีย์จมกฟรายส์แพนโทกราเฟีย (1799)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "The Development and Spread of Calligraphic Scripts". Metmuseum.org. New York: Metropolitan Museum of Art. 2020. สืบค้นเมื่อ 20 August 2020.
- ↑ Sakkal, Mamoun. (2004). Principles of Square Kufic Calligraphy. Hroof Arabiyya. 4. 4-12.
- ↑ 3.0 3.1 "Creative Arabic Calligraphy: Square Kufic". Design & Illustration Envato Tuts+. สืบค้นเมื่อ 2020-05-21.