ข้ามไปเนื้อหา

กุสโก

พิกัด: 13°31′30″S 71°58′20″W / 13.52500°S 71.97222°W / -13.52500; -71.97222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กุสโก
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: จัตุรัสกลาง; คิวริคันชา; น้ำพุ ณ จัตุรัสกลาง; ทิวทัศน์จากมุมสูงของกุสโก; ชุมชนโคโลเนียล; และ ซัคเซฮวามาน
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: จัตุรัสกลาง; คิวริคันชา; น้ำพุ ณ จัตุรัสกลาง; ทิวทัศน์จากมุมสูงของกุสโก; ชุมชนโคโลเนียล; และ ซัคเซฮวามาน
ธงของกุสโก
ธง
ตราราชการของกุสโก
ตราอาร์ม
กุสโกตั้งอยู่ในเปรู
กุสโก
กุสโก
ที่ตั้งของกุสโกในประเทศเปรู
พิกัด: 13°31′30″S 71°58′20″W / 13.52500°S 71.97222°W / -13.52500; -71.97222
ประเทศ เปรู
แคว้นกุสโก
จังหวัดกุสโก
ก่อตั้งพ.ศ. 1643
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีวิกเตอร์ จี. โบลูอาร์เต เมดินา
พื้นที่
 • ทั้งหมด385.1 ตร.กม. (148.7 ตร.ไมล์)
ความสูง3,399 เมตร (11,152 ฟุต)
ประชากร
 (พ.ศ. 2560)
 • ทั้งหมด428,450 คน
 • ประมาณ 
(พ.ศ. 2558)[1]
427,218 คน
 • ความหนาแน่น1,100 คน/ตร.กม. (2,900 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC-5 (เวลาในประเทศเปรู)
รหัสพื้นที่84
นครกุสโก *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ตัวเมืองกุสโก
พิกัด13°30′59.5″S 71°58′49.6″W / 13.516528°S 71.980444°W / -13.516528; -71.980444
ประเทศ เปรู
ภูมิภาค **ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii), (iv)
อ้างอิง273
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2526 (คณะกรรมการสมัยที่ 7)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

กุสโก (สเปน: Cusco หรือ Cuzco; เกชัว: Qusqu) เป็นชื่อเมืองที่ตั้งอยู่ในเทือกเขาแอนดีสส่วนที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเปรู โดยอยู่บนความสูงประมาณ 3,300 เมตร เมืองกุสโกเคยเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิอินคา หลังจากสเปนมายึดครองและตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ลิมา กุสโกก็ลดความสำคัญลง แต่หลังจากที่มีการค้นพบมาชูปิกชูในปี พ.ศ. 2454 เมืองกุสโกก็กลับกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ จนในปี พ.ศ. 2526 องค์กรยูเนสโกได้ประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรม

ประวัติ

[แก้]

ยุคอินคา

[แก้]

เมืองกุสโกเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิอินคา ตามตำนานของอินคา เมืองกุสโกถูกสร้างโดยปาชากูตี ผู้ซึ่งทำลายเมืองเก่าและสร้างกุสโกใหม่ให้เป็นศูนย์กลางแห่งอาณาจักรอินคาที่ยิ่งใหญ่ แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่าเมืองนี้ได้ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนปาชากูตีแล้ว

เมืองถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือกุสโกตอนบน (Hanan) และกุสโกตอนล่าง (Urin) ซึ่งถูกแบ่งย่อยต่อไปอีกเป็น 4 เขต (suyu) ได้แก่ ชินไชซูยู (เขตตะวันตกเฉียงเหนือ) อันตีซูยู (เขตตะวันออกเฉียงเหนือ) กุนตีซูยู (เขตตะวันตกเฉียงใต้) และกูยาซูยู (เขตตะวันออกเฉียงใต้) ถนนจากทั้งสี่ส่วนนี้เชื่อมต่อไปถึงสี่ภาคของอาณาจักร ผู้นำของแต่ละภาคจะต้องสร้างบ้านในเขตเมืองกุสโกและเข้ามาอาศัยอยู่ทุกปี หลังจากสมัยของจักรพรรดิปาชากูตี เมื่อกษัตริย์สิ้นพระชนม์ บัลลังก์จะตกเป็นของพระราชโอรส แต่ดินแดนของกษัตริย์จะถูกแบ่งกันในหมู่พระราชวงศ์พระองค์อื่น ๆ ดังนั้นจักรพรรดิพระองค์ใหม่จึงต้องขยายดินแดนใหม่เพิ่มให้กับจักรวรรดิ

ยุคหลังโคลัมบัส

[แก้]

ฟรันซิสโก ปิซาร์โร ผู้ซึ่งเอาชนะจักรพรรดิแห่งอินคาได้เดินทางมาถึงเมืองกุสโกอย่างเป็นทางการในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2077 หลังจากนั้นมีการสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอินคาและอิทธิพลของศิลปะสเปนหลายแห่ง เช่นโบสถ์ซานตากลารา

อ้างอิง

[แก้]
  1. Perú: Población estimada al 30 de junio y tasa de crecimiento de las ciudades capitales, por departamento, 2011 y 2015. Perú: Estimaciónes y proyecciones de población total por sexo de las principales ciudades, 2012–2015 (Report). Instituto Nacional de Estadística e Informática. March 2012. สืบค้นเมื่อ 2015-06-03.
  • Terence N. D'Altroy, The Incas, Blackwell Publishing, 2002, หน้า 109-115.